redmeet

 

            มีรายงานเมื่อประมาณ 1 ปีที่แล้วมาจากองค์การอนามัยโลก โดยหน่วยงาน International Agency for Research on Cancer (TARC) แจ้งว่า เนื้อแดงปรุงแต่ง (processed meats) เช่นไส้กรอก แฮม เบคอน รวมทั้งอาหารไทยจำพวก กุนเชียงและ แหนมเป็นต้น มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยยะสำคัญกับ โรคมะเร็งในผู้ที่บริโภคเกินความเหมาะสม

            เนื้อสัตว์ไม่เป็นเหตุโดยตรงของการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง แต่สารเคมีที่ใช้ในการปรุงแต่งอาหาร ในขบวนการผลิตเป็นสาเหตุหลัก สารปรุงแต่งที่ใช้ในอาหารเหล่านี้คือสารในเตรต (nitrate) และในไตร  (nitrite) ซึ่งใส่ในอาหารในรูปของโปแตสเซี่ยมในเตรต โปแตสเซี่ยมในไตร  โซเดียมในเตรต และ โซเดียมในไตร  ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะทำให้เนื้อมีสีแดงน่ากิน และกำจัดจุลินทรีย์ทำให้เนื้อไม่เน่าเสีย

            องค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณของในเตรตและในไตร ที่เหมาะสมในปริมาณที่ร่างกายได้รับไม่เกินวันละ 3.7 มิลลิกรัม สำหรับในเตรตและ 0.07 มิลลิกรัม สำหรับในไตร  ถ้าร่างกายได้รับเกินระดับความปลอดภัยก็จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ร่างกายได้รับด้วย

            ผู้ได้รับสารในเตรตและในไตร เกินระดับความเหมาะสมจะก่อให้เกิดอาการเฉียบพลัน โดยสารจะเข้าไปขัดขวางเม็ดเลือดแดงไม่ให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย มีอาการหายใจลำบาก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และถ้าได้รับมากอาจถึงกับเสียชีวิตได้ สำหรับอาการเรื้อรังมีสาเหตุจากสารในไตร  เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหาร และสารเอมีน (amines) ในเนื้อสัตว์ จะเปลี่ยนสภาวะเป็นสารในไตร ซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogenic) นอกเหนือจากนี้ สารในเตรตและในไตร ในเนื้อที่ถูกความร้อนจากการประกอบอาหาร ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสารในไตร ซามีน อีกด้วย

            ตามมาตรฐานสากลกำหนดไว้ว่าสารในเตรต ในไตร  หรือสารกันบูดต้องผสมในอาหารได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่สำหรับประเทศไทย ได้มีการกำหนดมาตรฐานไว้ว่า สารในเตรตต้องมีปริมาณไม่เกิน 500 มิลลิกรัม และสารในไตร ต้องมีปริมาณไม่เกิน 125 มิลลิกรัม ต่อเนื้อ 1 กิโลกรัม

            รายงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ) ผลการสำรวจไส้กรอก 15 ยี่ห้อที่วางขายในท้องตลาด พบว่ามี 11 ตัวอย่างที่ผสมสารทั้ง 2 ชนิดในระดับไม่เกินมาตรฐานมี 3 ตัวอย่างที่ผสมเกินมาตรฐาน มีเพียง 1 ตัวอย่างที่พบว่าไม่มีการผสมสารในเตรตหรือในไตร  ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคคือต้องเลือกซื้ออาหารที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือตรวจสอบข้อมูลบนสลากให้ชัดเจน แต่ปัญหาที่พบคือผู้ผลิตมักใส่ข้อมูลเป็นรหัสตัวเลข ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป

 

 

thai-pan

 

            เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือไทยแพน (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) รายงานผลการสุ่มสำรวจตัวอย่างผักและผลไม้ ปี 2559 พบว่าจากการสำรวจ ผัก 10 ชนิด ผลไม้ 6 ชนิด รวม 138 ตัวอย่าง จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้า 7 แห่งในเขต กทม. และปริมณฑล เชียงใหม่  และอุบลราชธานี โดยส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่ประเทศอังกฤษ พบว่ามีผักและผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อนเกินระดับมาตรฐานดังนี้

 

พริกแดง       

กะเพรา        

ถั่วฝักยาว     

คะน้า          

ผักกาดขาว

ผักบุ้งจีน

มะเขือเทศ

มะเขือเปราะ

กะหล่ำปลี

100%

66.7%

66.7%

55.6%

33.3%

22.2%

11.1%

0%

0%

ส้มสายน้ำผึ้ง

ฝรั่ง

แก้วมังกร

มะละกอ

มะม่วงน้ำดอกไม้

แตงโม

100%

100%

71.4%

66.7%

44.4%

0%

 

รายงานโดยสรุปพบว่า

1.อัตราสารพิษตกค้างในผัก และผลไม้เกินค่ามาตรฐานสูงถึง 46.4 %

2.ผักและผลไม้ซื้อจากตลาดสด และห้างสรรพสินค้า มีอัตราส่วนสารพิษตกค้างไม่แตกต่างกันมาก คือ 48% และ 46% ตามลำดับ

3.ผักและผลไม้ที่มีตราคุณภาพ “Q” จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีสูงถึง 57.1%

4.แม้แต่ผักและผลไม้อินทรีย์ก็ยังมีสารเคมีตกค้างถึง 25%

 

               ต่อมา สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ออกมาโต้แย้งว่าผลการสุ่มตัวอย่างของ ไทยแพน ไม่ได้มาตรฐานและข้อมูลที่ได้มาผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะผู้บริโภคก็ควรตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ เพื่อหาทางดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ว่าข้อมูลของใครจะถูกผิดหรือผิดอย่างไร 

 

 

thai-flag-620x418

พื้นที่ประเทศ

□       พื้นที่รวม 513,120 ตร.กม.

-          พื้นดิน 510,890 ตร.กม.

-          พื้นน้ำ 2,230 ตร.กม.

□       พื้นที่เพาะปลูก 30.71%

□       พื้นที่ชายฝั่งทะเล 3,219 กม.

จำนวนประชากร

□       ประชากรรวม 67,741,401 อันดับที่ 21 ของโลก

□       อายุเฉลี่ยประชากร 36.2 ปี

-          ชาย 35.3 ปี

-          หญิง 37.2 ปี

□       อายุเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 74.18 ปี อันดับที่ 115 ของโลก

□       อัตราเจริญพันธ์ เด็ก 1.5 คน เกิด/หญิง 1 คน อันดับที่ 192 ของโลก

□       อัตราเกิด 11.26/1,000 (1.126%) อันดับที่ 175 ของโลก

□       อัตราการเติบโตประชากร 0.35% อันดับที่ 165 ของโลก

□       อัตราตาย 7.72/1,000 (0.772%) อันดับที่ 111 ของโลก

ข้อมูลอื่น

□       ความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 31 ของโลก

-          คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานอันดับที่ 90/144 ประเทศ

-          คุณภาพการศึกษาระดับสูง 87/144 ประเทศ

□       ดัชนี การคอรัปชั่น( 1 = น้อยที่สุด )

-          ปี 2556 อันดับที่ 102/177 ประเทศ

-          ปี 2557 อันดับที่ 85/175 ประเทศ

□       รายได้รวมของประเทศ ( GDP )

-          เกษตรกรรม 12.1%

-          อุตสาหกรรม 43.6%

-          บริการ 44.2%

□       รายจ่ายรวมของประเทศ

-          ด้านสุขภาพ 4.1% GDP ( อันดับที่ 163 ของโลก )

-          ด้านการศึกษา 4.8% GDP ( อันดับที่ 47 ของโลก )

-          ด้านการทหาร 1.47% GDP ( อันดับที่ 63 ของโลก )

ข้อมูลจาก Bangkok Post  “Year-End Review”

 

 

การรบกวนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด้วยเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา

             ปัจจุบันเทคนิคทางอิมมูโนวิทยาได้ถูกนำมาใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์  เพื่อการวินิจฉัย โรคอย่างกว้างขวาง  พร้อมๆกับการใช้เทคนิคที่มีความแม่นยำสูงนี้  ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งความผิดพลาดที่มีสาเหตุจากการทำของเจ้าหน้าที่ จากคุณภาพของเครื่องมือและชุดน้ำยาตรวจสอบ และความผิดพลาดที่อาจมีสาเหตุจากสิ่งที่อยู่ในเลือดของผู้ป่วยเอง  ซึ่งที่รู้จักกันดีคือ กรณีของเลือดที่มี hemolysis, lipemia และ bilirubinemia เป็นต้น  เนื่องจากความผิดปกติของตัวอย่างเลือดที่ใช้ในการวิเคราะห์เหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาทางอิมมูโนวิทยา  นอกเหนือจากกรณีดังกล่าวข้างต้น  ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลก่อให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา ได้แก่ แอนติบอดีอื่นๆที่มีอยู่ในเลือดของผู้ป่วย ทั้งที่มีอยู่โดยธรรมชาติและเกิดจากการถูกกระตุ้นภายหลัง (endogenous antibodies) อาทิเช่น heterophile antibody เป็นแอนติบอดีที่มีอยู่ในกระแสเลือดตามธรรมชาติและ autoantibodies เป็นแอนติบอดีที่ทำปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อของตนเอง  รวมทั้ง antianimal antibodies ที่เกิดจากการกระตุ้นโดยแอนติเจนจากสัตว์ เช่นผู้ได้รับการรักษาด้วยโปรตีนจากสัตว์หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ เป็นต้น  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลได้ทั้งการเกิดผลบวกปลอมและผลลบปลอมจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ดังนี้

 

ปฏิกิริยาผลบวกจริง   “Ca : Ag : Da

ปฏิกิริยาผลบวกปลอม   “Ca : Eg : Da

ปฏิกิริยาผลลบปลอม   “Ca : Eg และ Eg : Da

 

Ca  = Capture antibody

Ag = Target antigen

Eg = Endogenous antibody

Da = Detection antibody

 

กลุ่มการทดสอบที่อาจได้รับผลกระทบจาก endogenous antibodies

Hormones    :         Cortisol, estradiol, free thyroxine, FSH, LH, progesterone, prolactin, testosterone, thyroglobulin, thyroxine, triiodothyroxine, TSH

Tumor Markers   :         AFP, CA125, CA15-3, CA19-9, CEA, hCG, PSA

Other                 :         CK-MB ,ferritin, hepatitis B surface antigen, troponin

 

เอกสารอ้างอิง

Emerson J.F. And Lai K.K.Y. Endogenous Antibody Interferences in Immunoassays.Lab.Med.2013 ; 44(1) : 69-73.

 

                เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ากรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะ สมองและหลอดเลือดประกอบไปด้วย docosahexaenoic acid (DHA), eicosapentaenoic acid (EPA) และ Omega-3 fatty acid ส่วนใหญ่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารดังกล่าวนี้ มักจะได้มาจากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ จนมีความเชื่อว่า สารเหล่านี้พบได้มาก เฉพาะในไขมันของปลาทะเล โดยเฉพาะจะต้องเป็นปลาทะเลน้ำลึกเป็นส่วนใหญ่ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับปลาน้ำจืดน้อยมาก ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ ไม่ค่อยนิยมกินปลาน้ำจืดซึ่งแตกต่างจากประเทศในแถบเอเชีย ในธรรมชาติไขมันที่ดีต่อสุขภาพถูกสร้างขึ้นโดย สาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล เมื่อสาหร่ายถูกกินโดยปลาขนาดเล็ก ไขมันเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในเนื้อปลา และเพิ่มปริมาณขึ้นไปสู่ปลาใหญ่ตามห่วงโซ่อาหาร

                เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานการวิจัย โดยนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย มหิดล พบว่า ปลาน้ำเค็ม หรือปลาน้ำจืดที่เลี้ยงในฟาร์มที่ถูกสุขลักษณะ โดยให้อาหารสำเร็จที่ผลิตทางอุตสาหกรรม หรือให้อาหารจำพวก ปลาเล็กปลาน้อยตากแห้ง จะมีการสะสมของ Omega-3 fatty acid ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปลาทะเล ดังนั้นปลาน้ำจืดจึงน่าจะเป็นแหล่งของกรดไขมันที่เป็นประโยชน์เช่นกัน ดังรายละเอียดข้อมูลเปรียบเทียบในตาราง

ชนิดของปลา

ประเภทของปลา

ปริมาณไขมัน (กรัม)

ปริมาณ Omega-3 (มิลลิกรัม)

ปลาดุก

ปลาน้ำจืด

14.7

460

ปลาจาระเม็ดขาว

ปลาน้ำเค็ม

6.8

840

ปลาสำลี

ปลาน้ำเค็ม

9.2

470

ปลาช่อน

ปลาน้ำจืด

8.5

440

ปลาตะเพียน

ปลาน้ำจืด

7.4

240

ปลาทู

ปลาน้ำเค็ม

3.8

220

 

                เนื้อปลาประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งโปรตีน วิตามิน และไขมันที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะ DHA, EPA และ Omega-3 แต่ยังมีกรดไขมันอีกชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มของ Omega-3 คือ alpha-linolenic acid (ALA) ซึ่งพบมากในเมล็ดพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง ฟักทอง และทานตะวัน เป็นต้น

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ