บทนำ

บริษัท กรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัด มุ่งมั่นที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัวของคุณ ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้คือแนวทางที่เราใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้เราในระหว่างการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา หรือใช้แอพพลิเคชั่นของเรา หรือร้องขอการบริการจากเรา นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม

การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

  1. เราเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ในกรณีที่คุณเป็นผู้ให้ข้อมูลกับเรา หรือร้องขอการบริการจากเรา ผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นบนมือถือ หรือช่องทางอื่นใดของเรา ตัวอย่างเช่น การนัดหมายการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของห้องปฏิบัติการ
  2. เราอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจากบุคคลที่สาม เช่น โรงพยาบาลในเครือข่าย ธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ให้บริการของเรา หน่วยงานภาครัฐ

 

ข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวม

ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวมจากคุณจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวมและประเภทของบริการที่คุณร้องขอจากเรา ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เราเก็บรวบรวมโดยตรงจากคุณ หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้

  • ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วันเดือนปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
  • ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล
  • ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และรายละเอียดบัญชีธนาคาร
  • ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายการตรวจวิเคราะห์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการเกี่ยวกับบริการเสริมอื่นๆ
  • ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
  • ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
  • ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของเรา เช่น IP Address, Cookies, Online Appointment System
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ผลการทดสอบจากห้องทดลอง และการวินิจฉัย
  • ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้

เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากรรม เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของคุณ

 

การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

เราอาจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  • จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของเรา
  • นัดหมายการตรวจ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของบริษัท
  • การประสานงานและส่งต่อข้อมูลให้กับโรงพยาบาลเครือข่าย ซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วย มีความรวดเร็วขึ้น
  • การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
  • ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมาย หรือการเสนอความช่วยเหลือจากเรา
  • จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
  • เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบคำถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน เช่น การเรียกร้องสัมภาระหรือความสูญหายใดๆ
  • สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด และวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
  • วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่น การตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
  • รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะใช้บริการภายในบริษัท
  • ปฏิบัติตามกฎของบริษัท
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆ จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • วัตถุประสงค์อื่นๆที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจากคุณเป็นครั้งคราว

 

 การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

เราอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของคุณไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือนอกประเทศไทย โดยเราจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและกฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่

  • โรงพยาบาลเครือข่าย ธุรกิจคู่ค้า และธุรกิจพันธมิตร
  • บริษัทในเครือ ตัวแทน ผู้ให้บริการ หรือคู่ค้าที่ให้บริการแก่เรา หรือดำเนินการใดๆในฐานะตัวแทนของเรา เช่น ผู้ให้บริการด้าน IT
  • หุ้นส่วนทางธุรกิจ เช่น โรงแรม บริษัทรถเช่า บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนนและสิทธิประโยชน์ และบริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการให้บริการลูกค้า หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
  • เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
  • หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
  • หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้

 

การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม

เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของเรา อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากคุณไปตามลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าเราไม่สามารถรับผิดชอบใดๆต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการควบคุมของเรา กรุณาตรวจสอบว่าคุณพอใจกับนโยบายความเป็นส่วนตัวของแต่ละเว็บไซต์ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย

  1. ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณจะถูกเก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทางกฎหมาย
  2. เราจะใช้มาตรการทางเทคนิค และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของคุณที่เราเก็บรวบรวม เช่น เราใช้โปรโตคอลความปลอดภัย (Secure Sockets Layer: SSL) สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต

สิทธิตามกฎหมายในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คุณมีสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณดังนี้

  1. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  2. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
  3. สิทธิในการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล
  4. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  5. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิในการเพิกถอนคำยินยอมการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  7. สิทธิในการขอรับ ส่ง หรือโอนข้อมูลสาวนบุคคล
  8. สิทธิในการร้องเรียนในกรณีที่คุณเห็นว่าบริษัทกรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

โดยคุณสามารถแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิดังกล่าว ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรอกข้อความในแบบฟอร์มการขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือติดต่อเจ้าหน้าทีคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer, DPO) Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Data Privacy Officer

คุณสิทธิชัย เลิศชัยเพชร

บริษัท กรุงเทพ พยาธิ-แลป จำกัด

เลขที่ 167 ซอยระนอง 1 ถนนพระรามหก แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 ประเทศไทย

 

การเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

เราอาจทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้เป็นครั้งคราวเพื่อให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของการให้บริการและการดำเนินงานของเรา ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นจากคุณ รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยนโยบายเวอร์ชั่นล่าสุดจะประกาศบนเว็บไซต์ของเราที่ www.bpl.co.th เพื่อให้คุณทราบแนวทางที่เราใช้ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ

หากคุณมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ โปรดติดต่อเราได้ที่อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 (ปรับปรุงประกาศ 8 มิถุนายน 2566)

ปรอท (Mercury)

            ปรอทมีรูปแบบปรากฏอยู่ 3 ลักษณะ คือ (1) รูปของโลหะ (metallic mercury) ซึ่งเป็นของเหลวในอุณหภูมิปกติ (2) รูปแบบที่ปรอทจับตัวกับ chlorine, sulfur หรือ oxygen เกิดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ หรือเกลือ และ (3) ปรอทที่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เช่น methylmercury และ ethylmercury ได้เคยมีการนำปรอทมาใช้ในรูปแบบของ ของใช้ประจำวันหลายอย่าง เช่น ยา วัคซีน เครื่องสำอาง และในทาง  ทันตกรรม เป็นต้น

            ปรอทเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ไอละเหยของโลหะปรอท ผ่านเข้าทางการหายใจ หรือผ่านทางผิวหนังโดยตรง รวมทั้งปรอทที่อยู่ในสารอุดฟันเป็นต้น แต่การเข้าสู่ร่างกายวิธีนี้ของปรอทถือว่าไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก ทางที่ปรอทเข้าสู่ร่างกายที่ถือว่าสำคัญที่สุดคือผ่านทางอาหาร โดยเฉพาะ จากปลาทะเล ชนิดกินเนื้อที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารระดับสูง เช่น ปลาฉลาม ปลาดาบ ปลาแมคาดอร์เรล และปลาทูน่า เป็นต้น เคยมีรายงานพบปริมาณปรอทในเนื้อปลาฉลาม สูงถึง 4.540 ppm ซึ่งถือว่าสูงมาก มีคำแนะนำว่าไม่ควรกินปลาทูน่ากระป๋องเกินกว่าสัปดาห์ละ 170 กรัม สารประกอบปรอทในเนื้อปลาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงคือ methylmercury ซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์น้ำโดยเฉพาะ เนื้อปลา ซึ่งแม้ทำให้สุกแล้วก็ไม่สามารถกำจัดออกไปให้หมดได้

            สำหรับ ไอปรอท ที่ผ่านเข้าทางระบบหายใจมีความเป็นพิษสูงมาก สามารถผ่านเข้าสู่สมอง ผ่านเข้าสู่เด็กในครรภ์ ก่อให้เกิดอาการพิษ และอาจถึงแก่ชีวิตถ้าได้รับในปริมาณมาก อาการพิษจากไอปรอท แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 เกิดขึ้น 1-3 วันหลังจากการได้รับไอปรอท อาการที่พบคล้ายกับโรคหวัด ช่วงที่ 2 จะมีอาการทางระบบหายใจและปอด ช่วงที่ 3 จะมีอาการอักเสบของเยื่อบุในปากและคอ สูญเสียความทรงจำ นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก และตัวสั่นเป็นต้น

           Methyl mercury (MeHg) ส่วนใหญ่เข้าสู่ร่างกายจากการกินปลา หรือสัตว์น้ำที่มีสารปรอทอยู่ในเนื้อ อาการพิษที่พบระยะแรกมักไม่ชัดเจน แต่อาจเสียชีวิตได้แม้ได้รับในปริมาณไม่มากนัก ปรอทเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้มีการทำลาย เซลล์ประสาทในสมองส่งผลให้ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ มีอาการตัวสั่น สูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน และยังสามารถถ่ายทอดไปถึงลูกในครรภ์ได้

           สำหรับ Mercuric chloride (HgC2) แม้จะเป็นพิษต่อระบบประสาทเช่นกัน แต่การดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินอาหารเป็นไปได้น้อยมาก จึงไม่มีความสำคัญมากนัก เช่นเดียวกับ ethylmercury ที่ปัจจุบันยังไม่รู้ถึงความเป็นพิษมากนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์

ผู้ป่วยรายแรกและรายเดียวของโลกที่หายจากโรคเอดส์และการรักษาโรคเอดส์ในอนาคต

tumblr ln02opECkz1qccxdd

         ผู้ติดเชื้อ HIV ที่หายขาดจากโรคเอดส์รายนี้ชื่อ Timothy Ray Brown ซึ่งถูกตั้งชื่อว่า Berlin Patient เนื่องจากเหตุเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน นาย Brown ติดเชื้อ HIV และเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว(Leukemia) จึงได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในปี 2007 แต่ปรากฏว่าไขกระดูกที่ได้รับนั้นได้มาจากผู้บริจาคที่มีการแปรผันของยีนที่พบได้ยากมาก(rare mutation)ยีนหนึ่งคือ CCR5 โดยยีนนี้ทำหน้าที่ สร้างโปรตีน CCR5 ที่อยู่บนผิวของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งโปรตีนนี้มีความสำคัญมากต่อไวรัส HIV เนื่องจากไวรัสต้องอาศัยโปรตีน CCR5 เป็นตัวจับและส่งไวรัสให้เข้าไปภายในเซลล์ ดังนั้นถ้าไม่มีโปรตีน CCR5 อยู่บนผิวของเซลล์ภูมิคุ้มกันไวรัสก็ไม่สามารถเข้าไปทำลายภายในเซลล์ได้ ผลจากการที่ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกของนาย Timothy Ray Brown จึงทำให้ไวรัส HIV หมดไปจากกระแสเลือดและถือได้ว่าหายจากโรคเอดส์อย่างสมบูรณ์มีหลักฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนเป็นรายแรกและรายเดียวในโลก

         ผลจากการค้นพบนี้ทำให้มีความหวังในการที่จะรักษาโรคเอดส์ได้ โดยอาจทำได้ 2 วิธีคือการปลูกถ่ายไขกระดูกดังกล่าว และการหาวิธีการที่จะให้ยีน CCR5 ของผู้ป่วยหยุดทำงาน (knock gene) เพื่อไม่ให้มีโปรตีน CCR5 บนผิวของเซลล์ภูมิคุ้มกัน

         วิธีแรกเป็นวิธีที่ค่อนข้างมีราคาสูง และมีความเสี่ยงต่ออันตรายสูง จึงไม่เหมาะที่จะทำกับผู้ป่วยจำนวนมาก ส่วนวิธีที่สอง ถ้าสามารถพัฒนาเทคนิคการหยุดการทำงานของยีน CCR5 ขึ้นมาได้ก็จะมีความเป็นไปได้สูงที่ในอนาคตจะสามารถยับยั้งเชื่อไวรัส HIV ในกระแสเลือดได้ ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานวิจัยที่ทำงานด้านนี้ทั้งในมหาวิทยาลัยต่างๆ และเอกชนกำลังทำการทดลองกันอย่างจริงจัง และพอจะมีผลสรุปได้ว่าได้ผลพอดีสมควรแต่จำเป็นต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลดี และเชื่อถือได้ ดังนั้นเป้าหมายการรักษาโรคเอดส์ ปัจจุบันจึงต้องสร้างเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันที่มีการจัดการยีนที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัส HIV เข้าสู่เซลล์ได้ ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่า นักวิทยาศาสตร์ จะสามารถดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จได้ในระยะไม่ไกลนัก

Related image

 

          เนื้อปลาแซลมอน เป็นอาหารยอดนิยมในประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยเฉพาะในอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของปลาสด เนื้อปลารมควัน หรือเนื้อปลาย่าง ปลาแซลมอน ซึ่งเคยมีราคาแพงมาก ปัจจุบันราคาต่ำกว่า เนื้อปลาบางชนิดในทะเลไทยเนื่องจากปลาแซลมอน ที่นำเข้ามาเกือบทั้งหมดมาจากฟาร์มเลี้ยงปลา ที่ใหญ่มากในประเทศยุโรป โดยเฉพาะประเทศนอร์เวย์ ทำให้มีราคาถูกมาก ขณะที่ปลาแซลมอนที่จับได้จากธรรมชาติจะมีราคาแพงมาก ความนิยมกินปลาแซลมอนมาจากข้อมูลที่ว่า ปลาแซลมอนมีกรดไขมัน โอเมกา-3 สูง มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

          มีรายงานพบว่าเนื้อปลาแซลมอนเป็นหนึ่งในเนื้อสัตว์ที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุดเนื่องจากฟาร์มมีการเลี้ยงอย่างแออัด ทำให้ต้องใส่สารเคมีและยาปฏิชีวนะลงในบ่อปริมาณมาก เพื่อกำจัดปรสิตและแบคทีเรียหลายชนิด มีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนที่ขายในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีสาร polychlorinated biphenyls (PCB) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งขณะที่เนื้อปลาแซลมอนในธรรมชาติที่มีสีชมพูเนื่องจาก ปลากินกุ้งตัวเล็กๆและสาหร่ายทะเล แต่ปลาแซลมอนจากฟาร์มกินอาหารที่ให้สีจำพวก astaxanthin และ canthaxanthin ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบประสาท และยังมีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนจากฟาร์ม มีกรดไขมัน โอเมกา-3 น้อยกว่าเนื้อปลาแซลมอนธรรมชาติถึง 3 เท่า แต่มีสารก่อมะเร็งจากฟาร์มเลี้ยงสูงกว่าเนื้อปลาแซลม่อนธรรมชาติถึง 16 เท่า และมากกว่าเนื้อวัว 4 เท่า

          การกินอาหารให้ปลอดภัยจึงต้องกระจายความเสี่ยงโดยกินให้หลากหลายและกินพอประมาณจะช่วยให้โอกาสปลอดภัยจากโรคร้ายมากขึ้น

 

 

viverrini

            โรคพยาธิใบไม้ตับจากการติดเชื้อพยาธิ O. viverrini ยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศไทย แม้ว่าจะมียาที่สามารถใช้ในการรักษาได้ผลดี แต่การแพร่กระจายของพยาธิใบไม้ก็ยังไม่ได้ลดลงแต่อย่างใดรายงานจากการศึกษาเมื่อ พ.ศ.2535 พบว่ามีประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือติดเชื้อประมาณ 7ล้านคน และต่อมาในปี พ.ศ.2541 มีรายงานประมาณการติดเชื้อสูงถึง 13.8 ล้านคน ผู้ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจะมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังทำงานได้ไม่เต็มที่ นอกจากนั้นการติดเชื่อพยาธิใบไม้ตับยังก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่สำคัญคือ มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma)

cholangiocarcinoma

            มะเร็งท่อน้ำดีเป็นมะเร็งที่พบว่ามีอุบัติการณ์สูงมากในประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งระบาดของโรคใบไม้ตับมีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็น 12 เท่าของประชากรในภาคอื่นรายงานพบว่าอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งท่อน้ำดีของประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 54คนต่อประชากร 100,000 คน หรือคิดเป็นอุบัติการณ์ซึ่งได้ปรับอายุแล้ว 87คนต่อประชากร 100,000 คน เพศชายมีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่าเพศหญิง 2-3 เท่า ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ของประชากรในทวีปยุโรปแล้วรับว่าสูงมาก

            จากการศึกษาที่ผ่านมาทั้งการวิจัยทางคลินิกแบบ case-control study การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาและการวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่าการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สูงที่สุดต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มีหลักฐานยืนยันสนับสนุนอย่างชัดเจนว่ากลไกสำคัญเกิดจากกระบวนการร่วมกันของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ และการได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งได้แก่ ในโตรซามีน ซึ่งสารนี้พบได้มากในอาหารจำพวกหมักดองต่างๆ เช่น ปลาร้า ปลาส้ม ปูดอง และผลไม้ดองต่างๆ

            สำหรับการรักษามะเร็งท่อน้ำดีนั้นปัจจุบันยังขึ้นอยู่กับการผ่าตัดเป็นหลักซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดเนื้อมะเร็งออกให้มากที่สุด ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ต้องใช้วิธีฉายรังสี การผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดี อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยในระยะเวลา 5 ปี อยู่ระหว่างร้อยละ 8 ถึง 44 หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของเซลล์มะเร็ง สำหรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะใช้การควยคุมโรคและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ผู้ป่วยซึ่งตรวจพบมะเร็งขึ้นใหม่และผู้ป่วยซึ่งมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้เป็นหลักคือ 5-Fluorouracil (5-FU) โดยใช้ในรูปยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น methotrexate, leucoverin, cisplastin, mitomycin-C, หรือ interferon alpha (IFN-) อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยเคมีบำบัดดังกล่าวนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการยืดอายุผู้ป่วยได้อย่างมี่นัยสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนายาและ adjuvant ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการบำบัดมะเร็งท่อน้ำดีให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            มะเร็งตับที่มีอุบัติการณ์สูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยที่ผู้ป่วยส่วนมากเป็นชายและมักอยู่ในวัยทำงานความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจึงเป็นความสูญเสียของทั้งครอบครัว นับเป็นปัญหาทางสาธารสุขของประเทศที่สำคัญ สาเหตุของการเกิดมะเร็งพบว่ามีปัจจัยร่วมหลากหลาย และประกอบด้วยขบวนการหลายขั้นตอน ทำให้การควบคุมโรคมีได้หลายวิธีนับตั้งแต่การป้องกันการเกิดมะเร็งไปจนถึงการรักษา อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งท่อน้ำดีในปัจจุบันมักไม่ได้ผลเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการทางคลินิกใดๆ ที่จำเพาะในระยะแรก ผู้ป่วยมีอาการต่อเมื่อการดำเนินของโรคก้าวหน้าไปมาก การรักษาโดยการผ่าตัดในผู้ป่วยระยะโรคก้าวหน้าไปแล้วจึงได้ผลน้อยมาก รวมทั้งการใช้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษาก็ไม่ได้ผล ผู้ป่วยมีมักเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น การค้นหาสารที่สามารถให้ผลรักษาและมีอาการพิษต่ำจึง มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ