Covid#25 “Education is the process of turning cocksure stupidity into thoughtful uncertainty” K.G. Johnson

สิ่งที่เราทำนายเกี่ยวกับโรคโควิด19 มีโอกาสผิดแค่ไหน มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์ไหม
ต้องอธิบายก่อนครับว่า แพทย์ไม่เคยมั่นใจอะไรร้อยเปอร์เซนต์หรอกครับ ถ้ามั่นใจ 98-99% ก็ต้องพูดว่า 100% ไม่งั้นคนไข้งงแย่ ความจริงถ้าอะไรบางอย่างมีโอกาสถูกมากกว่า 95% ก็ต้องถือว่ามั่นใจแล้ว

แนวคิดเรื่อง Herd immunity มีโอกาสผิดไหม คำตอบคือ น้อยมาก แนวคิดนี้ใช้มานับร้อยปี มีรากฐานหนาแน่น และใช้คณิตศาสตร์ไม่ซับซ้อน

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการระบาดมีโอกาสผิดมากกว่า ขึ้นกับว่าใช้มันอย่างไร ถ้าสนใจเพียงเฉพาะลักษณะทั่วไปของการระบาด เช่น รูปร่างของกราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยเท่านั้น แบบจำลองจะไม่ค่อยผิด แต่ถ้าสนใจว่าจำนวนผู้ป่วยถูกต้องไหม จะมีโอกาสผิดมาก เพราะการจำลองทางคณิตศาสตร์ให้ถูกต้อง ต้องรวบรวมปัจจัยต่างๆเป็นตัวเลขที่ถูกต้องได้ทั้งหมด

สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดเกี่ยวกับแบบจำลองในประเทศไทย คือ เรามีจำนวนผู้ป่วยน้อยเกินคาด ทำไมเราจึงไม่มีผู้ป่วยมากเหมือนประเทศในยุโรป หรืออเมริกา

คำถามนี้มีความสำคัญมาก เวลาทำสงครามกับศัตรูที่กล้าแข็ง ถ้าเราชนะการรบเอาง่ายเกินคาด ก็ควรกังวลใจ

คำอธิบายที่กล่าวกันมากที่สุด คือการแพทย์และสาธารณสุขของเราดีมาก เรื่องนี้ไม่มีใครเถียงแน่นอน แต่คำอธิบายนี้มีข้อควรกังวลอยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือ เราดีกว่าประเทศอย่างเยอรมันถึงขนาดนั้นเชียวหรือ และข้อสองคือ ประเทศข้างๆเราเช่น ลาว เขมร พม่า ก็ดูเหมือนไม่มีผู้ป่วยมากสักเท่าไร แม้แต่อินเดียก็มีผู้ป่วยไม่มากเทียบกับประชากรพันล้าน

นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ก็พยายามขบปัญหานี้
สมมติฐานแรก คือ ประเทศเหล่านี้ส่วนมากมีการฉีดวัคซีนวัณโรค และวัคซีนวัณโรคช่วยลดความรุนแรงของโรคและทำให้เชื้อแพร่ได้น้อยลง ตอนนี้ก็มีการทดลองกันอยู่ คนไทยอายุต่ำกว่า 50 ปี ฉีดวัคซีนวัณโรคมาแล้วเกือบทุกคน ถ้าทฤษฎีนี้จริงก็ต้องเรียกว่า เราโชคดีมาก

สมมติฐานที่สอง คือ ประเทศเหล่านี้มีอากาศร้อนกว่าซึ่งเชื้อทนไม่ค่อยได้ ซึ่งมีหลักฐานการทดลองสนับสนุนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่แน่ใจกันว่า มันสำคัญขนาดนั้นเชียวหรือ บางคนแย้งว่า ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินศ์ก็ร้อนเหมือนกัน แต่การทดลองแสดงว่า ถ้าความชื้นสูง เช่นใกล้ทะเล เชื้อจะทนได้ดีกว่ามาก
ถ้าเรื่องนี้สำคัญ เราจะเดือดร้อนมากขึ้นเมื่ออากาศค่อยๆเย็นลงและฝนตกนับจากเดือนพฤษภาคมไป

สมมติฐานที่สาม คือประเทศเหล่านี้มีเชื้อโรคเพ่นพ่านอยู่มาก อาจมีการระบาดของเชื้อโคโรน่าอื่นที่ไม่ก่อโรครุนแรงอยู่เก่า ทำให้คนมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วบางส่วน สมมติฐานนี้ยังไม่สามารถหาหลักฐานสนับสนุนได้

การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ไม่ได้มีการนำสมมติฐานทั้งสามมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ทั้งสามเรื่องไม่น่ามีผลต่อ herd immunity
ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
2 พฤษภาคม เวลา 13:13 น.

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/65713

 

 

 
นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หน้าห้องไอซียู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตั้งคำถามถึง "บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า" ทำไมไม่ให้ฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวทั้งที่มีประสิทธิภาพคล้าย "จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน" ชี้ในภาวะฉุกเฉินควรเร่งให้ฉีดเพียงเข็มเดียว เพื่อทำให้มีวัคซีนมากขึ้น ฉีดได้จำนวนคนมากขึ้น

วันนี้ (25 พ.ค.) นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ เป็นหัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” ข้องใจเกี่ยวกับวัคซีนของ "บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)" หลังพบว่ามีเทคโนโลยีสร้างภูมิต้านทานไวรัสโควิด-19 คล้ายของ "จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน" และ "สปุตนิก" โดยหมอมนูญได้ระบุข้อความว่า

"ผมตั้งคำถามบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ว่าทำไมไม่ปรับลดโดสการฉีดวัคซีนให้เหลือเข็มเดียวสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาในภาวะที่มีวัคซีนไม่เพียงพอ

วัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าใช้เทคโนโลยีอะดีโนไวรัส (Adenovirus) เป็นพาหะนำรหัสพันธุกรรม (DNA) ของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโปรตีนส่วนที่เป็นหนามของเชื้อไวรัส เหมือนกับเทคโนโลยีวัคซีนของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) สหรัฐอเมริกา วัคซีนสปุตนิก (Sputnik) ของประเทศรัสเซีย และวัคซีนแคนซิโน (Cansino) ของประเทศจีน ที่ให้โดสเข็มเดียวจบ ไม่ต้องให้เข็มสองดังที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้ากำหนดไว้

ข้อแตกต่างของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าคือใช้อะดีโนไวรัสของลิงชิมแปนซีแทนที่จะใช้อะดีโนไวรัสของคนเหมือนบริษัทอื่น

ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหลังฉีดเข็มแรกดีพอๆ กับวัคซีนของบริษัทอื่นที่ให้ฉีดเพียงเข็มเดียว มีการศึกษาในคนไทยพบภูมิคุ้มกันขึ้นสูงมากหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าโดสแรก 4 สัปดาห์ วัคซีนสปุตนิกของรัสเซียเดิมให้ 2 เข็ม ต่อมาปรับลดลงเหลือ 1 เข็มเพื่อจะได้ฉีดให้คนมากขึ้น เป็นความคิดที่ถูกต้องสำหรับประเทศที่ขาดแคลนวัคซีน ล่าสุดวัคซีนแคนซิโนของจีนประกาศให้เข็มเดียวพอ

เหตุผลที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าให้เข็ม 2 เพื่อกระตุ้นให้มีภูมิคุ้มกันนานขึ้น แต่ในภาวะที่มีไวรัสกลายพันธุ์หลายชนิดที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มแรก อย่างไรเราต้องให้เข็มถัดไปที่เป็นวัคซีนรุ่นใหม่ที่ทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสามารถครอบคลุมเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ และบราซิลในต้นปีหน้า
ประโยชน์ของการให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเข็มเดียวทำให้มีวัคซีนมากขึ้นสามารถฉีดจำนวนคนได้มากขึ้นเท่าตัว เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เร็วขึ้น ถึงเวลาแล้วที่บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าน่าจะปรับคำแนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนาลดเหลือ 1 เข็ม เหมือนวัคซีนทุกบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน"
 
"หมอมนูญ" ยกเคสวัคซีนช่วยเสริม "ยารักษาโควิด" ลดความรุนแรงโควิดได้ดีกว่า 

"หมอมนูญ" ยกเคสเปรียบเทียบ ผู้รับ "ยารักษาโควิด" โมลนูพิราเวียร์ พบผู้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม รักษาอาการได้ดีกว่าผู้ไม่ได้รับวัคซีน แนะเลิกใช้ ฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

"หมอมนูญ" นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ยกเคสเปรียบเทียบผู้ป่วยสูงอายุ 2 คน คนหนึ่งได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม อีกคนหนึ่งไม่เคยรับวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว ได้ "ยารักษาโควิด" โมลนูพิราเวียร์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรง
หลังติดเชื้อไวรัสโควิด19

ผู้ป่วยชายอายุ 74 ปี มีโรคความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต ได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม เข็มสุดท้ายเดือนมิถุนายน 2564 เริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ 3 วัน ไม่เหนื่อย

ตรวจพบติดเชื้อไวรัสโควิด RT-PCR บวก วันที่ 3 เมษายน 2565 ระดับออกซิเจนในเลือดปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ เริ่มยาโมลนูพิราเวียร์ 4 แคปซูล ทุก 12 ชั่วโมง ไข้ลง ไอ เจ็บคอดีขึ้น ไม่มีผลข้างเคียงจากยา หลังกินยาโมลนูพิราเวียร์ครบ 5 วัน สบายดี กลับบ้านได้ ติดตามอีก 2 สัปดาห์ เอกซเรย์ปอดปกติ

ผู้ป่วยชายอายุ 77 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว ไอ มีเสมหะ 4 วัน ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย ตรวจพบติดเชื้อไวรัสโควิด19 RT-PCR บวกวันที่ 11 เมษายน 2565 ระดับออกซิเจนในเลือดปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ ค่าบ่งชี้ถึงการอักเสบในร่างกายปกติ hs-CRP 1.6 (ค่าปกติ 0-5) เริ่มยาโมลนูพิราเวียร์วันที่ 12 เมษายน 2565 ไอ เสมหะลดลง ไม่มีผลข้างเคียงจากยา หลังกินยาครบ 5 วันอาการดีขึ้น แต่วันที่ 18 เมษายน หลังหยุดยาโมลนูพิราเวียร์ 1 วัน มีไข้ เจ็บคอ ตรวจพบค่าการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น hs-CRP 30.2 เอกซเรย์ปอดปกติ ระดับออกซิเจนในเลือดยังปกติ ได้ให้ยาสเตียรอยด์ 5 วัน อาการไข้ ระคายคอดีขึ้น ติดตามผู้ป่วยดีขึ้น เอกซเรย์ปอดปกติ

สรุป : การได้รับวัคซีน 2 เข็มถึงแม้จะยังไม่ได้เข็มกระตุ้น ดีกว่าไม่เคยรับวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว วัคซีนช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ยาโมลนูพิราเวียร์ ให้เร็วภายใน 5 วัน มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันคนสูงอายุที่ยังไม่ได้วัคซีนเข็มแรก หรือได้รับ 2 เข็มยังไม่ได้เข็มกระตุ้น ไม่ให้ป่วยรุนแรง ป้องกันปอดอักเสบได้ ถึงเวลาแล้วที่แพทย์ไทยไม่ควรใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีความเสี่ยงสูงเกิดอาการรุนแรง เพราะเรามียาที่มีประสิทธิภาพดีกว่า

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/513542?adz=

 

 

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ เผยผลวิจัย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ไม่ลดจำนวนเชื้อไวรัสในร่างกาย ไม่ช่วยให้อาการติด "โควิด-19" ดีขึ้น แต่คนที่กินกลับมีกรดยูริกสูงขึ้น พร้อมแนะไทยควรเลิกนำมาใช้รักษาผู้ป่วย

วันนี้ (9 ก.ย.) เฟซบุ๊ก "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" หรือ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความระบุว่า "ทราบจากสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2564 ผลการศึกษาแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอก ที่ทำในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล สร้างความผิดหวังให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยาตัวนี้

ในที่สุด ผลงานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2565 การศึกษาทำในช่วง พ.ย. 2563-ต.ค. 2564 เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในคนติดเชื้อไวรัสโควิด 1,187 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ชาวอเมริกัน 963 คน, เม็กซิกัน 163 คน, บราซิล 65 คน) โดยให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ ให้ยาทั้งหมด 10 วัน 599 คน รับยาฟาวิพิราเวียร์ 588 คนรับยาหลอก

ผลการศึกษาพบว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่แตกต่างจากยาหลอก ไม่ช่วยทำให้อาการของโรคโควิดดีขึ้น ไม่ลดความรุนแรงของโรค ไม่ลดการป่วยหนักเข้านอนในโรงพยาบาล ไม่ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย แต่คนที่กินยาฟาวิพิราเวียร์มีกรดยูริกสูงขึ้นถึง 19.9% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก 2.8% ในการศึกษานี้พูดถึงประเทศที่ยังใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประเทศรัสเซีย, อินโดนีเซีย, ดูไบ และประเทศไทยรวมอยู่ด้วย บทสรุปของการศึกษานี้ ไม่ควรนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19

 
ขณะที่ ยาโมลนูพิราเวียร์ ปัจจุบันราคาไม่แพงกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์นานแล้ว และเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ และแพ็กซ์โลวิดซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์ลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้านอนในโรงพยาบาล องค์การเภสัชกรรมควรเลิกผลิต นำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ และไม่ควรส่งยาฟาวิพิราเวียร์ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป
 
 
 

"หมอยง" ชี้ 1 ปี สถานการณ์โควิดทั่วโลกกำลังโผล่จากหุบเหว

 

"หมอยง" ชี้ ทั่วโลกสู้กับโควิด-19 มาเป็นเวลา 1 ปี ได้ผ่านพ้นจากหุบเหวและกำลังจะวิ่งขึ้นแล้ว หลังจากใช้มาตรการควบคุมโรคด้วยวิถีชีวิตใหม่-มีวัคซีนมาเสริม

 

วันนี้ 11 ก.พ. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" ระบุว่า โควิด-19 ทั่วโลกกำลังโผล่จากหุบเหว

 

จากการฟันฝ่ากับโควิด-19 มาเป็นเวลา 1 ปี ได้ผ่านพ้นจากหุบเหว และกำลังจะวิ่งขึ้นแล้ว หลังจากที่มาตรการในการควบคุมโรคด้วยวิถีชีวิตใหม่ และมีวัคซีนมาเสริม ตัวเลขของผู้ป่วยทั่วโลกได้สูงสุดในเดือนธันวาคม ก่อนปีใหม่ มีการป่วยสูงสุดวันละ 7 แสนราย ขณะนี้ผู้ป่วยต่อวันได้ลดลงมาก ตัวเลขผู้ป่วยต่อวันเหลือเพียง 3 แสนกว่าแล้ว แต่ของประเทศไทยอย่าให้เป็นขาขึ้นก็แล้วกัน

มีการพัฒนาวัคซีนมาใช้มากกว่า 10 ตำรับ และมีอัตราการให้วัคซีนพุ่งเป็นก้าวกระโดด ตัวเลขผู้ป่วยในประเทศตะวันตก เริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องสู้กับไวรัสก็คือ ไวรัสพยายามหลีกหนีภูมิต้านทานของวัคซีน จะเห็นได้ว่ามีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น สายพันธุ์อังกฤษ แอฟริกาใต้ และบราซิล

สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และบราซิล เก่งในการหลบหลีกวัคซีนได้ดี ล่าสุดมีการศึกษาขนาดเล็กในแอฟริกาใต้ออกมาว่า ประสิทธิผลของวัคซีน AstraZeneca ลดลงเหลือต่ำมาก อย่าบอกตัวเลขเลยนะ เป็นเหตุให้แอฟริกาใต้ได้รับวัคซีนไปแล้ว ระงับการฉีดวัคซีนไปก่อน รอข้อมูลเพิ่มวัคซีนที่ผลิตจำนวนมาก ตอนนี้ถ้าไม่รีบขาย ต่อไปก็จะต้องรีบวิ่งมาหาเราเองแน่นอน

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/458004?adz=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ