จับประเด็นร้อน "นพ.ยง ภู่วรวรรณ" ชี้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก ต้องปลอดภัยสูงจึงคุ้มค่า วัยเรียน เป็นแล้วไม่รุนแรง นอกจากจะนำเชื้อมาสู่ผู้แก่ผู้เฒ่าที่บ้าน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan โดยเนื้อหาระบุว่า...
โควิด-19 วัคซีน การให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก
ทุกคนควรได้รับวัคซีน แต่ปัญหาโรคโควิด 19 มีความรุนแรงในผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว
เด็กถึงแม้จะเป็นโควิด จะมีอาการน้อย โอกาสเป็นปอดบวมน้อยมาก และยิ่งน้อยมาก ๆ ที่จะเสียชีวิตจากโควิด-19
การให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก วัคซีนจะต้องมีความปลอดภัยสูงมาก จึงจะคุ้มค่า เพราะตัวเด็กเอง โดยเฉพาะวัยเรียน เป็นแล้วไม่รุนแรง นอกจากจะนำเชื้อมาสู่ผู้แก่ ผู้เฒ่าที่บ้าน หรือทำให้เกิดการระบาดได้โดยเฉพาะในโรงเรียน ที่มีคนอยู่ร่วมกันมากๆ
การให้ mRNA วัคซีนในเด็กอายุ 12-17 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถ้าคำนึงถึงผลได้ ผลเสียในระยะเวลา 120 วัน เด็กอายุ 12-17 ปี ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 mRNA 1 ล้านคน จะป้องกันการเสียชีวิตในเด็กชายได้ 2 คน และถ้าเป็น เด็กหญิง 1 คน
ถ้าฉีดวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 มีโอกาศเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในเด็กวัยชาย (12 ถึง 17 ปี) 59 -69 คน เด็กวัยหญิง 8-10 คน ใน 1 ล้านคนที่ฉีดวัคซีน ใน (ประเทศสหรัฐอเมริกา) MMWR July 9 2021; 70 (27): 977 -982
กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรจะได้รับวัคซีนก่อนให้มากที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของโรค และอัตราการเสียชีวิตก่อน แล้วถ้าวัคซีนมีมากเพียงพอ ทุกคน ก็ควรได้รับวัคซีน รวมทั้งเด็กด้วย
ความเสี่ยงและประโยชนที่ได้ จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครอง
ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/959353?anf=
"หมอยง" เตือนสถานบันเทิงเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้อย่างดี ยกเคสเกาหลี-ญี่ปุ่น เหตุเป็นสถานที่ปิด พูดคุยกันเสียงดังและใกล้ชิด
วันนี้ 3 ธ.ค. 2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุ โควิด-19 สถานบันเทิง
สถานบันเทิงเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้อย่างดี มีตัวอย่างมากมายจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศทางตะวันตก
การระบาดจากพม่าที่ท่าขี้เหล็ก ก็เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศไทยที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่ในขณะนี้
เราอยากให้ทุกคนมาช่วยกันแก้ปัญหานี้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/450680?adz=
"หมอยง" เผยไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ รวมทั้งฝีดาษวานร หรือ “ฝีดาษลิง” สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน แทนการปลูกฝี - อาการแทรกซ้อนน้อยกว่า
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ "หมอยง" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เผยข้อมูลความว่า
ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ไข้ทรพิษ หรือฝีดาษ รวมทั้งฝีดาษวานร สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ไวรัสในกลุ่มฝีดาษไข้ทรพิษ และ ฝีดาษวานร หรือ “ฝีดาษลิง” มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ในกลุ่มฝีดาษ ระบบภูมิคุ้มกันข้ามมาป้องกัน ซึ่งกันและกัน
สมัยเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ที่ใช้ฝีดาษวัว (Vaccinia) มาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว และประสบผลสำเร็จ จนในที่สุด โรคไข้ทรพิษได้หายไปจนหมดสิ้น องค์การอนามัยโลกยกเลิกการปลูกฝีอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ 2523 หลายประเทศยกเลิกก่อนหน้านั้น
ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนให้ดีขึ้น (ใช้ Vaccinia Ankara strain) แทนการปลูกฝี เป็นไวรัสเชื้อเป็นที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์และไม่แบ่งตัว มาใช้วิธีการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยไม่เกิดอาการตุ่มหนองฝี มีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าวิธีการปลูกฝี
ปัจจุบันวัคซีนได้อนุมัติใช้ทางประเทศตะวันตก ยุโรปและอเมริกา
โรคฝีดาษวานร หรือ “ฝีดาษลิง” วัคซีนที่ใช้ในการป้องกันก็ไม่ได้เริ่มต้นมาจากศูนย์ แบบการพัฒนาวัคซีนป้องกัน covid 19
ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/1007000?anf=
"หมอยง" ชี้ ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 เมื่อนำมาใช้จริงประสิทธิภาพจะต่ำกว่าข้อมูลในการศึกษาวิจัย เหตุการใช้ในภาคสนามมีตัวแปรอื่นๆอีกมากมาย ย้ำทุกคนต้องเข้มงวดใส่หน้ากากฯ ล้างมือ และกำหนดระยะห่าง
วันนี้ 22 ม.ค. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน ประสิทธิภาพของวัคซีน
ประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อนำไปใช้จริง ประสิทธิภาพจะต่ำกว่าข้อมูลจากการศึกษาในการวิจัย ทั้งนี้เพราะการใช้ในภาคสนาม มีตัวแปรอื่นๆอีกมากมาย
เราจะเห็นได้จากประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถ้าเราดูตามที่บริษัทบอกจะมีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ในการใช้จริงจะต่ำกว่าที่เขียนไว้ในฉลากยาอย่างแน่นอน
ในทำนองเดียวกัน การศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนของไวรัสตับอักเสบ บี ที่ผมทำการศึกษาในอดีต ในการศึกษาวิจัยจะมีประสิทธิภาพสูงมาก สูงถึงร้อยละ 94-95 แต่เมื่อนำไปใช้จริงในประชากรหมู่มาก หรือให้กับทารกทุกคน ประสิทธิภาพโดยรวมจะลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เหลือประมาณ 80 ต้นๆ
ทำนองเดียวกัน ประสิทธิภาพของวัคซีน Covid-19 ที่มีการศึกษากันมาก มีสูงสุดถึงร้อยละ 95 แต่เมื่อนำมาใช้จริงประสิทธิภาพจะน้อยกว่าในการศึกษาวิจัย การใช้ภาคสนามยังมีตัวแปรอื่นๆที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้
ในขณะนี้คงต้องรอดูประสิทธิภาพวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ ที่ให้กับคนหมู่มากในประเทศอิสราเอล เพราะให้ไปแล้วมากกว่า 30% ของประชากร
และในทำนองเดียวกันคงต้องรอดูประสิทธิภาพ ของวัคซีนจีน Sinopharm ที่ให้ในประชากรประเทศ UAE ที่ให้ไปมากกว่าร้อยละ 20 แล้ว คงจะเห็นผล ประสิทธิภาพในชีวิตจริง และจะมีรายงานออกมาในเร็วๆนี้
ดังนั้นเราจะไม่รอความหวังจากวัคซีนอย่างเดียว ถึงแม้จะมีการให้วัคซีน มาตรการอย่างอื่นในการควบคุมโรคยังจะต้องเป็นเหมือนเดิมในปีนี้ ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และ กำหนดระยะห่างของบุคคล
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/456023?adz=
เรื่องของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ยังคงเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญทั่วโลกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และหยุดการระบาดของเชื้อโควิดให้เร็วที่สุดประเทศไทยเองก็เดินหน้าในการปูพรมฉีดวัคซีนโควิดให้แก่ประชาชน โดยพบว่าจำนวนการฉีดวัคซีนล่าสุดอยู่ที่ 2,264,308 ราย (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 16 พ.ค.)
นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุถึง คนอายุน้อย และวัยทำงานที่ฉีดวัคซีนโควิด จะมีโอกาสเป็นไข้ไม่สบายตัว เป็นเรื่องปกติดที่พบได้ พร้อมแนะนำขั้นตอนในการดูแลตนเองหลังจากฉีดวัคซีน
ทั่วโลกมีประชากร 7,000 ล้านคน ถ้าจะให้วัคซีนให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นมาได้ต้องให้อย่างน้อย 5,000 ล้านคนหรือประมาณ 10,000 ล้านโดส ขณะนี้ทั่วโลกได้รับวัคซีนไปแล้วเกือบ 1,500 ล้านโดส หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมาย ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่เป็นเจ้าของวัคซีน เช่น จีน อเมริกา และยุโรป ถึงแม้ว่าอินเดียจะระดมฉีดวัคซีนกันขนาดใหญ่ก็ยังไล่ไม่ทันการระบาดของโรค โดยขณะนี้ฉีดวัคซีนทั่วโลกเฉลี่ยวันละไม่ถึง 25 ล้านโดส ถ้าด้วยอัตราขนาดนี้ก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะได้เป้าหมายทั่วโลก นอกจากว่ามีอัตราการเร่งผลิตและฉีดให้ได้มากกว่านี้อีก 1 เท่าตัว ก็จะบรรลุเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้
สำหรับประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้ว 2.26 ล้านโดส โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 100 ล้านโดสหรือได้ประมาณ 2.2 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายที่จะให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ใน 100 ล้านโดสนี้เราจะต้องฉีดให้คนไทยประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 300,000 โดส จึงจะบรรลุเป้าหมายภายในสิ้นปีนี้ นับเป็นงานใหญ่มากสำหรับประเทศไทยสิ่งที่ทุกคนจะต้องเข้าใจโดยเฉพาะการให้วัคซีน AstraZeneca ในคนที่มีอายุน้อยหรือวัยทำงาน โอกาสจะเป็นไข้ ไม่สบายตัว ปวดเมื่อยตัวเหมือนไข้หวัดใหญ่ จะสูงมากกว่าผู้สูงวัยที่ผ่านมาเราฉีดวัคซีน AstraZeneca ในผู้สูงวัย เราจึงยังไม่ค่อยเห็นใครบ่นเรื่องไข้หลังฉีดวัคซีน
เมื่อฉีดวัคซีนหมู่มากที่กำลังจะมาถึงโดยเฉพาะในวัยทำงานหรือที่อายุน้อยกว่า 30 ปี หลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ให้เตรียมยาพาราเซตามอลไว้ได้เลย เมื่อฉีดแล้วกลับถึงบ้านกินเลยก็ไม่ว่ากัน จากการศึกษาที่ศูนย์ฯให้วัคซีนในกลุ่มอายุน้อยจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าและบางคนอาจจะมีบวมแดงบริเวณฉีด ถือเป็นปฏิกิริยาของวัคซีนที่เป็นเรื่องที่พบได้ไม่ต้องตกใจ อาการดังกล่าวจะอยู่ชั่วคราวเท่านั้น โดยทั่วไปอาการไข้จะอยู่ 24 ชั่วโมงและมีน้อยที่จะเป็น 2 วัน และน้อยมากๆที่จะถึง 3 วัน จากการศึกษาของเราพบว่า ผู้ที่มีอายุน้อยและมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนมาก จะมีภูมิต้านทานที่สูง จึงไม่แปลกผู้หญิงมีภูมิต้านทานสูงกว่าผู้ชายผู้ที่มีอายุน้อยจะมีภูมิต้านทานสูงกว่าผู้ที่มีอายุมากหรือผู้สูงวัย ถ้าทุกคนเตรียมตัวก็จะได้ไม่ตื่นตระหนกถึงอาการที่เกิดขึ้น นอกจากว่ามีอาการมากก็ต้องพบแพทย์
ขอบคุณ : นพ.ยง ภู่วรวรรณ
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/467162?adz=
หน้าที่ 32 จาก 147