"หมอยง" แนะวิธีรับมือโควิดอย่างไรให้ปลอดภัยช่วง "เปิดเทอม" เช็คที่นี่
 
 

"หมอยง" แนะ วิธีรับมือโควิด-19 ช่วงเปิดเทอม1/2565 ทุกระดับที่อาจได้รับเชื้อ ทั้ง โรงเรียน นักเรียนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก จนถึงพ่อแม่ผู้ปกครองทางบ้าน เช็คที่นี่มีรายละเอียด

ใกล้ "เปิดเทอม" ภาคเรียนที่1 /2565 แล้ว เด็กๆ และพ่อแม่ผู้ปกครอง คงจะตื่นเต้นดีใจ หวังได้เรียนออนไซต์ที่โรงเรียนเต็มรูปแบบในช่วงเปิดเทอมนี้ เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ ครู ผู้ปกครอง  ครูของครูแพทย์ หรือ "หมอยง" มีคำแนะนำดีๆ มาฝาก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า ใกล้เปิดเทอมแล้ว เด็กต้องไปโรงเรียน หยุดมา 2 ปีแล้ว เรียนทางไกล สิงคโปร์ ปีที่แล้วไม่หยุดเรียน

ผู้ปกครองอดห่วงไม่ได้ การระบาดโรคทางเดินหายใจ จะเป็นช่วงเปิดเทอมฤดูฝน มิถุนายน ถึงกันยายน ทุกปี ถ้าเปิดเรียนปกติ โรคทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่ ไข้โควิด จะพบเพิ่มขึ้น เด็กเป็นผู้ขยายกระจายเชื้อได้ดี เราต้องช่วยกัน มีความพร้อมทั้งตัวนักเรียน ทางบ้าน และโรงเรียน

เด็กนักเรียน

โรคโควิด 19 ในเด็ก จะมีความรุนแรง และที่พบเสียชีวิตได้ ถึงแม้เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุ ก็เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนใหญ่พบในเด็กเล็กน้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะ 2 ขวบปีแรก กลุ่มนี้ไม่มีวัคซีน ในบางประเทศเช่นจีน และอีกหลายประเทศ ให้วัคซีนเชื้อตายตั้งแต่อายุ 3 ขวบขึ้นไป ประเทศไทย อย. ยังไม่อนุมัติให้ในเด็กต่ำกว่า 6 ปี ถ้าวัคซีนลดความรุนแรงของโรคได้ น่าจะต้องมีการพิจารณา

เด็กอนุบาล

เป็นเรื่องยากมากในการดูแล ทางด้านสุขอนามัย กำหนดระยะห่าง และหน้ากากอนามัย สำหรับเด็กเล็ก ในบางโอกาสก็ไม่เหมาะ จึงต้องช่วยกันโดยเฉพาะเด็กอนุบาล ที่จะเปิดเทอม

เด็กประถม

ควรรับวัคซีนให้มากที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของโรค เคร่งครัดในระเบียบวินัย เด็กป่วยต้องไม่ไปโรงเรียน มีการตรวจกรองสม่ำเสมอ เพื่อแยกผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ด้วยวิธีที่เหมาะสม การใช้ ATK ทั้งประเทศคงเป็นการยาก

เด็กมัธยม

บางโรงเรียน นักเรียน ต้องมีการจัดการเป็นรูปธรรม ให้เปิดโรงเรียนได้ โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ และมีนักเรียนต่อห้องจำนวนมาก

ทางบ้าน

เด็กมีโอกาสนำเชื้อจากบ้านไปสู่โรงเรียน หรือจากโรงเรียนกลับมาอยู่บ้าน คนในบ้านโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม เพื่อลดความรุนแรงของโรค เพราะมีโอกาสที่จะติดต่อกันในครอบครัว

ด้านโรงเรียน

ต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับของทุกคน และปฏิบัติได้ ตรวจกรองเด็กป่วย ทุกวัน เด็กป่วยต้องไม่ไปโรงเรียน เพื่อลดการสัมผัสกับนักเรียนอื่น การกักตัวนักเรียนเสี่ยงสูง ในการให้หยุดเรียน มีมาตรการชัดเจน เพื่อลดการระบาดในโรงเรียน เคร่งครัดสุขอนามัย กำหนดระยะห่าง ลดการสัมผัสโรค ใส่หน้ากากอนามัย

สถานที่เรียน

ควรโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ในชนบทไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ถ้าห้องแอร์ ต้องมีการระบายอากาศ เปิดหน้าต่างเป็นครั้งคราว หรือเปิดไว้ เล็กน้อยเพื่อให้อากาศถ่ายเท ดูแลเรื่องความสะอาด มีสถานที่ล้างมืออย่างเพียงพอ

ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อการศึกษาไทยได้เดินไปข้างหน้า

เราเสียเวลามา 2 ปี มากพอแล้ว

ขอบคุณที่มา : เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/512609?adz=

 

 
"หมอยง" ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีน โควิด-19 กี่เข็มถึงจะพอ?
 
"หมอยง" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีน โควิด-19 กี่เข็มถึงจะพอ? ย้ำวัคซีน 3 เข็มแรกจำเป็น ช่วยลดอาการของโรค - สร้างความจำให้ร่างกายได้รู้จักเชื้อไวรัส covid

วันที่ 3 มีนาคม 2565 ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หรือ "หมอยง" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุถึง โควิด-19 วัคซีน จะ "ฉีดวัคซีน" กี่เข็มพอ

 

โดย "หมอยง" ระบุว่า เราเริ่มเรียนรู้มากขึ้น วัคซีนที่เราให้ เพื่อป้องกันลดความรุนแรงของโรค ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไวรัสโควิดมีระยะฟักตัวสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด วัคซีนที่ใช้ ใช้สายพันธุ์ดั้งเดิมตั้งแต่อู่ฮั่น ถึงแม้ว่าจะใช้สายพันธุ์ใหม่ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิม

การติดเชื้อในธรรมชาติ เมื่อวัดภูมิต้านทานต่อหนามแหลม ก็ไม่ได้สูงมาก วัคซีนที่ทำมาจากจำเพาะหนามแหลม สร้างภูมิต้านทานที่สูงมาก ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ที่มีความจำเพาะต่อนั้นแหลม จะขึ้นสูงมากก็จริง แต่ก็จะลดลงตามกาลเวลา จึงไม่มีวัคซีนเทพ สูงมากก็ลงเร็วมาก เป็นกฎเกณฑ์ของร่างกาย 

การฉีดวัคซีนจะกี่เข็มก็ตาม ยี่ห้ออะไรก็ตาม ขึ้นสูงก็ลงเร็ว ขึ้นน้อยก็ลงช้า ประสิทธิภาพของวัคซีนจึงสูงสุดเมื่อ 14 ถึง 28 วัน หลังจากนั้นก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์โอไมครอน สามารถติดต่อได้ง่าย แต่ความรุนแรงของโรคลดลง ประกอบกับการมีภูมิต้านทานเป็นบางส่วน จากการที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือได้รับวัคซีน เป็นส่วนประกอบให้ความรุนแรงของโรคลดลง

เมื่อความรุนแรงของโรคลดลง และติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ก็สามารถแพร่โรคได้โดยไม่รู้ตัว ก็คงหนีไม่พ้นจากการรับเชื้อโดยไม่รู้ตัว การสืบสวน Time Line เมื่อมีการติดเชื้อจำนวนมาก ก็จะไม่มีการพูดถึงแล้ว

ในปัจจุบัน อายุของการติดเชื้อลดลงมาอย่างมาก ลงมาสู่วัยเด็ก โดยที่มีอาการน้อย และในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียน ถึงแม้ว่าเด็กฉีดวัคซีนแล้วก็มีโอกาสติดเชื้อได้

ในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ยอมรับ ไม่มีการปิดโรงเรียน ตรวจ ATK เมื่อติดเชื้อรักษาตามอาการ อยู่บ้าน ครบ 7 วัน กลับมาเรียนได้ ไม่มีการตรวจเชื้อซ้ำ หรือตรวจเชื้อซ้ำขึ้น 2 ขีด ก็ไม่ได้สนใจ เพราะการติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในวันแรก และเมื่อเกิน 7 วันไปแล้วโอกาสแพร่กระจายเชื้อจะน้อยมาก

เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อได้วัคซีน 3 เข็มแล้ว 4 เข็มแล้ว ภูมิต้านทานจะสูงในเดือนแรกๆ แล้วก็ลดลงเหมือนเดิมอีก เราจะกระตุ้นวัคซีนไปเรื่อยๆ หรือถึงมีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสก็เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปตลอด ได้ยินเสมอว่าฉีดวัคซีนมา 3 เข็มแล้วก็ยังติดเชื้อได้

อย่างไรก็ตาม การได้วัคซีน 3 เข็มแรกจึงมีความจำเป็นเพื่อลดอาการของโรคให้ได้ และสร้างหรือความจำให้ร่างกายได้รับรู้จักเชื้อไวรัส covid

สิ่งที่สำคัญขณะนี้จึงเน้นป้องกันใน กลุ่มเปราะบาง มีโรคประจำตัว และทุกคนจะต้องดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ดำรงชีวิตอยู่แบบวิถีชีวิตใหม่ (new normal) และปกติต่อไป (next normal) ทุกชีวิตต้องเดินหน้า

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/991442?anf=

 
 

"หมอยง"ตอบชัดแล้ว วัคซีนโควิดเข็ม 4 จำเป็นจริงหรือไม่ คนไทยต้องรู้

 

"หมอยง"ตอบชัดแล้ว วัคซีนโควิดเข็ม 4 จำเป็นจริงหรือไม่ คนไทยต้องรู้

การฉีดวัคซีนป้องกัน covid 19 เปรียบเสมือนสร้างหน่วยป้องกัน ที่เป็นทหารด่านหน้า หรือลาดตระเวน และทหารที่ประจำการอยู่ในบ้าน ในเมือง

โดยหลักการแต่เดิมถ้าวัคซีนสามารถฝึกทหารด้านหน้า หรือลาดตระเวนได้ดี ข้าศึกหรือตัวไวรัสก็ไม่สามารถที่จะโจมตีบ้านหรือเมืองเราได้ แต่วัคซีน covid 19 หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ทั้งนี้เพราะไวรัสโควิด- 19 สามารถเปลี่ยนรูปร่าง ปลอมปนทำให้ทหาร ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นข้าศึก จึงทำให้ไวรัสเข้าจู่โจมบ้านเมืองเราได้ การฉีดวัคซีนไม่ว่ากี่เข็ม จึงมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้

แต่วัคซีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถฝึกทหารในเมือง หรือในบ้านเรา ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นถึงแม้ว่าไวรัสหรือข้าศึกจะเข้าบ้านเราได้ เราก็สามารถกำจัดกวาดล้างได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายบ้านเมือง เปรียบเสมือน การติดเชื้อ เชื้อไม่ลงปอด ความรุนแรงน้อยลง ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากการเสียหายของร่างกาย ลดอัตราการเสียชีวิต

วัคซีน จึงลดความรุนแรงของโรคได้

การให้วัคซีนจึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้น หรือฝึกทหารให้แข็งแกร่ง ในการที่จะปกป้อง อันตรายที่จะเกิดขึ้น และถ้าให้มานานแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีการฝึกเป็นระยะ

 

จึงไม่แปลกที่กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะที่เราเรียกว่า 608 จำเป็นจะต้องมีการกระตุ้นเข็ม 4 เพื่อลดความรุนแรงของโรคลง จะได้ลดอัตราการสูญเสียต่อชีวิตลงได้

ในรายที่ร่างกายอ่อนแอมาก ให้วัคซีนก็ไม่สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานได้ ดังนั้นในบุคคลกลุ่มนี้จึงจำเป็นที่จะต้องให้ ภูมิต้านทานสำเร็จรูป ที่ใช้ในการป้องกัน เช่นผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ที่กินยากดภูมิต้านทาน ก็สามารถให้ภูมิต้านทานสำเร็จรูป ในการป้องกันระยะยาวได้ซึ่งขณะนี้ก็มีใช้ในเมืองไทยแล้ว

"หมอยง"ตอบชัดแล้ว วัคซีนโควิดเข็ม 4 จำเป็นจริงหรือไม่ คนไทยต้องรู้

 

ข้อมูลจาก https://www.tnews.co.th/social/573384

 

"หมอยง"เผยแค่ฉีดวัคซีน "แอสตราเซเนกา" เข็มแรก มีภูมิต้านทานร้อยละ96.7

 
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกาเพียง 1 เข็ม ก็ต้านทานเชื้อไวรัสโควิด19 ได้แล้วถึงร้อยละ96.7
 

ยังคงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการลดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นก็คือการให้ประชาชนคนไทยได้ฉีดวัคซีนโควิดจำนวนมากที่สุดและรวดเร็วเพื่อลดการระบาดและลดจำนวนผู้ป่วยหนักและเสียชีวิต
 

จากการายงานข้อมูลประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 พบประชาชน พบประชาชนฉีดวัคซีนโควิดสะสมอยู่ที่ 285,735ขณะที่  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกาเพียง 1  เข็ม 

โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม ยง ภู่วรวรรณ ทางศูนย์ได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ในคนไทย หลังเข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน เป็นการรายงานเบื้องต้น

ภูมิต้านทานที่ตรวจพบ มีการตอบสนอง ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ถึงร้อยละ  96.7  เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจวัดภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 4- 8 สัปดาห์ตรวจพบได้ร้อยละ 92.4 ดังแสดงในรูป 

ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ มีค่าตัวกลางเรขาคณิตเท่ากับ 40.61 u/ml เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ มีค่าเท่ากับ 60.86 u/ml ดังแสดงในรูปพบว่าระดับภูมิต้านทานที่พบเพศหญิงจะให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าเพศชายอายุที่น้อยกว่า 60 ปีจะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

ขณะนี้กำลังรอวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้และจะมีการตรวจเลือดหาภูมิต้านทานก่อนฉีดเข็มที่ 2 อีก 1 ครั้ง และหลังเข็ม 2 แล้ว 1 เดือนภูมิต้านทานน่าจะมีระดับสูงมาก และอยู่นานจากข้อมูลดังกล่าวพอสรุปได้ว่าแม้จะฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ก็เป็นที่น่าพอใจ

มีอยู่ 1 ราย ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกแล้วเกิดอาการแพ้ เลยฉีดเข็มที่ 2 ใน 3 อาทิตย์ต่อมา ด้วยวัคซีน AstraZeneca และตรวจเลือดเมื่อ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน AZ พบระดับภูมิต้านทานสูงมากสูงถึง 241 u/ml  

อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการฉีดวัคซีนเปลี่ยนชนิดกัน ในกรณี ที่เกิดเหตุการฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ขอความกรุณาติดต่อผมขอตรวจภูมิต้านทานด้วย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและรวมถึงอาการข้างเคียงที่อยากทราบมาก และการเปลี่ยนชนิดของวัคซีนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง 
 

การปูพรมฉีดเข็มเดียวไปก่อนให้ได้ประชากรมากที่สุด ด้วยวัคซีน AstraZeneca จะได้ประโยชน์สูงสุดแล้วตามด้วยกระตุ้นอีก 10 ถึง 12 สัปดาห์ต่อมา หรือนานกว่านั้น หมายความว่าในช่วง 3 เดือนแรก น่าจะปูพรมการฉีดวัคซีนไปเลย ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน ก็สามารถปูพรมไปได้ถึง 30 ล้านคนทีเดียว แล้วหลังจากนั้นก็ตามกระตุ้นรวมทั้งฉีดรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ก็จะได้เป้าหมายอย่างรวดเร็ว และถ้ามีวัคซีนชนิดอื่นมาเสริมด้วยแล้ว จะทำให้การให้วัคซีนกับประชาชนหมู่มากประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น  #หมอยง

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/465648?adz=

 

 "หมอศัล" รีวิวฉีด"Az"เข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด-ผลข้างเคียงน้อย

 

"หมอศัล" รีวิวฉีด"แอสตราเซเนกา" กระตุ้นเข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด และ ผลข้างเคียงน้อย

 

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยกรรมประสาท โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค Methee Wong ภายหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม แล้ว"บูสเตอร์โดส" ด้วยวัคซีน แอสตราเซเนกา ฉีดเข้าผิวหนังชั้นนอกเพียง 0.1 ซีซี ว่า SV+SV + "AZ 0.1 ID" m-RNA ใหม่มากกกก แถมยังไม่รู้ว่า long term จะมีผลอะไรหรือไม่
Astra แม้จะไม่ใหม่มาก แต่ก็ไม่นานพอแบบวัคซีนเชื้อตาย ที่ทราบว่าปลอดภัยมาก ที่สำคัญเห็นหลายคนต้องลาป่วย 2-3 วันล่วงหน้าก่อนฉีด เพราะบางคนไข้ขึ้นสูง ปวดเมื่อยหนาวสั่น ต้องหยุดงานหลังฉีด
 

 

"หมอศัล" รีวิวฉีด"Az"เข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด-ผลข้างเคียงน้อย

 

Sinovac ปลอดภัยที่สุด แต่ evidence based ปัจจุบัน คือรองรับ delta ไม่ได้ Evidence based จากการทำงานจริงล่าสุดคือ ฉีด vaccine ไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม อาจติดเชื้อได้ แต่ยังไม่เห็นใครที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วปวยหนัก เสียอย่างเดียวคือ ต้องหยุดงานรักษาตัว และกักตัว และอาจส่งผ่านเชื้อให้คนอื่นได้
ทางออกแบบครึ่งทาง  ฉีด Astra boost เข็มสาม แต่แทนที่จะฉีด Astra 0.5 ml IM ก็เปลี่ยนเป็น 0.1 ml ID  อย่างน้อยก็ลดสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าร่างกายลงได้ 5 เท่า ทำใจไว้ล่วงหน้าว่า ..หากภูมิไม่ขึ้น...ก็ค่อยไปฉีดแบบเข้ากล้าม หรือไปฉีดพวก m-RNA เลย
 

หมายเหตุ
IM(ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ)  ปลายเข็มฝังลึกเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อ
ID(ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง)  ปลายเข็มฝังตื้น ๆ ที่ผิวหนังชั้นนอกลึกไม่เกิน 2-3 มม.(คล้าย ๆ เข็มสะกิด)   วิธีนี้มีใช้กันมานานแล้ว แต่ฉีดยากกว่าการฉีดเข้ากล้าม เพราะต้องปักเข็มตื้นมาก ๆ แต่ข้อดีคือ แทบไม่มีความรู้สึกเจ็บเลย  มักใช้กับการทดสอบภูมิแพ้ หรือวัณโรค 

 

"หมอศัล" รีวิวฉีด"Az"เข็ม 3 แบบเข้าชั้นผิวหนังเพียง 0.1 CC ได้ผล 99% ประหยัด-ผลข้างเคียงน้อย

 

เหตุที่แทบไม่รู้สึกเจ็บเลย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้าม เพราะ
(1) เข็มที่ใช้จะขนาดเล็กกว่ามาก ปลายเข็มจะมีขนาดประมาณ 0.1 มม.
(2) ปักเข็มตื้นมากไม่เกิน 1-2 มม.  
(3) ความที่เข็มเล็ก และปักตื้น ทำให้ปริมาณที่ใช้จะน้อยกว่ามาก ผลคือยิ่งแทบไม่รู้สึกเจ็บขณะเดินยา

ส่วนเหตุที่ผลข้างเคียงหลังฉีดน้อยกว่ามากเพราะ
(1) ยาจะดูดซึมช้ามากที่สุด เมื่อเทียบกับการฉีดวิธีอื่น (ฉีดเข้าเส้นเลือด ฉีดใต้ผิวหน้ง ฉีดในกล้ามเนื้อ) จึงทำให้ยาค่อย ๆ ซึมเข้าร่างกายอย่างช้า ๆ
(2) ปริมาณยาใช้น้อยกว่าวิธีอื่นมาก
(3) ด้วยเหตุดังกล่าว หากเกิดการแพ้วัคซีน คนไข้จะค่อย ๆ มีอาการ เพราะยาดูดซึมช้ามาก แพทย์มีเวลาเหลือเฟือในการรับมือ

 

RESULT
วันแรกหลังฉีด ปกติดี ไม่นับมีปุ่มนูนแดงที่ไหล่ อันเป็นผลจากการฉีด ID
วันรุ่งขึ้นเช้า ปวดเมื่อยคล้ายนอนหลับไม่สนิท บ่ายตัวรุม ๆ  ตกเย็นปกติ
ผล neutralizing Ab (NTAb ภูมิต้านทานในเชิงคุณภาพ) ก่อนฉีด 47% (โอกาสที่ร่างกายจะกำจัดโควิดเมื่อหลุดรอดเข้าไปในตัวเรา อยุ่ที 47%)
หลังได้ 3rd Booster เป็น AZ 0.1 ID  2 สัปดาห์ 99%  (ร่างกายมีความสามารถกำจัดไวรัสได้ 99% พูดง่าย ๆ คือ โอกาสติดเชื้อ และป่วยแสดงอาการน้อยกว่า 1%  ซึ่งรวมถึงโอกาสการเป็นพาหะก็ลดลงด้วย)

 

ปล. ส่วนการตรวจแบบเชิงปริมาณ ที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ทำกันอยู่นั้น(ซึ่งบอกแต่ปริมาณ แต่อาจไม่ได้ผลจริงในการป้องกันตามตัวเลขที่สูง) คงไม่ต้องไปทำอีก เพราะ NTAb มีความน่าเชื่อถือกว่าอยู่แล้ว 

เท่าที่ทราบ หลายคนที่ฉีดวิธีนี้ ภูมิปกป้อง (Neurtralizing) สูงมากทุกคน อาการข้างเคียงหลังฉีดน้อยมาก

ถ้าผลวิจัยเป็นทางการออกมา รัฐจะมีวัคซีนสำหรับ booster เพิ่มขึ้น 5 เท่าทันที แถมไม่ต้องง้อ m-RNA อีกต่างหาก เพราะ AZ ผลิตได้ในบ้านเราแล้ว และน่าจะยืดระยะเวลาความเสี่ยงจากการได้รับวัคซีน m-RNA vaccine ได้อีกระยะ จนกว่าจะมั่นใจเรื่อง long term sequelae ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปี
การฉีดนี้เป็นการฉีดโดยสมัครใจ

ขณะเดียวกัน สอดรับกับที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เคยแนะนำถึงการฉีดวัคซีนเข็ม 3 เข้าบริเวณใต้ชั้นผิวหนัง เพียง 1 ใน 4 หรือ 1 ใน 5 โดส จะสามารถประหยัดวัคซีนให้คนอื่นได้อีก 4 คน ถือเป็นทางรอดของคนไทย

ที่มา : Methee Wong 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/478401?adz=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ