"โควิด19" เจอกลายพันธุ์อีก 1 ตัว ชื่อ B.1640.1 พบระบาดในแถบประเทศแคเมอรูน 

"โควิด19" ดร.อนันต์เผยเจอกลายพันธุ์เพิ่มอีก 1 ตัว ชื่อว่า B.1640.1 แถบประเทศแคเมอรูนพบนานกว่า 2 เดือน กลายพันธุ์ 46 ตำแหน่ง แนวโน้มไม่รุนแรงถูก "โอไมครอน" กลืน

อัปเดตสถานการ์การระบาดของ "โควิด19" ในประเทศไทยและต่างประเทศร่วมทั้งการระบาดของ "โอไมครอน"  โดยล่าสุด  ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)   โพสต์ระบุข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุว่า 

ข่าวแรกของปีคือการพบไวรัสโรคโควิด-19 กลายพันธุ์ตัวใหม่ที่คลัสเตอร์เล็กๆในฝรั่งเศส ชื่อว่า B.1640.1 เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแคเมอรูนจากผู้ป่วยรายแรก ไวรัสสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ทั้งหมด 46 ตำแหน่ง และมีส่วนที่ขาดหายไปของเบส (deletion) 37 ตำแหน่ง ส่งผลให้มีกรดอะมิโนเปลี่ยนไปจากเดิม 30 ตำแหน่ง และ หายไป 12 ตำแหน่ง
ถ้าพิจารณาเฉพาะกรดอะมิโนบนโปรตีนหนามสไปค์ พบว่ามี 14 ตำแหน่งที่เปลี่ยน และ 9 ตำแหน่งที่หายไป โดยตำแหน่งสำคัญที่พบรวมไปถึง N501Y และ E484K ด้วย การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จากตำแหน่งที่กลายพันธุ์ไปคาดว่าจะมีผลเรื่องการหนีภูมิคุ้มกันได้คล้ายๆกับโอมิครอน

"โควิด19" เจอกลายพันธุ์อีก 1 ตัว ชื่อ B.1640.1 พบระบาดในแถบประเทศแคเมอรูน

 

แต่...ขอจบด้วยข่าวดีรับปีใหม่ว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้คาดว่ามีแนวโน้มจะถูกกลืนด้วยโอมิครอน เพราะ ข้อมูลในฝรั่งเศสพบไวรัสสายพันธุ์นี้มาเกือบ 2 เดือนแล้ว ยังไม่ได้มีการพบการระบาดในประเทศมากขึ้นต่อจากคลัสเตอร์แรกที่พบ ซึ่งเมื่อเจอโอมิครอนที่วิ่งไวกว่า หนีภูมิอาจจะดีกว่า โอกาสของการกระจายตัวของไวรัสสายพันธุ์นี้ดูเหมือนน้อยลงไปด้วยครับ...ยังไงก็ดี ข่าวนี้ทำให้เราเห็นว่าไวรัสแปลกๆพร้อมแสดงตัวได้ตลอดเวลาครับ

ที่มา
https://www.medrxiv.org/.../2021.12.24.21268174v1.full...

 
"โควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ" ติดแล้วกี่วันแพร่ เช็คก่อนใช้ชีวิตปกติ
 
 

"โควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ" Omicron ติดแล้วกี่วันแพร่ ต้องกักตัวกี่วัน พิจารณา 3 ข้อสำคัญ เช็คก่อนใช้ชีวิตปกติ

"โควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ" เริ่มกลับมาเป็นคำถาม ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก หลัง โควิดระลอกใหม่ เริ่มกลับมาอีกครั้ง จากสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อย BA.4 BA.5 ที่กำลังกระจายไปทั่ว และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว พบการติดเชื้อ เพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยความที่อาการน้อย จึงเป็นคำถามว่า ตอนนี้ 5 วัน 7 วัน หรือ 10 วัน ถึงไม่แพร่เชื้อโควิดแล้ว

ระยะแพร่เชื้อโควิด (Infectious period) คือช่วงที่ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสให้คนอื่นได้ โดยโควิด-19 อาจมีระยะเวลาแพร่เชื้ออยู่ที่ 1-3 วันก่อนที่จะแสดงอาการ และยาวไปอีก 7 วันแรกหลังแสดงอาการ ซึ่งในบางกรณีอาจนานกว่านี้

 

แต่อาการโควิด-19 เช่น มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส อาจใช้เวลาแสดงไม่เท่ากันในแต่ละคน และอาจนานถึง 14 วัน ในขณะที่บางรายไม่มีอาการใดเลยตั้งแต่รับเชื้อจนหายดี ทำให้ระยะแพร่เชื้อโควิดนั้นยากที่จะระบุแน่ชัด

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลฉบับเร่งด่วนจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เตือนว่า โควิด-19 อาจแพร่เชื้อได้ทันที ดังนั้น ในระหว่างที่ยังรอการศึกษาเพิ่มเติม หากทราบว่าตนเองมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรกักตัวเองทันที

ติดโควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ

ติดโควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ

"โควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ" เลิกกักตัวได้เมื่อไหร่ ผู้ที่คิดว่าตัวเองอาจติดโควิด-19 จากการสังเกตอาการ มักได้รับคำแนะนำให้กักตัวในบ้านเป็นระยะเวลา 14 วัน โดยก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ 
หรือเลิกกักตัวอาจต้องพิจารณาข้อต่อไปนี้

  • ควรรออย่างน้อย 14 วันหลังจากอาการแรกเริ่มแสดงออกมา
  • อาการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 หายดี หรือดีขึ้นมาก (เนื่องจากอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรสอาจคงอยู่ได้นานหลายสัปดาห์ หรืออาจถึงเดือน)
  • ต้องไม่มีไข้เกินกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป โดยไม่ต้องใช้ยาลดไข้

"โควิดกี่วันไม่แพร่เชื้อ" ก่อนหน้านี้ ดร.โซรีอาโน ดร.วินเซนเต ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยนานาชาติ ลา รีโอฮา (International University of La Rioja) ในสเปน  กล่าวว่า เชื่อว่าไวรัสนี้ สามารถแพร่เชื้อได้เพียงแค่ 5 วันเท่านั้น พูดอีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการทำให้คนอื่นติดเชื้อ ในการแพร่เชื้อไวรัส อยู่ที่ 3-5 วัน หลังจากที่มีผลตรวจเป็นบวก ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 2 ของการติดเชื้อ โดยเชื้อกลายพันธุ์ "โอไมครอน" ดูเหมือนจะอยู่ในร่างกายคนได้ราว 7 วัน นั่นหมายความว่า ราว 7 วัน หลังจากมีอาการ คนส่วนใหญ่จะไม่แพร่เชื้อแล้ว ถ้าไม่แสดงอาการใด ๆ อีกต่อไป แต่ทั้งนี้ ก็อาจคลาดเคลื่อนได้

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/521833

 

"โอไมครอน" BA.2 ทดสอบแล้วพบก่อโรครุนแรง กระจายดีในจมูก-ทำปอดแย่ลง

"โอไมครอน" BA.2 หมอเฉลิมชัยเปิดผลทดสอบ พบก่อโรครุนแรงกระจายได้ดีในโพรงจมูก และทำสมรรถภาพปอดแย่ลง ติดเชื้อตัวนี้ต้องนอนโรงพยาบาลมากขึ้น

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ Blockdit "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" เกี่ยวกับการระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่ตัวใหม่ที่กำลังถูกจับตามองของทั่วโลก โดย ระบุว่า

ล่าสุด  ญี่ปุ่นพบว่าไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ 2 (BA.2) ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์ย่อยที่ 1 (BA.1) ในหนูแฮมสเตอร์

นับจากมีไวรัสโอมิครอนแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยมีความสามารถในการแพร่ที่รวดเร็วกว่าไวรัสเดลต้า แต่มีความรุนแรงน้อยกว่านั้น

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา มีข้อมูลเบื้องต้นสรุปได้ว่า

1. มีไวรัสสายพันธุ์ย่อยอยู่ 3 สายพันธุ์คือ BA.1 , BA.2 , BA.3

2.BA.1 เป็นหลัก โดยมี BA.2 เป็นลำดับที่ 2

3.BA.2 มีลักษณะเด่นคือ แพร่เร็วกว่า BA.1 มากถึง 30% ทำให้ขณะนี้แพร่ไปแล้ว 74 ประเทศ และ 47 รัฐของสหรัฐฯ

4. มีถึง 10 ประเทศ ที่มีสายพันธุ์ย่อย BA.2 เป็นสายพันธุ์หลักประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์ จีน บูรไน กวม และมอนเตรเนโก

5.BA.2 มีความสามารถในการดื้อต่อวัคซีนพอๆกับ BA.1 ทำให้ต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ซึ่งจะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อได้ 74% (ของไทยคือ 68%)

6.มีความสามารถในการก่อโรคที่มีอาการรุนแรงพอกันกับ สายพันธุ์ย่อย BA.1 แต่มีข้อมูลในประเทศเดนมาร์กที่พบว่าความรุนแรงเพิ่มขึ้นทำให้นอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แตกต่างกับแอฟริกาใต้และอังกฤษการนอนโรงพยาบาลไม่ได้เพิ่มขึ้น

7.มีการดื้อต่อการรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น ภูมิคุ้มกันแบบ Monoclonal Antibody

นพ.เฉลิมชัย ระบุเพิ่มเติมว่า  ขณะนี้มีรายงานการศึกษา "โอไมครอน" BA.2  ของญี่ปุ่นจากหลายสถาบัน หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยโตเกียว


ได้รายงานเบื้องต้นว่า

1. BA.2 อาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน แต่ควรจะนับเป็นสายพันธุ์หลักชนิดใหม่ และใช้ชื่ออักษรกรีกลำดับใหม่ ความเห็นนี้สอดคล้องกับ Dr.D.Rhoads ซึ่งเป็นนักไวรัสวิทยาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน

2. จากการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ พบว่าสายพันธุ์ BA.2 ก่อให้เกิดโรคที่มีอาการหนักกว่าสายพันธุ์ BA.1 ทำให้สมรรถภาพปอดแย่ลง มีการแบ่งตัวในเซลล์จมูกเร็วกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการแพร่เชื้อที่ง่ายกว่าด้วย

อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคจะมีมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ ความร้ายแรงของไวรัสเอง และระดับภูมิคุ้มกันของมนุษย์

ถ้า BA.2 มีความร้ายแรงในมนุษย์จริงก็ไม่ได้แปลว่า จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากกว่าเสมอไป  เพราะขณะนี้จำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีนมีเป็นจำนวนมากเกินกว่า 10,000 ล้านโดสแล้ว  ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้อาการไม่รุนแรงมากเท่ากับความร้ายแรงของไวรัสที่เพิ่มขึ้น

มนุษย์คงจะต้องติดตามศึกษาเรื่องคุณลักษณะต่างๆของไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ที่มีการกลายพันธุ์อยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาต่อไป

ไม่สามารถที่จะวางใจได้ว่า โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น หรือมีความรุนแรงน้อยลง จนไม่มีผลกระทบขนาดใหญ่

เพราะถ้าไวรัสกลายพันธุ์ไปในทิศทาง ที่แพร่เชื้อเร็ว ดื้อต่อวัคซีนมาก และก่อโรครุนแรง ก็จะเกิดการระบาดขนาดใหญ่ทั่วโลก และโควิด-19 ก็จะอยู่ต่อเนื่องไปอีก ซึ่งไม่มีใครทราบว่าจะนานเท่าใด

แต่ก็มีโอกาสอยู่บ้างเช่นกัน ที่การ กลายพันธุ์ จะทำให้ไวรัสแพร่ระบาดได้รวดเร็ว แต่สร้างความรุนแรงน้อยลง ก็จะเป็นโชคดีของมนุษยชาติ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505994?adz=

"โอไมครอน" BA.4-BA.5 ระบาด 21 ประเทศทั่วโลก แนะป้องกันให้ดีช่วงเปิดเทอม
 
 

"หมอธีระ" เผย "โอไมครอน" BA.4-BA.5 ระบาดไปแล้ว 21 ประเทศทั่วโลก คาดแพร่เชื้อเร็วกว่า BA.2 แนะป้องกันให้ดีช่วงเปิดเทอม

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน) เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาด "โอไมครอน" เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 306,415 คน ตายเพิ่ม 961 คน รวมแล้วติดไปรวม 517,567,394 คน เสียชีวิตรวม 6,277,503 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

สำหรับสถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา จนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.94% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนระบาด (Excess mortality rate) หากดูกราฟจะพบว่านับตั้งแต่ระลอกสองเมื่อปลายปี 2020 ระลอกสามตั้งแต่เมษายน 2021 และระลอกสี่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ประเทศไทยมี excess mortality rate สูงถึง 10%, >30%, และ >25% ตามลำดับ ซึ่งย่อมสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการไม่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้แม้อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินนั้นจะมาจากทุกสาเหตุก็ตาม แต่เป็นการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด19 จึงบ่งถึงผลกระทบที่เกิดจากโควิด19 ไม่ได้ ทั้งทางตรง (เสียชีวิตจากโควิด) และทางอ้อม (เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น ป่วยโรคอื่นแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดูแลรักษาได้จากสถานการณ์ระบาด ฯลฯ) เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการนโยบายสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรค และควบคุมการระบาดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นย่อมจะมีโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการมาไล่จัดการการระบาดหลังจากระบาดมากไปแล้ว เพราะจะจัดการได้ยากลำบาก และส่งผลต่อความสูญเสียและผลกระทบระยะยาว ทั้งจำนวนติดเชื้อ จำนวนป่วย จำนวนเสียชีวิต ที่สำคัญคือจำนวนคนที่จะเป็น Long COVID ในอนาคต

อัพเดตสถานะ Omicron สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ข้อมูลจาก de Oliveira T ระบุว่า ปัจจุบันสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้นั้น ได้กระจายไปอย่างน้อย 21 ประเทศทั่วโลกแล้ว

สมรรถนะการแพร่กระจายมีแนวโน้มเร็วกว่า BA.2 ที่ครองการระบาดทั่วโลกในขณะนี้ ส่วนเรื่องความรุนแรงของโรคนั้นคงต้องมีการติดตามผลการศึกษา
วิจัยกันต่อไป

คนที่ได้รับ Sinopharm ไปสองเข็ม จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทีมวิจัยจากประเทศจีน เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Cell Host & Microbes เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีน BBIBP-CorV หรือ Sinopharm 2 เข็มนั้นไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับไวรัสโรค โควิด19 สายพันธุ์ Omicron BA.1, BA.1.1, BA.2 and BA.3 ได้ จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

สถานการณ์ของไทยเรานั้น การระบาดยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระจายทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ทำงานที่มีคนมาก แออัดใกล้ชิด ทั้งที่ทำงานทั่วไป รวมถึงสถานพยาบาล สถานศึกษาที่มีการเปิดเรียนไปบ้างแล้ว และนำไปสู่การติดในสมาชิกครอบครัว การใส่หน้ากากเสมอ เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่ควรปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร

17 พ.ค.นี้ จะมีการเปิดเรียนในโรงเรียนต่างๆ คงต้องป้องกันให้ดี ผู้ปกครองควรพาเด็กๆ ที่อยู่ในวัยที่รับวัคซีนได้ไปฉีดให้ครบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการ ป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต 

อย่างไรก็ตามทั้งคุณครู และผู้ปกครอง ควรสอนและฝึกลูกหลานให้มีความรู้และทักษะในการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอขณะไปเรียน หมั่นเช็คสุขภาพ อาการต่างๆ ทุกวัน และเตรียมแผนในการดูแลเวลาไม่สบายไว้ล่วงหน้าก็จะทำให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ในอนาคตได้ทันและมีประสิทธิภาพ

โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ
โควิด...ติด...ไม่จบที่หาย แต่ป่วยได้ ตายได้ และที่สำคัญคือจะเกิดภาวะ Long COVID ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต และสมรรถนะการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาว ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
ณ จุดนี้...ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน...

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/514481?adz=

"โอไมครอน" WHO ชี้ วัคซีนโควิด ช่วยชีวิตได้จริง แม้ประสิทธิภาพจะลดลงก็ตาม
 
 

"โอไมครอน" โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังเป็นประเด็นกังวลทั่วโลก ล่าสุด ทาง WHO ออกมาประกาศว่า การฉีดวัคซีน สามารถช่วยชีวิตได้ ถึงแม้ประสิทธิภาพจะลดลง หากเจอสายพันธุ์โอไมครอนก็ตาม

"โอไมครอน" องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประชาชนจำเป็นต้องรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจาก วัคซีนสามารถช่วยชีวิตได้ ถึงแม้ ตอนนี้จะยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับสายพันธุ์ "โอไมครอน"ก็ตาม หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก มาเรีย แวน เคอร์โคฟ กล่าวว่า ผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดสมีโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิตต่ำกว่าผู้ไม่ได้รับวัคซีนอย่างมีนัยสำคัญ 


ยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่มากเกี่ยวกับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน" ขณะนี้ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าวัคซีนจะไม่ได้ผล การฉีดวัคซีนยังคงดีกว่าการไม่ฉีดเลย เพราะ วัคซีนสามารถช่วยชีวิตได้ ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพลดลงก็ตาม

 

ด้านการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยพิเศษ มีมติจัดตั้งคณะกรรมการการเจรจาระหว่างรัฐบาล (INB) เพื่อร่างและเจรจาเรื่องการประชุม, ข้อตกลง หรือเครื่องมือระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก สำหรับการป้องกัน, การเตรียมความพร้อม และการรับมือเชื้อไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน"

แถลงการณ์จากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีกำหนดจัดการประชุมครั้งแรกภายในวันที่ 1 มี.ค. 2022 เพื่อตกลงวิธีการทำงานและลำดับเวลา และจัดการประชุมครั้งที่สองภายในวันที่ 1 ส.ค. เพื่อหารือความก้าวหน้าของร่างการทำงาน

นอกจากนั้น องค์การอนามัยโลก ยังมีแผนจะส่งมอบรายงานความก้าวหน้าต่อการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 76 ในปี 2023 และยื่นผลการทำงานสำหรับการพิจารณาภายในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 77 ในปี 2024 ตามลำดับต่อไป

องค์การอนามัยโลก, WHO

องค์การอนามัยโลก, WHO

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/495360?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ