วัคซีนโควิด : หญิงไทยรับไฟเซอร์อีก 2 เข็ม หลังติดเชื้อ ทั้งที่รับซิโนฟาร์มครบโดสแล้ว

 
 

เช้าตรู่ของวันที่ฝนตกหนัก อากาศเย็นยะเยือกแม้อยู่ในช่วงฤดูร้อน ขณะฉันและสามีกำลังต่อแถวเข้าร้านอาหารเช้าชื่อดังริมท่าเรือของเมืองพอร์ตแลนด์ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของรัฐเมน ชายผิวขาววัยกลางคน 2 คนเดินออกมาจากร้านอาหาร ทั้งสองมองเราเหมือนเป็นตัวประหลาด หนึ่งในนั้นตะโกนใส่หน้าฉันว่า

“เธอเป็นบ้าอะไร จะใส่หน้ากากกันทำไมอีก คนเขาเลิกใส่กันแล้ว!”

เมื่อมองไปรอบตัว มีแค่เรา 2 คนที่ใส่หน้ากาก นอกนั้นคนที่กำลังยืนรอต่อแถวกันไม่มีใครใส่กันเลย ฉันตอบไปว่าฉันยังต้องการที่จะปกป้องตัวเองและคนอื่น โควิดยังไม่ได้หายไปไหน นายคนนั้นเดินส่ายหน้าใส่ก่อนจะตะโกนทิ้งท้ายใส่พวกเราว่า

“You guys are all f_ _ _ _ked up!!”

วัคซีน
 

ช่วงที่โลกเริ่มเผชิญการระบาดของโควิดตั้งแต่ต้นปี 2019 และมนุษย์กำลังคิดค้นหาวัคซีนป้องกัน การใส่หรือไม่ใส่หน้ากากกลายเป็นสัญลักษณ์ของการช่วงชิงพื้นที่ทางการเมือง ในสหรัฐอเมริกา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมสุดโต่งเชื่อว่าการใส่หน้ากากอนามัยคือสิ่งที่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตหรือกลุ่มเสรีนิยมเห็นพ้อง พวกเขาอ้างว่าสหรัฐฯเป็นประเทศที่ถือระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงถือเป็นสิทธิ์ทางการเมืองของพวกเขา ที่เลือกที่จะไม่ใส่ ไม่ควรมีใครที่จะมาลิดรอนสิทธิ์การหายใจโดยปลอดโปร่งของพวกเขา

Shoppers in a line with masks on

แต่พวกเขาละเลยที่จะเข้าใจว่าระบอบประชาธิปไตยคือการให้สิทธิ์ทางการเมืองต่อประชาชนทุกคนก็จริง แต่ต้องเป็นไปภายใต้ขอบเขตที่ว่าสิทธิ์ทางการเมืองที่ตัวเองมีจะไม่ไปทำร้าย รุกราน หรือย่ำยีสิทธิ์ทางการเมืองของผู้อื่น

การไม่ใส่หน้ากากของฝ่ายหนึ่งอาจทำร้ายหรือกระทั่งฆ่าคนอื่นด้วยการเป็นตัวแพร่กระจายโรคระบาด ด้วยเหตุนี้ผู้ว่าการของแต่ละรัฐต้องประกาศเป็นกฎหมายให้ทุกคนต้องใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ หากไม่ใส่จะจับและปรับ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้หลายคนที่ยังเชียร์โดนัลด์ ทรัมป์ เลือกที่จะไม่ฉีดวัคซีนเพราะยังเชื่อว่าวัคซีนคือเครื่องมือทางการเมืองของพรรคเดโมแครต

การปะทะกันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมืองของ 2 ฝ่ายยังมีให้เห็นอยู่โดยทั่ว ฉันไม่เคยคาดว่าจะเจอเหตุการณ์นี้ด้วยตัวเอง นายคนนั้นหาได้รู้ไม่ว่าพวกเราติดโควิดเมื่อเกือบ 2 เดือนที่แล้ว ใช้เวลาเป็นเดือนกว่าที่ร่างกายจะคืนสภาพจนเกือบปกติ การที่พวกเรายังใส่หน้ากากอนามัย ก็เพื่อป้องกันคนอื่นไม่ให้รับเชื้อจากพวกเราหากเรายังเป็นพาหะขณะเดียวกันพวกเราก็เข็ดขยาดกับการล้มป่วยเพราะโควิดอีก

Trump at walter ReedReuters

ยูเออีกับความเข้มงวดในการสกัดโควิด

แท้จริงแล้ว ถิ่นพำนักหลักของเราอยู่ที่รัฐอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่มีเหตุให้เดินทางมาสหรัฐอเมริกา อาบูดาบีถือว่าเป็นรัฐที่มีมาตรการการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้เข้มงวดที่สุดจากทั้งหมด 7 รัฐของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

ระยะที่โควิดเริ่มระบาด ยูเออีประกาศล็อกดาวน์ แต่ละรัฐต่างประกาศเคอร์ฟิวสำทับอีกชั้น รถบรรทุกขนาดใหญ่ออกวิ่งฉีดน้ำทำความสะอาดถนนหนทางในช่วงเคอร์ฟิว ถือเป็นช่วงที่รัฐบาลแต่ละประเทศยังจับแพะชนแกะในเรื่องการจัดการการแพร่กระจายของเชื้อโควิด

รัฐอาบูดาบีเข้มงวดกว่ารัฐอื่นมาก ประกาศเปิดเมืองช้ากว่ารัฐอื่น ประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าออกระหว่างรัฐอาบูดาบีจะต้องตรวจหาเชื้อโควิดแบบ PCR (Polymerase Chain Reaction) และระบบการตรวจหาเชื้อแบบใช้ชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลเร็ว แต่สถานที่ราชการมักนิยมผลการรับรองจากการตรวจแบบ PCR มากกว่า

เวลาเดินทางเข้าออกระหว่างรัฐ ผู้ที่เดินทางจะต้องตรวจก่อนเดินทางออกจากรัฐ 2 วัน และตรวจหาเชื้อก่อนกลับเข้ามาในรัฐล่วงหน้าก่อน 2 วัน พอกลับเข้ามาในรัฐอาบูดาบีก็ต้องตรวจซ้ำในวันที่ 4 ของวันที่กลับเข้ามา และตรวจซ้ำอีกรอบในวันที่ 8 เป็นการตรวจเพื่อย้ำว่าเราไม่มีเชื้อโควิดที่กำลังฟักตัวอยู่ในร่างกาย

 

วัคซีนซิโนฟาร์ม 2 แบบ ที่ผลิตจากกรุงปักกิ่งและนครอู่ฮั่น

วัคซีนฟรี

ด้วยความเข้มงวดในการตรวจโควิดของประเทศนี้ โอกาสการติดโควิดภายในรัฐอาบูดาบี จึงถือว่าค่อนข้างต่ำมาก อีกทั้งรัฐบาลยังจัดหาวัคซีนให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่เว้นคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศของเขา พวกเราก็ได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม

หลังฉีดครบโดส เราทิ้งระยะห่างให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานตามที่ทางกระทรวงสาธารณสุขของรัฐอาบูดาบีแนะนำ นั่นคืออย่างน้อย 21 วัน พวกเราจึงเดินทางจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปสหรัฐอเมริกา ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่าเมื่อได้วัคซีนกันครบ ทำตามที่รัฐบาลแนะนำทุกอย่าง ตรวจ PCR จนจมูกพรุนเสียขนาดนี้ โควิดคงไม่มาหาเรา

ทว่า 2 วันหลังเดินทางถึงรัฐเวอร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา จู่ ๆ สามีชาวอเมริกันก็บ่นว่ารู้สึกแย่ ครั่นเนื้อครั่นตัว นั่งทานข้าวกันอยู่ก็นั่งห่อตัวเพราะปวดท้อง ปวดบริเวณท้องน้อย บ่นว่าเหมือนจะเป็นไข้หวัด หรือไม่ก็ไส้ติ่ง คืนนั้นเขานอนซมทั้งคืน วันรุ่งขึ้นจึงพาเขาไปห้องฉุกเฉิน ผลการตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด แต่หมอให้กลับบ้าน เพราะมองว่าอาการไม่มาก นอกจากนี้รัฐเวอร์มอนต์เป็นรัฐที่มีอัตราการติดเชื้อโควิดต่ำกว่ารัฐอื่น ๆ เนื่องเพราะความหนาแน่นของประชากรน้อย และมีอัตราการฉีดวัคซีนจนครบโดสต่อประชากรของรัฐสูงที่สุดในสหรัฐอเมริกาคือที่ 66.6% ในขณะนี้

ผ่านไป 2 วัน ฉันก็มีอาการบ้าง เริ่มจากแสบคอและปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงไปตรวจแบบ PCR ที่แผนกตรวจเชื้อของโรงพยาบาล พอตกกลางคืน ฉันมีไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ เมื่อยเปลี้ยจนยืนแทบไม่ไหว ไอทั้งคืน แสบคอ ที่แปลกมากคือหูอื้อ อื้อแบบตุบ ๆ แถมมึน เหมือนสมองไม่ทำงาน ด้วยความที่มีโรคประจำตัว คือ หอบหืด และความดันสูง

วันรุ่งขึ้นจึงไปที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเดิม บอกเจ้าหน้าที่ว่าฉันอาจติดโควิด เขาไม่ให้เข้าไปทันที ให้ออกไปยืนรอข้างนอก ส่งพยาบาลออกมาถามอาการ บอกว่าทำอะไรมากไม่ได้ ให้กลับไปนอนพัก ดื่มน้ำเยอะ ๆ ถ้าจะมาก็ให้มาตอนรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก พูดง่าย ๆ คือ ใกล้ตายแล้วค่อยมา

ฉันถามกลับไปว่าทำไมเขาถึงปฏิเสธเรา เพราะวันนั้นสามี อาการเดียวกัน เขารับเข้าตรวจในห้องฉุกเฉิน แล้วให้กลับบ้าน แต่กับเรา เขาไม่แม้กระทั่งจะให้เข้าไป เขาบอกว่าเขาทำความสะอาดห้องผู้ป่วยโควิดแล้ว และไม่มีผู้ป่วยจากโควิดมานานแล้ว ฉันจึงกลับมานอนพักที่บ้าน ดื่มน้ำ ทานยาลดไข้พาราเซตามอลไป คาดว่าคงดีขึ้น จากนั้นก็มีคนของรัฐเวอร์มอนต์ โทรมาแจ้งผลตรวจว่าเป็นบวก

ฉันงุนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และตั้งคำถามว่า เราฉีดซิโนฟาร์มมา 2 โดสแล้ว ทำไมถึงยังติดโควิด แม้ค่าประสิทธิภาพ (efficacy) ของซิโนฟาร์มอยู่ที่ 79% แต่พวกเราก็ยังติดโควิด พวกเราเป็นห่วงว่าจะเป็นตัวแพร่เชื้อให้กับคุณแม่วัย 75 ปีของสามี แม้ว่าคุณแม่ได้รับวัคซีนของโมเดอร์นา ครบ 2โดส 1 เดือนล่วงหน้าก่อนที่พวกเรามาถึงอเมริกา พวกเราก็ยังต้องคอยระวังเรื่องอาหารการกินและการใช้ห้องน้ำ แต่โชคดีที่ ผลตรวจโควิด 3 รอบของคุณแม่ออกมาเป็นลบทุกครั้ง

กราฟิกBBC
 

ขณะนอนพัก อาการของฉัน เป็นแบบเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ต่อมรับกลิ่นรับรสไม่ทำงาน ฉันสามารถยื่นหน้าลงไปในกระบะทรายแมวในระยะประชิดได้สบาย ๆ เพราะไม่ได้กลิ่นอะไรเลย ต่อมรับรสก็แย่ลง คืนถัดมาก็เริ่มมีอาการประหลาด ต้นคอแข็ง ปวดกรามกับใบหน้าซีกซ้าย เจ็บจนชา จากนั้นน้ำลายก็ไหลไม่หยุด ตอนแรกกลัวว่าจะเป็นอาการเส้นเลือดในสมองตีบแบบอ่อน (mild stroke) เพราะฉันมีทั้งความดันสูง และไขมันในเลือดสูง คืนนั้นอาการทรุดลง ไข้ขึ้น ไอไม่หยุด ไข้ขึ้นถึง 103 องศาฟาเรนไฮต์ อาจเพราะคิดว่าดีขึ้น เลยหยุดกินไทลีนอล

ฉันนอนกระสับกระส่ายทั้งคืน อาการคือหนาวสั่นแต่จับตัวแล้วร้อนจัด พอทานยา ดื่มน้ำตาม สักพักก็เหงื่อท่วมตัว จนเหมือนจะดีขึ้น คืนถัดมาเลยทานยากัน ทั้ง NyQuil และ Ibuprofen ถ้าอยู่ไทยหรือเมืองใหญ่ป่านนี้ฉันคงถูกแอดมิตไปแล้ว นี่ดันมาป่วยแถบชานเมืองชนบทของอเมริกา คือต้องใกล้ตายหมอถึงจะช่วย แต่ก็ยังมีข้อดีคือทางนี้จะมีคนของรัฐคอยโทรมาถามอาการคนที่ติดโควิดอย่างใกล้ชิด

ถ้านับวันตั้งแต่ที่ติด ฉันยังต้องกักตัว จนครบ 14 วัน แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าฟังจากอาการแล้ว เขาแนะนำให้พักยาวกว่านั้น อย่าเพิ่งออกกำลังกายหนัก เพราะปอดยังไม่แข็งแรงดี โทรคุยกับหมอ เขาก็แนะนำให้ไปเอกซเรย์ปอดหลังจากนี้

จนวันที่ 10 ของการพักรักษาตัวที่บ้าน คิดว่า อาการดีขึ้น ออกไปเดินเล่นยามเย็น เดินแค่ประมาณกิโลนิด ๆ แล้วคืนนั้นก็ทรุดอีก รอบนี้หายใจไม่ออก รู้สึกว่าตรงช่วงหลอดลมมันตีบ ต้องใช้ยาพ่นตลอดเวลา ปกติไม่ได้ใช้มานานมาก พอนอนราบกลับยิ่งหายใจไม่ออก ต้องนั่งหลับ วันรุ่งขึ้นจึงไปโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ Dartmouth-Hitchcock ในรัฐนิวแฮมเชียร์ ยอมขับไปไกล ประมาณชั่วโมงครึ่ง แต่อุ่นใจกว่าโรงพยาบาลเล็ก เมื่อวันก่อน

 

graphicBBC
 

พอไปถึงห้องฉุกเฉิน ชี้แจงตามความเป็นจริงว่าติดโควิด เจ้าหน้าที่ที่ยืนกันอยู่ต่างผงะ ถอยห่างช้า ๆ เขาบอกให้ฉันยืนรอข้างนอก จะให้เจ้าหน้าที่เฉพาะมาดูแล เขาอธิบายว่าคนไข้โควิดแทบไม่มีแล้ว เขาเลยต้องเตรียมห้องเฉพาะให้ สักพักมีนางพยาบาลมารับตัว พาไปห้องฆ่าเชื้อ หนังที่เกี่ยวกับเชื้อโรคเป็นยังไง ที่ฉันเจอคืออย่างนั้น เข้าห้องฆ่าเชื้อ มีเตียงเดียว พยาบาลใส่ชุดครบกันเชื้อ หน้ากากแบบเหมือนในหนัง

โรงพยาบาลนี้ เป็นโรงเรียนการแพทย์ด้วย เขาเลยให้ความสนใจทุกกรณีศึกษา ยิ่งโดยเฉพาะเราฉีดวัคซีนครบโดส แต่ยังติดโควิด เขาวัดความดัน ตรวจค่าออกซิเจน ซึ่งตกลงมาที่ 93 ส่วนเครื่องเอกซเรย์ปอดก็ทันสมัยมาก เขาดึงเครื่องเข้ามาถึงในห้องฆ่าเชื้อกันเลย ผลคือปอดแข็งแรงดี แต่หืดหอบกำเริบฉับพลัน (acute exacerbation of asthma) เพราะโควิดไปกระตุ้น ต้องนอนสูดออกซิเจนพักใหญ่ ระหว่างนั้นเขาก็ฉีดสเตียรอยด์เข้าเส้นเพื่อขยายหลอดลม หมอแนะนำให้ไปพักฟื้นที่บ้านเพราะสบายกว่า แต่ให้คอยระวังอาการ สั่งยาสเตียรอยด์เพิ่ม แล้วหมอก็ย้ำว่าถ้าหายใจไม่ออกรอบนี้ควรโทรหา 911 ทันที

ฉีดแล้วติด แต่หายแล้ว ควรฉีดอีกไหม

หมอบอกว่าการที่ฉันได้วัคซีนเชื้อตายมาแล้ว 2 เข็ม แล้วยังติดโควิด ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง ถ้าอยากฉีดพวกไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาเพิ่มก็ทำได้ แต่ค่อยฉีดหลังจากหายดี นอกจากนี้หมอยังสำทับอีกว่าให้เตรียมใจ เพราะคนไข้ที่เคยติดโควิดเมื่อเจอวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ แบบ 2 ยี่ห้อนี้ เข็มแรกจะมีอาการแพ้หนัก จะรู้สึกเหมือนป่วยไข้หนักกว่าปกติ

ในความไม่รู้ และความสุ่มเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโลกขณะนี้ พวกเราถือเป็นคนที่ยังมะงุมมะงาหรากับเรื่องของโควิดและการฉีดวัคซีน พวกเรายังตั้งข้อสงสัยว่าอะไรควรหรือไม่ควร จะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย พวกเราสองสามีภรรยาใช้เวลาหาข้อมูลและถกเถียงกันว่าควรจะฉีดวัคซีนเสริมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันหรือไม่ ในช่วงขณะนั้นมีข่าวการแพร่ระบาดโควิดรอบใหม่ที่ บาห์เรน เซเชลส์ ชิลี และ มองโกเลีย ทั้งที่ประเทศเหล่านี้ล้วนได้รับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มกันถ้วนหน้า

ขณะเดียวกันก็มีข่าวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ชี้แจงว่าคนที่ร่างกายยังไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันแม้ว่าจะได้วัคซีนครบ 2 โดส ควรรับโดสที่ 3 เพื่อเป็นตัวเสริมให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานให้ดีขึ้น ส่วนอิสราเอลก็เริ่มฉีดไฟเซอร์โดส 3ให้ประชาชน เพราะสายพันธุ์เดลตา สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างทะลุทะลวงแม้ว่าตัวผู้ป่วยฉีดวัคซีนจนครบโดสแล้วก็ตาม

จากการติดตามหาอ่านข้อมูลขั้นต้น พวกเราเห็นว่าการฉีดวัคซีนจนครบโดส ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหนก็ตาม โอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์เดลตาถือว่าสูงมาก แต่การเลือกว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนตัวไหนอย่างไรก็ยังถือว่าสำคัญ เพราะระดับศักยภาพของวัคซีนแต่ละขนานจะต่างกัน ถ้ายิ่งศักยภาพของวัคซีนสูง โอกาสที่จะเสียชีวิตหรือป่วยหนักจากสายพันธุ์เดลตามีค่าความเสี่ยงต่ำ แต่ถ้าศักยภาพของวัคซีนต่ำ โอกาสที่จะเสียชีวิตและป่วยหนักจากสายพันธุ์เดลตามีค่าความเสี่ยงสูง อย่างเช่นกรณีการเสียชีวิตของหมอและบุคลากรสาธารสุขในอินโดนีเซีย ทั้งที่พวกเขาได้รับวัคซีนซิโนแวคจนครบโดสแล้วก็ตาม

พวกเราเปลี่ยนความคิดกันใหม่ จากที่มองว่าฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มแล้วทำไมยังติดโควิด พวกเรามองกลับอีกด้าน ว่าถ้าไม่ได้รับการป้องกันจากวัคซีนซิโนฟาร์มป่านนี้พวกเราอาจป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้ กรณีที่ฉันต้องไปโรงพยาบาลเป็นเพราะหืดหอบที่กำเริบ เพราะโควิดไปกระตุ้น แต่ไม่ได้เป็นเพราะตัวโควิดโดยตรง

เรารอดูอาการจนคาดว่าน่าจะคืนสู่ปกติ ราว 20 วันนับจากที่อาการดีขึ้น แล้วจึงตัดสินใจฉีดไฟเซอร์เสริม ด้วยความเชื่อว่าซิโนฟาร์มกับภูมิที่มีอาจจะต้านสายพันธุ์เดลตาได้ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่โปร่งใสเกี่ยวกับซิโนฟาร์มมีปรากฏเป็นข่าวน้อยมาก จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตก็ไม่เปิดเผยข้อมูล ยูเออีก็แทบจะไม่เปิดเผยข้อมูล จึงเกิดความกังขาต่อสมรรถภาพของซิโนฟาร์ม

ฉันและสามีใช้เวลาศึกษาอ่านข้อมูลของกรณีของอิสราเอลเพิ่มเติม จากข่าวของฟอร์บสที่รายงานว่ามีประชากรจำนวน 40% – 50% ติดโควิดแม้ว่าได้รับวัคซีนไฟเซอร์ครบโดส ตามผลการวิจัยกระทรวงสาธารณสุขของอิสราเอลรายงานว่าศักยภาพของไฟเซอร์ต่อโควิดสายพันธุ์เดลตาตกมาที่ 64% จาก 95-96% ในการป้องกันโควิดรุ่นแรกก่อนกลายพันธุ์

ขณะที่ซิโนฟาร์มมีค่าศักยภาพที่ 79% ก่อนการเกิดเดลตา แต่ไม่มีข้อมูลหลังจากที่โควิดสายพันธุ์เดลตาเริ่มระบาด พวกเราชั่งน้ำหนักกันแล้ว จึงเลือกฉีดไฟเซอร์เสริม ด้วยหลักการเดียวกันกับการกินข้าวปลาอาหาร นั่นคือกินอิ่มดีกว่ากินไม่พอ พวกเราคิดกันแบบนั้น ที่สำคัญ พวกเรากลัวที่จะติดโควิดกันอีก ความรู้สึกตอนที่หายใจไม่ออกเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด มันรู้สึกว่าเราใกล้ความตายเพียงนิดเดียว

หลังรับวัคซีนเอ็นอาร์เอ็มเอ สามีไม่ค่อยมีอาการมาก ส่วนตัวฉันมีไข้อ่อน ๆ พอเป็นพิธี หลังจากผ่านการต่อสู้กับโควิดพวกเรารู้สึกว่าไม่มีอะไรที่จะแย่ไปกว่าตอนไม่สบายช่วงที่เป็นโควิดอีกแล้ว การที่พวกเราได้วัคซีนทั้งหมด 4 โดสถือเป็นเรื่องที่พวกเราต้องเสี่ยง เพราะยังไม่มีผลการรับรองทางการแพทย์ฟันธงออกมาว่าการได้รับวัคซีนถึง4 โดส และตัวยาวัคซีนคนละตัวนั้น ผลข้างเคียงจะเป็นอย่างไร พวกเรายังใช้ชีวิตกันได้ตามปกติ แต่ก็คอยสังเกตอาการ

สิทธิ์การฉีดวัคซีนโดยทั่วถึง

วันนี้พวกเราได้รับวัคซีนทั้งหมด 4 โดส ไม่เคยคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ เพราะคนไทยอีกจำนวนมากในประเทศยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มแรก คำว่า pandemic มีรากมาจากภาษากรีก pan แปลว่าทั้งหมด demic มาจาก demos ซึ่งแปลว่าคน -ic แปลว่า belong to แปลง่าย ๆ คือ all the people คือเป็นเรื่องของคนทุกคน

pandemic คือเรื่องของมวลมนุษยชาติ โรคติดต่อไม่มีพรมแดน ไม่มีเรื่องสัญชาติหรือศาสนาเข้ามาแบ่งแยก มันไม่ใช่เป็นเรื่องแค่คนของประเทศใดประเทศหนึ่ง ฉันเองแม้ไม่ได้เป็นคนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่รัฐบาลก็ฉีดให้คนต่างชาติฟรี รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ฉีดให้คนต่างชาติที่เข้ามาในประเทศของเขาฟรี มนุษย์ทุกคนควรได้รับสิทธิ์การฉีดวัคซีนโดยทั่วถึง ไม่มีใครเป็นหนี้บุญคุณใคร เพราะเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลพึงกระทำให้กับประชาชนทุกคน

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_6515663

 

 กล่องบรรจุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี ถูกนำมาจัดแสดงในมหกรรมสินค้าที่นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา (ภาพ - China Daily via REUTERS)

 
กล่องบรรจุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี ถูกนำมาจัดแสดงในมหกรรมสินค้าที่นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา (ภาพ - China Daily via REUTERS)


มาร์เซโล เอบราร์ด รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก ทวีตข้อความวานนี้ (11 พ.ค.) ว่า วัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี (Walvax Biotechnology) กำลังจะเข้าสู่การทดลองเฟสที่ 3 ในวันที่ 30 พ.ค. โดยจะใช้อาสาสมัครร่วมทดลอง 6,000 คน

วาลแว็กซ์ได้ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์การทหารของจีน (AMS) และซูโจว อ้ายโป๋ ไบโอไซเอนซ์ (Suzhou Abogen Biosciences) พัฒนาวัคซีนที่เรียกว่า ‘ARCoV’ หรือ ‘ARCoVax’ ซึ่งถือเป็นวัคซีนชนิด mRNA ตัวแรกของจีนที่จะเข้าสู่การทดลองในเฟสที่ 3

นักวิจัยของ AMS ระบุเมื่อเดือน เม.ย.ว่า วัคซีนชนิดนี้สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าวัคซีนตะวันตกบางตัวที่จำเป็นต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำมาก

รัฐบาลเม็กซิโกได้สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จากจีนหลายตัว เช่น วัคซีนของซิโนแวค ไบโอเทค, แคนซิโน ไบโอโลจิกส์ และยังเตรียมสั่งวัคซีนของซิโนฟาร์มมาใช้งานเพิ่มด้วย

ปัจจุบันจีนมีวัคซีนที่ผลิตเองภายในประเทศใช้งานอยู่ทั้งหมด 5 ชนิด แต่ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ซึ่งจะสั่งการให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนปลายแหลมเลียนแบบส่วนสำคัญของโคโรนาไวรัส และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 ขึ้นมา

ที่มา : รอยเตอร์
 

 

 

เผยแพร่: 12 พ.ค. 2564 11:18   ปรับปรุง: 12 พ.ค. 2564 11:18   โดย: ผู้จัดการอกล่องบรรจุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี ถูกนำมาจัดแสดงในมหกรรมสินค้าที่นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา (ภาพ - China Daily via REUTERS)

 
กล่องบรรจุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ของบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี ถูกนำมาจัดแสดงในมหกรรมสินค้าที่นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา (ภาพ - China Daily via REUTERS)
เจ้าหน้าที่เม็กซิโกเผยการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 สำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแรกของจีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA เหมือนกับวัคซีนที่ผลิตโดยไฟเซอร์และโมเดอร์นา กำลังจะเริ่มต้นขึ้นภายในเดือนนี้

มาร์เซโล เอบราร์ด รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเม็กซิโก ทวีตข้อความวานนี้ (11 พ.ค.) ว่า วัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท วาลแว็กซ์ ไบโอเทคโนโลยี (Walvax Biotechnology) กำลังจะเข้าสู่การทดลองเฟสที่ 3 ในวันที่ 30 พ.ค. โดยจะใช้อาสาสมัครร่วมทดลอง 6,000 คน

วาลแว็กซ์ได้ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์การทหารของจีน (AMS) และซูโจว อ้ายโป๋ ไบโอไซเอนซ์ (Suzhou Abogen Biosciences) พัฒนาวัคซีนที่เรียกว่า ‘ARCoV’ หรือ ‘ARCoVax’ ซึ่งถือเป็นวัคซีนชนิด mRNA ตัวแรกของจีนที่จะเข้าสู่การทดลองในเฟสที่ 3

นักวิจัยของ AMS ระบุเมื่อเดือน เม.ย.ว่า วัคซีนชนิดนี้สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าวัคซีนตะวันตกบางตัวที่จำเป็นต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำมาก

รัฐบาลเม็กซิโกได้สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จากจีนหลายตัว เช่น วัคซีนของซิโนแวค ไบโอเทค, แคนซิโน ไบโอโลจิกส์ และยังเตรียมสั่งวัคซีนของซิโนฟาร์มมาใช้งานเพิ่มด้วย

ปัจจุบันจีนมีวัคซีนที่ผลิตเองภายในประเทศใช้งานอยู่ทั้งหมด 5 ชนิด แต่ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ซึ่งจะสั่งการให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนปลายแหลมเลียนแบบส่วนสำคัญของโคโรนาไวรัส และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 ขึ้นมา

ที่มา : รอยเตอร์
 
 

จากวิกฤติการระบาดของเชื้อโควิด-19 รอบที่ 3 ส่งผลให้ภาครัฐบาลต้องขอความร่วมมือให้งดกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภท ทั้งการสั่งปิดสถานบันเทิง และออกคำสั่งให้งดรับประทานอาหารในร้าน รวมถึงการขอให้ประชาชนอยู่บ้าน งดกิจกรรมเสี่ยงนอกบ้านที่ไม่จำเป็นทั้งนี้จากกรณีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหลากหลายธุรกิจที่จำเป็นต้องหยุดกิจการ ซึ่งก็มีทั้งการพักชั่วคราว หรือบางกิจการก็มีการเลิกกิจการไปเลย เรื่องนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนทำงานที่อาจจะต้องสูญเสียรายได้ หรือบางคนก็คือสูญเสียงานไปเลย
    

โดยตลอดระยะเวลาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ตามศักยภาพที่พอจะช่วยได้ เพื่อประคับประคองให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้ โดยหนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือ การช่วยเหลือประชาชนที่ว่างงานหรือออกจากงาน ซึ่งสามารถขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม

จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคมพบว่า นับตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 กลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33 มีจำนวนทั้งสิ้น 11,124,209 ราย และมีการถูกเลิกจ้างหรือลาออกจำนวนถึง 1,212,307 คน รวมกับกรณีที่ต้องหยุดทำงานแบบสุดวิสัยจากกรณีล็อกดาวน์และการระบาดของเชื้อโควิด-19 จำนวน 945,587 คน รวมในปี 2563 ปีเดียวมีผู้ประกันตนได้สูญเสียรายได้และว่างงานรวมทั้งสิ้น 2,157,894 ราย
    

แต่อย่างไรก็ดี ในกลุ่มผู้ประกันดังกล่าวหลังจากสถานการณ์การระบาดในรอบแรก รอบสองคลี่คลายลง ก็สามารถกลับเข้ามาทำงานตามระบบปกติไปได้ ส่งผลให้จำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 จนถึงเดือนล่าสุด เม.ย.64 ก็ยังมีสูงถึง 11,051,132 ราย เมื่อเทียบกับช่วง ธ.ค.63 ก็พบว่ามีตัวเลขของผู้ประกันตนที่หายไปจริงๆ 7.3 หมื่นคนเท่านั้น นับว่าจำนวนคนว่างงานในระบบก็ยังไม่สูงมากนัก
    

สำหรับการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งก็นับตั้งแต่รอบที่ 2 และรอบที่ 3 ในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้ประกันตนที่ต้องออกจากงาน ทั้งจากการลาออกปกติและการหยุดงานจากเหตุสุดวิสัย นับตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย.2564 พบว่า มีรวมทั้งสิ้น 390,899 ราย แบ่งเป็นการลาออก และออกจากงานปกติ 323394 ราย และออกจากงานแบบสุดวิสัย 67,505 ราย
 

นางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า สำนักงานประกันในสังคมได้มีส่วนในการช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ว่างงานอย่างเต็มที่จากการระบาดของโควิด-19 และเป็นเหตุให้ธุรกิจถูกสั่งปิดกิจการชั่วคราว หรือกรณีต้องทำการกักตัว สำนักงานจะให้ผู้ประกันตนเบิกเงินทดแทนว่างงานในอัตรา 50% ของเงินเดือน (นับที่ 15,000 บาท) เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน หรือกรณีที่ธุรกิจห้างร้านไม่ได้ปิด แต่ต้องถูกบังคับให้กักตัวเพราะใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และทำให้สูญเสียรายได้ ก็สามารถมาเบิกเงินกับประกันสังคมได้ แต่กรณีนี้จะต้องมีหนังสือรับรองจากแพทย์หรือเอกสารจากกระทรวงสาธารณสุขประกอบ
    

พร้อมกันนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 สำนักงานประกันสังคมก็มีมาตรการดูแลผู้ประกันตนหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นกรณีถูกเลิกจ้าง ทางประกันสังคมก็มีการขยายวงเงินในการจ่ายชดเชย จากเดิม 50% ก็เพิ่มให้เป็น 70% เดิมไม่เกิน 180 วัน ก็เพิ่มให้เป็น 200 วัน ซึ่งกรณีนี้จะช่วยถึง ก.พ.ปี 2565 หรือ 2 ปีนับตั้งแต่ปี 63 กรณีลาออก เดิมได้ 30% ก็เพิ่มให้เป็น 45% และได้ระยะเวลา 90 วัน (จากฐานค่าจ้าง 15,000 บาท)
    

“นับตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ระบาด สำนักงานประกันสังคมมีการจ่ายเงินในกรณีชดเชยการว่างงานสำหรับปี 2563 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 44,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ชดเชยการตกงาน-ลาออกตามปกติ 29,000 ล้านบาท และกรณีชดเชยการตกงานแบบสุดวิสัย 15,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2564 ยังไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นทางการ เท่าที่ทราบมีการจ่ายชดเชยไป 700 ล้านบาท”
เอกชนปรับตัวรับการระบาด
  

นางสาวสุฐิตา โชติจุฬางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป ผู้บริหารศูนย์การค้าเดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์ และเดอะ มาร์เก็ต แบงคอก กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น เรียกได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัท เพราะเนื่องด้วยธุรกิจของบริษัทเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาศัยคู่ค้าชาวต่างชาติ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติและในไทยเองเป็นหลัก ดังนั้นความตั้งใจในปัจจุบันคือ ต้องช่วยกันประคับประคองทั้งบริษัท ผู้เช่า คู่ค้า และพนักงาน ให้สามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรควิกฤตินี้ไปด้วยกันให้ได้ สำหรับแผนการปรับลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายนั้นทางบริษัทไม่มีนโยบายดังกล่าว แต่ใช้แผนการบริหารด้านค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม ณ ช่วงเวลาและสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
    

ทั้งนี้ บริษัทไม่มีนโยบายปลดพนักงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากพนักงานถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาและเติบโตขององค์กรอย่างที่สุด อย่างไรก็ตามเราใช้วิธีบริหารจัดการค่าใช้จ่าย เช่น การลดจำนวนการจ้างบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานในบริษัทลง และเน้นในเรื่องการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานในแต่ละสายงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของบริษัทให้ lean มากที่สุด อีกทั้งอะไรที่สามารถ save ได้ก็ต้องขอความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกๆ ฝ่ายให้ช่วยกัน เช่น การบริหารค่าใช้จ่ายในด้านการจ่าย Overtime (OT) เป็นต้น
    

นางสาววรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ทางเดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่มีการลดพนักงาน แต่ก็มีการโยกย้าย (reallocate) พนักงานบางส่วน แบ่งไปทำใน 2 ส่วน คือ 1.ช่องทางออมนิแชนเนล เช่น Chat & Shop เพื่อเป็นการ support ลูกค้าที่ไม่สะดวกมาเดินห้างในช่วงนี้ ลูกค้าก็จะหันมาซื้อสินค้าในช่องทางดังกล่าวเยอะขึ้น และ 2.เป็นที่ทราบกันว่า ทางเดอะมอลล์ได้รับเลือกเป็นสถานที่ฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล ช่วงนี้ไม่ได้มีลูกค้ามาจองจัดงานอีเวนต์ จึงเปิดห้อง MCC Hall ให้ กทม.เป็นสถานที่ฉีดวัคซีน และให้พนักงานบางส่วนมาทำหน้าที่อาสาสมัครให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ามารับบริการ
    

นายสมพล ตรีภพนารถ กรรมการผู้จัดการธุรกิจศูนย์การค้า บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นับตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ได้มีมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าเช่า โดยลดภาระค่าเช่าให้กับร้านค้าทุกศูนย์การค้าในเครือเฉลี่ย 30-70% ตามประเภทกิจการ และกรณีมีเหตุจำเป็นต้องปิดร้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 บริษัทไม่ได้มีการเรียกเก็บค่าปรับ และมีมาตรการเชิงรุกทำความสะอาดครั้งใหญ่ทุกครั้งที่พบไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมเข้าไปดูแล การกลับมาเปิดร้านอีกครั้งจะต้องดำเนินการภายใต้ทีมพนักงานชุดใหม่ทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุดของผู้มาใช้บริการและร้านค้าอื่นๆ ภายในศูนย์ฯ


กระทบการจ้างงานบางอุตสาหกรรม

  ด้าน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้แรงงาน ซึ่งเมื่อดูจากตัวเลขการจ้างงาน โดยเฉพาะในภาคบริการที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดนั้น มีการจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงภาคอุตสาหกรรมเองก็มีการจ้างงานลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งออกนั้นจะมีปัญหาเรื่องนี้มากกว่า ส่วนกลุ่มที่เป็นภาคอุตสาหกรรมและเกี่ยวข้องกับการส่งออกด้วยนั้น ได้รับผลกระทบน้อยลงมาเนื่องจากยังมียอดสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ตลอด แม้จะน้อยลงแต่ก็ยังไม่กระทบกับกลุ่มแรงงาน ซึ่งสรุปได้ว่าปัญหาเรื่องแรงงานที่เกิดขึ้นปัจจุบันนี้อยู่ที่ประเภทของงานโดยตรง เพราะบางอุตสาหกรรมก็ยังดี แต่บางอุตสาหกรรมก็แย่ ซึ่งแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือเรื่องของการแก้ปัญหาโควิดก่อน เพื่อที่จะส่งเสริมมายังผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคบริการหรืออุตสาหกรรมให้ดีขึ้น ให้สามารถเปิดดำเนินการได้ตามปกติไม่กระทบต่อการจ้างงาน
    

ขณะที่ มาตรการรัฐที่ออกมาก่อนหน้านี้น่าจะช่วยได้ระดับหนึ่ง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มองตอนนี้คือเรื่องของประกันสังคม ก่อนหน้านี้ทาง ส.อ.ท.เคยเสนอแนวทางเพื่อเป็นการช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการและผู้ประกันตน โดยเสนอให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พร้อมทั้งขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมต่อไปอีก 3 เดือน เนื่องจากการขาดสภาพคล่องของธุรกิจ และเสนอให้มีการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ส่วนของนายจ้างจาก 3% เหลือ 1% ของค่าจ้างผู้ประกันตน จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก
    

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะนี้ว่า ในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่กำกับดูแลหน่วยงานที่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น งานก่อสร้างขณะนี้กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ผ่านมาได้มีการประชุมติดตามกำกับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสาธารณสุข จัดทำแผนการตรวจสอบเชิงรุก โดยประสานกรมควบคุมโรคจัดทำแผนรับการฉีดวัคซีน และดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน 2564 เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานประชาสัมพันธ์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามมาตรฐานสาธารณสุข และตรวจเชิงรุกบุคลากรในสังกัด
    

“ได้มีข้อสั่งการในเรื่องของการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยให้หน่วยงานในสังกัดตระหนักถึงความปลอดภัยของบุคลากร รวมถึงประชาชนที่มาติดต่อประสานงานหรือใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และให้ทุกหน่วยงงานปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด” นายศักดิ์สยามกล่าว
เศรษฐกิจทรุดหนัก
    

การระบาดของ “โควิด-19 ระลอกที่ 3” ถือว่ารุนแรงกว่าการระบาดในระลอกก่อนๆ อย่างชัดเจน จากจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน อัตราการแพร่เชื้อที่สูงขึ้น จำนวนผู้ป่วยอาการหนักที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการระบาดในระลอกดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุดเมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงอื่นๆ โดยเฉพาะการระบาดในระลอกแรกเมื่อต้นปี 2563 เพราะมาตรการรัฐที่ยังไม่เข้มงวดเท่า ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนยังสามารถดำเนินไปได้
    

อย่างไรก็ดี “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” คาดว่าการระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 3 นี้จะมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายภายในประเทศ อยู่ที่ 1.4-1.7% ต่อจีดีพี ขึ้นอยู่กับความยืดเยื้อของสถานการณ์การระบาด ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวสูงกว่าการระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 2 ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศอยู่ที่ 1.2% ต่อจีดีพี ขณะที่การระบาดในระลอกแรกมีผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศสูงสุดที่ระดับ 2.2% ต่อจีดีพี ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. ระบุ
    

ขณะที่ “ธนาคารโลก (เวิล์ดแบงก์)” ได้เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่า จากความรุนแรงของผลกระทบในการระบาดของโควิด-19 จะทำให้มีคนไทย “ยากจน” เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.5 ล้านคน โดยผลกระทบต่อแรงงานจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/2563 ทำให้งานหายไปกว่า 3.4 แสนตำแหน่ง ชั่วโมงการทำงานลดลง 2-3 ชั่วโมง การว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นถึง 9% ขณะที่ค่าจ้างลดลง 1.6% ส่วนไตรมาส 3/2563 ต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 4/2563 นั้น แม้ว่าสถานการณ์แรงงานจะเริ่มดีขึ้น และทำให้จำนวนงานเพิ่มขึ้น 8.5 แสนตำแหน่ง แต่ก็ยังมีจุดอ่อน คือ “ชั่วโมงการทำงานและค่าจ้างในภาคการเกษตรที่ยังต่ำกว่าในปีก่อนหน้า”

นักศึกษาจบใหม่ว่างงานสูง
    

และล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ออกมาให้ข้อมูลว่า จากการสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากวิกฤติโควิด-19 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF Thailand) ปี 2563 พบว่า ประชาชนกลุ่มอายุ 15-24 ปี โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะเรียนจบ มีแนวโน้มที่จะว่างงาน เนื่องจากภาคเอกชนชะลอการจ้างงาน จึงทำให้ลดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพหรือทักษะในการประกอบอาชีพจากการไม่ได้เข้าสู่ระบบการจ้างงาน 14% หรือกว่า 1.3 ล้านคน และวัยทำงานที่เป็นคน "ว่างงาน” 17.9% หรือกว่า 6 ล้านคน
  

นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานทั้งในและนอกระบบส่วนมากยังไม่มีแผนการออม ทำให้ไม่มีเงินใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ด้วยสถานะของแรงงานในระบบทำให้แรงงานส่วนใหญ่กลายเป็นบุคคลที่มีทักษะเชิงเดี่ยว ไม่สามารถปรับตัวเพื่อประกอบอาชีพอื่นได้ในทันที จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ จึงมีแนวโน้มที่จะมีคนว่างงานและคนที่มีรายได้น้อยลงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีลดลง เพราะขาดรายได้ ขาดความรู้ในการพัฒนาศักยภาพตัวเอง.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/103972

 

8 มิ.ย. 63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "โควิด 19 วิกฤตยังไม่ผ่านพ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทย ไม่พบมีการระบาดในประเทศ

วิกฤตโควิด 19 ยังไม่ผ่านพ้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังมีผู้ป่วยมากกว่าวันละแสนรายที่มีรายงาน และที่ไม่มีรายงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ และขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย

 

ถึงแม้ว่าการระบาดจุดใหญ่จะลงสู่ประเทศอเมริกาใต้ ประเทศที่ใกล้บ้านเรา อินเดียและบังคลาเทศ ยังมีการระบาดอย่างรุนแรง และอยู่ไม่ไกลจากบ้านเรานัก มีพรมแดนธรรมชาติต่อเนื่องข้ามประเทศ โอกาสที่จะข้ามประเทศ แบบค่อยเป็นค่อยไป มีความเป็นไปได้

ในปีนี้ เราจะต้องมีความเคร่งครัด ในการควบคุม ดูแลป้องกันไม่ให้เข้ามาระบาดในบ้านเรา รวมทั้งทุกคนจะต้องดูแลสุขอนามัย ป้องกันตนเอง ช่วยกันเฝ้าระแวงระวัง 

เมื่อมีการเปิดเทอม โรคระบบทางเดินหายใจ โรคต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการวินิจฉัยแยกโรค เป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้มีการควบคุม ป้องกัน

ข้อมูลการระบาดในโรงเรียนของทั่วโลกยังมีน้อย โรงเรียนต่างๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่หยุดเรียน แล้วเพิ่งจะมาเริ่มเปิดเรียนในบางประเทศ ด้วยมาตรการต่างๆ กัน เราคงจะต้องใช้บทเรียนจากต่างประเทศ ที่มีการเปิดโรงเรียน หลายท่านบอกว่า จะไม่มีการระบาดในเด็กเล็ก ก็คงต้องรอข้อมูล เพราะในช่วงที่ผ่านมา มีการปิดโรงเรียนกัน เด็กนักเรียน ทั่วไปเมื่อติดโรคจะมีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ

การเฝ้าระวัง สุ่มตรวจ และการศึกษาอย่างละเอียด จะทำให้มีข้อมูล ในการใช้ในการป้องกัน เวลาผ่อนปรนกิจการ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียน

การกำหนดระยะห่าง ตามวิถีชีวิตใหม่ การป้องกันเขาและป้องกันเราด้วยการใส่หน้ากากผ้า อนามัย ล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตนี้จะผ่านพ้นไป ก็ต่อเมื่อเรามียารักษาที่ดี หรือวัคซีนในการป้องกัน".

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/68096

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ