7 ก.ค. 2564 วิจัยกรุงศรีรายงานว่า การส่งออกที่เติบโตดีในเดือนพฤษภาคมช่วยหนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม แต่การใช้จ่ายในประเทศทรุดลงต่อเนื่องจากการระบาดระลอกที่สามของ COVID-19 โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนพฤษภาคมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (-3.1% MoM sa)  ตามการลดลงในทุกหมวดการใช้จ่าย ผลกระทบจากการระบาดรอบสามของ COVID-19 มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นทรุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์  แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บางส่วน เช่นเดียวกับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงจากเดือนก่อน (-2.3%) ตามอุปสงค์ในประเทศและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ทรุดลง ทำให้การลงทุนลดลงทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดก่อสร้าง ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงเล็กน้อย (6,052 คน) จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวในประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสาม อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่เติบโตดีต่อเนื่อง (44.4%YoY) อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้การส่งออกปรับดีขึ้นและกระจายตัวทั้งในตลาดและหมวดสินค้า และช่วยหนุนให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อนในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ทำให้ทางการต้องยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล  กับอีก 4 จังหวัดภาคใต้ รวมถึงจำกัดกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาด อาทิ การก่อสร้าง การนั่งรับประทานในร้านอาหาร  เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน   ขณะเดียวกันรัฐบาลได้อนุมัติมาตรการวงเงิน 8,500 ล้านบาท เพื่อเยียวยาแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมที่เข้มงวดดังกล่าว เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังจึงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความเสี่ยงขาลงและยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด การจัดหาและการกระจายวัคซีน ซึ่งล่าสุดวิจัยกรุงศรีได้ทบทวนประมาณการจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ของไทยอีกครั้งโดยใช้ข้อมูลถึงวันที่ 28 มิถุนายน การคาดการณ์อยู่บนพื้นฐานของแบบจำลอง SIR ใช้ข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันผนวกเข้ากับ mobility index ผลการประมาณค่าด้วยสมมติฐานแบ่งออกเป็น 3 กรณี  ดังนี้

 1) Best case (เส้นสีเหลือง): การติดเชื้อในอนาคตจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับรูปแบบการติดเชื้อจากจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในอดีต (บนสมมติฐานว่าลักษณะการแพร่เชื้อและการควบคุมจะเหมือนกับช่วงตั้งแต่ต้นปี 2563) ผลการศึกษาพบว่าจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 100 รายจะเป็นประมาณต้นเดือนตุลาคม

2) Base case (เส้นสีส้ม): การติดเชื้อในระยะข้างหน้าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบการติดเชื้อในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (หรือการแพร่ระบาดจะมีผลจากสายพันธุ์ใหม่และลักษณะการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น) ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะยังเพิ่มขึ้นได้อีก และ peak ของการติดเชื้อจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม โดยการติดเชื้อจะลดลงตามการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น (คาดอัตราการฉีดเฉลี่ยอยู่ที่ 2.5-2.7 แสนโดสต่อวัน) ควบคู่ไปกับการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ จะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 100 เมื่อพ้นกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป 

3) Prolonged case (เส้นสีแดง): รูปแบบการติดเชื้อในอนาคตคล้ายกับประเทศบราซิลและอิตาลี ซึ่งมีลักษณะเหมือนภูเขาหลายลูกซ้อนกัน จากการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเร็วกว่าผลของภูมิคุ้มกันหมู่ที่จะเกิดขึ้นในวงกว้างจากการฉีดวัคซีน ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันกลับมาเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจะยังคงอยู่ในระดับสูงแม้พ้นสิ้นเดือนตุลาคมไปแล้ว

 สำหรับภาวะเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจสหรัฐฯ และยูโรโซนมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ผลกระทบจากไวรัสกลายพันธุ์อาจมีไม่มาก ในเดือนมิถุนายนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ด้านการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นประมาณ 8.5 แสนตำแหน่งสูงกว่าตลาดคาด ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับ 5.9% สูงกว่าเดือนก่อนเล็กน้อย ล่าสุดจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 มิถุนายนปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดเมื่อเดือนมีนาคม 2563

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/108887

 

 

วิจัยล่าสุดไขคำตอบหน้ากากอนามัยชนิดใดป้องกัน โควิด-19 ได้ยอดแย่ - ยอดเยี่ยม

 

ล่าสุดคณะนักวิจัยได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย 14 แบบ ไขคำตอบชนิดใดป้องกัน โควิด-19 ได้ยอดแย่ - ยอดเยี่ยม

การศึกษาล่าสุดที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) เปิดเผยว่า คณะนักวิจัยได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยหลายชนิด ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) และพบว่า ปลอกคอ มีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 ต่ำที่สุด ขณะที่หน้ากาก เอ็น95 (N95) หน้ากากอนามัย และ หน้ากากผ้าโฮมเมด เป็นตัวเลือกการป้องกันที่ดีกว่า

หลายประเทศได้ออกคำสั่งให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์หน้ากากอนามัยทั่วโลก ทำให้ผู้คนส่วนมากจำเป็นต้องเลือกใช้หน้ากากโฮมเมด หรือหน้ากากทางเลือก เพื่อดูแลปกป้องตนเอง

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบการทำงานของหน้ากากรูปแบบต่างๆ ที่จะลดทอนการแพร่ของละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายระหว่างการพูดคุยแบบปกติ ด้วยการติดตั้งแสงเลเซอร์ไว้ในกล่องมืด เพื่อส่องดูละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายของผู้พูด เมื่อพวกเขาพูดคุยผ่านรูในกล่อง ขณะกล้องที่ติดไว้อีกด้านหนึ่งจะคอยบันทึกวิดีโอของละอองที่ลอยผ่านไปพร้อมกัน

 

การทดลองดังกล่าวทดสอบหน้ากากอนามัยทั่วไป จำนวน 14 แบบ และใช้ระบบอัลกอริทึมบนคอมพิวเตอร์นับจำนวนอนุภาคของละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายจากวิดีโอ ซึ่งได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

ปลอกคอ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักวิ่งกลางแจ้ง มีประสิทธิภาพการป้องกันต่ำที่สุดในการทดลอง เนื่องจากพวกมันก่อให้เกิดอนุภาคมากกว่าเวลาที่ผู้คนพูดคุยโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย

หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย มาร์ติน ฟิชเชอร์ กล่าวว่า สาเหตุหลักอาจเป็นเพราะสิ่งทอของ ปลอกคอ ทำให้อนุภาคขนาดใหญ่แตกตัวออกเป็นขนาดเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มลอยไปในอากาศได้ง่ายและเป็นระยะเวลานานกว่า ดังนั้น การสวม ปลอกคอ จึงอาจสร้างผลลัพธ์ที่ตรงข้ามกับวัตถุประสงค์ได้

 

การศึกษาระบุเพิ่มเติมว่า ผ้าพันคอ ผ้าเช็ดหน้า และหน้ากากไหมพรมขนแกะแบบเต็ม ให้การปกป้องได้น้อยมาก ส่วนหน้ากาก เอ็น95 เป็นตัวเลือกการป้องกันที่ดีที่สุด ขณะที่หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งซึ่งวัสดุทำมาจากพลาสติก จัดเป็นตัวเลือกดีที่สุดอันดับสอง

 

นอกจากนั้น การศึกษาเผยว่า หน้ากากที่ทำจากผ้าฝ้ายสองชั้นและวัสดุสังเคราะห์หนึ่งชั้น เป็นตัวเลือกดีที่สุดอันดับสาม และสามารถกำจัดละอองส่วนใหญ่ได้ พร้อมแนะนำว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปคือการสวมหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง หรือหน้ากากผ้าฝ้ายทำมือที่มีหลายชั้น

 
 

โควิด-19, หน้ากากอนามัย

 

(แฟ้มภาพซินหัว : ผู้หญิงซื้อหน้ากากอนามัยในช่วงโรคโควิด-19 ระบาด ในเมืองอครตละของอินเดีย วันที่ 29 ส.ค. 2020)

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.komchadluek.net/news/foreign/443137?adz=

 

วิธีจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอปฯ "ปลูกกัญ" เช็กเลย 3 ขั้นตอนง่ายๆ
 
เปิดวิธีลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอพพลิเคชั่น "ปลูกกัญ" เช็กเลย 3 ขั้นตอน ทำได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้ว

ภายหลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่น "ปลูกกัญ" และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th เพื่อช่วยประชาชนในการจดแจ้งการปลูกกัญชา กัญชง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยมีเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ

ข่าวเกี่ยวข้อง :

สำหรับ วิธีลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ทำผ่านแอปฯ "ปลูกกัญ"  มีดังนี้

  1. ลงทะเบียน
  2. จดแจ้งตามวัตถุประสงค์
  3. รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ยังสามารถ ลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ได้ที่เว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th หรือหากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ call center โทร 1556 กด 3

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มีผลบังคับใช้ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ประชาชนสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเพียงแต่จดแจ้งนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการจดแจ้งการปลูก กัญชา กัญชง ให้แก่ประชาชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้จัดทำแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th

โดยแอปฯ "ปลูกกัญ" สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง IOS และ Android เพื่อออกใบรับจดแจ้งในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 โดยจดแจ้งเพียง 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนและแหล่งที่ปลูกกัญชา และกัญชงทั่วประเทศ อีกทั้งยังเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการแสวงหาวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาด แถมยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย

วิธีจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอปฯ "ปลูกกัญ" เช็กเลย 3 ขั้นตอนง่ายๆ

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/1008756?anf=

 

 

 
วิธีลงทะเบียนครบจบ "สินเชื่ออิ่มใจ" ออมสิน กู้ได้ 1 แสนไม่ต้องมีหลักประกัน
 
เงื่อนไข ขั้นตอนลงทะเบียน "สินเชื่ออิ่มใจ" ธนาคารออมสิน ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กู้ได้สูงสุดรายละ 1 แสนบาท ไม่ต้องมีหลักประกัน

เช็คเงื่อนไข ขั้นตอนลงทะเบียน "สินเชื่ออิ่มใจ" ธนาคารออมสิน ช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กู้ได้สูงสุดรายละ 1 แสนบาท สามารถลงทะเบียนทาง เว็บไซต์ ธนาคารออมสิน (คลิกที่นี่) ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะครบจำนวนวงเงินโครงการ

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/972989

5 มี.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กดังนี้

โควิด 19 วัคซีน ความไม่เท่าเทียมการบริการให้วัคซีน

 

ทั่วโลกได้รับวัคซีนไปแล้วประมาณเกือบ 1,1000 ล้านโดส ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศทางตะวันตกประเทศผู้ผลิตวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ประเทศในแอฟริกาได้รับวัคซีนไปเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในขณะที่อเมริกาและยุโรป มีวัคซีนที่เก็บไว้และจะต้องถูกทำลายเพราะหมดอายุเป็นจำนวนมาก วัคซีนที่ใช้ฉีดขวดหนึ่งมีหลายโดส และในการฉีดขณะนี้ การบริหารวัคซีน ต้องทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถเก็บไว้ได้

ทำนองเดียวกันกับประเทศไทย การบริหารวัคซีนต่อไปนี้ เมื่อมีผู้ฉีดต่อวันน้อยลง การสั่งวัคซีนเข้ามาเก็บเป็นจำนวนมาก ก็จะมีโอกาสที่จะต้องหมดอายุ โดยเฉพาะวัคซีน ที่มีอายุสั้น การเก็บรักษายาก และขวด 1 ต้องฉีด 10 คนหรือ 15 คน จะทำให้การบริหารวัคซีนยากมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม mRNA วัคซีนที่มีอายุสั้น หลังละลายแล้ว อยู่ได้เพียง 1 เดือน จะเก็บแช่แข็งตลอดไปก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก

ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ไม่มีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ออกมาแน่นอน

การมีวัคซีน หรือเก็บไว้จำนวนมาก ก็เสี่ยงต่อการหมดอายุ เราลงทุนกับวัคซีนไปแล้วหลายหมื่นล้านบาท

ความเสมอภาคหรือเท่าเทียมระหว่างประเทศ ที่ร่ำรวย กับยากจน มีความแตกต่างกันมาก เป็นเหตุให้อัตราการได้รับวัคซีนในแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/97970/

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ