29 เม.ย.63 - สถาบันData -Driven Innovation  Laboratory  แห่งมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ เทคโนโลยีแอนด์ดีไซน์ทำ Model พยากรณ์ จุดสิ้นสุดของการระบาดโคโรนาไวรัส 2019 หรือโควิด-19 ของแต่ละประเทศ  โดยการระบาดในประเทศไทยขณะนี้มีจุดสิ้นสุดอยู่ที่   97%  และจะสิ้นสุด 100% ในวันที่ 11 มิถุนายน 2563    ส่วนการระบาดของสหรัฐอเมริกา สิ้นสุดใน วันที่5กันยายน  2563  และสิงคโปร์ สิ้นสุด วันที่ 26กรกฎาคม 2563

 

ขณะที่ การสิ้นสุดระบาดของทั้งโลก อยู่ในเดือนพฤศจิกายน  2563

ส่วนยอดระบาดโควิด ของทั้งโลก  ณ เวลาช่วงเช้า วันที่  29เม.ย.มียอด 3,136,508   ราย  เสียชีวิต  217,813  ราย และหายแล้ว 953,309  ราย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64576

 

 

สลด! ศบค. เผยยอดคนเสียชีวิตจากโควิดวันนี้ (19 ส.ค.) พบที่บ้าน 4 ราย หญิงท้อง 3 คน ระบุมีพยาบาลด้วย 1 คน ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว ตั้งแต่เมษาฯ 64  คาดพรุ่งนี้ (20 ส.ค.64) ทำสถิติใหม่ ไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดทะลุ 1 ล้านคน นับตั้งแต่ปี 2563 ที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19

วันที่ 19 สิงหาคม 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ประจำวันว่า สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 20,902 ราย หายป่วยแล้ว 747,901 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 960,996 ราย และเสียชีวิตสะสม 8,492 ราย

ส่วนข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 หายป่วยแล้ว 775,327 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 989,859 ราย เสียชีวิตสะสม 8,586 ราย

 

คาด 20 ส.ค. ยอดติดเชื้อโควิดทะลุ 1 ล้านราย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หากดูตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยเฉลี่ย 20,000 รายต่อวัน วันพรุ่งนี้ (20 ส.ค.64) ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดสะสมของประเทศไทยจะทำสถิติใหม่ทะลุเกิน 1 ล้านราย นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 เนื่องจากตัวเลขผู้ป่วยยืนยันสะสมวันนี้อยู่ที่ 989,859 ราย (1,000,000-989,859 = 10,141) ในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อในกทม. ประมาณ 2.3 แสนราย

สำหรับผุ้ป่วยรักษาตัวในวันนี้มีจำนวน 205,946 ราย เป็นผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 48,895 ราย รพ.สนามและอื่น ๆ 157,051 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 5,439 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,168 ราย

สำหรับผู้รับการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 417,169 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 122,206 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 8,936 ราย

ไทยรั้งอันดับ 34 ของโลก

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ข้อมูล ณ วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 210,105,354 ราย อาการรุนแรง 108,059 ราย รักษาหายแล้ว 188,219,284 ราย เสียชีวิต 4,405,540 ราย

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับ 1.ยังเป็นสหรัฐอเมริกา จำนวน 38,072,656 ราย 2.อินเดีย จำนวน 32,320,898 ราย 3.บราซิล จำนวน 20,458,221 ราย 4.รัสเซีย จำนวน 6,663,473 ราย 5.ฝรั่งเศส จำนวน 6,533,383 ราย โดยประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 34 ของโลกจากจำนวนผู้ป่วยสะสม 989,859 ราย

ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มี 2 ราย เป็นชาวอิสราเอล ในจำนวนนี้เป็นลูกเรือ 1 ราย และไม่ระบุอาชีพ 1 ราย ผลพบเชื้อและมีอาการทั้ง 2 ราย เข้าพักที่ รพ.เอกชนในภูเก็ต

นอกจากนั้นมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าพัก รพ.เอกชนใน กทม. จากมาเลเซีย 1 ราย เข้าพัก LQ ปานาเระที่ จ.ปัตตานี จากลาว 1 ราย พักที่ รพ.สนาม ศรีสะเกษ กัมพูชา 6 ราย เข้าพักที่ LQ สระแก้ว รพ.อรัญประเทศ สระแก้ว เมียนมา 13 ราย เข้าพักที่ LQ เชียงราย รพ.ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในวันนี้ อันดับ 1 ยังเป็นกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีผู้ติดเชื้อจำนวน 4,392 ราย รวมสะสม 230,419 ราย

รองลงมาเป็นสมุทรสาคร 1,739 ราย ชลบุรี 1,322 ราย สมุทรปราการ 937 ราย นครปฐม 644 ราย นครราชสีมา 639 ราย ราชบุรี 585 ราย นนทบุรี 495 ราย สระบุรี 481 ราย และฉะเชิงเทรา 472 ราย

 

สลด! เสียชีวิตที่บ้าน 4 ราย หญิงท้อง 3 ราย พยาบาล 1 ราย

ส่วนผู้เสียชีวิตจำนวน 301 คนในวันนี้ เป็นชาย 171 คน หญิง 130 คน ค่ากลางของอายุอยู่ที่ 65 ปี (26-105 ปี) โดยเป็นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 184 ราย และอายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 69 ราย

และผู้เสียชีวิตทั้งหมดอยู่ใน กทม. 79 ราย สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม จำนวน 62 ราย ปัตตานี สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต ชุมพร พัทลุง รวม 18 ราย ที่เหลือกระจายไปในอีกหลายจังหวัด (ตามตาราง)

ส่วนปัจจัยเสี่ยงยังมาจากโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต โรคอ้วน และมีปัจจัยเสี่ยงจากคนรู้จัก 129 ราย และอาศัยหรือไปพื้นที่ระบาด นอกจากนี้วันนี้พบว่า ยังมีผู้เสียชีวิตที่บ้าน 4 ราย อยู่ใน กทม. 1 ราย ลพบุรี 2 ราย และจันทบุรี 1 ราย และในจำนวนผู้เสียชีวิตวันนี้มีหญิงตั้งครรภ์ด้วย 3 ราย อยู่ที่ อุบลราชธานี ตราด และยะลา และมีพยาบาล (HCW) เสียชีวิต 1 ราย ได้รับวัคซีนซิโนแวคแล้ว 2 เข็มเมื่อ 21 เมษายน 2564

สำหรับพยาบาล Health care workers (HCW) คือ บุคคลที่ทำงานในสถานพยาบาลที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วย หรือสิ่งที่อาจมีการปนเปื้อนหรือติดเชื้อ

ขณะที่สัดส่วนผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัด (71จังหวัด) กับกทม.และปริมณฑล พบว่า สัดส่วนอยู่ที่ 58% ต่อ 42% โดยในพื้นที่ต่างจังหวัดอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อยังเพิ่มสูงขึ้น (12,103ราย) ขณะที่ กทม.และปริมณฑลอยู่ที่ 8,627 ราย กราฟเริ่มปักหัวลง (ดูกราฟท้ายข่าว)

 

ข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/general/news-742577

 

 
สธ. สั่งการด่วนที่สุด รพ.ทั่วประเทศ รักษาผู้ป่วยโควิดแบบ “โรคประจำถิ่น”
สธ.ส่งจดหมายสั่งการ รพ.ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโควิดแบบโรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 1 มี.ค.2565 สวนทางกับมติครม. ชะลอโควิด-19 โรคประจำถิ่น

ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) สั่งชะลอและทบทวนการปรับโควิด-19 ออกจาก UCEP (ยูเซ็ป) หรือนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ ซึ่งเป็นสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต  และปรับให้เป็นโรคประจำถิ่นนั้น ประชุมล่าสุด

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2565 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข  กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงนามโดย นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19  

ได้ทำจดหมายด่วนที่สุด ถึง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด/ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เรื่อง การเตรียมการสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) กรณีผู้ติดเชื้อ ไม่แสดงอาการป่วยหรืออาการป่วยน้อย ซึ่งสวนทางกลับข้อสั่งการของครม. 

  • เตรียมพร้อมดูแลผู้ป่วยโควิดแบบโรคประจำถิ่น

โดยจดหมายดังกล่าว มีใจความระบุว่า

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สำหรับในประเทศไทย พบว่า ขณะนี้ตรวจพบการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

สธ. สั่งการด่วนที่สุด รพ.ทั่วประเทศ รักษาผู้ป่วยโควิดแบบ “โรคประจำถิ่น”

เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยแบบโรคประจำถิ่น (Endemic) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ขอให้เพิ่มการจัดบริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)


สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการป่วยหรืออาการป่วยไม่มาก ให้สังเกตตัวเองที่บ้าน (Self Observation) ตามความสมัครใจ รายละเอียดตามแนวทางของกรมการแพทย์(OR Code)

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/990666?anf=

สธ. เตือน "มิจฉาชีพ" อ้างให้เงินช่วยโควิด ลวงกรอกข้อมูล 
 
โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เตือนอย่าหลงเชื่อกลุ่ม "มิจฉาชีพ" ทำเว็บไซต์ปลอมส่งลิงก์ทางไลน์  อ้างกระทรวงสาธารณสุข มีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 ลวงเหยื่อให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ย้ำกระทรวงมีภารกิจดูแลรักษาป้องกันควบคุมโรค ไม่มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเยียวยา

วันนี้ (10 กันยายน 2565) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นพ.ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพทำเว็บไซต์ปลอมมีโลโก้กระทรวงสาธารณสุข และส่งลิงก์เว็บไซต์ให้ประชาชนทางไลน์และโซเชียลมีเดีย โดยหลอกว่ากระทรวงสาธารณสุข มีกิจกรรมให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 เพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลสำคัญส่วนตัว ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้มักใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้ระบบต่างๆ หรือทำธุรกรรมออนไลน์ เมื่อมิจฉาชีพได้ไปอาจถูกนำไปใช้ในเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทำให้เราตกเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัยทางออนไลน์ได้ จึงขอเตือนภัยว่าอย่าหลงเชื่อให้ข้อมูลส่วนตัวอย่างเด็ดขาด

ทั้งนี้ ภารกิจของ กระทรวงสาธารณสุข คือ การดูแลป้องกันรักษาควบคุมโรค ไม่ได้มีภารกิจเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือประชาชน และไม่ได้มีโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้เงินช่วยเหลือโควิด 19 หรือโรคระบาดแต่อย่างใด

นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า กลุ่มมิจฉาชีพมีการปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อหลอกลวงข้อมูลจากเหยื่อ และมักแอบอ้างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ จึงขอให้พิจารณาตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนทุกครั้ง

หากไม่แน่ใจแนะนำให้สอบถามกับหน่วยงานโดยตรง โดยเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข คือ moph.go.th สามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลภายในเว็บไซต์ทางการได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการคดีกลุ่มมิจฉาชีพตามกฏหมายอย่างถึงที่สุด

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1026035

 

 

ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.ศุภกิจ​ ศิริ​ลักษณ์ ​อธิบดี​กรม​วิทยา​ศาสตร์​การแพทย์​ ​แถลงข่าวภายหลังองค์การอนามัยโลกประกาศให้เชื้อไวัรสโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529 เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล โดยตั้งชื่อว่า “โอไมครอน” (Omicron) ว่า มีข้อมูลตั้งแต่กลาง พ.ย.64 ว่ามีการระบาดที่บอตสวานา ขยับมาที่แอฟริกาใต้ ไปหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง เบลเยียม อิสราเอล โดยบางคนที่ตรวจเชื้อเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว สำหรับประเทศไทยยังไม่พบเชื้อตัวนี้ 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า เชื้อโอไมครอนมีการกลายพันธุ์​หลายตำแหน่งมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง โดยมี 32 ตำแหน่งอยู่ในสไปก์โปรตีน หรือโปรตีนหนามที่จะมาจับกับเซลล์มนุษย์ ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์​เดลต้า (อินเดีย)​ ที่มีการกลายพันธุ์​ในสไปก์โปรตีนเพียงแค่ 9 ตำแหน่ง ทั้งนี้การกลายพันธุ์บางส่วนอาจเพิ่มอำนาจการแพร่เชื้อได้มากขึ้น น่าจะหลบภูมิคุ้มกันได้พอสมควร หรือดื้อต่อวัคซีน รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่ที่พบ พบว่าการตรวจเจอเชื้อค่อนข้างเข้มข้น และหาเชื้อง่ายในแต่ละรายที่ตรวจพบ เนื่องจากเชื้อเยอะมากสะท้อนให้เห็นว่าอาจมีการติดเชื้อง่าย และเร็วขึ้น จึงต้องติดตามข้อมูลกันต่อไป

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ไทยมีเปิดประเทศ มี Test&Go ซึ่งกำลังประสานกับผู้ตรวจเชื้อ ให้ส่งตัวอย่างของผู้ติดเชื้อมาตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์ของโควิด-19 ครั้งนี้ ไม่ใช่ลูกหลานของเดลต้า หรืออัลฟ่า (อังกฤษ)​ แต่เป็นการกลายพันธุ์ตัวใหม่ และหลายตำแหน่ง แต่ข้อมูลยังมีไม่มากพอ ต้องมีการติดตาม และระบบเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นพ.ศุภกิจ​ กล่าวเพิ่มเติมว่าข้อได้เปรียบของไทย คือ ประชาชนค่อนข้างเคร่งครัดในการปฎิบัติตามมาตรการต่างๆ ฉะนั้น ขอให้ทุกคนปฎิบัติในการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดต่อไป การ์ดอย่าตก เพราะไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนเกิดขึ้นก็สามารถจัดการได้ และการดื้อต่อวัคซีนไม่ใช่ข้อมูล 100% ขอให้ทุกคนตั้งสติและรับมือ มั่นใจในภาครัฐว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้พี่น้องประชาชนปลอดภัย และการตรวจหาพันธุกรรมไวรัสมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการทำงานเรื่องนี้ รวมถึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวดในการเข้าประเทศ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะทางอากาศเท่านั้น แต่ตามชายแดนต่างๆ ก็ต้องกวดขันอย่างจริงจัง 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/34047/

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ