เช็กที่นี่ "วอลเลย์บอลหญิง" ทำผลงาน ชนะ 1 แพ้ 1 ในการแข่งขัน สัปดาห์ที่ 3 ของศึก "วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก2022" หรือ "VNL2022" ที่ประเทศบัลแกเรีย โดย "คมชัดลึก" เปิดสถิติพบกัน "ไทย-บราซิล"

"วอลเลย์บอลหญิง" เตรียมลงทำศึก  "วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก2022"  หรือ VNL2022 สัปดาห์ที่ 3 กลุ่มที่ 6 จัดการแข่งขันที่สนาม  อาร์แมทส์ อารีน่า , เมืองโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย   เป็นการลงสนามนัดที่ 3 โดย  "วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย" ทีมอันดับ 14 ของโลก จะพบกับ "ทีมชาติบราซิล" ทีมอันดับ 2 ของโลก  ซึ่งจะลงทำการแข่งขัน ในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม เวลา 20.30 น. ตามเวลาประเทศไทย 

ก่อนพบกันครั้งนี้  "วอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย" ทีมอันดับ 14 ของโลก ลงทำการแข่งขันผ่าน 10 เกม ในศึก  VNL2022  ทำผลงาน ชนะ 5 แพ้  5  เก็บ 12 คะแนน รั้งอันดับ 8 ของตาราง  โดย "วอลเลย์บอลหญิง" ทำผลสัปดาห์ที่ 3 ชนะ 1 แพ้ 1 คือเป็นการระเดิมชนะ เกาหลีใต้ 3-1 เซต 25-11 , 25-22 และ 25-17 ส่วนเกมล่าสุด พ่าย โดมินิกัน 1-3 เซต 25-22 , 23-25 , 23-25 และ 21-25 

 

เปิดสถิติ "วอลเลย์บอลหญิง" ดวล บราซิล ศึก เนชั่นส์ ลีก

ส่วนทางด้าน "ทีมชาติบราซิล" ทีมอันดับ 2 ของโลก  ลงทำผลงานในศึก  VNL2022  10 เกม ชนะ 8 แพ้ 2 เก็บ 23 คะแนน รั้งอันดับ 3 ของตาราง โดยผลงานในสัปดาห์ที่ 3 ชนะ 2 นัดรวด คือการชนะ จีน 3-2 เซต 25-20 , 25-23 , 18-25 , 21-25 และ 15-11 ส่วนล่าสุด ชนะ เกาหลีใต้ 3-0 เซต 25-17 , 25-19 และ 25-13 

เปิดสถิติ "วอลเลย์บอลหญิง" ดวล บราซิล ศึก เนชั่นส์ ลีก

 

ทั้งนี้สถิติการพบกัน 5 นัดหลังสุด "ไทย-บราซิล"

  • 15/06/21 บราซิล ชนะ ไทย 3-0 เซต เนชั่นส์ ลีก 
  • 12/06/19 บราซิล ชนะ ไทย 3-0 เซต เนชั่นส์ ลีก 
  • 13/06/18  บราซิล ชนะ ไทย 3-1 เซต เนชั่นส์ ลีก 
  • 15/07/17 บราซิล แพ้ ไทย 0-3 เซต เวิลด์กรังด์ปรีซ์   
  • 09/06/17 ไทย แพ้ บราซิล 1-3 เซต มงเทรอซ์ มาสเตอร์

สำหรับ สถานการณ์ "วอลเลย์บอลหญิง"   หลัง "ทีมชาติไทย" พ่ายให้กับ โดมินิกัน  "วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก2022"    VNL2022   สัปดาห์ที่ 3     โอกาส ทีมชาติไทย ต่อความเป็นไปได้  กับการผ่านเข้าสู่รอบ 8  ทีมสุดท้าย       โดยความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นกับ  "วอลเลย์บอลหญิง" ทีมชาติไทย  ส่งให้ไทย  ยังคงอยู่ที่อันดับ 8  ของตาราง    วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก 2022  โดย หลังผ่านการแข่งขันนัดที่ 10   ทีมชาติไทย  มี 15 คะแนน  ตามทีมอันดับ 7 คือ   เซอร์เบีย ที่มี 17  คะแนน  และเหนือทีมอันดับ 9  คือ ทีมชาติแคนาดา ที่มี 12 คะแนน  หรือ  ไทย นำห่างอยู่ที่  3  คะแนน

ในขณะที่ " โดมินิกัน"  จากเดิมที่อันดับ 11  ขยับขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 10 ของตาราง  มี  12  คะแนน   จากการทำผลงาน  เอาชนะ "วอลเลย์บอลหญิง" ทีมชาติไทย   การแข่งขันสัปดาห์ที่ 3 ที่ประเทศบัลแกเรีย  ซึ่งเป็นนัดที่ 10 ของทีมชาติไทย  วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก 2022  VNL2022    สถานการณ์ของทีมชาติไทยในการแข่งขัน ขณะนี้   ต้องจับตาไปที่ การทำผลงานของ "ทีมชาติแคนาดา" ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญกับ การสร้างโอกาสของทีมชาติไทย

เพราะขณะนี้  "ทีมชาติแคนาดา" แข่งน้อยกว่า  คือ  9  นัด  มี 12 คะแนน  ทั้งนี้หาก "ทีมชาติแคนาดา " ลงเล่นนัดที่   10 และสามารถเอาชนะ  "ทีมชาติเซอร์เบีย"  ก็จะทำให้สถานการณ์ของทีมชาติไทย  ต่อการผ่านเข้ารอบพบอุปสรรคมากยิ่งขึ้น  เพราะเท่ากับว่า ทีมชาติไทย ต้องทำผลงานชนะ กับ 2 นัดที่เหลือ   ทั้งการพบกับ  ทีมชาติบราซิล ทีมอันดับ 3  ของตาราง  และ  ทีมชาติอิตาลี ทีมอันดับ 4 ของตาราง   ซึ่งไทยต้องชนะ เพื่อทำคะแนนหนีการตาม จากทีมชาติแคนาดา 

เปิดสถิติ "วอลเลย์บอลหญิง" ดวล บราซิล ศึก เนชั่นส์ ลีก

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/520881?adz=

เปิดหลักเกณฑ์ฉบับใหม่ สกัดโควิดในที่ทำงาน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 8 ก.ค.
 
 
 

กรมอนามัย เปิดหลักเกณฑ์ฉบับใหม่ สกัดโควิดในที่ทำงาน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 8 ก.ค. เผย 11 ข้อปฏิบัติช่วยลดความเสี่ยง และ 4 ข้อต้องทำเมื่อพบผู้ติดเชื้อ

 

วันที่ 16 ก.ค.65 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงมาตรการป้องกันโควิดของสถานประกอบกิจการ ว่า ขณะนี้มีการออกประกาศฉบับใหม่ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และมาตรการด้านสุขลักษณะป้องกันความเสี่ยงจากโรคโควิด 19 สำหรับสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ลงนามโดย นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข (สธ.) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 8 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป

 

สาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และมาตรการด้านสุขลักษณะป้องกันความเสี่ยงโควิด ดังนี้

1.ทำความสะอาดอาคารสถานประกอบกิจการ พื้น ผนัง ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยหรือสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์โดยสาร เป็นต้น

2.ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะ อุปกรณ์และเครื่องจักรเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และการประกอบกิจการที่มีการสัมผัสบ่อย หรือสัมผัสร่วมกัน ก่อนและหลังประกอบกิจการ หรือให้บริการทุกครั้ง

3.จัดให้มีอ่างล้างมือพร้อมน้ำและสบู่อย่างเพียงพอ

4.มีมาตรการเว้นระยะห่างในพื้นที่ปฏิบัติงานและพื้นที่ให้บริการอย่างเหมาะสม

5.มีระบบระบายอากาศในอาการที่ดีและเพียงพอ

6.จัดให้มีภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณของมูลฝอย

7.จัดให้มีอุปกรณ์ทำความสะอาด น้ำยาทำความสะอาด สารฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ

8.กำกับ ดูแล ให้ผู้ปฏิบัติงานรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี

9.สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหาร สถานที่รับประทานอาหาร หรือมีการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ต้องจัดบริการที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย 

10.กำกับ ดูแล คัดกรองผู้ปฏิบัติงาน หากพบว่ามีอาการป่วยหรือสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อให้พิจารณาหยุดปฏิบัติงาน และ

11.กำกับ ดูแล ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า หรือชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม

“กรณีพบการแพร่ระบาดในสถานประกอบกิจการ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะและมาตรการป้องกันความเสี่ยงโควิดเพิ่มเติม จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการแพร่เชื้อ คือ

1.ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่คาดว่าพบผู้ติดเชื้อทันที

2.ถ่ายเทอากาศบริเวณที่พบผู้ติดเชื้อทันที และปรับปรุงระบบระบายอากาศให้ดีขึ้น

3.เว้นระยะห่างผู้ปฏิบัติงานในแผนกที่พบผู้ติดเชื้อ และแผนกที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร และ

4.จัดการมูลฝอยประเภทที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง ในแผนกที่มีผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ติดเชื้อ และบริเวณที่เกี่ยวข้อง จัดที่ทิ้งเป็นการเฉพาะ แยกเก็บรวบรวมและทำลายเชื้อโรค โดยใส่ถุงแดง แต่หากไม่มีต้องมีข้อความ “มูลฝอยติดเชื้อ” บนถุง

นอกจากนี้ ต้องประเมินตนเองด้านสุขลักษณะและมาตรการป้องกันความเสี่ยงโควิดตามที่กรมอนามัยกำหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ก่อนการต่อใบอนุญาต หรือกรณีมีความเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบ” นพ.สุวรรณชัยกล่าว

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7165369

 

 

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. สรุปการ "คลายล็อกดาวน์" พร้อมเปิดรายละเอียดแผนมาตรการป้องกัน "โควิด-19" "การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล"

 

 

 

 

(27 ส.ค.2564) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. สรุปการ "คลายล็อกดาวน์" พร้อมเปิดรายละเอียดแผนมาตรการป้องกัน "โควิด-19" Universal Prevention หรือเรียกว่า การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล โดยจะเริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2564 นี้ 

สำหรับ Universal Prevention หรือเรียกว่า การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล คือ การระมัดระวังป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตลอดเวลาของทุกคนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์หรือประชาชนทั่วไป ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ "โควิด-19" แม้ยังไม่พบว่ามีความเสี่ยง

"ขอให้เราคิดเสมอว่า เราอาจติดเชื้อ โควิด-19 โดยไม่รู้ตัวและไม่มีอาการ รวมทั้งทุกคนที่อยู่รอบตัวเราไม่ว่าจะสนิทแค่ไหนอาจเป็นผู้ติดเชื้อแฝงกันทั้งหมด และอาจแพร่เชื้อมาให้เราได้ เราจึงต้องป้องกันอย่างสุดความสามารถที่จะไม่ให้ตนเองไปรับเชื้อโควิด-19 หรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น"

Universal Prevention การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล แบ่งเป็น 10 ข้อ

1.ออกจากบ้านเมื่อจำเป็นเท่านั้น

2.ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และผู้มีโรคเรื้อรัง หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน เว้นแต่จำเป็น (น้อยครั้งและใช้เวลาสั้นที่สุด)

3. เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร ในทุกสถานที่⁣

4. สวมหน้ากากอนามัยและทับด้วยหน้ากากผ้าตลอดเวลา ทั้งที่อยู่ในและนอกบ้านที่มีคนมากกว่า 2 คน⁣

5. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าที่สวมใส่อยู่ รวมทั้งใบหน้า ตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น⁣

6. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม ไอจาม หรือสัมผัสวัตถุ/สิ่งของ ที่ใช้ร่วมกัน⁣

7. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ⁣

8. แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น⁣

9. เลือกทานอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ ควรทานอาหารแยกสำรับ หากทานร่วมกันให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว⁣

10. หากสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยง เช่น สัมผัสผู้ที่อาจติดเชื้อ หรือมีอาการ ควรได้รับการตรวจด้วย ATK เพื่อยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หรือไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/480750?adz=

 

 

19 พ.ค.63- เพจ Covid-19 Thailand FACT Today ระบุถึงความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 ว่า ข่าวดี ที่คนทั้งโลก รอคอย ลุ้นโลกมีวัคซีนในมกราฯ 64 

(Moderna) บริษัทด้านไบโอเทคของสหรัฐพบค้นพบวัคซีน ที่สามารถสร้างสารภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี ที่ฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

โดยจากผลการทดลองในเบื้องต้น ซึ่งทางบริษัทโมเดอร์นา ร่วมกับพันธมิตร สถาบันสุขภาพแห่งชาติ พัฒนาวัคซีนนี้ขึ้น

ดร.ทัล แซคส์ ประธานเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโมเดอร์นา กล่าวว่า หากอนาคต ผลการศึกษาเป็นไปด้วยดี วัคซีนของบริษัทอาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนใช้ป้องกันไวรัสมรณะเร็วสุดในเดือนมกราคมนี้

แซคส์ กล่าวว่า นี้เป็นข่าวดีที่สุด และเป็นข่าวที่คิดว่าหลายคนรอมาสักระยะหนึ่งแล้ว ข้อมูลเบื้องต้นนี้มาจากการทดลองทางคลินิกระยะแรก ซึ่งได้ทำการศึกษาประชาชนจำนวนหนึ่ง และมุ่นเน้นว่าวัคซีนจะมีความปลอดภัย และกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือไม่ ผลของการศึกษา ซึ่งนำโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ได้มีการตรวจสอบ หรือพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารการแพทย์

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ ระบุว่า บริษัทโมเดอร์นา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เป็น 1 ใน 8 บริษัททั่วโลกที่ทำการทดลองทางคลินิก ใช้วัคซีนต่อต้านไวรัสโควิด-19 ในคน ส่วนอีก 2 บริษัท คือไฟเซอร์ และอิโนวิโอ บริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐเช่นกัน และอีกหนึ่งบริษัทอยู่ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ และอีก 4 บริษัทอยู่ในจีน

โมเดอร์นาให้วัคซีนกับอาสาสมัครหลายสิบคนที่เข้าร่วมการศึกษา และตรวจพบแอนติบอดี หรือสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันใน 8 คน โดยทั้ง 8 คน พัฒนาแอนติบาดีลบล้างฤทธิ์ไวรัส ถึงระดับหรือเกินระดับที่เคยพบเห็นในคนที่หายป่วยจากโควิด-19 โดยธรรมชาติ

ซึ่งทำให้ไวรัสไม่สมารถเข้าไปติดเชื้อในเซลส์มนุษย์ได้ ส่วนการทดลองครั้งใหญ่กว่าเพื่อดูว่า วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสได้อย่างแท้จริงหรือไม่ คาดว่าจะเริ่มได้ในเดือนกรกฎาคม

แซคส์ กล่าวว่า เราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การสร้างแอนติบอดีเหล่านี้ ซึ่งเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน สามารถต่อต้านไวรัสได้อย่างแท้จริง

เป็นก้าวแรกที่สำคัญอย่างมากในการเดินทางไกลไปสู่การผลิตวัคซี ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของบริษัทโมเดอร์นา กล่าวว่า ผลการทดลองของบริษัท ถือว่ายอดเยี่ยม

ทั้งนี้ งานพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 เกิดขึ้นอย่างเร่งรีบอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีประมาณ 80 กลุ่มจากทั่วโลกที่กำลังเร่งพัฒนาวัคซีนอยู่ในขณะนี้ ส่วนบริษัทโมเดอร์นา เป็นบริษัทแรกที่ทำการทดลองวัคซีน ที่เรียกว่า mRNA-1273 ในคน

ข้อมูล :
https://www.nytimes.com/…/…/coronavirus-vaccine-moderna.html

#Thailandfacttodayล

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/66327

 9มิ.ย.63-เพจแพทย์ไทยไอเดียสุด/Doc Idea D  ได้โพสต์ข้อความว่า จาการวิจัยล่าสุดจาก​ 2​ มหาวิทยาลัยใหญ่ของสหรัฐ​ และอังกฤษตี​ ระบุว่า​มาตรการล็อกดาวน์เซฟชีวิตคนได้หลาย​ 100​ ล้านคน​ แต่ก็ระบุว่า​ ตอนนี้อาจจะมีผู้ติดเชื้อไป​ 500​ กว่าล้่านคนได้เช่นเดียวกัน
 

มี​ 2​ วิจัยขนาดใหญ่ที่เพิ่งลงใน​วารสาร Nature​ โดยมีสื่อ​ Washington Post​ นำมาสรุปความให้
วิจัยแรกจากสหรัฐ​ the University of California at Berkeley ระบุไว้ว่า

1.​ ศึกษาใน​ 6​ ประเทศ​ จีน​ สหรัฐ​ เกาหลี​ ฝรั่งเศส​ อิตาลี​ อิหร่าน

2.​ มาตรการ​ Shut Down​ ช่วยคนสหรัฐไว้​ 60​ ล้านคน​ ช่วยคนจีนไว้​ 285 ล้านคน

3.​ ตามดูมาตรการของแต่ละที่รวมกัน​ 1,717 มาตรการ​ ได้ทำเทสต์รวม​ 11​ ประเทศ​ มีการเทสต์ตรวจหาเชื้อ​ไป​ 62 ล้านเทสต์

4.​ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจเทสต์หาเชื้อเลย​ ทำให้คาดการณ์​ว่า​ มีผู้ติดเชื้อจริงอาจจะ​มีมากถึง​ 530 ล้านคน​

5.​ เวลาในการใช้มาตรการต่างๆ​ นั้นสำคัญมาก​ เริ่มไวได้ผลดีมากกว่าเริ่มช้าชัดเจน

6.​ วิจัยตามวิเคราะห์์ให้ว่า มาตรการไหนช่วยมาก​ ช่วยน้อย​ ... เพื่อให้ประเทศที่เพิ่งเริ่มติดเชื้อ​ ได้ทราบแนวทางดีๆ​

7.​ มีประเทศมากมายตั้งคำถามเรื่องความคุ้มค่าของการปิดเมือง​ หยุดภาคเอกชน​ ว่าคุ้มค่าแคไหน​ อย่างไร​ ในการ Save​ ขีวิตคนไปมากมาย
ฉบับเต็มที่ยาวมากตามอ่านได้ใน https://www.nature.com/arti…/s41586-020-2404-8_reference.pdf


 วิจัยที่​ 2​ โดยผู้เชี่ยวชาญจาก​ Imperial College London​ อังกฤษ
1.​ มาตรการ​ Shut​ Down​ เซฟชีวิตคนใน​ 11​ ประเทศไป​ 3.1​ ล้านชีวิต​
2.​ เฉพาะของอังกฤษ​ เซฟไป​ 500000 ชีวิต
3.​ ลดอัตราการติดเชื้อไปถึง​ 82%
4.​ แต่พอมีมาตรการต่างๆ​ อัตราการติดเชื้อในแต่ละประเทศ​ จึงเหลือ​ 3-4% ซึ่งทำให้ไม่เกิด​ Herd​ Immunity
5.​ ให้ระวังว่า​ ถ้าลดมาตรการต่างๆ​ แบบไม่ระวังจะมีผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่​ Wave​ 2​ เพิ่มขึ้นมา
(ผลงานฉบับเต็มดูได้ที่ Estimating the effects of non-pharmaceutical interventions on COVID-19 in Europe)   https://www.nature.com/articles/s41586-020-2405-7

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/68204

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ