เปิดงานวิจัย "ฟ้าทะลายโจร" มีผลข้างเคียงต่อตับจริงหรือไม่

 

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เผยแพร่ผลการศึกษาว่า "ฟ้าทะลายโจร" มีผลข้างเคียงต่อตับหรือไม่ สืบเนื่องจากมีผู้เผยแพร่ข้อมูลว่าใช้ฟ้าทะลายโจรแล้วทำให้ตับพัง

 

(7 ส.ค.2564) สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เผยแพร่ผลการศึกษาว่า "ฟ้าทะลายโจร" มีผลข้างเคียงต่อตับหรือไม่ สืบเนื่องจากมีผู้เผยแพร่ข้อมูลว่าใช้ฟ้าทะลายโจรแล้วทำให้ตับพัง

สำหรับ "ฟ้าทะลายโจร" จัดเป็นสมุนไพรที่มีรสขมอยู่ในกลุ่มยาเย็น มี "สรรพคุณ" ทางการแพทย์แผนไทย ใช้บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอ และเจ็บคอ เป็นสมุนไพรที่ได้ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) กระทรวงสาธารณสุขในรูปแบบยาเดี่ยว

 

ขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เผยแพร่ผลการศึกษาว่า "ฟ้าทะลายโจร" มีผลข้างเคียงต่อตับหรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

สืบเนื่องจากมีผู้เผยแพร่ข้อมูลว่าใช้ "ฟ้าทะลายโจร" แล้วทำให้ตับพัง จากงานวิจัยฟ้าทะลายโจรในต่างประเทศที่ใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งชนิดผงและสารสกัดในการรักษาอาการหวัด หลอดลมอักเสบ ไม่มีรายงานว่าฟ้าทะลายโจรก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ 

 

นอกจากนั้นในการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพยาของการใช้ผงฟ้าทะลายโจรปริมาณ 12 แคปซูล (4.2 กรัม) ต่อวัน ติดต่อกัน 3 วัน (มีปริมาณสาร Andrographolide 97 มิลลิกรัมต่อวัน) ไม่พบว่าการทำงานของเอนไซม์ตับ AST (Aspartate Aminotransferase) และ ALT (Alanine Aminotransferase) ผิดปกติ (Suriyo et al., 2017)

สำหรับการศึกษาความปลอดภัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพยาของสารสกัดฟ้าทะลายโจรปริมาณ 9 แคปซูล ต่อวัน (มีปริมาณสาร Andrographolide ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน) [อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา] ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นการเพิ่มทั้งขนาดและระยะวันการได้รับฟ้าทะลายโจร ก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ตับเช่นกัน

 

แต่หากใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณสาร Andrographolide ในขนาดสูงถึง 360 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 7 วัน จะพบการเปลี่ยนแปลงของ AST เล็กน้อย ในอาสาสมัคร 1 คนใน 12 คน ซึ่งค่าเอนไซม์ตับที่สูงขึ้นนี้จะกลับเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนค่าเอนไซม์ ALT จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในอาสาสมัคร 4 คน ซึ่งคิดเป็น 33.33% แต่การทำงานของเอนไซม์ก็จะกลับเป็นปกติภายใน 1-3 สัปดาห์

 

ดังนั้นขนาดของสาร Andrographolide ที่เหมาะสม คือ 180 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน จึงไม่ควรใช้ในขนาดและระยะเวลานานเกินกว่านี้

 

เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมากที่ต้องการยารักษาโรคโควิด-19 และยาฟ้าทะลายโจรก็เป็นสมุนไพรที่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั้งกลไกการออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง และการศึกษาในทางคลินิกในผู้ติดเชื้อจริง ทั้งในประเทศไทยและประเทศจีน

 

ซึ่งได้มีการใช้ในรูปแบบผง สารสกัด และการพัฒนาสารอนุพันธ์ Andrographolide ให้อยู่ในรูปแบบยาฉีด ดังนั้นหากมีการพบการติดเชื้อโควิด-19 จึงควรใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรทั้งรูปแบบผงและสารสกัดทันที ในขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นยาที่มีประโยชน์มากและมีความปลอดภัยในระดับที่รับได้ เป็นการช่วยลดภาระของรัฐบาลและช่วยระบบสาธารณสุขของชาติได้

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/477684?adz=

 

 
 


เมื่อวันที่ 15 ส.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายที่ 5 ว่า ผู้ติดเชื้อเป็นหญิงไทยเดินทางกลับมาจากดูไบ มีประวัติความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศเห็นความผิดปกติและขอให้มาแยกกักและส่งเชื้อไปตรวจและพบเชื้อ ขณะนี้นำเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเรียบร้อย เห็นว่าตั้งแต่เราพบฝีดาษลิงในไทยมา 5 ราย พบว่า 3 คนเป็นคนไทย 2 คนเป็นต่างชาติ แต่ทุกคนมีประวัติเรื่องนั้นหมด เราก็รู้ว่าถ้าประชาชนทั่วไปถ้าไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือไม่เลือกก็จะไม่มีปัญหาอะไรแน่นอน โรคนี้อาจดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่ถ้าไม่มีโรคแทรกก็หายได้เร็วหายได้เอง

 
ถามว่ารายนี้รู้ตัวว่าติดเชื้ออยู่แล้วเดินทางกลับมาหรือเพิ่งมารู้ นายอนุทินกล่าวว่า ดูจากสภาพแผลก็ไม่ใช่เพิ่งเกิด เขาเดินทางเข้ามา เราไม่รู้ระบบการคัดกรองผู้โดยสารต้นทาง แต่เมื่อมาถึงด่านควบคุมโรคฯ ที่สุวรรณภูมิเห็นก็เชิญมากักกันโรคทันที นี่คือประสิทธิภาพของประเทศไทยและส่งรายงานทันที และติดตามคนที่นั่งข้างๆ มาเฝ้าระวัง เป็นระบบที่มั่นคงของ สธ.อยู่แล้ว

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยรายที่ 5 เป็นหญิงไทยอายุ 25 ปี เดินทางจากดูไบมาถึงไทย ผ่านจุดคัดกรอง เจ้าหน้าที่ด่านพบผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยเพลีย มีตุ่มที่ใบหน้าและแขน 2 ข้าง จึงเรียกผู้ป่วยเข้ารับการตรวจคัดกรอง จากการสอบถามผู้ป่วยมีประวัติเสี่ยงคือ ระหว่างอยู่ที่ต่างประเทศมีประวัติเปลี่ยนคู่นอน เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. พบมีตุ่มขึ้นที่อวัยวะทั่วร่างกาย จากนั้นเริ่มมีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ได้รับการรักษาโดยการฉีดยาฆ่าเชื้อไม่ทราบชนิด แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงเดินทางกลับประเทศไทย
 
 
เปิดประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง "วัคซีน Johnson & Johnson" ที่ไทยไม่มี แต่ได้ฉีด
 

กรณีพบผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความลงในสื่อโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19  "Johnson & Johnson" จากคลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.สระแก้ว โดยพบว่า มีการนำมาจากกัมพูชา ประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีการใช้วัคซีน "Johnson & Johnson" ถึงแม้ว่าเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายที่ 3 ของประเทศไทยแล้วก็ตาม "คมชัดลึกออนไลน์" จะพาไปทำความรู้จักกับวัคซีน "Johnson & Johnson" เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอนาคต

วัคซีน "Johnson & Johnson" เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine) โดยนักวิจัยจะตัดต่อสารพันธุกรรมบางส่วนของเชื้อโควิด-19 มาใส่ในไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธ์ุ 26 (Human adenovirus type 26) ซึ่งเป็นไวรัสพาหะที่ถูกดัดแปลงให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ หรืออ่อนกำลังลงจนไม่ทำให้เกิดโรค แล้วนำมาฉีด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา

 

นอกจากวัคซีน "Johnson & Johnson" แล้ว ยังมีวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีเดียวกันอีก แต่ใช้สายพันธ์ุไวรัสอะดีโนของมนุษย์ที่ต่างกัน ได้แก่ วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ของประเทศอังกฤษ และวัคซีนสปุตนิก วี (Sputnik V) ของประเทศรัสเซีย

คุณสมบัติวัคซีน Johnson & Johnson 

  • วัคซีน Johnson & Johnson เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียว ที่ฉีดเพียง 1 เข็ม โดยฉีดบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน
  • สาเหตุที่ฉีดเพียงเข็มเดียว เพราะจากการทดลองในระยะที่ 1 และ 2 พบว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีแล้ว ในขณะที่การฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ไม่ได้เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันมากนัก ซึ่งการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียว ช่วยเพิ่มความสะดวกในการให้วัคซีน และลดต้นทุนในการขนส่งและฉีดวัคซีนได้มาก

ประสิทธิภาพวัคซีน Johnson & Johnson

  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 66.3% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 14 วัน
  • มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด 19 65.5% หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน 28 วัน
     

วัคซีน Johnson & Johnson ไม่เหมาะกับใคร

  • ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่กำลังให้นมบุตรเนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) 
  • ผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน
  • ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครั้งก่อน ๆ
  • ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ซึ่งอาจก่อโรคในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงได้มาก
     

ผลข้างเคียงที่พบทั่วไป 

  • ปวด บวม และมีรอยแดง บริเวณที่ฉีด
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  • มีไข้ และอาการหนาวสั่น
  • คลื่นไส้

ผลข้างเคียงเหล่านี้มักเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน หลังได้รับการฉีดวัคซีน และควรหายภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

ผลข้างเคียงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (TTS) อาจเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์หลังฉีดวีคซีน 

  • ปวดศีรษะรุนแรง หรือปวดอย่างต่อเนื่อง
  • ตาพร่ามัว
  • หายใจถี่
  • เจ็บหน้าอก
  • ขาบวม
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด นอกเหนือจากบริเวณที่ฉีด

หากมีอาการเหล่านี้อย่างน้อย 1 อาการ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

เปิดประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง "วัคซีน Johnson & Johnson" ที่ไทยไม่มี แต่ได้ฉีด

 

เปิดประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง "วัคซีน Johnson & Johnson" ที่ไทยไม่มี แต่ได้ฉีด

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/491845?adz=

เปิดผลข้างเคียง "ยาฟาวิพิราเวียร์" อันตราย ทำไม? ไม่ช่วย รักษาโควิด
 

ทำความรู้จัก "ยาฟาวิพิราเวียร์" ยาต้านหลักไวรัสโควิด-19 ข้อดีและข้อเสียของตัวยา เปิดผลข้างเคียงอันตรายที่หลายคนยังไม่เคยรู้

สำหรับ "ฟาวิพิราเวียร์" (Favipiravir) ถือเป็นยาตัวหลักที่สำคัญเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในประเทศไทยเนื่องจากมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง

โดย "ยาฟาวิพิราเวียร์" เป็นยาต้านไวรัส RNA ชนิดออกฤทธิ์กว้าง นอกจากออกฤทธิ์กับเชื้อไวรัส "โควิด-19" ได้แล้ว ยังออกฤทธิ์ต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะได้อีกด้วย

ซึ่งยาชนิดนี้ไม่ได้จ่ายให้สำหรับผู้ป่วยทุกคน แต่จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

"ยาฟาวิพิราเวียร์" จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องสั่งจ่ายและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ จำเป็นต้องติดตามอาการข้างเคียงและผลการรักษาระหว่างการใช้ยา การใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่มจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่จะตามมาโดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ 

ข้อดีของยาฟาวิพิราเวียร์ โดยยานี้ดูดซึมง่าย แบ่งหรือบดเม็ดยา และให้ทางท่อหลอดอาหารได้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ต้องปรับขนาดยา อย่างไรก็ตามพบว่ายานี้เป็นยาอันตราย ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และยังมีผลข้างเคียงทั้งอันตรายและไม่อันตราย

ผลข้างเคียงไม่อันตราย มีดังนี้

  • ตาเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงหรือสีน้ำเงิน บางรายตาเรืองแสง 

"ฟาวิพิราเวียร์" อีกชื่อนึงมันคือ 5-Fluoro-2-hydroxypyrazine-3-carboxamide ซึ่งประกอบไปด้วยสารเรืองแสง ทีนี้พอเรากินยาเข้าไปเพื่อรักษา "โควิด-19" แถมต้องกินวันละเป็น 10 เม็ด ยามันก็เลยกระจายไปทั่วร่าง ทั้งผิว เส้นผม เล็บ กระจกตา

บางคนจะเห็นชัดเลยว่าเรืองแสง บางคนก็มองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นเป็นสีม่วงๆ อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ทำให้อวัยวะนั้นทำงานผิดปกติ หากหยุดยาร่างกายก็กำจัดยาออกไปเอง 

ผลข้างเคียงอันตราย มีดังนี้

  • อาการคลื่นไส้อาเจียน 
  • อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการ หากรับประทานยาในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก 
  • มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ เมื่อรับประทานร่วมกับยาบางชนิด 
  • มีผลต่อการทำงานของตับ ดังนั้นไม่ควรรับประทานร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร หรือยาที่มีผลต่อตับ จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ 

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยไม่ควรซื้อ "ยาฟาวิพิราเวียร์" นอกระบบ เช่น ทางออนไลน์ เพราะเป็นยาอันตราย เนื่องจากคุณภาพที่ได้ไม่เพียงพอต่อการรักษา และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

สิ่งที่ต้องระวัง เนื่องจากไวรัสปรับตัวเร็วมีหลายสายพันธุ์ที่เริ่มดื้อยา ถ้าใช้ยา "ฟาวิพิราเวียร์" ฟุ่มเฟือยโดยไม่มีข้อบ่งชี้อาจเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้ไม่มียารักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรง จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้นได้

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/506333?adz=

 

 
เปิดผลวิจัย "โควิด" ติดเข้าเซลล์ทุกสายพันธุ์พร้อมกัน Omicron เข้าปอดไวกว่า
 
 

"ดร.อนันต์" เปิดผลวิจัยใหม่ของเกาหลีใต้ พบข้อมูลชวนอึ้ง ไวรัส "โควิด" สามารถติดเข้าเซลล์ได้ทุกสายพันธุ์พร้อมกัน Omicron เข้าปอดไวกว่า 4.8 เท่า

(15 เม.ย.2565) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โพสต์เฟซุบ๊ค Anan Jongkaewwattana เผยผลวิจัยใหม่ เกี่ยวกับไวรัส "โควิด" สายพันธุ์ต่าง ๆ ระบุว่า 

ทีมวิจัยของเกาหลีใต้ ได้นำเสนอผลการทดลองชิ้นหนึ่งออกมาน่าสนใจมาก เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาตอบคำถามเกี่ยวกับความสามารถการติดเข้าสู่เซลล์ปอดของมนุษย์ ของไวรัส SARS-CoV-2 แต่ละสายพันธุ์ได้ชัดเจนขึ้น 

โดยทีมวิจัยทำการแยกเซลล์ถุงลมปอดของมนุษย์ออกมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ และเหนี่ยวนำให้เซลล์ดังกล่าวเจริญเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Organoid ซึ่งเป็นสภาวะที่ใกล้เคียงกับอวัยวะจริงในร่างกาย มากกว่าการใช้เซลล์เพาะเลี้ยง ที่มักแยกมาจากเซลล์มะเร็งปอด และมีการเลี้ยงมาเป็นเวลานาน พอได้ระบบ Organoid ของปอดมนุษย์แล้ว ทีมวิจัยได้นำไวรัส "โควิด" ที่แยกได้จากผู้ป่วยในเกาหลีใต้ ที่มีการถอดรหัสพันธุกรรม 100% เรียบร้อยแล้ว 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เดิม (GR), Alpha, Delta และ Omicron จำนวนเท่า ๆ กัน มาผสมกัน และปล่อยให้ไวรัสทั้ง 4 สายพันธุ์ติดเข้าสู่ Organoid ปอดที่สร้างขึ้น 

ทีมวิจัยได้มีการใช้ระยะเวลาที่ให้ไวรัสไปบ่มกับเซลล์ที่เวลาต่าง ๆ กัน ที่น่าสนใจคือ เค้าใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ก็สามารถพบว่า ไวรัสสามารถติดเข้าสู่เซลล์ได้แล้วหลังจากบ่มไวรัสที่เตรียมไว้กับ Organoid ปอด ทีมวิจัยทำการแยกเซลล์ปอดที่ติดเชื้อออกเป็นเซลล์เดี่ยว แล้วนำเซลล์เดี่ยว ๆ นั้น ไปถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสในแต่ละเซลล์ ด้วยเทคโนโลยี SMART-seq3 ที่ทีมวิจัยระบุว่า สามารถอ่านรหัสพันธุกรรมในเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละเซลล์นั้นได้ละเอียด มากพอที่จะแยกสายพันธุ์ไวรัสที่เข้าไปติดเซลล์เหล่านั้น 

เปิดผลวิจัย "โควิด" ติดเข้าเซลล์ทุกสายพันธุ์พร้อมกัน Omicron เข้าปอดไวกว่า

ผลการทดลองจากการถอดรหัสเซลล์จำนวนเกือบ 190 เซลล์ ทีมวิจัยพบว่า 52  เซลล์ (คิดเป็น 27.2%) ถูกติดเชื้อ "โควิด" โดยไวรัส 1 สายพันธุ์ ในขณะที่มีเซลล์มากถึง 85 เซลล์ (44.5%) ถูกติดเชื้อไวรัสได้ 2 สายพันธุ์ และ มีมากถึง 52 เซลล์ หรือ 27.2% สามารถถูกติดเชื้อได้ 3 สายพันธุ์พร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก เพราะความเชื่อก่อนหน้านี้เกี่ยวกับโอกาสที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในโฮสต์พร้อม ๆ กันมากกว่า 1 สายพันธุ์ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ แต่ผลจากงานวิจัยนี้ก็บอกว่าไม่ยากเช่นกัน

ในบรรดาเซลล์ที่นำมาวิเคราะห์หาชนิดของไวรัสที่ติดเข้าไปได้ ทีมวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ที่ติดสายพันธุ์โอมิครอน ตามมาด้วย Alpha และ Delta กับ สายพันธุ์ดั้งเดิม ทีมวิจัยพบว่า โอมิครอนมีความสามารถติดเข้าไปในเซลล์ปอดที่ใช้ในการศึกษานี้ไวกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ (ประมาณ 4.8 เท่า แต่ยังไม่ชัดเจนว่าผลของการศึกษานี้ จะขัดแย้งกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่พบว่าโอมิครอนติดเซลล์ปอดไม่ดีหรือไม่ คงต้องดูในรายละเอียดของชนิดของเซลล์ที่ใช้ ตลอดจนความแตกต่างของไวรัสด้วย

"ดร.อนันต์" ระบุว่า แต่ประเด็นที่สนใจเป็นพิเศษคือ โอกาสที่ไวรัสเข้าไปเพิ่มจำนวนตัวเองในเซลล์เดียวกันได้หลาย ๆ สายพันธุ์ในเวลาเดียวกัน เพราะนั่นคือกลไกการสร้างไวรัสลูกผสมตระกูล X ทั้งหลาย ถ้าเกิดขึ้นได้ง่ายขนาดนี้ไวรัสหน้าตาแปลก ๆ ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกันครับ

ขอบคุณข้อมูล Anan Jongkaewwattana

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/511561?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ