อินฟลูเอนเซอร์ออสเตรเลียที่อาศัยในสหรัฐ กลายเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ จัดปาร์ตี้ขณะติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาไม่รู้ตัว แม้ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาแล้ว
อีกกรณีตัวอย่างที่ตอกย้ำว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ไม่ได้หมายความเสี่ยงติดเชื้อจะหมดไป และยังสามารถเป็นผู้แพร่เชื้อต่อได้ หากละเลยมาตรการป้องกันส่วนบุคคล เหมือนกรณีของนายแอนโทนี เฮสส์ ชายชาวออสเตรเลีย ที่ยอมรับว่า ตนเองเป็นซูเปอร์สเปรดเดอร์ไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา หลังจากจัดปาร์ตี้โดยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้ออยู่ และได้แพร่เชื้อต่อไปอีกอย่างน้อย 60 คน จำนวนนี้ 20 คนเป็นผู้ติดเชื้อยืนยัน อีก 40 คนแสดงอาการอยู่ในเวลานี้
เฮสส์ ซึ่งสื่อในออสเตรเลียระบุว่าเป็นอินฟลูเอนเซอร์คนหนึ่ง ไม่ก็ระบุว่าเป็นหนุ่มสังคมที่มีชื่อเสียงไม่ค่อยดีนัก เป็นที่รู้จักในฐานะเพื่อนของสเตซี แฮมป์ตัน ดาราจากรายการดัง Married At First Sight พำนักในนครลอสแองเจลิสมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เดอะ เดลีย์ เมล์ ออสเตรเลียระบุว่า เฮสส์ วัย 40 ปี ใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรีในสหรัฐหลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการคุมโควิด-19 เขาฉีดวัคซีนโมเดอร์นาแล้ว 2 เข็ม
ขณะจัดปาร์ตี้สุดสัปดาห์ วันที่ 9-11 ก.ค. ไม่รู้ตัวเลยว่าติดไวรัส เพิ่งมามีอาการแบบไม่รุนแรงช่วงกลางสัปดาห์ที่แล้ว 4 วันพอดีหลังดื่มฉลองกันสุดเหวี่ยง เฮสส์ กล่าวว่า เขาไม่รู้ว่าแพร่เชื้อต่อกี่คน แต่สัมผัสกับคนจำนวนมาก อาจเป็นร้อย เขารู้สึกผิดมาก เมื่อเพื่อนหลายสิบคนส่งข้อความไปบอกว่าพวกเขามีอาการ
หลังผลตรวจพบเป็นผลบวก เฮสส์นอนซมบนเตียง 5 วัน กินอะไรไม่ได้ เหงื่อออกเยอะมาก รู้สึกเหมือนกำลังจะตาย น้ำหนักลงฮวบ นอกจากนี้ยังมีอาการทั่วไป เช่น เจ็บคอ ไอแห้ง หายใจลำบากและคัดจมูก แต่เชื่อว่าหากไม่ฉีดวัคซีน อาการคงหนักกว่านี้
เหตุที่แชร์ประสบการณ์ของตัวเอง เพราะอยากให้เป็นตัวอย่างว่าการแพร่เชื้อสายพันธุ์เดลตาโดยไม่รู้ตัวนั้น เกิดขึ้นง่ายมาก โดยเฉพาะในออสเตรเลีย ที่มีประชากรเพียง 11% เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนแล้ว “หลายคนในออสเตรเลียยังคิดว่าไม่ร้ายแรง แต่ไม่ใช่เลย แอลเอกำลังกลับมาเข้มงวด ไวรัสแพร่ไวมาก ไม่มีใครรู้ว่าใครมีเชื้ออยู่ ผู้คนกำลังล้มตาย " เขาเองไม่ได้เคร่งครัดเช่นกันจนกระทั่งเกิดกับตัวเอง
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/foreign/475572?adz=
ผมติดโควิดเมื่อ ผลตรวจยืนยัน 17 เมษายน 63 นะครับ
ตอนนี้อยู่ศิริราชมา 7 วันแล้ว ขอแชร์เรื่องราวไว้ให้ทุกท่านนะครับ
- ผมไม่ได้ไปที่เสี่ยงที่ไหนมาเลย ผับ บาร์ เลาจ์ ร้านเหล้า คอนเสิร์ต ตั้งแต่ 1 เมษายน ผมคิดว่าผมไม่มีความเสี่ยง ทำให้พอมีอาการน้อยๆ เช่น ไอ เจ็บคอ ไข้ต่ำๆ ผมรีรอที่จะไปตรวจ ตอนนั้นคิดว่า ถ้าไปตรวจเจอมันต้องยุ่งมากแน่ๆ ขอรอให้แน่ใจอีกซักนิด
อย่ารอครับ ยิ่งรอยิ่งหนัก ไปตรวจเลยครับ
- อาการเร็วมาก 15 เมษายน ตัวรุมๆ ครั้่นเนื้อครั่นตัวตอนบ่ายๆ ไอแห้งๆนิดเดียว , 16 เมษายน ไข้เริ่มสูงขึ้นตอนบ่ายๆ ตอนกลางคืนไข้ขึ้นสูง วัดไข้เอง สูงถึง 39 ไอแห้งมาก เริ่มมีเสมหะ เจ็บหน้าอก
- กลัวตายครับ วันที่ 17 พอทราบผล ตอนนั้นมีไข้สูง ไอมาก เจ็บหน้าอก เริ่มได้ข้อมูลว่ารอบนี้ผู้ชาย อายุน้อย อาการหนัก ลงปอดเยอะ ตอนนั้นคือ คิดว่าเราน่าจะมี pneumonia แล้วถึงมีไข้สูง
รพ.จะมารับเข้าไป admit วันนั้นเลย ความกลัวเกิดขึ้นจริงๆว่า เข้าไปแล้วจะได้กลับออกมาไหม กลัวจริงๆครับ ผล CXR ก็มี RLL infiltration จริงๆครับ
- เสียใจ depress ทำเพื่อนๆ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ต้องโดน swab โดนกักตัว เยอะมาก วุ่นวายไปทั้งรพ. เนื่องจากผมไม่มีประวัติ contact confirm patient ที่ชัดเจน (ผมคิดว่าผมติดช่วงวันที่ 12 เมษายน เนื่องจากไปกินข้าวที่ street food เยาวราช มีช่วงที่ร้านคนแน่น และไม่ใส่ mask (แต่ ID คิดว่ามันไม่ชัดเจน ขอกวาดเอาคนที่ contact กับผมทั้งหมด 14 วันย้อนหลัง ต้องขอโทษทุกๆคนด้วยครับ)
- โรงพยาบาล ไม่ใช่ที่ที่น่าอยู่เลยครับ มาอยู่ศิริราช วอร์ดพิเศษ (มว2) แต่ด้วยความที่ทุกอย่างจำกัด ห้องพิเศษ ต้องนอนสองคน ยังดีที่ได้นอนเตียงผู้ป่วย เพื่อนร่วมห้องอีกคน ต้องนอนที่นอนญาติ ลำบากกว่ามาก
การอยู่ในห้องเดิม ไปไหนไม่ได้ตลอด 7 วัน ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยครับ ไม่ป่วย อยู่ที่บ้านเราดีที่สุด
- 5 วันแรก อาการค่อนข้างมาก ต้องได้ dexa + Favi ตลอด ขนาดได้ dexa ยังมีไข้ 37-38 อยู่ ไอตลอด แต่อาการก็ค่อยๆดีขึ้นโดยลำดับ CXR ดีขึ้นเรื่อยๆ
- วันนี้ 24 เมษายน 2564 วันนี้อาการดีแล้วครับ ไม่มีไข้มา 3 วัน ไม่มีอาการไอแล้ว CXR clear แล้ว กำลังจะย้ายไป Hospitel อีก 7 วัน และ กักตัวที่บ้าน 7 วัน ตรวจซ้ำที่วันที่ 21 ถ้า ct > 30 จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้ ยาววววเลย
- ผมฉีดวัคซีน sinovac 7 เมษายน วัคซีนไม่ช่วยอะไรร
ขอให้พี่ๆ น้องๆ ทุกท่านระวังรักษาสุขภาพครับ ก่อนนี้ผมเคยคิดว่า ติดๆโควิดก็ดีเหมือนกัน จะได้ไม่ต้องห่วง คอยระแวงอะไรมากมาก แต่ติดแล้วมันแย่มากครับ ไม่ติดดีที่สุดครับผม
ขอให้ทุกท่านปลอดภัย สุขภาพแข็งแรง ครับ
ณพล สินธุวนิช
24 เมษายน 2564
ขอเรียนแก้ไขข้อมูล จากที่ได้มีการบอกเล่าประสบการณ์ของผมไปเมื่อวาน
มีเรื่องที่ผมเข้าใจคลาดเคลื่อน และ ต้องการแก้ไขดังนี้ครับ
1 ปกติไม่จำเป็นต้อง reswab ก่อนกลับมาทำงานนะครับ กระทรวงก็ไม่ได้แนะนำ อันนี้แล้วแต่นโยบายของ HR และเพื่อการเก็บข้อมูลบุคลากรแต่ละรพ. ครับ
2 วัคซีน sinovac ที่ไม่ช่วยอะไร เนื่องจากผมพึ่งฉีดได้เข็มเดียว ยังไม่ถึง 7 วัน ภูมิยังไม่ทันขึ้นนะครับ วัคซีนยังจำเป็นอยู่ ฉีดได้ฉีดเลยนะครับ
หลายท่านกังวลว่า
คนจะเข้าใจว่า ฉีดวัคซีนแล้วไม่ช่วย ทำให้คนไม่ไปฉีดครับ
ผมไม่ได้มีเจตนาเขียนดังนั้นครับ
ขอบคุณครับ และ ขออภัยต่อผู้เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดความสับสน วุ่นวายครับ
นายแพทย์ณพล สินธุวนิช
25 เมษายน 2564
6 ธ.ค.2563 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 6 ธันวาคม 2563...
วันนี้อันดับโลกท็อปเท็นเปลี่ยนแปลง อิตาลีแซงสหราชอาณาจักรและสเปนขึ้นมาอันดับ 6
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 585,199 คน รวมแล้วตอนนี้ 66,746,077 คน ตายเพิ่มอีก 9,516 คน ยอดตายรวม 1,532,581 คน
อเมริกา กำลังจะแตะ 15 ล้านคน เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่มอีก 191,521 คน รวม 14,926,086 คน ตายเพิ่มอีก 2,030 คน ยอดตายรวม 287,310 คน
สถานการณ์อเมริกาน่าเป็นห่วงมาก ติดเชื้อประเทศเดียวคิดเป็น 22% ของทั้งโลก หลายรัฐมีอัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อจากการตรวจโควิดสูงมาก เช่น Idaho 50.4%, South Dakota 47%, Kansas 46.6%, Iowa 41.3%, Alabama 36.4%, Pennsylvania 33.9% สมัยเกือบยี่สิบปีก่อนเคยไปอยู่ที่ Delaware และ Maryland ตอนนี้ 8.2% และ 6.6% ตามลำดับ
ปัจจุบันเค้าตรวจโควิดวันละประมาณเกือบสองล้านครั้ง อัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อเฉลี่ย 10.3%
เอาใจช่วยให้เค้าคุมโควิดได้โดยเร็ว ลักษณะการระบาดเช่นนี้หากต่างรัฐต่างคนต่างทำจะคุมได้ยาก
อินเดีย ติดเพิ่ม 29,217 คน รวม 9,636,849 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 43,209 คน รวม 6,577,177 คน
รัสเซีย ทำลายสถิติเดิม ติดเพิ่มอีกถึง 28,782 คน รวม 2,431,731 คน
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 12,923 คน รวม 2,281,475 คน
อันดับ 6-10 ตอนนี้เปลี่ยนเป็น อิตาลี สหราชอาณาจักร สเปน อาร์เจนตินา และโคลอมเบีย ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลักหมื่นต่อวัน เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน ตุรกี บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเมียนมาร์ ติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายหมื่น
คาดว่าอีกราว 10 วัน ตุรกีจะเป็นประเทศที่ 15 ที่จะมีผู้ติดเชื้อเกินล้านคน ช่วงนี้ติดเพิ่มวันละหลายหมื่นคน หากคุมไม่ได้อาจเป็นศูนย์กลางระบาดในแถบนั้นที่น่ากังวล เพราะมีประชากรถึง 82 ล้านคน เป็นอันดับ 17 ของโลกในแง่จำนวนประชากร
แถบสแกนดิเนเวีย รอบทะเลบอลติก และแถบยูเรเชียยังคงน่าเป็นห่วง ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ลัตเวีย เอสโตเนีย จอร์เจีย ฯลฯ
เกาหลีใต้ และฮ่องกง ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลีย เวียดนาม และนิวซีแลนด์ ยังมีติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...สถานการณ์ในเมียนมาร์ กำลังจะทะลุแสนคน เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 1,527 คน ตายเพิ่มอีก 22 คน ตอนนี้ยอดรวม 98,047 คน ตายไป 2,081 คน อัตราตายตอนนี้ 2.1%
ภาพรวมการระบาดทั่วโลกนั้นยังรุนแรงต่อเนื่อง ประเทศที่เคยระบาดรุนแรงมากอย่างอเมริกาก็ยังคุมไม่ได้ แต่กลับหนักขึ้นไปอีกหลังเข้าสู่ฤดูหนาวและมีเทศกาลต่างๆ ที่มีคนพบปะ ไปมาหาสู่กันตามประเพณี
จากต้นกันยายนถึงต้นธันวาคม สามเดือนที่ผ่านมา จำนวนการติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเดือนละ 9.5 ล้านคน เป็นเดือนละ 13 ล้านคน และล่าสุดเป็น 18 ล้านคนภายในเดือนเดียว หากเป็นเช่นนี้จะแตะแปดสิบล้านตอนปีใหม่
จำนวนผู้ติดเชื้อที่รุนแรงและวิกฤตินั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ปัจจุบันมียอดรวมมากกว่าเดือนตุลาคมถึงสองเท่าตัว และมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 500,000 คนในสองเดือน บ่งบอกถึงภาวะที่จำนวนการติดเชื้อสูงเกินกว่าระบบสุขภาพจะรับไหว
ดูข้อมูลเช่นนี้ แล้วหากปรามาสว่า COVID-19 เป็นโรคกระจอก คงต้องทบทวนแล้วว่า สิ่งที่รู้ สิ่งที่ทำ สิ่งที่เชื่อนั้น เป็นมายาคติหรือไม่?
และมายาคตินั้นจะน่ากลัวมาก หากส่งผลต่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและมาตรการต่างๆ ที่ส่งผลต่อประเทศ มีผลต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชนทุกคนในประเทศ
และหากจะแนะนำท่านผู้นำประเทศใดๆ ที่เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าว ถ้าให้ความสำคัญ คำนึงถึงสวัสดิภาพความปลอดภัยของคน และความมั่นคงของชาติ คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเรียกไปปรับทัศนคติ และไม่ให้มีอำนาจดำเนินการต่างๆ ที่เสี่ยงต่อปัญหาโรคระบาดที่รุนแรงเช่นนี้ครับ
อีก 13 วันก็จะครบเก้าเดือนเต็มที่เราได้สู้กับโควิดกันมาอย่างเต็มที่จนรอดพ้นระลอกแรกมาได้ แต่ตอนนี้สถานการณ์การระบาดในประเทศไม่โอเคแล้วครับ ควรช่วยกันอย่างเต็มที่ไม่ให้สะดุดหัวคะมำ
กราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี ศบค. และหน่วยงานความมั่นคง ได้โปรดพิจารณาดำเนินมาตรการเข้มข้นตอนนี้สักสองสัปดาห์ เพื่อรักษาปีใหม่ให้กับประชาชน ดีกว่าจะเสี่ยงให้ล้มกันยาว แล้วจะไม่มีแรงฟื้นฟู
ประกาศพื้นที่เสี่ยง... รณรงค์ลด ละ เลี่ยง การเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง ยกเว้นจำเป็นจริงๆ...
หากเดินทางเข้าไปในพื้นที่ ต้องป้องกันตัวเสมอ และออกจากพิ้นที่แล้วควรสังเกตอาการตนเอง ถ้าไม่สบายให้รีบไปตรวจ...
เร่งพัฒนาระบบบริการตรวจโควิดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เข้าถึงได้ง่าย...
ไม่งั้นเราอาจเข้าทำนอง...เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย...
11 ต.ค.64 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประกาศว่า จากข่าว แผนการนำเข้ายาต้านโควิด-19 ตัวใหม่ที่จะนำมาใช้แทนยา "ฟาราพิราเวียร์" และได้ประสิทธิภาพดีกว่านั้น ก็คือ ยา "โมลนูพิราเวียร์" ตามที่ได้นำเสนอข่าวแล้วนั้น
ส่วนไทม์ไลน์สำหรับการนำเข้าโมลนูพิราเวียร์ในไทย ได้หารือรายละเอียดกับทางเมิร์คประเทศไทย ตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยวานนี้ (5 ต.ค.) ได้จัดทำร่างหนังสือสัญญาซื้อขายจำนวน 40 หน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงให้เมิร์คผ่านการขึ้นทะเบียนกับ FDA อเมริกาในราวเดือน ต.ค.-พ.ย.
ก่อนที่จะมาขึ้นทะเบียนในไทยผ่านได้ราวช่วง พ.ย.-ธ.ค. ซึ่งคาดว่าในไทยจะได้รับยาโมลนูพิราเวียร์มาใช้ต้านไวรัสได้เร็วสุด ธ.ค. ปีนี้ หรือช้าสุดช่วง ม.ค. ปี 65
ที่มา กรมการแพทย์
ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/487783?adz=
หมอธีระวัฒน์ ยัน วัคซีนเชื้อตายปลอดภัยกับเด็กสุด ชี้ฉีด mRNA เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ระบุ ฉีด ซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ก่อนกระตุ้นเข็ม 3 ปลอดภัยกว่า
8 ต.ค. 2564 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ผ่าน มติชนออนไลน์ กรณีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็ก หลังรัฐบาลไทยให้ฉีดวัคซีน mRNA ของไฟเซอร์
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ความวิตกกังวลเป็นส่วนหนึ่ง เพราะทั้งวัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อบุหัวใจอักเสบได้ ซึ่งพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อายุตั้งแต่ 12-17 ปี และมีอาการหลังฉีดเข็มที่ 2 ค่อนข้างมาก ซึ่งในหลายๆ การศึกษาจะพบ 1 คน ต่อการฉีด 1,000 คน หรือ 1 คน ต่อการฉีด 10,000 คน ซึ่งข้อมูลดังกล่าว เป็นกระบวนการติดตามผลหลังการฉีดอย่างใกล้ชิด
มันเป็นความเสี่ยง แม้ว่าจะมีคนบอกว่าน้อยก็ตาม แต่มันอาจจะเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในกลุ่มผู้ปกครอง อีกประการหนึ่งคือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น แม้จะมีรายงานว่าสามารถหายเองได้ หรือใช้เวลารักษา 7 วันก็หาย
อย่างไรก็ตาม อยากให้ดูคู่มือการวินิจฉัย หรือการรักษากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็กที่ออกมาในประเทศไทย ของสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทย ซึ่งในกระบวนการขั้นตอนนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า มีความซับซ้อนอยู่ระดับหนึ่ง และอาจไปถึงกระบวนการที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการดูการอักเสบของหัวใจ และการติดตามว่าจะเกิดเยื่อพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่
นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแล้ว ต้องติดตามดูว่ากระบวนการอักเสบนั้น จะหายไปได้เองหรือไม่ หรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ขณะเดียวกัน การเกิดเนื้อเยื่อพังผืดนั้น คอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถวินิจฉัยได้ ซึ่งอาจจะลุกลามต่อไปได้ในอนาคตหรือไม่ และยังไม่ทราบผลกระทบที่เกิดกับการใช้ชีวิตของเด็กมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในประเทศไทยเพิ่งเริ่มนำวัคซีนทางเลือกมาฉีดให้เด็ก และการติดตามผลจะต้องติดตามอย่างน้อยครึ่งปี
ครอบครัวของเด็กมีสิทธิที่จะแสดงความกังวลได้ ดังนั้น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงได้เสนอทางออก และเราก็เห็นด้วยว่าเหตุใดไม่ฉีดวัคซีนเชื้อตายในเด็กแทน เพราะวัคซีนเชื้อตายมีความปลอดภัยกว่า และหากต้องการให้มีความปลอดภัยสูงที่สุด คือ การฉีดเข้าชั้นผิวหนังตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนยี่ห้อไหนก็ตาม หากจะฉีดวัคซีนเชื้อตาย เช่น ซิโนฟาร์ม ก็อาจจะเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังตั้งแต่เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แต่วัคซีนซิโนฟาร์มนั้น ไม่เก่งที่จะครอบคลุมโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า และเดลต้าได้ดี ดังนั้น อาจมีการกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วย วัคซีนไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา ซึ่งกระบวนการนี้เด็กจะได้รับความปลอดภัยสูงสุด
ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6666214
หน้าที่ 100 จาก 147