หมอยง แนะท่าการฉีดวัคซีน โควิด-19 ในผู้ใหญ่ - เด็กโต พร้อมเตือนกรณีแพ้แบบเฉียบพลัน

 

หมอยง โพสต์แนะท่าการฉีดวัคซีน โควิด-19 ในผู้ใหญ่ - เด็กโต ที่เหมาะสมปลอดภัย เตือนกรณีแพ้แบบเฉียบพลัน จะต้องมีชุดฉุกเฉินเตรียมพร้อมเสมอ

 

10 มกราคม 2564 หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ Yong Poovorawan เผย การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ เด็กโต ควรอยู่ในท่านั่ง เห็นภาพการฉีดวัคซีน โควิด-19 ออกมาตามสื่อต่างๆ ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ จะต้องนั่งแล้วฉีดวัคซีนให้ จะไม่ฉีดในท่ายืน ถ้าเป็นลมแล้วจะอุ้มไม่ไหว ฉีดแล้วจะต้องรอสักเดี๋ยว แล้วค่อยไปนั่งรอสังเกตอาการอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง การให้วัคซีนในหมู่มาก ต้องจัดสถานที่ให้เหมาะสม บางประเทศ มี Drive-through เข้าไปฉีดวัคซีนก็มี สิ่งที่สำคัญ หลังฉีดจะต้องมีสถานที่สังเกตอาการ ถ้ากรณีแพ้แบบเฉียบพลันจะได้ให้ยาแก้ไขได้ทันที สถานที่ฉีดวัคซีนหมู่มาก จะต้องมีชุดฉุกเฉินเตรียมพร้อมเสมอ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/454720?adz=

 

 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ เปิดงานวิจัยความรุนแรงของโอมิครอน ตายใกล้ศูนย์ ต่างจากเดลต้าถึง 9 เท่า ย้ำวางแผนจัดการสุขภาพตนเองให้ดี อย่าลืมใส่ใจโรคอื่นๆ ที่มีอันตราการตายสูงกว่า

ข่าววันนี้  13 มกราคม 2565 นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ drsant.com โดยระบุถึง “หลักฐานวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกเรื่องความรุนแรงของโอไมครอนในสหรัฐอเมริกา” มีเนื้อหาดังนี้

 หมอสันต์  เผยข้อมูลความรุนแรงที่แท้จริง โอมิครอน

 

 

 หมอสันต์  เผยข้อมูลความรุนแรงที่แท้จริง โอมิครอน

งานวิจัยนี้ทำกับผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนที่ยืนยืนการตรวจด้วยเทคนิค SGTF (S gene target failure) ทำเฉพาะกับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจำนวนรวม 52,297 คน พบผลดังนี้

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 52,297 คน หากนับเฉพาะคนที่ติดตามได้อย่างน้อย 5.5 วัน รวมทั้งหมด 288,534 คนวัน พบว่า

ผู้ป่วยถูกรับไว้ในโรงพยาบาล 88 คน (0.48%)

ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 0 คน (0%)

ท้ายที่สุดแล้วมีตาย 1 คน (0.09%)

โดยที่การติดเชื้อและระดับความรุนแรงมีการกระจายตัวเท่าๆกันทุกกลุ่มอายุ ไม่เป็นความจริงที่ว่าเด็กป่วยมากกว่าและจะตายมากกว่า

ขณะเดียวกันงานวิจัยนี้ยังได้เปรียบเทียบกับการติดเชื้อเดลต้าซึ่งมาที่กลุ่มโรงพยาบาลเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 16,982 คน พบว่า

ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 16,982 คน

ถูกแอดมิทเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 222 คน (1.3%)

ใส่เครื่องช่วยหายใจ 11 คน (0.06%)

ท้ายที่สุดแล้วตาย 14 คน (0.8%)

โปรดสังเกตว่าอัตราตายของโอไมครอนคือ 0.09% นั้นต่ำกว่าอัตราตายของเดลต้าซึ่งตาย 0.8% ต่างกันถึง 9 เท่า

ผมเล่าเรื่องงานวิจัยนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนจัดการโรคของทุกท่านที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแฟนบล็อกทุกคนที่มีหน้าที่ต้องจัดการสุขภาพของตนเองด้วย เพื่อที่เราจะได้ไม่ทำอะไรที่มากเกินไป หรือที่เสี่ยงเกินไป หรือที่แพงเกินไป เพื่อปกป้องตัวเราให้จากพ้นโรคที่มีอัตราตายต่ำกว่า 0.1% หรือพูดง่ายๆว่าใกล้ศูนย์ โดยยอมทิ้งความใส่ใจในโรคเจ้าประจำอื่นๆที่มีอัตราตายสูงกว่า เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอัตราตาย 30% โรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราตาย 0.13-0.17% เป็นต้น”

ข้อมูลจาก https://www.thainewsonline.co/news/828578

อาจไม่ปลอดภัยในระยะยาว
อยากให้รอวัคซีนรุ่นใหม่เชื้อตาย

หมอห่วงใช้วัคซีนไฟเซอร์ฉีดเด็ก
ที่ จ.เชียงใหม่ ศ.นพ.ดร.วิชาญ วิทยาศัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวไทยรัฐ เกี่ยวกับการใช้วัคซีนไฟเซอร์ป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มเด็กของไทย ว่า วัคซีนไฟเซอร์เป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยวิธีการใหม่ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำเอา Messenger RNA หรือ mRNA สังเคราะห์ขึ้นจากพันธุกรรมสาร ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ทุกเซลล์ร่างกายผลิตสไปค์โปรตีน (spike protein) ขึ้นมา เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายโดยไม่มีการติดเชื้อ เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้ หากมีเชื้อไวรัสตัวนั้นเข้าสู่ร่างกาย ส่วนผลข้างเคียง เนื่องจากเป็นการสร้างโปรตีนจากทุกเซลล์ในร่างกาย ทำให้โปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นมาอาจไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการ หรือโปรตีนอาจเพี้ยนไป หรืออาจจะไม่ถูกปล่อยออกมาเพื่อทำหน้าที่ที่ต้องการ ทำให้น่าเป็นห่วงในระยะยาวว่า หากมีการสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานอาจเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นมาได้ โดยมีรายงานว่าการสะสมโปรตีนนี้คล้ายกับที่เจอในโรคอัลไซเมอร์

อาจไม่ปลอดภัยในระยะยาว
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยากล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาที่เกิดระยะสั้น เช่น ปวดหัว ตัวร้อน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย เรื่องนี้น่าเป็นห่วงแต่ยังไม่น่าห่วงเท่ากับปัญหาในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นในสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้า ที่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในเรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ แม้ในระยะแรกสหรัฐอเมริกาจะบอกว่าป้องกันได้ดี แต่หลังเกิดสายพันธุ์เดลตาระบาดหนัก พบว่าวัคซีนไฟเซอร์ไม่ได้ดีไปกว่ายี่ห้ออื่น กรณีแผนใช้วัคซีนไฟเซอร์ หรือวัคซีน mRNA ในเด็ก โดยหลักการติดเชื้อหากมีวัคซีนป้องกันเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องคำนึงด้วยว่าวัคซีนนั้นจะมีปัญหาแทรกซ้อนอะไรหรือไม่ จึงไม่เห็นด้วยที่จะใช้วัคซีนที่ยังไม่ปลอดภัยฉีดให้กับเด็ก เพราะเป็นห่วงในเรื่องอนาคตที่มีโอกาสจะเกิดผลข้างเคียงจากการสะสมได้

อยากให้รอวัคซีนรุ่นใหม่เชื้อตาย
ศ.นพ.ดร.วิชาญยังแนะนำวิธีป้องกันโควิด-19 ว่า วิธีที่เหมาะสมและดีที่สุดคือการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หากเคร่งครัดแล้วโอกาสติดเชื้อน้อยมาก เรื่องวัคซีนเป็นเรื่องรองลงมา การใช้วัคซีนกับเด็กควรรอจนกว่าจะมีวัคซีนที่ค่อนข้างจะปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะยาว ตอนนี้มีหลายบริษัทที่กำลังพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ ขึ้นมา หากวัคซีนใหม่ที่พัฒนาขึ้นผลิตจากเชื้อตายเชื่อว่าจะปลอดภัย แต่หากผลิตจาก mRNA ยังน่าห่วง สรุปว่าควรรอวัคซีนรุ่นใหม่ที่ผลิตจากเชื้อตายจะปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก

https://www.thairath.co.th/news/local/2208054

หมอสุดท้อใจ กินข้าวไม่ลง เครียดไปหมด หลังเจอเคสลักลอบเข้าไทยติดโควิด

หมอสุดท้อใจ กินข้าวไม่ลง เครียดไปหมด หลังเจอเคสลักลอบเข้าไทยติดโควิด

 

จากกรณีที่มีผู้ลักลอบจากประเทศเมียนมาร์ เข้ามายังประเทศไทยจากช่องทางธรรมชาติ ส่งผลทำให้ผู้ใกล้ชิดกับบุคคลดังกล่าว ต้องได้รับการกักตัว โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อเฝ้าระวังอาการซึ่งเรื่องนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้เร่งดำเนินการอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังการติดเชื้อภายในประเทศ
 

ล่าสุดเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้โพสต์ภาพคุณหมอท่านหนึ่ง นั่งบนโต๊ะทำงานแบบหมดแรง หลังพบสาวไทยลักลอบเข้ามา โดยคุณหมอได้โพต์ระบายความในใจ และตัดพ้อว่า 

ก่ายหน้าผาก กุมขมับ  อีก 5 นาที ลงเวร 20.00 น.วันนี้กินไม่ลง คงไม่ได้กิน เครียดเรื่องโควิด 6 จังหวัด 10 เคส..จังหวัดแอดเกี่ยวข้องด้วย นั่งเครื่องบินมาลง 

ไม่อยากเข้าประชุมทุกวันอีกแล้ว
ไม่อยากมีเคสโควิดใน รพ.อีกแล้ว
ไม่อยากเห็นเจ้าหน้าที่ทำงานหนักอีกแล้ว อยู่บนความเสี่ยง
ไม่อยากต้องมาใส่ชุดหมี
ไม่อยากต้องมาป้ายคอ ค่ำๆดึกๆ
ไม่อยากต้องมาหาเครื่องมือ หน้ากาก เสื้อคลุม ถุงมือ face shield อีกแล้ว
ไม่อยาก lock down อีกแล้ว

ให้กำลังใจประชาชน เจ้าหน้าที่

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/regional/450750?adz=

 

 
หมอเตือน "โควิด" สงกรานต์2565 หลังเอเชียเสียชีวิตสูงสุด ต้องวางแผนแบบไหน?
 
 

เตือน "โควิด" ช่วงสงกรานต์หวั่นลามเป็นโดมิโน่ ยืดเยื้อ รุนเเรง การระบาดฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น ส่วนสถานการณ์ "โควิด" ทั่วโลกยอดติดเชื้อทะลุ 492 ล้านรายแล้ว

สถานการณ์ "โควิด" ยอดติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 492 ล้านรายแล้ว ส่วนสถานการณ์ในประเทศจะรุนเเรงต่อเนื่อง และลากยาว การระบาดฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น หยุดสงกรานต์นี้ จะเป็นตัวชี้วัดการระบาดจะยืดเยื้อ รุงเเรง เกิดเป็นโดมิโน่หรือไม่

โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน ทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 683,755 คน ตายเพิ่ม 2,235 คน รวมแล้วติดไปรวม 492,272,263 คน เสียชีวิตรวม 6,178,361 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้  เยอรมัน เวียดนาม ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงยอดผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" ที่พุ่งทะลุ 492 ล้านคนแล้ว  

 

โดยเมื่อวันที่ 4 เมษายน จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.54 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 82.55
การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 44.69 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 35.65
 

สำหรับสถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวันที่ 4 เมษายน จำนวนติดเชื้อ "โควิด" ใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย
ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก

จากสถานการณ์ไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวจากการระบาดช้ากว่าประเทศอื่น ซึ่งฐานข้อมูลของ Worldometer ดูใน 10 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อสะสมสูงสุดของเอเชีย จะพบว่าทุกประเทศมีกราฟการระบาดขาลงชัดเจน ยกเว้นประเทศไทย แม้จะลองพิจารณาดู 10 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อรายวันสูงสุดของเอเชียเมื่อวานนี้ ก็จะพบลักษณะเดียวกัน

ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวของไทยเราเป็นสถิติการติดเชื้อยืนยัน (RT-PCR) ที่รายงาน แต่ยังไม่นับรวม ATK ในแต่ละวัน ลักษณะข้างต้นสะท้อนว่า การระบาดในประเทศยังเป็นไปอย่างรุนแรง ต่อเนื่อง และมีโอกาสลากยาวดังที่เคยวิเคราะห์ อันเป็นผลมาจากปัจจัยเรื่องธรรมชาติของขาลงที่จะยาวนานกว่าขาขึ้น ร่วมกับผลจากนโยบายและมาตรการทางด้านสาธารณสุขที่ไม่สามารถจัดการควบคุมป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ร่วมกับการประชาสัมพันธ์สร้างภาพให้คนมองว่าเป็นเหมือนไข้หวัดธรรมดาจึงส่งผลให้พฤติกรรมการป้องกันไม่เคร่งครัดเพียงพอ ทำให้เห็นลักษณะการระบาดที่ไม่สามารถกดลงได้เหมือนประเทศอื่นๆ และคาดว่าจะส่งผลให้ไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการระบาดช้ากว่าประเทศอื่น

นอกจากนี้ ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง จะเป็นตัวกำหนดความรุนแรงและความยืดเยื้อของการระบาดครั้งนี้ หากป้องกันตัวไม่ดีพอ สถานการณ์จะแย่ลงได้ และจะเกิดผลเป็นโดมิโน่ เนื่องจากระยะถัดไปคือมีการเปิดเรียนในเดือนพฤษภาคม

รศ.นพ.ธีระ ยังระบุทิ้งท้ายด้วยว่า "สงกรานต์นี้ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อตัวคุณและครอบครัวเถิดครับ"

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/510340?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ