'หมอยง' ห้ามเกษตรกรป่วยจับสัตว์ ลดเสี่ยง 'โควิด' ฤดูฝน

 

หมอยง เตือน เกษตรกรป่วยอย่าสัมผัสสัตว์เน้นความสะอาด เตือนโรงงานแปรรูปอาหารเข้มงวดสุขอนามัย แยกกะ เลี่ยงรวมพลคนเยอะ แนะไทยตั้งรับฤดูฝนโรคเดินหายใจระบาดเร็วกว่าปกติ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า แม้จะเคยพบรายงานในฮ่องกงว่าพบโรคโควิด19 ในสุนัขพันธุ์ปอมเมเรอเนียน หรือมีรายงานจากจีนและสหรัฐว่าพบโรคนี้ในเสือหรือแมว การศึกษาในจีนพบว่าไวรัสตัวนี้ติดได้ในสัตว์ตระกูล feline หรือ แมว ได้ดีกว่าสุนัข ส่วนในหมู ไก่ เป็ด ไม่ติดโรคนี้แน่นอน และไม่มีหลักฐานเลยว่าสัตว์เหล่านี้เป็นแหล่งนำโรค และไม่มีหลักฐานว่าโรคจากสัตว์เหล่านี้จะแพร่กระจายมาสู่คนได้

ทั้งนี้ ปกติการทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ จะเป็นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ดังนั้น ถ้าทำถูกวิธีจะปลอดจากเชื้อก่อโรคโควิด19 แน่นอน เพราะสัตว์ ทั้งหมดไม่มีหลักฐานว่าจะมีไวรัสตัวนี้อยู่ และจากการศึกษาชัดเจนว่า ไวรัสตัวนี้ไม่ติดใน หมู ไก่ เป็ด หรือในปศุสัตว์ ดังนั้นประชาชนสบายใจได้ในการบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ แต่ที่อยากเน้น คือ ต้องปรุงอาหารให้สุก และไม่ทานอาหารดิบๆ สุกๆ เด็ดขาดในช่วงนี้ การทานอาหารที่สุกความร้อนฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิดรวมทั้งโควิด-19 ด้วย

สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างเดียวคือเรื่องความสะอาด เพราะเรารู้ว่าเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 นี้แพร่กระจายผ่านทางเดินหายใจ เมื่อไอ จาม และแพร่กระจายทางอุจจาระได้ เพราะฉะนั้นในอุตสาหกรรมอาหาร บุคลากรที่เกี่ยวข้องต้องเน้นเรื่องความสะอาด การล้างมือเมื่อออกจากห้องน้ำหรือแม้จะไปปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ต้องหมั่นทำความสะอาดล้างมือ โอกาสที่เชื้อนี้จะไปปนเปื้อนอาหารก็ไม่มี แม้มีติดมานิดหน่อยถ้าเราทานอาหารสุกก็ปลอดภัย

โดยมาตรการอันแรกที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มการเตรียมอาหาร จะต้องดูแลตัวเอง กรณีเจ็บป่วยมีไข้ก็ไม่ควรปฏิบัติภารกิจหรืออยู่ในไลน์การผลิตอาหาร โดยหลักการทั่วไป ถ้าคนงานแข็งแรงดีก็ปฏิบัติภารกิจได้ปกติ แต่ขอให้ควบคุมอนามัยส่วนบุคคล ความสะอาด การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัยปัองกัน ฝอยละออง จากการไอ จาม ตกลงไปในอาหาร

ในกรณีมีผู้ป่วยติดเชื้อในสถานประกอบการ ต้องหาผู้สัมผัสโรคและถูกกักตัวอย่างน้อย 14 วัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปสู่ผู้อื่น ขณะที่สายการผลิตบริเวณที่พบผู้ติดเชื้อปฏิบัติงาน ต้องปิดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อทำความสะอาด โดยสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่รู้จักกันดีเพราะไวรัสตัวนี้มีเปลือกหุ้ม เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีสารประกอบคลอรีนหรือแอลกอฮอลล์ ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ เกษตรกรที่ดูแลสัตว์เลี้ยงฟาร์ม หมู ไก่ เป็ด ให้ดูแลสุขภาพตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด อาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อให้ต่อต้านกับโรคได้ กรณีตนเองป่วย อย่าสัมผัสกับสัตว์ในฟาร์ม ขอให้แยกตัวออกมา เก็บข้าวของเครื่องใช้ ของส่วนตัว การใช้ห้องน้ำถ้าแยกได้ขอให้แยก ถ้าแยกไม่ได้ให้ผู้ป่วยใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายของบ้าน และทำความสะอาดห้องน้ำโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของคลอรีน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882852

หมอยง แสดงความเห็นเรื่อง โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนสลับเชื้อตาย กับ mRNA

2021-10-26_09-28-10.jpg

24 ต.ค. 2564 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเรื่อง โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนสลับเชื้อตาย กับ mRNA โดยระบุว่า

วัคซีนเชื้อตาย เป็นตัว prime ที่ดี ทำให้ร่างกายเราเหมือนกับรับรู้ว่าเคยติดเชื้อเพราะได้รับ แอนติเจนทั้งตัวไวรัส เมื่อมีการกระตุ้นด้วย ไวรัสเวกเตอร์หรือ mRNA วัคซีน จะมีผลที่เรียกว่าปฏิกิริยาการกระตุ้น หรือตามประสาวัคซีนเรียกว่า booster effect

ดังที่ทราบกันว่า เมื่อให้วัคซีนเชื้อตาย เริ่มต้นแล้วให้ไวรัสเวกเตอร์ ที่ใช้อยู่ขณะนี้ กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี และก็เช่นเดียวกัน ถ้าให้วัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม แล้วกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยไวรัสเวกเตอร์ ก็จะได้ปฏิกิริยาภูมิต้านทานร่างกายตอบสนองที่สูงมาก

จากการศึกษาในสถานการณ์จริง ที่มีการฉีดวัคซีนสลับโดยให้เข็มแรก เป็นวัคซีนเชื้อตาย (sinovac) แล้วตามด้วยเข็มที่ 2 เป็น mRNA (pfizer) ปฏิกิริยาการตอบสนองก็เช่นเดียวกัน กับการให้วัคซีนสลับ เชื้อตายกับไวรัสเวกเตอร์ ดังแสดงในรูป

การศึกษาทางคลินิก กำลังดำเนินการต่อไปให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน

ในอนาคตถ้าวัคซีนเชื้อตายสามารถใช้ในเด็กในประเทศไทยได้ วิธีการให้สลับโดยเริ่มต้นจากวัคซีนเชื้อตายเข็มแรก แล้วตามด้วย mRNA ก็จะเป็นวิธีการหนึ่งในการหลีกเลี่ยงการให้วัคซีน mRNA เข็มที่ 2 ในเด็ก เพื่อไม่ให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สิ่งที่ปรากฏชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าปฏิกิริยาการตอบสนอง หรือที่เรียกว่า booster effect จะเกิดได้ดีระยะห่างระหว่างเข็ม 1 และเข็ม 2 ถ้ายิ่งห่างก็จะมีปฏิกิริยากระตุ้นภูมิได้สูงมาก แต่การเว้นระยะห่างหลังฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียงเข็มเดียว จะเกิดการติดเชื้อเสียก่อน

จากข้อมูลในรูปเราเห็นว่าระยะห่างระหว่างเข็ม 1 และเข็ม 2 ถ้าห่างถึง 3 เดือน จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก แต่ไม่ควรทำเพราะจะเกิดการติดเชื้อระหว่างรอเข็ม 2 ได้

การศึกษา booster effect เห็นได้ชัดจากการศึกษาตั้งแต่ไวรัสตับอักเสบ บี การให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม ถ้าห่างกันระยะ 1 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะไม่แตกต่างกับการให้ 2 เข็มที่ห่างกัน 1 เดือน แต่ถ้าให้เข็ม 3 ห่างออกไปที่ 6 เดือน (0, 1 และ 6) หรือ 12 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังเข็ม 3 จะมีปฏิกิริยาการกระตุ้นที่สูง (booster effect)

ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการให้วัคซีน ถ้าลืม หรือยังไม่พร้อมในการให้ และเลื่อนออกไป สามารถให้ต่อได้เลย โดยไม่ต้องมีการเริ่มต้นใหม่

 
 ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/news/10566/
 

15 ก.ย.64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า การให้วัคซีนในผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 แล้ว จากข้อมูลการศึกษาวิจัยที่ศูนย์ ในการให้วัคซีนหลังการติดเชื้อ และตรวจภูมิต้านทาน นำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณากำหนดเป็นแนวทาง

ผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือได้รับไม่ครบ 2 เข็ม ควรได้รับวัคซีนอีก 1 ครั้ง หลังจากติดเชื้อ 1 เดือนขึ้นไป วัคซีนที่ใช้ควรเป็นวัคซีนกระตุ้น คือไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA

 

ผู้ที่ติดเชื้อและเคยได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้งมาก่อนโดยครั้งที่ 2 ก่อน 14 วัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนในขณะนี้ รอจนกระทั่งมีวัคซีน สายพันธุ์ใหม่แล้วค่อยกระตุ้น น่าจะเป็นปีหน้า

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/116869

 

8 ม.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 โอมิครอน จำนวนผู้ที่ติดเชื้อ

 

ต้องยอมรับกันว่าขณะนี้ โอมิครอน ได้ระบาดอยู่ในประเทศไทย และทั่วโลก

จํานวนผู้ติดเชื้อที่รายงาน โอมิครอน จะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ในทุกประเทศ เพราะการตรวจจะเป็นการตรวจเพียงว่าเป็นเชื้อ covid19 เท่านั้น ไม่ได้แยกสายพันธุ์

การตรวจแยกสายพันธุ์ จะต้องใช้วิธีการที่จำเพาะ เพื่อแยกว่าเป็นสายพันธุ์อะไร

ในต่างประเทศบางประเทศ ที่มีการตรวจเชื้อ covid19 ด้วยวิธี RT-PCR ตรวจยีนอื่นพบแต่ตรวจยีน S ไม่พบ ก็ถือว่า น่าจะเป็น โอมิครอน เพราะ การกลายพันธุ์ในยีน S ทำให้ตรวจไม่พบ

ในประเทศไทยการตรวจหาไวรัส covid 19 เกือบทั้งหมดไม่ได้มีการตรวจยืน S ร่วมด้วย จึงไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้

การตรวจหาสายพันธุ์จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการจำเพาะ ในการตรวจ หรือถอดรหัสพันธุกรรม

ตัวเลขแต่ละประเทศที่รายงานมา เป็นการตั้งใจตรวจหาสายพันธุ์ หลายคนเมื่อดูอันดับการตรวจพบแล้ว ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจ ความสามารถในการตรวจของเรามีความสามารถในการตรวจอยู่ในประเทศต้นๆเช่นเดียวกัน

ดังนั้นขณะนี้ การที่บอกว่าตรวจพบ 3,000 ราย ก็ไม่ใช่ตัวเลขที่แท้จริง ที่มีการระบาดด้วยสายพันธุ์ โอมิครอน เพราะมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากกว่าหลายเท่าที่ไม่ได้ตรวจ เช่นเดียวกันในเกือบทุกประเทศจะเป็นแบบนั้น

การจะบอกได้ว่าขณะนี้การระบาดเป็นสายพันธุ์ โอมิครอน มากน้อยแค่ไหนจะต้องใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มาตรวจ แล้วดูอัตราเปอร์เซ็นต์ในการพบ โอมิครอน กับสายพันธุ์เดลต้า มากกว่า

ขณะนี้ทางศูนย์กำลังทำอยู่ แต่ความสามารถของทางศูนย์ คงทำได้เฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น อัตราการตรวจพบ โอมิครอน ที่ทำอยู่คง จะได้แจ้งให้ทราบต่อไป ซึ่งขณะนี้เชื่อว่า โอมิครอน ได้เข้ามาแทนที่เดลต้าเป็นจำนวนมากแล้วน่าจะเกินร้อยละ 30 เปอร์เซ็นต์แล้ว.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/60250/

 

7 พ.ค.63 -  ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ็กว่า โควิด 19 อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้ว รายงานเข้าสู่ระบบทั่วโลกจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นตั้งแต่มีผู้ป่วยได้ 1 ล้านคน อัตราการเพิ่มขึ้นจะเป็น 1 ล้านคนทุก 12 วัน เพิ่มเป็น 2 ล้านคน 3 ล้านคนและจะเป็น 4 ล้านคนภายในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้

อัตราการเพิ่มขึ้นของทั่วโลกที่เป็นแบบนี้เปรียบเสมือนลดน้อยลง ไม่ได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด และในอนาคตถ้าควบคุมได้แบบนี้ก็จะมีแนวโน้มลดลง สิ่งที่เป็นห่วงอย่างยิ่งคือ การระบาดเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนาในทวีปอเมริกาใต้และแอฟริกา รวมทั้งอินเดีย ที่จะทำให้เกิดการก้าวกระโดด และจะมีตัวเลขที่ไม่ได้รายงานอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ตัวเลขที่เห็น ขอยกตัวอย่างเช่น มหานครนิวยอร์ก มีการศึกษาทาง serology มีผู้ติดเชื้อไปแล้วประมาณ 20% แสดงว่ามีผู้ป่วยที่รายงานเป็น 1 ใน 10 ของจำนวนผู้ติดเชื้อเท่านั้น เช่นเดียวกันกับอีกหลายที่ โดยเฉพาะในยุโรป ตัวเลขที่รายงานจำนวนผู้ป่วย จะต่ำกว่าจำนวนที่ติดเชื้อจริงอย่างมาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะให้อยู่ที่บ้าน นอกจากมีอาการมากจึงจะรับมารักษาที่โรงพยาบาล มีผู้ป่วยจำนวนมากถึงมีอาการ ก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะนอนอยู่ที่บ้าน

ประชากรไทยค่อนข้างโชคดี เพราะผู้ติดเชื้อทุกคนได้รับการดูแลอย่างดีในโรงพยาบาล ไม่ใช่ให้นอนที่บ้าน ภาพรวมของผู้เสียชีวิตในประเทศไทย จึงค่อนข้างต่ำกว่าประเทศทางตะวันตก

ในความเป็นจริงอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ ถ้าถูกนับรวมทั้งหมด รวมผู้ป่วยที่อยู่ที่บ้านของประเทศทางตะวันตกแล้ว น่าจะต่ำกว่าตัวเลขที่ทางตะวันตกรายงานเป็นทางการ จะเห็นว่าทางตะวันตกไม่ว่ายุโรปหรืออเมริกา อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยค่อนข้างสูงมากเช่นใน อังกฤษ อิตาลีและสเปน อยู่ที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในอเมริกาเอง จากตัวเลขอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าการเสียชีวิตในสงครามเวียดนาม รบกันนานกว่า 10 ปี
ประเทศไทย อัตราการเสียชีวิตขณะนี้ อยู่ที่ 1.8 เปอร์เซ็นต์ นับว่าต่ำกว่าประเทศทางตะวันตกมาก ทั้งที่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีมาก เพราะเกิดจากที่ทุกคนช่วยกัน

สิ่งที่สำคัญนับแต่นี้ไป เราจะต้องปรับตัวให้สมดุลในการดำรงชีวิต ให้ทุกคนอยู่อย่างพอเพียง ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร ถ้ามีการแบ่งปันกันและประคับประคองไม่ให้มีผู้ป่วยเกินกว่าระบบสาธารณสุขจะรองรับได้

รอเวลาให้วิกฤตผ่านพ้นไป น่าจะใช้เวลา 1 ปี เราก็จะมียารักษาที่ดีขึ้น มีวัคซีนในการป้องกัน ก็จะกลับคืนมาสู่ชีวิตที่ปกติเหมือนเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/65272

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ