16 มิ.ย.63- ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได่โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก " Thiravat Hemachudha"  ว่าการตรวจเชิงรุก ต้องทำวันนี้ เดี๋ยวนี้

การสื่อสารที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าไม่มีคนติดเชื้อในประเทศไทยและคนติดเชื้อมาจากต่างประเทศเท่านั้น 

ไม่เป็นความจริง ทั้งนี้มีผู้ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการอยู่

จำเป็นต้องเปลี่ยนสื่อสารใหม่

การประเมินสถานการณ์จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะการดำเนินของโรค.

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/68814

 

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า โมเดิร์นนา มีการตอบรับศึกษาเรื่อง สายพันธุ์ Omicron ได้เร็วมากครับ คงต้องรอผลนิดหนึ่ง (เขาว่าเป็นแค่อาทิตย์) ว่าจะใช้ขนาดเท่าไหร่ และต้องเป็น multivalent ใดที่ต้องใช้เป็นการเฉพาะสำหรับกระตุ้นภูมิ

ยังไงก็ตามแนะนำใหม่ ณ เวลานี้ ถ้าจะกระตุ้นด้วยรุ่นเดิม (mRNA 1273) ที่เราได้มาขณะนี้ควรใช้ 100 ไมโครกรัม ไปก่อนครับ สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือหากกังวลในสายพันธุ์ Omicron (ก่อนหน้านี้ โมเดิร์นนาได้รับอนุมัติจาก FDA ให้ใช้กระตุ้นด้วยขนาด 50 ไมโครกรัม ด้วย mRNA 1273)

สำหรับปีหน้าที่อาจได้วัคซีนชนิด multivalent mRNA 1273.211 หรือ mRNA 1273.213 ที่ถูกออกแบบไว้สำหรับ สายพันธุ์ที่กังวล(VOC)ก่อนหน้าซึ่งก็มีส่วนที่ครอบคลุมถึงจุดที่กลายพันธุ์ของ Omicron ด้วย หรือ mRNA 1273.529 วัคซีน multivalent

ล่าสุดที่ออกแบบสำหรับสายพันธุ์เดลต้า และเบต้า ก็มีจุดที่ครอบคลุมส่วนกลายพันธุ์ของ Omicron ด้วยเช่นกันนั้น ยังอยู่ระหว่างการศึกษาว่าควรเป็นขนาด 50 ไมโครกรัม หรือ 100 ไมโครกรัมกันแน่ ……..ติดตามอย่ากระพริบตาครับ

ส่วนวัคซีนอื่นๆก็คงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วเช่นกัน ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ถึงเวลานี้ยอมรับกันแล้วว่า การได้วัคซีนให้ครบ ควรเป็น 3 เข็ม และผมยังมีความเห็นส่วนตัว(มีข้อมูลวัคซีนอื่นๆในอดีต) ว่าเป็น สามเข็มชนิดใดก็ได้ เมื่อกระตุ้นในเวลาที่เหมาะสม
ผู้กำหนดนโยบายการฉีดวัคซีนควรติดตามข้อมูลใหม่ๆอย่างใกล้ชิด และกำหนดนโยบายตามหลักวิชาการ(sciences and facts)

ส่วนเราจะมีวัคซีนอะไรในประเทศแต่ละช่วงเวลานั้นเป็นเรื่องที่ต้องปรับตามสถานการณ์ โดยคำแนะนำต้องใช้หลักวิชาการนำหน้าก่อนเรื่องอื่นใดครับ

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/34131/

 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda โดยมีข้อความว่า ด้วยความห่วงใยจาก นพ.นิธิ มหานนท์....

 

หลายๆคนเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด19 รายวันค่อยๆเพิ่มขึ้นๆ คงตกใจหวาดกลัวกัน อยากจะช่วยให้แนวคิดเพื่อให้สบายใจกันขค้นครับว่า ตัวเลขแบบนี้ถ้าใครติดตามผมคงพอเห็นว่าไม่ได้เกินความคาดหมาย แต่ที่สำคัญระบบสาธารณสุขเรายังรับได้สบายๆครับ ไม่ต้องจิตตกกังวลกันนัก เดี๋ยวผมจะบอกก่อนจบว่าจริงๆทักคนควรทำอย่างไรที่ดีกว่าการวิตกกังวลและบ่นกันไปโดยไม่ได้ผลอะไร ทุกอย่างที่เห็นตอนนี้มีเหตุและผลอธิบายได้ทั้งสิ้นไม่มีใครผิด ไม่มีใครพลาด ทำใจสบายๆ 

ย้ำอีกหนว่าระบบสาธารณสุขเรารับมือได้สบายๆ ยิ่งตอนนี้ได้ข่าวว่าจะมีภาคเอกชน และอาสาสมัครเข้ามาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง  หน่วยราชการที่สำคัญโดยตรงไม่ว่า กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีมหาวิทยาลัยโรงเรียนแพทย์ระดับโลกอยู่หลายแห่ง ร่วมมือกันขนาดนี้ โควิดก็โควิดเถอะครับ ผมว่ารวมกับน้ำใจคนไทยแล้ว เราผ่านไปได้สบายมาก รัฐบาลก็เข้าใจให้การจัดหาวัคซีนมาเพิ่มทำได้ค่อนข้างไม่ยากนักแล้ว การให้ความจริงข้อมูลต่างๆก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีนักวิชาการแปลกๆมาให้ข่าวให้คนสับสน ถึงมีก็มีคนออกมาแก้ได้ทันที เหลืออีกนิดหน่อยคือแผนการกระจายและให้วัคซีน กับยาต้านไวรัสที่ยังไม่ชัดนักแต่ก็พอรู้ว่ากำลังปรับกันอยู่

ผมคาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้หากตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ไม่ลดลง(แนะนำทุกๆคนอย่าดูตัวเลขรายวันครับ ดูเฉลี่ยเจ็ดวันจะดีสุด เพราะการรายงานทักวันมีปัจจัยมากที่ทำให้มันแกว่งได้) รัฐบาลคงมีมาตรการมาเพิ่มเติมในพื้นที่ ที่คุมไม่ได้ เพื่อรอผลวัคซีน(ซึ่งก็ไม่เห็นผลทันทีนะครับ เป็นเดือนกว่าจะเห็นผล😓😓😓) และมาตรการเพิ่มนั้นเมื่อทำก็ไม่เห็นผลทันที ดังนั้นขณะนี้นะครับทุกคนควร 

1)ป้องกันตัวเองเต็มสุดความสามารด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา รักษาระยะห่าง (2 เมตรอย่างน้อยนะครับ) และอยู่ในที่อากาศถ่ายเทเท่านั้น ถ้ามีความจำเป็น เข้าไปในที่อากาศไม่ถ่ายเทไม่อยู่เกิน 20 นาที และล้างมือ รักษาความสะอาด เข้าห้องน้ำชักโครกปิดฝาโถส้วมทุกครั้ง

2)ไม่พบใครที่ไม่ทราบประวัติว่าคนนั้นได้ไปไหนมาเจอใครบ้างย้อนหลังไปสิบห้าวัน (ต้องย้ำว่าโดยเฉพาะคนอายุน้อยกว่า 40 ที่มักไม่มีอาการและเคลื่อนย้ายที่อยู่ไปมาและพบคนต่างๆได้มาก) 

3)คนที่อายุน้อยกว่า 40 ไม่ควรไปพบญาติผู้ใหญ่ผู้สูงอายุเป็นอันขาด ถ้าจำเป็นอย่าใกล้กันกว่า 2 เมตร อย่านั่งรับประทานอาหารด้วยกัน และต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

4)เมื่อมีวัคซีนมาก็รีบไปฉีดครับ ไม่ว่ายี่ห้ออะไรใช้ได้ทั้งนั้น อาการข้างเคียงชั่วครั้งชั่วคราวพอๆกัน ให้หมอท่านเลือกให้เหมาะสม อย่าไปฟังพวกตื่นตูมเท้าราน้ำ ให้ข้อมูลจริง(บางส่วน)บ้าเท็จบ้าง 

และสำคัญที่สุด 5)ทุกครั้งที่จะออกจากบ้าน(ถ้าจำเป็น) หรือบ่นโทษใคร ถามตัวเองก่อนว่า วันนั้นขณะนั้นเราได้ทำอะไรเพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดดีครบถ้วนหรือยัง นึกถึงคำพูดนี้ครับ , 

"ask not what your country can do for you, ask what you can do for your country." แต่ในสถานการณ์โควิดคือ
 “ASK NOT WHAT YOUR COUNTRY DO FOR YOU, ASK WHAT YOU DO FOR YOURSELF (AND OTHERS)” ครับ 
นิธิ มหานนท์ 24 เมษายน 2564

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/100629

'หมอนิธิ' เสนอต่อไปควรฉีดวัคซีนปีละ 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน แต่หากโชคดีมีวัคซีนใหม่อาจเหลือปีละครั้ง แนะเข็มแรกกลาง ก.ค.-ก.ย. เข็มสองกลาง ม.ค.-มี.ค.

07 ก.ค.2565 – ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ดี” ระบุว่า จากที่มีคนถามผมมามากรายเป็นระยะๆว่าจะต้องฉีดวัคซีน เข็มสามบ้าง สี่บ้าง ห้าหกบ้าง เมื่อไหร่ดี ผมจะขอพยายามปรับจังหวะเวลาการฉีดให้เข้าใจกันและจำกันได้ง่ายๆนะครับ

ถ้าใครติดตามที่ผมได้เล่าเรื่อง การระบาดของไวรัสโคโรนา2019 มา คงทราบดีว่าในระยะแรกๆ ที่การระบาดรุนแรงนั้นเราคาดการณ์อะไรไม่ได้เลยแต่ขณะนี้มันเริ่มคาดการณ์ได้ ว่ามันจะเริ่มระบาดกันช่วงไหนโดยเริ่มมีรูปแบบที่เกือบแน่นอนแล้ว

ในประเทศหนาวก็จะระบาดหนักในช่วงหน้าหนาว ส่วนแถบบ้านเราก็จะเป็นช่วงปลายๆหน้าฝนต่อหน้าหนาว และบางทีอาจจะมีสองครั้งในปีหนึ่งๆ (โดยรอบที่สองเป็นการระบาดย่อยๆหลังจากเด็กเปิดเรียน) ซึ่งรูปแบบการระบาดแบบนี้เป็นรูปแบบการระบาดของไวรัสทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดใหญ่เป็นต้น

 

ด้วยประเภทและชนิดของวัคซีนที่เรามีอยู่ในขณะนี้ กับการกลายพันธุ์ และการหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีนของสายพันธุ์ใหม่ๆ (แต่วัคซีนทุกๆชนิดยังป้องกันการป่วยหนัก และการเสียชีวิตได้ดีพอควร)นั้น ทำให้เรายังคงต้องฉีดวัคซีนกันไปเรื่อยๆ…..แต่ทำอย่างไรจะให้ได้พอดี ไม่มากไปไม่น้อยไป…….?????และพอดีจังหวะป้องกันได้ทุกครั้งก่อนระบาด

ผมขอเสนอให้ฉีดวัคซีนกันจากนี้ไป ปีละ 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน และเพื่อป้องกันให้ได้พอดีก่อนการระบาดแต่ละครั้ง(ถ้าโชคดีอาจเหลือปีละครั้ง ถ้ามีวัคซีนใหม่ๆกระตุ้นภูมิได้อยู่นานขึ้นและการกลายพันธุ์นั้นเข้าข้างเรา คือพันธุ์ใหม่หลบภูมิคุ้มกันไม่ได้เก่งนักหรือไม่ได้เลย)

และปีละ 2 ครั้ง ในแถบประเทศเราควรจะเป็น ครั้งแรก กลางเดือนกรกฎาคม ไปจนถึง กลางกันยายน และครั้งที่สองคือช่วง กลาง มกราคมไปถึง กลางมีนาคม ส่วนใครที่ติดเชื้อไปแล้ว ก็รอสัก หนึ่งถึงสองเดือนหลังหายแล้วค่อย รับวัคซีนก็ได้ครับ

ตอนนี้วัคซีนอะไรก็ใช้ได้จนกว่าจะมีวัคซีนที่ครอบคลุมสายพันธุ์ใหม่ๆถึงเวลานั้นเราค่อยปรับการรับวัคซีนกันใหม่ในตอนนั้น(โอกาสที่จะมีวัคซีนที่จำเพาะกับสายพันธุ์ที่ระบาดตรงๆในช่วงนี้เป็นไปได้ยากจนกว่าเราจะควบคุมการระบาดได้ดีกว่านี้) ตอนนี้มีอะไรฉีดไปก่อน ปีละสองครั้ง ไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/176085/

 

7 ก.ย.64- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เปิดเผยว่า รพ.วิชัยยุทธ  เตรียมใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากยอดผู้เสียชีวิตยังน่าห่วง
 

นพ.มนูญ กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน และส่วนมากผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษามักได้รับเชื้อจากคนในครอบครัวซึ่งนำเชื้อเข้ามาและสัมผัสกับทุกคนในบ้าน ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ถึงแม้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ยอดรวมผู้เสียชีวิตยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว จากสถิติ 30 วันย้อนหลังจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ลดลงเท่าไหร่นัก ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงบางรายเมื่อถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอาจมีอาการน้อยถึงปานกลาง แต่พอเข้าสัปดาห์ที่ 2 หรือวันที่ 7-8 ของการติดเชื้อ อาการกลับทรุดหนักลงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมักจะเสียชีวิตในที่สุด

ข้อสังเกตข้างต้นยังสอดคล้องกับสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ที่จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามมิติต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านอายุ โดยระบุว่าช่วง 30 วันที่ผ่านมาประมาณ 10% ของยอดผู้ติดเชื้อรายวันเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ประมาณ 60% ของยอดผู้เสียชีวิตรายวันยังเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอีกด้วย  


 
นพ. มนูญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากผลการทดลองทางคลินิกและข้อมูลการใช้จริงในสหรัฐอเมริกา พบว่ายาแอนติบอดี ค็อกเทล สามารถช่วยลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ถึง 4 วัน ลดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดลงได้ และลดความเสี่ยงที่โรคโควิด-19 จะลุกลามไปสู่ระดับรุนแรงได้ 70% จึงถือเป็นอาวุธสำคัญที่แพทย์จะพิจารณาใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว

ยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ (Neutralizing Monoclonal Antibodies: NmAbs) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ของประเทศไทยได้อนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา 

ยาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ มีผลการศึกษายืนยันในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง หรือไม่ต้องให้ออกซิเจนเสริม และผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่อาการรุนแรงในกลุ่มต่างๆ ต่อไปนี้

ผู้สูงอายุ   โรคอ้วน    โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง รวมถึงโรคหอบหืด  โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2  โรคไตเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรับการฟอกไต  โรคตับเรื้อรัง  มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันถูกกด 


 คาดว่ายาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ จะเริ่มใช้ในโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ และโรงพยาบาลรัฐบาลบางแห่ง ภายในกลางเดือนกันยายนนี้ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ชำระค่ารักษาเอง เนื่องจากยาดังกล่าวยังไม่ได้เป็นยาที่อยู่ในสิทธิการรักษาในระบบสุขภาพ

“สำหรับประเทศไทย กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีความเสี่ยงยังได้รับวัคซีนไม่ถึง 50% อีกทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงบางรายยังไม่ประสงค์จะฉีดวัคซีน ดังนั้นการรักษาด้วยยาแอนติบอดี ค็อกเทล จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มนี้ได้ หากรีบเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดภายใน 7 วันแรกหลังจากรับเชื้อ และจะยิ่งดีกว่าถ้าได้รับการรักษาใน 3-4 วันแรก” นพ.มนูญ กล่าว

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/115879

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ