https://d

ข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับโรคโควิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นจะต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์การควบคุมโรคตาม มิฉะนั้นเราจะหลงทางดุ่ย ดุ่ย ดุ่ย ไปโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้น

ประเด็นที่ 1. เลิกฝันถึง Herd Immunity ได้แล้ว

ด้วยอัตราการเกิด breakthrough infection (การติดเชื้อธรรมชาติหลังการฉีดวัคซีนครบแล้ว) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งในบางรายงานมีสูงถึง 40% มันเป็นไปไม่ได้ที่จะอาศัยวัคซีนมาสร้างภูมิคุ้มกันฝูงชนหรือ herd immunity เพื่อให้โรคสงบ ยุทธศาสตร์มุ่งให้โรคสงบตอนนี้เป็นไปไม่ได้แล้ว ควรเลิกยุทธศาสตร์นั้นเสีย เปลี่ยนยุทธศาสตร์มามุ่งให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) หมายถึงเป็นโรคของเมืองไทย แบบไทยๆ (local) ที่เราพอคาดเดาพฤติการณ์ของโรคได้ (predictable) และพอจัดการมันได้ (manageable) โดย..

ประเด็นที่ 2. ถ้าเราสร้างดุลยภาพระหว่างความต้องการใช้ กับการให้บริการของรพ.ได้ เราก็จัดการโรคได้

ทางด้านความต้องการใช้ วิธีลดความต้องการใช้โรงพยาบาลลง เรารู้อยู่แล้วว่า 92% ของคนป่วยโควิดถึงขั้นต้องเข้ารพ.เป็นคนสูงอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป และเราก็รู้อยู่แล้วว่าการได้วัคซีนอย่างน้อยเข็มแรกจะทำให้ความรุนแรงของโรคถึงขั้นเข้ารพ.หรือถึงขั้นตายลดน้อยลงไปมาก มากระดับเกินสองในสามทีเดียว เราก็เอาความรู้สองอย่างนี้มาลดความต้องการใช้เตียงในรพ. โดยระดมฉีดวัคซีนผู้สูงอายุอย่างน้อยเข็มแรกให้ครอบคลุม เลิกฉีดวัคซีนคนกลุ่มอื่นไว้ก่อน มาเอากลุ่มนี้กลุ่มเดียว แค่เอาวัคซีน mRNA ที่จะได้มา 2 ล้านโด้สมาฉีดแบบ ID ซึ่งจะลดขนาดลงได้ 10 เท่าเราก็จะฉีดคนได้ถึง 20 ล้านคน แค่นี้ก็ครอบคลุมเข็มแรกสำหรับผู้สูงอายุทั้งหมดแล้ว และเมื่อมีวัคซีน เราเคยฉีดได้ถึงวันละ 4 แสนโด้ส 20 ล้านโด้สก็ใช้เวลาเพียงเดือนครึ่งก็จบแล้ว

ทางด้านฝั่งการให้บริการของรพ. เราก็หันมาวางระบบการจัดการโรคใหม่โดยลงมือรักษาเสียตั้งแต่ต้นมือที่นอกโรงพยาบาล ยาที่มีศักยภาพว่าจะได้ผล ไม่ว่าจะเป็นไอเวอร์เมคติน ฟาวิพิราเวียร์ ฟ้าทลายโจร เราก็เร่งทำวิจัยและรีบเอาออกใช้เสียตั้งแต่ระยะแรกของโรค ยาที่มีความปลอดภัยสูงและราคาถูกยกตัวอย่างเช่นฟ้าทลายโจร เราสามารถเริ่มการรักษาได้ตั้งแต่เริ่มมีหลักฐานว่าได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ คือยังไม่ทันมีอาการเราก็เริ่มรักษาได้แล้ว เพราะประโยชน์มันคุ้มความเสี่ยงอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นด้านอัตราตายหรือด้านต้นทุนการรักษา คือเราหันมาโฟกัสที่การรักษานอกโรงพยาบาลซึ่งเป็นของใหม่ที่เราไม่เคยทำ ส่วนในโรงพยาบาลนั้นมันเป็นเรื่องของการรับมือกับภาวะภูมิคุ้มกันแรงเกินเหตุ (hyperactive immunity) มันเป็นเรื่องยากแต่ไม่ใช่เรื่องจะไปเปลี่ยนภาพใหญ่ของโรคได้ เราก็ทำการรักษาในรพ.ไปอย่างที่เราทำมา ซึ่งเราก็มีระบบการเคลื่อนย้ายแชร์เตียงระหว่างรพ.และระหว่างเมืองเพื่อลดภาวะผู้ป่วยล้นที่เวอร์คดีมากอยู่แล้ว

เมื่อทำทั้งสองฝั่งนี้คู่กันไป เราก็จะทำให้โรคโควิดเป็นโรคที่จัดการได้ (manageable)

ประเด็นที่ 3. เราต้องเปิดให้ผู้มีความเสี่ยงตายต่ำได้ติดเชื้อตามธรรมชาติมากๆ

งานวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่จากอิสราเอลพบว่า การติดเชื้อธรรมชาติให้ภูมิดีกว่าการฉีดวัคซีนมากระดับมากกว่ากัน 13 เท่า และเมื่อติดเชื้อธรรมชาติแล้วไปฉีดวัคซีนซ้ำก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยที่อังกฤษทำให้รู้ว่าคนที่ได้วัคซีนแล้ว การเกิดลิ่มเลือดหลังได้วัคซีนต่ำกว่าหลังการติดโรคจริง และเมื่อได้วัคซีนแล้วแม้เข็มเดียวแล้วไปติดโรคจริงเข้า การเกิดลิ่มเลือดก็น้อยกว่าการติดโรคจริงโดยไม่ได้วัคซีนมาก่อน ดังนั้น ในข้อ 2 เราเปลี่ยนคนสูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงตายสูงมาเป็นผู้มีความเสี่ยงตายต่ำด้วยวัคซีน ในข้อนี้เราเปิดให้ผู้มีความเสี่ยงต่ำทั้งหมดรวมทั้งลูกเล็กเด็กแดงคนหนุ่มคนสาวได้ติดเชื้อจริงตามธรรมชาติโดยไม่ต้องรอให้ได้วัคซีนก่อน เพราะถึงติดยังไงเสียอัตราตายก็ต่ำมาก และติดแล้วมันดีกว่าฉีดวัคซีน คนที่ติดโรคจริงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปฉีดวัคซีนซ้ำอีก เท่ากับด้านหนึ่งเราประหยัดวัคซีน อีกด้านหนึ่งเราได้ประชากรที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงที่จะอยู่กับโควิดในฐานะโรคประจำถิ่นไปได้อีกนานเท่านาน ดีกว่าคอยหลบอยู่ในถ้ำแล้วขยันฉีดกระตุ้นวัคซีนซ้ำซากเข็ม 3, 4, 5 โดยไม่รู้ว่าจะออกจากถ้ำได้เมื่อใด

ประเด็นที่ 4. ต้องดึงคนออกมาจากถ้ำ มาใช้ชีวิตอยู่กับโรคโควิดในฐานะโรคประจำถิ่น

ยกตัวอย่างเช่นในกทม. กลุ่มเสี่ยง หมายถึงผู้สูงอายุ ตอนนี้ 95.8% ได้วัคซีนไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งโด้ส(สถิติเมื่อต้นเดือนสค.) ดังนั้นกทม.ตอนนี้เท่ากับว่าคนเสี่ยงสูงที่จะเข้าไปถล่มใช้เตียงในรพ.ไม่มีแล้ว มีแค่คนเสี่ยงต่ำ เราต้องลากเอาคน กทม.ทั้งหมดซึ่งมีแต่คนเสี่ยงต่ำออกมาใช้ชีวิตสัมผัสกับโรคโควิด ให้เขาได้ติดเชื้อโควิดของแท้ตามธรรมชาติ เพราะไม่ว่าจะหลบซ่อนหรือขยันฉีดวัคซีนอย่างไร ด้วยเปอร์เซ็นต์การเกิด breakthrough infection ที่สูงขนาดนี้ อย่างน้อยจุดหนึ่งในชีวิตเขาจะต้องติดเชื้อจริงเข้าสักวันจนได้ ยิ่งติดเชื้อเร็วยิ่งได้ประโยชน์เร็ว คือจะได้ไม่ต้องตะบันกระตุ้นวัคซีนซ้ำซาก

ประเด็นที่ 5. อุปสรรคใดๆที่จะขัดขวางการดึงคนออกมาใช้ชีวิตกับโรคโควิด ควรเลิกเสีย

ซึ่งผมเสนอให้

  1. ยุบเลิกศบค.เสีย
  2. เลิกการตรวจคัดกรอง (ATK) ผู้ไม่มีอาการป่วยเสีย เพราะการตรวจคัดกรองเป็นการยั้งไม่ให้คนออกมาใช้ชีวิต ควรหันไปเน้นการรักษาเร็วด้วยตนเองด้วยยาที่หาง่ายและปลอดภัยเช่นฟ้าทลายโจรแทน
  3. เลิกมาตรการ lock down หรือห้ามโน่นนี่นั่นเสีย
  4. เปิดโรงเรียน
  5. ถ้าไม่ใช่ผู้สูงอายุก็ควรเลิกการใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนเป็นใบอนุญาตเข้าร้านอาหารหรือเข้าทำกิจกรรมใดๆเสีย
  6. เปิดประเทศแบบพลั้วะ อ้าซ่าเลย ไม่ต้องไปสนใจว่าประเทศอื่นเขาจะทำอะไรกัน ใครจะมาเที่ยวใครจะไม่มา เพราะเรากำลังจัดการโรคโควิดแบบโรคประจำถิ่นของเรา เราคาดการณ์ของเราเองไปตามหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่ทะยอยโผล่ออกมา และจัดการโรคให้ “อยู่” ตามประสาเรา แล้วท่านผู้อ่านเชื่อผมเถอะครับ ไม่เกินเดือนตุลาคมปีนี้ ทั่วโลกจะต้องเปิดประเทศและเลิกพิธีกรรมเกี่ยวกับโควิดกันหมด เพราะหลักฐานวิทยาศาสตร์ตอนนี้มันชี้ชัดแล้วว่าพิธีกรรมเหล่านั้นมันไร้ประโยชน์ เพราะไม่ว่าจะมีพิธีกรรมเหล่านั้นหรือไม่มี โรคโควิดก็จะยังอยู่ที่นี่ไม่ไปไหน และคนส่วนใหญ่ก็จะต้องได้ป่วยเป็นโควิดกันอย่างน้อยคนละครั้งหนึ่งในชีวิต ไม่ว่าจะขยันฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม แต่ผมย้ำว่าทุกคนก็ยังตัองฉีดวัคซีนให้ครบสองเข็มอยู่นะ เพราะผลวิจัยจากทุกประเทศให้ผลตรงกันว่าเมื่อถึงคราวเป็นโรค การได้วัคซีนมาก่อนมันลดความรุนแรงของโรคลงได้ทุกมิติ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

  1. Comparing SARS-CoV-2 natural immunity to vaccine-induced immunity: reinfections versus breakthrough infectionsSivan Gazit, Roei Shlezinger, Galit Perez, Roni Lotan, Asaf Peretz, Amir Ben-Tov, Dani Cohen, Khitam Muhsen, Gabriel Chodick, Tal Patalon. medRxiv 2021.08.24.21262415; doi: https://doi.org/10.1101/2021.08.24.21262415
  1. Risk of thrombocytopenia and thromboembolism after covid-19 vaccination and SARS-CoV-2 positive testing: self-controlled case series study. BMJ 2021;374:n1931

ข้อมูลจาก https://drsant.com/2021/09/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4.html?fbclid=IwAR1Ufe8nG90ctElFJWpz8vgaYMNPd1I2H6t1ax-f6IVWmXfkbz5Y8QP45XY

 

ความมีอคติและความสุดโต่งในตัว อาจทำให้คนไทยด้วยกันไมเชื่อมั่น ว่าเราแต่ละคนมีลักษณะทั้งสองอย่างคือทั้งรักชาติและชังชาติในตัวคนเดียวกันได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ จึงทำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่เจรจาพูดคุยกันด้วยดี มีความดูถูกกันและเกลียดชังกัน จึงไม่เป็นผลดีต่อชาติเลย

🔸บทความ ดร.พัทธจิต อาจารย์ ประจำ มหาวิทยาลัย วาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น ครับ 🔸

อะไรเรียก “รักชาติ” อะไรคือ “ชังชาติ”...เราอยู่กันคนละขั้วจริงหรือ?

โพสต์นี้เป็นการแปลเก็บความปาฐกถาเรื่อง “谈谈爱国” “ความรักชาติคืออะไร” ของ อาจารย์จือ จงอวิ๋น (资中筠) อจ. ชาวจีนผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศ และประวัติศาสตร์ค่ะ...อจ. พูดถึงความรักชาติในบริบทของประวัติศาสตร์จีน แต่ประเด็นมันเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์การเมืองไทยช่วงนี้เป็นอย่างยิ่ง เลยอยากจะเอามาเล่าต่อค่ะ (มีข้ามบ้าง สลับที่บ้าง เพิ่มเติมความคิดตัวเองเข้าไปบ้าง เพื่อความลื่นไหลในการอ่านนะคะ)
ปาฐกถานี้เริ่มต้นด้วยข้อสังเกตที่ว่า...หลายครั้ง วาทกรรมคำว่า “รักชาติ”(爱国) หลายครั้งถูกเอามาใช้ทำร้ายชาติ และเบียดเบียนประชาชนเสียเอง (祸国殃民)

อจ. จือ เริ่มด้วยคำถาม “เวลาคุณพูดว่ารัก ‘ชาติ’ คำว่า’ ชาติ’ หมายถึงอะไร” และก็เสนอว่า มีคำตอบอยู่ 3 ชั้น

ชั้นแรก คือ ชาติในความหมายของ “Country” หรือ “บ้านเกิดเมืองนอน ” ซึ่งเป็นความรู้สึกผูกพันในที่ที่ตัวเองเคยอยู่และเติบโต ความหมายชั้นแรกนี้ ไม่ได้มีนัยยะทางการเมือง

ชั้นที่สอง คือรักชาติในฐานะของ “nation” คือรักและหวงแหนใน “ประวัติศาสตร์ และอารยธรรม 5000 ปี” ของชาติ...แต่ความรักแบบนี้ ก็ต้องไม่รักแบบงมงาย ไม่รักแบบสุดใจจน “โงหัวไม่ขึ้น” เพราะไม่อย่างนั้น ก็อาจจะเจอชะตาเดียวกันกับจีนช่วงสงครามฝิ่น ที่จีนหลงมองตัวเองว่าเป็นศูนย์กลางอารยธรรม มองประเทศอื่น ๆ ว่าเป็นพวกคนเถื่อน จนสุดท้ายกว่าจะรู้ตัวว่าพวก “คนเถื่อน” มีระดับอารยธรรมสูงกว่าตนหลายขุมนั้น ประเทศแทบไม่เหลืออะไรให้ชื่นชม...
ส่วนตัว ชอบประโยคนี้มาก “หากคุณไม่อ่านประวัติศาสตร์จีน จะไม่รู้ว่าจีนยิ่งใหญ่แค่ไหน แต่หากคุณไม่อ่านประวัติศาสตร์ยุโรป จะไม่รู้ว่าจีนล้าหลังแค่ไหน " 不读中国史不知道中国的伟大,不读西洋史不知道中国的落后 " สุดท้ายแล้ว คุณต้องเรียนรู้ที่จะเปิดใจมองโลกจากแว่นของคนชาติอื่น ๆ...ความรักและความภูมิใจ มันต้องมาคู่กับการคิด วิเคราะห์ และเปรียบเทียบเสมอ...
.
ชั้นที่สาม คือ รักชาติในฐานะที่ชาติเป็น “state”...อันนี้ จะมีนัยยะของความเป็นสถาบันทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องละ แต่ก่อนสงครามฝิ่น concept เรื่อง state ยังไม่ชัด เพราะฉะนั้น ความรักชาติ คือความจงรักภักดีต่อสถาบันการเมืองสูงสุดในสมัยนั้น ซึ่งก็คือ “ราชสำนักชิง” นั่นเอง...

แต่สงครามฝิ่นไม่ได้เป็นเพียงแค่การปะทะกันทางกำลังระหว่างราชสำนักชิงกับอังกฤษเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการปะทะกันระหว่างความรู้และโลกทัศน์ของสองฝ่ายด้วย...หลังจากสงครามฝิ่น concept เรื่องชาติในฐานะ “modern state” ก็ชัดขึ้น...การรัก “ชาติ” ในความหมายนี้ จึงหมายถึงการเร่งปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย โดยเปิดรับเอาวิทยาการความรู้จากตะวันตกเข้ามาให้มากที่สุด และเร็วที่สุด และสิ่งนี้ก็นำไปสู่สโลแกนการปฏิรูปอุตสาหกรรม " ช่วยชาติ " การปฏิรูปการศึกษา“ช่วยชาติ” แล้วสุดท้าย ก็ค่อย ๆ ขยายไปสู่ “การปฏิวัติช่วยชาติ”

ทีนี้ก็เลยเกิดคำถามขัดแย้งขึ้น การกระทำแบบไหน ถึงเรียกว่า “ช่วยชาติ”...ตอนนั้น เสียงแตกเป็น 2 ฝ่าย...ฝ่ายแรกคือ ฝ่ายปฏิรูปที่จงรักภักดีต่อราชสำนัก สนับสนุนให้ปฏิรูปราชวงศ์ชิงให้เป็น constitutional monarchy
ที่ทันสมัย ให้ราชวงศ์ชิงมีโอกาสได้ไปต่อ...ฝ่ายที่สองคือ...ฝ่ายปฏิวัติ คือต้องการล้มล้างราชวงศ์ชิง เพื่อให้จีนได้เกิดใหม่เป็นสาธารณรัฐ...กลุ่มหลังนี้นำโดย ดร. ซุนยัดเซ็นที่เรารู้จักกัน...ฝ่ายปฏิรูปได้พยายามทำให้ประเทศทันสมัยอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ก็ถูกขัดขวางจากกลุ่มอำนาจเก่า โดยเฉพาะพระนางซูสีไทเฮา... สุดท้าย ราชวงศ์ชิงเลยถูกกลุ่มของ ดร. ซุนยัดเซ็นปฏิวัติไปในปี 1911 แล้วจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ...

กลับมาสู่คำถามหลัก แล้ว ความ “รักชาติ” คือรักอะไร...
ฝ่ายปฏิรูปรัก “ชาติ” ในฐานะที่ ชาติ=state ที่มีราชวงศ์ชิงเป็นผู้นำ state...เพราะฉะนั้นการธำรงไว้ซึ่งราชวงศ์คือความรักชาติ
แต่สำหรับฝ่ายปฏิวัติของซุนยัตเซ็น...ชาติ=nation...การล้มล้างราชวงศ์ชิง คือการล้มล้าง state เพื่อให้ชาติในฐานะ nation ได้ไปต่อ...
เช่นนี้แล้ว การกระทำของซุนยัตเซ็น ผู้ซึ่งถูกยกย่องให้เป็นบิดาของชาติจีนจากจีนทั้งสองฝั่ง คือ การ“รักชาติ” หรือ “ ชังชาติ ” ?

พูดถึงความรักชาติ อีกตัวอย่างที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ กบฏนักมวย ( boxer’s rebellion, 1899-1901)...ซึ่งมักถูกยกย่องอยู่บ่อย ๆ ในฐานะวีรบุรุษในประวัติศาสตร์จีนกระแสหลัก...กบฏนักมวยเป็นกลุ่มกบฏที่ตอนแรกมีเป้าหมายจะล้มล้างราชวงศ์ชิงฟื้นฟูราชวงศ์หมิง แต่สุดท้ายแล้ว ราชสำนักชิงไปดีลไว้ให้มาเป็นพวก แล้วให้คนเหล่านี้พุ่งเป้าไปที่การกำจัดคนต่างชาติในจีนแทน...คนกลุ่มนี้ ทั้งทำลายโบสถ์ ฆ่าบาทหลวง ทำลายสถานทูต...พอคนต่างชาติถูกล้างบางเป็นจำนวนมาก ประเทศแม่ของคนเหล่านั้นก็ขู่ว่าถ้าราชสำนักชิงไม่ทำอะไรสักอย่าง ประเทศเหล่านั้นจะส่งกำลังทหารมาช่วยคนชาติตัวเอง...

ตอนนั้น เสียงในราชสำนักแตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกบอกให้ “กำราบ”กบฏนักมวย ไม่ให้สถานการณ์บานปลาย จะได้ไปบอกต่างชาติได้ว่าไม่ต้องส่งทหารมา เราเอาอยู่...ฝ่ายที่สองบอกให้ “ลุยต่อ” เราควรใช้ความโกรธแค้นจากประชาชนให้เป็นประโยชน์ ให้พวกนักมวยสู้กับพวกต่างชาติต่อไป...สุดท้าย ฝ่าย “ลุยต่อ” ชนะ ฝ่ายที่ให้กำราบโดนฆ่าตาย...ต่อมา ซูสีไทเฮาประกาศสงครามกับ 11 ชาติ เปิดให้พวกกบฏนักมวยเข้ามาในปักกิ่ง แน่นอน คนต่างชาติถูกสังหารหมู่...

เรื่องเลยจบลงที่...พันธมิตร 8 ชาติส่งทหารมาปราบพวกกบฏ ความโกรธแค้นนำไปสู่การเผาทำลายพระราชวังหยวนหมิงหยวนในปักกิ่ง...และซากวังก็ถูกเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึง "ศตวรรษแห่งความอัปยศอดสู " จนถึงทุกวันนี้…

ในเวลาใกล้ ๆ กัน ยังมีกลุ่มข้าราชการหัวเมืองอีกกลุ่มเลือกไม่ฟังคำสั่งราชสำนัก ให้ที่คุ้มกันคนต่างชาติแทน แลกกับการที่ให้คนต่างชาติบอกทหารชาติตนไม่ให้เข้ามาทำลายพื้นที่ที่ตนดูแลอยู่ สุดท้ายพื้นที่เหล่านี้ กลายมาเป็นพื้นที่ที่ประชากรหนาแน่นที่สุด เศรษฐกิจดีที่สุด พัฒนาที่สุดในจีนทุกวันนี้

แล้วยังงี้ การกระทำของใครที่ เรียกว่า “รักชาติ” การกระทำของใครที่ควรถูกเรียกว่า “ชังชาติ” ?
เราเรียกกบฏนักมวยที่ถือสโลแกนเชิดชูราชวงศ์ชิง ทำลายล้างคนต่างชาติ แล้วจบลงด้วยการที่ต่างชาติส่งทหารมาทำลายวังจนย่อยยับว่า “รักชาติ” ได้อยู่หรือไม่
แล้วเราเรียกฝ่ายที่ขัดคำสั่งราชสำนัก แล้วเสนอให้เจรจากับศัตรูและให้ที่คุ้มกันกับคนต่างชาติ จนพื้นที่นั้นไม่ถูกทำลาย ว่า “ชังชาติ” ได้จริงหรือ?
.
การที่คุณพูดว่า “รักชาติ” คุณกำลังรักอะไร...รักตัว concept ที่โก้หรูหรือว่า รักในตัวประชาชน... “ชาติ” จะคงอยู่ไปทำไม ถ้าไม่ใช่เพื่อเป็น “เกราะ” ป้องกันให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตและตามหาความสุขตามนิยามของตนเอง...เราต้องไม่ลืมว่า รากฐานของ “ชาติ” คือ ประชาชน...อย่าเอา concept คำว่า “ประชาชน” ในความหมายที่เป็นนามธรรมมาพรากสิทธิในการมีชีวิตอยู่ของ "คน" ที่มีเลือดเนื้อและลมหายใจ...

ในเมื่อ รากฐานของ “ชาติ” คือ ประชาชน...การคุกคามประชาชน...จึงไม่สามารถเรียกว่า “ความรักชาติ” ได้
.
ประเทศที่ยิ่งใหญ่ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ใช่ประเทศที่ทำให้เราภูมิใจว่าเรามีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลในจินตนาการ แต่คือประเทศที่ให้ชนทุกชั้น คนทุกอาชีพมีพื้นที่และสิทธิที่จะไล่ตามความสุขของตัวเองได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งมันก็หมายความว่า ประเทศนั้น จะต้องให้ค่ากับ ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเสมอภาค นิติธรรม และอารยวิถี...ไม่ใช่หรือ

ถ้าประเทศนั้น ไม่ได้ให้ค่ากับคุณค่าเหล่านี้ แล้วคุณบอกเพียงว่า “รักชาติ” ด้วยความหวังว่า อยากให้ประเทศนั้น “มั่งคั่ง” และ ”แข็งแกร่ง” คุณต้องกลับมาถามตัวเองแล้วล่ะ ว่า “ใคร​“ ที่มั่งคั่ง...สถาบันใดสถาบันหนึ่งมั่งคั่ง หรือ ประชาชนมั่งคั่ง?...แล้ว “อะไร” ที่แข็งแกร่ง...กองทัพกระนั้นหรือ? คุณต้องไม่ลืมว่า สิ่งที่จะทำให้ชาติยืนหยัดอย่างยั่งยืนได้นั้น ไม่ใช่ความรักชาติอย่างหมดใจ ไม่ใช่ความมั่งคั่ง และไม่ใช่ความแข็งแกร่ง แต่มันคือการที่ชาตินั้นยึดมั่นในครรลองประชาธิปไตย เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเสมอภาค นิติธรรมและอารยวิถี เป็นคุณค่าพื้นฐานต่างหากเล่า...

ชาติที่มีเพียงคนรักชาติอย่างสุดหัวใจ มีเพียงความมั่งคั่ง และความแข็งแกร่ง...สิ่งเหล่านั้นจะค่อย ๆ นำ “ชาติ” นั้นไปสู่วิถีแห่งความป่าเถื่อนและการใช้ความรุนแรงในการปกครองประเทศ...ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุด คือ การที่หน่วยบินจู่โจมคามิคาเซ่ของญี่ปุ่นสู้อย่างตัวตายถวายหัว เอาเครื่องบินพุ่งชนเรือรบของฝ่ายศัตรูได้อย่างไม่เกรงกลัวความตาย ด้วยยึดมั่นใน “รัก” และ “ภักดี” ที่มีต่อชาติและจักรพรรดิ...แต่สุดท้าย “ความรักชาติ” เดียวกันนั้นก็นำญี่ปุ่นไปสู่การพ่ายแพ้สงคราม

หรือเรากำลังรักชาติแบบในสุภาษิตจีน “儿不嫌娘丑” (แม่สวยงามในสายตาลูกเสมอ) กันอยู่หรือเปล่า...ไม่ว่า “แม่” จะน่าเกลียดน่ากลัวแค่ไหน ยังไงลูกก็รักแม่เสมอ...มันฟังดูสวยงามนะ แต่อาจเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้นำมาซึ่งประโยชน์อันใด ถ้าเห็นว่า “แม่” ล้าหลัง เราก็ควรช่วยกันปฏิรูป พัฒนา “แม่” ไม่ใช่หรือ...ถ้าเห็นว่า “แม่” ไม่สวย ก็ควรช่วยกันแต่งตัวแต่งหน้าให้ไม่ใช่หรือ... ถ้าเห็นว่า “แม่” ป่วย เราก็ควรหายามาช่วยรักษาเยียวยาไม่ใช่หรือ...การทำแบบนี้ มันน่าจะเป็นการ “รัก” แม่มากกว่าการพร่ำบอกตัวเองว่า “แม่จะน่าเกลียดน่ากลัวแค่ไหน ป่วยเป็นอะไร ลูกก็ยังรักแม่อย่างไม่มีเงื่อนไข” แล้วก็ปล่อยแม่ไว้ตามยถากรรมไม่ใช่หรือ

หากเป็นเช่นนี้ เราจะยังพูดกันอีกไหม ว่าคนที่ชี้ชวนให้เห็นปัญหาของ “ชาติ” เพื่อที่จะร่วมพัฒนาแก้ไข คือ “คนชังชาติ”?
หรือเราจะยังพูดอีกไหม ว่าคนที่ “รัก” ชาติด้วยศรัทธา อย่างหมดหัวใจ แล้วปล่อยชาติให้เป็นไปตามยถากรรม คือ “คนรักชาติ”?
.
อาจจะจริงก็ได้นะ ที่เค้าพูดกันว่า ว่าอีกฟากของความรัก ไม่ใช่ความเกลียดชัง แต่คือความเพิกเฉย (The opposite of love is not hate, it's indifference)
จริง ๆ แล้ว “คนชังชาติ” และ “คนรักชาติ” อาจไม่ใช่คนสองฝั่งฟากที่เราจะไปขีดเส้นแบ่งได้อย่างเด็ดขาดง่ายดาย
ความ “รักชาติ” กับความ “ชังชาติ” อาจไม่ได้เป็นขั้วตรงข้าม...แต่อาจจะเป็นเพียงสองด้านของ “ใจ” ดวงเดียวกัน...
ใจที่รอคอยเราเองไปสังเกต ค้นพบและตั้งคำถาม
.
ก่อนที่จะไปแขวนป้ายว่าใครว่า “ชังชาติ” ก่อนที่เราจะให้ค่ากับการกระทำของตัวเองว่า “รักชาติ”...อยากชวนให้ทุกคนได้ลองฉุกคิดถึงมิติที่กล่าวมาเหล่านี้ค่ะ...
ที่สุดแล้ว เราทุกคนอาจไม่ได้ต่างกันคนละขั้วอย่างที่เราเคยคิด
.
และสุดท้าย ปาฐกถานี้ชี้ให้เห็นว่า ความภาคภูมิใจในความยิ่งใหญ่ของประเทศ ของประวัติศาสตร์และอารยธรรมของชาติอย่างงมงาย และชื่นชมใน “เอกลักษณ์” ของชาติจนหยุดเปรียบเทียบ ตั้งคำถาม และถกเถียงกับปัญหาที่อยู่ตรงปลายจมูก...มันอาจจะนำเราไปสู่วิกฤตที่ทำให้ชาติล่มจมได้ในสักวัน...
.
ได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้วิกฤตนั้น เกิดขึ้นกับประเทศไทยเลย

พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง
21 กันยายน 2563

 
อัพเดตล่าสุด สูตรวัคซีนโควิด-19เด็ก เร่งฉีดก่อนเปิดเรียน on-site
อัพเดตสูตรฉีดวัคซีนโควิด-19เด็กวัยเรียน   กลุ่ม12-17 ปีฉีดเข็ม3 บูสเตอร์ยังน้อยเพียง 5.2 % แจ้งประสงค์บูสเตอร์ไฟเซอร์ ครึ่งโดสกว่า 1.75 ล้านคน สธ.เร่งฉีดรับเปิดเทอม1/2565 เปิดเรียน on-site

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า  การบริหารจัดการกฉีดวัคซีนโควิด-19ในนักเรียน นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเรียนที่ 1/2565 โดยมติการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครั้งที่ 451 เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 เห็นชอบ 1.มอบสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ประสานหารือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในการดำเนินการสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของนักเรียนในแต่ละโรงเรียน 2.มอบสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/กรุงเทพมหานคร กำกับติดตามการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข 3.เห็นชอบแผนเร่งรัดฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 5-17 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเรียนที่ 1/2565

 

เด็ก12-17 ปีบูสเตอร์ ฉีดครึ่งโดส
ข้อมูล ณ วันที่ 3 พ.ค. 2565 ผลการฉีดวัคซีนโควิด-19กลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปีจำนวนเป้าหมาย 4.7 ล้านคน จากฐานข้อมูล MOPH IC   ฉีดเข็มที่ 1แล้ว 3.6 ล้านคน คิดเป็น 77.2 % ฉีดเข็มที่ 2แล้ว 3.5 ล้านคน คิดเป็น 75.5 % ฉีดเข็มที่ 3แล้ว 2.4 แสนคน คิดเป็น 5.2%  

แผนเร่งรัดการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปี

1. การเข้ารับบริการ เลือกได้ตามความสมัครใจ

- ผ่านระบบสถานพยาบาล บริการทั้งขนาดฉีดเต็มโดส และฉีดครึ่งโดส

- ผ่านระบบสถานศึกษา บริการขนาดฉีดครึ่งโดส

2. การฉีดผ่านระบบสถานศึกษา ข้อมูลจากศึกษาธิการจังหวัดประสานไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ วันที่ 28 เมษายน 2565 มีนักเรียนอายุ 12 ปี ขึ้นไป ที่ประสงค์ต้องการรับวัคซีน Pfizer เข็มกระตุ้นขนาดฉีดครึ่งโดส จำนวน 1.75 ล้านคน คิดเป็น 50 % (โดยเปรียบเทียบกับผลการฉีดเข็ม 2 จากระบบ MOPH IC)

3. การจัดสรรวัคซีน กรมควบคุมโรคจะจัดส่งวัคซีน Pfizer ฝาม่วงสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565

   ฉีดวัคซีนโควิด-19เด็ก5-11 ปี
ส่วนผลการฉีดวัคซีนโควิด-19เด็ก กลุ่มเป้าหมายอายุ 5-11 ปี  จำนวนเป้าหมาย 5.1 ล้านคน ข้อมูลจากระบบ MOPH IC วันที่ 2 พ.ค.2565  ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว 2.7 ล้านคน คิดเป็น 53.3 %  และเข็ม 2 แล้ว  6.7 แสนคน คิดเป็น 13.1 %

         แผนเร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19เด็กสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 5-11 ปี

1. อยู่ในระหว่างการเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 สูตร Pfizer-Pfizer

2. กรมควบคุมโรคได้ทำการสำรวจข้อมูลในเต็กอายุ 5-11 ปี ที่ประสงค์รับวัคซีนเพิ่มเติม ข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2565 ดังนี้

1. วัคซีน Pfizer เข็ม 1 เก็บตก จำนวน 1.1 แสนคน

2. วัคซีน Pfizer สำหรับการฉีดเป็นเข็มที่ 2 สูตรไขว้ Sinovac-Pfizer จำนวน 1.6 แสนคน

3. กรมควบคุมโรคได้ทยอยจัดส่งวัคนให้กับทั้งกลุ่มเป้าหมายที่มีกำหนดนัดฉีดและที่แสดงความประสงค์เพิ่มเติมในทุกสัปดาห์
อัพเดตล่าสุด สูตรวัคซีนโควิด-19เด็ก เร่งฉีดก่อนเปิดเรียน on-site
สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19เด็ก

   อนึ่ง สำหรับสูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19เด็ก ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน คือ

 อายุ 5-6 ปี 

เข็ม 1 ไฟเซอร์  เข็ม 2ไฟเซอร์  ห่างกัน  8 สัปดาห์ เข็ม 3 ยังไม่มีกำหนด

อายุ 6-11 ปี 
เข็ม 1 ไฟเซอร์  เข็ม 2ไฟเซอร์  ห่างกัน  8 สัปดาห์ เข็ม 3 ยังไม่มีกำหนด
เข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 ไฟเซอร์  ห่างกัน 4 สัปดาห์ ยังไม่มีกำหนด
  อายุ 12-17 ปี 

เข็ม 1 ไฟเซอร์  เข็ม 2 ไฟเซอร์ ห่างกัน 3-4 สัปดาห์  เข็ม 3 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4-6 เดือน เต็มโดส/ครึ่งโดส

เข็ม 1 ซิโนแวค เข็ม 2 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4 สัปดาห์ เข็ม 3 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4-6 เดือน  เต็มโดส
อายุ 6-17 ปี

เข็ม 1 ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม  เข็ม 2  ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม ห่างกัน 4 สัปดาห์  เข็มที่ 3 ไฟเซอร์ เต็มโดส ตามช่วงอายุ ห่างกัน 4 สัปดาห์

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1002434?anf=

Image result for ใยหิน

 

          แร่ใยหินจัดเป็นสารก่อมะเร็ง (carcinogens) กลุ่มที่ 1 (class 1) แร่ใยหินเป็นเส้นใยแร่ซิลิเกต ที่ถูกนำไปใช้ในการผลิต วัตดุก่อสร้างต่างๆ เช่น กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องทนไฟ ท่อซีเมน ฉนวนกันความร้อน กระเบื้องยางปูพื้น กระดาษลูกฟูก รวมทั้งอะไหล่รถยนต์บางชนิด ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากแร่ใยหินมากที่สุดได้แก่ผู้ทำงานด้านก่อสร้างจากการตัดแต่งแผ่นกระเบื้อง ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นแร่ใยหินเข้าสู้ระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด

 

 

 
อาการ "Long COVID" เกิดได้สูง 20-40 % วัคซีนช่วยได้แต่ขึ้นอยู่กับชนิดที่ฉีด
 
 

อาการ "Long COVID" หมอธีระเผยเกิดได้สูงกว่า 20-40% แม้วัคซีนจะช่วยลดอาการได้แต่ขึ้นอยู่กับชนิดที่ฉีด ย้ำลองโควิดยังคงกระทบต่อชีวิตระยะยาว

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่าน  เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat  เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และการเกิดาภาวะ "Long COVID" หรือ "ลองโควิด" กับผู้ที่เคยติดเชื้อ โดยระบุ ว่า  24 เมษายน 2565  ทะลุ 509 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 542,456 คน ตายเพิ่ม 1,527 คน รวมแล้วติดไปรวม 509,057,806 คน เสียชีวิตรวม 6,241,856 คน  5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ อิตาลี และญี่ปุ่น
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 83.63 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 81.4
การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 33.34 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 36.28 

สถานการณ์ระบาดของไทย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก
ทั้งนี้จำนวนคนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 23.41% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

...การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
ภาวะผิดปกติหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19 ที่เรียกว่า "Long COVID" หรือ "Post-COVID Syndrome" นั้นจะเป็นปัญหาระยะยาว ทั้งต่อคนที่เป็น สมาชิกในครอบครัว/คนรัก/คนใกล้ชิด ที่ทำงาน และสังคม
เกิดขึ้นได้ทั้งคนที่เคยติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการรุนแรง โอกาสเกิดราว 20-40% ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง 
ยิ่งหากประเทศใดมีคนติดเชื้อมาก โอกาสเจอผู้ป่วยระยะยาวที่เป็น "Long COVID" ก็ยิ่งมากเป็นเงาตามตัว แม้มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนครบ จะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะ "Long COVID" ลงได้ราว 40% แต่ก็ขึ้นอยู่กับชนิดวัคซีนที่ใช้ และถึงแม้จะลดความเสี่ยงลงได้บ้าง แต่พอคูณเป็นจำนวนผู้ป่วยจริง (absolute number) ที่จะเกิดขึ้นก็ยังคงมหาศาล   

รศ.นพ. ธีระ ระบุเพิ่มเติมว่า ล่าสุดมีงานวิจัยจาก Taquet M และทีมงาน เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Brain, Behavior, and Immunity วันที่ 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา โดยทำการศึกษาแบบเปรียบเทียบย้อนหลังในประชากรของสหรัฐอเมริกาที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในช่วงมกราคมถึงสิงหาคม 2564 ที่มีประวัติได้รับและไม่ได้รับวัคซีน จำนวนราวกลุ่มละ 10,000 คน พบว่าอัตราการเกิด "Long COVID" ไม่ได้แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการวิจัยขนาดใหญ่ที่ทำการศึกษาเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนมาแล้วหรือไม่ก็ตาม  
"Long COVID" เกิดได้ทุกเพศ ทั้งชายและหญิง ทุกวัย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต วัยทำงาน และคนสูงอายุ
เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย
ผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าเด็ก
ป่วยปานกลางและรุนแรง เสี่ยงกว่าป่วยน้อยและไม่มีอาการ แต่ทุกประเภทจะเกิด "Long COVID" ได้ทั้งสิ้น

ปัจจุบันเชื่อว่ามีกลไกหลายกลไกที่เกิดขึ้นได้ 
1. การมีการติดเชื้อในร่างกายแฝงอยู่ในเซลล์ของอวัยวะต่างๆ (persistent infection) 
2. การติดเชื้อทำให้เกิดกระบวนการอักเสบระยะยาวเรื้อรัง (chronic inflammatory process)
3. การติดเชื้อทำให้เกิดการทำงานอวัยวะ/ระบบต่างๆ ของร่างกายที่ผิดปกติไปจากเดิม (organ dysfunction from viral infection)
4. การติดเชื้อทำให้เกิดภูมิต่อต้านตนเอง (autoantibody)
5. การติดเชื้อทำให้เกิดการเสียสมดุลของเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะในทางเดินอาหาร และส่งผลต่อความผิดปกติของอวัยวะและระบบต่างๆ ตามมา (Dysbiosis)
Long COVID เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายแทบทุกระบบ ตั้งแต่สมอง/ระบบประสาท มีตั้งแต่ความจำเสื่อม คิดวิเคราะห์ลำบากหรือสมรรถนะถดถอยลงกว่าปกติ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ปัญหาการนอนหลับ และความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า เครียดวิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน 
ไปจนถึงระบบอื่น 
ที่หนักหนาและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นคือ ปัญหาด้านหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่กล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อบุหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด หัวใจหยุดเต้น รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง และการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ
ระบบหายใจมีปัญหา ทำให้เหนื่อยง่าย หอบเหนื่อย เพราะมีความผิดปกติของสมรรถนะของปอดและการแลกเปลี่ยนออกซิเจน
ระบบต่อมไร้ท่อ จะเกิดความผิดปกติ ได้แก่ การเกิดโรคเบาหวานในคนที่ไม่เคยเป็นมาก่อน รวมถึงคนที่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนก็ประสบปัญหาคุมโรคได้ยากมากขึ้น และปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ
อาการทางระบบอื่นของร่างกาย ได้แก่ อ่อนเพลียอ่อนล้าจนทำงานไม่ไหว ออกกำลังกายไม่ไหว ผมร่วง และอาการปวดที่ต่างๆ ตามร่างกายทั้งกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ
อาการเกิดขึ้นได้ตั้งแต่หลายเดือนไปเป็นปี หรือเป็นแบบถาวร ขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่เกิดขึ้น
ยังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ติดเชื้อ
การป้องกันที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลคือ 
"ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น"

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/512549?adz=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ