เอายังไง \"ไฟเซอร์นักเรียน\" ผู้ปกครองต้องยินยอมให้ฉีดไหม

ลูกใครๆ ก็รัก ผู้บริหาร ศธ. โยกเผือกร้อน ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์นักเรียน" วัย12-17 ปี เงื่อนไขเปิดเรียนเทอม2 เต็มรูปแบบ แต่ต้องได้รับการยินยอมจาก "ผู้ปกครอง" เจอแบบนี้พ่อแม่จะเลือกทางไหนดี

จะเปิดเรียนเต็มรูปแบบ ในภาคเรียนที่2/2564 หรือประมาณต้นเดือนพฤจิกายนนี้ นักเรียนอายุระหว่าง 12-17 ปี ต้องได้ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบ 2 โดส ในสัดส่วนร้อยละ 70 ของโรงเรียนที่จะเปิดเรียนตามปกติ ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ครอบคลุมนักเรียน ทั้งสายสามัญตั้งแต่ระดับชั้นมัธยม.1-ม.6 นักเรียน นักศึกษา สายอาชีวศึกษา ในระดับปวช. และนักเรียนกศน.อายุไม่เกิน 17 ปี เรียกได้ว่าเด็กกลุ่มนี้ที่มีอยู่ประมาณ 4-5 ล้านคน อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต อนาคตพวกเขาคือกำลังสำคัญของประเทศไทย

ฉีดวัคซีนไฟเซอร์นักเรียน  จะต้องได้รับ “การยินยอม” จากพ่อแม่หรือ "ผู้ปกครอง"ของนักเรียนเป็นสำคัญ เป็นการกล่าวย้ำของผู้บริหารศธ. ไล่เรียงมาตั้งแต่ “ครูเหน่ง” ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.)ตามด้วย ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัดศธ.) และดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการกพฐ.

ลูกใครๆก็รัก หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ "ผู้ปกครอง" ต้องคิดหนัก จะให้ลูกฉีดวัคซีนไฟเซอร์ดีไหม  ผู้ปกครองบางคนตอบชัดเจนตั้งแต่ผู้บริหารศธ.ออกแถลงข่าวผ่านทุกช่องทางสื่อสาร ว่าไม่ให้ลูกฉีดวัคซีน หวั่นพิการ หรือเสียชีวิต

จับพิรุธ การเตรียมการฉีดวัคซันไฟเซอร์ให้นักเรียนรับเปิดเทอม2/2564 ไม่มีใคร หรือหน่วยงานไหนมาการันตีความกังวลใจของพ่อแม่ "ผู้ปกครอง" ถึงความรับผิดชอบที่อาจจะเกิดจากผลข้างเคียงจากรับวัคซีน

“ ฉีดไปเลยองค์การอนามัยโลกให้การรับรอง และอย.ไทยก็รับรองวัคซีนไฟเซอร์” อนุทิน ชาญวีรกุล รมว.สาธารณสุข ตอบคำถามสื่อถึงความปลอดภัยเมื่อนักเรียนรับวัคซีนไฟเซอร์แล้ว

“คมชัดลึกออนไลน์”ได้ขอความรู้จากบรรดาหมอเด็กหลายสถาบัน ต่างลงความเห็นตรงกันว่าการฉีดวัคซีนในเด็กไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไหร่  เนื่องจากว่ายังไม่ค่อยมีผลงานวิจัยที่เพียงพอ  จริงๆอยากจะสนับสนุนวัคซีนเชื้อตายมากกว่า 

"แต่ทุกวัคซีนก็มีผลข้างเคียง แม้ฉีดในผู้ใหญ่ ถ้าจะฉีดจริงๆควรจะฉีดในเด็กกลุ่มเสี่ยง และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เพื่อลดผลข้างเคียง ถ้าเป็นลูกหลานหมอต้องรอดูสักระยะก่อนเพราะเชื้อโควิดยังกลายพันธุ์ต่อเนื่อง" หมอเด็ก รายหนึ่งระบุ

ขณะเดียวกันหมอเด็ก บางสถาบันก็แสดงความกังวลว่า จากการติดตามข่าวสารการวิจัยอยูตลอดเวลาเริ่มมีการแพร่ระบาดไวรัสโควิต-19 จนถึงปัจจุบันทั้งประเทศไทย และจากต่างประเทศ ข้อมูลจากUSA กลุ่มประเทศยุโรป Australia กลุ่มประเทศเอเซีย และ WHO ได้มีการวิเคราะห์ถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นของวัคซีนทุกยี่ห้อได้มาฉีดเข้าไปในร่างกายมนุษย์ทุกคน ซึ่งความไม่ปลอดภัยต่อระบบร่างกาย และการกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโควิค-19 ในคนที่ได้รับการฉีดวัคซีน หน้าเป็นห่วงต่อระบอายุขัยในอนาคต

ทำความรู้จักวัคซีนไฟเซอร์ Pfizer ดีไหม ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร 

วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นวัคซีนที่ผลิตด้วยวิธีใหม่ล่าสุดที่เรียกว่าmRNAซึ่งไม่เคยมีการผลิตวัคซีนด้วยวิธีนี้มาก่อน เป็นการจำลองสารพันธุกรรมโมเลกุล คล้ายหนามของเชื้อไวรัส หนามของไวรัสมีหน้าที่จับเซลล์ในร่างกายทำให้ติดเชื้อ mRNA มีไขมันอนุภาคนาโนห่อหุ้มอยู่ เพื่อป้องกันการย่อยสลายจากเอนไซม์ หลังจากฉีดวัคซีน mRNA เข้าไป เซลล์ในร่างกายจะกินไขมันดังกล่าว ทำให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนที่คล้ายหนามของไวรัส โปรตีนก็จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อป้องกันไวรัส

วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) หรือชื่อทางการว่า BNT162b2 เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech) ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 และ WHO ให้การรับรองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการอนุมัติเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้สามารถใช้ได้ในประเทศไทย เมื่อวัน 24 มิถุนายน 2564

ประสิทธิภาพวัคซีนไฟเซอร์ สามารถป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์อังกฤษ หรือ อัลฟ่า ได้ถึง 89.5%ป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ หรือ เบต้า ได้ถึง 75%หรืองานวิจัยของ หน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษ ก็ชี้ว่า ไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพ 88% ในการป้องกันการป่วยแบบมีอาการจากไวรัส เดลต้าหรืออินเดีย

วัคซีนไฟเซอร์ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉีดครบ 2 เข็ม 

อายุผู้ฉีด16 ปีขึ้นไป แต่มีผลข้างเคียงหลังฉีดไฟเซอร์ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ ท้องเสีย อ่อนเพลีย ปวด บวม มีรอยแดงบริเวณที่ฉีด ชาตามร่างกาย

ว่ากันว่า กระทรวงศึกษาธิการ เร่งมือให้เขตพื้นที่การศึกษา ส่งไม้ต่อให้โรงเรียนเร่งรัดสำรวจรายชื่อนักเรียนที่ผู้ปกครองลงชื่อแสดง “การยินยอม” เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ลูกหลานฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2564 และกำหนดให้แต่ละโรงเรียนจัดสถานที่ฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน รายละเอียดทั้งหมดตั้งเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อเริ่มฉีดเข็มแรกวันที่ 4 ตุลาคม2564

ถึงเวลาที่พ่อแม่ "ผู้ปกครอง" ต้องตัดสินใจ จะให้ลูกเลือกรับวัคซีนไฟเซอร์ หรือรอวัคซีนเชื้อตาย หรือเพียงปลูกฝึกฝังค่านิยมให้ลูกมีวินัยเข้มแข็ง ตามมาตราการของกระทรวงสาธารณสุข 

เช่น ไม่ไปพื้นที่เสี่ยง หรือชุมชน  เมื่อจำเป็นต้องออกไปพื้นที่เสี่ยง ต้องใส่หน้ากากอนามัย  หมั่นล้างทำความสะอาดมือทุกครั้งเมื่อมีการจับสิ่งของ และมีจิตสำนึกในเรื่องSocial Distending ก็มีความปลอดภัยแล้ว

กมลทิพย์ ใบเงิน เรียบเรียง

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/484018?adz=

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด \"ปอดรั่ว\" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลใหม่ล่าสุด พบผู้ป่วย "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง เป็นผลมาจากเนื้อปอดถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส โควิด-19 เตือนรีบฉีดวัคซีน

วันที่ 16 กันยายน 2564 นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หรือ "หมอมนูญ" ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า มีรายงานในต่างประเทศ "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้างหลังติดเชื้อไวรัส โควิด-19 พบน้อยมาก เกิดขึ้นเองไม่เกี่ยวข้องกับการใส่เครื่องช่วยหายใจ 
 

โดย หมอมนูญ เผยว่า ล่าสุดพบคนไข้ไทย ปอดรั่วเองทั้ง 2 ข้าง เป็นผลจากการที่ เนื้อปอดถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส โควิด-19 

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 77 ปี ไม่สูบบุหรี่ ปกติแข็งแรง ไม่มีปัญหาทางปอด ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด

วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 มีไข้ ไอ เหนื่อย ปอดอักเสบทั้ง 2 ข้างจากโรคโควิด-19 ได้รับการรักษาด้วยยาและออกซิเจน ไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ 22 วันหลังเริ่มป่วย 

วันที่ 30 กรกฎาคม เหนื่อยมากขึ้นจากปอดข้างซ้ายรั่วเอง ต้องใส่ท่อระบายลม ถอดท่อระบายลมออกวันที่ 9 สิงหาคม ปอดอีกข้างรั่วเองวันที่ 18 สิงหาคม ต้องใส่ท่อระบายลม วันที่ 23 สิงหาคมปอดข้างซ้ายรั่วอีก ต้องใส่ท่อระบายลมอีกครั้ง วันที่ 28 สิงหาคมถอดท่อระบายลมข้างซ้าย 

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้างหมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

วันที่ 31 สิงหาคมปอดข้างซ้ายรั่วอีก ต้องใส่ท่อระบายลมครั้งที่ 3 วันที่ 2 กันยายน ทำคอมพิวเตอร์สแกนปอดพบพังผืดทั่วปอดร่วมกับหลอดลมเล็ก ๆ โป่งพอง 

วันที่ 10 กันยายนได้ทำการผ่าตัดปอดข้างขวา เพราะปอดขวาไม่ขยายตัวเต็มที่ ด้วยการส่องกล้องเข้าไปในช่องทรวงอกข้างขวา พบถุงลมพองโตที่ผิวของยอดปอดข้างขวาด้านบนและด้านล่าง ต้องตัดปอดเฉพาะส่วนนั้นและเย็บปิด ตัดเยื่อหุ้มปอดด้านขวา ใส่แป้ง Talc เข้าช่องปอดขวา และผ่านท่อระบายลมข้างซ้าย เพื่อให้เยื่อหุ้มปอดข้างขวาและซ้ายติดกัน และส่งชิ้นเนื้อปอดตรวจทางพยาธิวิทยาพบ เนื้อปอดถูกทำลาย มีทั้งอักเสบและพังผืดทั่วไป มีถุงลมพองในเนื้อปอด ขณะนี้ยังต้องใส่ท่อระบายลมทั้งสองข้าง 

หมอมนูญ ระบุต่ออีกว่า คำแนะนำคนที่ยังไม่ได้ไปฉีดวัคซีน เพราะกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน ขอให้ดูผู้ป่วยรายนี้เป็นตัวอย่างที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ปอดถูกทำลายเสียหายอย่างมาก "ปอดรั่ว 2 ข้าง" ต้องนอนในโรงพยาบาลนานกว่า 2 เดือนแล้ว 

"ขอให้ทุกคนให้รีบไป ฉีดวัคซีน หลังฉีดถึงแม้จะติดเชื้อก็จะป่วยเหมือนเป็นหวัด เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก จาม เชื้อไม่ลงปอด ไม่ป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต" 

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

หมอมนูญ เผยข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วยโควิด "ปอดรั่ว" เองทั้ง 2 ข้าง

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/483981?adz=

“คุ้งบางกะเจ้า”
เปลี่ยนสีดำเป็นสีเหลือง
เปลี่ยนความโศกเศร้า เป็นพลังที่มุ่งมั่น
เพื่อบอกต่อความดีงามของในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อชาวโลก

เรื่องนี้ยาว แต่ถ้าคุณปล่อยผ่านไป คุณจะเสียใจที่ไม่ได้อ่านเรื่องราวที่อาจเรียกน้ำตาจากความปลาบปลื้มใจเป็นที่สุด

ผมโพสต์เรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ 9 ติดต่อมาหลายวัน หลายตอน วันนี้มีน้องที่เป็นแฟนเพจของผม ที่ใช้ชื่อว่า “มาดามอันนาเบล แห่งเทือกเขามองบลังค์” ได้เล่าประสบการณ์ที่สุดแสนประทับใจลงในคอมเมนท์ ผมเลยขออนุญาตเอามาขยายความเพื่อบอกต่อชาวไทยทุกคน

............................................................................
2 เดือน หลังจากที่ในหลวงร.9 เสด็จสวรรคต เป็นช่วงเวลาที่หนูทำงานที่โรงแรม5ดาวแห่งหนึ่งย่านสาทร ที่มองจากร้านอาหารบน Rooftop ลงไป จะเห็นคุ้งบางกะเจ้าชัดเจนมาก

ในขณะหนูกำลังทำงาน มีแขกต่างชาติ 3 ท่าน มายืนข้างๆ เพื่อเกาะระเบียงชมวิว 360 องศา

แขกต่างชาติ ถามหนูว่า เธอจะติดโบว์ไว้ทุกข์ไปอีกนานเท่าไหร่
(หนูติดโบว์ดำเล็กๆไว้บนชุดยูนิฟอร์ม)
หนูตอบว่า อาจจะซักปีนึงมั้งคะ

แขกท่านก็บอกว่า ต่อให้เธอไม่ติดโบว์ ไอก็รู้ว่าโบว์ดำจะอยู่บนหน้าอกยูไปตลอดกาลแน่ๆ "เพราะมันเป็นภาพจำของคนทั้งโลก"

ดังนั้น ไอแนะนำว่า ยูควรเอาโบว์ดำ ออกไปจากใจให้ได้นะ ไม่งั้นยูจะแอบร้องไห้ไปแบบนี้ตลอด อยากให้เปลี่ยนเป็นโบว์เหลืองแทนจะได้มั้ย

"เพราะคิงของยู มีภาพสีเหลืองให้จำใช่มั้ย มันคือสีแห่งความสว่างสไว"

แขกท่านตบบ่าหนูเบาๆ เพราะหนูเริ่มมีน้ำตา(อีกแล้ว)​

ท่านชี้ไปที่บางกะเจ้า แล้วบอกว่า ตรงนี้คือพื้นที่ๆในหลวงทำให้เป็นสีเขียว เป็นโครงการราชดำริของคิงยูใช่มั้ย?

หนูสะอื้นมากกว่าเดิม เพราะ!!! หนูไม่เคยรู้เลย

ว่าบางกะเจ้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการราชดำริ ที่ในหลวงอยากให้เป็นปอดของคนกรุงเทพ

แขกเลยบอกว่า...
" ยูเปลี่ยนความเสียใจ มาเป็นความมุ่งมั่นสิ มุ่งมั่นทำงาน และระลึกถึงในหลวง ด้วยการบอกต่อความดีของพระองค์

ขนาดชั้นเป็นชาวต่างชาติ ชั้นยังเล่าได้เลย คนไทยอย่างยูต้องเล่าได้ดีกว่าแน่นอน อย่างน้อยยูก็ควรเริ่มเล่าให้แขกชาวจีน ที่กำลังเดินมาตรงนี้ฟังได้ ลองดูเลยสิ"

หลังจากวันนั้น
ทุกครั้งที่มีแขกไปยืนมองที่นั่น และกำลังสงสัยว่า เกาะตรงนั้นมันคือป่าหรืออะไร หนูที่กำลังแบกถาดหนักๆหรือกำลังทำงานกึ่งวิ่งก็จะพยายามแว๊บมาโฉบแขก เพื่อจะคอยอธิบายเสมอ ว่ามันคืออะไร และแนะนำให้คนต่างชาติไปปั่นจักรยานเล่นที่นั่น

และหนูจะเล่าเรื่องในหลวงให้คนอื่นฟังไปแบบนี้ ตลอดไปค่ะ

............................................................................
ขนาดคนต่างชาติยังรู้เรื่องพระราชกรณียกิจที่ช่วยพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนเลย

พระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังไปไกลทั่วโลก

แต่ทำไมมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นเลย ใจพวกเขาชั่งบอดสนิทเสียนี้กระไร

............................................................................
เชื่อว่าคนไทยหลายคนไม่รู้จักว่า
คุ้งบางกะเจ้า คืออะไร? อยู่ที่ไหน?

ผมไปหาข้อมูลมาฝาก!

และที่คือคำตอบที่คุณคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพเองก็อาจไม่เคยรู้ว่า...

นิตยสาร ไทม์เอเชีย ฉบับ Best of Asia ได้ยกย่องให้บางกะเจ้า “เป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย”

............................................................................
ในช่วงปี 2525-2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประทับเฮลิคอปเตอร์ผ่านพื้นที่บางกระเจ้าอยู่เป็นประจำ และทรงมีพระราชดำริว่า ควรสงวนพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่สีเขียวและคงความเป็นปอดของคนเมืองไว้

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้จัดซื้อสวนรกร้างในคุ้งบางกะเจ้า 1,276 ไร่นำมาฟื้นฟู

โดยในปี 2546 ได้กันพื้นที่จำนวน 148 ไร่สร้างเป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ และได้รับพระราชทานชื่อว่า “สวนศรีนครเขื่อนขันธ์” ซึ่งมาจากชื่อเมืองโบราณในอดีต ปัจจุบันดูแลโดยสำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้

จากนั้นในปี 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมสวนและชุมชนในคุ้งบางกะเจ้า มีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

“ให้ช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวเอาไว้ อย่าให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมจนเกินกว่ากฎหมายกำหนด ควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเกษตรและป่าผสมผสาน การซ่อมแซมสวนศรีนครเขื่อนขันธ์

ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันวางแผนให้เอื้อประโยชน์เท่าที่จำเป็นต่อการท่องเที่ยว และการศึกษาของเยาวชนคล้ายห้องเรียนธรรมชาติ”

คุ้งบางกระเจ้าจึงอยู่เป็นปอดของเมืองกรุงมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้

............................................................................
บางกะเจ้า หรือที่เรียกกันว่า กระเพาะหมู เป็นเกาะเทียมที่เกิดจากคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีคลองลัดโพธิ์เชื่อมแม่น้ำทางทิศตะวันตก

บางกะเจ้าตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เกาะนี้ครอบคลุมพื้นที่ 16 กม² ยังคงเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีประชากรอาศัยไม่หนาแน่น

ในบางครั้งได้รับการขนานนามว่า "ปอดสีเขียว" ของกรุงเทพ

ปี พ.ศ. 2549 นิตยสาร ไทม์เอเชีย ฉบับ Best of Asia ได้ยกย่องให้บางกะเจ้า “เป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย” (best urban oasis)

............................................................................
คำว่า กะเจ้า มีความหมายว่า นกยาง หรือ นกกระยาง น่าจะมาจากเมื่อก่อนมีนกกระยางอาศัยอยู่บริเวณนี้จำนวนมาก

ราวปี พ.ศ. 1400 มีการตั้งเมืองพระประแดงบริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านให้กับอาณาจักรละโว้

และมีการเอ่ยถึงบางผึ้งในกำสรวลสมุทรในบทที่ 71 ซึ่งเป็นวรรณคดีอยุธยายุคต้น โดยกล่าวถึงบริเวณวัดบางผึ้งเหนือ คลองลัดโพธิ์ พบหลักฐานว่ามีการสร้างวัดกองแก้ว โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2243

จนเมื่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมาตั้ง ณ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา

ต่อมาปี พ.ศ. 2329 องเชียงสือซึ่งเป็นหลานของกษัตริย์ญวน ที่ได้หนีภัยการเมืองเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 เห็นว่าหมดภัยทางบ้านเกิดเมืองนอน

แต่จะทูลลากลับก็เกรงพระทัย จึงหนีลงเรือหนีไปทางปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงทราบ ทรงยกกองเรือตามไปแต่ไม่ทันกัน ทรงกริ้วมาก

ทรงเห็นว่า องเชียงสือรู้ความตื้นลึกหนาบางของไทยเป็นอย่างดี จึงโปรดฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ ลงสำรวจพื้นที่สร้างเมืองใหม่บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา กรมพระราชวังบวรฯ เห็นว่าบริเวณ "ลัดโพธิ์" มีชัยภูมิที่ดี

จากนั้นได้สร้างป้อมค่ายหนึ่งป้อมชื่อ "ป้อมวิทยาคม" พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้รับสั่งให้สร้างเมืองบริเวณปากลัด แต่ยังไม่สำเร็จเพราะเกิดศึกกับพม่าก่อน

แต่มีการถมคลองลัดโพธิ์ให้แคบเพื่อป้องกันการโจมตีจากทะเล อีกทั้งอาจทำให้น้ำเค็มจากปากน้ำไหลมาถึงกรุงเทพได้เร็วขึ้น

ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้โปรดให้ตั้งเมืองใหม่ชื่อ "เมืองนครเขื่อนขันธ์" โปรดให้เกณฑ์ชาวมอญจากเมืองปทุมธานี 300 คน ย้ายครัวมอญมาอยู่ที่เมืองนี้ ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองนี้

ซึ่งชื่อ”เมืองนครเขื่อนขันธ์” ที่รัชกาลที่ 2 ตั้งขึ้นมานี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงพระราชทานให้กับโครงการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวสำหรับชาวกรุงเทพในชื่อว่า “สวนศรีนครเขื่อนขันธ์”

............................................................................
“เปลี่ยนความเสียใจ มาเป็นความมุ่งมั่นสิ”

“มุ่งมั่นทำงาน และระลึกถึงในหลวง ด้วยการบอกต่อความดีของพระองค์”

“ขนาดชั้นเป็นชาวต่างชาติ ชั้นยังเล่าได้เลย คนไทยอย่างยูต้องเล่าได้ดีกว่าแน่นอน”

............................................................................
ขนาดคนต่างชาติยังรู้เรื่องพระราชกรณียกิจที่ช่วยพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนเลย

พระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังไปไกลทั่วโลก

แต่ทำไมมีคนไทยจำนวนหนึ่ง ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นเลย ใจพวกเขาชั่งบอดสนิทเสียนี้กระไร

............................................................................
ถ้าชอบบทความนี้ ช่วยกันแชร์ให้ถึงคนไทยทุกคน เพื่อช่วยกันสืบสานงานของในหลวง และช่วยกันเล่าเรื่องพระราชกรณียกิจต่างๆ มากมายของในหลวง ร.9 ต่อชาวไทยและชาวโลกครับ

............................................................................
ที่มา : วิกิพีเดีย และ เว็บไซต์ Rabbit Finance
และขอขอบคุณเรื่องราวจากประสบการณ์สุดวิเศษของ ผู้ที่ใช้ชื่อใน Facebook ว่า “มาดามอันนาเบล แห่งเทือกเขามองบลังค์”

อัษฎางค์ ยมนาค
รวบรวม เรียบเรียง

15 ก.ย.64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า การให้วัคซีนในผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 แล้ว จากข้อมูลการศึกษาวิจัยที่ศูนย์ ในการให้วัคซีนหลังการติดเชื้อ และตรวจภูมิต้านทาน นำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณากำหนดเป็นแนวทาง

ผู้ที่ติดเชื้อโควิค 19 ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หรือได้รับไม่ครบ 2 เข็ม ควรได้รับวัคซีนอีก 1 ครั้ง หลังจากติดเชื้อ 1 เดือนขึ้นไป วัคซีนที่ใช้ควรเป็นวัคซีนกระตุ้น คือไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA

 

ผู้ที่ติดเชื้อและเคยได้รับวัคซีนครบ 2 ครั้งมาก่อนโดยครั้งที่ 2 ก่อน 14 วัน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับวัคซีนในขณะนี้ รอจนกระทั่งมีวัคซีน สายพันธุ์ใหม่แล้วค่อยกระตุ้น น่าจะเป็นปีหน้า

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/116869

เช็คอันดับ "โควิด 50 เขต" หลังผ่าน "คลายล็อก" 14 วัน บ้านใครอยู่ไหนเช็คที่นี่!

เปิดยอดผู้ป่วย "โควิด กทม." จัดอันดับ 50 เขต หลังผ่านคลายล็อกดาวน์ 14 วัน 1-14 ก.ย. บ้านใครอยู่ที่ไหน เช็คยอดติดเชื้อทุกเขตที่นี่!

วันที่ 15 ก.ย. รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยอันดับจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยจำแนกพื้นที่ 50 เขตในระยะ 14 วันหลังสุด ตั้งแต่วัน "คลายล็อก" 1 ก.ย.ระหว่างวันที่ 1-14 ก.ย.2564 มีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้

1.จอมทอง ติดเชื้อ 1,926 ราย ประชากร 148,290 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.99 %

2.หลักสี่ ติดเชื้อ 1,851 ราย ประชากร 102,704  คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 18.02 %

3.บางแค ติดเชื้อ 1,502 ราย ประชากร 193,303 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.77 %

4.ธนบุรี ติดเชื้อ 1,279 ราย ประชากร 103,377 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.37 %

5.ภาษีเจริญ ติดเชื้อ 1,229 ราย ประชากร 124,318 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.89 %

6.บางกอกน้อย ติดเชื้อ 1,197 ราย ประชากร 103,791 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.53 %

7.หนองแขม ติดเชื้อ 1,163 ราย 156,203 ประชากร คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.45 %

8.บางขุนเทียน ติดเชื้อ 1,163 ราย ประชากร 186,144 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.25 %

9.ห้วยขวาง ติดเชื้อ 1,125 ราย ประชากร 84,233 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.36 %

10.บางซื่อ ติดเชื้อ 1,093 ราย ประชากร 1226,410 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 8.93 %

เช็คอันดับ "โควิด 50 เขต" หลังผ่าน "คลายล็อก" 14 วัน บ้านใครอยู่ไหนเช็คที่นี่!

11.มีนบุรี ติดเชื้อ 1,018 ราย ประชากร 142,197 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.16 %

12.ลาดกระบัง ติดเชื้อ 973 ราย ประชากร 178,971 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.44 %

13.บางคอแหลม ติดเชื้อ 973 ราย ประชากร 82,733 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.76 %

14.ราษฎร์บูรณะ ติดเชื้อ 966 ราย ประชากร 78,687 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.28 % 

15.ประเวศ ติดเชื้อ 937 ราย ประชากร 181,821 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.15 % 

16.สายไหม ติดเชื้อ 920 ราย ประชากร 207,272 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.44 %

17.บางบอน ติดเชื้อ 1,080 ราย ประชากร คน 155,297 อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.95 %

18.ดอนเมือง ติดเชื้อ 1,059 ราย ประชากร 104,366 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.15 %

19.บางกะปิ ติดเชื้อ 844 ราย ประชากร 144,732 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.83 %

20.ดินแดง ติดเชื้อ 837 ราย ประชากร 115,508 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.25 %

เช็คอันดับ "โควิด 50 เขต" หลังผ่าน "คลายล็อก" 14 วัน บ้านใครอยู่ไหนเช็คที่นี่!

21.ยานนาวา ติดเชื้อ 824 ราย ประชากร 76,564 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.76 %

22.ทุ่งครุ ติดเชื้อ 820 ราย ประชากร 123,700 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.63 % 

23.จตุจักร ติดเชื้อ 792 ราย ประชากร 155,297 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.10 %

24.บางพลัด ติดเชื้อ 784 ราย ประชากร 89,417 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 8.77 %

25.ราชเทวี ติดเชื้อ 744 ราย ประชากร 69,264 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.74 %

26.คลองสามวา ติดเชื้อ 740 ราย ประชากร 204,900 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.61 %

27.หนองจอก ติดเชื้อ 723 ราย ประชากร 177,979 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.06 %

28.คลองสาน ติดเชื้อ 672 ราย ประชากร 69,139 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.72 %

29.สาทร ติดเชื้อ 670 ราย ประชากร 75,735 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 8.85 %

30.บางเขน ติดเชื้อ 662 ราย ประชากร 187,377 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.53 %

31.คลองเตย ติดเชื้อ 630 ราย ประชากร 93,193 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.76 %

32.บางกอกใหญ่ ติดเชื้อ 592 ราย ประชากร 63,861 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.27 %

33.ปทุมวัน ติดเชื้อ 590 ราย ประชากร 43,338 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.61 %

34.บางนา ติดเชื้อ 565 ราย ประชากร 88,535 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.38 %

35.ตลิ่งชัน ติดเชื้อ 558 ราย ประชากร 103,617 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 5.39 %

36.ดุสิต ติดเชื้อ 551 ราย ประชากร 83,897 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.57 %

37.สวนหลวง ติดเชื้อ 530 ราย ประชากร 123,609 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.29 % 

38.ป้อมปราบศัตรูพ่าย ติดเชื้อ 399 ราย ประชากร 41,524 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.02 %

39.คันนายาว ติดเชื้อ 458 ราย ประชากร 96,330 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.75 %

40.พญาไท ติดเชื้อ 455 ราย ประชากร 67,388 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.75 %

41.พระนคร ติดเชื้อ 442 ราย ประชากร 45,923 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 9.84 %

42.วังทองหลาง ติดเชื้อ 441 ราย ประชากร 107,458 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.10 %

43.บึงกุ่ม ติดเชื้อ 427 ราย ประชากร 88,535 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.03 %

44.ทวีวัฒนา ติดเชื้อ 377 ราย ประชากร 78,749 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.79 %

45.วัฒนา ติดเชื้อ 344 ราย ประชากร 81,623 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 4.21 %

46.พระโขนง ติดเชื้อ 325 ราย ประชากร 87,856 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 3.70 %

47.ลาดพร้าว ติดเชื้อ ราย 302 ประชากร 117,108 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 2.58 %

48.บางรัก ติดเชื้อ 296 ราย ประชากร 45,757 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 6.47 %

49.สะพานสูง ติดเชื้อ 281 ราย ประชากร 96,092 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 2.92 %

50.สัมพันธวงศ์ ติดเชื้อ 157 ราย ประชากร 21,324 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 7.36 %

รวมผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 39,034 ราย จากประชากรทั้งหมด 50 เขตอยู่ที่ 5,588,222 ราย โดยทั้ง 50 เขตมีอัตราผู้ป่วยเฉลี่ยต่อ 1 พันคนอยู่ที่ 6.99 %

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพฯ เปรียบเทียบกับอัตราผู้ป่วย 1 พันคน โดยจำแนกรายเขต 14 วันหลังสุด มี 10 เขตพบผู้ป่วยมากที่สุด ดังนี้

1.หลักสี่ ติดเชื้อ 1,851 ราย ประชากร 102,704 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 18.02 %

2.ปทุมวัน ติดเชื้อ 590 ราย ประชากร 43,338 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.61 %

3.ห้วยขวาง ติดเชื้อ 1,125 ราย ประชากร 84,233 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 13.36 %

4.จอมทอง ติดเชื้อ 1,926 ราย ประชากร 148,290 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.99 %

5.ธนบุรี ติดเชื้อ 1,279 ราย ประชากร 103,377 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.37 %

6.ราษฎร์บูรณะ ติดเชื้อ 966 ราย ประชากร 78,687 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.28 %

7.ป้อมปราบศัตรูพ่าย ติดเชื้อ 499 ราย ประชากร 41,524 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 12.02 %

8.บางคอแหลม ติดเชื้อ 973 ราย ประชากร 82,733 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.76 %

9.บางกอกน้อย ติดเชื้อ 1,197 ราย ประชากร 103,791 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 11.53 %

10.ยานนาวา ติดเชื้อ 824 ราย ประชากร 76,564 คน อัตราผู้ป่วยต่อ 1,000 คน คิดเป็น 10.76 %

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/960310?anf=

 

"หมอยง" ชี้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก ต้องปลอดภัยสูงจึงคุ้มค่า

จับประเด็นร้อน "นพ.ยง ภู่วรวรรณ" ชี้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก ต้องปลอดภัยสูงจึงคุ้มค่า วัยเรียน เป็นแล้วไม่รุนแรง นอกจากจะนำเชื้อมาสู่ผู้แก่ผู้เฒ่าที่บ้าน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan โดยเนื้อหาระบุว่า...

โควิด-19 วัคซีน การให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก

ทุกคนควรได้รับวัคซีน แต่ปัญหาโรคโควิด 19 มีความรุนแรงในผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว

เด็กถึงแม้จะเป็นโควิด จะมีอาการน้อย โอกาสเป็นปอดบวมน้อยมาก และยิ่งน้อยมาก ๆ ที่จะเสียชีวิตจากโควิด-19 

การให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็ก วัคซีนจะต้องมีความปลอดภัยสูงมาก จึงจะคุ้มค่า เพราะตัวเด็กเอง โดยเฉพาะวัยเรียน เป็นแล้วไม่รุนแรง นอกจากจะนำเชื้อมาสู่ผู้แก่ ผู้เฒ่าที่บ้าน หรือทำให้เกิดการระบาดได้โดยเฉพาะในโรงเรียน ที่มีคนอยู่ร่วมกันมากๆ  

 

การให้  mRNA  วัคซีนในเด็กอายุ 12-17 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถ้าคำนึงถึงผลได้ ผลเสียในระยะเวลา 120 วัน เด็กอายุ 12-17 ปี ถ้าฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 mRNA 1 ล้านคน จะป้องกันการเสียชีวิตในเด็กชายได้  2 คน และถ้าเป็น เด็กหญิง 1 คน 

ถ้าฉีดวัคซีน  mRNA  เข็มที่ 2 มีโอกาศเป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในเด็กวัยชาย (12 ถึง 17 ปี) 59 -69 คน เด็กวัยหญิง 8-10 คน ใน 1 ล้านคนที่ฉีดวัคซีน ใน (ประเทศสหรัฐอเมริกา) MMWR July 9 2021; 70 (27): 977 -982

กลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ควรจะได้รับวัคซีนก่อนให้มากที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของโรค และอัตราการเสียชีวิตก่อน แล้วถ้าวัคซีนมีมากเพียงพอ ทุกคน ก็ควรได้รับวัคซีน รวมทั้งเด็กด้วย

ความเสี่ยงและประโยชนที่ได้ จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้ปกครอง​

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/959353?anf=

 

 
8ก.ย.64-นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด19 ให่สัมภาษณ์ในหัวข้อ "ใช้ชีวิตมีคุณภาพอย่างไร ...ถ้าโควิด19ยังแพร่ระบาดไปอีกนาน"ว่า  ถ้าดูจากตัวเลข การติดเชื้่อตอนนี้วันละ 1.4-.1.5 หมื่นราย อาจน่าตกใจเมื่อไปเทียบกับ เม.ย.ปี 63 ที่เราติดเชื้ออยู่แค่หลักพัน อย่างไรก็ตาม แต่ขณะนี้ แนวโน้มโควิดทั้งโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น เหตุผล 2ปัจจัย คือ 1. โควิดสายพันธุ์เดลต้า ได้กระจายทั่วโลก 80-90 % และไทยกระจาย  90%  เชื้อนี้กระจายได้เร็วและรุนแรง  อยากชี้ให้เห็นเชื้อได้ไปทุกที่ ทำให้เกิดการระบาดคนใกลช้ชิด คนในครอบครัว สถานที่ทำงาน ในชุมชน  เพราะมีการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)สุ่มตรวจข้อมูลสอดคล้องที่อู่ฮั่นระบาด  ที่พบคนติดเชื้อไม่มีอาการ  พอไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ 5-6 เท่า ของผู้ติดเชื้อยืนยัน เช่นตอนนี้กรุงเทพฯ ติดเชื้อสะสม 2.5แสนราย แต่จริงๆ ต้องคูณเข้าไปอีก 5-6 เท่า เท่ากับคนกทม.ติดเชื้อประมาณ 1.2 ล้านคน และผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ทั้งประเทศตัวเลขก็ประมาณนี้เช่นกัน โดยตัวเลขของเราสะสมยืนยันทั้งประะทเศอยู่ที่ 1.2 ล้านคน เมื่อคูณ 5-6 เท่า เท่ากับเรามีการติดเชื้อ6-7 ล้านคน โดยเป็นการติดเชื้อแฝงและสามารถแพร่เชื้่อให้เราได้  เป็นเหตุผลทำให้เกิดการติดในครอบครัว คนใกล้ชิด 

 

และอีกเหตุผลเรื่องวัคซีน ชัดเจนว่าแม้แต่วัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในโลกก็ยังติดเชื้อได้  อย่าง อิสราเอล และอเมริกาฉีด ครบ 2เข็ม ไป 60-70% แล้วแต่ตอนนี้ติดเชื้อใหม่เต็มไปหมด ประชาชนจึงต้องทำความเข้าใจว่าวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้หมด ป้องกันได้แค่ 50-60 % แต่วัคซีนทุกตัวสามารถป้องกันเจ็บป่วยรุนแรง ป้องกันตายได้ 80-90 %  ซึ่งเป็นการปกป้องระบบสาธารณสุขของเราไม่ให้รับภาระเกินไป ซึ่งตอนนี้ ระบบสาธารณสุขของเราหลังแอ่นมาก เตียงไม่พอ ตายวันล2 -3 ร้อยคน และทั่วโลก เมื่อดูกราฟ ตอนนี้ติดเชื้่อ 5-6แสนรายต่อวัน แต่อัตราการตายน้อยลง เพราะส่วนใหญ่ฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อย่างในอังกฤษ ฉีดกลุ่มเสี่ยง  90%  การตายก็น้อยลง


นพ.อุดม กล่าวอีกว่า สิ่งที่กล่าวมานี้่ เป็นภาพอยากให้คนไทยได้เห็น ว่าเราจะคิดแบบเดิมไม่ได้แล้ว จะให้ล็อกดาวน์  เศรษฐกิจก็คงไม่ไหว  เดือนละแสนล้านที่เราเสียหาย  เราต้องมาปรับใจใหม่ เป็นเหตุผล ทำให้เราต้องยอมให้มีการยอมผ่อนปรน แม้การติดเชื้อตัวเลขยังเป็นหมื่น แม้เราจะใช้มาตรการเต็มที่ก็ลงมานิดเดียว เราต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจ ถ้าเข้มสุขภาพมากไป เศรษฐกิจก็จะเสียหาย ดังนั้น เราต้องดูองค์รวมภาพใหญ่ ให้เกิดความสมดุล จึงต้องมีการผ่อนปรน แต่มีเงื่อนไขว่าทุกองค์กรต้องปฎิบัติตาม กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เป็นเรื่องต้องแลกกัน 


"ขณะนี้ เป้าหมายควบคุม โควิด เปลี่ยนไปจากเดิม  จากเดิมเราต้องการให้ตัวเลขเป็น 0 ผมบอกได้เลยว่าไม่มีทางเป็น  0 แน่นนอ แต่เราจะต้องปรับเป้าหมาย คือ ต้องทำให้ตัวเลขน้อยลงและให้เราอยู่กับมันได้ และดำเนินชีวิตตามปกติวิถีใหม่ "


นพ.อุดมกล่าวอีกว่า การปรับกลยุทธิ์ของรัฐบาล มีเเป้าหมย 2 ประการ คือ 1 .ฟื้นฟูประเทศ 2.  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ 3. เปิดประเทศให้ได้ เป็นการเปิดในวงกว้าง ไมใช่แค่ให้คนต่างประเทศเข้ามาอย่างเดียว แต่ต้องให้คนไทยสามารถไปเที่ยว หรือไปโน่นไปนี่ได้ สามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ กลับไปเยี่ยมพ่อแม่ได้  อย่างไรก็ตาม แต่การจะไปสู่ 3เป้าหมายใหม่ เราจำเป็นต้องปรับใจใหม่   


"กลยุทธ์ ของสาธารณสุข ต้องปรับไปจาก ปี 63  ที่เราต้องการหยุดการติดเชื้อ หรือทุเลา ใช้การล็อกดาวน์ เร่งคัดกรองใช้ตรวจแบบPCR   มีการสืบค้นหาผู้เสี่ยงสัมผัส  มากักกันหรือรักษา ซึ่งปี  63 เราทำได้ดี แต่ปี 64 เปลี่ยนไป กลยุทธิ์ใหม่คือ เน้นฉีดวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ป้องกันได้ 50-60 % เน้นลดการเจ็บป่วยรุนแรง เราเร่งหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ เร่งฉีดประชาชนให้มาก 70 % ตอนนี้เรามาถึงครึ่งหนึ่งของเป้าในเข็ม 1 และได้   30 %ในเข็ม 2  "นพ.อุดมกล่าว

ที่ปรึกษาศบค.กล่าวอีกว่า ขอยืนยันว่าไม่ได้มีการตรวจน้อยลง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวันละ 5-6 หมื่น แต่คำว่าตรวจน้อยคือ ไปตรวจด้วย ATK  มากขึ้น แต่องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า ถ้ายืนยันติดเชื้อต้องตรวจจากPCR  ส่วน ATK ไม่ยืนยัน ตอนนี้เราตรวจATK  เพื่อแก้ปัญหาคอขวด  ให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจได้ง่าย ตรงนี้ ถ้ารวมผล ATK เฉลี่ยวันละ 3พัน บวกกับ ที่ยืนยันวันละ  1.5 หมื่นราย  เท่ากับมีผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละ 1.7 หมื่น ราย  


ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน นพ.อุดม กล่าวว่า ในเดือนก.ย.จะได้แอสตร้า 7.3 ล้านโดส และเดือนหน้า แอสตร้าฯ 11-13 ล้าน และไฟเซอร์ เข้ามา 29 ก.ย.อีก 2 ล้านโดส  ดังนั้น 3เดือนข้างหน้า จนสิ้นปีเราจะมีวัคซีน เดือนละ20 ล้าน เราเร่งฉีด 8-9แสนต่อวัน หรือวันละล้านโดส  ก็คาดว่าเราสามารถทำได้ 

 

"ผมยืนยันว่า ถ้าไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ภายในธ.ค. เราฉีดวัค ได้ตามเป้า 2เข็ม และฉีดเข็ม3ได้อีกด้วย ซึ่งผลการศึกษา พบว่าหลังฉีดไป 3เดิอน วัคซีนทุกตัวภูมิจะลดลง  ถ้าตกมากก็สู้เดลต้าไมไหว เราจึงต้องฉีดเข็ม 3 เราวางแผนเรียบร้อยแล้ว  อย่างสัปดาห์ก่อนมีข้อมูลจากต่างประเทศว่า พอฉีดไฟเซอร์ ภูมิขึ้น 90 แอสตร้าขึ้น 80   พอไปเดือนที่  4 ไฟเซอร์ ตกกว่า แอสตร้าฯ 20 %  เป็นเหตุผลทำไมอิสราเอล และอเมริกา จึงกลับมาติดเชื้อใหม่ "

นพ.อุดมกล่าวย้ำ เรื่องการปรับกลยุทธิ์อีกว่า  ขณะนี้ ศบค.อนุมัติหลักการเบื้องต้น จากนี้ ต่อไป เราต้องอยู่กับโควิด เน้นเรื่อง Universal Prevention    มาตรการส่วนบุคคล และองค์กรเป็นสำคัญ เป็นการป้องกันครอบจักรวาล ครอบคลุม เบ็ดเสร็จทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เป็นการระมัดระวังป้องกันตนเองแบบสูงสุด เดิมหลักการนี้ใช้ในรพ.อย่างเดียว แต่ตอนนี้ ต้องใช้กับคนไทยทุกคนเพื่อปกป้องตัวเอง แม้ไม่มีความเสี่ยง ปฎิบัติตัวในการป้องกันไว้คลอดเวลา ต้องคิดเสมอว่าอาจติดเชื้อไม่รู้ตัวและไม่มีอาการ และคนรอบข้างเรา อาจติดเชื้อ แฝงไม่มีอาการ อาจแพร่มาให้เรา เราจึงต้องป้องกันตัวเองสุดความสามารถตลอดเวลา 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/116051

 

 

https://d

ข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับโรคโควิดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จำเป็นจะต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์การควบคุมโรคตาม มิฉะนั้นเราจะหลงทางดุ่ย ดุ่ย ดุ่ย ไปโดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้น

ประเด็นที่ 1. เลิกฝันถึง Herd Immunity ได้แล้ว

ด้วยอัตราการเกิด breakthrough infection (การติดเชื้อธรรมชาติหลังการฉีดวัคซีนครบแล้ว) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งในบางรายงานมีสูงถึง 40% มันเป็นไปไม่ได้ที่จะอาศัยวัคซีนมาสร้างภูมิคุ้มกันฝูงชนหรือ herd immunity เพื่อให้โรคสงบ ยุทธศาสตร์มุ่งให้โรคสงบตอนนี้เป็นไปไม่ได้แล้ว ควรเลิกยุทธศาสตร์นั้นเสีย เปลี่ยนยุทธศาสตร์มามุ่งให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) หมายถึงเป็นโรคของเมืองไทย แบบไทยๆ (local) ที่เราพอคาดเดาพฤติการณ์ของโรคได้ (predictable) และพอจัดการมันได้ (manageable) โดย..

ประเด็นที่ 2. ถ้าเราสร้างดุลยภาพระหว่างความต้องการใช้ กับการให้บริการของรพ.ได้ เราก็จัดการโรคได้

ทางด้านความต้องการใช้ วิธีลดความต้องการใช้โรงพยาบาลลง เรารู้อยู่แล้วว่า 92% ของคนป่วยโควิดถึงขั้นต้องเข้ารพ.เป็นคนสูงอายุเกิน 55 ปีขึ้นไป และเราก็รู้อยู่แล้วว่าการได้วัคซีนอย่างน้อยเข็มแรกจะทำให้ความรุนแรงของโรคถึงขั้นเข้ารพ.หรือถึงขั้นตายลดน้อยลงไปมาก มากระดับเกินสองในสามทีเดียว เราก็เอาความรู้สองอย่างนี้มาลดความต้องการใช้เตียงในรพ. โดยระดมฉีดวัคซีนผู้สูงอายุอย่างน้อยเข็มแรกให้ครอบคลุม เลิกฉีดวัคซีนคนกลุ่มอื่นไว้ก่อน มาเอากลุ่มนี้กลุ่มเดียว แค่เอาวัคซีน mRNA ที่จะได้มา 2 ล้านโด้สมาฉีดแบบ ID ซึ่งจะลดขนาดลงได้ 10 เท่าเราก็จะฉีดคนได้ถึง 20 ล้านคน แค่นี้ก็ครอบคลุมเข็มแรกสำหรับผู้สูงอายุทั้งหมดแล้ว และเมื่อมีวัคซีน เราเคยฉีดได้ถึงวันละ 4 แสนโด้ส 20 ล้านโด้สก็ใช้เวลาเพียงเดือนครึ่งก็จบแล้ว

ทางด้านฝั่งการให้บริการของรพ. เราก็หันมาวางระบบการจัดการโรคใหม่โดยลงมือรักษาเสียตั้งแต่ต้นมือที่นอกโรงพยาบาล ยาที่มีศักยภาพว่าจะได้ผล ไม่ว่าจะเป็นไอเวอร์เมคติน ฟาวิพิราเวียร์ ฟ้าทลายโจร เราก็เร่งทำวิจัยและรีบเอาออกใช้เสียตั้งแต่ระยะแรกของโรค ยาที่มีความปลอดภัยสูงและราคาถูกยกตัวอย่างเช่นฟ้าทลายโจร เราสามารถเริ่มการรักษาได้ตั้งแต่เริ่มมีหลักฐานว่าได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ คือยังไม่ทันมีอาการเราก็เริ่มรักษาได้แล้ว เพราะประโยชน์มันคุ้มความเสี่ยงอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นด้านอัตราตายหรือด้านต้นทุนการรักษา คือเราหันมาโฟกัสที่การรักษานอกโรงพยาบาลซึ่งเป็นของใหม่ที่เราไม่เคยทำ ส่วนในโรงพยาบาลนั้นมันเป็นเรื่องของการรับมือกับภาวะภูมิคุ้มกันแรงเกินเหตุ (hyperactive immunity) มันเป็นเรื่องยากแต่ไม่ใช่เรื่องจะไปเปลี่ยนภาพใหญ่ของโรคได้ เราก็ทำการรักษาในรพ.ไปอย่างที่เราทำมา ซึ่งเราก็มีระบบการเคลื่อนย้ายแชร์เตียงระหว่างรพ.และระหว่างเมืองเพื่อลดภาวะผู้ป่วยล้นที่เวอร์คดีมากอยู่แล้ว

เมื่อทำทั้งสองฝั่งนี้คู่กันไป เราก็จะทำให้โรคโควิดเป็นโรคที่จัดการได้ (manageable)

ประเด็นที่ 3. เราต้องเปิดให้ผู้มีความเสี่ยงตายต่ำได้ติดเชื้อตามธรรมชาติมากๆ

งานวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่จากอิสราเอลพบว่า การติดเชื้อธรรมชาติให้ภูมิดีกว่าการฉีดวัคซีนมากระดับมากกว่ากัน 13 เท่า และเมื่อติดเชื้อธรรมชาติแล้วไปฉีดวัคซีนซ้ำก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยที่อังกฤษทำให้รู้ว่าคนที่ได้วัคซีนแล้ว การเกิดลิ่มเลือดหลังได้วัคซีนต่ำกว่าหลังการติดโรคจริง และเมื่อได้วัคซีนแล้วแม้เข็มเดียวแล้วไปติดโรคจริงเข้า การเกิดลิ่มเลือดก็น้อยกว่าการติดโรคจริงโดยไม่ได้วัคซีนมาก่อน ดังนั้น ในข้อ 2 เราเปลี่ยนคนสูงอายุซึ่งมีความเสี่ยงตายสูงมาเป็นผู้มีความเสี่ยงตายต่ำด้วยวัคซีน ในข้อนี้เราเปิดให้ผู้มีความเสี่ยงต่ำทั้งหมดรวมทั้งลูกเล็กเด็กแดงคนหนุ่มคนสาวได้ติดเชื้อจริงตามธรรมชาติโดยไม่ต้องรอให้ได้วัคซีนก่อน เพราะถึงติดยังไงเสียอัตราตายก็ต่ำมาก และติดแล้วมันดีกว่าฉีดวัคซีน คนที่ติดโรคจริงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปฉีดวัคซีนซ้ำอีก เท่ากับด้านหนึ่งเราประหยัดวัคซีน อีกด้านหนึ่งเราได้ประชากรที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรงที่จะอยู่กับโควิดในฐานะโรคประจำถิ่นไปได้อีกนานเท่านาน ดีกว่าคอยหลบอยู่ในถ้ำแล้วขยันฉีดกระตุ้นวัคซีนซ้ำซากเข็ม 3, 4, 5 โดยไม่รู้ว่าจะออกจากถ้ำได้เมื่อใด

ประเด็นที่ 4. ต้องดึงคนออกมาจากถ้ำ มาใช้ชีวิตอยู่กับโรคโควิดในฐานะโรคประจำถิ่น

ยกตัวอย่างเช่นในกทม. กลุ่มเสี่ยง หมายถึงผู้สูงอายุ ตอนนี้ 95.8% ได้วัคซีนไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งโด้ส(สถิติเมื่อต้นเดือนสค.) ดังนั้นกทม.ตอนนี้เท่ากับว่าคนเสี่ยงสูงที่จะเข้าไปถล่มใช้เตียงในรพ.ไม่มีแล้ว มีแค่คนเสี่ยงต่ำ เราต้องลากเอาคน กทม.ทั้งหมดซึ่งมีแต่คนเสี่ยงต่ำออกมาใช้ชีวิตสัมผัสกับโรคโควิด ให้เขาได้ติดเชื้อโควิดของแท้ตามธรรมชาติ เพราะไม่ว่าจะหลบซ่อนหรือขยันฉีดวัคซีนอย่างไร ด้วยเปอร์เซ็นต์การเกิด breakthrough infection ที่สูงขนาดนี้ อย่างน้อยจุดหนึ่งในชีวิตเขาจะต้องติดเชื้อจริงเข้าสักวันจนได้ ยิ่งติดเชื้อเร็วยิ่งได้ประโยชน์เร็ว คือจะได้ไม่ต้องตะบันกระตุ้นวัคซีนซ้ำซาก

ประเด็นที่ 5. อุปสรรคใดๆที่จะขัดขวางการดึงคนออกมาใช้ชีวิตกับโรคโควิด ควรเลิกเสีย

ซึ่งผมเสนอให้

  1. ยุบเลิกศบค.เสีย
  2. เลิกการตรวจคัดกรอง (ATK) ผู้ไม่มีอาการป่วยเสีย เพราะการตรวจคัดกรองเป็นการยั้งไม่ให้คนออกมาใช้ชีวิต ควรหันไปเน้นการรักษาเร็วด้วยตนเองด้วยยาที่หาง่ายและปลอดภัยเช่นฟ้าทลายโจรแทน
  3. เลิกมาตรการ lock down หรือห้ามโน่นนี่นั่นเสีย
  4. เปิดโรงเรียน
  5. ถ้าไม่ใช่ผู้สูงอายุก็ควรเลิกการใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีนเป็นใบอนุญาตเข้าร้านอาหารหรือเข้าทำกิจกรรมใดๆเสีย
  6. เปิดประเทศแบบพลั้วะ อ้าซ่าเลย ไม่ต้องไปสนใจว่าประเทศอื่นเขาจะทำอะไรกัน ใครจะมาเที่ยวใครจะไม่มา เพราะเรากำลังจัดการโรคโควิดแบบโรคประจำถิ่นของเรา เราคาดการณ์ของเราเองไปตามหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่ทะยอยโผล่ออกมา และจัดการโรคให้ “อยู่” ตามประสาเรา แล้วท่านผู้อ่านเชื่อผมเถอะครับ ไม่เกินเดือนตุลาคมปีนี้ ทั่วโลกจะต้องเปิดประเทศและเลิกพิธีกรรมเกี่ยวกับโควิดกันหมด เพราะหลักฐานวิทยาศาสตร์ตอนนี้มันชี้ชัดแล้วว่าพิธีกรรมเหล่านั้นมันไร้ประโยชน์ เพราะไม่ว่าจะมีพิธีกรรมเหล่านั้นหรือไม่มี โรคโควิดก็จะยังอยู่ที่นี่ไม่ไปไหน และคนส่วนใหญ่ก็จะต้องได้ป่วยเป็นโควิดกันอย่างน้อยคนละครั้งหนึ่งในชีวิต ไม่ว่าจะขยันฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม แต่ผมย้ำว่าทุกคนก็ยังตัองฉีดวัคซีนให้ครบสองเข็มอยู่นะ เพราะผลวิจัยจากทุกประเทศให้ผลตรงกันว่าเมื่อถึงคราวเป็นโรค การได้วัคซีนมาก่อนมันลดความรุนแรงของโรคลงได้ทุกมิติ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

  1. Comparing SARS-CoV-2 natural immunity to vaccine-induced immunity: reinfections versus breakthrough infectionsSivan Gazit, Roei Shlezinger, Galit Perez, Roni Lotan, Asaf Peretz, Amir Ben-Tov, Dani Cohen, Khitam Muhsen, Gabriel Chodick, Tal Patalon. medRxiv 2021.08.24.21262415; doi: https://doi.org/10.1101/2021.08.24.21262415
  1. Risk of thrombocytopenia and thromboembolism after covid-19 vaccination and SARS-CoV-2 positive testing: self-controlled case series study. BMJ 2021;374:n1931

ข้อมูลจาก https://drsant.com/2021/09/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4.html?fbclid=IwAR1Ufe8nG90ctElFJWpz8vgaYMNPd1I2H6t1ax-f6IVWmXfkbz5Y8QP45XY

 

7 ก.ย.64- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เปิดเผยว่า รพ.วิชัยยุทธ  เตรียมใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว เนื่องจากยอดผู้เสียชีวิตยังน่าห่วง
 

นพ.มนูญ กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมไทยอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน และส่วนมากผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษามักได้รับเชื้อจากคนในครอบครัวซึ่งนำเชื้อเข้ามาและสัมผัสกับทุกคนในบ้าน ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ถึงแม้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง แต่ยอดรวมผู้เสียชีวิตยังคงน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว จากสถิติ 30 วันย้อนหลังจะเห็นได้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตยังไม่ลดลงเท่าไหร่นัก ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงบางรายเมื่อถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอาจมีอาการน้อยถึงปานกลาง แต่พอเข้าสัปดาห์ที่ 2 หรือวันที่ 7-8 ของการติดเชื้อ อาการกลับทรุดหนักลงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโควิด-19 ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมักจะเสียชีวิตในที่สุด

ข้อสังเกตข้างต้นยังสอดคล้องกับสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ที่จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามมิติต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านอายุ โดยระบุว่าช่วง 30 วันที่ผ่านมาประมาณ 10% ของยอดผู้ติดเชื้อรายวันเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ประมาณ 60% ของยอดผู้เสียชีวิตรายวันยังเป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปอีกด้วย  


 
นพ. มนูญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากผลการทดลองทางคลินิกและข้อมูลการใช้จริงในสหรัฐอเมริกา พบว่ายาแอนติบอดี ค็อกเทล สามารถช่วยลดระยะเวลาการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ถึง 4 วัน ลดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดลงได้ และลดความเสี่ยงที่โรคโควิด-19 จะลุกลามไปสู่ระดับรุนแรงได้ 70% จึงถือเป็นอาวุธสำคัญที่แพทย์จะพิจารณาใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว

ยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) จัดอยู่ในกลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ (Neutralizing Monoclonal Antibodies: NmAbs) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ของประเทศไทยได้อนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา 

ยาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ มีผลการศึกษายืนยันในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง หรือไม่ต้องให้ออกซิเจนเสริม และผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่อาการรุนแรงในกลุ่มต่างๆ ต่อไปนี้

ผู้สูงอายุ   โรคอ้วน    โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรัง รวมถึงโรคหอบหืด  โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2  โรคไตเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรับการฟอกไต  โรคตับเรื้อรัง  มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันถูกกด 


 คาดว่ายาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ จะเริ่มใช้ในโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ และโรงพยาบาลรัฐบาลบางแห่ง ภายในกลางเดือนกันยายนนี้ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ชำระค่ารักษาเอง เนื่องจากยาดังกล่าวยังไม่ได้เป็นยาที่อยู่ในสิทธิการรักษาในระบบสุขภาพ

“สำหรับประเทศไทย กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีความเสี่ยงยังได้รับวัคซีนไม่ถึง 50% อีกทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงบางรายยังไม่ประสงค์จะฉีดวัคซีน ดังนั้นการรักษาด้วยยาแอนติบอดี ค็อกเทล จะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มนี้ได้ หากรีบเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุดภายใน 7 วันแรกหลังจากรับเชื้อ และจะยิ่งดีกว่าถ้าได้รับการรักษาใน 3-4 วันแรก” นพ.มนูญ กล่าว

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/115879