คืบหน้า! เผย '8 วัคซีน' ต้านโควิด เริ่มทดสอบทางคลินิก
 

ขณะนี้ หลายชาติพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนต้าน โควิด-19 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า ต้องรอถึงปีหน้ากว่าที่โลกจะมีวัคซีนมาใช้รักษาโรคนี้ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีวัคซีนต้นแบบ 8 ตัวที่อยู่ในขั้นการทดสอบทางคลินิก

เริ่มด้วย วัคซีนของบริษัทแคนชิโน ไบโอโลจิกส์ อิงค์ของจีน ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพปักกิ่ง กำลังทดสอบทางคลินิกเฟส 1 และเฟส 2 เป็นการทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 60 ปี เฟสนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 108 คน ซึ่งการทดสอบเฟส 1 และ 2 จะดำเนินการไปควบคู่กัน

2. วัคซีนของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดของอังกฤษ ปัจจุบันเข้าสู่เฟส 1/2 ทำการทดสอบในอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี 1,100 คนอายุ 18-55 ปี สุ่มรับวัคซีน และเริ่มประเมินและศึกษาวัคซีนในมนุษย์

3. วัคซีนของบริษัทอิโนวิโอของสหรัฐ กำลังทดสอบในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 40 คนในสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบคู่ขนานเฟส 1/2 ในเกาหลีใต้ควบคู่กันไป คาดว่าจะมีผลการทดสอบเบื้องต้นในเดือน มิ.ย.

4. วัคซีนของปักกิ่ง อินสติติวท์ ออฟ ไบโอโลจิคัล โพรดัคส์ / อู่ฮั่น อินสติติวท์ ออฟ ไบโอโลจิคัล โพรดัคส์ ซึ่งการทดลองยังอยู่ในเฟส 1

5. วัคซีนที่พัฒนาโดยปักกิ่ง อินสติติวท์ ออฟ ไบโอโลจิคัล โพรดัคส์ /ซิโนฟาร์ม เริ่มการทดสอบทางคลินิกตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. 2563 และกำลังวางแผนจะเริ่มการทดสอบเฟส 2 ควบคู่ไปกับเฟส 1

6. วัคซีนที่พัฒนารวมกันโดยเยอรมนี-จีน-สหรัฐ โดยบริษัทไบโอเอ็นเทค/โฟซุน ฟาร์มา/ไฟเซอร์ โดยในเยอรมนีเริ่มการทดสอบในเฟส 1/2 ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 200 คน อายุระหว่าง 18 ถึง 55 ปี เริ่มทดสอบในสัปดาห์นี้ไปแล้ว เตรียมขยายไปทดสอบเพิ่มในสหรัฐ คาดในเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2563 อาจนำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินได้

7. วัคซีนของบริษัทซิโนวัคของจีน อยู่ในการทดลองเฟส 1 กำลังดำเนินการทดลองแบบสุ่มในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 144 คนระหว่างอายุ 18 ถึง 59 ปี

และ 8. วัคซีนของบริษัท โมเดอร์นา ร่วมกับสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐ (NIAID) กำลังทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 45 คน อายุระหว่าง 18-55 ปี 

สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (เอ็นไอเอช) ยังได้ขยายการทดลองให้ครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ โดยทดสอบในอาสาสมัครวัย 56-70 ปี 3 คน และอายุ 71 ปีขึ้นไป 3 คน เพิ่งยื่นเรื่องไปยัง อย.ของสหรัฐ (เอฟดีเอ) เพื่อขอเข้าสู่การทดสอบในเฟส 2

อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังความเร็วในการพัฒนาและวิจัยวัคซีนต้านโรคโควิด-19 เป็นผลมาจากความพยายามของจีนในการจัดเรียงสารพันธุกรรมของไวรัส “ซาร์ส-โควี-2” (Sars-CoV-2) ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคโควิด-19 และแบ่งปันข้อมูลตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค. ทำให้นักวิจัยทั่วโลกสามารถเพาะตัวอย่างไวรัสและศึกษาการทำงานของไวรัส แม้ไวรัสตัวนี้เพิ่งถูกตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว

  • ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาจไม่ได้วัคซีนอย่างที่คิด

ขณะที่หลายประเทศกำลังเร่งพัฒนาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 และนักการเมืองก็พูดถึงเรื่องการพัฒนาวัคซีนที่มาถึงขั้นการทดลองในคน แต่อีกความเป็นไปได้ที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคระบาดกำลังเป็นกังวลอยู่ในเวลานี้คือ อาจไม่มีวัคซีนมารักษาโควิด-19 ซึ่งก็เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หลายๆ ครั้งในอดีต

ดร.เดวิด นาบาร์โร ศาสตราจารย์ด้านสาธารณสุขระดับโลกจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน และที่ปรึกษาโรคโควิด 19 ของดับเบิลยูเอชโอ กล่าวว่า มีไวรัสจำนวนหนึ่งที่ยังไม่มีวัคซีนรักษา

 

“เราไม่สามารถสันนิษฐานได้เต็มร้อยว่าจะมีวัคซีน หรือถ้ามี วัคซีนนั้นจะผ่านการทดลองว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยเพียงพอ และเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทั่วโลกต้องต่อกรกับไวรัสในฐานะเป็นภัยคุกคาม โดยสามารถใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปได้” ดร.นาบาร์โร กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยังมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ได้ ส่วนหนึ่งเพราะไวรัสตัวนี้ไม่ได้กลายพันธุ์เร็ว อย่างที่พบในเชื้อโรคตัวอื่นๆ อย่างมาลาเรีย หรือเอดส์ (HIV) แต่อีกหลายๆ คน รวมทั้ง ดร.แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อและภูมิคุ้มกันบกพร่องของสหรัฐ กล่าวว่า อาจต้องใช้เวลาเป็นปีหรือปีครึ่ง

คริส วิตตี ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของอังกฤษประเมินไว้ว่า อย่างน้อยๆ ก็หนึ่งปีหรือเร็วกว่านั้น แต่หากการพัฒนาวัคซีนเกิดขึ้นได้จริงในเวลาเหล่านี้ จะถือเป็นชัยชนะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

“เราไม่เคยเร่งพัฒนาวัคซีนในเวลาหนึ่งปีหรือปีครึ่งเลย ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่จะเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องมีแผนสำรองไว้ด้วย” ดร. ปีเตอร์ โฮเตส อธิการบดีของวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งชาติของวิทยาลัยแพทยศาสตร์เบย์เลอร์ในฮุสตันกล่าว

คณะนักวิจัยของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า วัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสต้นตอโควิด-19 ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลอง แสดงศักยภาพกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เพียงพอจะฆ่าเชื้อไวรัสได้ในขั้นทดลองก่อนดำเนินการทดสอบในมนุษย์

วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยมหาวิทยาลัย ควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า การหนีบในระดับโมเลกุล หรือ โมเลคูลาร์ แคล็มพ์ (molecular clamp) ซึ่งได้รับสิทธิบัตรแล้ว และวัคซีนนี้ถูกนำไปทดสอบในหนูเมื่อไม่นานมานี้ พบว่า สามารถกระตุ้นแอนติบอดี้ที่จำเป็นต่อการโจมตีไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 ได้ 

ด้านบรรดาผู้นำของโครงการวิจัยนี้ต่างยินดีกับผลลัพธ์ที่ดีพอต่อการเร่งพัฒนาวัคซีนตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ โดยศาสตราจารย์ พอล ยัง ผู้ร่วมนำการวิจัยของโครงการร่วมของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า เป็นสิ่งที่ทีมงานคาดหวังไว้และทำให้ทีมวิจัยโล่งอก ที่ฝากความเชื่อมั่นไว้กับเทคโนโลยี จากความร่วมมือด้านนวัตกรรมความพร้อมเกี่ยวกับโรคระบาด ทั้งจากรัฐบาลกลางและรัฐควีนส์แลนด์ ตลอดจนบรรดาพันธมิตรเพื่อการกุศลนี้

ขณะเดียวกัน ได้มีการส่งตัวอย่างจากการทดลองในหนูไปยังสถาบันโดเฮอร์ตีในนครเมลเบิร์น เพื่อทดสอบความสามารถในการโจมตีไวรัสต้นตอโควิด-19 โดยเฉพาะ

ศาสตราจารย์คันทา ซับบาเรา จากสถาบันแห่งนี้พบแอนติบอดี้ระดับสูงในตัวอย่างการทดลอง บ่งชี้ว่าสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีชีวิตในการเพาะเลี้ยงเซลล์ได้ ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญยิ่ง เพราะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้ม กันที่คล้ายกับของวัคซีนโรคซาร์ส (SARS) ในแบบจำลองสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การป้องกันการติดเชื้อได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878926

 

"โอไมครอน" หรือเดลตา มาเช็คอาการเฉพาะตัวเบื้อง มีอาการเหล่านี้หรือไม่ สังเกตเบื้องต้นด้วยตัวเองเข้าข่ายหรือไม่ เช็คที่นี่

ติด "โอไมครอน" หรือยัง ? หากกำลังสงสัย หรืออยากรู้อาการ เจ้าโควิด-19 สายพันธุ์นี้ วันนี้คมชัดลึกออนไลน์ จะพามาเช็คกันอีกที กับ 5 อาการหลักเฉพาะของ "โอไมครอน"



ก่อนอื่นขอพาไปเน้นย้ำกับอาการต่างๆของสายพันธุ์เดิมต่างๆ ที่ระบาดในประเทศไทย โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
 

  • สายพันธุ์ S หรือสายพันธุ์ที่ระบาดในระลอกแรกของประเทศไทยอาการ : ไอต่อเนื่อง ลิ้นไม่รู้รส จมูกไม่ได้กลิ่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก มีไข้ 37.5 องศาขึ้นไป
  • สายพันธุ์อังกฤษ หรืออัลฟา อาการ : มีไข้ ไอ เจ็บคอ หนาวสั่น อาเจียน ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ท้องเสีย การรับรส/ได้กลิ่นผิดปกติ
  • สายพันธุ์อินเดีย หรือสายพันธุ์เดลตา
    อาการ : คล้ายหวัดธรรมดา ไม่ค่อยสูญเสียการรับรส มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ 
  • สายพันธุ์เบตา หรือสายพันธุ์แอฟริกา
    อาการ : เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ท้องเสีย ตาแดง มีผื่นตามผิวหนัง นิ้วมือ/เท้าเปลี่ยนสี การรับรส/ได้กลิ่นผิดปกติ

เหล่านี้คือลักษณะอาการของผู้ป่วย "โควิด-19" ในสายพันธุ์ต่างๆที่เคยระบาดในประเทศไทย แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน สายพันธุ์ที่กำลังเข้ามาแทนที่สายพันธุ์หลักเดิมอย่างเดลตา คือสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่กำลังระบาดอย่างรวดเร็วทั่วโลก และกำลังกลืนสายพันธุ์เดลตาอยู่ในขณะนี้ จะมีอาการแตกต่าง อย่างไรบ้าง 

คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เช็คสัญญาณอาการ "โอไมครอน" หรือเดลตา

 

ข้อมูลจากดร.จอห์น แคมพ์เบล  แพทย์จากอังกฤษได้บอกถึงลักษณะอาการเฉพาะของ "โอไมครอน" ดังนี้

  •  อาการไข้ไม่ชัดเจน
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับกลิ่นและรส 
  • ปวดหัว 
  • อ่อนเพลียอ่อนล้า  ตั้งแต่ไม่มากจนกระทั่งถึงลุกไม่ไหว
  •  น้ำมูกไหล 
  • เจ็บคอ  
  • จาม 


ส่วนสาเหตุที่ทำให้อาการของ "โอไมครอน" ไม่รุนแรง เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์นี้ อยู่ในจมูก ปาก ทางเดินหายใจส่วนต้น มากกว่าปอดลึก ๆ อีกทั้งภูมิคุ้มกัน ในมนุษย์เริ่มสูงขึ้น ทั้งจากการฉีดวัคซีน และจากการติดเชื้อมาก่อน


นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาทางพันธุกรรม ของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับ อาการของโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" ดังนี้

  •  เจ็บคอ
  •  เหนื่อยล้า
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
  •  น้ำมูกไหล
  •  จาม
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ปวดหลังส่วนล่าง

ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของ "โอไมครอน" ในประเทศไทย กำลังเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขจากการตรวจผู้ติดเชื้อพบว่ามี 8 อาการที่พบมากที่สุด คือ

  •  อาการไอ
  •  เจ็บคอ
  •  มีไข้
  •  ปวดกล้ามเนื้อ 
  • มีน้ำมูก 
  •  ปวดศีรษะ 
  • หายใจลำบาก 
  • ได้กลิ่นลดลงมีเพียง  


คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ เช็คสัญญาณอาการ "โอไมครอน" หรือเดลตา

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/500224?adz=

 


หากคุณเป็นอีกหนึ่งคน ที่พบว่าผลการตรวจเป็นบวก หากอยากทราบว่า ใช่ "โอไมครอน" หรือไม่ลองสังเกตุอากาศเบื้องต้นดูว่า มีอาการดังที่กล่าวมาเหล่านี้หรือไม่

งบฯ ไม่พอ! 'นพ.อุดม' ยันรัฐจำเป็นต้องยกเลิก 'โควิด' รักษาเจ็บป่วยฉุกเฉิน
 
'หมออุดม' ยืนยันจำเป็นต้องยกเลิกรักษาโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป เพราะรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอในการอุดหนุนค่าใช้จ่ายรักษาโควิดฟรี ย้ำจะให้เวลาเตรียมตัว ไม่ยกเลิกกระทันหัน
 
 

นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษา ศบค. กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ โดยในช่วงปลายเดือนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะแตะถึง 17,000-18,000 รายต่อวัน โดยหวังว่าจะไม่ถึง 20,000 รายต่อวัน แต่ทั้งนี้​ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของประชาชนทุกคน แต่หากเปรียบเทียบกับการเจ็บป่วยรุนแรงของประชาชนถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่น้อย หากเปรียบเทียบกับการระบาดช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย. 2564 ที่ประเทศไทยมีการระบาดอย่างรุนแรง ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยถือว่าจำนวนผู้ป่วยรุนแรงลดลงกว่า 10 เท่า จาก 500 ราย เหลือเพียง 100 รายเท่านั้น ยืนยันระบบสาธารณสุขของไทย​ ยังสามารถรองรับได้ และคนไทยมีวินัย แต่ต้องระมัดระวังเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้ผู้ติดเชื้อแตะ 20,000 รายต่อวันในอนาคต

ทั้งนี้​ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกกรณีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวัน แต่ขอเห็นใจบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างเหนื่อยล้า และขอประชาชนเข้ารับวัคซีนให้ครบโดส รวมไปถึงเข็มกระตุ้น เพราะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะสามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ จึงอยากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด ยืนยันขณะนี้มีวัคซีนเพียงพอ แต่ประชาชนฉีดน้อยลง และยืนยันว่า​ มีเตียงรองรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอย่างเพียงพอ​ เพราะมีการวางระบบเอาไว้อย่างดี โดยนำเอาบทเรียนครั้งที่ผ่านมามาเตรียมความพร้อม

ส่วนกรณีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่าทำไมไทยจะต้องยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป หรือการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ แล้วให้ไปใช้สิทธิ์ ตามหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ที่จะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.นี้ นายแพทย์อุดม ระบุว่า​ ขอให้ประชาชนเข้าใจว่าที่ผ่านมารัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ฟรี ที่ไม่มีประเทศใดดำเนินการเท่ากับประเทศไทย และต้องยอมรับว่ารัฐบาลรองรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ยกตัวอย่าง ในประเทศสวีเดน รัฐบาลสวีเดนยกเลิกกฎควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกือบทั้งหมดเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ทั้งที่เป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่าไทย

ส่วนตัวจึงเห็นว่า ควรช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ และตอนนี้ต้องทำใจเพื่อเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ แต่ยืนยันรัฐบาลจะไม่ได้มีการประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป ในทันที แต่จะให้ประชาชนมีเวลาเตรียมตัว 1-2 เดือน ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ประชาชนไม่ใช่สาธารณสุข เพราะระบบสาธารณสุขไม่ได้มีปัญหา แต่ต้องปรับตามบริบท เพราะจะเห็นได้ชัดว่าสายพันธุ์โอไมครอนไม่ทำให้มีผู้ป่วยหนัก พร้อมย้ำรัฐบาลไม่มีงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ฟรีแล้ว

 

ที่ประชุม ศบค.วันนี้ก็จะพิจารณาผ่อนคลาย ซึ่งกังวลว่าประชาชนจะไม่เข้าใจว่า เมื่อตัวเลขเพิ่มขึ้น ทำไม ศบค. ถึงต้องผ่อนคลาย เนื่องจากจะดูในเรื่องของเศรษฐกิจให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าให้ได้

นายแพทย์อุดม​ มีความห่วงใยกลุ่มเด็กที่ ขณะนี้ยังได้รับวัคซีนน้อยอยู่ เนื่องจากผู้ปกครองมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน แต่ยืนยันว่า ตามมาตรฐานแล้วเด็กต้องรับวัคซีนไฟเซอร์ และมีวัคซีนซิโนแว็กซ์-ชิโนฟาม เชื้อตายเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น แต่เด็กก็ยังฉีดน้อยอยู่ และจะยังยึดสูตรนี้ต่อไป แม้ขณะนี้ประสิทธิภาพการฉีด1 อาจจะน้อยแต่เข็ม2 และเข็ม3 จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากนี้จะมีการปรับเป็นสูตรไขว้ ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศแล้ว เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันขึ้นรวดเร็ว

ทั้งนี้​ ยืนยันกรณีผลข้างเคียงในเด็กที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น แม้จะเกิดขึ้นจริงแต่มีเปอร์เซ็นต์น้อย ซึ่งกลุ่มที่เกิดเยอะสุดคือเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 16 - 18 ปี ซึ่งเกิดขึ้นในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง หรือ 70​ คน ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน

ส่วนเด็กผู้หญิง อายุ 16-18 ปีเกิดขึ้น 7 คน ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน ส่วนอายุต่ำกว่า 12 ปีเกิดขึ้นได้เพียง 4-5 คน ต่อจำนวนประชากร 1ล้านคนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก จึงขอให้ ผู้ปกครองนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีน เพราะเมื่อฉีดในผู้ใหญ่จนครอบคลุมแล้วจะเกิดการระบาดในเด็กแทน ตามข้อมูลแล้วเมื่อผู้ใหญ่ติดเชื้อหลักๆแล้วจะลงปอด แต่ในเด็กจะกระจายไปหลายอวัยวะมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัว จึงขอให้เข้ารับการฉีดวัคซีนเพราะผลดีมีมากกว่าผลเสีย

ข้อมูลจาก https://www.thaich8.com/news_detail/105241

"เสี่ยงจากวัคซีน" มากกว่าเสี่ยงป่วยจากโควิด 4-6 เท่า

โทษมากกว่าประโยชน์ ไม่คุ้ม

สรุปผลการทดลองในเด็กสุขภาพดี
อัตราการเกิดอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคเยื่อหุ้มหัวใจ หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม
เด็กชาย
- อายุ 12-15 ปี อยู่ที่ 162.2 คน ใน 1 ล้านคน
- อายุ 16-17 ปี อยู่ที่ 94 คน ใน 1 ล้านคน

เด็กหญิง
- อายุ 12-15 ปี อยู่ที่ 13.4 คน ใน 1 ล้านคน
- อายุ 16-17 ปี อยู่ที่ 13 คน ใน 1 ล้านคน

เมื่อเทียบกับความเสี่ยงในการติดโควิดแล้วป่วยในเด็กสุขภาพดีแล้ว อัตราการป่วยด้วยโรคหัวใจผิดปกติมีมากกว่าถึง 4-6 เท่าตัว!!
สรุปจึง ไม่คุ้มค่าความเสี่ยงในการฉีดวัคซีน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3664138630478158&id=1424698607755516

เนื้อข่าว
รายงานผลการศึกษาล่าสุดของ ดร.เทรซี่ ฮีก (Tracy Hoeg) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา ระบุว่า จากการวิเคราะห์อาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มเด็กอายุ 12-17 ปี ในสหรัฐอเมริกาช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 พบว่า อัตราการเกิดอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคเยื่อหุ้มหัวใจ หลังการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ในกลุ่มเด็กชายอายุ 12-15 ปี ที่มีสุขภาพดี อยู่ที่ประมาณ 162.2 คน ใน 1 ล้านคน ในขณะที่ กลุ่มเด็กชายสุขภาพดี อายุระหว่าง 16-17 ปี อยู่ที่อัตราส่วน 94 คน ใน 1 ล้านคน

และในอัตราส่วนที่เท่าๆ กัน สำหรับกลุ่มเด็กหญิง อายุ 12-15 ปี ที่มีสุขภาพดี จะอยู่ที่ 13.4 คน ใน 1 ล้านคน ส่วนเด็กหญิง อายุระหว่าง 16-17 ปี จะอยู่ที่ 13 คน ใน 1 ล้านคน

ขณะที่ อัตราการติดเชื้อในสหรัฐฯ ณ ปัจจุบัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่กลุ่มวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี อาจจะติดเชื้อโควิด-19 จนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในอีก 120 วันข้างหน้า (หลังผลรายงานวิจัยชิ้นนี้) อยู่ที่ประมาณ 44 คน ต่อ 1 ล้านคน

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังพบว่า กลุ่มเด็กชายอายุ 12-15 ปี ที่ไม่มีโรคประจำตัว มีโอกาสที่จะเกิดอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและโรคเยื่อหุ้มหัวใจ หลังได้รับวัคซีน mRNA ครบ 2 เข็ม มากกว่าโอกาสที่จะมีอาการเจ็บป่วยจนเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จากการติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 4-6 เท่า ในช่วงระยะเวลานับจาก 4 เดือนที่ผ่านมา

โดยเด็กส่วนใหญ่ที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากนี้ จะเกิดอาการภายในไม่กี่วันหลังได้รับวัคซีน mRNA เข็มที่ 2 และในจำนวนนี้ ซึ่งเกือบ 86% เป็นเด็กชาย ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

อ้างอิงงานวิจัย
SARS-CoV-2 mRNA Vaccination-Associated Myocarditis in Children Ages 12-17: A Stratified National Database Analysis
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.08.30.21262866v1

โหลดงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.08.30.21262866v1.full.pdf
ขอขอบพระคุณ คุณหมอเจษฎา ร.พ.ราวิถี ที่ให้ข้อมูล ครับ
ไสว ทัศนีย์ภาพ
เสรีรวมไทย บางคอแหลม
ยานนาวา
28 กันยายน 2564

จับตา "โอไมครอน" BA.4 - BA.5 ศูนย์จีโนมฯ คาด ส.ค. - ก.ย. เชื้อลามทั่วไทย 

หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ชี้จับตา "โอไมครอน" BA.4 - BA.5 คาดเดือนสิงหาคม - กันยายน เชื้อลุกลามทั่วไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังเฝ้าระวังความรุนแรงของเชื้อ

วันนี้ 1 ก.ค.2565 ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์ย่อย "โอไมครอน" BA.4/BA.5 ในแถบยุโรปนั้น จากฐานข้อมูลโลก (GISAID) พบตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวต่อว่า เมื่อดูประเทศโปรตุเกส ซึ่งก่อนหน้านี้มีสัดส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่ "โอไมครอน" BA.4/BA.5 ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ขณะนี้กราฟเริ่มลดความชันลง หากมีสถานการณ์ที่น่ากังวลใดๆ ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็คงต้องเรียกประชุมด่วนเพื่อเตรียมการรับมือ แต่ขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณใดๆ จากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวและอัปโหลดแชร์ไว้บน GISAID สัดส่วนโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดในไทยช่วง 18 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 7-24 มิ.ย. 2565 นั้น

พบเป็น BA.2 จำนวน 23 ราย คิดเป็น 28.4% BA.4 จำนวน 11 ราย คิดเป็น 13.6% และ BA.5 จำนวน 18 ราย คิดเป็น 22.2% BA.2.12.1 จำนวน 8 ราย คิดเป็น 9.9% และอื่นๆ จำนวน 21 ราย คิดเป็น 25.9% เปรียบเทียบก่อนหน้านี้เห็นชัดว่า BA.4 และ BA.5 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นแต่ไม่ชันมาก สอดคล้องกับแนวโน้มทั่วโลกที่ BA.4 และ BA.5 เพิ่มมากขึ้นจนอาจจะครองพื้นที่

สำหรับประเทศไทยเชื่อว่าประมาณปลาย ส.ค.หรือต้น ก.ย. "โอไมครอน" BA.4 และ BA.5 ก็คงครองพื้นที่เช่นกัน ส่วนกรณีการติดเชื้อของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เท่าที่ประเมินจากอาการและยังฉีดวัคซีนเข็ม 6 ไปแล้ว ทั้งเป็นการติดเชื้อจากฝรั่งเศสที่มีการแพร่ระบาดของ BA.4 BA.5 เป็นอันดับต้นๆ รองจากโปรตุเกส ก็คงติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4 หรือ BA.5 เช่นกัน” ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์กล่าว

ด้านนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า วันที่ 4 ก.ค.2565 จะแถลงสถานการณ์สายพันธุ์ที่ระบาดในไทยขณะนี้ ซึ่งกรมวิทย์ มีการตรวจสายพันธุ์และวิเคราะห์เป็นรายสัปดาห์เพื่อพิจารณาถึงความเร็วในการแพร่ระบาดว่ามากน้อยแค่ไหน ส่วนความรุนแรงของเชื้อ ต้องใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยขณะนี้ได้ประสานกับ รพ.ต่างๆ ส่งเชื้อผู้ป่วยอาการรุนแรงนำมาถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

 

ข้อมูล https://www.komchadluek.net/covid-19/520909?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ