ด่วน..5 ประเทศยุโรปประกาศระงับใช้วัคซีนโควิด-19 "แอสตราเซเนกา" ล็อต ABV5300

 

ด่วน..5 ประเทศยุโรปประกาศระงับใช้วัคซีนโควิด-19 "แอสตราเซเนกา"ล็อต ABV5300 หลังพบเมื่อฉีดแล้วเกิดลิ่มมเลือดอุดตัน.ทำให้เสียชีวิต

 

สำนักงานยายุโรปพบผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาล็อต ABV5300 จำนวน 4 ราย มีภาวะเลือดแข็งตัวหลังฉีด ดับแล้ว 1 ราย ทำให้ 5 ประเทศระงับใช้วัคซีนล็อตดังกล่าว

หน่วยงานกำกับดูแลยาแห่งชาติของออสเตรีย ได้ประกาศระงับการใช้วัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาล็อตหนึ่ง หลังจากผู้รับวัคซีน 4 รายได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเลือดแข็งตัวซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

สำนักงานยายุโรป (EMA) ระบุว่า จากผู้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาล็อตรหัส ABV5300 จำนวน 4 ราย มี 1 รายที่เสียชีวิตแล้วจากลิ่มเลือดอุดตัน

ส่วนผู้รับวัคซีนรายที่สองได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเส้นเลือดในปอดอุดตัน ซึ่งเกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดงในปอด แต่ขณะนี้กำลังพักรักษาตัวและอาการดีขึ้น และเมื่อวันอังคาร (9 มี.ค.) ก็พบผู้เข้ารับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาล็อตดังกล่าวมีภาวะเลือดแข็งตัวเพิ่มอีก 2 ราย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
หลังฉีด วัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ หญิงญี่ปุ่น ช็อก แพ้อย่างรุนแรง 17 ราย

 

EMA กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวหรือไม่ และจะยังไม่ระบุว่าเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีน

วัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาล็อต ABV5300 มีจำนวน 1 ล้านโดสและถูกส่งไปยัง 17 ประเทศในสหภาพยุโรป คือ ออสเตรีย บัลแกเรีย ไซปรัส เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ สเปน และสวีเดน

โดยออสเตรียประเมินว่า วัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาล็อตดังกล่าวเป็นร่วมของผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวทั้ง 4 ราย จึงตัดสินใจระงับการใช้วัคซีนล็อตดังกล่าวไปก่อน

นอกจากนี้ ยังมีอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เอสโตเนีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก และลัตเวีย ขณะนี้ได้ระงับการใช้วัคซีนดังกล่าวเช่นกัน เพื่อให้เวลาคณะกรรมการประเมินความเสี่ยงด้านเภสัชวิทยา (PRAC) ของ EMA ดำเนินการตรวจสอบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาหรือไม่

EMA กล่าวว่า “ข้อบกพร่องด้านคุณภาพโดยภาพรวมของวัคซีนนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่เรากำลังตรวจสอบคุณภาพของวัคซีนล็อตนี้”

 

โดย PRAC กำลังตรวจสอบเงื่อนไขการเกิดลิ่มเลือดที่เชื่อมโยงกับวัคซีนโควิด-19 ล็อตเดียวกัน ตลอดจนรายงานอื่น ๆ เกี่ยวกับการเกิดลิ่มเลือดและภาวะเลือดแข็งตัว

“ข้อมูลที่มีอยู่บ่งชี้ว่า จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาแล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตันไม่ได้สูงไปกว่าที่พบในประชากรทั่วไป” PRAC กล่าว

EMA กล่าวว่า ที่ผ่านมามีรายงานพบผู้มีภาวะเลือดแข็งตัว 22 ราย ในบรรดาผู้คน 3 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แอสตราเซเนกาในเขตเศรษฐกิจยุโรป

เรียบเรียงจาก EMA / Yahoo News

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/foreign/460847

 

ด่วนต้องรู้ "รักษาโควิด" แบบเร็วสุด 2 ขั้นตอน หมอธีระวัฒน์ แนะก่อนทรุดหนัก 

"รักษาโควิด" แบบเร็วที่สุด หมอธีระวัฒน์ แนะทำตาม 2 ขั้นตอนก่อนอาการทรุดหนัก พร้อมบอกวิธีสังเกตตัวเองแบบไหนเข้าข่ายวิกฤตต้องไปหาหมอด่วน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ หมอธีระวัฒน์ โพสต์ข้อความผ่าน เพจเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงขั้นตอนการ "รักษาโควิด" ในเบื้องต้นด้วยตนเองสำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง ว่า 

การ "รักษาโควิด" เป็นขั้นเป็นตอน แบบเร็วสุด กันอาการยกระดับดูแลตัวเอง เนื่องจากต้องจ่ายเองในปัจจุบัน
ขั้นที่ 1- ฟ้าทะลายโจร ทานครบ 5 วัน ทันทีที่มีอาการ ( 2 ขีด อาจยังไม่ขึ้น )
ขั้นที่ 2- อาการเอาไม่อยู่ภายใน 2 วัน

2.1  ความอิ่มตัวออกซิเจนยังมากกว่า 96% หลังเดิน 6 นาที เปลี่ยนเป็น มอลนูพิราเวีย หรือ ฟาวิพิราเวีย ซื้อที่รัานยา ให้ญาติไป เพื่อสำแดงตัวตนเข้าระบบ ดีกว่า ไป โรงพยาบาล เอง เพราะต้องเดินทาง อาจแพร่เชื้อ และใช้เวลานานที่ โรงพยาบาล กว่าจะแจ้ง ประเมิน และรับยา ที่ร้านยา ยาต้องถูก ไม่ปลอม เข้าถึงได้  มอลนูพิราเวีย  ทำในประเทศเพื่อนบ้าน (ราคา ชุดละ ตั้งแต่ 1900 ขึ้นไป ยาผู้ผลิต ชุดเป็นหมื่น)

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ ระบุเพิ่มเติมว่า สำหรับ "การรักษาโควิด" เพิ่มเติม 2.2 ความอิ่มตัวออกซิเจน ไม่ถึง 96% เดิน 6 นาที หรือมีอาการระบบต่างๆ ไม่จำเป็นต้องปอด เริ่มไม่ไหว  (เห็นแบงค์ 1000 บาทตกอยู่ยังไม่มีแรงหยิบ) ติดต่อขอความช่วยเหลือไป รพ ด่วน

ทั้งหมดนี้ ประมวลจาก ประชาชนที่ติดเชื้อตกใจ และหายาไม่ได้ รพ อาจเต็มหมด และเพื่อเป็นการช่วยตนเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระมากกับระบบ และ โรงพยาบาล  

ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช้ยาเกินจริงเพราะอาจทำให้ "ดื้อยา"  เพื่อทำให้ ไม่เกิดคอขวด  เพราะกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายการเข้าถึงยาโดยผ่านร้านยาที่มีเภสัชกร อยู่แล้ว และมีระบบสร้างอยู่แล้ว เพื่อกันความแออัดในโรงพยาบาลที่บุคลากรมีจำกัด

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/522080?adz=

 

17 ก.พ.2564 -  นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ด่วนมาก ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดรอบ 2 ได้แล้ว!!! เมื่อวานมีผู้ป่วย เพียง 72 คน เหลือผู้ป่วยสะสมรักษาอยู่เพียง1,141คน ถ้ามุ่งมั่นรักษาให้ถูกวิธีก็จะหายหมดในเวลาไม่เกิน3-7วัน จึงต้องเร่งนำประเทศเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และไม่สามารถปล่อยให้ประเทศไทยเกิดสภาพบ้านร้างเมืองร้างขึ้นในหลายพื้นที่ทุกภูมิภาคได้อีกต่อไปแล้ว

โดย

1.ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คืนอำนาจให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงโดยด่วน และใช้กฎหมายปกติ ในการควบคุมดูแลการแพร่ระบาดแทน

2.แนะนำวิธีป้องกันตัว ไม่ให้ติดเชื้อเป็นการทั่วไปและยกเลิกมาตรการบังคับทั้งหมด

3.ให้สภากาชาดไทยโรงพยาบาลเอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนมาใช้ได้โดยให้ อย.สนับสนุน รีบรับรองโดยถือมาตรฐานเดียวกันกับที่พิจารณารายที่ผ่าน! ยกเลิกความคิดผูกขาดกับชีวิตของประชาชนได้แล้ว

4.รีบเปิดประเทศแต่ยังคงให้มีการกัดตรวจ ที่มีประสิทธิภาพขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่ติดเชื้อพยายามให้ไปพักในต่างจังหวัดๆละ 10,000คน โดยเร็วที่สุด และ

5.รีบเยียวยา ชดใช้ความเสียหายให้แก่ภาคเอกชนทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายฉุกเฉินมาตรา 16-18 เพราะผู้ประกอบการยังไม่เคยได้รับการเยียวยาชดใช้เลย

 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/93308

    คุณเป็นเหมือนคนจำนวนมากที่ชอบดื่มกาแฟเพื่อเพิ่มพลังในตอนเช้า และนั่นก็เป็นสิ่งแรกที่คุณต้องดื่มกาเฟอีนที่แสนจะเข้มข้นหลังจากนอนหลับไม่สนิทมาทั้งคืน แต่การทำเช่นนั้นอาจส่งผลเสียในภายหลังต่อสุขภาพของคุณ เพราะการดื่มกาแฟก่อนอาหารเช้าหลังจากที่คุณนอนไม่หลับจะไปขัดขวางการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณ 
    ตามผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Nutrition ที่เผยแพร่เพื่อเป็นเกียรติแก่วันกาแฟสากล ได้ระบุว่า “การดื่มกาแฟก่อนอาหารเช้าหลังจากนอนหลับไม่ดีอาจขัดขวางการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด”
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบาธ (Bath) ในอังกฤษ ได้ดูสุ่มตรวจดูตัวอย่างเลือดจากผู้ใหญ่ 29 คนในการทดลองข้ามคืนต่อเนื่องกันสามครั้ง เพื่อเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของพวกเขาในตอนเช้า หลังจากนอนหลับสบายหรือหลับไม่สนิทในการบริโภคอาหารเช้า
    ซึ่งขั้นตอนในการทดสอบนั้นจะให้ผู้เข้าร่วมนอนหลับปกติ ซึ่งหลังจากตื่นเช้าแล้วก็ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลพร้อมด้วยกลูโคสและแคลอรีในปริมาณที่เพียงพอ โดยจำลองให้อยู่ในรูปแบบของอาหารเช้าทั่วไปที่คุณต้องรับประทานก่อนออกจากบ้าน 
    และอีกรูปแบบหนึ่งของกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมทดลองจะได้ทดสอบนั้น โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่นอนหลับไม่สนิท (ตื่นทุกๆ ชั่วโมง) และก่อนนอนก็มักจะชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งหลังจากตื่นนอนจะให้ดื่มกาแฟสูตรเข้มข้นเป็นเวลา 30 นาที ตามด้วยการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ซึ่งผู้เข้าร่วมการทดลองในแต่ละคนนั้นจะได้ทดสอบทั้ง 3 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น 
    ทั้งนี้นักวิจัยได้พบว่า การดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนประมาณ 300 มิลลิกรัม จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้าด้วยซ้ำ พูดง่ายๆ ก็คือว่าระดับการควบคุมน้ำตาลในเลือดของเราจะทำงานได้ลดลง ก็ต่อเมื่อเราได้ดื่มกาแฟหลังจากที่ตื่นนอนในตอนเช้า ที่สำคัญคุณก็นอนหลับไม่สนิทด้วยเช่นกัน 
    ด้าน “เจมส์ เบลล์” ผู้ดูแลการศึกษาและเป็นผู้อำนวยการร่วมของศูนย์โภชนาการ การออกกำลังกายและการเผาผลาญที่มหาวิทยาลัยบาธ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราอาจปรับปรุงสิ่งนี้โดยการกินอาหารเช้าก่อนแล้วค่อยดื่มกาแฟทีหลัง ถ้าเรารู้สึกว่ายังต้องการกาเฟอีน ซึ่งข้อควรรู้ดังกล่าวนี้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่สำคัญสำหรับเราทุกคน"
    ที่ลืมไม่ได้นั้น คนรักสุขภาพที่เป็นคอกาแฟทั้งหลายไม่ควรเข้านอนไปพร้อมๆ กับความรู้สึก หวาดระแวงเกี่ยวกับโทษของการซดถ้วยกาแฟมากเกินไป เพราะโดยทั่วไปแล้วการดื่มกาแฟในระดับที่ปลอดภัยนั้น คือต้องไม่เกิน 5 แก้วต่อวัน ที่สำคัญผลการวิจัยก่อนหน้านี้ก็ได้ออกมาบอกว่า ประโยชน์ของกาเฟอีนนั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ 
    จากการศึกษาพบว่า ข่าวดีเกี่ยวกับผลวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับไม่สนิทเพียงข้ามคืน อาจจะไม่ส่งผลด้านลบต่อการระบบการเผาผลาญในร่างกาย หากว่าผู้เข้าร่วมทดสอบนั้นกินอาหารเช้า 
    ขณะที่การวิจัยก่อนหน้านี้ได้ค้นพบว่า หากคุณนอนไม่หลับต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้คุณมีปัญหาเรื่องของการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ แต่ผลการวิจัยล่าสุดได้ออกมาบอกว่า ร่างกายของเราสามารถฟื้นตัวได้เพียงแค่ข้ามคืนเท่านั้น 
    ด้าน “แฮร์รี สมิท” หัวหน้านักวิจัยของการศึกษา กล่าวว่า “จากการผลการวิจัยที่เกิดขึ้นมันทำให้เราค่อนข้างมั่นใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในการที่คุณนอนหลับไม่สนิท ที่จำเป็นจะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมให้มากกว่านี้ เพื่อหาผลกระทบที่อาจเกิดกับสุขภาพในอนาคต หากว่ายังไม่สามารถข่มตานอนหลับได้อย่างสนิท”
    หัวหน้านักวิจัยคนเดิมยังได้บอกอีกว่า เราจำเป็นต้องศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการนอนหลับที่อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว เช่น หากคุณนอนไม่หลับติดต่อกันนานแค่ไหนจึงจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ หรือการนอนไม่พอติดต่อกันนานแค่ไหนที่จะทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายของเราทำงานได้ลดลง ที่สำคัญผลกระทบต่อร่างกายจะมีอะไรบ้าง นอกจากนี้เราจะต้องออกกำลังกายอย่างไรจึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ เป็นต้น.

 

บทความจาก https://www.thaipost.net/main/detail/80173

 
 

สวนดุสิตโพล สำรวจโรคฝีดาษลิงส่วนใหญ่ค่อนข้างวิตกกังวลที่สื่อนำเสนอ กังวลพอกับโควิด พอรู้และเข้าใจอยู่บ้างกับโรค มองสาธารณสุขแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด เชื่อรัฐบาลน่าจะรับมือได้ แนะประกาศแจ้งเตือนข้อมูลที่ถูกต้องต่อเนื่อง

วันนี้ (14ส.ค.) จากการพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในประเทศ ส่งผลให้คนไทยเกิดความวิตกกังวล กลัวว่าอาจเกิดการแพร่ระบาดมีผู้ติดเชื้อมากขึ้น หลายฝ่ายจึงอยากให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิงอย่างเข้มงวด เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง คนไทยคิดอย่างไร? กับ โรคฝีดาษลิง จำนวนทั้งสิ้น 1,095 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 5-11 สิงหาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้

1. จากข่าวโรคฝีดาษลิงที่สื่อนำเสนอ ณ วันนี้ ประชาชนมีความวิตกกังวลมากน้อยเพียงใด
ค่อนข้างวิตกกังวล 54.34% ไม่ค่อยวิตกกังวล 27.21% วิตกกังวลมาก 14.16% ไม่วิตกกังวล 4.29%

2. ประชาชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงมากน้อยเพียงใด
พอรู้และเข้าใจอยู่บ้าง 66.76% ไม่ค่อยรู้และไม่ค่อยเข้าใจ 24.29% รู้และเข้าใจเป็นอย่างดี 5.30% ไม่รู้และไม่เข้าใจเลย 3.65%

3. แหล่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงที่ประชาชนเชื่อถือมากที่สุด
อันดับ 1กระทรวงสาธารณสุข 37.17%
อันดับ 2กรมการแพทย์ 16.44%
อันดับ 3สื่อโซเชียล เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม14.25%
อันดับ 4กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์13.33%
อันดับ 5สื่อสารมวลชน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ 9.22%

4. ระหว่างโรคโควิด-19 กับ โรคฝีดาษลิง ประชาชนกังวลโรคใดมากกว่ากัน
กังวลทั้ง 2 โรค พอๆกัน 41.19% กังวลโรคฝีดาษลิง มากกว่า 29.32% กังวลโรคโควิด-19 มากกว่า 24.38%
ไม่กังวลทั้ง 2 โรค 5.11%
 
 
5. ประชาชนคิดว่ารัฐบาลจะรับมือโรคฝีดาษลิงได้หรือไม่
น่าจะรับมือได้ 46.58% ไม่น่าจะรับมือได้ 29.22% ไม่แน่ใจ 24.20%

6. ประชาชนอยากให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องโรคฝีดาษลิงอย่างไร
อันดับ 1ประกาศ แจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง 81.55%
อันดับ 2แนะนำวิธีการป้องกันดูแลตนเองให้กับประชาชน60.82%
อันดับ 3ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริง ไม่ปิดบัง 59.36%
อันดับ 4มีกระบวนการคัดกรองและกักตัวกลุ่มเสี่ยงที่มาจากต่างประเทศอย่างเข้มงวด58.45%
อันดับ 5มีวัคซีนป้องกันโรค 56.16%
 
 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ