น่ายินดี !! วัคซีนของบริษัท AstraZeneca หลังฉีดเข็มแรก พบภูมิคุ้มกันขึ้นถึง 98% และหลังฉีดครบสองเข็มภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่า 99%

ในขณะเดียวกันรายงานการศึกษาของไทย ก็ได้ตัวเลขใกล้เคียงกันคือ เข็มแรกมีภูมิคุ้มกันขึ้น 96.7%

หลังจากที่ทางบริษัท AstraZeneca ได้มายื่นจดทะเบียนขออนุมัติฉีดวัคซีนในประเทศไทย และได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วนั้น

วัคซีนของ AstraZeneca จำนวนนับล้านเข็ม จะทยอยออกมาฉีดให้กับคนไทยได้ในต้นเดือนมิถุนายนนี้ อย่างน้อย 6,000,000 เข็ม เดือนกรกฎาคมอีก 10,000,000 เข็ม

ข้อมูลอย่างเป็นทางการของการศึกษาวิจัยของบริษัท AstraZeneca พบว่า หลังฉีดวัคซีนไปแล้วเข็มหนึ่ง มีภูมิคุ้มกันขึ้น 98% และเมื่อฉีดเข็มสองจะมีภูมิคุ้มกันขึ้นมากกว่า 99%

ในขณะที่การเก็บข้อมูลเบื้องต้น 61 คน ของศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ ได้ตัวเลขคล้าย กัน กล่าวคือ หลังฉีดเข็มหนึ่งในคนไทยแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันขึ้น 96.7%

ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ซึ่งปกติภูมิคุ้มกันจะสู้คนอายุน้อยกว่าไม่ได้

ในกรณีของวัคซีน AstraZeneca ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วภูมิคุ้มกันขึ้น 97.8% และในเข็มที่สองขึ้นถึง 100%

นอกจากนั้นถ้าดูระดับภูมิต้านทานในกระแสเลือด หลังจากฉีดวัคซีน พบว่า หลังฉีดวัคซีนเข็มหนึ่งแล้ว 28 วัน ระดับภูมิต้านทานขึ้นสูง 8386.46 GMT

แต่ถ้าวัดหลังฉีดเข็มสองไปแล้วแปดสัปดาห์ ระดับภูมิต้านทานขึ้นสูงกว่าสามเท่าตัวเป็น 29,034.74 GMT

และถ้าทิ้งระยะเวลาห่างออกไป 9-11 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะขึ้นสูงถึง 34,754.10 GMT

และถ้าเลยระยะเวลา 12 สัปดาห์ ภูมิต้านทานจะขึ้นถึง 63,181.59 GMT

ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก และสนับสนุนวิธีการฉีดวัคซีนได้แก่

1) วัคซีนของบริษัท AstraZeneca สามารถฉีดในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีได้ และมีระดับการเกิดภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างกับคนอายุน้อยกว่า

2) วัคซีนของ AstraZeneca ถ้าทิ้งช่วงเข็มสองห่างจากเข็มหนึ่งนานกว่า 4 สัปดาห์ เป็น 12 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงกว่าเดิมเกือบแปดเท่า

การที่ประเทศไทยมีวัคซีนของบริษัท AstraZeneca อยู่ใน
โควต้าของเราเอง 61,000,000 โดส จึงเป็นความมั่นคงทางวัคซีนเป็นอย่างมาก

เพราะวัคซีนดังกล่าวผลิตในประเทศไทยเราเอง และมีกำลังการผลิตที่สูงกว่า 61,000,000 โดสกว่าสามเท่าตัว (ซึ่งจะต้องส่งไปช่วยฉีดประเทศที่มีการแพร่ระบาดและมีฐานะยากจนในอาเซียน เช่น อินโดนีเซียเป็นต้น ตามข้อตกลงที่ทางบริษัท AstraZeneca มีกับบริษัทสยามไบโอซายน์)

ถ้าเราตกลงซื้อวัคซีนกับบริษัทอื่น ที่มีฐานการผลิตอยู่นอกประเทศ ก็จะมีความเสี่ยง ที่อาจจะได้วัคซีนช้ากว่ากำหนด หรือได้วัคซีนไม่ครบ

เพราะวัคซีนผลิตอยู่นอกประเทศเรา ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดีย เป็นฐานการผลิตใหญ่ของบริษัท AstraZeneca มีหลายประเทศที่ยากจนในโครงการ COVAX ได้รับโควต้าของวัคซีนที่จะผลิตจากอินเดียไปฉีด

แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับวัคซีนตามที่ตกลงกันไว้ เพราะอินเดียเก็บไว้ฉีดในประเทศตนเอง เนื่องจากมีการระบาดอย่างรุนแรง ภายในประเทศ
Cr:Chalermchai Boonyaleepan

 

 

เอเอฟพี - ผลการศึกษาใหม่ครั้งใหญ่ ได้พิสูจน์ว่าทดลองต่อต้านไวรัส มีประสิทธิผลช่วยปกป้องชีวิตคนไข้ ผู้มีอาการสาหัสจากการติดเชื้อโควิด-19 จากการเปิดเผยของ นพ.แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติของสหรัฐฯในวันพุธ (29 เม.ย.)

นายแพทย์แอนโธนี เฟาซี กล่าวที่ทำเนียบขาว ว่า “ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า remdesivir ส่งผลในทางบวกอย่างชัดเจน และมีนัยสำคัญ ในการลดระยะเวลาของการฟื้นไข้” เขากล่าว “นี่คือ ข้อพิสูจน์ว่ายาสามารถบล็อกไวรัส” พร้อมเปรียบเทียบมันกับการค้นพบวิธีการรักษาโรคเอดส์เมื่อ 4 ทศวรรษก่อน

ก่อนหน้านี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผลการทดลองทางคลินิกในจีน ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า พบว่า ยาทดลองต่อต้านไวรัส “Remdesivir” ของบริษัท Gilead Sciences Inc ล้มเหลวในการช่วยเหลือคนไข้โควิด-19 ที่มีอาการหนัก ในเรื่องนี้ นพ.เฟาซี บอกว่า การทดลองในจีนนั้น “ไม่ได้มีการศึกษาอย่างพอเพียง”

นพ.แอนโธนี เฟาซี ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติของสหรัฐฯ และเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของคณะทำงานเฉพาะกิจรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ บอกว่า Gilead บริษัทยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อยู่ระหว่างพูดคุยกับรัฐบาลในการปล่อยยา Remdesivir ออกมาก่อน เพื่อใช้กับเคสที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

เขาบอกว่า มันมีความหมายกับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เพราะว่าในการศึกษานั้นได้ทดลองกับผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลแล้วเท่านั้น ไม่รวมถึงกลุ่มคนที่มีอาการเล็กๆ น้อยๆ หรือมีอาการในระยะแรกๆ

ในฐานะเคยเป็นหัวขบวนในการค้นหาแนวทางรักษาระหว่างวิกฤตเอชเอวี หรือ โรคเอดส์ ซึ่งเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1980 นพ.เฟาซี บอกว่า ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้เขาย้อนนึกถึงเมื่อครั้งสามารถผ่าทางตันช่วงต้นๆ ระหว่างการแพร่ระบาดของเอดส์

“มันย้อนให้นึกถึงเมื่อ 34 ปี ในปี 1986 ตอนที่เรากำลังดิ้นรนหายารักษาไอชไอวี และเราไม่มีอะไรเลย” เขากล่าว “มันเปิดประตูสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า ตอนนี้เรามีศักยภาพในการรักษาคนไข้แล้ว”

นพ.เฟาซี เน้นย้ำว่า ผลการศึกษาในสหรัฐฯมีความน่าเชื่อถือ ต่างจากเวอร์ชันที่มีจุดอ่อน ในการวิจัยที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่เผยแพร่ในวารสารด้านการแพทย์ The Lancet “มันเป็นการทดลองที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม”

เขาบอกว่า องค์การอาหารและยา จะเริ่มทำให้ remdesivir ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับบุคคลที่มีความจำเป็นจริงๆ แต่การปล่อยสู่ตลาดมวลชนนั้นจำเป็นต้องอนุมัติภายใต้เงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่า

ทรัมป์เรียกผลการศึกษานี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นเหตุการณ์ที่เป็นบวกอย่างมาก

ทั้งนี้ รายงานจากนิวยอร์กไทมส์อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล บอกว่า ทางองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ อาจแถลงตัดสินใจอนุญาตให้ใช้ยา remdesivir ในกรณีฉุกเฉินอย่างเร็วที่สุดในวันพุธ (29 เม.ย.) เลย

ก่อนหน้านี้ ในวันเดียวกัน Gilead Sciences แถลงว่า ทางบริษัทได้รับข้อมูลที่น่าพึงพอใจในการใช้ยา remdesivir ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19

Gilead ระบุว่า ผลการศึกษาการใช้ยา remdesivir ซึ่งทางบริษัทดำเนินการร่วมกับสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ มีผลการรักษาเป็นไปตามเป้าหมายในเบื้องต้น

Gilead ยังเปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนอย่างน้อย 50% ที่ได้รับยา remdesivir เป็นเวลา 5 วัน มีอาการดีขึ้น และผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 50% ที่ได้รับยา remdesivir สามารถออกจากโรงพยาบาลภายในเวลา 2 สัปดาห์
 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://news1live.com/

เนื้อหาต้นฉบับ https://news1live.com/detail/9630000045118

5 ก.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 358,062 คน ตายเพิ่ม 859 คน รวมแล้วติดไป 610,172,672 คน เสียชีวิตรวม 6,503,423 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย ไต้หวัน และอิตาลี เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.12 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.16

…สถานการณ์ระบาดของไทย

 
 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 6 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…Long COVID ในไทย

จากเริ่มระบาด (สายพันธุ์ดั้งเดิม) ต้นปี 2563 มาระลอกสอง (D614G) ปลายปี 2563 สู่ระลอกสาม (อัลฟ่าและเดลต้า) ตั้งแต่กลางปีก่อน เข้าสู่ระลอกสี่ (Omicron BA.1/BA.2) ต้นปีนี้ และห้า (Omicron BA.5) มีคนที่ติดเชื้อจำนวนมากหลายล้านคน ตัวเลขทางการจาก RT-PCR ในระบบ 4,658,542 คน แต่หากรวม ATK และที่ตรวจเองและไม่รายงาน อาจพุ่งไปสูงถึง 10 ล้านคนหรือมากกว่า

มีทั้งที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย และอาการรุนแรง สัดส่วนของคนที่มีโอกาสประสบปัญหา Long COVID จากงานวิจัยทั่วโลกมีตั้งแต่ 5%-30%

ดังนั้นจำนวนคนที่ประสบปัญหา Long COVID จึงอาจมีจำนวนมากหลายแสนคนถึงหลักล้านคนได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน ค่าใช้จ่าย และความต้องการระบบสนับสนุนทางสังคม

ทั้งนี้ Long COVID เป็นภาวะที่อาจเกิดอาการผิดปกติทั้งทางกายและจิตใจ/อารมณ์ โดยเป็นกลุ่มอาการที่มีความหลากหลายมาก คนที่ประสบปัญหานั้นอาจไม่รู้ว่าตกอยู่ในภาวะดังกล่าว แม้จะกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น กว่าจะเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาก็อาจปล่อยไว้อยู่นาน

 
 

ช่วง BA.5 ขาลงนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่หน่วยงานต่างๆ จะรณรงค์เรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดโอกาสปะทุซ้ำเมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในอนาคต และการให้ความรู้ประชาชนในการประเมินสุขภาพของตนเอง สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นและสัมพันธ์กับภาวะ Long COVID เพื่อที่จะเข้ารับคำปรึกษา รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที และสามารถทำให้เกิดระบบติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้การสนับสนุนด้านการงาน สวัสดิการที่จำเป็น ให้ใช้ชีวิตไปได้โดยไม่สะดุด

ต่างประเทศที่มีการติดเชื้อมาก ปัญหา Long COVID ส่งผลชัดเจนต่อเรื่องคุณภาพชีวิต สมรรถนะการดำรงชีวิต และการทำงาน เกิดปัญหาการขาดแรงงานในระบบ รวมถึงการที่ผู้ป่วย Long COVID ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง ถูกให้ออกจากงาน เพราะเจ็บป่วย ลางานบ่อย ขาดงาน ฯลฯ จนนำมาสู่การเรียกร้องให้มีการพิจารณากฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ป่วย Long COVID ด้วย

ปัญหา Long COVID จึงจัดเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพส่วนบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ วางแผนจัดการแบบบูรณาการ

Long COVID เปรียบเหมือนสึนามิหลังเกิดการระบาดใหญ่หลายระลอกในช่วงที่ผ่านมา การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อไปได้มากครับ.

ข้อมูลจาก https://www.bpl.co.th/pweb/administrator/index.php?option=com_content&view=article&layout=edit

ได้มีโอกาสซักถามกับ อาจารย์ทวีในประเด็นนี้อย่างละเอียด จึงได้รับทราบของที่มาที่ไปของการเปลี่ยนจำนวนวันในการกักตัวดังต่อไปนี้นะคะ

จากหลักฐานงานวิจัย ดังรูป ที่เปรียบเทียบ ระยะเวลาของการพบเชื้อจะเห็นว่าเส้นสีแดงพบว่าเชื้อ b117 สามารถแพร่กระจายได้ตั้งแต่วันก่อนมามีอาการ ได้นานกว่าสายพันธุ์เดิม และแพร่กระจายได้หลังวันที่มีอาการได้นานกว่าเกินกว่า 10 วัน

นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาด้านการเพาะเชื้อของอาจารย์โอภาสที่ศูนย์โรคอุบัติใหม่คลินิกของจุฬาลงกรณ์ พบว่าสายพันธุ์ B 117 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญถึงประมาณ 90% ของคนในกรุงเทพฯและประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของทั่วประเทศ ยังสามารถเพาะเชื้อขึ้นได้ที่วันที่ 10

ดังนั้นจึงไม่สามารถให้อยู่โรงพยาบาลแค่ 10 วัน เหมือนใน CPG เดิมก่อน 17 เมษายน (ที่มีงานวิจัยพบว่าเพาะเชื้อขึ้นอยู่ได้ถึงแค่ 8 วัน) จึงเป็นเหตุให้ต้องขยายมาเป็น 14 วัน ตอนนี้อาจารย์กำลังเก็บข้อมูลดูว่าหลังวันที่ 10 ไปแล้วจะยังเพราะเชื่อขึ้นได้อยู่อีกถึงวันที่เท่าไหร่ และกำลังอยู่ในช่วงที่รอดูข้อมูลอยู่ จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนแนวทางที่ เคยให้อยู่โรงพยาบาลแค่ 10 วันต้องกลับมาเป็น 14 วัน

แต่ต่อมาสถานการณ์พบว่า ปัญหาว่าเตียงไม่พอ โรงพยาบาลเองก็ไม่สามารถที่จะให้ผู้ป่วยอยู่นานจนถึง 14-28 วัน ก็เลยจำเป็นต้องขอลดไป 10 วันใหม่ ไม่งั้นจะไม่สามารถให้การดูแลคนไข้ที่ติดค้างอยู่ได้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเคสใหม่จากการที่แพร่กระจายได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ จึงแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้น แต่ความจริงหมายความว่าให้กักตัวในบ้านต่ออีกประมาณ 14 วัน

แต่ในเอกสารที่ท่านอธิบดีเปลี่ยนมาใช้คำว่าพักฟื้น เพราะเสียงต่อประเด็นปัญหาทางสังคมเพราะถ้าใช้คำว่ากักตัวที่บ้านอาจจะถูก discriminate ที่รุนแรงจากในชุมชนได้

จึงเป็นที่มาที่ไปของการปรับเปลี่ยน guideline ที่ทำให้เราสับสนกันคะ

1.เพื่อป้องกันการแพ้ถั่วลิสง(Peanut allergies) จะต้องไม่ให้เด็กกินถั่วช่วงอายุ 3 ปีแรก

                - รายงานทางวิทยาศาสตร์พบว่าแม้เด็กที่ให้กินถั่วก่อนอายุ 1 ปี ก็ไม่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ถั่วแต่อย่างไร

2.น้ำมันปลา (Fish oil) มี โอเมการ์ 3 ถ้ากินประจำจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

                - รายงานวิจัย พบว่าการได้รับโอเมการ์ 3 ทุกวันไม่ช่วยป้องกันโรคหัวใจแต่อย่างใด

3.มีคำแนะนำว่าถ้ามีเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ จะต้องดำเนินการกำจัดไรฝุ่น หนู และแมลงสาบในบ้านให้หมด เพื่อลดการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้

                - รายงานการวิจัยพบว่าการกำจัดสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ช่วยลดการเกิดอาการของโรคภูมิแพ้แต่อย่างใด

4.มีคำแนะนำว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเข่าเสื่อมเนื่องจากความฉีกขาดของกระดูกอ่อน (Osteoarthritis) ต้องได้รับการผ่าตัดเข่าอาการเจ็บปวดจึงจะหาย

                - การวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและโดยการผ่าตัดอาการเจ็บปวดจะทุเลาได้ในอัตราใกล้เคียงกัน

5.มีคำแนะนำว่าผู้สูงวัยระยะอายุกลางคนขึ้นไปถ้าได้รับการรักษาด้วย ฮอร์โมน Testosterone จะช่วยให้อาการเสียความจำจะดีขึ้น

                - ผลการวิจัยพบว่า ฮอร์โมน Testosterone ไม่มีผลในการเพิ่มความจำแต่อย่างใด

6.มีคำแนะนำว่าการกิน แปะก๊วย (Ginkgo) ประจำจะช่วยรักษาความจำให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในผู้สูงวัย

                - รายงานผลการวิจัยพบว่า การกินแปะก๊วยเป็นประจำไม่ได้ช่วยให้ความจำดีขึ้นแต่อย่างใด

 

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ