ท่ามกลางการแข่งขันในการพัฒนาวัคซีนเพื่อรักษาโรคโควิด-19 เพราะหากประเทศใดเป็นผู้ผลิตวัคซีนที่ใช้งานได้ดีก่อนคนอื่น ก็จะได้เป็นเจ้าของ “อาวุธ” สำคัญยิ่งในการสร้างอำนาจและบารมีทางการเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ แต่วัคซีนใดบ้างจะเป็นตัวเก็งในครั้งนี้
ไม่ว่าสังคมใดมีความสามารถยอดเยี่ยมเพียงใดในการระแวดระวังป้องกันและรักษาพยาบาลโรคโควิด-19 จนเรียกได้ว่าควบคุมอยู่มือ แต่นั่นก็เป็นเพียงการชนะศึก (win battles) เท่านั้น ชัยชนะอย่างแท้จริงคือชนะสงคราม (win the war) นั้นยังไม่เกิด ถ้าจะเกิดก็ต้องมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพออกมา ข่าวดีล่าสุด ก็คือ ณ 15 เม.ย.2563 ทั้งโลกมีจำนวนวัคซีนที่อาสาปราบสงครามนี้อยู่ถึง 86 ตัว!
ข้อมูลส่วนใหญ่สำหรับเขียนวันนี้มาจากนิตยสาร The Economist ฉบับล่าสุด (18-2 April 2020) นิตยสารรายอาทิตย์ระดับโลกของอังกฤษที่ได้รับความเชื่อถืออย่างยิ่ง 176 ปี ครอบคลุมทุกเรื่องโดยเฉพาะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ พิมพ์อาทิตย์ละ 9 แสนฉบับ และยังมีอยู่ในรูป digital ให้กับสมาชิกอีก 1.6 ล้านราย
ขณะนี้วัคซีนทั้ง 86 ตัว อยู่ในขึ้นทดลองที่แตกต่างกัน กำลังแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพราะประเทศใดเป็นผู้ผลิตวัคซีนที่ใช้งานได้ดีก่อนคนอื่น โดยมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันได้สูง ผลิตได้ง่ายเร็ว ถูก และปลอดภัย ก็จะได้เป็นเจ้าของ “อาวุธ” สำคัญยิ่งในการสร้างอำนาจและบารมีทางการเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ สร้างอำนาจทางการทูตและเกิดอำนาจต่อรองที่สำคัญ และประการสำคัญที่สุดจะได้รับความชื่นชมจากทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง
ไวรัสที่ทำให้ชาวโลกลำบากมีชื่อว่า SARS-CoV-2 (อยู่ในตระกูล Corona และเป็นพี่น้องกับไวรัส SARS -CoV ที่ทำให้เกิดโรค SARS) ก่อให้เกิดโรค Covid-19 (มาจาก Coronavirus disease ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2019
ข่าวดีก็คือ วัคซีนตัวเก็งมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 6 ตัว และอาจได้มากกว่า 1 ตัวก่อนสิ้นเดือน ส.ค.ปีนี้ ซึ่งจะยืนยันได้ว่าเป็น practical vaccine กล่าวคือมีลักษณะดังที่ได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ดี ถึงมีข่าวดีแต่ก็มีข่าวร้าย Melinda Gatesแห่งGates Foundation ซึ่งทำงานการกุศล ด้านสาธารณสุขที่ได้เกี่ยวพันกับหลายวัคซีนในระดับโลก ระบุว่า กว่าจะพร้อมฉีดให้แก่ชาวโลกได้อย่างจริงจังนั้น อาจใช้เวลาถึง 18 เดือนนับจากปัจจุบัน
แม้จะบอกได้ว่า ตัวใดเป็น practical vaccine(s) แล้ว เหตุใดต้องใช้เวลาอีกกว่า 1 ปี จึงจะถึงมือชาวโลก เร่งให้เร็วกว่านี้ไม่ได้หรือ? วัคซีน “ตัวเก็ง” จะเป็นของชาติใด และมีวิธีการผลิตแบบใด?
หัวใจของทุกวัคซีนคือ antigens เพราะเป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นร่างกายให้เกิด antibodies และการตอบสนองอื่นๆ ที่สร้างภูมิคุ้มกัน ในกรณีนี้ เมื่อ SARS-Cov-2 เจาะเข้าไปในร่างกายได้วัคซีนซึ่งได้ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคนี้ไว้แล้ว (ผ่านกระบวนการทางชีววิทยา หลังจากฉีดวัคซีนก่อนหน้า) ก็จะปราบเชื้อไวรัสนี้ได้อยู่หมัด ตนเองไม่ป่วยและก็ไม่เป็นพาหะให้เชื้อโรคกระจายไปถึงคนที่ไม่ได้ฉีดด้วย ด้วยวิธีการนี้จึงจะสามารถเอา “ชนะสงคราม” ได้ ด้วยเส้นทางที่เคยต่อสู้โรคระบาดอื่นๆ มามากมายในอดีต
การสร้างวัคซีนแบบดั้งเดิมมี 3 วิธี คือ (1) ใช้บางสายพันธุ์ของตัวเชื้อหรือที่ใกล้เคียงซึ่งง่อยเปลี้ยเสียขาแล้วจนทำให้ป่วยไม่ได้เข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคนี้เช่นวัคซีน โรคหัดคางทูมหัดเยอรมัน (2) ใช้เชื้อตัวนี้ที่หมดฤทธิ์แล้วเข้าไปสร้างภูมิคุ้มกันเช่นวัคซีนโปลิโอและวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หลายสายพันธุ์ (3) ใช้antigenที่เกี่ยวพันกับโรคนี้เช่นเอาเลือดของคนที่เคยเป็นโรคนี้มาสกัดเป็นวัคซีนเช่นโรคตับอักเสบB
เมื่อได้วัคซีนตัว “เผด็จศึก” มาแล้วก็ต้องทดลองกับสัตว์ (เรียกว่าขั้น พรีคลีนิก) เช่น หนู ลิง ฯลฯ และเมื่อมั่นใจว่าจะใช้กับคนได้เช่นกันแล้ว ก็จะลงมือผลิตวัคซีนเพื่อผ่านไปทดลองกับมนุษย์ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน กล่าวคือขั้นตอนที่หนึ่งเพื่อมั่นใจว่าปลอดภัย ขั้นตอนที่สองเพื่อมั่นใจว่ากระตุ้นภูมิต้านทานได้จริงและขั้นตอนสุดท้าย คือมีefficacyคือให้ผลในการป้องกันโรคได้จริง
การคิดค้นได้วัคซีนมาเป็นต้นแบบ (prototype) ก็ว่ายากแล้ว แต่การพิสูจน์ว่าได้ผลจริงนั้นยิ่งยากกว่า ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับอนุญาต (มีองค์การต่างๆทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และ WHO อาจเป็นผู้ดูแล) วัคซีนป้องกันโรค Ebola ซึ่งร้ายแรงมากสุดขนาดเร่งกันเต็มที่แล้ว ทั้ง 3 ขั้นตอนก็ใช้เวลาถึง 10 เดือนก่อนจะไปถึงการผลิตอย่างเป็นกอบเป็นกำ
วัคซีนโควิดทั้ง 86 ตัว อยู่ในขั้นการทดลองที่แตกต่างกัน บ้างยังอยู่ในขั้นทดลองกับสัตว์ ขณะนี้มีอยู่ 3 ตัวที่ก้าวหน้าสุดจนถือได้ว่าเป็นตัวเก็ง วัคซีนต้นแบบที่มีความก้าวหน้าสำคัญสุดอยู่ในขั้นที่สองคือ ของ CanSino Biological and Beijing Institute of Biotechnology ซึ่งเป็นของจีน
ต้นแบบตัวที่ 2 ยังอยู่ในขั้นทดลองที่ 1 ก้าวหน้าใกล้เคียงกันจาก Moderna (อเมริกา) / Inovio Pharmaceuticals (อเมริกา) / และ Oxford University
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878280
อะไรเอ่ยร้ายกว่า COVID-19? คำถามนี้ผุดขึ้นมาหลังจากนั่งตรวจคนไข้หลายคน ในช่วงหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา
ทั้งที่หมอเองเป็นจิตแพทย์ ไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับโรคระบบทางเดินหายใจอย่างเจ้า COVID – 19
แต่ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมากลับมีคนไข้มาขอเข้ารับคำปรึกษามากขึ้น เพราะรู้สึกว่าเริ่มควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองเรื่องไวรัส COVID -19 ไม่ได้
บางคนเริ่มมีอาการที่เรียกว่า panic attack (ภาวะตื่นตระหนก) บางคนเคยหายจาก panic disorder (โรคตื่นตระหนก) หลายปี ก็เริ่มกลับมามีอาการแพนิกใหม่
หมอเลยได้คำตอบว่า ที่ร้ายกว่าเชื้อไวรัส COVID – 19 คือภาวะแพนิกเรื่องไวรัสนี่เอง
สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้จักคำว่าภาวะแพนิก ขอแนะนำให้รู้จักเบื้องต้นก่อนว่า ภาวะแพนิกเป็นกลุ่มอาการที่ระบบประสาทอัตโนมัติสั่งการผิดปกติโดยเฉียบพลัน จึงทำให้มีอาการอย่างเช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว หายใจไม่อิ่ม มวนท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลมเป็นต้น ที่สำคัญอาการดังกล่าวทำให้มีความคิดว่าตัวเองเหมือนจะตาย ไปตรวจร่างกายที่ไหนก็ไม่พบสาเหตุ
ซึ่งโรคแพนิกเป็นความผิดปกติในกลุ่มของความวิตกกังวล ที่มักจะเริ่มต้นจากการเก็บสะสมความเครียด จิตตก จนนำไปสู่ภาวะตื่นตระหนกจนสุดท้ายกลายเป็นโรคตื่นตระหนก (panic disorder)
ยกตัวอย่างหญิงสาววัยกลางคนรายหนึ่ง มาด้วยรู้สึกวิตกกังวลมากเกินกว่าปกติเรื่องไวรัส และมีภาวะแพนิกเกือบทุกวันจนรู้สึกรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตมา 1 เดือน จากประวัติเดิม เธอเคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิกเมื่อ 4 ปีก่อน แล้วก็รักษาหายขาดมาแล้วยาวนานมากกว่า 2 ปี จนกระทั่งเมื่อ 1 เดือนก่อนหลังจากมีข่าวการระบาดหนักของไวรัสจึงเริ่มกลับมามีอาการ และรู้สึกทรมานกับอาการที่เป็นมาก
หมอ : อาการแพนิกมักเป็นช่วงเวลาไหนคะ
หญิงสาว : ช่วงกลางวันค่ะแต่เวลาไม่ชัดเจน ตอนมีอาการอยู่จะมีความคิดเรื่องกลัวติดเชื้อไวรัสขึ้นมา หลายครั้งรู้ว่ามันเกินไปแต่หยุดความคิดไม่ได้
หมอ : ลองเล่าวิถีชีวิตประจำวันช่วงนี้ให้ฟังทีค่ะ ตื่นเช้ามาแล้วเราทำอะไรบ้าง
หญิงสาว : ตื่นมาก็อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันปกติ
หมอ : มีอะไรที่เราทำก่อนลุกไปล้างหน้าแปรงฟันไหม
หญิงสาว : อ้อ! ตื่นแล้วหยิบมือถือที่หัวเตียงมาเล่นโซเชียลค่ะ แล้วช่วงนี้ก็มีแต่ข่าวไวรัสเต็มไปหมดจนไม่รู้อันไหนจริง อันไหนไม่จริง
สีหน้าแววตาของหญิงสาวบ่งบอกว่า เธอเข้าใจแล้วว่าอาการของแพนิกที่กลับมาในครั้งนี้เกิดจากสาเหตุอะไร
คราวนี้จะขอเปรียบเทียบข้อมูลของเจ้าไวรัส COVID – 19 กับข้อมูลของโรคตื่นตระหนก (panic disorder) ที่อาจเกิดขึ้นหากเราไม่เริ่มหันมาดูแลจิตใจตัวเองในสภาวะวิกฤต
1.ลักษณะการติดต่อ
เชื้อไวรัส COVID – 19 : (78 – 85%) ติดต่อจากละอองเสมหะ (droplet) จากคนที่ป่วย แต่ไม่ติดจากละอองฝอยในอากาศ (aerosol)
โรคตื่นตระหนก : เกิดได้เองอย่างกะทันหันด้วยตัวเราเอง ไม่ได้มีคนอื่นนำมาติด
2.อาการที่แสดงออกของโรค
เชื้อไวรัส COVID – 19 : ไข้ (88 %) ไอแห้ง (68%) ไม่มีแรง (38%) ไอมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) หนาวสั่น (11%)
โรคตื่นตระหนก : หัวใจเต้นเร็ว บางรายรู้สึกว่ามีอาการใจสั่นอย่างรุนแรง,รู้สึกหายใจไม่อิ่มเหมือนหายใจไม่เข้าปอด,วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม,รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้,รู้สึกเหมือนตัวเองจะตาย ไม่ได้มีเปอร์เซ็นต์แน่นอน แต่มักมีหลายอาการในเวลาเดียวกัน
3. ความรุนแรงของอาการ
เชื้อไวรัส COVID – 19 : 80% มีอาการไม่หนัก
โรคตื่นตระหนก : 100% คิดว่าตัวเองมีอาการหนัก
4. ระยะเวลาเกิดอาการ
เชื้อไวรัส COVID – 19 : คนที่ได้รับเชื้อมักแสดงอาการใน 2-3 วัน โดยอาการค่อยๆ แสดงออก
โรคตื่นตระหนก : มีอาการฉับพลันแบบไม่ทันตั้งตัว
5.อัตราการเสียชีวิต
เชื้อไวรัส COVID – 19 : คนสุขภาพดีไม่มีโรคประจำตัวอัตราการตายอยู่ที่ 1.4%
โรคตื่นตระหนก : อัตราการตาย 0% (แต่ตอนมีอาการมักคิดว่าตัวเองเหมือนจะตาย)
ดังนั้นหากเปรียบไปแล้วแม้ว่าในวันนี้เรายังไม่ได้ติดเชื้อไวรัส COVID – 19 แต่ถ้าหากปล่อยให้ตัวเองหมกมุ่นกับข้อมูลข่าวสารทั้งจริงและไม่จริงจนเกินไปแล้วเกิดภาวะแพนิก ก็ไม่ต่างอะไรกับการติดเชื้อไวรัสทางอารมณ์
ทรมานทั้งกายและใจ
แล้วเราควรดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อเริ่มรู้ว่ากำลังเก็บสะสมความเครียด หรือเริ่มมีความตระหนกกับเรื่องไวรัส
- ลดการรับข้อมูลที่เป็นพิษทางอารมณ์และความคิด ด้วยการจำกัดแหล่งข่าวที่จะรับให้น้อยและแม่นยำที่สุด เช่น องค์การอนามัยโรค,โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์,กรมควบคุมโรค โดยเช็คจากฐานข้อมูลโดยตรงแทนการอ่านจากข้อมูลที่ส่งต่อทางโซเชียล
- รับข้อมูลในช่วงเวลาที่ได้ทำหน้าที่สำคัญต่างๆ ของแต่ละวันเสร็จสิ้นแล้ว
- ไม่นำมือถือเข้าห้องนอน หรือไว้หัวเตียงเพื่อไม่ให้หยิบมาเล่นก่อนนอน หรือทันทีที่ตื่น
- เมื่อมีความคิดฟุ้งซ่านเรื่องไวรัส ให้รับรู้แล้วเปลี่ยนไปเป็นการปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพตัวเอง เช่น ล้างมือ กินร้อน ช้อนกลาง ออกกำลังกาย
- เมื่อมีอาการแพนิก ให้หายใจเข้าสั้นออกยาวแล้วบอกตัวเองว่า “ไม่เป็นอะไร”
- มีช่วงเวลาผ่อนคลายร่างกายและอารมณ์เป็นประจำสม่ำเสมอ
วันนี้เชื้อไวรัส COVID – 19 ยังไม่ได้บุกมาทำร้ายเรา แต่ความตระหนกเรื่องไวรัสอาจกำลังทำร้ายเรา
กลับมาดูแลภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจ ให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้พร้อมกันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://today.line.me
เนื้อหาต้นฉบับ https://today.line.me/TH/pc/article/g2YlXa?utm_source=lineshare
*SHOCKING*⤵️
Japan's professor of Physiology or Medicine, Professor Dr Tasuku Honjo, created a sensation in front of the media today by saying that the corona virus is not natural. if it is natural, it wudn’t hv adversely affected entire world like this. bcoz, as per nature, Temperature is different in different countries. if it is natural, it wud’ve adversely affected only those countries hvg same temperature as China. instead, It is spreading in a country like Switzerland, in the same way it is spreading in the desert areas. whereas if it were natural, it would hv spread in cold places, but died in hot places. I have done 40 years of research on animals and viruses. It is not natural. It is manufactured and the virus is completely artificial. I have come to the conclusion that since USA has all the 5 strains mutating at the same time, and there are millions of infections with some around still not tested, it is obvious, that the the huge number of death lends credibility to the CDC of America 's wrong classification of corona virus death in July to December 2019 to Flu diseases. Also a reported leak and closure of Fort Detrick ,and strange Coronavirus death spreading in Italy and Iran in November, even before the Wuhan outbreak , lend credibility to the early outbreak from America. I can now say with confidence USA is the source of the original outbreak. 👆🏾
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Tasuku_Honjo
COVID-19
กรุงเทพ พยาธิ-แลป (BPL) เป็นศูนย์บริการการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (ISO 15189, ISO 15190, ISO 27001) ก่อตั้งมานานกว่า 40 ปี ตระหนักว่าโรคจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 จะคงอยู่กับเราอีกนานหลายปี แม้ว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว
ข้อมูลปัจจุบันพบว่าอัตราผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยไม่มีอาการของโรค (asymptomatic) เฉลี่ยประมาณ 20-40% แต่ในหลายกรณี เช่นเรือ Diamon Princess ที่ญี่ปุ่น, ประเทศอิตาลี ประเทศไอซ์แลนด์ รวมทั้งการระบาดในเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส มีอัตราผู้ไม่มีอาการของโรคสูงถึง 40-50% เนื่องจากผู้ติดเชื้อเหล่านี้ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมากำจัดไวรัสออกไปได้ โดยที่ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมานี้จะคงอยู่ และป้องกันการติดเชื้อได้อีกเป็นระยะเวลานาน หรืออาจจะตลอดไป ยกเว้นกรณีไวรัสมีการกลายพันธุ์ และยังมีข้อมูลว่าผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการของโรคเหล่านี้ยังสามารถเป็นพาหะแพร่กระจายไวรัสไปสู่ผู้อื่นได้ ถ้าโรคยังไม่หายขาด (B.S. Kamps and C.Hoffmann ; COVID Reference 2020.1)
การตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือด จึงเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ต้องการดูแลสุขภาพของตนเอง และป้องกันการแพร่กระจายไวรัสไปสู่ผู้ใกล้ชิด กรุงเทพ พยาธิ-แลป จึงได้นำชุดทดสอบ เพื่อการวิเคราะห์ภูมิคุ้มกันต่อไวรัส COVID-19 ที่ผ่านการรับรองคุณภาพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มาให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ชุดทดสอบนี้สามารถทำการทดสอบได้สะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง และราคาประหยัดกว่าวิธีตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยวิธี RT-PCR ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะเริ่มให้บริการตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
ท่านที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์
0 2619 2909 ต่อ 2012 - 2015
หรือ 095 497 1724
E-Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง มาจากทั้งภายในร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องของพันธุกรรม และจากภายนอกร่างกาย จากวิถีการดำเนินชีวิตและมลพิษที่อยู่รอบตัวในอากาศและในน้ำเป็นต้น
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุด มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปีละ 8 หมื่นคน และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 150,000 คน ข้อมูลทางสถิติพบว่า คนไทยที่อายุถึง 75 ปี จะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง 1 ใน 7 คน ถ้าแยกตามเพศจะพบว่าเพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 ใน 6 คน และเพศหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 ใน 8 คน
โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทยตามลำดับคือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ทวารหนัก อัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด 92-95% ได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด 80-90% มะเร็งปากมดลูก 60% มะเร็งลำไส้ 65-60% มะเร็งเต้านม 30-35% มะเร็งเต้านมถ้ามีการรักษาที่ดีจะมีโอกาสหายขาดได้มาก ปกติทุกคนมียีนก่อมะเร็งซ่อนอยู่ในตัว การเกิดโรคมะเร็งมีสาเหตุจากการที่ยีนก่อมะเร็งถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยภายนอกให้ออกมาทำงานซึ่งปัจจัยภายนอกนั้นอาจมาจากหลายอย่าง เช่น อาหาร น้ำ อากาศ และการดำเนินชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงต่างๆ
การรักษาโรคมะเร็ง วิธีหลักๆในปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง ได้แก่ การผ่าตัด การให้เคมีบำบัดและการฉายแสง แต่วิธีดังกล่าวนี้ให้ผลดีเฉพาะโรคมะเร็งระยะแรกเท่านั้น และนอกจากวิธีดังกล่าวไม่มีความจำเพาะในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ทำให้เกิดผลข้างเคียงมาก แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของการรักษาแบบใหม่ โดยใช้แอนติบอดี้ที่มีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง มีการพัฒนาก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง น่าจะเป็นความหวังในการรักษาโรคมะเร็งที่ได้ผลดีในอนาคตอันใกล้
น้ำตาลกลูโคส (glucose) และน้ำตาลฟลุกโตส (fructose) เป็นผลผลิตมาจากน้ำตาล sucrose หรือ น้ำตาลทราย ที่ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากอ้อย น้ำตาลทั้ง 2 ชนิด แม้ว่าจะมีความจำเป็นต่อชีวิต แต่ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน
น้ำตาลกลูโคสเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตจะเข้าสู่เซลล์และถูกนำไปใช้เป็นพลังงานทุกประเภทของร่างกาย ปริมาณของน้ำตาลกลูโคสในร่างกายถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ซึ่งผลิตโดยตับอ่อน (pancreas) ถ้าตับอ่อนผลิต ฮอร์โมนอินซูลิน ไม่เพียงพอ มีปริมาณน้ำตาลค้างอยู่ในเลือดสูง ก็จะทำให้เกิดโรคเบาหวาน (diabetic) ซึ่งถ้าเป็นเรื้อรังจะส่งผลให้เกิดโรคข้างเคียงอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต และตาบอดเป็นต้น
น้ำตาลฟลุกโตส เป็นน้ำตาลที่มีปริมาณสูงในพืชบางชนิด เช่น น้ำเชื่อมที่ผลิตจากข้าวโพด (corn syrup) เราเคยคิดว่าน้ำตาลฟลุกโตสมีอันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำตาลกลูโคส แต่ความจริงแล้วน้ำตาลฟลุกโตสก็มีอันตรายต่อสุขภาพมากด้วยเช่นกัน น้ำตาลฟลุกโตสเมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต จะเข้าสู่ตับถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน (glycogen) ทำให้เกิดอาการของโรคไขมันพอกตับและโรคหัวใจ นอกจากนั้น น้ำตาลฟลุกโตสจะไปยับยั้งการสร้างสารกระตุ้นความอิ่ม (leptin) ทำให้กินอาหารมากเกินพอดี โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟลุกโตสสูง หรืออาหารที่กระตุ้นความอยาก เช่น คุ๊กกี้ ไอศกรีม ท็อฟฟี่ และอาหารหวานอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมเช่นกัน
ไมโครพลาสติก คือ ชิ้นส่วนขนาดเล็กของพลาสติก ที่มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร ไปจนถึง นาโนเมตร หรือ พิโคเมตรหรือเล็กเท่ากับขนาดของ แบคทีเรียหรือไวรัส
ไมโครพลาสติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
(1) เป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ผลิตขึ้นตามวัตถุประสงค์ เช่น พลาสติกที่ผสมอยู่ใน โฟมล้างหน้า เครื่องสำอาง ครีมขัดผิว รวมทั้งยาสีฟัน
(2) พลาสติกที่มีขนาดใหญ่แตกหักหรือผุกร่อนจนกลายเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งหมายรวมทั้งพลาสติกที่ย่อยสลายได้ก็รวมอยู่ในพลาสติกชนิดนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เฉพาะเมื่ออยู่บนบก แต่เมื่อลงไปในทะเลจะไม่มีแบคทีเลียคอยช่วยย่อยสลายเนื่องจากน้ำทะเลมีอุณหภูมิต่ำกว่าบนบก
ไมโครพลาสติกใหลายชนิดทั้งที่มีอันตรายมากและน้อยมีต้นกำเนิดจากพลาสติกที่ผลิตเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติกใส่อาหารทั้งร้อนและเย็น ประกอบด้วยสารโพลีพรอพีลีน ขวดน้ำดื่มประกอบด้วยสารพอลิเอทิลีน เทเรฟธาเรต และ ฟิล์มห่ออาหาร ผลิตจาก โพลี่ไวนิลคลอไรด์ (PVC)
ปัจจุบัน ไมโครพลาสติกแพร่กระจายอยู่ในทะเล และมหาสมุทรทั่วโลก และสะสมอยู่ในสัตว์น้ำเกือบทุกชนิด ดังนั้นไมโครพลาสติกเหล่านี้จึงเข้าสู่คนโดยการกินอาหารทะเล แม้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ แต่ไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กเท่าแบคทีเรีย หรือ ไวรัส อาจแทรกเข้าไปในเส้นเลือด นำไปสู่อวัยวะต่างๆ เช่นเข้าไปฝังอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งไมโครพลาสติกอาจเข้าไปสะสมอยู่ในระบบหมุมเวียนโลหิต ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น อาจพูดได้ว่า ไมโครพลาสติกเป็นอันตรายเงียบ ที่เราต้องตระหนักและหาทางป้องกันโดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้มีการทิ้งขยะพลาสติกลงไปในทะเล
อาการหลงๆลืมๆอาจเกิดได้กับคนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงวัย แต่ถ้าอาการหลงๆลืมๆ มีสาเหตุจากภาวะสมองเสื่อม (dementia) ถือว่าเป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่มีผลจากการทำงานของสมองผิดไป โดยมีลักษณะอาการหลักได้แก่ ความจำที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด มีภาวะเสื่อมถอยของทักษะต่างๆ จนเป็นปัญหาต่อชีวิตประจำวัน
ภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดจากสาเหตุหลากหลายแต่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ชนิดที่รักษาได้ มีประมาณ 20% และชนิดที่ต้องรักษาแบบประคับประคองประมาณ 80% ภาวะสมองเสื่อมที่อาจรักษาได้ เช่นการขาดวิตามิน B12 เนื้องอกในสมอง โรคต่อมไทรอยด์ รวมทั้งผลจากการใช้ยาบางชนิด แต่ภาวะสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาดได้แก่โรคอัลไซเมอร์ (alzheimer)
โรคอัลไซเมอร์ โดยทั่วไปมักเกิดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจเกิดได้ตั้งแต่อายุยังน้อย สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า อะไมลอยด์ (beta amyloid) เข้าไปจับกับเซลล์สมองทำให้สมองฝ่อและเสื่อมลงทีละน้อย จนกระทบกับความจำและการเรียนรู้ต่างๆ โรคอัลไซเมอร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ผู้ป่วยมีความจำลดลง อารมณ์เสียง่าย เครียด ซึมเศร้าจนสามารถสังเกตได้
ระยะที่ 2 ผู้ป่วยมีความจำลดลงมาก จำคนในครอบครัวไม่ได้ จำชื่อตัวเองไม่ได้ มีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง
ระยะที่ 3 ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง กินอาหารน้อยลง สุขภาพทรุดโทรม ไม่เคลื่อนไหวร่างกายหรือเคลื่อนไหวน้อยลง
หน้าที่ 2 จาก 9