เนื้อปลาแซลมอน เป็นอาหารยอดนิยมในประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยเฉพาะในอาหารญี่ปุ่น ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของปลาสด เนื้อปลารมควัน หรือเนื้อปลาย่าง ปลาแซลมอน ซึ่งเคยมีราคาแพงมาก ปัจจุบันราคาต่ำกว่า เนื้อปลาบางชนิดในทะเลไทยเนื่องจากปลาแซลมอน ที่นำเข้ามาเกือบทั้งหมดมาจากฟาร์มเลี้ยงปลา ที่ใหญ่มากในประเทศยุโรป โดยเฉพาะประเทศนอร์เวย์ ทำให้มีราคาถูกมาก ขณะที่ปลาแซลมอนที่จับได้จากธรรมชาติจะมีราคาแพงมาก ความนิยมกินปลาแซลมอนมาจากข้อมูลที่ว่า ปลาแซลมอนมีกรดไขมัน โอเมกา-3 สูง มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีรายงานพบว่าเนื้อปลาแซลมอนเป็นหนึ่งในเนื้อสัตว์ที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุดเนื่องจากฟาร์มมีการเลี้ยงอย่างแออัด ทำให้ต้องใส่สารเคมีและยาปฏิชีวนะลงในบ่อปริมาณมาก เพื่อกำจัดปรสิตและแบคทีเรียหลายชนิด มีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนที่ขายในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีสาร polychlorinated biphenyls (PCB) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งขณะที่เนื้อปลาแซลมอนในธรรมชาติที่มีสีชมพูเนื่องจาก ปลากินกุ้งตัวเล็กๆและสาหร่ายทะเล แต่ปลาแซลมอนจากฟาร์มกินอาหารที่ให้สีจำพวก astaxanthin และ canthaxanthin ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบประสาท และยังมีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนจากฟาร์ม มีกรดไขมัน โอเมกา-3 น้อยกว่าเนื้อปลาแซลมอนธรรมชาติถึง 3 เท่า แต่มีสารก่อมะเร็งจากฟาร์มเลี้ยงสูงกว่าเนื้อปลาแซลม่อนธรรมชาติถึง 16 เท่า และมากกว่าเนื้อวัว 4 เท่า
การกินอาหารให้ปลอดภัยจึงต้องกระจายความเสี่ยงโดยกินให้หลากหลายและกินพอประมาณจะช่วยให้โอกาสปลอดภัยจากโรคร้ายมากขึ้น
ไข่เป็นอาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ไข่มีราคาถูก ปรุงอาหารได้ง่าย และย่อยง่ายแม้ไข่จะมีโคเลสเตอร์รอลสูง (ไข่ 1 ฟองมีโคเลสเตอร์รอลประมาณ 200 มิลลิกรัม) แต่มีไขมันอิ่มตัวน้อย ไข่ 1 ฟองให้พลังงาน 72 calories มีโปรตีน 6 กรัม มีไขมันไม่อิ่มตัว 5 กรัม ไข่ไม่มีแป้งแต่มีสารต่างๆ ที่ร่างกายต้องการมากมาย เช่น โซเดียม (71กรัม) , ฟอสฟอร์รัส โพแทสเซียม วิตามิน A , D และวิตามิน B อีกหลายชนิด มีสาร Lutein และ zeaxanthin ที่ช่วยรักษากล้ามเนื้อไม่ให้เสื่อมเร็ว ไข่แดงมี Choline สูงที่ช่วยทำให้สมองและประสาทมีสุขภาพดี
ล่าสุดมีงานวิจัยหลายชิ้นที่รายงานในวารสารทางวิชาการ แสดงให้เห็นว่าการกินไข่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิเช่น ได้มีการศึกษาติดตามประชาชนทั้งหญิงและชาย ที่ไม่มีประวัติโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 30,000 คน การกินไข่ประจำเพียงเล็กน้อย แค่วันละครึ่งฟองก็มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคสมองขาดเลือด (stroke) และ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีรายงานการศึกษาอีกครั้งหนี่ง พบว่าการกินไข่วันละครึ่งฟอง หรือ สัปดาห์ละ 3 ฟอง จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มจากปกติ 6% นอกจากนั้น มีรายงานผลการศึกษาในอาสาสมัครที่ได้รับ โคเลสเตอร์รอลในอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม (ไข่แดงมีโคเลสเตอร์รอล 200 มิลลิกรัม) นาน 17.5 ปี พบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 17% ทำให้ไข่กำลังถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แต่มีผลวิจัยที่ขัดแย้งกันอยู่มาก อาทิเช่น มีรายงานว่าการกินไข่ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ไม่มีผลต่อระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดแต่อย่างใด การควบคุมระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของบุคคลผู้ที่มีความไวต่อการดูดซึมโคเลสเตอร์รอลในอาหารสูง (hyper responders) จะดูดซึม โคเลสเตอร์รอลในอาหารได้ดีกว่าผู้ที่มีความไวน้อย (hypo responders)
ก่อนที่จะมองว่าไข่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรเปรียบเทียบกับอาหารประเภทอื่นโดยเฉพาะเนื้อแดง ซ่งมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงมีผลโดยตรงต่อระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดมากกว่าไข่มาก ดังนั้นข้อแนะนำคือเพิ่มการกินอาหารจำพวก ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ปีก ลดอาหารจำพวก เนื้อแดง นม เนย ให้น้อยลง ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการกินไข่มากเกินไปแต่อย่างใด
มีข้อมูลจาก ผ.ศ.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ.อยุธยา หัวหน้าศูนย์สเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าในร่างกายเรามีสเต็มเซลล์หลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกันให้กำเนิดเซลล์ต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับสเต็มเซลล์ชนิดนั้นมาจากเนื้อเยื่อชนิดใดปกติ สเต็มเซลล์ของแต่ละเนื้อเยื่อจะทำหน้าที่สร้างเซลล์ใหม่ของเนื้อเยื่อชนิดนั้นขึ้นทดแทนที่สูญไปในแต่ละวันหรือหลังจากเนื้อเยื่อนั้นได้รับบาดเจ็บ สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนไปสร้างเซลล์ของเนื้อเยื่ออีกชนิดหนึ่งได้ เช่น สเต็มเซลล์เลือดไม่สร้างสมอง หรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ
ปัจจุบันการนำสเต็มเซลล์ไปใช้ทางการแพทย์ ที่ได้รับการยอมรับได้แก่ การปลูกสเต็มเซลล์ของเลือดที่ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดและสเต็มเซลล์ผิวหนังในผู้ป่วยแผลไหม้เพื่อสร้างผิวหนังใหม่ นอกเหนือจากนี้การปลูกสเต็มเซลล์ระบบอื่นยังทำได้ยาก
การฉีดสเต็มเซลล์เพื่อหวังสรรพคุณอื่นๆ เช่นลดอาการอักเสบ เพื่อการเกิดเส้นเลือดใหม่ ลดความเสื่อมของร่างกาย แก้สมองพิการ ความสวยงาม ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เพียงพอว่าจะเกิดประโยชน์เพียงพอที่จะนำไปใช้ในเวชปฏิบัติทั่วไปและยังผิดกฎหมายด้วย
คลินิกที่โฆษณาว่ามีการฉีด สเต็มเซลล์บอกเลยว่า 90% ปลอม ไม่รู้ว่านำอะไรมาฉีด และจากการนำสิ่ง ที่อ้างว่าเป็นสเต็มเซลล์เพื่อความงามต่างๆมาส่องดูก็ไม่พบเซลล์ซักตัวแต่กลับมีโปรตีนบางตัวที่เป็นอันตราย บางรายอาจถึงตาย มีสารกดภูมิคุ้มกันที่ฉีดแล้วอาจทำให้กระปรี้กระเปล่าแต่เป็นสารก่อมะเร็งหรือมียาสเตียรอยด์ ฉีดแล้วมีผลทำให้อวัยวะในร่างกายเสื่อม
อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 25 ธันวาคม 2561
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กินเกลือโซเดี่ยม ไม่เกินวันละ 2000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา แต่คนไทยกินเกลือมากกว่านั้นถึง 2 เท่า ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรค หัวใจ หลอดเลือดสมองและไตวาย สูงมาก เป็นผลทำให้มีการสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 98,976 ล้านบาท
ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการติดเค็มถึงประมาณ 22.05 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มโรคต่างๆเช่น
- โรคความดันโลหิตสูง 13.2 ล้านคน
- โรคหลอดเลือดสมอง 0.5 ล้านคน
- โรคหัวใจขาดเลือด 0.75 ล้านคน
- โรคไต 7.6 ล้านคน
มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการติดเค็มปีละประมาณ 20,000 คน
ปกติเรากินอาหารวันละ 3 มื้อ ดังนั้นแต่ละมื้อควรมีเกลือโซเดี่ยมเฉลี่ยไม่เกิน 600 มิลลิกรัม
ตัวอย่างเช่น
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีเกลือ 1275 มิลลิกรัม
- โจ๊กหรือข้าวตัม 1 ชาม มีเกลือ 1263 มิลลิกรัม
- ขนมขบเคียวต่างๆ เช่น มันฝรั่ง ปลาเส้น ข้าวเกรียบ สาหร่าย 1 ซอง มีเกลือ 200-600 มิลลิกรัม
ยุทธศาสตร์ลดการบริโภคเกลือของประเทศไทยจะต้องลดการบริโภคเกลือของประชาชนลง 30 % ภายในปี 2568
นักวิทยาศาสตร์จีน ได้ประกาศในที่ประชุมวิชาการว่าประสพความสำเร็จในการให้กำเนิดเด็กที่ได้รับการตัดต่อยีน (gene edited babies) เป็นครั้งแรกในโลก โดยให้ชื่อเด็กที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผู้หญิงว่า Luna และ Nana เด็กทั้ง 2 คนมี DNA ที่สามารถต้านการติดเชื้อ HIV ได้ โดยการตัดต่อยีน ทำโดยเทคนิค CRISPR technology (ดูรายละเอียดวิธีการใน web site ก่อนหน้านี้)
ขบวนการตัดต่อยีนทำโดยการตัดต่อยีนในตัวอ่อนมนุษย์ แล้วปลูกถ่ายเข้าไปในมดลูกของหญิงคนหนึ่ง ผลปรากฏว่าเด็กเกิดขึ้นมาสมบูรณ์ดี หลักการคือทำให้ยีน CCR5 ซึ่งเป็นยีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่เป็นตัวรับ (receptor) เชื้อไวรัส HIV และนำไวรัสผ่านผนังเซลล์เข้าไปสู่ภานในเซลล์ ไม่สามารถเป็นตัวรับเชื้อไวรัสได้อีกต่อไป ส่งผลให้เชื้อไวรัส HIV ไม่สามารถเข้าไปเพิ่มจำนวนภายในที่สุด
อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้ยังได้รับการวิภาควิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์หลายฝ่าย เนื่องจากเป็นความเสี่ยงต่อด้านของจริยธรรมเนื่องจากเด็กที่เกิดจากการได้รับการตัดต่อยีนแม้จะป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ได้แต่อาจมีความไวต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ อาทิเช่น West nile virus และ Japanese encephalitis เป็นต้น นอกจากนั้นต่อไปอาจมีการสร้างเด็กที่มีการตัดต่อยีนตามความต้องการเช่น มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าเด็กทั่วไป สวยงามกว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีความสามารถพิเศษอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คงจะต้องมีการติดตามการวิจัยนี้ต่อไป อาทิเช่น เด็กที่เกิดจากการตัดต่อยีนจะมีชีวิตต่อไปได้ตามปกติหรือไม่รวมทั้งจะมีผลข้างเคียงอื่นๆตามมาหรือไม่ เมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น รวมทั้งปัญหาเรื่องจริยธรรมที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง
ยาแอสไพรินได้ถูกนำมาใช้สำหรับแก้ไข้ แก้ปวดมานานหลายสิบปี ก่อนที่จะมีการพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของ เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันจึงมีการเลิกใช้ไปแล้ว แต่คุณประโยชน์ของ ยาแอสไพริน ก็ยังคงมีอยู่เนื่องจากมีหลักฐานว่า ยาแอสไพริน สามารถช่วยป้องกันอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) รวมทั้งมีข้อมูลว่าแอสไพรินจะช่วยลดโอกาสเป็นโรคมะเร็งของลำไส้ (colorectal cancer) ได้ กรณีที่กินยาในขนาดต่ำกว่าปกติ หรือประมาณ 80-100 มิลลิกรัม ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า baby aspirin
อย่างไรก็ตามผู้ที่กินยาแอสไพริน ประจำก็ยังคงมีความเสี่ยงของการเลือดออกในระบบทางเดินอาหารอยู่ดี ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องตัดสินใจว่า ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติควรกินยาแอสไพริน เพื่อป้องกันอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attacks) อาการเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ (strokes) ความจำเสื่อม (dementia) และมะเร็ง (cancer) หรือไม่ มีรายงานผลการวิจัยในประชาชนหลายเชื้อชาติเป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี พบว่า การกินยาแอสไพรินไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่อาจสร้างผลเสียมากกว่าด้วยซ้ำ จากการที่มีความเสี่ยงจากการมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร สมอง และอวัยวะอื่นๆ
แม้ว่าจะมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าการกินยาแอสไพรินในปริมาณต่ำๆ (8-100มิลลิกรัม/วัน) จะช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งของลำไส้ใหญ่ในผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวแต่ไม่ควรกินยาแอสไพรินด้วยตัวเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญว่าผู้สูงวัยที่สุขภาพดีไม่ควรเริ่มกินยาแอสไพริน หรืออาจกล่าวได้ว่า ไม่จำเป็นก็อย่าเริ่มกิน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่กำลังกินยาแอสไพรินอยู่ควรหยุดกิน และปรึกษาแพทย์ก่อน
โรคความดันโลหิตสูง ระยะแรกอาจไม่แสดงอาการที่ชัดเจน เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียง เหนื่อยง่ายเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วย ไม่ค่อยตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เช่น
- “อายุ” เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตาม
- พันธุกรรม
- อารมณ์ และ ความเครียด
- “อาหาร” ผู้ที่กินเกลือมากจะส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนที่กินเกลือน้อย
องค์การอนามัยโรคกำหนดว่าผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าระดับแรงดันของการบีบตัวของหัวใจ (systolic) สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ แรงดันของการคลายตัวของหัวใจ (diastolic) สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าป่วยเป็น โรคความดันโลหิตสูง ต้องไปพบแพทย์ และต้องมีการควบคุมอย่างจริงจังเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังอาจนำไปสู่ อาการแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้หลายอย่างเช่น
- ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
- ภาวะหลอดเลือดแดงตีบที่กล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart failure) และหลอดเลือดสมองตีบเกิดอาการอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต รวมทั้งหลอดเลือดแดงในไตตีบเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวายร้อยละ 60-75 เสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ แตกร้อยละ 20-30 และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 เป็นต้น ข้อแนะนำใน
การควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ไม่ให้ลุกลามเรื้อรังคือ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้สูงเกินไป
- ควบคุมปริมาณโซเดียมหรือเกลือในอาหารให้ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรรมต่อวัน เช่น กินเกลือแกงวันละไม่เกิน 1 ช้อนชา (มีโซเดียมประมาณ 2,300 มิลลิกรรม) น้ำปลาหรือซีอิ้วไม่เกินวันละ 5-6 ช้อนชา
- กินผัก ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช เป็นประจำในปริมาณที่เหมาะสม
- งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ งดบุหรี่ เป็นต้น
CRISPR มีความหมายถึง “clustered regularly interspaced palindromic repeats” โดยทั่วไป CRISPR technology จะประกอบไปด้วย เอนไซม์ชนิดหนึ่งได้แก่ CAS9 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่แทนมีดผ่าตัดเข้าไปตัด DNA โดยใช้RNA เป็นตัวทำหน้าที่นำเอนไซม์ไปตัด DNA ตรงจุดที่ต้องการให้ตัด เพื่อให้ได้ โมเลกุลของ DNA ที่ต้องการ
การนำทางของ RNA มีความแม่นยำสูงมากทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถใส่ส่วนของ DNA ที่สร้างขึ้นเข้าไป แทนที่ DNA ที่ถูกตัดออกไปได้อย่างถูกต้องพร้อมๆกับเอนไซม์ CAS9 จะทำหน้าที่กำจัด DNA ที่ถูกตัดออกไป เทคโนโลยีนี้นับเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ สามารถทำการเปลี่ยนแปลง ขจัดออก หรือจัดระเบียบใหม่ของโมเลกุลของ DNA ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วทำให้เป็นความหวังของการนำมาใช้ในการควบคุม หรือรักษาโรคได้หลายอย่างอาทิเช่น การควบคุมประชากรยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายโรค อาทิเช่น ยุง Genus Anopheles นำเชื้อมาลาเรีย ยุง GenusAedes นำเชื้อโรคหลายอย่างเช่นโรค yellow fever,โรค dengue fever,โรค chikungunya , โรค west nile virus และโรค Zika ซึ่งสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนยีนของยุงเพื่อให้เสียความสามารถในการแพร่กระจายโรค เช่น การเปลี่ยนแปลงของยุงพ่อแม่ ให้ออกลูกที่เป็นหมัน เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้มีความพยายามศึกษาที่จะใช้เทคโนโลยีนี้กำจัด HIV จาก DNA ของมนุษย์การวิจัยในการที่จะนำ CRISPR เทคนิคมาใช้ในทางการแพทย์มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น การวิจัยเพื่อค้นคว้าหายาที่มีประสิทธิภาพจำเพาะในการหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด การวิจัยเพื่อเปลี่ยนแปลงยีนในเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) ของผู้ป่วยโรคเลือดออกไม่หยุด (hemofilia) ให้กลับมาเป็นเซลล์ปกติ หรือการวิจัยเพื่อหาวิธีการกำจัดไวรัส PERVs (porcine endogenous retrovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีอยู่ใน DNA ของหมูโดยทั้วไป เพื่อที่จะสามารถนำอวัยวะของหมูมาปลูกถ่ายให้แก่คนได้เป็นต้น รวมทั้งการสร้างสายพันธ์ของพืชที่มียีนที่สามารถต่อต้านศัตรูพืช หรือยีนที่ทำให้พืชไม่เป็นที่สนใจของแมลง เป็นต้น หรือการสอดใส่ยีนเข้าไปใน DNA ของพืชเพื่อให้สามารถสร้างสารที่ต้องการได้จำนวนมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เรียกรวมๆว่าวิศวกรรมพันธุศาสตร genetics engineering
สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือ genetically modified organisms (GMOs) นี้แม้จะมีประโยชน์มากแต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในทางเสียหายด้วยเช่นกัน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปแล้ว การเปลี่ยนแปลงให้กลับสู่สภาวะเดิมทำได้ยาก สัตว์หรือพืช GMOs ที่ถูกสร้างขึ้นแล้วเมื่อมีการแพร่กระจายออกไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและภาวะแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้แน่ชัดจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
โรคไลม์ (Lyme disease)
โรคไลม์มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย genus borrelia ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม spirochetes มี flagellum ช่วยใน
การเคลื่อนไหว ชนิดที่พบทำให้เกิดโรคได้บ่อยคือ Borrelia burgdorferi และ ยังมีชนิดอื่นๆที่พบได้เช่นกัน อาทิเช่น
B.afzelii , B. garinii และ B.burgdorferi sensu stricto etc.
สัตว์ที่ติดเชื้อโรคไลม์ และ เป็นแหล่งกักตุนโรคมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า จำพวก สุนัข ม้า วัว ควาย เป็นต้น
รวมทั้งเคยมีรายงานการติดเชื้อในหนูด้วย เห็บ (ticks) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ Ixodes scapularis และ
I.pacificus ซึ่งได้รับเชื้อจากการกินเลือดจากสัตว์ที่เป็นตัวกักตุนโรค และนำเชื้อโรคเข้าสู่คนโดยการมากัดกินเลือดคนจาก
การที่คนเข้าไปใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ
อาการของโรคไลม์ในคนจะแสดงขึ้นหลังได้รับเชื้อ 2-4 สับดาห์ โดยอาการที่พบได้บ่อยคือมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว
ปวดข้อ รวมทั้งอาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นทำได้โดย สังเกตอาการณ์มีผื่นบวมแดงบน
ผิวหนังบริเวณที่เห็บกัด ซึ่งมีลักษณะกลมและมีขอบนูนขึ้นโดยรอบคล้ายตาวัวเรียกว่า erythema migrans หรือ
bull-eye rash สำหรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทำโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Borrelia ในเลือดหรือใน
น้ำไขสันหลัง ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น enzyme immunoassay (EIA) , immunofluorescent antibody (IFA) เป็นต้น
โรคนี้สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
หน้าที่ 3 จาก 9