"โอไมครอน" BA.4-BA.5 ระบาด 21 ประเทศทั่วโลก แนะป้องกันให้ดีช่วงเปิดเทอม
 
 

"หมอธีระ" เผย "โอไมครอน" BA.4-BA.5 ระบาดไปแล้ว 21 ประเทศทั่วโลก คาดแพร่เชื้อเร็วกว่า BA.2 แนะป้องกันให้ดีช่วงเปิดเทอม

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน) เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาด "โอไมครอน" เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 306,415 คน ตายเพิ่ม 961 คน รวมแล้วติดไปรวม 517,567,394 คน เสียชีวิตรวม 6,277,503 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

สำหรับสถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา จนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.94% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนระบาด (Excess mortality rate) หากดูกราฟจะพบว่านับตั้งแต่ระลอกสองเมื่อปลายปี 2020 ระลอกสามตั้งแต่เมษายน 2021 และระลอกสี่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ประเทศไทยมี excess mortality rate สูงถึง 10%, >30%, และ >25% ตามลำดับ ซึ่งย่อมสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการไม่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้แม้อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินนั้นจะมาจากทุกสาเหตุก็ตาม แต่เป็นการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด19 จึงบ่งถึงผลกระทบที่เกิดจากโควิด19 ไม่ได้ ทั้งทางตรง (เสียชีวิตจากโควิด) และทางอ้อม (เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น ป่วยโรคอื่นแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดูแลรักษาได้จากสถานการณ์ระบาด ฯลฯ) เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการนโยบายสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรค และควบคุมการระบาดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นย่อมจะมีโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการมาไล่จัดการการระบาดหลังจากระบาดมากไปแล้ว เพราะจะจัดการได้ยากลำบาก และส่งผลต่อความสูญเสียและผลกระทบระยะยาว ทั้งจำนวนติดเชื้อ จำนวนป่วย จำนวนเสียชีวิต ที่สำคัญคือจำนวนคนที่จะเป็น Long COVID ในอนาคต

อัพเดตสถานะ Omicron สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ข้อมูลจาก de Oliveira T ระบุว่า ปัจจุบันสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้นั้น ได้กระจายไปอย่างน้อย 21 ประเทศทั่วโลกแล้ว

สมรรถนะการแพร่กระจายมีแนวโน้มเร็วกว่า BA.2 ที่ครองการระบาดทั่วโลกในขณะนี้ ส่วนเรื่องความรุนแรงของโรคนั้นคงต้องมีการติดตามผลการศึกษา
วิจัยกันต่อไป

คนที่ได้รับ Sinopharm ไปสองเข็ม จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทีมวิจัยจากประเทศจีน เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Cell Host & Microbes เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีน BBIBP-CorV หรือ Sinopharm 2 เข็มนั้นไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับไวรัสโรค โควิด19 สายพันธุ์ Omicron BA.1, BA.1.1, BA.2 and BA.3 ได้ จำเป็นต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

สถานการณ์ของไทยเรานั้น การระบาดยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระจายทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ทำงานที่มีคนมาก แออัดใกล้ชิด ทั้งที่ทำงานทั่วไป รวมถึงสถานพยาบาล สถานศึกษาที่มีการเปิดเรียนไปบ้างแล้ว และนำไปสู่การติดในสมาชิกครอบครัว การใส่หน้ากากเสมอ เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่ควรปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร

17 พ.ค.นี้ จะมีการเปิดเรียนในโรงเรียนต่างๆ คงต้องป้องกันให้ดี ผู้ปกครองควรพาเด็กๆ ที่อยู่ในวัยที่รับวัคซีนได้ไปฉีดให้ครบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการ ป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต 

อย่างไรก็ตามทั้งคุณครู และผู้ปกครอง ควรสอนและฝึกลูกหลานให้มีความรู้และทักษะในการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอขณะไปเรียน หมั่นเช็คสุขภาพ อาการต่างๆ ทุกวัน และเตรียมแผนในการดูแลเวลาไม่สบายไว้ล่วงหน้าก็จะทำให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ในอนาคตได้ทันและมีประสิทธิภาพ

โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ
โควิด...ติด...ไม่จบที่หาย แต่ป่วยได้ ตายได้ และที่สำคัญคือจะเกิดภาวะ Long COVID ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต และสมรรถนะการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาว ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
ณ จุดนี้...ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน...

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/514481?adz=

 
เช็ก สูตรฉีดวัคซีนเด็ก "เปิดเรียน" On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19
การเปิดเรียน "On-Site" ในภาคเรียนที่ 1/2565 ทางกระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นการประเมินสถานศึกษา เตรียมแผนเผชิญเหตุ และสิ่งสำคัญ คือ การเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็ก 5-17 ปีเพื่อให้เปิดเรียนอย่างปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19

ขณะนี้ เริ่มมีการเตรียมพร้อมเพื่อ "เปิดเรียน" On-Site ในภาคเรียนที่ 1/2565 โดย กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ปรับเปลี่ยนมาตรการการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อการเรียนรู้ที่ดีในโรงเรียนของเด็กไทยต่อไป

โดยเน้นย้ำตามมาตรการต่อไปนี้

1.เร่งรัดการฉีดวัคซีน เพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม

2.สถานศึกษาต้องเข้ารับการประเมิน Thai Stop COVID Plus โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่า 95 % ส่วนการตรวจATK ที่เดิมให้ตรวจทุกราย แต่จากการหารือร่วมกับราชวิทยาลัยและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยการตรวจเฝ้าระวังให้ดำเนินการเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการเท่านั้น  เพราะกรณีที่มีฉีดวัคซีนครบและไม่มีอาการ การตรวจATKอาจผิดพลาดได้ 

3. เน้นย้ำการทำตามแผนเผชิญเหตุ เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน และ4.เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง 

 

สูตรการฉีด "วัคซีนโควิด-19" เด็ก 5-17 ปี

ทั้งนี้ จะเห็นว่า หนึ่งในมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขได้เน้นย้ำ คือ การฉีด วัคซีนโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กก่อนเปิดเรียน ให้ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19

ข้อมูลจาก ศบค. วันที่ 7 พ.ค. 65

- กลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 ราย

  • ฉีดวัคซีนเข็ม 1 สะสม 53.9%
  • ฉีดวัคซีนเข็ม 2 สะสม 15.5% 

ข้อมูล ณ วันที่ 3 พ.ค. 2565
- กลุ่มอายุ 12-17 ปี ผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มเป้าหมายอายุ จำนวนเป้าหมาย 4.7 ล้านคน จากฐานข้อมูล MOPH IC

  • ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว 3.6 ล้านคน คิดเป็น 77.2 %
  • ฉีดเข็มที่ 2 แล้ว 3.5 ล้านคน คิดเป็น 75.5 %
  • ฉีดเข็มที่ 3 แล้ว 2.4 แสนคน คิดเป็น 5.2%  

สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 เด็ก ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน คือ

- สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 เด็กอายุ 5-6 ปี 

  • เข็ม 1 ไฟเซอร์ 
  • เข็ม 2 ไฟเซอร์ ห่างกัน  8 สัปดาห์
  • เข็ม 3 ยังไม่มีกำหนด

- สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 เด็กอายุ 6-11 ปี 

สูตร 1

  • เข็ม 1 ไฟเซอร์ 
  • เข็ม 2ไฟเซอร์  ห่างกัน  8 สัปดาห์
  • เข็ม 3 ยังไม่มีกำหนด

สูตร 2 

  • เข็ม 1 ซิโนแวค
  • เข็ม 2 ไฟเซอร์  ห่างกัน 4 สัปดาห์
  • เข็ม 3 ยังไม่มีกำหนด

- สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 เด็กอายุ 12-17 ปี 

สูตร 1 

  • เข็ม 1 ไฟเซอร์ 
  • เข็ม 2 ไฟเซอร์ ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ 
  • เข็ม 3 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4-6 เดือน เต็มโดส/ครึ่งโดส

สูตร 2

  • เข็ม 1 ซิโนแวค
  • เข็ม 2 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4 สัปดาห์
  • เข็ม 3 ไฟเซอร์ ห่างกัน 4-6 เดือน  เต็มโดส

- สูตรการฉีดวัคซีนโควิด-19 เด็กอายุ 6-17 ปี

  • เข็ม 1 ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม 
  • เข็ม 2  ซิโนแวค/ซิโนฟาร์ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ 
  • เข็มที่ 3 ไฟเซอร์ เต็มโดส ตามช่วงอายุ ห่างกัน 4 สัปดาห์

เช็ก สูตรฉีดวัคซีนเด็ก "เปิดเรียน" On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19

กทม. เปิดเรียน "On-Site" เต็มรูปแบบ 100% 

สำหรับ โรงเรียนสังกัด กทม. ซึ่งเตรียม เปิดเรียน On-Site เต็มรูปแบบ 100% ทุกโรงเรียนประเมินมาตรการ 3T1V ในวันที่ 17 พ.ค. นี้ "นายชวินทร์ ศิรินาค" รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ที่ประชุมได้แจ้งแนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นการเปิดเรียนแบบ On-Site เต็มรูปแบบ 100% ทุกระดับชั้น โดยจะดำเนินการมาตรการความปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดฯ อย่างเต็มที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ

ประเมินตามมาตรการ 3T1V
ทั้งนี้ ทุกโรงเรียนจะต้องมีการประเมินตามมาตรการ 3T1V คือ

T : Thai Stop Covid Plus (TSC+) สถานศึกษาต้องประเมินตนเองเตรียมพร้อมก่อนเปิดเรียน

T : Thai Save Thai (TST) นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีการประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ

T : Test ตรวจคัดกรอง เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม เช่น ตรวจ ATK เมื่อมีความเสี่ยงหรือมีอาการ

V : Vaccine ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และเด็ก อายุ 5-18 ปี ได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามเกณฑ์

พร้อมทั้งสำนักงานเขตและโรงเรียนจะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ และขอความร่วมมือให้นักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนผู้ปฏิบัติงาน ในโรงเรียนให้ปฏิบัติตามข้อกำหนด 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้ม ทั้งนี้หากผู้ปกครองไม่ประสงค์ให้นักเรียนเรียนในรูปแบบ On Site อนุญาตให้เรียนในรูปแบบ 4 ON ได้

มาตรการเปิดเรียน On-Site

เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 65 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมอนามัย เผยว่า สำหรับมาตรการเปิดเรียน On-Site อยู่ได้กับโควิด19 

- กรณีโรงเรียนประจำ

เน้นมาตรการ Sandbox Safety zone in School  ดังนี้

1.หากนักเรียน รู หรือบุคลากรเป็นผู้ติดเชื้อ ให้หารือหน่วยบริการสาธารณสุขในการแยกกักตัวในโรงเรียนกรณีไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ให้จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร งดร่วมกลุ่ม

 2.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้จัดควอรันทีนโซน จัดการเรียนการสอนในนั้นเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นให้สังเกตอาการอีก 5 วัน อย่างไรก็ตามกรณีได้รับวัคซีนครบตามกำหนดและไม่มีอาการไม่แนะนำให้กักตัว และตรวจ ATK ในวันที่ 5 และ 10 และ3.กรณีเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้เปิดเรียนปกติ โดยป้องกันตนเองครอบจักรวาล ประเมิน Thai Save Thai (TST) เว้นระยะห่างในห้องอย่างน้อย 1 เมตร

- กรณีโรงเรียนไป-กลับ

1. กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร ติดเชื้อ ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือพิจารณากักตัวที่โรงเรียน โดยคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กรณีเป็นผู้ติดเชื้อมีอาการให้พิจารณาจัดรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ  และทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษา และเปิดเรียนตามปกติ 

2.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหากยังไม่ได้รับวัดซีน ไม่มีอาการ แนะนำให้กักตัวเองเป็นเวลา 5 วันและติดตามหลังจากนั้นอีก 5 วัน กรณีได้รับวัคซีนครบและไม่มีอาการไม่ต้องกักตัว ให้เรียนได้โดยให้ตรวจ ATK วันที่ 1 , 5 และ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ สถานศึกษาจัดให้เรียนตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร และ3.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้เรียนตามปกติ ป้องกันตนเองครอบจักรวาล ประเมิน TST เว้นระยะห่างในห้องอย่างน้อย 1 เมตร

จัดห้องเรียนอย่างไร

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวว่า  โรงเรียนทั่วประเทศมีกว่า  35,000 แห่ง เป็นร.ร.รัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 29,200 แห่ง เอกชน 4,100 แห่ง และอื่นๆ เช่น อปท. มหาดไทย(มท.) อีกราว 1,800 แห่ง 

โดยกว่า 90 % จะเปิดเรียนในวันที่  17 พ.ค. 2565  โดยทุกสถานศึกษามีการเตรียมความพร้อม โดยสิ่งที่แตกต่างระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คือ การเว้นระยะห่าง ในห้องเรียน จะเหลือ 1 เมตร จาก 1.5 เมตร

เพราะฉะนั้น ห้องเรียนปกติที่มีขนาด 8 X 8 เมตร สามารถจัดโต๊ะเรียนได้ 7 แถว ๆ ละ 6 ที่นั่ง รวม 42 คน ซึ่งโดยปกติ 1 ห้องเรียนจะมีนักเรีนนประมาณ 40 คน ไม่มีปัญหาในเรื่องการเว้นระยะห่าง แต่อาจจะมีปัญหาในโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ บางห้องอาจจะมีขนาด 6 X 8 เมตร

สิ่งสุดท้ายที่มีความแตกต่าง คือ บางโรงเรียนเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ ต้องมีการเปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 นาที ในช่วงพัก สำหรับโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อในโรงเรียน คือ การถอดหน้ากาก กินข้าวร่วมกัน สนทนาระหว่างกันโดยไม่สวมหน้ากาก ดังนั้น ในโรงอาหารควรมีการแยกสำรับกับข้าว แยกพื้นที่ งดการพูดคุย ขณะกินอาหาร และเมื่อมีการเล่นร่วมกัน ควรสวมหน้ากากตลอดเวลา

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1003074?anf=

 
"30บาทรักษาทุกที่" ช่วยผู้ป่วยรอยต่อ กทม.-ปริมณฑล รับบริการสะดวก
ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 13 กทม. ชี้นโยบาย "ยกระดับบัตรทอง" 30 บาทรักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ เป็นผลดีกับประชาชนในพื้นที่รอยต่อปริมณฑลที่ทำงานใน กทม. ช่วยให้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยได้สะดวก ไม่ต้องใช้ใบส่งตัวหรือกลับไปรับบริการในพื้นที่ตัวเอง

ทำให้ผู้ที่เดินทางไปทำธุระ ท่องเที่ยว หรือทำงานในต่างพื้นที่แล้วมีเหตุจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล เช่น เจ็บป่วยกระทันหัน ต้องทานยาต่อเนื่องแล้วยาหมดพอดี หรือปวดฟัน เหงือกบวม ต้องพบทันตแพทย์ ฯลฯ สามารถเข้าไปรับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิที่อยู่ในเครือข่ายของ สปสช. ได้เลย โดยไม่จำกัดว่าต้องมีใบส่งตัวหรือต้องเดินทางกลับไปรับบริการในพื้นที่ที่ตัวเองลงทะเบียนไว้

"30บาทรักษาทุกที่" ทลายกำแพงบริการ

ดร.ทพ.วิรัตน์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของพื้นที่ กทม. มีการเปิดให้ผู้ใช้ สิทธิบัตรทอง สามารถเข้าไปรับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิในลักษณะข้ามเขตได้ตั้งแต่ปี 2564 แล้ว เพราะก่อนหน้านี้ในปี 2563 มีกรณีการยกเลิกสัญญาหน่วยบริการที่มีความผิดปกติในการเบิกจ่ายเงินค่าบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบแก่ประชาชนจึงอนุโลมให้ผู้ที่หน่วยบริการประจำของตัวเองถูกยกเลิกสัญญา สามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้ จากนั้นเมื่อมีการรับสมัครหน่วยบริการใหม่ ก็ถือโอกาสจัดระบบบริการแบบใหม่โดยให้ศูนย์บริการสาธารณสุขของ กทม. เป็นหน่วยบริการประจำให้แก่ผู้ใช้สิทธิบัตรทองใน กทม.

"30บาทรักษาทุกที่" ช่วยผู้ป่วยรอยต่อ กทม.-ปริมณฑล รับบริการสะดวก

เบิกจ่ายตามรายการกว่า 3,000 รายการ

ส่วนหน่วยบริการที่ทำสัญญากับ สปสช. ชุดใหม่ จะเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิภายใต้หน่วยบริการประจำ ในลักษณะเป็นเครือข่ายหรือพวงบริการในเขตนั้นๆ ประกอบกับขณะนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณ 2564 และอยู่ระหว่างเพิ่มจำนวนหน่วยบริการปฐมภูมิชุดใหม่ บางพื้นที่มีหน่วยบริการน้อยแต่จำนวนประชากรมาก ถ้ารอรับบริการเฉพาะในพื้นที่นั้นก็อาจติดขัด

เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนจึงเกิด Model 5 คือ ให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองใน กทม. สามารถไปรับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่าย สปสช. ที่ไหนก็ได้ โดยเบิกจ่ายตามรายการบริการ หรือ fee schedule กว่า 3,000 รายการ

"จะเห็นว่าในพื้นที่ กทม. เรานำร่องดำเนินการอยู่แล้ว พอปีใหม่ 2565 มีนโยบายยกระดับบัตรทอง 30 บาทรักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศออกมา สิ่งที่ขยายขอบเขตคือจากเดิมที่ผู้ใช้สิทธิบัตรทองไปรับบริการในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของตนเองใน กทม. ก็ปรับเป็นรับบริการข้ามเขตสุขภาพได้ เช่น ประชาชนจากเขตใกล้เคียงอย่าง สระบุรี ราชบุรี ระยอง ถ้าเข้ามาใน กทม. แล้วเจ็บป่วย ก็มาเข้ารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิได้โดยไม่ต้องมีใบส่งตัว"

"แบบนี้จะเป็นประโยชน์กับประชาชนจากเขตอื่นๆ ตามรอยต่อของปริมณฑล เพราะจะมีบางส่วนที่ทำงานใน กทม. เช้านั่งรถมาทำงาน เย็นนั่งรถกลับ กว่าจะถึงบ้านก็มืดแล้ว รพ.สต.ปิดแล้ว แต่พอมีนโยบายนี้ก็สามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการใน กทม. ได้ ซึ่งขณะนี้เริ่มมาได้ 3 เดือนยังอยู่ระหว่างเก็บตัวเลขสถิติข้อมูล แต่เท่าที่มีในปัจจุบันยังไม่มีการร้องเรียนใดๆ" ดร.ทพ.วิรัตน์ กล่าว

"30บาทรักษาทุกที่" ช่วยผู้ป่วยรอยต่อ กทม.-ปริมณฑล รับบริการสะดวก

ดร.ทพ.วิรัตน์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับบริการนั้น ตั้งแต่ปี 2564 สปสช.เขต 13 ได้จัดทำตัวชี้วัดเพื่อดูว่ามีโอกาสที่คนไข้จะไป shopping around หรือไปรับบริการไปทั่ว ไปคลินิกนั้นทีคลินิกนี้ทีหรือไม่ อย่างไรก็ดี พบว่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนยกเลิกสัญญากับหน่วยบริการชุดเก่าในปี 2563 แล้ว ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในการรับบริการนอกเครือข่ายหน่วยบริการหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับบริการของประชาชน

โรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็ไม่ได้มีคนไปรับบริการมากขนาดนั้น แต่ก็ต้องติดตามดูในระยะยาวด้วยเนื่องจาก 2 ปีมานี้เกิดการระบาดของโควิด-19 จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไม่เห็นภาพการไปรับบริการในสถานการณ์ปกติได้ ต้องดูว่าเมื่อสถานการณ์การระบาดสงบลงแล้วทิศทางพฤติกรรมการรับบริการจะเป็นอย่างไรต่อไป

ทั้งนี้ปัจจุบันในพื้นที่ สปสช.เขต 13 กทม. มีหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วยศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น หน่วยบริการปฐมภูมิในโรงพยาบาลใหญ่ๆ มีประมาณ 300 แห่ง แต่ยังมีหน่วยร่วมบริการ เช่น หน่วยร่วมบริการด้านเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์ และร้านยา จะมีเพิ่มขึ้นอีก 600 กว่าแห่ง เฉพาะร้านยามี 488 แห่ง คลินิกเวชกรรม 102 แห่ง คลินิกทันตกรรม 28 แห่ง

โดยรวมระบบบริการมีหน่วยบริการกว่า 955 แห่ง หากเป็นผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ลงทะเบียนกับ สปสช. กทม. จะรู้ว่าหน่วยบริการปฐมภูมิของตัวเองอยู่ที่ไหน หน่วยบริการประจำอยู่ที่ไหน หน่วยบริการรับส่งต่ออยู่ที่ไหน และมีความคุ้นเคยกับคลินิกชุมชนอบอุ่นซึ่งจะมีจะมีป้ายสัญลักษณ์ สปสช. เพราะฉะนั้นถ้าเคยใช้บริการคลินิกชุมชนอบอุ่นมาก่อน ผู้ใช้สิทธิจะรู้อยู่แล้วว่าถ้าเห็นป้ายสัญลักษณ์แบบนี้ก็สามารถเข้าไปรับบริการได้เลย

อย่างไรก็ดี ในส่วนของประชาชนที่อาจจะมาจากพื้นที่อื่นๆ สปสช.เขต 13 กทม. จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะๆ รวมทั้งจะเพิ่มการประชาสัมพันธ์หน่วยร่วมให้บริการ เช่น หน่วยร่วมบริการด้านเวชกรรม คลินิกทันตกรรม ร้านยา ให้มากขึ้น แต่ให้สังเกตง่ายๆ คือหน่วยบริการที่มีป้ายคำว่าชุมชนอบอุ่นต่อท้ายก็เข้าไปรับบริการได้

สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง ได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ ทั้งไลน์ สปสช. (ไลน์ไอดี @nhso) หรือ คลิก และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

"30บาทรักษาทุกที่" ช่วยผู้ป่วยรอยต่อ กทม.-ปริมณฑล รับบริการสะดวก

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1003038?anf=

 
3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ
ศบค. เผย 3 มาตรการสกัดโควิดระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ ขณะที่ ผู้เดินทางลงทะเบียน Thailand pass แล้วกว่า 2.6 แสนราย อนุมัติแล้วกว่า 2.5 แสนราย ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 8,450 ราย เสียชีวิต 58 ราย กว่า 97% เป็นกลุ่มสูงวัย โรคเรื้อรัง

วันนี้ (7 พ.ค. 65) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เผยข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3 มาตรการสกัดโควิด ระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ โดย นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า การเฝ้าระวังเเละคัดกรองกลุ่มผู้เดินทางระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะด่านควบคุมโรคช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ

ทั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบิน ท่าเรือ และพรมแดนตามแนวชายแดน อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ส่งผลให้สามารถตรวจจับเเละควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะที่ผ่านมา ในปัจจุบันด่านพรมแดนมีการพัฒนาให้สามารถคัดกรองดูเเลผู้ติดเชื้อเเละให้บริการวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผน

มาตรการรับมือโควิด 19 แบบรอบด้าน ได้แก่

1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานด่านพรมแดน โดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร

2) ด้านการป้องกัน ควบคุมโรค โดยการประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ การสื่อสารความเสี่ยง การเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เเละการติดต่อประสานงาน

3) การถอดบทเรียน บูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน การซ้อมแผน สัมพันธภาพความร่วมมืออันดีของเจ้าหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับมือกับโควิด 19

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

 

ลงทะเบียน Thailand pass 2.6 แสนราย

ทั้งนี้ รายงานจำนวนการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรผ่าน Thailand pass วันที่ 29 เม.ย. - 6 พ.ค. 65 พบว่า 

  • ผู้ลงทะเบียน 260,573 ราย 
  • อนุมัติแล้ว 252,788 ราย 
  • ไม่ผ่านการอนุมัติ 4,728 ราย 
  • รอพิจารณาโดย AI จำนวน 0 ราย
  • รอพิจารณาโดยผู้ตรวจ 3,057 ราย

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

ไทยติดเชื้อรายใหม่ 8,450 ราย

สำหรับ "สถานการณ์โควิด-19" ในประเทศไทย จากการรายงานของ ศบค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 8,450 ราย จำแนกเป็น

  • ผู้ป่วยจากในประเทศ 8,409 ราย
  • ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 4 ราย
  • ผู้ป่วยในเรือนจำ 37 ราย
  • เสียชีวิต 58 ราย

ผู้ป่วยสะสม 2,093,334 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 12,224 ราย หายป่วยสะสม 2,025,401 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 93,840 ราย อยู่ใน รพ. 27,597 ราย รพ.สนามและอื่นๆ 66,243 ราย 

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

"ผู้สูงวัย-โรคเรื้อรัง" เสียชีวิตจากโควิด 97%

สำหรับผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิตในประเทศจำนวน 58 ราย เป็น

  • ชาย 33 ราย
  • หญิง 25 ราย
  • ชาวไทย 56 ราย
  • เมียนมา 1 ราย
  • ออสเตรเลีย 1 ราย

ค่ากลางอายุผู้เสียชีวิต 76 ปี (25-98 ปี)

พบเชื้อ-เสียชีวิต 0-24 วัน

พบเชื้อวันเสียชีวิต 3 ราย

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังเป็น

  • กลุ่มสูงวัย 60 ปีขึ้นไป 44 ราย (76%)
  • กลุ่มโรคเรื้อรัง 12 ราย (21%)

ทั้งสองกลุ่มคิดเป็นสัดส่วนกว่า 97% 

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

ฉีดวัคซีนเข็ม 3 สะสม 38.1%

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 6 พ.ค. 2565) รวม 134,400,625 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น 

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,371,631 ราย (81.0%)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,532,174 ราย (74.1%)
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 26,496,820 ราย (38.1%)

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 6 พฤษภาคม 2565

ยอดฉีดทั่วประเทศ 181,959 โดส

  • เข็มที่ 1 : 22,890 ราย
  • เข็มที่ 2 : 74,098 ราย
  • เข็มที่ 3 : 84,971 ราย

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

สูงวัย ฉีดเข็ม 3 สะสม 41.9%

ผลการให้ วัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายหลัก พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 12,704,543 ราย

ฉีดเข็ม 1 สะสม 84.2%

ฉีดเข็ม 2 สะสม 80.0%

ฉีดเข็ม 3 สะสม 41.9%

ขณะที่กลุ่มอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 ราย

เข็ม 1 สะสม 53.9%

เข็ม 2 สะสม 15.5%

3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1003066?anf=

 
"อาการลองโควิด" เปิด 3 อาการหลักที่พบบ่อย ไม่มียารักษา ต้องเยียวยาตัวเอง 

องค์การอนามัยโลกประเทศไทย เปิดข้อมูล "อาการลองโควิด" พบ 3 อาการหลักที่พบบ่อย ไม่มียารักษา ต้องเยียวยาตัวเอง

เมื่อโควิดไม่จบแค่หาย แต่ยังเจอภาวะ Long Covid ที่พบหลังจากหายจากโควิด-19 โดย World Health Organization Thailand  โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ "อาการลองโควิด" ระบุว่า หลักฐานปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าราวร้อยละ 10-20 ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 จะประสบกับกลุ่มอาการหลังโควิด19 หรือที่เรียกว่า "ลองโควิด" อันประกอบด้วย อาการเรื้อรังมากมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้แม้กับผู้ที่มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย 

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ามีในขณะนี้ แสดงให้เห็นว่า "อาการลองโควิด" มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า โดยทั่วไป "อาการลองโควิด" จะเริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในลักษณะที่ต่อเนื่องจากอาการป่วยที่มีมาแต่ต้นได้ด้วย 

"อาการลองโควิด" เกิดขึ้นและหายไปตามกาลเวลา และในบรรดาอาการที่พบกว่า 200 อาการ 3 อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ หายใจไม่อิ่ม สมองล้า และอ่อนเพลีย 3 เดือนหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน หากยังหายใจลำบาก สมองล้า หรืออ่อนเพลีย อาจจะกำลังประสบกับ "อาการลองโควิด" และควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ แม้จะรู้สึกว่ารับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากอาการที่เกิดขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยอื่น ๆ ซึ่งต้องได้รับการรักษาที่ต่างออกไป

World Health Organization Thailand ระบุว่า ยังไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับอาการทั้งหมด และระยะเวลาของลองโควิด หลักฐานปัจจุบันบ่งชี้ว่า "อาการลองโควิด" อาจกินเวลาอย่างน้อย 2 เดือน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการนานถึง 6 เดือน 1 ปี หรือนานกว่านั้น นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติของปอด อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย ลิ่มเลือด และการเสียชีวิต ในระยะเวลา 1 ปี หลังจากเริ่มมีอาการ เนื่องจากลองโควิด เป็นกลุ่มอาการที่กว้างมาก และกระทบกับหลายระบบในร่างกาย จึงไม่มียา หรือวิธีรักษาเฉพาะ หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง เพื่อยกระดับสุขภาวะของตนได้ เช่น ลดกิจกรรมเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า หรือหายใจไม่อิ่ม และหากมีปัญหาด้านการควบคุมสมาธิ ให้ค่อย ๆ จดจ่อกับงานทีละชิ้น ถ้าหากอาการเหล่านี้กระทบต่อชีวิตอย่างมาก หรือหนักขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป องค์การอนามัยโลกแนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งอาจแนะนำให้เข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ

"อาการลองโควิด" เปิด 3 อาการหลักที่พบบ่อย ไม่มียารักษา ต้องเยียวยาตัวเอง

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/514124?adz=

1651754967_20838_.jpg

กทม.เตรียม 9 โรงพยาบาลในสังกัด เปิดรักษาผู้ป่วยลองโควิด หลังป่วย 1 เดือน เริ่ม 9 พ.ค.นี้ ค่ารักษาเบิกตามสิทธิ

วันที่ 5 พ.ค. 2565 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ เตรียมเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) โดยดำเนินการตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลันและยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น) ในรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (Onsite และ Online Telemedicine) โดยเปิดคลินิก 1 วัน/สัปดาห์ เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 9 พ.ค. 65 เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ

สำหรับคุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิก Long COVID จะต้องเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป การให้บริการจะเน้นไปทางติดตามอาการที่เกิดหลังจากหายป่วยโควิด-19 โดยผู้ป่วยสามารถรับบริการผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้ 1. ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กับ Long COVID และส่งผู้ป่วยมาที่คลินิกดังกล่าว และ 2. ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเองและเข้ามารับบริการที่คลินิก Long COVID โดยตรง รูปแบบการให้บริการแบบ One stop service จัดให้มีการบริการคัดกรอง พบแพทย์ในจุดเดียว กรณีที่ต้องมีการปรึกษาจิตแพทย์ จะให้มีการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตก่อนเข้าพบแพทย์ ทั้งนี้ การรักษาพยาบาลเป็นไปตามสิทธิของผู้ป่วย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID จะแบ่งเป็น

1. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID ประกอบด้วย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลวิชาชีพ สหวิชาชีพอื่น ๆ เช่น นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

2. กรณีที่จำเป็นต้องได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ อายุรแพทย์ระบบประสาท จิตแพทย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง ประกอบด้วย

1. โรงพยาบาลกลาง ณ คลินิกประกันสุขภาพ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
2. โรงพยาบาลตากสิน ณ ARI Clinic ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.
3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ณ ARI Clinic ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
8. โรงพยาบาลสิรินธร ณ คลินิกวัณโรค ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. และ 9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น.

นัดหมายรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ

ข้อมูลจาก https://workpointtoday.com/politics-longcovic05052565/

 
โควิดจบ เจอ Long COVID เช็ค 9 รพ. "รักษาลองโควิด" เปิดให้บริการ 9 พ.ค.นี้
 

เมื่อโควิดเป็นแล้วไม่จบ เจอ Long COVID ซ้ำอีก เช็ค 9 โรงพยาบาล "รักษาลองโควิด" กทม.นำร่อง เปิดให้บริการ 9 พ.ค.นี้

โควิดไม่หาย ต้อง "รักษาลองโควิด" ต่ออีก ล่าสุด นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ ได้เตรียมเปิด "คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID" โดยดำเนินการตามแนวทางของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลัน และยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย

โดยครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น) ในรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (Onsite และ Online Telemedicine) โดยเปิดคลินิก 1 วัน/สัปดาห์ เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 9 พ.ค. 65 เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ

สำหรับคุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับการ "รักษาลองโควิด" ในคลินิก Long COVID จะต้องเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วย มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป การให้บริการจะเน้นไปทางติดตามอาการที่เกิดหลังจากหายป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยสามารถรับบริการผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

1.ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กับ Long COVID และส่งผู้ป่วยมาที่คลินิกดังกล่าว
2.ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเอง และเข้ามารับบริการที่คลินิก Long COVID โดยตรง รูปแบบการให้บริการแบบ One stop service จัดให้มีการบริการคัดกรอง พบแพทย์ในจุดเดียว กรณีที่ต้องมีการปรึกษาจิตแพทย์ จะให้มีการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตก่อนเข้าพบแพทย์ ทั้งนี้ การรักษาพยาบาลเป็นไปตามสิทธิของผู้ป่วย

สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID จะแบ่งเป็น

1. บุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิก Long COVID ประกอบด้วย แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลวิชาชีพ สหวิชาชีพอื่น ๆ เช่น นักกายภาพบำบัด เป็นต้น 2.กรณีที่จำเป็นต้องได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย อายุรแพทย์ระบบทางเดินหายใจ อายุรแพทย์ระบบประสาท จิตแพทย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป สามารถรับบริการ "รักษาลองโควิด" ได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง รายละเอียดดังนี้

  1. โรงพยาบาลกลาง ณ คลินิกประกันสุขภาพ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
  2. โรงพยาบาลตากสิน ณ ARI Clinic ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.
  3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
  4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
  5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
  6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
  7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ณ ARI Clinic ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
  8. โรงพยาบาลสิรินธร ณ คลินิกวัณโรค ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น. และ
  9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น. 

โดยสามารถนัดหมายรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน "หมอ กทม." เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ

โควิดจบ เจอ Long COVID เช็ค 9 รพ. "รักษาลองโควิด" เปิดให้บริการ 9 พ.ค.นี้

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/513957?adz=

6 พ.ค. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 508,140 คน ตายเพิ่ม 2,097 คน รวมแล้วติดไปรวม 515,755,796 คน เสียชีวิตรวม 6,271,647 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อิตาลี และฝรั่งเศส เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 
 
 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 72.57 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 76.39 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 24.69 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 10.58

…สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 11 ของโลก แม้ว่าจำนวนเสียชีวิตที่รายงานจะลดลงมากตั้งแต่ 1 พ.ค. เพราะหน่วยงานไทยปรับการรายงานเหลือเฉพาะคนที่เสียชีวิตจากโควิด-19 (Death from COVID-19) ไม่รวมคนที่เสียชีวิตจากโรคร่วมและพบว่าติดเชื้อ (Death with COVID-19)

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 24.32% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

หากดูจำนวนการติดเชื้อใหม่ต่อวัน รวม ATK ไทยเราจะติดอันดับ Top 10 ของโลกมาติดต่อกันยาวนานถึง 49 วันแล้ว

ส่วนจำนวนการเสียชีวิตต่อวันนั้น หลังจากติดอันดับ Top 10 ต่อเนื่องมา 19 วัน ล่าสุดหยุดสถิตินี้ไว้ได้แล้วเนื่องจากจำนวนลดลงหลังจากปรับรายงานเฉพาะ Death from COVID-19…

อัปเดตงานวิจัย Long COVID…

NEJM Journal Watch วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ทบทวนงานวิจัยเรื่องผลของการติดเชื้อโรคโควิด-19 ต่อสมอง

โดยสรุปงานวิจัยสำคัญจากสหราชอาณาจักร ซึ่งเปรียบเทียบผลการตรวจสมองด้วยการทำ MRI และการทดสอบความคิดความจำ (cognitive test) จำนวน 2 ครั้ง ในกลุ่มที่มีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 ระหว่างระยะเวลาที่ติดตามนาน 18 เดือน จำนวน 401 คน และกลุ่มที่ไม่ได้ติดเชื้อ จำนวน 384 คน ทั้งนี้มีเพียง 4% ของผู้ติดเชื้อที่ป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แม้จะติดเชื้อโดยป่วยเล็กน้อยก็ตาม จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองหลายอย่าง ทั้งขนาดสมองที่ลดลง, เนื้อสมอง gray matter ในส่วน orbitofrontal cortex และ parahippocampal gyrus บางลง, และสมรรถนะด้านความคิดความจำลดลง

การเปลี่ยนแปลงของสมองดังกล่าวนั้นจะคงอยู่ยาวนานเพียงใด? จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะ Long COVID หรือไม่? และจะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมในอนาคตหรือไม่? ยังเป็น 3 คำถามสำคัญ ที่จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ให้เห็น

…ด้วยสถานการณ์ระบาดของไทย ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงควรตระหนัก รู้เท่าทัน และประพฤติปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสม ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด…

อ้างอิง

1.Komaroff AL. Even Mild COVID-19 Can Lead to Substantial Brain Changes. NEJM Journal Watch. 4 May 2022.

2.Douaud G et al. SARS-CoV-2 is associated with changes in brain structure in UK Biobank. Nature 2022 Apr 28; 604:697.

3.Gollub RL. Brain changes after COVID revealed by imaging. Nature 2022 Apr 28; 604:633.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/136342/

5 พ.ค.65- นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงผลสรุปการจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-29 เมษายน 2565

นายอนุทินกล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เลือกประเทศไทยให้เป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 ในการนำร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นจากการจัดกิจกรรมฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด 19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสำคัญ

 


คือ 1.มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายประเทศ 2.ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ 3.มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม. 4.มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน และ 5.มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล

ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่ยังสามารถพัฒนาได้ คือ การบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง, การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น, การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมืองและระบบปฐมภูมิ, การต่อยอดหรือสร้างความยั่งยืนในการใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากำลังคนแบบสหสาขาและนำกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชนที่ครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล รวมถึงค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สำคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป

“ประเทศไทยได้รับคำชมจากผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ถึงนโยบายและมาตรการแนวทางการดำเนินงานดูแลประชาชน ทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลก ระบุว่ายินดีสนับสนุนและร่วมทำงานกับประเทศไทย โดยขอให้ประเทศไทยจัดทำรายงาน UHPR และเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบรายงาน นอกจากนี้ ให้เตรียมการแถลงประสบการณ์ UHPR ในที่ประชุม World Health Assembly (WHA) ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และร่วมกับอีก 3 ประเทศนำร่องในการทบทวนปรับปรุงกระบวนการ UHPR ให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ” นายอนุทินกล่าว

ด้าน นพ.จอส กล่าวว่า หลักพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ประเทศใดๆ เตรียมพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ดี จะต้องมี 1.ผู้นำทางการเมืองระดับสูงรับเรื่องเป็นพันธสัญญา 2.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ 3.กรอบความรับผิดชอบ 3 ด้าน ได้แก่ สุขภาพถ้วนหน้า การเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน และสุขภาวะที่ดีขึ้นของประชากร นอกจากนี้ ความสำเร็จจะเกิดได้ขึ้นกับการนำไปสู่การลงมือปฏิบัติโดยถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนซึ่ง ดร.สมิลา อัสมา ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก แสดงความชื่นชมที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องนี้

สำหรับกิจกรรมการทบทวน UHPR ตลอดช่วงวันที่ 21-29 เมษายน 2565 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ในสถานประกอบการและผู้ประกันตน การดูแลแรงงานทุกเชื้อชาติ ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ชลบุรี และสมุทรสาคร กิจกรรมหน่วยงานเครือข่ายและชุมชนในกรุงเทพมหานคร มีการฝึกซ้อมแผนด้วยสถานการณ์สมมติ โดยหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ ที่ร่วมดำเนินมาตรการรับมือภาวะฉุกเฉินกรณีโรคโควิด 19 และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการป้องกันควบคุมโรค ทำให้เห็นการประสานงานหลายภาคส่วนจนถึงในระดับชุมชน