2.การติดต่อ
ฝีดาษลิง(monkeypox) ศ.นพ.ยง บอกว่า แตกต่างจากเชื้อฝีดาษในคน(smallpox)ที่สามารถติดต่อทางระบบทางเดินใจหาย และ สารคัดหลั่งจากการไอ จาม แต่ฝีดาษลิง จะมีการติดต่อได้จากการสัมผัสบาดแผล หรือ ฝีหนอง และเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และการที่พบผู้ป่วยในต่างประเทศ ก็มาจากการเลี้ยงสัตว์แปลก หรือ มีการเดินทางไปที่แอฟริกามาก่อน
การติดต่อของฝีดาษลิง ถือว่าติดต่อได้ยากเมื่อเทียบกับฝีดาษคน เพราะต้องสัมผัสกับ บาดแผล ฝีหนอง ของคนป่วย
กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย
การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ
โควิด-19 เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ แพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย
3.อัตราป่วยเสียชีวิต
ฝีดาษลิง เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน
อาการเริ่มแรกฝีดาษลิง
- จะมีไข้ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย
- จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย
- ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา
อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 %
องค์การอนามัยโลก ระบุ อัตราเสียชีวิตฝีดาษลิง อยู่ที่ 3-6 % ในพื้นที่ที่เป็นโรคประจำถิ่น แต่ก็อาจเป็นการประเมินที่สูงเกินไป ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่
โควิด-19 มีการระบาดทั่วโลกมากว่า 2 ปี ปัจจุบัน อัตราป่วยเสียชีวิตทั่วโลก อยู่ที่ 1.20 %
ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 4,406,755 ราย หายป่วยแล้ว 4,318,565 ราย เสียชีวิตสะสม 29,715 ราย อัตราป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 0.18 % (ข้อมูล ณ 21 พ.ค.2565 )
4.วัคซีน
การป้องกันการติดฝีดาษลิง
1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
2.หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
3.หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค
5.กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ
วัคซีนฝีดาษ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85% โดยก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น มีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกกันว่าการปลูกฝี ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้
ทว่า เด็กที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ
โควิด-19 ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันโรคมาก่อน เพิ่งมีการเริ่มวิจัย พัฒนาในปี 2563 และเริ่มนำมาใช้ในช่วงที่โควิด-19ระบาด
ปัจจุบัน วัคซีนโควิด-19 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุมัติการขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ วัคซีนโควิด19ที่อย.ไทยอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้วมี 7 ตัว 4 ชนิดแพลตฟอร์ม คือ
- ชนิดเชื้อตาย คือ วัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม
- ชนิดmRNA คือ วัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา
- ชนิดไวรัล แว็กเตอร์ คือ วัคซีนแอสตราเซนเนก้า และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน
- ชนิดโปรตีนซับยูนิต คือ วัคซีนโคโวแวกซ์
ข้อมูล ณ 20 พ.ค.2565 ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19แล้ว 136,265,374 โดส
เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 22,199 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 82,396 ราย และเข็มที่ 3 จำนวน 97,153 ราย
5.สถานการณ์ระบาด
ท่ามกลางการจับตาดูว่า ตอนนี้ ฝีดาษลิง อาจจะระบาดในหลายประเทศยุโรป และกำลังมีการเร่งสอบสวนโรคให้ทราบต้นตอ และการวางแนวทางป้องกันโรค
สำหรับภูมิภาคอาเซียน เคยมีรายงานการพบผู้ป่วย ฝีดาษลิง ในปี 2562 มีรายงานในประเทศสิงคโปร์ โดยพบเป็นชายสัญชาติไนจีเรีย เดินทางเข้าสิงคโปร์วันที่ 28 เม.ย.2562 ผลการตรวจหาเชื้อวันที่ 5 พ.ค.2562 ยืนยันติดฝีดาษลิง โดยผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า
“ก่อนที่จะเดินทางมาสิงคโปร์ ได้ไปงานเลี้ยงแต่งงานที่ไนจีเรีย และกินเนื้อสัตว์ในงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสก่อโรคนี้"
ประเทศไทย ปัจจุบันจัดฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ ที่เรียกว่า smallpox เป็นโรคติดต่ออันตราย เช่นเดียวกับ โรคโควิด-19
โดยมีรายงานการระบาดของฝีดาษในไทย ตั้งแต่ครั้งพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ช่ววงปี พ.ศ. 2460 - 2504 มีไข้ทรพิษเกิดขึ้นทุกปี ช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2489 เป็นช่วงเกิดสงคราม เกิดการระบาดครั้งใหญ่สุด เริ่มต้น จากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสาย มรณะข้ามม่นํ้าแคว ทําให้เชลยศึกป่วยเป็นไข้ทรพิษ และลามไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆ ที่มารับจ้าง ทํางานในแถบนั้น และเมื่อกลับบ้านนําโรคกลับ ไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน (เสียชีวิต 15,621 คน)
การระบาดครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2504 - 2505 การ ระบาดที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณติดต่อ รัฐเชียงตุงของพม่า มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย ปี พ.ศ. 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการ กวาดล้างไข้ทรพิษในประเทศไทย
ปี 2523 องค์การอนามัยโลก ประกาศว่าไข้ทรพิษได้ถูกกวาดล้างแล้ว จึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรคนับแต่นั้นมา
โควิด-19 มีการระบาดครั้งแรก โดยระบาดไปทั่วโลกในปี 2563 กระทั่งถึงปัจจุบัน และเริ่มมีแนวโน้มที่สามารถควบคุมการระบาดได้ในปลายปี 2565
ข้อมูล ณ วันที่ 21 พ.ค.2565 ทั่วโลกมีรายงานผู้ติดเชื้อกว่า 500 ล้านราย และเสียชีวิตกว่า 6 ล้านราย ในประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อกว่า 4 ล้าน ราย และเสียชีวิต 29,715 ราย
สำหรับประเทศไทย โควิด-19 จะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้ในช่วงกลางมิ.ย.หรือต้นก.ค.2565นี้
“ประเทศไทย ยังไม่ต้องตื่นและกังวลกับโรคฝีดาษลิง ยังไม่ได้เกิดในไทย และเชื้อนี้ก็ไม่มีในลิงของไทย มีเชื้อเฉพาะในลิงแอฟริกา การป้องกันตัวสำหรับโรคนี้ก็ไม่แตกต่างกัน สุขอนามัย เป็นเรื่องสำคัญและอย่าได้เลี้ยงสัตว์แปลกจากต่างประเทศ”ศ.นพ.ยง กล่าว
อ้างอิง :
1.ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.องค์การอนามัยโลก
3.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4. https://www.pidst.or.th/userfiles/f26.pdf สืบค้น 21 พ.ค.2565
ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1005676?anf=