"หมอยง" ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีน โควิด-19 กี่เข็มถึงจะพอ?
 
"หมอยง" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ไขข้อสงสัย ฉีดวัคซีน โควิด-19 กี่เข็มถึงจะพอ? ย้ำวัคซีน 3 เข็มแรกจำเป็น ช่วยลดอาการของโรค - สร้างความจำให้ร่างกายได้รู้จักเชื้อไวรัส covid

วันที่ 3 มีนาคม 2565 ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หรือ "หมอยง" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุถึง โควิด-19 วัคซีน จะ "ฉีดวัคซีน" กี่เข็มพอ

 

โดย "หมอยง" ระบุว่า เราเริ่มเรียนรู้มากขึ้น วัคซีนที่เราให้ เพื่อป้องกันลดความรุนแรงของโรค ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไวรัสโควิดมีระยะฟักตัวสั้น และมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด วัคซีนที่ใช้ ใช้สายพันธุ์ดั้งเดิมตั้งแต่อู่ฮั่น ถึงแม้ว่าจะใช้สายพันธุ์ใหม่ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพก็ไม่ได้แตกต่างจากเดิม

การติดเชื้อในธรรมชาติ เมื่อวัดภูมิต้านทานต่อหนามแหลม ก็ไม่ได้สูงมาก วัคซีนที่ทำมาจากจำเพาะหนามแหลม สร้างภูมิต้านทานที่สูงมาก ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้

ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน ที่มีความจำเพาะต่อนั้นแหลม จะขึ้นสูงมากก็จริง แต่ก็จะลดลงตามกาลเวลา จึงไม่มีวัคซีนเทพ สูงมากก็ลงเร็วมาก เป็นกฎเกณฑ์ของร่างกาย 

การฉีดวัคซีนจะกี่เข็มก็ตาม ยี่ห้ออะไรก็ตาม ขึ้นสูงก็ลงเร็ว ขึ้นน้อยก็ลงช้า ประสิทธิภาพของวัคซีนจึงสูงสุดเมื่อ 14 ถึง 28 วัน หลังจากนั้นก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว

สายพันธุ์โอไมครอน สามารถติดต่อได้ง่าย แต่ความรุนแรงของโรคลดลง ประกอบกับการมีภูมิต้านทานเป็นบางส่วน จากการที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือได้รับวัคซีน เป็นส่วนประกอบให้ความรุนแรงของโรคลดลง

เมื่อความรุนแรงของโรคลดลง และติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ก็สามารถแพร่โรคได้โดยไม่รู้ตัว ก็คงหนีไม่พ้นจากการรับเชื้อโดยไม่รู้ตัว การสืบสวน Time Line เมื่อมีการติดเชื้อจำนวนมาก ก็จะไม่มีการพูดถึงแล้ว

ในปัจจุบัน อายุของการติดเชื้อลดลงมาอย่างมาก ลงมาสู่วัยเด็ก โดยที่มีอาการน้อย และในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียน ถึงแม้ว่าเด็กฉีดวัคซีนแล้วก็มีโอกาสติดเชื้อได้

ในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ยอมรับ ไม่มีการปิดโรงเรียน ตรวจ ATK เมื่อติดเชื้อรักษาตามอาการ อยู่บ้าน ครบ 7 วัน กลับมาเรียนได้ ไม่มีการตรวจเชื้อซ้ำ หรือตรวจเชื้อซ้ำขึ้น 2 ขีด ก็ไม่ได้สนใจ เพราะการติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในวันแรก และเมื่อเกิน 7 วันไปแล้วโอกาสแพร่กระจายเชื้อจะน้อยมาก

เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อได้วัคซีน 3 เข็มแล้ว 4 เข็มแล้ว ภูมิต้านทานจะสูงในเดือนแรกๆ แล้วก็ลดลงเหมือนเดิมอีก เราจะกระตุ้นวัคซีนไปเรื่อยๆ หรือถึงมีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสก็เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปตลอด ได้ยินเสมอว่าฉีดวัคซีนมา 3 เข็มแล้วก็ยังติดเชื้อได้

อย่างไรก็ตาม การได้วัคซีน 3 เข็มแรกจึงมีความจำเป็นเพื่อลดอาการของโรคให้ได้ และสร้างหรือความจำให้ร่างกายได้รับรู้จักเชื้อไวรัส covid

สิ่งที่สำคัญขณะนี้จึงเน้นป้องกันใน กลุ่มเปราะบาง มีโรคประจำตัว และทุกคนจะต้องดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง ดำรงชีวิตอยู่แบบวิถีชีวิตใหม่ (new normal) และปกติต่อไป (next normal) ทุกชีวิตต้องเดินหน้า

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/991442?anf=

 
สธ. สั่งการด่วนที่สุด รพ.ทั่วประเทศ รักษาผู้ป่วยโควิดแบบ “โรคประจำถิ่น”
สธ.ส่งจดหมายสั่งการ รพ.ทั่วประเทศ เตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วยโควิดแบบโรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 1 มี.ค.2565 สวนทางกับมติครม. ชะลอโควิด-19 โรคประจำถิ่น

ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) สั่งชะลอและทบทวนการปรับโควิด-19 ออกจาก UCEP (ยูเซ็ป) หรือนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ ซึ่งเป็นสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต  และปรับให้เป็นโรคประจำถิ่นนั้น ประชุมล่าสุด

เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2565 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข  กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงนามโดย นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19  

ได้ทำจดหมายด่วนที่สุด ถึง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด/ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เรื่อง การเตรียมการสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) กรณีผู้ติดเชื้อ ไม่แสดงอาการป่วยหรืออาการป่วยน้อย ซึ่งสวนทางกลับข้อสั่งการของครม. 

  • เตรียมพร้อมดูแลผู้ป่วยโควิดแบบโรคประจำถิ่น

โดยจดหมายดังกล่าว มีใจความระบุว่า

สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว สำหรับในประเทศไทย พบว่า ขณะนี้ตรวจพบการติดเชื้อสายพันธุ์ Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

สธ. สั่งการด่วนที่สุด รพ.ทั่วประเทศ รักษาผู้ป่วยโควิดแบบ “โรคประจำถิ่น”

เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยแบบโรคประจำถิ่น (Endemic) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ขอให้เพิ่มการจัดบริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD)


สำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการป่วยหรืออาการป่วยไม่มาก ให้สังเกตตัวเองที่บ้าน (Self Observation) ตามความสมัครใจ รายละเอียดตามแนวทางของกรมการแพทย์(OR Code)

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/990666?anf=

27 ก.พ. 2565 – นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า

คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ถึงแม้จะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าแล้ว 2 เข็ม หรือถ้าได้วัคซีนเชื้อตายซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ตามด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าอีก 1 เข็ม เชื้อก็ยังอาจลงปอด เกิดปอดอักเสบได้ จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นาอีก 1 เข็มถึงจะปลอดภัยมากขึ้น

 

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 93 ปี เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เคยผ่าตัดมะเร็งเต้านม 2 ปีก่อน ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าเข็มแรกเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 และเข็ม 2 วันที่ 13 กันยายน 2564 เตรียมตัวจะฉีดวัคซีนไฟเซอร์ แต่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เสียก่อน ผู้ป่วยไม่ได้ออกนอกบ้าน แต่ติดเชื้อโควิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 จากคนงานในบ้าน มีเจ็บคอ น้ำมูก ไอบ้าง ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส ไม่มีท้องเสีย มาโรงพยาบาลวันที่ 7 กพ. ตรวจ ATK ให้ผลบวก ยืนยันด้วยการตรวจ RT-PCR SARS-CoV2 วัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วปกติ 96 % เอกซเรย์ปอดปกติ คนไข้สมัครใจขอนอนรักษาตัวที่บ้าน โทรศัพท์ติดตามทุกวัน ไม่ได้ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะผู้ป่วยกินยาเบาหวาน และไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอกว่ายาฟาวิพิราเวียร์สามารถลดการป่วยหนักและการเสียชีวิตได้

ติดตามคนไข้ทางโทรศัพท์ทุกวันจนวันที่ 7 หลังติดเชื้อไวรัสโควิด ผู้ป่วยกินอาหารได้น้อย น้ำตาลในเลือดตกเหลือ 53 mg% เริ่มมีไข้ เหนื่อยให้เข้ามานอนในโรงพยาบาลทันทีวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 65 มีไข้ อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส ระดับออกซิเจนในเลือดตกเหลือ 92 % เอกซเรย์ปอดเริ่มมีฝ้าขาวทั้ง 2 ข้าง (ดูรูป) เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ 4,490 ค่าอักเสบในเลือด hs-CRP 57 สูง (ค่าปกติ 0-5) LDH 312 สูงเล็กน้อย (ค่าปกติ 120-246) ได้ออกซิเจนทางจมูก (nasal cannula) 3 ลิตร/นาที ให้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ทางเส้นเลือด 5 วัน ไข้ลง ไม่เหนื่อย ระดับออกซิเจนในเลือดดีขึ้น เอกซเรย์ปอดดีขึ้น คนไข้กลับบ้านได้ ไม่ต้องใช้ออกซิเจน หลังนอนโรงพยาบาล 6 วัน ติดตามเอกซเรย์ปอด 1 สัปดาห์หลังออกจากโรงพยาบาล เอกซเรย์ปอดกลับมาเป็นปกติ (ดูรูป) ปัจจุบันคนไข้สบายดี ไม่เหนื่อย ไม่ไอ กินอาหารได้ดี ถ้าก่อนหน้านี้คนไข้ได้รับวัคซีน mRNA ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา กระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 อาการหลังติดเชื้อโอมิครอนคงจะเบากว่านี้

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/93713/

 
ตะลึง "โอไมครอน" อยู่บนผื้นผิวได้นานขึ้น เกาะผิวหนังนานกว่าทุกสายพันธุ์

"โอไมครอน" ศูนย์จีโนมฯ สรุป 15 ข้อข้อมูลใหม่สามารถอยู่บนพื้นผิวได้นานขึ้นผิวหนังคน 21 ชม. พลาสติก 8 วัน นานกว่าโควิดทุกสายพันธุ์ สงครามยังไม่จบ ไวรัสพร้อมกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ แต่รุนแรงลดลง


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics  อัปเดตสถานการณ์การระบาดของ "โอไมครอน" หรือ "โอมอครอน" ในขณะนี้ พร้อมทั้งตอบ  15 คำตอบที่ปชช.อยากรู้เกี่ยวกับ "โอโมครอน BA.2" ณ ช่วงเวลานี้ 
 

1. จริงหรือไม่ที่ BA.2 ก่อให้เกิดโรคโควิดที่มีอาการรุนแรงมากกว่า BA.1 และมีความรุนแรงใกล้เคียงกับเดลตา

องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงว่าข้อมูลจากนักวิจัยในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำการทดลองในสัตว์ทดลองที่ "ไม่มีภูมิคุ้มกัน ต่อ SARS-CoV-2" อันแสดงให้เห็นว่า BA.2 อาจก่อให้เกิดโรคใน "หนูแฮมสเตอร์" ที่รุนแรงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ BA.1 นั้น เมื่อ WHO ได้ประมวลข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริงเกี่ยวกับความรุนแรงทางคลินิกจากคนไข้ในประเทศ แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ซึ่งมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อตามธรรมชาติสูง ยังไม่พบความแตกต่างในความรุนแรงของการก่อโรคระหว่าง BA.2 และ BA.1 อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติ

2. BA.2 แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า BA.1 ใช่หรือไม่

BA.2 แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.5 เท่า โดย WHO ยังคงจัด BA.2 ให้เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน มิได้ปรับให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ มีชื่อใหม่แยกออกมา
BA.2 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 และ ฺBA.3 จำนวน 10  ตำแหน่ง โดย 5 ตำแหน่งจะอยู่บนยีน S ที่ควบคุมลักษณะของหนามแหลม  
BA.1 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 และ BA.3 จำนวน 13  ตำแหน่ง โดย 7 ตำแหน่งจะอยู่บนยีน S ที่ควบคุมลักษณะของหนามแหลม  
BA.3 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 และ BA.2 จำนวน 1  ตำแหน่ง ซึ่งไม่ได้อยู่บนยีน S ที่ควบคุมลักษณะของหนามแหลม  

3. โอไมครอนอยู่ในสิ่งแว้ดล้อมนอกร่างกายได้นานเท่าไร

มีงานวิจัยจากญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า  โอไมครอนอยู่ตามผิวหนัง (มนุษย์) ได้ประมาณ 1 วัน (21 ชั่วโมง)  พลาสติกประมาณ 8 วัน (193.5 ชั่วโมง)
เดลตาอยู่ตามผิวหนังได้ประมาณครึ่งวัน (16.8 ชั่วโมง)  พลาสติกประมาณ 4 วัน (193.5 ชั่วโมง) 

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.01.18.476607v1

ตะลึง "โอไมครอน" อยู่บนผื้นผิวได้นานขึ้น เกาะผิวหนังนานกว่าทุกสายพันธุ์

4. การติดเชื้อโอมิครอนซ้ำเกิดขึ้นได้หรือไม่

WHO  แถลงว่าการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 หลังการติดเชื้อ BA.1 หรือเดลตาได้รับการบันทึกไว้แต่มีจำนวนน้อยเพราะข้อมูลเบื้องต้นจากการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในระดับประชากรบ่งชี้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ BA.1 จะสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อซ้ำจาก BA.2 ได้ 


5. โอไมครอนจะระบาดในประเทศไทยไปอีกนานแค่ไหน 

จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ "โอไมครอน" พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน (ภาพ 1) โดยแต่ละประเทศจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคนที่ไม่เท่ากันขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นจำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิดของแต่ละประเทศ

6. จะมีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่มาแทนโอไมครอนหรือไม่
WHO กล่าวว่ามีความเป็นไปได้สูงที่เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอนและระบาดเข้ามาแทนที่โอไมครอนในอนาคต

7. การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อใด ผอ. WHO แถลงว่าการระบาดใหญ่รุนแรงทั่วโลก (Acute Pandemic) สามารถยุติลงได้ในกลางปี 2565 หากทุกประเทศทั่วโลกทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในแต่ละประเทศได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 

8. ไวรัสโคโรนา 2019 ในที่สุดจะสูญพันธุ์ลงหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมีความเห็นสอดคล้องกันว่าไวรัสโคโรนา 2019 จะไม่หายไปไหน ท้ายที่สุดกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่เราควบคุมได้ (Endemic) โดยมีการกลายพันธุ์ไปรื่อยๆ แต่ลดความรุนแรงลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากมนุษย์เรามีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและจากการฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันดังกล่าวมีระบบการจดจำ แม้ว่าแอนติบอดีจะลดระดับลง จนตรวจไม่พบ แต่ระบบที่จดจำไวรัสโคโรนา 2019 ได้ยังคงอยู่ ตามอวัยะวะต่างๆ  เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำในอนาคต เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท บี เซลล์ (memory B cell) จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านในทันที  ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท ที เซลล์ (memory T cell) จะรีบเพิ่มจำนวน สร้างสารโปรตีนพิเศษไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวอีกหลายประเภทให้เข้าทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส จึงเป็นที่มาว่าทำไม WHO จึงมั่นใจที่จะกล่าวว่าสภาวะการระบาดรุนแรง (Acute Pandemic) ของไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกจะยุติลงในปี 2565 นี้


9. หากโอไมครอนไม่ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่รุนแรง (mild) ทำไมมีผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน

ผู้ติดเชื้อโอไมครอนมีอาการไม่รุนแรง (milder) เมื่อเทียบกับเดลตา (more severe) แม้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่จะมีจำนวนหนึ่ง (0.9%) ที่จะมีอาการรุนแรงเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงขั้นเสียชีวิต

10. มีรายงานข่าวว่าโอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็ว ท้ายที่สุดทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอน ข้อมูลนี้ถูกต้องหรือไม่ และหากข้อมูลนี้ถูกเหตุใดเรายังจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิดกันต่อไปอีก

ดร.มาเรีย แวน เคอร์คอฟ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงว่า โอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็วจริง แต่ “ไม่ได้หมายความว่า” ทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอนในที่สุด WHO กำลังพยายามทุกวิถีทางร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการลดโอกาสการติดเชื้อให้กับประชาชนทั่วโลก วัคซีนเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันแต่ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วสามารถติดเชื้อโอไมครอนได้ถึงร้อยละ 55.9 (vaccine breakthrough cases) ดังนั้นเราจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันตัวเองควบคู่กันไปกับการฉีดวัคซีนกล่าวคือทุกคนป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งของหรือผู้อื่น เว้นระยะห่างจากบุคคลที่สอง สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปาก ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงฝูงชน ทำงานจากที่บ้าน ถ้าทำได้ ตรวจหาเชื้อด้วย ATK หรือ PCR เป็นประจำสม่ำเสมอ อันเป็นวิธีที่เราสามารถรักษาตัวเองให้ปลอดภัยและป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อและแพร่ไวรัสไปให้คนอื่นได้
นอกจากนี้จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ "โอไมครอน" พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้นโอไมครอนจึงไม่ได้อยู่กับเรานานพอที่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อไปทั้งประเทศ หรือทั้งโลก
แต่หากพูดว่าในช่วงชีวิตเรามีโอกาสที่จะติดเชื้อไวโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ดูจะใกล้ความจริงมากกว่า


11. เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่ต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน
WHO แถลงว่าเราต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอนด้วยเหตุผล 4 ประการ

1. เราต้องการป้องกันไม่ให้ประชาชนติดเชื้อเพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโควิดรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิตได้ในอัตราร้อยละ 0.9
2. ผู้ติดเชื้อแล้วหายบางคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลที่ตามมาในระยะยาว ซึ่งเราเรียกว่าภาวะหลังโควิด (long covid) และเรายังไม่เข้าใจกลไกการเกิด “ลองโควิด” ที่จะนำไปสู่การรักษามากนัก
3. การติดเชื้อของคนในชาติเป็นจำนวนมากจะเป็นภาระใหญ่ต่อระบบสาธารณสุขและระบบเศรษฐกิจของประเทศ 
4. ยิ่งโอไมครอนมีการแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนเป็นวงกว้าง ยิ่งเปิดโอกาสให้ไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องมีการกลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอน และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเพื่อสามารถแพร่ระบาดมาแทนที่โอไมครอนได้ ส่วนการก่อโรคโควิด-19 ของสายพันธุ์ใหม่นั้นจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงยังไม่อาจคาดเดาได้ 
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องร่วมด้วยช่วยกันลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน

12. เหตุใดประเทศเดนมาร์กจึงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

เดนมาร์กถือเป็นกรณีศึกษา ทั่วโลกจับต่อมองเพื่ออาจนำไปใช้บ้าง มีจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอน BA.2 เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งที่มีการฉีดวัคซีนสูงถึงร้อยละ 88 ของประชากร ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “เดนมาร์ก" เป็นประเทศแรกในยุโรปที่ผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด รวมถึงข้อบังคับการสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางกายภาพหลังจากที่หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรได้มากกว่า 80%
หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กประเมินว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรงในสังคมอีกต่อไป เพราะแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในเดนมาร์กจะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้เสียชีวิตคงที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใดต่อระบบสาธารณสุข ทั้งนี้เพราะเดนมาร์กมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง ประชากรที่อายุ 5 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และอีกประมาณร้อยละ 60 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว

13. หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์ก "ตัดสินใจผิดพลาด"หรือไม่ที่ยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด ตั้งแต่เดือน 1 ก.พ. 2565 ทำให้มีทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

หลังจากเดนมาร์กยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จาก BA.2 ก็ทะยานขึ้นและถึงจุดสูงสุด (peak) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565 แล้วก็เริ่มลดลงจากนั้นเป็นต้นมา (ภาพ 2) 
The State Serum Institute (SSI) ของเดนมาร์กซึ่งเทียบเท่ากับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้แถลงว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโดยรวมในเดนมาร์ก "คงที่ไม่เพิ่มขึ้น"
ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2564 เดนมาร์กมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในผู้สูงอายุมากกว่า 75 ปี อันมีสาเหตุจากการติดเชื้อ “เดลตา” 
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ปี 2565 อัตราการเสียชีวิตในเดนมาร์กลดลงและตอนนี้เข้าใกล้ระดับปกติทั้งที่เดนมาร์กมีการตรวจ PCR ให้ผลบวกเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริง และน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตจากเดลตาในอดีต

14. หากอัตราผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริงทำไมข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก “Our World in data” (จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด) ในช่วงที่เดลตาระบาด และโอไมครอนระบาดจึงใกล้เคียงกัน 

ทาง SSI ได้อธิบายว่า ข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก “Our World in data” นั้นเป็นข้อมูลรวมการตายสองกลุ่มเข้าด้วยกันคือ (1) ผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นๆ แต่มีผล PCR ต่อเชื้อโควิด-19 เป็นบวก (deaths with) เพราะช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 อย่างกว้างขวาง และ (2) ผู้เสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 (deaths by COVID) (ภาพ 4) 
หากดูเฉพาะผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนจะพบว่ามีจำนวนลดลงและน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากเดลตา

15. รู้ได้อย่างไรว่าผู้เสียชีวิตคนใด "เสียชีวิต" จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กมีการตรวจสอบว่าผู้ตายได้รับยาต้านไวรัส Remdesivir และ/หรือและ Dexamethasone ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับ COVID-19 ในเดนมาร์ก

ตะลึง "โอไมครอน" อยู่บนผื้นผิวได้นานขึ้น เกาะผิวหนังนานกว่าทุกสายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.who.int/.../22-02-2022-statement-on-omicron...

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/506619?adz=

'หมอยง' อธิบายสาเหตุที่ทำไมถึงต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 -4 เพราะแม้ไม่สามารถป้องกันการตัดได้ แต่จะลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะไวรัสกลายพันธุ์ทั้งหลาย

24 ก.พ.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กพร้อมรูปในหัวข้อ “โควิด- 19 วัคซีน ทำไมจึงต้องมีการกระตุ้นเข็ม 3 เข็ม 4” ระบุว่า วัคซีนในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่เป็นที่ยอมรับความมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง

 

แต่เดิมหลังจากพัฒนาวัคซีน มีเป้าหมายป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสโควิดมีระยะฟักตัวสั้น จึงทำให้ยากต่อการป้องกันการติดเชื้อ เพราะต้องการระดับภูมิที่สูงอยู่ตลอดเวลา

เมื่อให้วัคซีนครบ 2 เข็ม การศึกษาประสิทธิภาพในระยะแรก เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในระยะสั้นหลัง 2 เข็ม จึงดูเหมือนว่าได้ผลดี แต่ความเป็นจริงเมื่อกาลเวลายาวนานออกระดับภูมิต้านทานลดต่ำลง ประสิทธิภาพในการป้องกันและลดอาการของโรคจึงลดลงตามระยะเวลาที่ห่างออกไป

เมื่อมีการกระตุ้นเข็มสาม จะมีการยกระดับภูมิต้านทานให้ขึ้นสูงไปใหม่ และก็จะลดลงตามกาลเวลาอีกเช่นเคย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นให้ภูมิต้านทานอยู่ในระดับที่สูงขึ้นอีก และก็จะลดลงอีก จึงมีความสำคัญในการกระตุ้นโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง

ภูมิคุ้มกันที่วัด ที่เป็นแอนติบอดี้หรือระดับ B เซลล์ จะป้องกันการติดเชื้อ ยิ่งสูงก็จะสามารถป้องกันข้ามสายพันธุ์ได้ ส่วนระดับ T เซลล์ จะช่วยลดความรุนแรงหรือทำให้หายเร็วขึ้น

เมื่อเราให้วัคซีนมาแล้วเป็นระยะเวลายาวนาน ขณะนี้การให้วัคซีนในประเทศไทยจะครบ 1 ปี จึงไม่แปลกที่ภูมิต้านทานจะลดลง และจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นเข็ม 3 และถ้านานวันออกไปอีก โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีที่ 2 ก็จะไม่แปลกที่จะต้องมีการให้เข็มกระตุ้นเพิ่มขึ้นอีกหรือให้เข็มที่ 4 เพื่อยกระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น ดังแสดงในรูป

ไวรัสกลายพันธุ์หลบหลีกระบบภูมิต้านทาน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ต้องใช้ภูมิต้านทานในระดับที่สูงกว่าปกติ และที่ผ่านมาก็จะเห็นว่า เมื่อให้วัคซีนในประชากรหมู่มากขึ้น ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราความรุนแรงของโรค และอัตราการเสียชีวิต ลดลงกว่าการระบาดในปีแรกๆ

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/91839/

ข้อมูลจาก รพ.จุฬาภรณ์
*การระบาดที่กำลังเกิด จากเมื่อวานนี้และวันนี้ เป็นสายพันธุ์ B.1.1.7 หรือ British variant ที่เข้ามาระบาดภายในประเทศแล้ว
(มีการตรวจ genome ยืนยันแล้ว) การระบาดจะแรงขึ้น 30 ถึง 50 % ทุกคนควรระวังตัวให้เต็มที่

สัญญาณ Covid-19 สรุปจาก สธ.
น่าจะช่วยกันได้บ้าง

อาการวันต่อวัน

วันที่ 1-3 :
1. คล้ายหวัด
2. ปวดในคอเล็กน้อย
3. ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย
4. กิน/ดื่มปกติ

วันที่ 4 :
1. เจ็บคอเล็กน้อย
2. พูดเริ่มเจ็บในคอ
3. ไข้ดูปกติ 36.5°C
4. รบกวนกับการกิน
5. ปวดหัวเล็กน้อย
6. ท้องเสียอ่อนๆ
7. รู้สึกเหมือนเมา

วันที่ 5 :
1. ปวดในคอ พูด-เจ็บ
2. อ่อนเพลียเล็กน้อย
3. ปรอทไข้ 36.5° - 36.7°C
3. อ่อนเพลีย ปวดข้อต่อ

วันที่ 6 :
1. ปรอทไข้ 37 °C+
2. ไอแห้ง
3. ปวดคอขณะกิน/พูด
4. อ่อนเพลีย คลื่นไส้
5. หายใจลำบากเป็นครั้งคราว
6. นิ้วรู้สึกเจ็บปวด
7. ท้องร่วง อาเจียน

วันที่ 7 :
1. มีไข้ 37.4° - 37.8°C
2. ไอต่อเนื่อง มีเสมหะ
3. ปวดร่างกาย/ศีรษะ
4. ท้องร่วงมาก
5. อาเจียน

วันที่ 8 :
1. ไข้ 38°C+++
2. หายใจลำบาก
3. ไอต่อเนื่อง
4. ปวดหัว ข้อต่อ กล้ามเนื้อ
5. ง่อยและปวดก้น

วันที่ 9 :
1. ไม่ดีขึ้น และแย่ลง
2. ไข้สูงมาก
3. อาการทรุดลงมาก
4. ต้องต่อสู้เพื่อหายใจ

อาการในวันที่ 9 ต้อง
-ตรวจเลือด
-CT Scan ทรวงอก

เพื่อประโยชน์ร่วมกัน แชร์ต่อนะครับ

ขอขอบคุณครับ

 
หนีไม่พ้น "โอไมครอน" BA.2 ระบาดขาขึ้นเป็นหลักแสน ค่าตรวจวันละ 100 ล้านบาท
 
 

จับตา "โอไมครอน" BA.2 ไทยหนีไม่พ้น ระบาดขาขึ้นเป็นหลักแสน ตรวจ RT-PCR หมด ต้องใช้เงินวันละ 100 ล้านบาท หมอยง ชี้ สภาพอย่างในปัจจุบันนี้ คงเป็นไปไม่ได้ ที่ทุกคนเมื่อตรวจพบเชื้อแล้ว จะต้องอยู่โรงพยาบาล

เกาะติด "โอไมครอน" หรือ โอมิครอน โควิด-19 กลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่มีแนวโน้มจะมาแทนที่ BA.1 กลายเป็นสายพันธุ์หลัก ล่าสุด หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ Yong Poovorawan โควิด-19 การระบาดอยู่ในขาขึ้น

หมอยง โพสต์ระบุ ตามที่ได้กล่าวแล้ว สายพันธุ์ที่มีแนวโน้มไปได้เร็ว BA.2 เราคงหนีไม่พ้น ขณะนี้ การระบาดอยู่ในขาขึ้นในทวีปเอเชีย สิงคโปร์มีประชากรน้อยกว่าเรา 10 เท่า ยังมีผู้ป่วยมากกว่าหมื่นห้า ญี่ปุ่นขึ้นไปเกือบแสน เกาหลี ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบ มากกว่าเราทั้งนั้น

"จะเห็นว่าการเปลี่ยนสายพันธุ์แต่ละครั้งจำนวนผู้ป่วยในบ้านเรา จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า จากระลอกแรกเป็นหลักสิบ ระลอก 2 เป็นหลักร้อย และระลอก 3 เป็นหลักพัน ระลอก 4 เจอสายพันธุ์เดลตาเป็นหลักหมื่น ครั้งนี้เป็นระลอก 5 สายพันธุ์ "โอไมครอน" (โอมิครอน) ไม่แน่ใจว่าจะขึ้นเป็นหลักแสนหรือเปล่า ไม่อยากเห็นตัวเลขขึ้นแบบนั้นเลย"

หมอยง ระบุต่อว่า เมื่อวานผมเข้าร่วมบรรยาย Webinar กับ อินโดนีเซีย และ ว่านเย็น บรรยายกลุ่มโรคเด็กกับ อียิปต์ ในเรื่องของ COVID-19 เราคงต้องยอมรับความจริง โรคนี้ในเอเชียจะต้องขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วจึงค่อยลงมาอีก จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ในยุโรปและอเมริกาอยู่ขาลงแล้ว

หมอยง, COVID-19, BA.2, โอไมครอน, โอมิครอน

หมอยง, COVID-19, BA.2, โอไมครอน, โอมิครอน

"มีโทรศัพท์เข้ามา โดยเฉพาะมีผู้ป่วยใหม่ขอคำปรึกษาจำนวนมาก แสดงให้เห็นจำนวนผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นการติดในครอบครัว และจะติดทั้งครอบครัว" หมอยง ระบุพร้อมบอกอีกว่า จำนวนผู้ติดเชื้อในบ้านเราอยู่ในขาขึ้น ยอดสูงสุดจะเป็นเท่าไหร่ อาจจะถึง 3 - 5 หมื่น หรือมากกว่าก็ได้ ขณะนี้ ที่เห็นชัดก็คือว่าถ้าเรารวมผู้ป่วยตรวจยืนยัน RT-PCR กับ ATK ก็น่าจะเกิน 25,000 แล้ว และดูอัตราการเสียชีวิต ในภาพรวมดังแสดงในรูป จะอยู่ที่น้อยกว่า 2 ใน 1,000 ถ้าเอาผู้ที่มีอาการน้อยและตรวจพบ ATK มารวมด้วยอัตราการเสียชีวิตก็จะอยู่ที่น้อยกว่า 1 ใน 1,000

นอกจากนี้ หมอยง ยังระบุอีกว่า เมื่อมีจำนวนผู้ป่วยมากขนาดนี้และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันก็คือ ลดการติดต่อโรคให้ได้มากที่สุด ผู้ที่ตรวจ ATK เป็นบวก แล้วไม่มีอาการ ให้แยกตัวกักตัวเองเลย อาจไม่จำเป็นที่ต้องไปตรวจยืนยันเลย ให้ปฏิบัติตัวเหมือนผู้ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ค่าตรวจจะมีค่าใช้จ่ายทั้งนั้น คงขึ้นอยู่กับอาการมากกว่า สมมติว่าถ้าเราติดเชื้อรวมทั้ง ATK เกินกว่า 50,000 ราย และต้องตรวจ RT-PCR หมด รวมทั้งมีการตรวจกรองกลุ่มเสี่ยงอีก ซึ่งขณะนี้เราตรวจกันวันละประมาณ 50,000 คน และถ้าต้องตรวจเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 คน ค่าตรวจคนละ 1,000 บาท เราจะต้องใช้เงินค่าตรวจวันละ 100 ล้านบาท

"ผู้ที่มีอาการ ก็จะต้องแยกแยะว่ามีอาการมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีอาการน้อยและสามารถแยกตัวที่บ้านได้ก็ควรอยู่บ้าน เพราะขณะนี้ทราบดีแล้วว่าส่วนใหญ่มีอาการน้อย ถ้าร่างกายแข็งแรงดี หรือมีอายุน้อย นอกจากเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับยืนยันอย่างรวดเร็ว และเข้ารับการรักษา สภาพอย่างในปัจจุบันนี้ คงเป็นไปไม่ได้ ที่ทุกคนเมื่อตรวจพบเชื้อแล้ว จะต้องอยู่โรงพยาบาล" หมอยง ทิ้งท้าย

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/505997?adz=

"โอไมครอน" BA.2 ทดสอบแล้วพบก่อโรครุนแรง กระจายดีในจมูก-ทำปอดแย่ลง

"โอไมครอน" BA.2 หมอเฉลิมชัยเปิดผลทดสอบ พบก่อโรครุนแรงกระจายได้ดีในโพรงจมูก และทำสมรรถภาพปอดแย่ลง ติดเชื้อตัวนี้ต้องนอนโรงพยาบาลมากขึ้น

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ Blockdit "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" เกี่ยวกับการระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" BA.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยที่ตัวใหม่ที่กำลังถูกจับตามองของทั่วโลก โดย ระบุว่า

ล่าสุด  ญี่ปุ่นพบว่าไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่ 2 (BA.2) ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์ย่อยที่ 1 (BA.1) ในหนูแฮมสเตอร์

นับจากมีไวรัสโอมิครอนแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยมีความสามารถในการแพร่ที่รวดเร็วกว่าไวรัสเดลต้า แต่มีความรุนแรงน้อยกว่านั้น

ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา มีข้อมูลเบื้องต้นสรุปได้ว่า

1. มีไวรัสสายพันธุ์ย่อยอยู่ 3 สายพันธุ์คือ BA.1 , BA.2 , BA.3

2.BA.1 เป็นหลัก โดยมี BA.2 เป็นลำดับที่ 2

3.BA.2 มีลักษณะเด่นคือ แพร่เร็วกว่า BA.1 มากถึง 30% ทำให้ขณะนี้แพร่ไปแล้ว 74 ประเทศ และ 47 รัฐของสหรัฐฯ

4. มีถึง 10 ประเทศ ที่มีสายพันธุ์ย่อย BA.2 เป็นสายพันธุ์หลักประกอบด้วย บังกลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์ จีน บูรไน กวม และมอนเตรเนโก

5.BA.2 มีความสามารถในการดื้อต่อวัคซีนพอๆกับ BA.1 ทำให้ต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ซึ่งจะมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อได้ 74% (ของไทยคือ 68%)

6.มีความสามารถในการก่อโรคที่มีอาการรุนแรงพอกันกับ สายพันธุ์ย่อย BA.1 แต่มีข้อมูลในประเทศเดนมาร์กที่พบว่าความรุนแรงเพิ่มขึ้นทำให้นอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แตกต่างกับแอฟริกาใต้และอังกฤษการนอนโรงพยาบาลไม่ได้เพิ่มขึ้น

7.มีการดื้อต่อการรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น ภูมิคุ้มกันแบบ Monoclonal Antibody

นพ.เฉลิมชัย ระบุเพิ่มเติมว่า  ขณะนี้มีรายงานการศึกษา "โอไมครอน" BA.2  ของญี่ปุ่นจากหลายสถาบัน หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยโตเกียว


ได้รายงานเบื้องต้นว่า

1. BA.2 อาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน แต่ควรจะนับเป็นสายพันธุ์หลักชนิดใหม่ และใช้ชื่ออักษรกรีกลำดับใหม่ ความเห็นนี้สอดคล้องกับ Dr.D.Rhoads ซึ่งเป็นนักไวรัสวิทยาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน

2. จากการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ พบว่าสายพันธุ์ BA.2 ก่อให้เกิดโรคที่มีอาการหนักกว่าสายพันธุ์ BA.1 ทำให้สมรรถภาพปอดแย่ลง มีการแบ่งตัวในเซลล์จมูกเร็วกว่า จึงทำให้มีความสามารถในการแพร่เชื้อที่ง่ายกว่าด้วย

อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคจะมีมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ ความร้ายแรงของไวรัสเอง และระดับภูมิคุ้มกันของมนุษย์

ถ้า BA.2 มีความร้ายแรงในมนุษย์จริงก็ไม่ได้แปลว่า จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงมากกว่าเสมอไป  เพราะขณะนี้จำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีนมีเป็นจำนวนมากเกินกว่า 10,000 ล้านโดสแล้ว  ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้อาการไม่รุนแรงมากเท่ากับความร้ายแรงของไวรัสที่เพิ่มขึ้น

มนุษย์คงจะต้องติดตามศึกษาเรื่องคุณลักษณะต่างๆของไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 ที่มีการกลายพันธุ์อยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาต่อไป

ไม่สามารถที่จะวางใจได้ว่า โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น หรือมีความรุนแรงน้อยลง จนไม่มีผลกระทบขนาดใหญ่

เพราะถ้าไวรัสกลายพันธุ์ไปในทิศทาง ที่แพร่เชื้อเร็ว ดื้อต่อวัคซีนมาก และก่อโรครุนแรง ก็จะเกิดการระบาดขนาดใหญ่ทั่วโลก และโควิด-19 ก็จะอยู่ต่อเนื่องไปอีก ซึ่งไม่มีใครทราบว่าจะนานเท่าใด

แต่ก็มีโอกาสอยู่บ้างเช่นกัน ที่การ กลายพันธุ์ จะทำให้ไวรัสแพร่ระบาดได้รวดเร็ว แต่สร้างความรุนแรงน้อยลง ก็จะเป็นโชคดีของมนุษยชาติ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505994?adz=

 

20 ก.พ. 2565 – ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana ระบุว่า นักวิจัยญี่ปุ่นสรุปว่า BA.2 ดุพอๆกับเดลต้า มาจากผลวิจัยติดไวรัสในหนูที่ไม่เคยได้วัคซีน..จะใช้อธิบายกับคนได้หรือไม่? เป็นคำถามสำคัญ

ขณะที่อีกโพสต์ ดร. อนันต์ ระบุว่าเนื่องจากการกลายพันธุ์บนโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัส โอมิครอน ทั้ง BA.1 และ BA.2 แอนติบอดีที่ไปแยกมาจากผู้ป่วยที่ติดไวรัสสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาจะมีแนวโน้มสูงมากที่จะไม่สามารถจับและยับยั้งไวรัสกลุ่มนี้ได้

 
 
 

ล่าสุดมีผลการศึกษาว่า BA.2 มีแนวโน้มจะดื้อกับแอนติบอดีรักษาที่กำลังพัฒนาอยู่แทบทุกตัว สาเหตุคือการกลายพันธุ์ที่กระจัดกระจายบนส่วนโปรตีนหนามที่ยากจะหาแอนติบอดีที่จะหนีส่วนกลายพันธุ์ตรงนั้นเข้าไปจับได้…แต่ร่างกายเราสร้างแอนติบอดีได้หลากหลายมาก และ ผลการศึกษาจากการติดเชื้อจากธรรมชาติ หรือ จากการฉีดวัคซีนทำให้เราเชื่อว่ายังต้องมีแอนติบอดีเหล่านั้นที่จับโอมิครอนได้ผสมๆอยู่ในร่างกายของเรา เพียงแต่ว่าการหาและแยกแอนติบอดีเหล่านั้นออกมาจาก pool ที่มีแอนติบอดีอื่นๆอยู่มากมายทำได้ยากมาก และ ต้องอาศัยโชคช่วยจริงๆ

ข่าวดีวันนี้คือความพยายามของนักวิจัยที่แข่งกันหาแอนติบอดีที่สามารถจับและยับยั้งไวรัสโรคโควิดได้ทุกสายพันธุ์เหมือนจะเป็นจริง โดยงานวิจัยล่าสุดของทีมวิจัยจากเนเธอแลนด์ (ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิจัยด้านไวรัสโคโรนามายาวนานและเข้มแข็งมาก) พบว่า แอนติบอดีที่ทีมวิจัยไปแยกได้มา 1 โคลน ชื่อว่า 87G7 สามารถผ่านด่านหินของโอมิครอนทั้ง BA.1 และ BA.2 ไปจับโปรตีนหนามสไปค์และยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัสได้ ผลการทดลองใช้แอนติบอดีตัวนี้ในสัตว์ทดลองที่รับเชื้อไวรัสพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีมาก

ทีมวิจัยทำการศึกษาเชิงลึกพบว่า แอนติบอดี 87G7 นี้ไปจับโปรตีนหนามสไปค์ตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ใช้เข้าเซลล์ ( เรียกว่า RBD) ที่กรดอะมิโน 6 ตำแหน่ง (สีเขียวในภาพ) ที่เป็นตำแหน่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไวรัสทุกสายพันธุ์ในตอนนี้ ซึ่งกลุ่มโอมิครอนที่พบเปลี่ยนแปลงจะเป็นส่วนสีแดงจะไม่ได้ตรงกับที่ 87G7 เข้าไปจับ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งกรดอะมิโนที่เป็นสีเขียวนี้จะเปลี่ยนได้ยาก เพราะถ้าเปลี่ยนจะทำให้หน้าที่ของโปรตีนหนามสไปค์ทำงานไม่ได้ หรือ ไม่ดี ไวรัสจึงจำเป็นต้องเก็บตำแหน่งนี้ไว้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ 87G7 ก็จะเป็นแอนติบอดีที่จะสามารถยับยั้งไวรัสได้ทุกสายพันธุ์ถ้าไวรัสไม่กลายพันธุ์เพิ่มในกรดอะมิโน 6 ตำแหน่งนี้
งานวิจัยที่แข่งกันตอนนี้น่าทึ่งมากครับ และ เชื่อว่า 87G7 คงจะไม่ใช่แค่โคลนเดียวที่เราจะหาเจอ ต่อไปคงมีตามมาอีกครับ

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/89184/