"โอไมครอน" ละอองเชื้อแห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน เปิดอีก 3 ข้อ ให้อยู่รอดปลอดภัย
 
 

เปิดอีก 3 ข้อ ให้อยู่รอดปลอดภัยจากโควิด "โอไมครอน" ที่คุณสมบัติไม่ธรรมดา ละอองเชื้อแห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน แม้คนติดเชื้อไม่อยู่แล้ว

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ Covid-19 ระลอก 4 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่ก็ไม่ควรประมาท คำถามที่ทุกคนต้องถามตัวเองอยู่เสมอ แทบทุกวัน และบ่อย ๆ ก็คือ "ติดหรือยัง" และจะระวังป้องกันตัวเองให้มากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

นพ.อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ ผู้เชี่ยวชาญโรคสมองและระบบประสาท เคยให้ข้อมูลไว้ตั้งแต่โควิดระบาดหนักในรอบที่ 3 ว่า สถานการณ์ตอนนี้ไม่สำคัญแล้วว่า เราจะอยู่บริเวณไหนของการระบาด จะเป็นสีแดง สีเหลือง ให้คิดไว้ก่อนเลยว่าทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ โดยไม่รู้ตัว และมีโอกาสแพร่เชื้อได้ทั้งหมด

ดังนั้น ให้ทำ 3 อย่างคือ   

  1. อยู่ห่างจากผู้คน 1.5 เมตร เป็นระยะที่ปลอดภัย  
  2. มีสติ  
  3. นึกเสมอว่าต้องระวังตัว 

3 สิ่งนี้ มือ,หน้ากาก,หน้าเรา ถ้า 3 สิ่งนี้ปลอดภัย เราจะปลอดภัย ไม่ว่าคนตรงหน้าจะเป็นโควิดไหม เพราะวัน ๆ หนึ่ง เราก็ไม่รู้ว่าเราเอามือไปแตะกับอะไรบ้าง ทุกครั้งก่อนเอามือไปแตะกับหน้ากาก ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม ให้รู้ว่าความเสี่ยงมันเกิดขึ้นจากจุดนั้น เช่น เจอคนรู้จัก สวัสดี เอามือไปจับหน้ากากถอดออก หรือรู้สึกว่าหน้ากากไม่แนบ จะเอามือไปขยับลวดที่หน้ากาก ไม่ได้นะครับ

ถ้าเมื่อไรที่เราต้องแตะหน้ากาก เราต้องล้างมือ (ที่ง่ายที่สุดคือแอลกอฮอลล์) ล้างให้ครบจนถึงปลายนิ้วมือ ถ้าให้ดีก็ครบ 7 ขั้นตอนเลย อย่างน้อยตรงที่เราจับควรจะสะอาด โบกมือให้แห้งก่อนถึงจะใช้ได้ เมื่อมือเราสะอาดแล้วก็จับหน้ากากบีบลวดให้แนบหน้าได้

คุณหมอบอกว่า วิธีทดสอบหน้ากากว่าป้องกันได้ดีไหม ด้วยการเป่าลมดู ถ้าเป่าแล้ว ไม่มีลมออกข้างบน ออกข้าง ๆ หรือออกข้างหน้า แปลว่าใช้ได้ นอกจากนี้
ก็ยังมีวิธีพับ "หน้ากากอนามัย" (Surgical Mask) ให้เป็นปม เพื่อให้ปิดหน้าแนบมากขึ้นไปอีก ซึ่งมีข้อมูลเผยแพร่ไว้มากมาย

"การใส่หรือการถอดหน้ากาก ให้จับแค่ตรงสายหน้ากาก สมมติฐานว่ามันมีเชื้อ ทุกครั้งที่ต้องแตะหน้ากาก ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ล้างมือ ไม่ใช่เผลอ ๆ ก็แตะจมูก แตะหน้ากาก แตะหน้า หรือจับหน้ากากให้มันแนบ ๆ ที่เลอะคือ เลอะหน้ากาก เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควร ถ้าจะแตะเราต้องล้างมือทุกครั้ง"

นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่า หน้ากากอนามัย (Surgical Mask) เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทิ้งเลย ไม่ต้องเสียดาย ไม่ควรใช้ซ้ำไปเรื่อย ๆ มันไม่ใช่หน้ากากกันฝุ่น ให้เราคิดว่ามีเชื้อโรคเข้ามาเรียบร้อยแล้ว เพราะว่าตอนนี้คนแพร่เชื้อไม่มีอาการ ไม่ไอ ไม่มีไข้ ไม่มีอะไรเลย คนมีไข้ก็อยู่โรงพยาบาลแล้ว คนที่ไอก็รู้ตัวว่าเสี่ยง ส่วนคนที่ไม่รู้ตัวก็แพร่เชื้อไปเรื่อย ๆ ถ้าเธอเป็นโควิด ฉันก็ปลอดภัย เพราะฉันมีสติ กับมือ, กับหน้ากาก, กับหน้า 

นอกจากนี้ คุณสมบัติพิเศษของโควิด "โอไมครอน" คือ ไม่ต้องกัด แค่เปิดปาก ก็แพร่เชื้อได้ แม้เชื้อไม่ค่อยลงปอด แต่ไปเกาะเซลล์ผนังคอแทน เมื่อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อกระจายมากกว่า และง่ายกว่า แม้เชื้อโอไมครอนจะไม่ลงปอด ทำให้ความเสี่ยงในการป่วยหนักลดลง แต่เชื้อโอไมครอนกลับไปเกาะบริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก เมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุยตะโกน ไอ จาม เชื้อจึงกระจายออกมาง่าย และมากกว่า ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย

แถมยิ่งอยู่ในพื้นที่ปิด ละอองเชื้อที่แห้ง ลอยไกลอยู่ได้นาน แม้ผู้ติดเชื้อไม่อยู่แล้ว เชื้อโควิดถูกห่อหุ้มด้วยน้ำมูก หรือ น้ำลาย แต่เวลาอยู่ในพื้นที่ปิด เมื่อน้ำมูก หรือน้ำลายระเหยแห้งไป เชื้อโควิดที่มีขนาดเล็กลง จะสามารถล่องลอยไปไกล และตกค้างในอากาศได้นาน ไวรัส ซึ่งคือน้ำมูกหรือน้ำลาย (เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดใหญ่ น้ำหนักของน้ำมูกหรือน้ำลาย ทำให้ลอยตกทันที เมื่อระเหยเป็น "ไวรัส" (เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 ไมครอน) ฝอยละอองขนาดเล็ก ลอยในอากาศได้นาน


พื้นที่ปิด หรือระบายอากาศไม่ดี เสี่ยงเจอเชื้อตกค้าง การเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ มีส่วนช่วยในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ทั้งนี้ การเปิดช่องระบายอากาศ ควรเปิดให้ทแยงด้านกัน เพื่อทำให้อากาศเกิดการถ่ายเทได้รอบบริเวณมากที่สุด ไม่เหลือการตกค้างของเชื้อโรค

  • ควรเปิดระบายอากาศด้านทแยงกัน ช่วยระบายอากาศได้ดีกว่า
  • ไม่ควรเปิดระบายอากาศฝั่งตรงข้ามกัน อาจมีเชื้อโรคตกค้าง

** ควรเปิดระบายอากาศครั้งละ 5-10 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ถ้ามีข้อจำกัด อาจเปิดระบายก่อนเริ่มใช้ห้อง ระหว่างพัก และก่อนเลิกใช้


ในพื้นที่ปิด เชื้อแพร่ยกกำลัง 3

นอกจากการเว้นระยะห่างแล้ว การเลี่ยงไม่อยู่ในพื้นที่ปิดก็ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดได้ เพราะภายในพื้นที่ปิด เชื้อจะสามารถแพร่ได้ถึง 3 ทางได้แก่

  • ระยะใกล้ ติดจากฝอยละอองขนาดใหญ่
  • ระยะไกลติดจากฝอยละอองขนาดเล็ก
  • ระยะประชิดติดจากการสัมผัส

วิธีเอาตัวรอด

เมื่ออยู่ในที่อากาศไม่ถ่ายเท ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ สวมอย่างถูกวิธี กระชับใบหน้า เว้นระยะห่าง ล้างมือ และฉีดวัคซีน
 

การเลือกสวมหน้ากากที่มีประสิทธิภาพเหมาะสูง เช่น N95 หรือ KN95 โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่แออัด มีคนจำนวนมาก ช่วยลดความเสี่ยง
ในการติดเชื้อได้มาก แต่ทั้งนี้ต้องสวมให้ถูกวิธี และกระชับใบหน้า เพราะการสวมหน้ากากไม่กระชับอาจเกิดช่องโหว่ให้เชื้อโรดลอดเข้ามาได้ ได้แก่ ช่องเหนือจมูก ช่องข้างแก้ม และช่องใต้คาง

  • หน้ากากผ้า ลดความเสี่ยง 56%
  • หน้ากากอนามัย ลดความเสี่ยง 66%
  • หน้ากาก N95/KN95 ลดความเสี่ยง 83%

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505963?adz=

 
 

โควิดไม่จบแค่หาย "หมอธีระ" ตอกย้ำข้อมูล ภาวะ "Long COVID" มีโอกาสเป็นถึง 20-40% อาจเจอความผิดปกติได้ถึง 200 อาการ

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค Thira Woratanarat อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ไม่ได้น่ากลัวแค่การติดเชื้อ แต่ยังต้องระวังถึงภาวะหลังการติดเชื้อ คือภาวะ "Long COVID" (ลองโควิด) ด้วย โดยระบุว่า 17 ก.พ.2565 ทะลุ 417 ล้านแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,020,469 คน ตายเพิ่ม 10,193 คน รวมแล้วติดไปรวม 417,859,246 คน เสียชีวิตรวม 5,866,725 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย บราซิล ฝรั่งเศส และตุรกี จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 98.01 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 97.92 ล่าสุด จำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้น คิดเป็นร้อยละ 53.44 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 38.34 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ มีประเทศจากยุโรปและเอเชีย ครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

อัพเดตเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนในสหราชอาณาจักรต่อ Omicron

UK HSA ได้เผยแพร่รายงาน COVID-19 Vaccine Surveillance Report วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สรุปสาระสำคัญคือ

  1. หากดูประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ในสหราชอาณาจักร (Astra 2 เข็ม และกระตุ้นด้วย Pfizer หรือ Moderna, หรือ mRNA vaccines 3 เข็ม) จะพบว่า มีประสิทธิภาพในการลดโอกาสป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล และลดโอกาสเสียชีวิตได้ดี แต่ป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ (ป้องกันการป่วย)ได้ไม่มากนัก คือราว 50-75% ในช่วงสามเดือนแรกหลังฉีดเข็มกระตุ้น และเหลือ 40-50% หลังจากฉีดไป 4-6 เดือน (รูปที่ 1)
  2. หากดูเปรียบเทียบผลระหว่าง Omicron สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ BA.1 กับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดเพิ่มขึ้นคือ BA.2 จะพบว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อทั้งสองสายพันธุ์นี้ดูจะไม่แตกต่างกัน (รูปที่ 2)

"Long COVID" อาการผิดเพี้ยน 200 แบบ ไม่อยากได้แต่เสี่ยงสูง 40% ดูรายละเอียด

"Long COVID" อาการผิดเพี้ยน 200 แบบ ไม่อยากได้แต่เสี่ยงสูง 40% ดูรายละเอียด

"หมอธีระ" ระบุว่า ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เราเห็นความสำคัญของการ "ฉีดวัคซีน" แต่ที่สำคัญมากกว่าคือ การป้องกันตัวในระหว่างที่ดำเนินชีวิตประจำวัน แม้ฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ป่วยได้ และเสียชีวิตได้เช่นกัน การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น มีข้อมูลวิชาการแพทย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่ติดเชื้อ รักษา แล้วจะจบ แต่มีโอกาสที่จะเกิดภาวะอาการคงค้างระยะยาว "ลองโควิด" หรือ "Long COVID" ได้ โดยมีถึง 20-40% ของผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมดที่อาจเกิดภาวะนี้ 

นอกจากนี้ ยังเกิดได้กับทั้งคนที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อย หรือมีอาการรุนแรง ป่วยรุนแรงเสี่ยงกว่าป่วยไม่รุนแรง ผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าเด็ก ผู้หญิงเสี่ยงกว่าผู้ชาย แต่เน้นย้ำว่า ทุกเพศ ทุกวัย ทุกความรุนแรงเกิดได้หมด เชื่อกันว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เกิด Long COVID เพราะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบต่อเนื่องระยะยาวในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หรืออาจเกิดภาวะภูมิต้านทานตนเอง (autoantibody) Long COVID ในปัจจุบันมองว่า เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ถึง 200 อาการ เกิดได้ทั้งในระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร ผิวหนัง ส่งผลทั้งต่อสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน สมรรถนะในการทำงานของผู้ป่วย และเป็นภาระค่าใช้จ่ายระยะยาว ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว และสังคมได้ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

"หมอธีระ" ย้ำว่า สถานการณ์ไทยเรา การระบาดยังรุนแรง กระจายทั่ว และยังเป็นขาขึ้น ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้น ๆ เลี่ยงการกินดื่ม หรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงาน ไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505721?adz=

อ่านแล้วสบายใจ
เป็นโควิดก็ตาย
ไม่เป็นโควิดก็ตาย
ฉีดวัคซีนกันก็ตาย
ไม่ฉีดวัคซีนก็ตาย

จนก็ตาย

รวยก็ตาย

สวยก็ตาย

หล่อก็ตาย

ขี้เหร่ก็ตาย

ป่วยก็ตาย

สุขภาพดีก็ตาย

ไม่มีใครไม่ตาย

อย่าไปคิดเยอะกับชีวิต ว่าจะต้องได้อะไร ว่าจะเป็นแบบไหน ว่าจะต้องเป็นเหมือนใคร
อะไรคว้ามาได้
"ก็ยินดี"
อะไรสุดมือสอย
"ก็ปล่อยไป"

เราเป็นเพียงแขกมาเยือนบนโลกนี้ สักวันเราก็ต้องไป

อยู่กับปัจจุบันให้ได้ ทำทุกวินาทีให้มีความหมาย เพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว

อยู่เป็นกำลังใจให้กัน🌺 แล้วเราจะจากกันอย่างมีความสุข

...หิว ก็ กิน
...อิ่ม ก็ พอ
...ท้อ ก็ พัก
...หนัก ก็ วาง
...ง่วง ก็ นอน

อย่าจริงจังกับชีวิตนัก เดี๋ยวมันก็ผ่านไป แบ่งปันความสุขกัน ให้อภัยกันมากๆ แล้วเราจะจากไปอย่างสง่างาม (บ๊ายบาย)

จงกินกล้วย... เมื่อเครียด.... ซึมเศร้า
จงกินกล้วย เมื่อกรดไหลย้อน
จงกินกล้วย เมื่อน้ำตาลตกตอนเช้าๆ (hypoglycemia)

กล้วยมีน้ำตาลธรรมชาติ ถึงสามชนิด– sucrose, fructose , glucose ซึ่งล้วนจับตัวแน่น กับเส้นใยอาหาร(fiber).จึงค่อยๆปลดปล่อยน้ำตาลออกมา ให้พลังงานกับร่างกาย

มีงานวิจัยมากมาย ย้ำว่ากล้วย 2 ผลให้พลังงานพอเพียง กับการออกกำลังบริหาร 90 นาที ใครช่างสังเกต นักกีฬาระดับชาติ ระดับโลกมัก จะพกกล้วยติดตัว กินเป็นอาหารว่าง ระหว่างพักเกม

กล้วยช่วยลดอาการ ซึมเศร้า เพราะมีกรดอะมิโน tryptophan ซึ่งร่างกายใช้เป็นวัตถุดิบ ไปสร้าง เซอโรโทนิน serotonin ทำให้ผ่อนคลาย อารมณ์สดชื่น จำไว้ว่าเวลาเครียด…. กินกล้วยซะ !!!

กล้วยช่วยป้องกัน เลือดจาง เพราะมีแร่ธาตุเหล็ก ที่จำเป็นต่อการสร้าง hemoglobin ของเม็ดเลือดแดง

กล้วยมีแร่โปตัสเซี่ยมสูง ช่วยลดความดันโลหิต ทานทุกวันเพื่อลดความเสี่ยง ต่อความดันสูงและ stroke.

มีงานวิจัยมากมาย พบว่ากล้วยช่วยให้ สมองตื่นตัว มีสมาธิ จึงเหมาะกับนักเรียน ขณะเรียนหรือสอบ.

กล้วยมีเส้นใยอาหาร (fiber) สูงช่วยชะล้างผนังลำไส้ และทำให้อุจจาระ มีมวลที่ง่ายกับการขับถ่าย ป้องกันท้องผูกได้ เป็นอย่างดี

เส้นใยชนิดละลายน้ำ (water soluble fiber) ยังเป็นอาหาร และที่พักพิง สำหรับจุลินทรีย์ ในลำไส้ (Gut Flora ) ได้ขยายแพร่พันธุ์

แก้อาการเมาค้าง ได้ดีนักแล โดยอาจปั่นเป็น banana milkshake หรือกินกับน้ำผึ้ง ทำให้สดชื่น หายเมาค้าง มีกำลัง

กล้วยมีสรรพคุณ ลดกรดในกระเพาะได้ดี จึงเหมาะมากกับ การป้องกันและรักษา โรคกระเพาะ และอาการกรดไหลย้อน (มีตัวอย่างคนใกล้ชิด ที่ประสบปัญหา กรดไหลย้อนมานาน ทานยาก็ช่วยอะไร ไม่ได้มาก ท้ายสุดเพียงกล้วยมื้อละผล อาการหายขาด จนทุกวันนี้ตื่นเช้ามา ต้องหันไปไหว้ขอบคุณ ต้นกล้วย 5555 แต่เรื่องจริงนะ )

กล้วยมีเส้นใย ห่อหุ้มน้ำตาลอยู่ เมื่อทานเข้าไปแล้ว จะค่อยปลดปล่อยน้ำตาลออกมา อย่างช้าๆคล้าย ยาราคาแพงๆ ที่โฆษณาว่า “Slow release” ทำให้ระดับน้ำตาล ไม่วูบวาบ ใครที่หิวบ่อย ต้องหาของกิน ทุกสองชั่วโมง ลองหันมาทานกล้วย มื้อละผลดู

ใครที่ตื่นนอนตอนเช้า แล้วไม่มีแรงลุกขึ้น (เนื่องจากน้ำตาลในเลือด ลดต่ำมาก Hypoglycemia) ให้ทานกล้วยก่อนนอน หนึ่งผล นอกจาก จะหลับสบายแล้ว ยังป้องกันอาการ น้ำตาลในเลือดลดต่ำมาก Hypoglycemia ที่ภาษาชาวบ้าน มักเรียกว่า morning sickness.

ดีกว่ายาหม่อง ตั้งเยอะ ใครถูกยุงแมลงกัดต่อย จนแสบคัน อย่าเพิ่งทายาหม่อง รีบเอาเปลือกกล้วย ด้านในทาถูๆ จะพบความอัศจรรย์ หายคันหายบวมเร็วทันใจ

กล้วยมีวิตามิน B สูง จึงช่วยผ่อนคลาย ระบบประสาทได้ดี เวลาเครียด วิตกกังวล เหงาหงอย รีบคว้ากล้วยเข้าปาก

ผลการศึกษา เทียบกับแอปเปิ้ล พบว่ากล้วยมีโปรตีนสูงกว่า 4 เท่า มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่า2 เท่า มีแร่ฟอสฟอรัสสูงกว่า 3 เท่า มีวิตามิน A และแร่ธาตุเหล็กสูงกว่า 5 เท่า มีวิตามิน และแร่ธาตูอีกหลายชนิด สูงกว่าโดยเฉลี่ย 2 เท่า อุดมด้วยแร่ โปตัสเซี่ยมที่จำเป็น ต่อการทำงาน ของหัวใจ และหลอดเลือด ช่วยลดความดัน

 
"วัคซีนเข็ม 3" เคลียร์ชัดจำเป็นมั้ย แต่ "วัคซีนเด็ก" เห็นแย้ง ไม่แนะนำให้ฉีด 

"หมอสันต์" เคลียร์ชัด "วัคซีนเข็ม 3" จำเป็นมั้ย แต่ วัคซีนเด็ก เห็นแย้ง ไม่แนะนำ ยังไร้ข้อมูล ฉีดเด็กป้องกันคนแก่ในบ้าน

อัปเดตสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง การ "ฉีดวัคซีน" ดูจะเป็นสิ่งที่จำเป็น
ที่สุดในช่วงเวลานี้ แต่ก็ยังมีหลายคนตั้งคำถามว่า "วัคซีนเข็ม 3" จำเป็นมากน้อยแค่ไหน จะฉีดหรือไม่ฉีดดี ล่าสุด "หมอสันต์" นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ 
ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์ โดยตอบข้อซักถามที่ระบุว่า 

เรื่อง ณ วันนี้ "วัคซีนเข็ม 3" ก็ยังคงไม่น่าไปฉีดใช่ไม๊คะ

สวัสดีค่ะ คุณหมอสันต์
จากที่คุณหมอเคยตอบเรื่องการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสามนั้น ตอนนี้ได้รับแรงกดดันจากคนรอบข้างหลาย ๆคนให้ไปฉีดเข็มสาม ฟังข่าวจากหลายแหล่ง หลายหมอ ก็แนะนำให้ฉีด เราก็เถียงด้วยข้อมูลที่คุณหมอสันต์เคยแนะนำ แต่มาถึงวันนี้ คนรอบ ๆ ตัวเราก็บอกว่าข้อมูลเราเก่าเกินไปแล้ว เลยอยากขอเรียนถามคุณหมอว่า ณ วันนี้ ถ้าถามคุณหมอว่าเราควรฉีดกระตุ้นเข็มสามหรือไม่ คุณหมอยังคงแนะนำเช่นเดิมรึเปล่าคะ หรือมีอะไรแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการตัดสินใจว่าวัคซีนกระตุ้นเข็มสามจำเป็นรึเปล่าคะ รบกวนคุณหมอช่วยชี้แนะด้วยนะคะ เพราะเถียงกันในครอบครัวเกือบทุกวันว่าจะฉีด หรือไม่ฉีด เป็นห่วงคุณแม่ ซึ่งอายุ 82 ด้วยค่ะ ตัดสินใจยังไงดีคะ ขอบพระคุณคุณหมอสันต์ค่ะ

 

"หมอสันต์" ตอบว่า

  1. ถามว่าแผนวัคซีนโควิดโดยทั่วไป อย่างไรถึงจะเรียกว่าวัคซีนไม่พอหรือไม่ update ตอบว่า ณ ขณะนี้หากถือตามศูนย์ควบคุมโรคอเมริกา หากหลังวัคซีนเข็มสองแล้วภายใน 5 เดือนยังไม่ได้วัคซีนเข็มสาม ถือว่าวัคซีนไม่พอ หรือไม่ update ครับ
  2. ถามว่าเขามีหลักฐานอะไรที่เชียร์ให้ฉีดเข็มสาม ตอบว่า เขาใช้วิธีตรวจวัดปริมาณภูมิคุ้มกันต่อโควิดในเลือด (immunoglobulin) ครับ ไม่ได้ใช้อัตราการติดเชื้อจริง เพราะข้อมูลอัตราการติดเชื้อเปรียบเทียบคนฉีดเข็มสามกับไม่ฉีดยังไม่มีครับ
  3. ถามว่าเมื่อยังไม่มีข้อมูลว่า "วัคซีนเข็ม 3" จะลดการติดเชื้อจริงหรือไม่ มีแต่ว่าเพิ่มจำนวนโมเลกุลภูมิคุ้มกันได้ แล้วการฉีดวัคซีนเข็มสามจะคุ้มความเสี่ยงไหม ตอบว่า ก็ในเมื่อไม่มีข้อมูลการติดเชื้อจริงมาเปรียบเทียบในรูปของการวิจัย RCT ก็จึงยังไม่มีใครจะตอบข้อนี้ได้สิครับ ดังนั้น ผู้รับวัคซีนต้องตัดสินใจว่า จะรับหรือไม่รับ เอาจากดุลพินิจของตัวเองครับ
  4. ถามว่าการฉีดเข็มสามจะนำไปสู่เข็มสี่ ห้า หก หรือไม่ ตอบว่ามันนำไปสู่เข็มสี่ ห้า หก แน่นอนครับด้วยคอนเซ็พท์ของการต้องคอย update วัคซีนให้ภูมิคุ้มกันคงอยู่ในระดับสูงตามที่ผมนิยามไว้ในข้อ 1. เพราะแผนวัคซีนของโควิด มีแนวโน้มจะทำแบบแผนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อย่างสมัยนี้ไข้หวัดใหญ่ต้องฉีดกันปีละครั้งทุกปี ทุกคนที่อายุเกินหกเดือน ผมเดาเอาว่าวัคซีนโควิดจะออกมาอีหรอบเดียวกัน เพราะทุกฝ่าย (ผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้สั่งจ่าย ผู้ใช้) ต่างเฮโลกันไปทางนั้น ผมเดาเอาว่ามันจะเป็นเช่นนี้ไป จนกระทั่งวันหนึ่ง เมื่อมีหลักฐานที่หนักแน่นโผล่ออกมาว่า มันไม่คุ้ม เพราะผลเสียมากกว่าผลดี ซึ่งจะมีวันนั้นหรือไม่ ยังไม่มีใครทราบครับ

5. ถามว่าหมอสันต์มีจุดยืนอย่างไรในการฉีดวัคซีนโควิด ตอบว่า

  • เรื่องวัคซีนเข็ม 3, 4, 5, 6 ในผู้ใหญ่ ข้อมูลยังไม่พอที่จะแนะนำอะไร ดังนั้น ตัวใครตัวมันครับ เอาแบบที่ท่านชอบ
  • เรื่องวัคซีนโควิดในเด็ก แม้ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก โดยอ้างว่าความเสี่ยงของการไม่ฉีดเท่า หรือมากกว่าโรคหัด ซึ่งเป็นโรคที่เราจับเด็กฉีดวัคซีนหมด แต่ผมเองมีคำแนะนำที่ไม่เหมือน CDC คือ ผมแนะนำว่า เด็กไม่ควรฉีดวัคซีนโควิดใน พ.ศ.นี้ เพราะความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นอะไรไปเพราะโรคโควิดนั้นมีน้อยมาก (นี่ผมยังไม่เกี่ยงว่า วิธีประเมินอัตราตายของเด็กจากโควิดของทางอเมริกานั้น ใช้วิธีแบบเหมาโหล ซึ่งต่างจากวิธีของอังกฤษ ซึ่งใช้วิธีวิเคราะห์เหตุเป็นรายคนนะ) ขณะที่ความเสี่ยงของวัคซีนโควิดต่อเด็กในระยะยาวยังไม่มีใครทราบเลย คือวิธีการผลิตวัคซีนทั้ง DNA และ RNA เนี่ยมันพิศดารมากนะครับ อ่านกระบวนการผลิตแล้วมันอะเมซซิ่ง ยิ่งกว่าอ่านนิยายวิทยาศาสตร์เสียอีก หากไม่มีโควิดมา ผมว่าต้องรออีกไม่รู้กี่สิบปี กว่าวัคซีน DNA และ RNA จะได้ออกมาใช้ แต่เพราะโควิด เราจึงเอามันออกมาใช้แบบพรวดพราด ดังนั้นมันต่างจากวัคซีนหัด ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่าความเสี่ยงของวัคซีนหัดต่ำมาก แต่วัคซีนโควิดนี่ต้องรออีก 20 ปีจึงจะทราบ ชั่งน้ำหนักแล้ว ประโยชน์มีน้อยแน่นอน ผลเสียอาจมากหรือน้อยยังไม่รู้ ส่วนประเด็นที่ว่า ฉีดเด็กเพื่อป้องกันผู้ใหญ่นั้น หึ หึ นับถึงวันนี้ ยังไม่มีหลักฐานแม้แต่ชิ้นเดียวนะครับ ที่จะยืนยันว่าการฉีดวัคซีนให้เด็ก จะป้องกันผู้ใหญ่ที่บ้านไม่ให้ป่วยได้

ดังนั้น กล่าวโดยสรุป ผมจึงแนะนำว่า เด็กยังไม่ควรฉีดวัคซีนโควิดครับ นี่เป็นคำแนะนำส่วนตัวนะครับ ซึ่งอาจไม่เหมือนกับแผนวัคซีนของชาติ หรือแผนวัคซีนของ CDC สหรัฐ แต่ผมยอมพูดแม้จะแตกต่างจากแผนวัคซีนของชาติ เพราะในฐานะแพทย์ ผมมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูล และแนะนำอะไรบนข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ นับถึงวันนี้ที่ตัวผมเองชั่งตวงวัดได้ หากท่านผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลมากกว่าที่ผมมีแล้ว ช่วยบอกผมมาเอาบุญ หากผมประเมินแล้วว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อได้จริงในเชิงวิทยาศาสตร์ ผมก็เปลี่ยนคำแนะนำของผมตามข้อมูลใหม่ได้ครับ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505060?adz=

 
"โอไมครอน" เปิด 4 เคส หายแล้วไม่เหมือนเดิม กลุ่มเสี่ยงอาการหนัก ฉีดแล้ว 2 เข็ม
 

"หมอนิธิพัฒน์" เปิด 4 เคส "โอไมครอน" หายแล้วแต่ไม่เหมือนเดิม กลุ่มเสี่ยงอาการหนัก แม้ฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว ยังไม่ฉีดเข็มกระตุ้น

อัปเดตสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่กำลังแพร่ระบาด ส่งผลให้ตัวเลข "โควิดวันนี้" พุ่งสูงขึ้นทุกวัน "หมอนิธิพัฒน์" รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ค นิธิพัฒน์ เจียรกุล ระบุว่า เมื่อวานตรวจเยี่ยมผู้ป่วยนอกสามราย และผู้ป่วยในหนึ่งราย จากโควิด "โอไมครอน" มาบอกกล่าวให้รับทราบถึงผลพวงการเจ็บป่วย และถ้าเป็นได้ขอเป็นเสียงเล็ก ๆ ที่ส่งผ่านข้อมูลสะท้อนไปถึงการตัดสินใจของ ศบค.ในช่วงสายวันนี้ เพื่อกำหนดชะตากรรมของประเทศต่อไป

  • ชายวัยฉกรรจ์เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ เดิมแข็งแรงดี ร่างกายล่ำบึ้ก ป่วยจาก "โอไมครอน" แบบอาการน้อย ไม่มีปอดอักเสบ รักษาในฮอสปิเตล ผ่านมาราวหนึ่งเดือนยังรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนเพลียง่าย มีเสมหะบ่อย ไม่สามารถออกกำลังได้หนักเท่าเดิม
  • หญิงอายุ 80+ ปี เดิมแข็งแรงดี เว้นมีโรคความดันโลหิตสูง รักษาสม่ำเสมอ ป่วยแบบอาการไม่รุนแรงจากปอดอักเสบเล็กน้อย ออกจากโรงพยาบาลราวครึ่งเดือน ตรวจวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนปลายนิ้วปกติคือเกิน 95% แต่ยังอ่อนเพลีย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และการรับรู้ของสมองลดลง
  • หญิงอายุ 30+ ปี เดิมแข็งแรงดี ทำงานออฟฟิศ ป่วยแบบอาการไม่รุนแรง รักษาตัวที่บ้านด้วยยารักษาตามอาการภายใต้การติดตามของโรงพยาบาล หลังหายแล้วกว่าหนึ่งเดือน ยังคงไอ มีเสมหะ และเพลียง่าย ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • รายสุดท้ายเป็นชายอายุ 60+ ปี น้ำหนักตัวเกือบร้อยโล หลังมีอาการได้สี่วัน (ไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ และถ่ายเหลว) หอบเหนื่อยมาก เกิดปอดอักเสบรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เอกซเรย์ปอด (ดังรูป)

"โอไมครอน" เปิด 4 เคส หายแล้วไม่เหมือนเดิม กลุ่มเสี่ยงอาการหนัก ฉีดแล้ว 2 เข็ม

ทุกรายได้รับวัคซีนเข็มพื้นฐานครบถ้วนและไม่เกิน 3 เดือน กำลังรอรับเข็มกระตุ้น

"หมอนิธิพัฒน์" ย้ำว่า โอไมครอนติดง่าย วัคซีนเข็มพื้นฐานทุกสูตรกันติดได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะถ้าเวลาเกินสามเดือนในคนปกติ หรือไม่ถึงสามเดือนในคนเปราะบาง แต่วัคซีนเข็มพื้นฐานยังช่วยกันรุนแรงจนถึงตายได้ แต่อาจไม่โชคดีทุกคน ดังเช่นความรุนแรงของรายสุดท้าย แต่การฉีดวัคซีนโควิดทั้งเข็มพื้นฐาน และเข็มกระตุ้นในทุกสูตร ยังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แม้จะป่วยแบบไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่รุนแรง เมื่อหายแล้วมีบางส่วนที่ร่างกายยังไม่กลับเหมือนเดิมได้เร็ว ไม่ว่าต้นทุนสุขภาพเดิมจะดีแค่ไหนก็ตาม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505030?adz=

งบฯ ไม่พอ! 'นพ.อุดม' ยันรัฐจำเป็นต้องยกเลิก 'โควิด' รักษาเจ็บป่วยฉุกเฉิน
 
'หมออุดม' ยืนยันจำเป็นต้องยกเลิกรักษาโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป เพราะรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอในการอุดหนุนค่าใช้จ่ายรักษาโควิดฟรี ย้ำจะให้เวลาเตรียมตัว ไม่ยกเลิกกระทันหัน
 
 

นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษา ศบค. กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ โดยในช่วงปลายเดือนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะแตะถึง 17,000-18,000 รายต่อวัน โดยหวังว่าจะไม่ถึง 20,000 รายต่อวัน แต่ทั้งนี้​ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของประชาชนทุกคน แต่หากเปรียบเทียบกับการเจ็บป่วยรุนแรงของประชาชนถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่น้อย หากเปรียบเทียบกับการระบาดช่วงเดือน ส.ค.- ก.ย. 2564 ที่ประเทศไทยมีการระบาดอย่างรุนแรง ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยถือว่าจำนวนผู้ป่วยรุนแรงลดลงกว่า 10 เท่า จาก 500 ราย เหลือเพียง 100 รายเท่านั้น ยืนยันระบบสาธารณสุขของไทย​ ยังสามารถรองรับได้ และคนไทยมีวินัย แต่ต้องระมัดระวังเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้ผู้ติดเชื้อแตะ 20,000 รายต่อวันในอนาคต

ทั้งนี้​ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกกรณีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวัน แต่ขอเห็นใจบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างเหนื่อยล้า และขอประชาชนเข้ารับวัคซีนให้ครบโดส รวมไปถึงเข็มกระตุ้น เพราะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะสามารถป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงได้ จึงอยากให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด ยืนยันขณะนี้มีวัคซีนเพียงพอ แต่ประชาชนฉีดน้อยลง และยืนยันว่า​ มีเตียงรองรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอย่างเพียงพอ​ เพราะมีการวางระบบเอาไว้อย่างดี โดยนำเอาบทเรียนครั้งที่ผ่านมามาเตรียมความพร้อม

ส่วนกรณีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่าทำไมไทยจะต้องยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป หรือการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ แล้วให้ไปใช้สิทธิ์ ตามหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ที่จะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.นี้ นายแพทย์อุดม ระบุว่า​ ขอให้ประชาชนเข้าใจว่าที่ผ่านมารัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ฟรี ที่ไม่มีประเทศใดดำเนินการเท่ากับประเทศไทย และต้องยอมรับว่ารัฐบาลรองรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ยกตัวอย่าง ในประเทศสวีเดน รัฐบาลสวีเดนยกเลิกกฎควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เกือบทั้งหมดเมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ทั้งที่เป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่าไทย

ส่วนตัวจึงเห็นว่า ควรช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ และตอนนี้ต้องทำใจเพื่อเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้ โดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ แต่ยืนยันรัฐบาลจะไม่ได้มีการประกาศยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป ในทันที แต่จะให้ประชาชนมีเวลาเตรียมตัว 1-2 เดือน ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ประชาชนไม่ใช่สาธารณสุข เพราะระบบสาธารณสุขไม่ได้มีปัญหา แต่ต้องปรับตามบริบท เพราะจะเห็นได้ชัดว่าสายพันธุ์โอไมครอนไม่ทำให้มีผู้ป่วยหนัก พร้อมย้ำรัฐบาลไม่มีงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ฟรีแล้ว

 

ที่ประชุม ศบค.วันนี้ก็จะพิจารณาผ่อนคลาย ซึ่งกังวลว่าประชาชนจะไม่เข้าใจว่า เมื่อตัวเลขเพิ่มขึ้น ทำไม ศบค. ถึงต้องผ่อนคลาย เนื่องจากจะดูในเรื่องของเศรษฐกิจให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าให้ได้

นายแพทย์อุดม​ มีความห่วงใยกลุ่มเด็กที่ ขณะนี้ยังได้รับวัคซีนน้อยอยู่ เนื่องจากผู้ปกครองมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน แต่ยืนยันว่า ตามมาตรฐานแล้วเด็กต้องรับวัคซีนไฟเซอร์ และมีวัคซีนซิโนแว็กซ์-ชิโนฟาม เชื้อตายเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น แต่เด็กก็ยังฉีดน้อยอยู่ และจะยังยึดสูตรนี้ต่อไป แม้ขณะนี้ประสิทธิภาพการฉีด1 อาจจะน้อยแต่เข็ม2 และเข็ม3 จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากนี้จะมีการปรับเป็นสูตรไขว้ ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศแล้ว เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันขึ้นรวดเร็ว

ทั้งนี้​ ยืนยันกรณีผลข้างเคียงในเด็กที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้น แม้จะเกิดขึ้นจริงแต่มีเปอร์เซ็นต์น้อย ซึ่งกลุ่มที่เกิดเยอะสุดคือเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 16 - 18 ปี ซึ่งเกิดขึ้นในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง หรือ 70​ คน ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน

ส่วนเด็กผู้หญิง อายุ 16-18 ปีเกิดขึ้น 7 คน ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน ส่วนอายุต่ำกว่า 12 ปีเกิดขึ้นได้เพียง 4-5 คน ต่อจำนวนประชากร 1ล้านคนเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก จึงขอให้ ผู้ปกครองนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีน เพราะเมื่อฉีดในผู้ใหญ่จนครอบคลุมแล้วจะเกิดการระบาดในเด็กแทน ตามข้อมูลแล้วเมื่อผู้ใหญ่ติดเชื้อหลักๆแล้วจะลงปอด แต่ในเด็กจะกระจายไปหลายอวัยวะมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัว จึงขอให้เข้ารับการฉีดวัคซีนเพราะผลดีมีมากกว่าผลเสีย

ข้อมูลจาก https://www.thaich8.com/news_detail/105241

 
"วัคซีนโควิด" จำเป็นต้องกระตุ้นเข็ม 4 ช่วยลดติดเชื้อ ป่วยหนักได้เกือบ 5 เท่า
 
 

"วัคซีนโควิด" หมอเฉลิมชัยย้ำคนไทยยังจำเป็นต้องกระตุ้นเข็ม 4 ช่วยลดป่วยหนักได้ดี หากไม่ฉีดเสี่ยงอาการหนักเกือบ 5 เท่า ทิ้งระยะห่าง 4 เดือนกระตุ้นได้ทันที

นพ.เฉลิมชัย รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ข้อความระบุว่า

ความรู้เรื่องCOVID-19 (ตอนที่1117) 2กพ2565

คงจำเป็น !! ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด "วัคซีนโควิด" 4 เข็ม ดีกว่า 3 เข็ม ลดการป่วยหนักได้  4.3 เท่า

จากสถานการณ์โควิดระบาดระลอกใหม่ ด้วยไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งมีความสามารถในการแพร่ระบาดเร็วกว่าเดลต้า 4 เท่า แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า 3.5 เท่า 

ตลอดจนวัคซีน 2 เข็ม มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเหลือเพียง 30% 

แต่เมื่อฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ประสิทธิผลเพิ่มขึ้นเป็น 60-80% ส่วนการป้องกันการป่วยหนักขึ้นไปที่มากกว่า 80% นั้น

ในประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศแรกของโลก ในการฉีดวัคซีนสามเข็มเป็นการทั่วไป

ขณะนี้ได้เริ่มฉีดเข็มที่ 4 ทั่วประเทศในกลุ่มเสี่ยง คือผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และได้มีรายงานการศึกษาเบื้องต้นว่า ฉีด 4 เข็ม ดีกว่า 3 เข็มชัดเจนดังนี้

กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลได้แถลงในเบื้องต้นว่า จากการศึกษาของหลายสถาบันทางการแพทย์และสาธารณสุขพบว่า 

วัคซีน 4 เข็ม สามารถป้องกันการป่วยรุนแรงในกลุ่มอายุ 60 ปี ได้ดีกว่า 3 เข็ม  3 เท่าตัว และป้องกันการติดเชื้อได้ดีกว่า 2 เท่าตัว

โดยตัวเลขเบื้องต้น คิดจากประชากร 1 ล้านราย ฉีดเข็ม 4 จำนวน 400,000 ราย และเข็ม 3 จำนวน 600,000 ราย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ทางศูนย์การแพทย์ Sheba ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มเดียวกันนี้

แต่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 1,138,681 ราย พบว่า "วัคซีนโควิด"  เข็ม 4 กระตุ้นภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่า แม้จะยังมีการติดเชื้ออยู่จำนวนพอสมควร โดยที่เคยได้ผลดีกับไวรัสเดลต้า แต่ลดลงในกลุ่มโอมิครอน 

สามารถสรุปได้ว่า

การฉีด "วัคซีนโควิด" เข็มที่ 4 เมื่อผ่านไปมากกว่า 12 วัน เทียบกับฉีดเข็มที่ 3 เมื่อผ่านไปมากกว่า 4 เดือนนั้น

ลดการป่วยรุนแรงได้มากถึง 4.3 เท่า

และลดการติดเชื้อได้ 2.0 เท่า

ดังนั้นคงจะมีความจำเป็น สำหรับสถานการณ์โอมิครอนว่า ถ้าประเทศใดได้มีการฉีดเข็มที่ 3 นานกว่า 4 เดือนแล้ว

อาจจะต้องพิจารณาฉีดเข็มที่ 4 ต่อไป หรืออาจจะไปเริ่มต้นฉีดเข็มที่ 1 ของวัคซีนเจนเนอเรชั่นที่ 2 ถ้าในตอนนั้นมีการวิจัยพัฒนาออกมาเสร็จเรียบร้อย

ดูเหมือนมนุษย์เรา จะต้องวนเวียนอยู่กับวัคซีน เพื่อรับมือกับไวรัสโคโรนาลำดับที่ 7 นี้อยู่ต่อไป อย่างน้อยก็อีกระยะหนึ่ง

ทั้งนี้จำเป็นจะต้องมีวินัยในการป้องกันตนเอง ด้วยหลักการเหมือนเดิมทุกประการ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/503894?adz=

 

องค์การอนามัยโลกเปิดเผยในรายงานประจำสัปดาห์ว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดมากที่สุดทั่วโลกขณะนี้ ถูกตรวจพบแล้วใน 57 ประเทศ และยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงในแง่ความรุนแรงของโรค

รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยในข้อมูลด้านการระบาดวิทยาประจำสัปดาห์นี้เมื่อวันอังคารว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่พบในสิ่งส่งตรวจไวรัสโคโรนามากกว่า 93% ของทั้งหมดที่รวบรวมได้ใน 1 เดือนที่ผ่านมา โดยประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยหลายชนิด ได้แก่ BA.1, BA.1.1, BA.2 และ BA.3

 
 
 

สายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.1.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยชนิดแรกที่จำแนกได้ ยังคงเป็นสายพันธุ์ย่อยกว่า 96% ที่พบในการจัดลำดับทางพันธุกรรมโอมิครอนที่เผยแพร่ผ่านโครงการริเริ่มด้านวิทยาศาสตร์โลก GISAID แต่ก็มีการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.2 ซึ่งมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งจากสายพันธุ์ดั้งเดิม รวมถึงที่โปรตีนหนามบนพื้นผิวไวรัสที่เป็นกุญแจสำคัญในการเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์

รายงานกล่าวว่า ถึงขณะนี้ GISAID ได้รับข้อมูลการพบสายพันธุ์ BA.2 แล้วจาก 57 ประเทศ โดยในบางประเทศนั้น สายพันธุ์ย่อยนี้คิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของข้อมูลลำดับพันธุกรรมสายพันธุ์โอมิครอนที่ได้รับ

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ย่อยต่างๆ และควรต้องมีการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะ รวมถึงความสามารถในการแพร่เชื้อ, การหลบหลีกการป้องกันของภูมิคุ้มกัน และศักยภาพในการก่อโรค

ผลการศึกษาหลายชิ้นในช่วงไม่นานมานี้บ่งบอกว่า BA.2 สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม

ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญด้านโควิดของ WHO กล่าวว่า ข้อมูลเกี่ยวกับ BA.2 ยังมีจำกัด แต่ข้อมูลเบื้องต้นบางอย่างบ่งชี้ว่า BA.2 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ BA.1

สายพันธุ์โอมิครอนโดยทั่วไปก่อโรครุนแรงน้อยกว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ เช่น เดลตา แต่ฟาน เคอร์โคฟกล่าวว่า ถึงเวลานี้ยังไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่า BA.2 มีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของความรุนแรงของโรค

เธอย้ำด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นโควิดสายพันธุ์ใดก็ยังคงเป็นโรคที่อันตราย และผู้คนควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/abroad-news/77864/