2 คือ คุณธรรมคุ้มครองโลกสองประการ

i) หิริ การเห็นว่าบาปกรรมเป็นเรื่องน่าละอายพอๆ กับการถ่ายอุจจาระกลางตลาด
ii) โอตตัปปะ การเห็นว่าบาปกรรมน่ากลัวพอๆ xการเอามือไปคว้างูพิษ

0 คือ ที่พึ่งจากโลกอันบ้าคลั่ง
สมาธิ ความสงบเยือกเย็นในความว่าง เมื่อเหนื่อยล้าจากอารมณ์และความคิดที่ขึ้นๆ ลงๆ มีเพิ่มมีลดไม่หยุดหย่อน

2 คือ คุณธรรมอันนำมาซึ่งความงามสง่าสองประการ
i) ขันติ ความอดทน อดกลั้น
ii) โสรัจจะ ความสงบระงับ และกิริยาอาการอันสงบเสงี่ยม

2 คือ คุณธรรมอันมีอุปการะมากสองประการ
i) สติ การมีสติ ระลึกได้ในสิ่งที่ควรระลึกได้ และจดจำในสิ่งที่ควรจดจำได้
ii) สัมปชัญญะ ความรู้ชัดจากการมีสติ การตระหนักรู้โดยปราศจากอคติในด้านบริบทแวดล้อม เป้าหมาย และความถูกต้องเหมาะสม

ขออำนวยพรให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญในปี ค.ศ. 2022

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

ผลวิจัยชัด เข็มบูสเตอร์ฉีดวัคซีน “แอสตร้าเซเนก้า” สามารถป้องกัน “โอมิครอน” ได้

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.64 “แอสตร้าเซเนก้า” ได้เปิดเผยผลการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีน โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ระบุว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับแอนติบอดีต่อไวรัส SARS-CoV-2 (B.1.1.529) สายพันธุ์โอไมครอน

 

พบว่าระดับแอนติบอดีที่เพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้น มีระดับสูงกว่าที่พบในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายป่วยได้เองจากโรคโควิด-19 (สายพันธุ์ดั้งเดิม และสายพันธุ์กลายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เบต้า และเดลต้า) โดยเซรั่มที่นำมาทดสอบนั้นมาจากผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามมาแล้วหนึ่งเดือน พบว่าระดับการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ข้อมูลจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ อีกการศึกษาหนึ่ง ยังบ่งชี้ว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า มีความสามารถในการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน พบว่าในผู้ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวจำนวนสองโดส สามารถคงระดับการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ แม้ว่าจะมีระดับฤทธิ์ลบล้างที่ลดลงกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

ด้าน ศาสตราจารย์ เซอร์ จอห์น เบลล์ ราชศาสตราจารย์ (Regius Professor) ด้านการแพทย์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วิจัย กล่าวว่า “การค้นพบว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้ในปัจจุบันสามารถใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้ ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่ง ผลการศึกษานี้สามารถช่วยสนับสนุนแนวทางของประเทศต่างๆ ในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชน เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวลต่างๆ รวมถึงสายพันธุ์โอไมครอน”

 

ขณะที่ เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีบทบาทสำคัญต่อโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทั่วโลก ข้อมูลจากการศึกษาล่าสุดนี้นำมาซึ่งความเชื่อมั่นต่อการใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม ทั้งนี้ สิ่งที่สำคัญคือการพิจารณาถึงแง่มุมอื่น ๆ นอกจากแค่เพียงระดับแอนติบอดี เพื่อที่จะทำความเข้าใจประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ในขณะที่เราเข้าใจสายพันธุ์โอไมครอนมากขึ้น เราเชื่อว่าการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) จะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อรุนแรงและป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ในระยะยาว”

แอสตร้าเซนเนก้า ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทางบริษัท กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ในการต่อต้านเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยคาดว่าจะมีผลการศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้

 

โดยการศึกษาวิจัย ได้ร่วมกับกลุ่มนักวิชาการในภูมิภาคแอฟริกาใต้ นอกจากนี้แอสตร้าเซนเนก้ากำลังทำการวิเคราะห์เลือดของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลองระยะที่สอง/สาม เพื่อประเมินประสิทธิภาพการลบล้างเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน หลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ทั้งด้วยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอส ตร้าเซนเนก้า และวัคซีนรุ่นใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัย (AZD2816)

ข้อมูลจาก https://tojo.news/people-24122021/

 
เปิด 3 ฉากทัศน์การระบาด "โอมิครอน" 27 ธ.ค.นี้
 
สธ. เตรียมเปิดแบบจำลอง(scenario) 3 ฉากทัศน์การระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน หลังปีใหม่ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ พร้อมเปิดมาตรการรับมือโควิด-19

วันนี้ (26 ธ.ค.2564)นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันที่ 27 ธ.ค.2564 นี้ จะมีการประชุมอีโอซีกระทรวงสาธารณสุข จะมีการหารือถึงประเด็นต่างๆ รวมถึงมาตรการรับมือโควิด-19 รวมถึงจะมีอัปเดตฉากทัศน์(scenario) ของการระบาดโควิด-19 หลังปีใหม่ โดยมีการคาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อเทียบกับการปฏิบัติตามมาตรการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน

 
  • คาดเปิด 3 ฉากทัศน์โอมิครอน 27 ธ.ค.นี้

ทั้งนี้ ในการเปิดฉากทัศน์ดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น 3 ฉากทัศน์คือ

1.สถานการณ์แย่ที่สุด (Worst Case Scenario)

2.ฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ (Plausible Scenario)

 3.ฉากทัศน์ที่ดีที่สุด (Best Case Scenario)

เพื่อดูว่าหากจะให้สถานการณ์ดีที่สุด ต้องทำอะไรบ้าง ปานกลางต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้เราออกมาตรการออกมาเป็นแนวทางให้ประชาชน

  • กรมวิทย์ รวบรวมข้อมูลถอดรหัสพันธุกรรมโอมิครอน

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำลังรวบรวมข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสของสัปดาห์ที่ผ่านที่ 27 ธ.ค.2564 

อย่างไรก็ตาม  สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับโอมิครอนนั้น ข้อมูลจากประเทศอังกฤษที่ติดโอมิครอนเป็นแสนราย แต่อัตราเสียชีวิตไม่มาก ข้อสรุปเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่า โอมิครอนมีการแพร่เชื้อ กระจายได้เร็ว ดังนั้น ผู้ที่เคยติดเชื้อ หรือได้รับวัคซีนสามารถป้องกันการแพร่ระบาด และช่วยลดอาการรุนแรงได้ 

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/979352?anf=

 
โอมิครอนมาแล้ว! "หมอยง" ยืนยันฉีดวัคซีน 2 เข็มเอาไม่อยู่
 
"หมอยง" ยืนยันโอมิครอนมาไทยแล้ว ระบุฉีดวัคซีน2เข็มเอาไม่อยู่ แนะนำทุกคนเร่งฉีดวัคซีน ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด พร้อมเผยข้อมูลโอมิครอน ติดต่อง่าย หลบภูมิต้านทานของวัคซีน และความรุนแรงน้อยกว่าเดลต้า

วันนี้ (26 ธ.ค.2564) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว Yong Poovorawan เกี่ยวกับ “โควิด-19  โอมิครอน มาแล้ว” ว่า ขณะนี้ โอมิครอน อยู่ในประเทศไทยแล้ว โดยนำมาจากต่างประเทศ ครั้งนี้นำเข้าเร็วกว่าทุกครั้ง เพราะบินมา ไม่ได้เดินมาแบบครั้งก่อน โดยพบผู้ป่วยที่ติดในประเทศทั้งที่รู้ต้นตอ ว่าติดจากผู้เดินทางเข้ามาแล้วให้ผลลบในขณะตรวจ Test & Go เพราะอยู่ระหว่างฟักตัว แล้วค่อยอยู่ในระยะติดต่อในภายหลัง ทำให้มีการแพร่กระจายผู้สู่คนไทย

อีกทั้ง ขณะนี้ในบางกลุ่มที่มีการติดต่อกัน ไม่ทราบที่มาชัดเจน ว่าติดต่อ ณ ขณะใด เพราะมีงานเลี้ยงหลายงาน รวมทั้ง งานกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิดมีการติดต่อได้ง่าย จึงเป็นการยากที่จะหาต้นตอว่ามาจากที่ไหน สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ โอมิครอน

 
  • “โอมิครอน” ฉีดวัคซีน2เข็มเอาไม่อยู่

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ไม่ได้อยู่เหนือการคาดหมาย เพราะการติดต่อของสายพันธุ์ โอมิครอน แพร่กระจายโรคได้ง่าย และยังสามารถแพร่กระจายได้ในผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มมาแล้ว จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายโรคกว้างขึ้น ทุกคนคงต้องเคร่งครัดในระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้

สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เทศกาลเฉลิมฉลอง รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายของประชากรจำนวนมาก จะช่วยให้มีการแพร่กระจายของโรคได้เร็วขึ้นอีก

  • ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโอมิครอน 

ศ.นพ.ยง กล่าวต่อไปว่า สำหรับข้อมูลที่ชัดเจนในขณะนี้เกี่ยวกับโอมิครอน มีดังนี้

1. การติดต่อง่ายจริงหรือ ต้องยอมรับว่าการติดต่อง่าย สมัยระบาดระลอกแรกสายพันธุ์อู่ฮั่น มีผู้ติดเชื้อ 1 คนนั่งกินเหล้าเฉลิมฉลองด้วยกัน 7 คน จะมีคนติดเชื้อไป 1-2 คน  พอมาสายพันธุ์เดลต้า นั่งกินเหล้ากัน 10 คน จะติดเชื้อไป 6-7 คนสายพันธุ์ โอมิครอน ตัวอย่างที่เห็น นั่งเฉลิมฉลองกัน 11 คน มี 1 คนกลับจากฝรั่งเศส ติดเชื้อไปครบทั้ง 10 คนเลย ทำให้เป็นการพิสูจน์การติดง่ายแน่นอน

2.หลบหลีกภูมิต้านทานของวัคซีน  ข้อมูลชัดเจนแล้วว่าฉีดวัคซีน 2 เข็ม ไม่ว่ายี่ห้ออะไร ไม่มีวัคซีนเทพแน่นอน ติดเชื้อกันได้ถ้วนหน้า จำเป็นจะต้องอาศัยเข็ม 3 ในการยกระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น เพื่อใช้ในการต่อสู้ ผู้ที่ได้ 3 เข็มมานานแล้ว ภูมิต้านทานจะตกลงตามกาลเวลา เมื่อภูมิต้านทานตกลง ก็จะติดเชื้อได้ รวมทั้งผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน มีภูมิต้านทานทั้ง 2 ระบบ T และ B cells อย่างดี ก็ยังติดเชื้อซ้ำได้ แน่นอนผู้ที่มีภูมิต้านทานอยู่แล้ว อาการของโรคก็จะน้อยลง

3.ความรุนแรงของโรค ข้อมูลที่ออกมาเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น การติดเชื้อโอมิครอน ความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า จากการศึกษาในแอฟริกาใต้ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ต้องเข้านอนโรงพยาบาล น้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้านอนโรงพยาบาลแล้วการดำเนินโรคไปจนถึงความรุนแรงไม่แตกต่างกันกับสายพันธุ์เดลต้า การศึกษาในอังกฤษ ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน ต้องนอนโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า 15 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน โอกาสที่จะต้องนอนโรงพยาบาลลดลงไปอีก น้อยกว่าครึ่งที่ตรงเข้านอนโรงพยาบาล

การศึกษาในสกอตแลนด์ ก็เช่นเดียวกัน โอมิครอน โอกาสที่จะต้องนอนโรงพยาบาลลดลงไป 2 ใน 3 ส่วนมากจะมีผลจากภูมิต้านทานจากวัคซีนเดิมหรือติดเชื้อ ทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง

ความจำเป็นที่จะต้องสร้างภูมิต้านทานให้ประชากรส่วนใหญ่ให้มากที่สุดและสูง จะเป็นการช่วยป้องกันลดความรุนแรงของโรคลง เพื่อต่อสู้กับสายพันธุ์โอมิครอน จำเป็นจะต้องอาศัยเข็ม 3 ใบผู้ที่ได้รับวัคซีนมานานแล้วเกินกว่า 3 เดือน

โอมิครอน ในบ้านเรา จะต้องเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ และสายพันธุ์นี้จะมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าอย่างแน่นอน

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/979332?anf=

"รีวิวโอไมครอน" รัวคำถามอาการแรก ยี่ห้อวัคซีนที่ฉีด กินยาอะไรช่วยได้มั้ย
 
"รีวิวโอไมครอน" ไวรัลสุดฮอตโลกออนไลน์ คนไทยต่างแดนตอบคำถามรัว ๆ อาการแรกที่เป็น ยี่ห้อวัคซีนที่ฉีดก่อนติดเชื้อ ได้กินยาอะไรช่วยมั้ย หรือว่ามันค่อย ๆ หายไปเอง

ไวรัล "รีวิวโอไมครอน" สุดฮอตโลกออนไลน์ ท่ามกลางการเกาะติดสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron (โอมิครอน หรือ โอไมครอน) ล่าสุด ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ทวีตข้อความระบุ รีวิวโอมิครอนนะคะ วันแรกที่มีอาการคิดว่าเหนื่อย เพราะแบบ เจ็บคอ ปวดหัวหน่อย ๆ แค่นั้น เหมือนนอนไม่พอ วันสองคือวันที่ไปตรวจ ปวดหัว มึน เจ็บคอ นอนทั้งวัน คิดว่า...เป็นแน่ ๆ ๆ ๆ ๆ วันสามตื่นมา อาการหายเกือบหมด ปวดหัวนิดเดียวเหมือนต้องการกาแฟ กับเสียงแหบจากเจ็บคอ แต่ไม่เจ็บละ งานนี้ชาวเน็ตแห่รีทวีตพร้อมสอบถามกันรัว ๆ

รีวิวโอไมครอน, โควิด-19, COVID-19, โควิดสายพันธุ์ใหม่, Omicron, โอมิครอน, โอไมครอน

รีวิวโอไมครอน, โควิด-19, COVID-19, โควิดสายพันธุ์ใหม่, Omicron, โอมิครอน, โอไมครอน

ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายดังกล่าวยังได้ให้ข้อมูล "รีวิวโอไมครอน" เพิ่มเติมว่า เลยคิดว่า ไม่ใช่หรอกโควิด หายไว... วันนี้วันที่ 4 ผลออก อ้าว อห เป็น งง อาการหายไวกว่าผลตรวจชั้นออกอีกแม่ , สาธุบุญไฟเซอร์นะคะ , ไม่ได้อยู่ไทยนะคะ ไม่ต้องสงสัยค่ะว่ารู้ได้ไงโอมิครอน เพราะมีแต่โอมิครอนกับเดลตาแล้วค่ะตอนนี้ที่นี่ เดลตาแทบไม่เหลือแล้วค่ะ ยอดวันละหลายพันก็เพราะโอมิครอนนี่แหละค่ะ สมัยเดลตาเลขยังไม่สูงเท่านี้เลยค่ะ ถ้าเป็นเดลตาคือชั้นแจ็คพอตมากค่ะ เปอร์เซ็นต์โอมิครอนสูงกว่าเยอะ

รีวิวโอไมครอน, โควิด-19, COVID-19, โควิดสายพันธุ์ใหม่, Omicron, โอมิครอน, โอไมครอน

รีวิวโอไมครอน, โควิด-19, COVID-19, โควิดสายพันธุ์ใหม่, Omicron, โอมิครอน, โอไมครอน

ขณะที่ ชาวเน็ตเข้ามาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ "รีวิวโอไมครอน" อาทิ

ฉีดไฟเซอร์กี่เข็มคะ

  • ไฟเซอร์สองเข็มค่ะ เข็มสองตอนปลายเดือนกันยายน

แล้วรู้ได้ยังไงคะว่าเป็นโอมิครอน เวลาตรวจมันต่างจากโควิดธรรมดาไหมคะ เท่าที่อ่านตัวเองรีวิวก็ไม่น่าจะรุนแรงเท่าไหร่ แต่ตามอ่านข่าวบางคนบอกติด คือโอกาสรอดน้อย หรือเราเสพข่าวทิพย์ หรือจริง ๆ เป็นผลบุญเจ้าของทวิตเตอร์ ที่ได้ไฟเซอร์

  • ที่ซิดนีย์ตอนนี้ที่ระบาดหนักคือโอมิครอนค่ะ อาจจะมีเดลตานิดหน่อย แต่คิดว่าตัวเองโดนโอมิครอนมาแน่นอน เดลตาน่าจะอาการหนักกว่านี้ค่ะ ส่วนใหญ่ในซิดนีย์ตอนนี้โอมิครอนทั้งนั้นค่ะ

ถ้าเรา ATK จะขึ้นเหมือนโควิดไหมครับ ใช้ด้วยกันได้ไหมครับสำหรับก้านแหย่จมูก

  • มีคนรู้จักเป็นใช้ก็ตรวจเจอนะคะ แต่ต้องมีอาการ แต่ผลก็ไม่ 100% ค่ะ ที่นี่ถ้าใช้ ATK แล้วสองขีดก็ต้องไป PCR ซ้ำค่ะให้ชัวร์

ตรวจ อะไรถึงเจออ่ะ ถ้า ATK จะเจอมั้ย และที่สำคัญ สัมผัสผู้ป่วยหรอคะ ถึงมีอาการ

  • เราตรวจ PCR ค่ะ มีคนรู้จักเป็นตรวจ ATK ก็เจอนะคะ แต่ต้องมีอาการ เราทำอยู่ร้านอาหาร มีลูกค้าที่เป็นมาทานแล้วทางรัฐแจ้งมาทีหลังค่ะ แต่เราใส่หน้ากากตลอดตอนทำงานนะคะ พอมีอาการก็ไปตรวจเลย

แล้วมีนัดตรวจซ้ำอีกมั้ยคะ

  • ไม่มีแล้วค่ะ เค้าให้กักตัวสิบวันจากวันตรวจ ถ้า 72 ชั่วโมงสุดท้ายไม่มีอาการก็ออกได้เลยค่ะ

ช่วงแรก ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าติดมีอาการคันคอบ้างไหมคะ

  • คันคอมาอย่างแรกเลยค่ะ แต่ปกติเราดื่มน้ำน้อย คันคอเป็นปกติ เลยไม่ได้คิดอะไร

ขออนุญาตถามหน่อยครับ ตอนนี้ไม่มีอาการอะไรแล้ว แต่ผลก็ยังไม่เป็นลบใช่มั้ยครับ

  • ยังไม่ได้ไปตรวจใหม่เลยค่ะ แต่คิดว่ายังไม่น่าเป็นลบนะคะ

ขอสอบถามหน่อย ระหว่างอาการวันที่ 1 - 3 ได้กินยาอะไรช่วยมั้ยคะ หรือว่ามันค่อย ๆ หายไปเองเลยคะ

  • เราใช้ Betadine Gargle กลั้วคอตอนเจ็บคอค่ะ ตอนปวดหัวก็ทานพารา ใช้ยาตามอาการเลยค่ะ

ขอบคุณข้อมูล : ทวิตเตอร์

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/498523?adz=

 

25 ธ.ค.2564 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ในเฟซบุ๊ก ว่างานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ใน Nature พบว่าตัวอย่างที่เก็บจากจมูกกวางหางขาวในรัฐ hio ประเทศสหรัฐอเมริกา มีมากถึง 35% ที่ผลออกมาเป็นบวกกับไวรัสโรคโควิด-19

 
 

โดยอย่างน้อย 3 สายพันธุ์ที่ตรวจพบได้ในประชากรกวางตรงกับช่วงที่สายพันธุ์ทั้ง 3 ระบาดอยู่ในประชากรมนุษย์เช่นเดียวกัน น่าสนใจตรงที่ในจำนวนไวรัสที่ตรวจพบมีหนึ่งสายพันธุ์คือ B.1.596 สามารถแพร่จากกวางสู่กวาง ได้เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ และ มีการแตกกิ่งทางพันธุกรรมออกไปจากไวรัสสายพันธุ์อื่น

เรายังไม่ชัดเจนว่าโอมิครอนมาจากไหนกันแน่...

ผลงานวิจัยชิ้นนี้บอกว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า ไวรัสที่ไม่เคยพบในประชากรมนุษย์มาก่อนอย่างโอมิครอน อาจเกิดจากการบ่มเพาะของไวรัสในประชากรสัตว์ชนิดอื่นๆสักพัก โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยไปสนใจถอดรหัสไวรัสในประชากรสัตว์เหล่านั้นอย่างเป็นระบบ เหมือนที่ทำในประชากรมนุษย์ อาจจะเป็นเหตุการณ์ใดสักอย่างที่ทำให้ไวรัสดังกล่าวสามารถกระโดดกลับมาคนได้แบบนำการเปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่เคยพบมาก่อนมาแพร่ในประชากรมนุษย์

ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆจะเป็นเรื่องน่ากังวลครับ เพราะไวรัส SARS-CoV-2 สามารถติดเข้าสู่สัตว์ได้หลายสปีชีร์ และ ยังไม่ชัดว่ามีกี่ชนิดที่ไวรัสแพร่กระจายในประชากรสัตว์เหมือนที่พบในกวางการเปลี่ยนแปลงของไวรัสนอกประชากรมนุษย์สามารถเกิดได้หลากหลาย ยากมากที่จะคาดเดาได้ล่วงหน้า โอกาสที่จะตรวจพบไวรัสที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดอย่างโอมิครอนในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้สูงครับ

https://www.nature.com/articles/s41586-021-04353-x

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/52514/

 
ผู้บริหารไฟเซอร์ฟันธง โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นปี 67
 
ผู้บริหารไฟเซอร์ชี้ โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเร็วสุดปี 2567 หมายความว่าไวรัสมีอยู่ต่อเนื่องเป็นเหตุให้เกิดการระบาดได้ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเหมือนไข้หวัดใหญ่ ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินของโลกอีกแล้ว

เว็บไซต์ซีเอ็นบีซีรายงาน แนเน็ตต์ โคชีโร ประธานบริษัทไฟเซอร์วัคซีน แถลงระหว่างการประชุมนักลงทุนเมื่อวันศุกร์ (17 ธ.ค.)

“เราเชื่อว่าโควิดจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่น เป็นไปได้ว่าภายในปี 2567” ประธานบริษัทไฟเซอร์วัคซีนกล่าว

ทั้งนี้ โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ก็ต่อเมื่อประชากรมีภูมิคุ้มกันมากพอ ทั้งจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อมาก่อนจนสามารถควบคุมการติดต่อ การเข้าโรงพยาบาล และการเสียชีวิตได้ระหว่างที่ไวรัสยังกระจายอยู่

 

ขณะที่ไมเคิล โดลส์ตัน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ไฟเซอร์เสริม “แต่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไรกันแน่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการของเชื้อโรค ประสิทธิภาพในการฉีดวัคซีนและการรักษาของสังคม การกระจายวัคซีนได้ถึงพื้นที่ที่อัตราการฉีดต่ำได้อย่างเท่าเทียม อีกทั้งการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ๆ ย่อมส่งผลต่อการระบาดว่าจะออกมาอย่างไรด้วยเช่นกัน”

นอกจากนี้ในทัศนะของโดลส์ตัน เวลาที่โควิดจะเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ด้วย

“ดูเหมือนจะเป็นปีหรือสองปีข้างหน้า บางภูมิภาคเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ขณะที่บางภูมิภาคยังอยู่ในโหมดการระบาดใหญ่”

ความเห็นจากผู้บริหารไฟเซอร์เกิดขึ้นในช่วงที่สหรัฐกำลังต่อกรกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นเพราะสายพันธุ์เดลตา ในเวลาเดียวกันสายพันธุ์โอมิครอนก็กระจายอย่างรวดเร็ว โรเชลล์ วาเลนสกี จากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ (ซีดีซี) สรุปข้อมูลให้ทำเนียบขาวเมื่อวันศุกร์ว่า ค่าเฉลี่ยการเข้าโรงพยาบาลเพราะโควิดในรอบเจ็ดวันพุ่งขึ้น 4% จากสัปดาห์ก่อนหน้า

ด้านแองเจลา หวาง ประธานกลุ่มไฟเซอร์ ไบโอฟาร์มาซูติคอล กรุ๊ป กล่าวว่า ปริมาณวัคซีนและยารักษา เช่น ยาเม็ดของไฟเซอร์จะซื้อหาได้ง่ายขึ้นเมื่อโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น ส่วนโคชิโรสรุป ไฟเซอร์คาดว่านานาประเทศจะให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกปี

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/978098?anf=

 

 


ในข้อมูลอัปเดตเมื่อวันเสาร์ (18 ธ.ค.) องค์การอนามัยโลกระบุว่า จนถึงตอนนี้ได้รับรายงานพบเคสผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้วใน 89 ประเทศ และจำนวนเคสผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่าตัวในช่วงเวลาเพียงแค่ 1.5 ถึง 3 วัน พร้อมบอกว่ามันแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าตัวกลายพันธุ์เดลตาเป็นอย่างมาก ในประเทศต่างๆ ที่พบการแพร่ระบาดในชุมชน

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกยอมรับว่ายังไม่ชัดเจนว่าทำไมตัวกลายพันธุ์ใหม่นี้ถึงกำลังแพร่ระบาดรวดเร็วมากในหมู่ประชากรที่มีภูมิคุ้มกันระดับสูง อาจเป็นเพราะมีการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มขึ้น หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม หรือรวมกันทั้ง 2 ปัจจัย

"ข้อมูลที่หาได้ยังคงมีอย่างจำกัด และหลักฐานต่างๆ ไม่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งประสิทธิภาพของวัคซีนสำหรับโอมิครอนจนถึงตอนนี้" องค์การอนามัยโลกกล่าวระหว่างแถลงสรุปทางเทคนิค

 
องค์การอนามัยโลกเตือนว่า ด้วยการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและจำนวนเคสผู้เข้ารักษาตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ ในสหราชอาณาจักรและแอฟริกาใต้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ "มันจึงเป็นไปได้ว่าระบบสาธารณสุขอาจประสบปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว"

ถ้อยแถลงขององค์การอนามัยโลกบอกว่าจำเป็นต้องมีข้อมูลมากกว่านี้ในแง่ของความรุนแรงทางคลินิกของตัวกลายพันธุ์โอมิครอน โดยยอมรับว่าพวกเขายังคงไม่เข้าใจเกี่ยวกับ "ภาวะการณ์ความรุนแรง และมันส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนและเคยติดเชื้อมาแล้วหนักหนาแค่ไหน"

นับตั้งแต่ถูกพบในแอฟริกาใต้เมื่อราวๆ 5 สัปดาห์ก่อน การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโอมิครอน โหมกระพือมาตรการแบนด้านการเดินทางรอบใหม่ เช่นเดียวกับข้อจำกัดใหม่สกัดการแพร่ระบาด ในนั้นมีหลายประเทศที่ประกาศล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ

สหราชอาณาจักรรายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่รายวันเพิ่มขึ้น 3 วันติด โดยในวันศุกร์ (17 ธ.ค.) พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีกกว่า 93,000 คน ในขณะที่มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ในลอนดอนกำลังพิจารณาแนวคิดที่จะล็อกดาวน์เข้มงวดรอบใหม่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากคริสต์มาส

(ที่มา : รัสเซียทูเดย์)
 

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...

โควิด-19 วัคซีน องค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีน “สูตรไขว้”

องค์การอนามัยโลก ได้ลงพิมพ์ Interim recommendations for heterologous COVID-19 vaccine schedules ใน Interim guidance วันที่ 16 December 2021

ที่ผ่านมาในคนไทยด้วยกันเอง มีการโต้แย้งกันมาก
ทั้งที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นที่แน่ชัด และกำลังลงพิมพ์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า อีกหลายบทความ คณะกรรมการพิจารณางานวิจัย ให้แก้ไขบทความน้อยมาก และเชื่อว่าจะได้ลงพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง ตามมาอย่างต่อเนื่อง โดยทีมวิจัยของเราได้ทำวิจัยอย่างได้มาตรฐาน

จะเห็นว่าองค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำ ในการใช้วัคซีน “สูตรไขว้” ของไทย โดยใช้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเอกสารอ้างอิง และ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย สลับกับ virus Vector หรือ mRNA เพื่อใช้เป็นแนวทาง ให้แต่ละประเทศปรับความเหมาะสมในการให้วัคซีน ตามสภาวะของวัคซีนที่มีอยู่ในประเทศนั้นๆ อยากอยู่ในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการใช้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม สลับด้วยการกระตุ้นด้วย ไวรัส Vector หรือ mRNA อย่างที่เราใช้กันในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคโควิด 19แล้ว ที่ใช้สูตรสลับ SV-AZ ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ AZ-AZ
หลักฐานการศึกษาวิจัย องค์การอนามัยโลกได้เอาไปใช้อ้างอิง และมีการเผยแพร่ไปทั่วโลก จะเห็นว่ามีข้อมูลการศึกษาออกจากประเทศไทย โดยเฉพาะในทีมที่เราทำการศึกษากันมาอย่างต่อเนื่อง

ทุกอย่างเกิดขึ้นในภาวะฉุกเฉิน เพราะระยะเวลา เราทำวิจัยอย่างเร่งด่วน ขณะนี้ก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำ ในการใช้วัคซีนแบบสูตรสลับ

ข้อมูลจาก https://siamrath.co.th/n/306792