◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆
(rose stalk)สำหรับการป้องกันโรคหัวใจคือให้ทานวิตามิน B 1หรือ B 6 หรือ B 12 และกับ B 9 เพียง 2 อย่างนี้ อย่างละเม็ด ก่อนนอนเป็นประจำ
คุณหมอรับประกันว่าจะไม่เป็นโรคหัวใจเลย...
~~~~~~~~~~~~💗
(rose stalk)สำหรับเรื่องคอเลสเตอรอลสูง และไตรกลีเซอไรด์สูงนั้น คุณหมอยืนยันว่า💋เป็นเรื่องทางธุรกิจการแพทย์และเรื่องผลประโยชน์ทางการค้าที่มหาศาล (tulip)โดยกำหนดให้คนปกติมีระดับคอเลสเตอรอลไม่เกิน 200 และไตรกลีเซอไรด์ไม่เกิน 150 (tulip)ซึ่งยาที่ให้ทานหากคอเลสเตอรอลสูงกว่าเกณฑ์นั้น.มีผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก.ไขมันไม่ได้ถูกขับออกจากร่างกายแต่จะย้ายไขมันไปไว้ที่ตับแทน และยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจกับผู้ที่ทานยาลดคอเลสเตอรอล.ในที่สุดก็เป็นโรคหัวใจ💓กันเป็นแถวๆ
(tulip)คุณหมอบอกว่าจากการวิจัยที่บอสตัน 30 ปีที่แล้วยังคงเป็นจริงคือ.คนเราจะมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้มากเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับไขมันตัวดี ที่เรียกว่า HDL หากเรามี HDL สูง แม้ว่าคอเลสเตอรอลสูงและไตรกลีเซอไรด์สูง เราก็ปลอดภัย ไม่ต้องทานยา (rose stalk)วิธีดูระดับปลอดภัยให้คำนวณดังนี้
(tulip)คอเลสเตอรอล: ให้เอาค่าคอเลสเตอรอลตั้งหารด้วยค่า HDL หากได้ผลลัพท์ ไม่เกิน 4 จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ต้องทานยาแม้ว่าคอเลสเตอรอลจะสูงถึง 300 ก็ตาม
(tulip)ไตรกลีเซอไรด์:
ให้เอาค่าไตรกลีเซอไรด์ตั้งหารด้วยค่า HDL หากได้ผลลัพท์ ไม่เกิน 3 จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ต้องทานยาแม้ว่าไตรกลีเซอไรด์จะสูงเกิน 150 ก็ตาม
(tulip)ทั้งคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย
💥(rose stalk)การทำเมมโมแกรม : เป็นอันตรายและเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมที่เราไม่รู้กันเลยว่า การบีบอย่างแรงและสมทบด้วยรังสี...… (tulip)ตอนนี้อัตราการเป็นมะเร็งเต้านมของเมืองไทยพุ่งสูงติดอันดับของโลกแล้ว… (tulip)คุณหมอบอกว่า ในต่างประเทศเขาเลิกใช้เครื่องเมมโมแกรมกันนานแล้ว........ 🍹🍸🍺
(rose stalk)ดื่มน้ำเย็นเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลัง
(tulip)ใครจะไปเชื่อว่าการดื่มน้ำเย็นจะมีพิษมีภัยและให้โทษได้ถึงขนาดนี้
(tulip)หมอได้พบผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงหรือที่เรียกกันว่าโรคอัมพฤกษ์
ซึ่งสืบค้นต้นตอไปๆมาๆ ก็พบว่า สาเหตุมาจากพฤติกรรมการดื่มน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเป็นประจำนั่นเอง (tulip)ผู้ป่วยเล่าให้ฟังว่าไม่กินผักมาตั้งแต่เล็กๆรับประทานแต่เนื้อสัตว์ที่สำคัญคือชอบดื่มน้ำเย็นเป็นประจำมาตั้งแต่เด็กและต้องเป็นน้ำเย็นจากตู้เย็นเท่านั้นก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นร่างกายผู้ป่วยได้ส่งสัญญาณเตือนมาหลายครั้ง...
(tulip)เช่นมึนเวียนศีรษะง่าย
(tulip)เห็นเหมือนแสงไฟแวบๆขณะกระพริบตา
(tulip)การพูดเริ่มติดๆขัดๆ (tulip)สุดท้ายเกิดอาการวูบกะทันหัน.ต้องนำส่งโรงพยาบาล.เมื่อรู้สึกตัวอีกครั้งผู้ป่วยก็ไม่สามารถขยับร่างกายซีกซ้ายได้แล้ว....
นี่คืออาการของโรคเส้นเลือดตีบที่สมองในวัยเพียง 40 ปี ที่ชอบทานแต่น้ำเย็นมาตลอดเวลา
◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆
(rose stalk)การดื่มน้ำเย็นสำหรับคนไทยนั้น.ทำให้ไตต้องรับกำจัดความเย็นออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว.ขับน้ำเย็นมากักเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะเตรียมขับออกเป็นน้ำปัสสาวะ.ทำให้ผู้ที่ชอบทานน้ำเย็นก็ยิ่งขาดน้ำ.จนเลือดข้นหนืดไปหมด.ประกอบกับหลอดเลือดที่เริ่มแข็งกระด้างไม่ยืดหยุ่น.ทำให้มีคราบไขมันและของเสียไปยึดเกาะตามผนังหลอดเลือดจนเกิดการพอกพูนกลายเป็นโรคหลอดเลือดตีบก็เพราะน้ำเย็นที่ชอบทานเป็นประจำนั่นเอง
(rose stalk)ไตของเราเปรียบเสมือนเครื่องกรองน้ำอันน่าอัศจรรย์
ทำหน้าที่ช่วยกรองของเสียออกจากเลือดแล้วขับออกทางปัสสาวะการทำหน้าที่ตลอด 24 ชม.ไม่มีวันหยุดของไตนั้น (tulip)ถ้าเราไปซ้ำเติมด้วยการรับประทานสิ่งที่เป็นพิษต่อร่างกายรวมทั้งน้ำเย็นด้วยก็จะทำให้เกิดภาวะ🎱ไตอ่อนแอและจะส่งสัญญาณร้องให้เราทราบดังนี้💋
■1.ปัสสาวะบ่อยขึ้น อั้นปัสสาวะไม่ได้นาน ดื่มน้ำเข้าไปแล้วต้องวิ่งเข้าห้องน้ำบ่อยๆกลางคืนก็ต้องลุกขึ้นเข้าห้องน้ำหลายเที่ยว
■2.มีอาการปวดหลังปวดเอวบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลานั่งนานๆ
■3.ปวดเมื่อยตามข้อและร่างกายง่าย เช่น ปวดข้อเข่า ปวดต้นคอ
■4.หลอดเลือดตีบตันหรือหลอดเลือดแข็งได้ง่ายหากใครยังทานน้ำเย็น นมเย็น กาแฟเย็น น้ำอัดลม น้ำหวานเย็น
ชาเย็น อยู่เป็นประจำ มีอาการปวดหลังแน่ๆ
ก็ต้องดูแลตนเองง่ายๆ ดังนี้
■1.ปรับเลือดที่หนืดข้นให้หายข้นด้วยการเพิ่มน้ำเข้ากระแสเลือด โดยทานน้ำอุ่นให้ได้ 8-10 แก้ว ทุกวัน
■2.ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกอย่างต่อเนื่องด้วยการออกกำลังเป็นประจำที่สามารถทำได้
หรืออาจใช้การจัดกระดูกช่วยให้เลือดไหลเวียนสม่ำเสมอ
■3.ไม่กินอาหารเนื้อสัตว์ ของทอด ของหวานจัด เพราะทำให้เกิดอนุมูลอิสระปริมาณมากจนทำให้หลอดเลือดแข็ง หรือ ตีบตันได้ง่าย
■4.งดการทานน้ำเย็นเด็ดขาด รู้แล้วอย่าเฉยเมยนะปฎิบัติด้วยและรู้แล้ว รู้เรื่องจริงด้วย
◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆◆
(pointing right)และอย่าเก็บไว้คนเดียวนะคะโปรดแบ่งปันให้คนรอบข้าง ปีใหม่2018 ขอให้ทุกท่าน!!!โชคดีมีสุข ตลอดไป
ครั้งหนึ่ง "มันหมู" ถูกวิจัยพบว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุดติดอันดับ 8 ของโลก (จากทั้งหมด 100 อันดับ) แต่ไม่ใช่ว่าจะกินเท่าไหร่ก็ได้ ชวนคนชอบกินหมูกรอบ หมูกระจก กากหมูเจียว มาส่องข้อดี-ข้อเสียของ "ไขมันหมู" ก่อนจะตักเข้าปาก
หลายคนคงเคยรู้มาบ้างแล้วว่า "มันหมู" ถูกวิจัยพบว่ามีโภชนาการทางอาหารสูงติดอันดับ 8 ของโลก จากทั้งหมด 100 อันดับ เราขอพาย้อนไปดูข้อมูลชุดนี้อีกครั้ง โดยสื่อต่างประเทศ BBC รายงานข่าวว่า ทีมนักวิทยาศาตร์และนักโภชนาการทางอาหาร ได้ทำการศึกษาในหัวข้อ “Uncovering the Nutritional Landscape of Food” ซึ่งพวกเขายืนยันว่ามันหมูประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมากถึงร้อยละ 60 และยังมีกรดโอเลอิค ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งดีต่อหลอดเลือดหัวใจและช่วยบำรุงผิว รวมถึงช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายด้วย
ทีมนักวิจัยดังกล่าวได้วิเคราะห์อาหารดิบมากกว่า 1,000 ชนิด เพื่อทำการจัดอันดับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละประเภท โดยยึดหลักจากส่วนผสมที่ให้สมดุลที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการทางโภชนาการประจำวันของคนทั่วไป และพวกเขาได้พบข้อมูลที่น่าประหลาดใจว่า "ไขมันหมู" เป็นหนึ่งในอาหารที่คุณค่าทางสารอาหารสูงและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าไขมันทั่วไป
เนื่องจาก ไขมันหมูเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวและมีความเฮลตี้มากกว่าไขมันแกะหรือไขมันวัว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งวิตามินบีและแร่ธาตุที่ดีซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายของคนเรา โดยทีมวิจัยได้จัดอันดับอาหารคุณค่าโภชนาการสูงที่สุดในโลก 10 อันดับ (จาก 100 อันดับ) เอาไว้ดังนี้ 1. อัลมอนด์ 2. น้อยหน่า 3. ปลา perch จากมหาสมุทร 4. ปลาตาเดียว 5. เมล็ดเจีย 6. เมล็ดฟักทอง 7. ผักสวิสชาร์ด 8. มันหมู 9. ใบของหัวบีท 10. ปลากระพง
จากผลงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้หลายคนอยากรู้ต่อว่า "มันหมู" มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายสูงขนาดนั้นจริงหรือ? แล้วถ้ากินเยอะๆ จะมีผลเสียต่อร่างกายหรือไม่? ถ้าจะกินอาหารที่ทำจากมันหมูต้องมีข้อควรระวังอะไรบ้าง? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมาหาคำตอบเรื่องนี้กัน
- ส่องข้อดี VS ข้อเสีย "มันหมู"
อย่างที่สายกินเขารู้กันว่า "หมูสามชั้น" เป็นส่วนที่มีไขมันหมูแทรกอยู่เยอะเป็นพิเศษ ถือเป็นส่วนที่ล้ำค่าที่สุดสำหรับคนรักเนื้อหมู แม้ว่าจะมีปริมาณไขมันหมูที่เยิ้มฉ่ำจำนวนมาก แต่ด้วยรสสัมผัสที่นุ่ม หอม มัน ทำเอาหลายคนเผลอกัดจมเขี้ยว เคี้ยวเพลินในปากอย่างเอร็ดอร่อย
แต่..ต้องบอกว่าการบริโภคหมูสามชั้น ที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเนื่องจากปริมาณไขมันที่สูงถึงสูงมาก แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยในข้างต้น ก็ทำให้เราได้ทราบว่า "มันหมู" ก็มีคุณค่าทางสารอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอยู่มากทีเดียว เอาเป็นว่าเราขอสรุปง่ายๆ เป็น ข้อดี VS ข้อเสีย ออกมาให้ดูดังนี้
ข้อดี
- มันหมูประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมากถึง 60%
- มีกรดโอเลอิคหรือกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งดีต่อหลอดเลือดหัวใจ
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ
- ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย
ข้อเสีย
- มีพลังงานสูง มันหมู 100 กรัมให้พลังงานสูงถึง 900 kcal
- หากบริโภคมากเกินพอดีทำให้เสี่ยงต่อโรคอ้วน
- หากบริโภคมากเกินพอดีทำให้เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
มีข้อมูลจาก รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของเพจ OhISeebyAjarnJess และ นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา แพทย์อายุรศาสตร์ เจ้าของเพจ ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว อธิบายเรื่องนี้เอาไว้ว่า มันหมู มีคุณค่าทางอาหารสูงจริง แต่ต้องระวังไม่กินมากเกินไป เนื่องจากหากดูสารอาหารของมันหมูแล้วพบว่า มันหมูมีองค์ประกอบไขมันที่เป็นไขมันอิ่มตัวอยู่ทั้งหมดถึง 38–43% และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่ 56–62% อีกทั้งมีพลังงานสูงถึง 900 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนัก 100 กรัม
ดังนั้นแม้ว่า มันหมู จะมีสารอาหารมากมายหลายหลายจริง แต่ไม่ใช่ว่าจะกินได้โดยไม่ต้องระมัดระวังอะไร โดยเฉพาะเรื่องแคลอรีจำนวนมาก ถ้ากินมันหมูมากเกินไปก็ได้รับทั้งแคลอรี่และกรดไขมันอิ่มตัวที่มากเกินกว่าความเหมาะสม ทำให้เป็นโรคอ้วนตามมาได้ และตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน นพ.พิรัตน์ บอกว่าควรยึดตามหลักกินอาหารแต่พอดี อะไรที่คุณค่าทางอาหารสูง แต่กินมากไปก็อันตรายได้ และอย่าให้แคลอรี่รวมในอาหารทั้งหมดเกินความต้องการของร่างกาย
อีกอย่างหนึ่งที่เป็นข้อควรระวังก็คือ หากอยากกินหมูสามชั้นที่มี "มันหมู" แทรกอยู่เยอะ ก็ควรบริโภคเนื้อหมูควบคู่กับผักต่างๆ ไปพร้อมกันด้วย และควรใช้วิธีต้มหรือผัด มากกว่าการย่างหรือทอด และไม่ควรบริโภคหมูหรือมันหมูที่มีส่วนผสมของน้ำมันหมูผ่านกรรมวิธี หรือ Processed Lard
เอาเป็นว่าตราบใดที่หมูสามชั้นซึ่งเป็นของโปรดของหลายคน ไม่ได้ถูกแปรรูปและไม่มีน้ำมันหมูแปรรูป ก็สามารถกินได้แถมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ต้องจำกัดปริมาณการกินให้พอเหมาะพอดี อย่าเผลอตามใจปากเท่านั้นเอง
---------------------------
อ้างอิง :
https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/posts/623154374834286/
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1663419933752853&id=398912630203596
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894668?anf=
ผอ.อนามัยโลก เตือนทุกประเทศเดินหน้ายับยั้งการแพร่กระจายไวรัส หวังวิกฤติ โควิด-19 ยืดเยื้อไม่เกิน 2 ปี ชี้ แม้มีวัคซีนแต่ก็ไม่ใช่เครื่องรับประกันว่าจะจบการระบาดทันที
ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (21 สิงหาคม 2563) ความคาดหวังว่าการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) จะยืดเยื้อไม่เกิน 2 ปี
“หวังว่าเราจะมีเครื่องมืออย่างวัคซีน ผมคิดว่าเราสามารถสร้างวัคซีนให้เสร็จ โดยใช้เวลาน้อยกว่าตอนไข้หวัด ปี 1918 ระบาด” ทีโดรส แถลงข่าวโดยอ้างถึงการระบาดของไข้หวัดสเปนซึ่งมีผู้ป่วยเสียชีวิตหลายล้าน และใช้เวลาสองปีในการหยุดยั้ง
ทีโดรส เตือนว่า ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องเดินหน้ายับยั้งการแพร่กระจายไวรัสโคโรน่าจนกว่าจะมีวัคซีนหรือวิธีรักษาที่สัมฤทธิ์ผลจริง “แต่ไม่มีเครื่องรับประกันว่าเราจะมี และแม้เรามีวัคซีนก็ไม่ได้หมายความว่าหยุดการระบาดใหญ่ทันที”
ไวรัสโคโรน่าสามารถแพร่กระจายได้ง่ายดายกว่า 100 ปีก่อน เนื่องจากปัจจุบันโลกเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น เทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่ช่วยให้มนุษยชาติมีเครื่องมือต่างๆ ในการหยุดยั้งการระบาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทีโดรส สำทับว่า นานาประเทศควรดำเนินมาตรการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และประชาชนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19
ข้อมูลล่าสุดจากศูนย์วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเชิงระบบ (CSSE) แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ ระบุว่า จำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั่วโลกพุ่งเกิน 22.95 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเสียชีวิตกว่า 7.99 แสนราย เมื่อนับถึง 12.27 น. ของวันเสาร์ (22 ส.ค.) ตามเวลาประเทศไทย
(แฟ้มภาพซินหัว : ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เข้าร่วมการแถลงข่าวออนไลน์ในนครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ วันที่ 6 ส.ค. 2020)
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894762?anf=
คาดสิ้นปี 63 ทั่วโลกติดโควิดทะลุ 50 ล้านคน ตาย1-5 ล้านคน “หมอยง”ยันไทยยังปลอดติดเชื้อในประเทศ ชี้กรณี 2 สาวพบซากไวรัสเป็นไปสูงติดจากต่างประเทศ ย้ำเศษซากชิ้นส่วนไวรัส ธรรมชาติไม่พัฒนาเป็นตัวจนแพร่เชื้อ
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อภายในประเทศมานานเกือบ 90 วันแล้ว แต่การระบาดในต่างประเทศยังเกิดขึ้นอย่างหนัก ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 22 ล้านคน เสียชีวิต 7.7 แสนคน อัตราเพิ่ม 4 วัน 1 ล้านคน และเมื่อดูจากอัตราเพิ่มเช่นนี้แล้ว
ในสิ้นปี 2563 ทั่วโลกจะมีผู้ติดโควิดราว 50 ล้านคน และเสียชีวิต 1-5ล้านคน สิ่งที่เป็นความหวังคือยารักษาที่จะลดความรุนแรงของโรค ที่ใครติดเชื้อก็ได้แต่ไม่เป็นปวดบวม และเสียชีวิต รวมถึง วัคซีน ซึ่งส่วนตัวมั่นใจว่าภายในสิ้นปี 2563 จะมีการศึกษาวิจัยพัฒนาวัคซีนสำเร็จ เพราะขณะนี้มีกว่า 6 บริษัทที่มีการทดลองในมนุษย์ระยะที่ 3แล้ว จึงน่าจะมีอย่างน้อย 1-2 บริษัทที่สำเร็จ
ศ.นพ.ยง กล่าวถึงกรณีการตรวจเจอเศษซากชิ้นส่วนไวรัสที่ก่อโรคโควิดและภูมิคุ้มกันในหญิงสาวชาวชัยภูมิและเลย หลังเดินทางกลับมาจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีและเข้ากักตัวในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้จนครบ 14 วันแล้วว่า รายแรกชาวจ.ชัยภูมิ ตรวจเจอซากไวรัสหลังวันเข้าไทยประมาณ 75 วัน และรายที่ 2 ตรวจเจอหลังเข้าไทย 50 วัน ส่วนตัวคิดว่าไม่ได้ติดภายในสถานที่กักกันและไม่ได้เป็นการติดเชื้อในประเทศไทย เพราะไทยไม่มีการติดเชื้อในประเทศมานานกว่า 80 วันแล้ว
อีกทั้ง ผลการตรวจเชื้อผู้ใกล้ชิดขณะนี้ก็ยังไม่มีใครติดเชื้อ จึงเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อจากต่างประเทศแน่นอน ส่วนตอนที่เข้ามาอยู่ในสถานที่กักกันอาจจะหายแล้ว ไม่มีอาการและมีปริมาณเชื้อที่น้อยมากๆขณะอยู่ในสถานที่กักกันจึงตรวจไม่เจอ แต่เมื่ออกจากสถานที่กักกันตรวจพบก็เกิดขึ้นได้ เพราะการติดตามในผู้ที่หายป่วยและมาบริจาคพลาสม่าก็สามารถตรวจเจอชิ้นส่วนของไวรัสเช่นกัน แต่ไม่ใช่ตัวไวรัส และติดตามผู้ใกล้ชิดก็ไม่มีใครติดเชื้อ
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า วิธีการตรวจเชื้อไวรัสไวมาก แม้มีไวรัสเพียง 1-2 ตัวก็หาเจอ เพราะการตรวจในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีสูง สามารถขยายไวรัสจาก 1 ตัว เป็นล้านๆเท่า เพราฉะนั้น หากหลงเหลืออยู่เพียงเศษซากชิ้นส่วนไวรัสก็สามารถตรวจเจอ แต่กรณีที่บางครั้งตรวจไม่เจอหากมีน้อยมากก็เกิดขึ้นได้ เพราะอาจไปหลบอยู่ตรงจุดที่ป้ายคอไม่โดนในครั้งหนึ่ง แต่เมื่อตรวจซ้ำป้ายคอจุดอื่นก็อาจเจอ จึงไม่แปลกที่หากมีปริมาณน้อยมากจะไม่เจออีกไม่กี่วันอาจตรวจเจอ แต่การเจอกจะเป็นปริมาณที่น้อยๆมากๆ และการเจอซากไวรัสก็ต้องนำไปเพาะเชื้อว่าสามารถแบ่งตัวได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็กับแพร่เชื้อต่อไม่ได้ ซึ่งกรณีเป็นซากชิ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของไวรัส โอกาสที่จะกลายเป็นตัวไวรัสเกิดได้ยาก อาจจะต้องใช้วิธีการโคลนนิ่ง และยังไม่ใช่การระบาดระลอก2
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894655?anf=
หลังปรากฏตรวจพบเชื้อโรคโควิด-19ที่รพ.รามาธิบดี ด้วยหวั่นว่า “จะเป็นการติดเชื้อในประเทศ”ทั้งที่ไม่มีมากว่า 80 วันแล้ว ก่อนที่ต่อมาจะได้รับการยืนยันว่า “ไม่ได้ติดในประเทศ” และเป็น “ซากเชื้อไวรัสที่ไม่แพร่โรคแล้ว”
“ข้อมูลทางระบาดวิทยา คาดว่าเป็นการติดเชื้อในประเทศได้น้อยมาก เพราะประเทศไทยไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศมากว่า 80 วันแล้ว อีกทั้ง การเฝ้าระวังและค้นหาเชิงในชุมชน ในพื้นที่ หรือในเหตุการณ์เสี่ยง เช่น กรณีระยอง กทม. กระบี่ หรือบริเวณชายแดนสระแก้ว ผลทั้งหมดเป็นลบ และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนเดินทางเข้ามาและอยู่ในสถานกักกัน เกือบ 7 หมื่นราย ตรวจพบ 400 กว่าราย หมายความว่าโอกาสติดเชื้อในประเทศน้อยมาก” นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าว
อย่างไรก็ตาม กรณีการตรวจพบซากไวรัสในผู้ป่วยรายเดิมของประเทศไทย ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ ช่วงต้นเดือนเมษายน 2563 มีกรณีผู้ป่วยหญิงชาวจ.ชัยภูมิที่เคยป่วยโควิด-19 อาการไม่มาก นอนในโรงพยาบาลครบ 14 วัน แพทย์จึงแนะนำให้กลับบ้านและแยกตัวจากคนในครอบครัว แต่ประมาณวันที่ 3-4 เมษายน 2563 เริ่มมีน้ำมูกนิดหน่อย คั่นเนื้อคั่นตัว รู้สึกเหมือนมีไข้ จึงไปโรงพยาบาลหนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ทำการตรวจหาเชื้อซ้ำก็พบเชื้อ
ครั้งนั้น นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้น่าจะไม่ได้ติดโควิด-19ซ้ำ โดยเชื้อที่พบน่าจะเป็นซากของเชื้อไวรัส เพราะต่างประเทศสามารถตรวจเจอซากเชื้อได้นานถึง 30 วัน และซากที่พบเป็นตัวเชื้อไม่มีชีวิตแล้วจึงไม่สามารถแพร่เชื้อได้แล้ว
หรือกรณีช่วงปลายเดือนมิ.ย.2563 กรณีแรงงานเมียนมาร์ จำนวน 23 ราย พบเชื้อโรคโควิด-19 หลังเดินทางกลับจากประเทศไทย โดยเมื่อมีการสอบสวนรายละเอียดพบว่า เคยเป็นต่างด้าวในศูนย์ผู้ต้องกัก อ.สะเดา จ.สงขลา ที่ติดเชื้อรักษาหายและส่งกลับข้ามแดน
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายไว้ว่า การตรวจพบเชื้อซ้ำ สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งการตรวจเชื้อโดยการหาสารพันธุกรรม อาจยังพบพันธุกรรมของไวรัสได้ แต่จะเพาะเชื้อไม่ขึ้น เนื่องจากเป็นไวรัสที่ถูกร่างกายทำลายแล้ว ซึ่งในประเทศไทยและต่างประเทศก็มีการรายงานเช่นเดียวกัน โดยหลังจากมีรายงานผู้ติดเชื้อกลุ่มดังกล่าวแล้ว โดยมีรายงานการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่า เมื่อหายป่วยโควิดแล้วเชื้อไวรัสยังมีอยู่ในร่างกายได้นานถึง 30 วัน
ทั้งนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงการพบเชื้อในผู้ที่พ้นการกักกันโรค 14 วันว่า มีความเป็นไปได้ใน 4 ประเด็น คือ 1. ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะเป็น 2 - 7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้น้อยมากถึง 21 วัน ดังนั้นในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรค 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันที่บ้านต่ออีก 14 วันเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกัน การกระจายโรค
2.การตรวจพบเชื้อหลังจาก 14 วันไปแล้ว เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วง 14 วันที่อยู่ในสถานที่กักกัน ในอดีต เช่น ในเรือสำราญ ดังนั้นในสถานที่กักกัน เราจึงเคร่งครัด ไม่ให้มีการพบปะกัน ระหว่าง ผู้ที่กักกันด้วยกัน หรือบุคคลภายนอก 3.ผู้ป่วยมาติดเชื้อในประเทศไทย โอกาสนี้เป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้ไม่พบการติดต่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 80 วันแล้ว 4.ความเป็นไปได้ที่ผู้นั้นติดเชื้อมาจากต่างประเทศ หรือป่วยอยู่ต่างประเทศแล้ว และเมื่อมาถึงเมืองไทย เชื้อมีปริมาณน้อย ในบางช่วงก็ตรวจไม่พบ และต่อมา หรือบางช่วง ก็ตรวจพบ
อย่างเช่น การระบาดในรอบแรกของประเทศไทย ได้ทำการศึกษาร่วมกับ สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย กทม. พบว่า ก่อนกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อ หลังจากนั้นติดตาม ก็ยังมีการพบเชื้อ แต่เชื้อมีปริมาณน้อยมาก ในการติดตามระยะยาวที่เราทำการศึกษา จำนวน 212 ราย พบว่าในช่วง 4-12 สัปดาห์ หลังจากที่มีอาการ และผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว ยังตรวจพบเชื้อได้ประมาณ 6.6 %ของผู้ป่วย
“เราพบไวรัสได้หลังจากมีอาการ 36– 105 วัน แต่ปริมาณไวรัสที่พบน้อยมากดังนั้น การพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมทั้งการตรวจปริมาณไวรัส ถ้ามีเป็นจำนวนน้อย โอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมากๆ ดังข้อมูลในการระบาดรอบแรก ที่ได้ทำการศึกษาในประเทศไทยถึงแม้จะตรวจพบเชื้อ ก็ไม่พบว่าแพร่กระจายไปสู่ผู้ใดเลย”ศ.นพ.ยงระบุ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894604
21 ส.ค.63 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้
สถานการณ์ทั่วโลกล่าสุด 21 สิงหาคม 2563
พรุ่งนี้จะทะลุ 23 ล้านคน
เมื่อวานติดเชื้อเพิ่มอีกถึง 269,033 คน ตายเพิ่มอีก 6,408 คน ยอดรวมตอนนี้ 22,791,986 คน
อเมริกา ติดเพิ่ม 46,856 คน รวม 5,739,998 คน ตายเพิ่มเกินพัน
บราซิล ติดเพิ่ม 45,323 คน รวม 3,501,975 คน ตายเพิ่มเกินพัน
อินเดีย ติดเพิ่ม 68,507 คน รวม 2,904,329 คน ตายเพิ่มเกือบพัน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 4,785 คน รวม 942,106 คน ตายหลักร้อย
แอฟริกาใต้ เม็กซิโก เปรู ติดเพิ่มสี่พัน ห้าพัน เก้าพัน ตามลำดับ เปรูดูจะสถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม ยอดติดต่อวันเพิ่มขึ้นมาก
สหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส อิหร่าน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ติดเพิ่มกันหลักพันถึงหลายพัน ส่วนญี่ปุ่นติดเกือบพัน
หลายประเทศในยุโรป รวมทั้งแคนาดา ปากีสถาน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ติดเพิ่มกันหลายร้อย
ส่วนสิงคโปร์ ฮ่องกง เวียดนาม ติดเพิ่มกันหลักสิบ
จีน มาเลเซีย และนิวซีแลนด์ ต่ำกว่าสิบ
...สถานการณ์ในภาพรวม การระบาดทั่วโลกยังไม่ดีขึ้น เพิ่ม 1 ล้านทุก 4 วันเช่นเดิมตั้งแต่กรกฎาคมมาสิงหาคม ไวกว่ามีนาคม 9 เท่า...
...ข้อมูลทางการแพทย์ที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค COVID-19 นี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวัน
เดิมเชื่อว่าติดเชื้อกันผ่านทางไอ จาม ไวรัสเกาะมากับละอองฝอยของน้ำลาย เสมหะ หรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ รวมถึงที่เกาะติดกับสิ่งของในสภาพแวดล้อมและไปจับต้องถูกสิ่งของเหล่านั้น นำมาล้วงแคะแกะเกา
แต่ตอนนี้ชัดเจนขึ้นมากว่า มีหลักฐานบ่งชี้ถึงการแพร่ผ่านทางอากาศ หรือ aerosol transmission ได้ เช่น การระบาดหมู่มากใน call center ประเทศเกาหลี, คณะร้องเพลงในโบสถ์ในประเทศอเมริกา, รวมถึงการติดเชื้อในร้านอาหารในประเทศจีน เป็นต้น
ดังนั้นประชาชนทุกคนจึงควรรับทราบความรู้เหล่านี้ ตามอัพเดตอยู่เสมอ จะได้ระแวดระวัง ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะไม่ติดเชื้อไวรัสโรค COVID-19 นี้
โรคนี้แพร่ไวกว่าไข้หวัดใหญ่ เป็นแล้วตายได้ ไม่ใช่หวัดธรรมดา และยังไม่มียารักษามาตรฐาน ไม่มีวัคซีนป้องกัน
ตอนนี้ความเสี่ยงที่จะมีการระบาดซ้ำในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากศึกนอกและศึกใน
เชื่อว่าทางศบค.ได้พยายามเต็มที่ที่จะวางแผนอย่างรัดกุม
การนำเข้าชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศจำเป็นต้องทำเฉพาะที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น และระบบการคัดกรองโรค กักตัว รวมถึงติดตาม ต้องเข้มแข็ง จึงจะลดโอกาสการแพร่ระบาดซ้ำได้
ฟองสบู่ท่องเที่ยวจำเป็นต้องยุติไปก่อนอย่างน้อย 6 เดือน เพราะสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงทั่วโลก ไม่มีที่ใดปลอดภัย
นโยบายรัฐควรใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ยืนบนขาตนเอง ลดการพึ่งพาต่างชาติ จึงจะมีโอกาสรอดในสงครามนี้ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาอีกอย่างน้อย 6-18 เดือนจึงจะซาลง
ขณะที่ภายในประเทศ ก็ขอให้พวกเราทุกคนป้องกันตัวเองเสมอ มีสติในการดำรงชีวิต อดทน อดกลั้น อดออม และพอเพียง
#ใส่หน้ากากเสมอ
#ล้างมือบ่อยๆ
#อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร
#ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับคนอื่น
#พูดน้อยลง
#พบคนน้อยลงสั้นลง
#คอยสังเกตอาการตนเองและครอบครัว
#หากไม่สบายให้หยุดเรียนหยุดงานและรีบไปตรวจรักษา
ประเทศไทยต้องทำได้
ด้วยรักต่อทุกคน
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ้างอิง
Airborne transmission of covid-19. BMJ 2020;370:m3206
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/75097
ประเทศมหาอำนาจโลกต่างขับเคี่ยว เพื่อแข่งขันค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ท่ามกลางความหวังของทุกประเทศที่ต้องการทั้งยารักษาและวัคซีนต้านไวรัส ที่ขณะนี้คร่าชีวิตคนทั่วโลกแล้วกว่า 22 ล้านราย
- รัสเซีย
กระทรวงสาธารณสุขรัสเซียเดินหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชุดแรกหลังจากที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ประกาศข่าวดีว่า รัสเซียเป็นผู้สร้างวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นประเทศแรกของโลก มีชื่อว่า “สปุตนิก 5” ผลงานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ด้านระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยา เป็นสถาบันทางการแพทย์ใกล้กรุงมอสโก
มิคาอิล มูราชโก รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัคซีนตัวนี้ปลอดภัย ถึงแม้ว่าการทดลองทางคลินิกยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และการทดสอบระยะสุดท้ายที่ต้องทดลองกับคนมากกว่า 2,000 คน
ขณะนี้เริ่มทดลองแล้วเมื่อ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา และต้องรอผลการทดลองอีก 6 เดือนข้างหน้า ท่ามกลางข้อกังขาจากองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) และนักวิทยาศาสตร์จากโลกตะวันตกบางรายเตือนว่า รัสเซียเดินหน้าใช้วัคซีนเร็วเกินไปอาจเป็นอันตรายได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีกว่า 20 ประเทศแสดงความสนใจที่จะใช้วัคซีนโรคโควิด-19 ของรัสเซีย โดยรัสเซียพร้อมทำงานใกล้ชิดกับดับเบิลยูเอชโอ ในการพัฒนาและใช้งานวัคซีนในอนาคต ผ่านโครงการส่งเสริมการเข้าถึงการต่อสู้กับโรคโควิด เพื่อเร่งพัฒนา ผลิต และเข้าถึงอย่างเป็นธรรมในด้านการตรวจรักษา และรับวัคซีนโควิด-19
- จีน
จีนจดสิทธิบัตรวัคซีนโควิด-19 ฉบับแรกให้กับบริษัทแคนชิโน ไบโอโลจิคส์ อิงค์ ร่วมกับสถาบันวิทยาการทหาร พัฒนาวัคซีนที่มีชื่อว่า Ad5-nCOV เป็นการพัฒนาวัคซีนโควิดจากการตัดต่อสารพันธุกรรม หรือไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector vaccine) เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน นับเป็นก้าวสำคัญที่จีนเข้าสู่ทดลองทางคลินิก ซึ่งจะเตรียมนำไปทดลองในซาอุดีอาระเบีย อีกทั้งแคนชิโนกำลังเจรจากับรัสเซีย บราซิล และชิลี เพื่อทำการทดลองในประเทศเหล่านี้
ขณะที่สถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพอู่ฮั่น ภายใต้บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติจีนในเครือซิโนฟาร์ม เผยแพร่รายงานผลทดลองวัคซีนโควิดทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ชนิดเชื้อตาย หรือเป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคทั้งตัว (whole-virus vaccines) ทดลองกับอาสาสมัครแบ่งเป็น 96 คน เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 และ 224 คน เข้าร่วมการทดลองระยะที่ 2 พบว่า วัคซีนกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ในบรรดาอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงให้เห็นถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
บริษัท ไชน่า เนชันเเนลไบโอเทคกรุ๊ป เผยเมื่อต้นเดือน ส.ค.ว่า โรงปฏิบัติการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด ชนิดเชื้อตายในกรุงปักกิ่งได้รับการยืนยันว่า ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ และยังมีโรงปฏิบัติการอีกหนึ่งแห่งที่เมืองอู่ฮั่น ทั้ง 2 แห่งสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตายได้มากถึง 220 ล้านโดสต่อปี
- สหรัฐ
นายฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ “วัคซีน ปฏิบัติการวาร์ป สปีด” กำลังอยู่ในขั้นทดลองเฟส 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย กับอาสาสมัครกว่า 30,000 คน เพื่อยืนยันประสิทธิภาพวัคซีน อาจทำให้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐ (เอดีเอ) ไม่สามารถอนุมัติก่อนเดือนพ.ย.
การพัฒนาวัคซีนของสหรัฐ มีควบคู่กับการเจรจาสั่งซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จากบริษัทผู้ผลิตยายักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งที่กำลังพัฒนาวัคซีน รวมกว่า 500 ล้านชุด คิดเป็นมูลค่าเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์ โดยหวังให้ทดลองเสร็จสิ้นและส่งมอบภายใน ธ.ค.นี้
บริษัทผู้ผลิตยา ไฟเซอร์ อิงค์ และไบโอเอ็นเทค ได้ทำข้อตกลงกับกระทรวงและกระทรวงกลาโหม ร่วมกันพัฒนาวัคซีน หากประสบความสำเร็จ มีเป้าหมายผลิตเพื่อส่งมอบวัคซีนโควิด 300 ล้านโดส ภายในเดือน ม.ค. ปีหน้า ส่วนบริษัทซาโนฟีของฝรั่งเศส และแกล็กโซสมิธไคลน์ พีแอลซีของอังกฤษ ได้บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐ ในการจัดซื้อวัคซีน 100 ล้านโดส
นอกจากนี้ยังบรรลุข้อตกลงกับแจนส์เซน ฟาร์มาซูติคอล บริษัทในเครือของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน กำลังทดลองวัคซีนทดลองต้านไวรัสที่ชื่อ Ad26.COV2.S ถ้าสำเร็จจะผลิต100 ล้านโดส ส่งมอบให้กับสหรัฐทันที หลังจากที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ภายใต้อำนาจตามมาตรการฉุกเฉินจากเอฟดีเอ
- อังกฤษ
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ภายใต้โครงการ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยผลการทดลองในเฟส 1 และ 2 ประสบผลสำเร็จ ที่ชื่อว่า "ChAdOx1 nCoV-19" ได้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 1,077 ราย พบว่า อาสาสมัครสามารถสร้างแอนติบอดี และเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อสู้กับโควิด เกิดผลข้างเคียงเพียงเล็กน้อยซึ่งสามารถลดลงได้โดยการใช้ยาพาราเซตามอล และไม่มีอาการร้ายแรงจากการทดลอง
ดับเบิลยูเอชโอ ระบุว่า ตอนนี้มีการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดทั่วโลกประมาณ 160 ตัวอย่าง แต่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้า ถือเป็นกลุ่มแนวหน้าที่จะผลิตวัคซีนสำเร็จเป็นอันดับต้นๆ และเร็วที่สุดช่วงต้นเดือน ก.ย.
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/894202?anf=
14 ส.ค.63 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า
เมื่อนักเรียนเปิดเทอม ในยุค โควิด-19
ขณะนี้ไข้หวัด ในเด็กนักเรียน พบได้บ่อยมากขึ้น
เด็กเริ่มเจ็บป่วยมากขึ้น เริ่มเห็นเป็นกลุ่มก้อน และจากการตรวจ ที่ศูนย์ไวรัส จุฬา จะพบเป็น Rhinovirus
Rhinovirus จะมี 3 กลุ่ม คือ A B และ C
Rhinovirus C จะมีอาการมากวาง A และ B
Rhinovirus C บางรายลงหลอดลมจะมีหายใจเร็วและหอบ คล้าย RSV
พบในเด็กอนุบาล เด็กประถมเป็นส่วนใหญ่
หลานที่บ้าน 3 คน เริ่มจากอนุบาลก่อน และเป็นไล่กันหมด ตามมา
อาการจะมีไข้ต่ำๆเท่านั้น แล้วตามมาด้วย หวัดและไอ
และจะติดกันเป็นกลุ่มก้อนในเด็กนักเรียน
น้องจะไปให้พี่ จึงพบได้บ่อยในขณะนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/74382
“สหรัฐ” บรรลุข้อตกลงร่วม “โมเดอร์นา” ซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวน 100 ล้านโดส มูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลล์
บริษัท โมเดอร์นา อิงค์ ร่วมกับทำเนียบขาว แถลงในวานนี้ (11 ส.ค.)ว่า รัฐบาลสหรัฐได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ของสหรัฐ เพื่อซื้อวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ปริมาณ 100 ล้านโดส มูลค่าราว 1.5 พันล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ วัคซีนต้านโควิด-19 ของโมเดอร์นานั้น มีราคาต่อโดสอยู่ที่ราว 30.50 ดอลลาร์ ซึ่งประชาชนจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนดังกล่าวจำนวน 2 โดสต่อคน
โมเดอร์นาเปิดเผยว่า วัคซีน mRNA-1273 เป็นหนึ่งในวัคซีนต้านโควิดเพียงไม่กี่ตัวที่เข้าสู่การทดลองขั้นสุดท้ายแล้ว และการทดลองดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐได้ทำข้อตกลงกับหลายบริษัทเพื่อซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จำนวนหลายร้อยล้านโดส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Operation Warp Speed ที่มีเป้าหมายเพื่อจะเริ่มใช้วัคซีนในสหรัฐภายในสิ้นปีนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com
เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/893367?anf=
หน้าที่ 62 จาก 73