ช็อกวงการอาหารเสริม! วิจัยชี้ "วิตามินดี" ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
 
หักล้างข้อมูลเดิม! เมื่อทีมนักวิจัยสหรัฐพบว่า การกินอาหารเสริม “วิตามินดี” ไม่มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อกระดูกเปราะหักใดๆ ทั้งในประชากรทั่วไป คนแก่ หรือแม้แต่คนที่ขาดวิตามินดีเองก็ตาม

ช็อกวงการวิตามินและอาหารเสริม! เมื่อมีการเผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ “The New England Journal of Medicine” เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา โดยผลวิจัยระบุว่า การบริโภคอาหารเสริม “วิตามินดี” แบบเม็ด ไม่ว่าจะมีส่วนผสมของแคลเซียมหรือไม่มีแคลเซียมก็ตาม ล้วนไม่มีส่วนช่วยป้องกันกระดูกเปราะ, กระดูกพรุน ไม่มีผลต่อการลดอัตราการแตกหักของกระดูกใดๆ แก่ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ที่ตรวจพบว่าขาดวิตามินดีในร่างกาย

อีกทั้งนักวิจัยได้สรุปผลและให้ความเห็นว่า พวกเขาไม่สนับสนุนรายการอาหารเสริมวิตามินดีหลายยี่ห้อที่อ้างว่ามีประโยชน์มากมายต่อผู้บริโภค เช่น ช่วยลดการเกิดกระดูกหักในผู้สูงวัย ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง-โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือช่วยให้มีอายุยืนยาว เป็นต้น

Dr.Steven R. Cummings นักวิทยาศาสตร์จาก California Pacific Medical Center Research Institute และ Dr.Clifford Rosen นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจาก MaineHealth Institute for Research และเป็นบรรณาธิการของวารสารการแพทย์ The New England Journal of Medicine กล่าวสรุปและให้คำแนะนำว่า

“ตัวแทนขายอาหารเสริมต่างๆ ควรหยุดการแสดงระดับค่าวิตามินดีในกระแสเลือด (25-hydroxy-vitamin D) และหยุดแนะนำประชาชนให้บริโภคอาหารเสริมวิตามินดีได้แล้ว ส่วนประชาชนเองก็ควรหยุดบริโภควิตามินดีด้วยความเชื่อที่ว่าจะช่วยป้องกันโรคร้ายแรงหรือยืดอายุขัยเสียที”  

 

ช็อกวงการอาหารเสริม! วิจัยชี้ "วิตามินดี" ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลของวิตามินดีต่อสุขภาพแบบครอบคลุมที่เรียกว่า VITAL (VITamin D และ OmegA-3 TriaL) เป็นงานศึกษาวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับทุนการวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ โดยมีผู้เข้าร่วมทดลอง 25,871 คน เป็นชายอายุ 50 ปีขึ้นไปและหญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับวิตามินดีในปริมาณมาตรฐานสากล 2,000 หน่วยต่อวัน และกลุ่มทดลองที่ได้รับยาหลอก

จุดเริ่มต้นของการวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประชุมร่วมกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นสมาชิกใน National Academy of Medicine ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยพวกเขามีข้อสงสัยตรงกันว่าการบริโภคอาหารเสริม “วิตามินดี” ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้นจริงหรือไม่?

แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อมูลในทำนองว่าการรับประทาน "วิตามินดี" ในปริมาณมาก มีแนวโน้มที่จะป้องกันกระดูกเปราะหักได้ แต่กลับแทบไม่พบหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ขึ้น โดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการทดลอง VITAL ดังกล่าว เพื่อหาคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินดีต่อสุขภาพของประชาชน

แล้วเรื่องไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้น เมื่อผลการวิจัยพบว่า “วิตามินดี” ไม่มีผลในการป้องกันมะเร็งหรือโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้เข้าร่วมทดลอง และไม่ได้ป้องกันกระดูกเปราะหัก อีกทั้งไม่ได้ผลในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ, ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ, ไม่ลดความถี่ของไมเกรน, ไม่ช่วยบรรเทาโรคหลอดเลือดสมอง, ไม่ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม หรือลดอาการปวดเข่า

ช็อกวงการอาหารเสริม! วิจัยชี้ "วิตามินดี" ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาขนาดใหญ่อีกชิ้นหนึ่งในออสเตรเลีย พบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมวิตามินดีเป็นประจำ ไม่ได้ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น โดย Dr.JoAnn Manson หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ป้องกันจาก Brigham and Women's Hospital ใน Harvard Medical School และเป็นผู้นำหลักของการทดลอง VITAL กล่าวว่า

การศึกษาครั้งนี้มีขนาดใหญ่มาก ผู้เข้าร่วมทดลองบางส่วนเป็นผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน บางส่วนเป็นผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ ซึ่งพวกเขาให้ผลลัพธ์อย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากอาหารเสริมวิตามินดีในแง่ของการช่วยลดความเสี่ยงกระดูกเปราะหักเลย

“ผลวิจัยครั้งนี้ทำให้หลายคนประหลาดใจ” ดร.แมนสันกล่าว และเสริมด้วยว่า “แต่ดูเหมือนว่าคนเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเพื่อส่งเสริมสุขภาพกระดูก การกินวิตามินปริมาณที่มากขึ้นไม่ได้ให้ประโยชน์มากกว่า”

ผลวิจัยดังกล่าวกลายเป็นที่ถกเถียงในวงการแพทย์ วงการโภชนาการ และเวชศาสตร์สุขภาพอย่างกว้างขวาง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกหลายคนมีความเห็นต่างออกไป โดยมองว่าจะยังคงแนะนำผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำให้ทานวิตามินดีและแคลเซียมต่อไป

--------------------------------------------

อ้างอิง : The New York Timesnejm.orgclinicaltrials.gov

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1018110?anf=

ดร.อนันต์ ชี้ โอไมครอน" Pfizer 2 เข็มเอาไม่อยู่ ซ้ำ คาด "แพร่ทางอากาศ" ได้อีก
 
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา เผย ข้อมูลสุดช็อค ไวรัสโควิด โอไมครอน" วัคซีน Pfizer 2 เข็มเอาไม่อยู่ ซ้ำ คาด "แพร่ทางอากาศ" ได้อีก

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา เผย ข้อมูลสุดช็อค ไวรัสโควิด 'โอไมครอน" วัคซีน Pfizer 2 เข็มเอาไม่อยู่ ซ้ำ คาด "แพร่ทางอากาศ" ได้อีก

วันนี้ (26 ต.ค.) เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana หรือ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ระบุข้อความว่า

รายละเอียดของผู้ป่วยติดเชื้อ "โอมิครอน" 2 รายแรกของฮ่องกง ได้ถูกเผยแพร่โดยทีมวิจัยจาก University of Hong Kong ผู้ป่วยรายแรก (Case A) เดินทางมาจากประเทศแอฟริกาใต้ ถึงฮ่องกงวันที่ 11 พฤศจิกายน และได้เข้ากักตัวในโรงแรมแห่งหนึ่ง ผู้ป่วยรายนี้ได้ตรวจ RT-PCR ผลออกมาเป็นลบ 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง และ เป็นผู้ได้รับวัคซีน Pfizer ครบสองเข็มไปตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผู้ป่วยรายที่สอง (Case B ) เดินทางมาจากประเทศแคนาดา ถึงฮ่องกงก่อนรายแรกคือวันที่ 10 พฤศจิกายน ได้รับการตรวจ RT-PCR ที่ต้นทางเป็นลบ และ รับ Pfizer เข็มสองไปตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ทั้งคู่ได้กักตัวอยู่ในโรงแรมเดียวกัน โดยห้องอยู่ตรงข้ามกัน

 

Case A ตรวจพบผล RT-PCR เป็นบวกหลังกักตัวในโรงแรมเพียง 2 วัน โดยปริมาณไวรัสที่ตรวจได้ค่อนข้างสูง คือ Ct = 18 โดยหลังจากนั้นได้ถูกส่งไปที่โรงพยาบาลต่อ แต่ไม่มีรายงานว่าผู้ป่วยรายนี้มีอาการใดๆ ส่วน Case B ตรวจผลออกมาเป็นบวกหลังกักตัวนานถึง 8 วัน แต่เค้าเริ่มมีอาการป่วยเล็กน้อยตั้งแต่วันที่ 7 ของการกักตัว ก่อนส่งไปรักษาตัวต่อในโรงพยาบาล

ทีมวิจัยรายงานว่า การตรวจดูทีวีวงจรปิดตลอดเวลาที่ผู้ป่วยทั้งสองกักตัว ทั้งคู่ไม่เคยออกจากห้องกักตัวและมีปฏิสัมพันธ์ใดๆ ไม่มีการใช้สิ่งของร่วมกัน ตลอดจนไม่มีบุคคลที่สามที่เข้าไปในห้องของแต่ละคน จังหวะเดียวที่แต่ละคนจะเปิดประตูห้องออกมาพร้อมๆกันคือ เพื่อรับอาหารที่วางไว้หน้าประตูห้องเท่านั้น ซึ่งใช้เวลาสั้นๆ นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นช่วงที่มีคนเข้าไปทำการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจ RT-PCR ซึ่งทำทุก 3 วัน

แต่เนื่องจากทั้งคู่มาพักไม่พร้อมกัน ทำให้การเก็บตัวอย่างดังกล่าวของแต่ละคนไม่ได้ทำวันเดียวกัน การถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสของทั้ง 2 คน ยืนยันว่าเป็นไวรัส "โอมิครอน" ที่มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกันมากๆ แตกต่างกันเพียงแค่ 1 ตำแหน่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นไวรัสตัวเดียวกัน และ เกิดการแพร่หากันจากการที่อยู่ในห้องพักตรงข้ามกันในช่วงเวลา 2 วันที่ Case A พำนักอยู่ในห้อง และ มีโอกาสสูงที่จะแพร่ทางอากาศมากกว่าการสัมผัส หรือ ละอองฝอย

ถ้าวิเคราะห์ตามข้อมูลนี้ Case B อาจจะสัมผัสเชื้อครั้งแรกวันที่ 11 และ เริ่มมีอาการป่วยวันที่ 17 ทำให้อนุมานคร่าวๆได้ว่า ระยะฟักตัวของโอมิครอนคงใช้เวลาประมาณ 6 วัน หรือ น้อยกว่านั้นขึ้นอยู่กับว่าการสัมผัสเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ปริมาณไวรัสในตัวอย่างของทั้งสองคนมีปริมาณที่สูงทั้งคู่ ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีภูมิจากวัคซีน Pfizer มาแล้ว 2 เข็ม

แต่เนื่องจากได้รับวัคซีนมาแล้วประมาณ 5 เดือน ซึ่งอาจจะอนุมานได้ว่าระดับภูมิคุ้มกันที่เหลืออยู่คงไม่พอที่จะป้องกัน "โอมิครอน" ได้ หรือ โอมิครอนต้องการระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่านั้นมาก แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ทั้งคู่อาการไม่หนักซึ่งอาจจะเป็นผลจากภูมิจากวัคซีนที่ยังช่วยได้ ทั้งนี้ข้อมูลยังมาจากแค่ 2 เคส คงต้องมีตัวอย่างมาเพิ่มกว่านี้ก่อนที่จะสรุปตัวเลขต่างๆอย่างเป็นทางการได้

ดร.อนันต์ ชี้ โอไมครอน" Pfizer 2 เข็มเอาไม่อยู่ ซ้ำ คาด "แพร่ทางอากาศ" ได้อีก

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/495560?adz=

 
มีรายงานข่าวจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของประเทศบราซิล ซึ่งรายงานดังกล่าวจะได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชื่อดัง (Lancet) ต่อไป
เป็นกรณีผู้ป่วยผู้หญิงชาวบราซิลวัย 45 ปี จากเมือง Salvador รัฐ Bahia โดยนักวิจัยจาก IDOR ได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสที่ติดเชื้อในผู้หญิงรายนี้
และพบว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งแพร่ระบาดมาจากอังกฤษและแอฟริกาใต้
ที่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและจะต้องติดตามต่อไป ก็คือ
ในผู้ป่วยหญิงรายนี้ได้เคยติดโควิดมาแล้ว
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ต่อมาอีกห้าเดือน หลังจากที่หายดีแล้ว ในวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ก็เกิดติดโควิดซ้ำเป็นครั้งที่สอง
 
การติดโควิดซ้ำเป็นครั้งที่สอง เคยมีรายงานประปรายในหลายประเทศ
แต่ที่ผ่านมาจะเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดิมตัวเดียวกัน
แต่ในผู้ป่วยรายนี้ต้องนับเป็นเคสแรกของโลก ที่รายงานอย่างเป็นทางการว่า เกิดการติดเชื้อซ้ำครั้งที่สอง ด้วยไวรัสคนละสายพันธุ์กัน กับการติดครั้งที่หนึ่ง และทำให้เกิดอาการรุนแรงมากกว่าครั้งที่หนึ่ง
โอกาสที่การติดไวรัสครั้งที่สอง จากไวรัสคนละสายพันธุ์กัน อาจจะเกิดจากสองสาเหตุด้วยกันคือ
1) ระดับภูมิต้านทานต่อไวรัสโคโรนาได้ลดลง จนไม่สามารถป้องกันได้ ส่วนไวรัสทั้งสองชนิดนั้นไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ภูมิต้านทานจากสายพันธุ์ที่หนึ่งยังป้องกันสายพันธุ์ที่สองได้ เพียงแต่ระดับไม่พอป้องกันอันนี้ก็จะไม่ค่อยเป็นปัญหา
 
2) ถ้าระดับภูมิต้านทานต่อไวรัสสายพันธุ์เดิมไม่ได้ลดลง และเพียงพอที่จะป้องกันได้ แต่เมื่อเจอไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ แล้วเกิดป้องกันไม่ได้
ถ้าเป็นกรณีที่สองนี้ ก็จะเป็นปัญหาใหญ่กับวงการแพทย์ต่อไป ว่าภูมิต้านทานต่อไวรัสสายพันธุ์เดิม ไม่สามารถป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้
 
ผู้ที่เคยหายป่วยจากการที่ที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ เดิม และมีภูมิต้านทานในระดับที่สูงพอ จึงมีความเสี่ยงที่จะติดจากไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้
และทำให้อาจเกิดปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดิม อาจจะป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ทางห้องปฏิบัติการของบริษัทไฟเซอร์ได้แจ้งว่า เท่าที่ได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ก็ยังดูว่าป้องกันได้อยู่
 
จึงต้องติดตามต่อไปว่า ในผู้ป่วยหญิงชาวบราซิล รายนี้ระดับภูมิต้านทานที่มีอยู่ในขณะติดเชื้อไวรัสซ้ำครั้งที่สอง อยู่ในระดับที่สูงหรือต่ำ
ถ้าต่ำก็จะโชคดีว่า ที่ติดเชื้อเพราะภูมิต้านทานต่ำ
แต่ถ้าภูมิต้านทานสูง แล้วยังติดเชื้อซ้ำครั้งที่สอง ก็แปลว่าภูมิต้านทานนั้นป้องกันได้เฉพาะไวรัสเดิม
ไม่สามารถป้องกันไวรัสใหม่ได้ ซึ่งจะเป็นปัญหามากทีเดียว
Reference

15 พ.ค. 2565 – ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า ผลวิจัยที่ศูนย์วิจัยคลินิก ศิริราช ร่วมกับ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี BIOTEC สวทช. พบว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้ากล้าม กับ ใต้ผิวหนัง ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีน AZ มา 2 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโอมิครอนได้ดีทั้งคู่ โดย กลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามจะได้ภูมิที่สูงกว่ากลุ่มใต้ผิวหนัง ประมาณ 3 เท่าในกรณีที่ฉีดกระตุ้นด้วย Moderna และ ประมาณ 1.5 เท่า ในกรณีที่ฉีดกระตุ้นด้วย Pfizer โดยตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนจะสอดคล้องกับปริมาณวัคซีนที่ใช้ โดย Moderna ฉีดเข้ากล้ามมากกว่าผิวหนัง 5 เท่า (100 vs 20 mcg) ขณะที่ Pfizer ฉีดเข้ากล้ามมากกว่าผิวหนัง 3 เท่า (30 vs 10 mcg)

ผลข้างเคียงจากการฉีดใต้ผิวหนังดูเหมือนจะน้อยกว่าตามคาดครับ ซึ่งทีมวิจัยสรุปว่า การฉีดใต้ผิวหนังโดยเฉพาะด้วย Moderna อาจเป็นทางเลือกให้พิจารณาในกรณีที่มีวัคซีนจำกัด และ ต้องการลดผลข้างเคียงจากวัคซีน

 
 
 

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/141986/#

ด่วน ครม. ไฟเขียว 3 มาตรการเร่งด่วน เยียวยาโควิด-19 ลดค่าน้ำ ค่าไฟ ช่วย SMEs

 

ด่วน..ครม.มีมติอนุมัติ 3 มาตรการบรรเทาผลกระทบในระยะเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

 

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้โพสต์เฟซบุ๊กภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3 สัปดาห์ (ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 ) จนถึงวันนี้ ณ ปัจจุบัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อแม้จะยังสูง คือ 200-300 คนต่อวัน แต่เป็นการเพิ่มที่ค่อนข้างคงที่ ไม่ได้สูงขึ้นต่อเนื่องทุกวัน อย่างที่เราวิตกในตอนแรก และผู้ติดเชื้อระลอกใหม่นี้ ใช้เวลารักษาหายเร็วขึ้นมาก

ในรอบ 4 วันที่ผ่านมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ 9 มกราคม จนถึงวันนี้ เรารักษาหายรวมกันมากกว่า 2,000 คน การระบาดรอบใหม่นี้ เรามีความพร้อมมากกว่าเมื่อปีที่แล้วมาก ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ ป้องกัน โรงพยาบาล บุคลากร ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน ที่สำคัญมากคือ ความร่วมมือ ความรับผิดชอบของพี่น้องประชาชน ช่วยกันจำกัด การแพร่ระบาด

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การที่ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 หลักต่อวัน การตรวจหาเชื้อเชิงรุกยังพบผู้ติดเชื้อ มากบ้าง น้อยบ้างในแต่ละวัน แสดงว่า แม้เราจะควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ในเบื้องต้น แต่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ทำให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศให้ลดลงมาเหลือสองหลัก หลักเดียว จน ควบคุมได้ในที่สุด ผมมั่นใจว่า เราจะทำได้แน่นอน เหมือนที่เราเคยทำได้มาแล้ว

เรื่อง วัคซีน ผมได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย.) เร่งรัดกระบวนการขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด 19 ให้เร็ว วัคซีนมาถึงแล้ว ฉีดให้ประชาชนได้ทันที โดยเฉพาะ วัคซีน ของ แอสตร้า ซีเนก้า ที่ประเทศไทยได้รับสิทธิให้เป็นผู้ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำแผนการฉีดวัคซีนไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลที่ใช้กันอยู่ คือ เรียงตามลำดับความเสี่ยง กลุ่มบุคลการทางการแพทย์ ผู้สูงวัย ผู้มีโรคประจำตัว คนที่พื้นที่ที่มีการระบาดสูง จะได้รับก่อน เรื่องนี้ เตรียมไว้หมดแล้ว

การระบาดระลอกใหม่ แม้จะไม่มีการปิดสถานที่ต่างๆ เป็นวงกว้าง ไม่มีการจำกัดการเดินทาง การออกนอกเคหสถาน เป็นวงกว้าง เหมือนการระบาดเมื่อต้นปีก่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ บางส่วนยังดำเนินต่อไปได้ ยอดค่าใช้จ่ายผ่านโครงการ คนละครึ่ง ยังอยู่ในระดับเดียวกับก่อนการระบาด แต่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในพื้นที่สีแดง ที่มีการควบคุมระดับสูงสุด ส่งผลต่อรายได้ของผู้ประกอบการ และพนักงาน ลูกจ้าง

รัฐบาลกำลังประเมินสถานการณ์การระบาด เพื่อกำหนดมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยเฉพาะในเรื่อง การช่วยเหลือเงินเยียวยาค่าครองชีพของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการะบาดรอบนี้ ผมคาดว่า ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ เราจะมีความชัดเจน และจะมีมาตรการออกมาได้

ในระหว่างนี้ มาตรการดูแลเศรษฐกิจที่ออกมาก่อนหน้ายังคงมีอยู่ เช่นโครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน การเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ มีมติอนุมัติมาตรการบรรเทาผลกระทบในระยะเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ

1. มาตรการเสริมสภาพคล่อง บรรเทาภาระหนี้สินของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชน

2. มาตรการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ใช้แรงงาน การลดหย่อนเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตน เพิ่มสิทธิประโยชน์ การว่างงาน ฯลฯ

3. มาตรการลดค่าใช้จ่ายประชาชน โดยการลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และค่าอินเตอร์เน็ต

อีกเรื่องที่ผมจะต้องขอย้ำ คือเรื่องที่รัฐบาลมีเงินเพียงพอสำหรับการดูแลเศรษฐกิจ ในรอบการระบาดใหม่นี้ เพราะเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ตามพระราชกำหนด ให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา ฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โคโรน่า เราใช้ไป 5 แสนกว่าล้านบาท ยังเหลือ ประมาณ 4.9 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ เรายังมี งบกลาง ของงบประมาณ ปี 2564 อีกประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเร่งด่วน รวมกันแล้ว 6 แสนล้านบาท เรื่องเงินเราไม่มีปัญหา จะใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุด และทันการณ์นั่นคือสิ่งสำคัญกว่า

ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่า เรารับมือโควิด 19ได้ รอบแรกนั้น เราไม่มีประสบการณ์ความรู้ แต่เราก็รับมือได้จนเป็นต้นแบบของโลกมาแล้ว ครั้งนี้ด้วยประสบการณ์บวกกับความเชี่ยวชาญของทีมสาธารณสุข และที่สำคัญที่สุดคือ เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เราจะผ่านมันไปได้อีกครั้งเหมือนที่เราร่วมมือกันทำสำเร็จมาแล้ว

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/politic/454917?adz=

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ