27 พ.ค.63- ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข  นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค  เปิดเผยว่า ขณะนี้ตัวเลขผู้ป่วยในประเทศมีค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยที่พบจำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย กลุ่มแรกเป็นคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศแล้วเข้าสู่สถานที่กักตัวเพื่อสังเกตอาการตามที่รัฐกำหนด หากมีอาการจะพบในช่วง 14 วันที่กักตัว ซึ่งจะส่งเข้าระบบการรักษา ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยรายเดิม อย่างไรก็ดี ทางฝ่ายวิชาการมีข้อมูลสนับสนุนทำให้เชื่อว่าในประเทศไทยยังมีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือแสดงอาการน้อยหลงเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง ทำให้กระทรวงสาธารณสุขยังต้องเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกต่อไป 


ขณะเดียวกัน จากผลการศึกษาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยนักวิจัยชาวจีนจากศูนย์ควบคุมโรค มณฑลหูหนาน พบว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถแพร่กระจายได้ไกลถึง 4.5 เมตรบนรถโดยสารสาธารณะปรับอากาศ ทำให้ผู้โดยสารติดเชื้อได้หลายคนในช่วงเวลาเดียวกัน อีกทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับการติดเชื้อในร้านอาหารช่วงแรกของการระบาดในประเทศจีนพบว่า การนั่งรับประทานอาหารในพื้นที่จำกัดที่มีระบบระบายอากาศแบบปิด และใช้เครื่องปรับอากาศที่อากาศไหลเวียนในพื้นที่จำกัด ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน เพราะทุกคนต้องถอดหน้ากากขณะรับประทานอาหาร เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้นด้วย จึงแสดงให้เห็นว่าในพื้นที่จำกัดที่มีระบบอากาศปิด และใช้เครื่องปรับอากาศ เช่น บนรถโดยสารปรับอากาศ รถโดยสารสาธารณะ ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างให้ได้ 1-2 เมตร บนโต๊ะอาหารอาจต้องมีฉากกั้นเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของละอองฝอย จึงเป็นที่มาของคำแนะนำให้ต้องนั่งแยกโต๊ะกันขณะรับประทานอาหารในร้านอาหารที่ระบบถ่ายเทอากาศแบบปิด ที่ใช้เครื่องปรับอากาศ นโยบายการควบคุมโรคของประเทศไทยที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมแล้ว แต่การจะประสบความสำเร็จต่อไปนั้นต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดร่วมกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/67108

25 พ.ค.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 75 นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พร้อมคณะได้มีโอกาสพบเพื่อหารือกับ นาย Tedros Adhanom Ghrebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ถึงความร่วมในโครงการต่างๆ ระหว่างประเทศไทยกับ WHO

ในการพบหารือ นาย Tedros และ ดร. Poonam Khetrapal Singh ผู้อำนวยการ WHO ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กล่าวชื่นชมไทยในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด19 ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง WHO และจะนำรูปแบบ รวมถึงระบบการบริหารจัดการของประเทศไทย ไปเป็นแบบอย่างที่จะสร้างให้เป็นมาตรฐานสากล และใช้ในการบริหารสถานการณ์โรคระบาดทั่วโลก

 
 
 

“ผู้บริหาร WHO ชื่นชมความสำเร็จในการจัดการโควิด19 ของประเทศไทย การฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรมากกว่า 70% ตามเป้าหมายของ WHO ซึ่งปัจจุบันไทยฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ครอบคลุม 81.4% เข็มที่2 จำนวน 75.3% ของประชากรทั้งประเทศ และขอบคุณที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการเพื่อการพัฒนาต่างๆ ของ WHO อย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการ WHO Biohub ซึ่งเป็นคลังสำหรับเก็บเชื้อเพื่อวิจัย และการแบ่งปันเชื้อ อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาและวิจัยวัคซีนสำหรับป้องกันโรคอุบัติใหม่ต่างๆ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในโอกาสนี้ นายอนุทิน ได้เชิญนาย Tedros เข้าร่วมการประชุม APEC High Level Meeting on Health and the Economy ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-26 ส.ค. 2565 ที่กรุงเทพฯ เนื่องในโอกาสที่ปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเอเปค โดยการประชุมครั้งนี้จะมีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสามาชิกเอเปคเข้าร่วมหารือกันภายใต้หัวข้อ เปิดกว้างเพื่อความร่วมมือ เชื่อมต่อกับโลก สร้างสมดุลระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์การประชุมดังกล่าว ประเทศไทยจะเปิดสำนักงานเลขาธิการ ศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases: ACPHEED) รองนายกรัฐมนตรีจึงเชิญผู้อำนวยการใหญ่ WHO ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดครั้งนี้ด้วย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นายอนุทิน ได้ขอบคุณที่ WHO เลือกประเทศไทยเพื่อเป็นประเทศนำรองในการดำเนินกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด19 (UHPR) โดยผลการดำเนินโครงการไทยสามารถบริหารจัดการการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเทศไทยพร้อมจะแบ่งปันประสบการณ์กับประเทศต่างๆ ต่อไป

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมา ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลก นาย Tedros ได้รับการเลือกตั้งจากประเทศสมาชิก WHO 194 ประเทศให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WHO เป็นสมัยที่2 โดยในวาระแรกได้เริ่มดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2560 และจะครบวาระสิ้นเดือนมิ.ย. 2565 นี้

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/hi-light/148586/

 

1.Omega-3 เป็นสารที่พบมากในอาหารเสริมจำพวกน้ำมันพืชและถั่วบางชนิด รวมทั้งจากอาหารทะเลจำพวกปลาน้ำลึก และสาหร่ายทะเลแต่ข้อมูลจากการศึกษาพบว่า มีหลักฐานน้อยมากว่า Omega-3 ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

2.อาหารเสริมบางชนิดอาจเป็นโทษ เช่นการแนะนำให้กิน วิตามินD ร่วมกับ แคลเซียมอาจทำให้เกิดการเพิ่มโอกาสการแข็งตัวของเลือด (blood clotting) ในเส้นเลือดเป็นสาเหตุของความเสี่ยง ที่จะเกิดอาการ Stroke หรือการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง นำไปสู่อาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้

3.อาหารเสริมบางชนิดเช่น วิตามิน A,B,C,D,E และbeta carotene รวมทั้งพวกวิตามินรวมทั้งหลาย มีผลน้อยมากกับสุขภาพโดยรวมของคนปกติที่ไม่มีอาการขาดวิตามินแต่อย่างใด

4.มีการแนะนำว่าอาหารที่ประกอบด้วยธัญพืช ผัก ผลไม้ ถั่วและน้ำมันมะกอก ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจแต่โดยรวมก็ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อย่างชัดเจน

 

 

ปัญหาการไม่ยินยอมฉีดวัคซีนCOVID-19 ของประเทศต่างๆ
โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
Published 22/02/21

ในขณะที่ประเทศต่างๆในโลก โดยเฉพาะประเทศ emerging และประเทศเล็กๆต่างมีปัญหาในการจัดหาวัคซีน COVID-19 มาให้ประชาชนของตน

แต่ในประเทศบางประเทศถึงแม้จะมีวัคซีนอย่างเพียงพอกลับมีปัญหาที่ประชาชนบางส่วนไม่ยินยอมรับการฉีดวัคซีน COVID-19 ผลสำรวจของสถาบัน Pewn ในอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน 2020 พบว่ามีคนอเมริกา 65%ยินยอมที่จะให้ฉีควัคซีน

ในการสำรวจในหน่วยทหารแห่งหนึ่งในอเมริกาพบว่ามีหนึ่งในสามของหน่วยยินยอมที่จะฉีดวัคซีน COVID-19 ปัญหาใหญ่ก็คือบุคลากรส่วนหนึ่งที่ทำงานในสถานที่พักพื้นและดูแลคนชรา ไม่ยินยอมฉีดวัคซีน COVID-19

ในยุโรปในขณะที่ รัฐบาลมีปัญหาในการเร่งหาวัคซีน COVID-19 แต่บุคลากรทางการแพทย์กลับยังไม่ยินยอมฉีดวัคซีนของ AstraZeneca ที่โรงพยาบาลบางแห่งนัดบุคลากรทางการแพทย์ไว้ แต่ปรากฎว่าแพทย์ไม่มาตามนัด

สาเหตุเป็นเพราะว่าต้องการรอวัคซีนของ Pfizer หรือของ Moderna เพราะมีประสิทธิภาพสูงกว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองอยู่ที่ 95% เมื่อฉีดครบ 2 dose แต่วัคซีน AstraZeneca ให้ประสิทธิภาพ 62% และ 70% ใน 2 trail แต่สามารถเพิ่มเป็น 85%ได้ถ้าเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สองห่างกัน 12 อาทิตย์ แทนที่จะห่างกัน 6 อาทิตย์

อีกปัญหาที่บุคลากรทางการแพทย์ ของ EU ไม่อยากฉีดวัคซีน AstraZeneca คือหลังจากฉีด อาจมีไข้ ปวดหัว ปวดตามตัว ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปใน2-3 วัน นักวิชาการบอกว่าอาการดังกล่าวแสดงว่าวัคซีนได้ผล แต่มีโรงพยาบาลหลายแห่งในเยอรมัน ฝรั่งเศส สวีเดนได้จำกัดจำนวนบุคคลากรทางการแพทย์ในการฉีดวัคซีน AstraZeneca ในแต่ละวัน เพราะกลัวว่าจะมีคนลาป่วยมากไปจากอาการแทรกซ้อนของวัคซีน AstraZeneca

แพทย์ใน EU อยากจะรอฉีดวัคซีน Pfizer หรือ Moderna มากกว่า ถึงแม้ว่ามีโอกาสแพ้รุนแรง anaphylaxis allergyโอกาสจำนวน 5 ครั้งในล้านครั้งจากสาร PEG ในวัคซีน

ประธานสภาแพทย์ของฝรั่งเศสและแพทย์และหมอฟัน 3,000 คนจากอิตาลี บอกว่าเนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์มีโอกาสที่จะได้รับจำนวนเชื้อ COVID 19 จำนวนมากจากคนป่วย high load of virus จึงสมควรที่จะได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิผลสูง

กลุ่มครูและกลุ่มตำรวจในอิตาลีก็ออกมาโวยวายที่พวกเขาไม่ได้รับวัคซีนประสิทธิภาพสูงเช่นกัน

ปัจจัยที่เป็นปัญหาในการปฏิเสธการใช้วัคซีนของ AstraZeneca ก็เป็นเพราะปัญหาการเมืองระหว่าง EU กับ Brexit เพราะวัคซีน AstraZeneca เป็นของอังกฤษ และมีปัญหาเรื่องการส่งมอบมาตั้งแรกเนื่องจากการบริหารที่ผิดพลาดของ EU ทางEUจึงประโคมข่าวเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน AstraZeneca แต่เมื่อดูข้อเท็จจริงแล้วก็ไม่ได้แย่มากนัก วัคซีน Sinovac ของจีนประสิทธิภาพยังจะแย่กว่า อยู่ที่ 50 %

หนังสือพิมพ์ Telegraph ของอังกฤษถึงกับว่า สิ่งที่เคยบอกว่า Trump ให้ข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับ Covid 19 ทำให้เกิดผลเสียต่อ public health โดยรวม สิ่งเดียวกันกำลังเกิดขึ้นเช่นเดียวกันโดยผู้นำ EU เพราะความไม่พอใจที่มีต่ออังกฤษ

ผลเสียกลับมาอยู่ที่ EU เพราะในขณะที่อังกฤษฉีดวัคซีนไปแล้ว 28% ของประชาชน แต่ฝรั่งเศสและเยอรมันฉีดไปได้แค่3.2%ของประชากร เยอรมันได้รับวัคซีน AstraZeneca ไป 176,400 dose แต่ฉีดไปได้แค่64,869 dose เพราะความลังเลของประชาชนอันสืบเนื่องจากการประโคมข่าวของ EU เอง

อินเดียประเทศที่สามารถผลิตวัคซีนได้เอง ได้เริ่มโครงการฉีดวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อจะฉีดวัคซีนให้คนอินเดียให้ได้ 300ล้านคนภายในเดือนสิงหาคม

ในวันแรก 16 มกราคม 2021 มีคนมาฉีดวัคซีน 191,000 คน แต่ 4 สัปดาห์ต่อมาคนที่มาตามนัดเพื่อฉีดวัคซีนเข็มที่สอง มาตามนัดเพียง 4%

สาเหตุเป็นเพราะคนป่วยเป็น COVID-19 ได้ลดลงเป็นอย่างมากในอินเดีย เมื่อเทียบกับปลายปี 2020 ทำให้ความกังวลใจของคนอินเดียที่จะป่วยจาก COVID-19 น้อยลง จึงไม่มาตามนัดของการฉีดวัคซีน ตัวเลขคนติดเชื้อต่อวันในอินเดียลดเป็น 10,000คนต่อวัน จากที่เคยสูงถึง100,000คนต่อวัน ถ้ามีวัคซีนให้ฉีดในช่วงคนป่วย คนตายมากๆ คนมาฉีดวัคซีนคงต้องมากกว่าในช่วงนี้เพราะความหวาดกลัวต่อการที่จะต้องป่วยเป็น COVID 19 ยังมีมาก

สถานีฉีดวัคซีนในอินเดียมีมากเป็น10,000 แห่ง หลายๆแห่งว่างเปล่า ประชาชนไม่มาตามนัด แม้แต่แพทย์ก็ไม่มาตามนัดเพื่อได้รับการฉีดวัคซีน

วัคซีน Covaxin ของอินเดียมีปัญหาเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพเพราะมีการเร่งการอนุมัติจาก FDA อินเดีย ในขณะที่ยังไม่ผ่านขบวนการที่สมบูรณ์ของการทดสอบ แพทย์อินเดียเป็นที่เชื่อถือของประชาชน เมื่อแพทย์เองไม่ยอมรับการฉีดวัคซีน ประชาชนจึงไม่มารับการฉีดวัคซีนด้วย

จากผลสำรวจของสถาบัน IPSo. ประเทศจีนมีประชาชนเพียงหนึ่งในห้าที่จะไม่ยินยอมฉีดวัคซีน COVID-19 ซึ่งคงไม่เป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลจีน เพราะรัฐบาลดูจะไม่เร่งร้อน เพราะถึงแม้จีนจะผลิตวัคซีนได้เอง เพราะจีนคิดว่าสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ดี ขณะนี้จีนฉีดวัคซีนไปได้เพียง 3% ของประชากร

ที่ออสเตรเลียยังไม่เริ่มฉีดวัคซีนCOVID-19 พอจะเริ่มฉีดวัคซีนในวันที่ 1 มีนาคม ก็มีผู้มาเดินขบวนต่อต้านการฉีดวัคซีนจากกลุ่มต่อต้านวัคซีน antivaxxer จากผลสำรวจ 27 % ของคนออสเตรเลียที่ยังลังเลในการที่จะฉีดวัคซีน มีคนยินยอมฉีดวัคซีน 73 % แต่ออสเตรเลียควบคุมการระบาดของ Covid 19 ได้ดี

อินโดนีเซียซึ่งมีการระบาดหนักของ COVID-19 มาตลอดและยังคงเป็นระลอกแรกอยู่อย่างยาวนาน รัฐบาลกำล้งจะบังคับให้มีการฉีดวัคซีน

ในประเทศสังคมนิยม การบังคับให้มีการฉีดวัคซีนคงจะทำได้ แค่ในประเทศประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพเป็นสิ่งสำคัญ รัฐบาลก็คงทำได้แค่รณรงค์ และให้การศึกษา อเมริกาต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากสำหรับการรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีน COVID-19 โดยใช้เงินในการรณรงค์ไปแล้วถึง 200 ล้านดอลลาร์

การใช้ วัคซีนpassport บังคับให้ต้องฉีดวัคซีนถ้าต้องเดินทาง หรือเมื่อต้องร่วมกิจกรรมหมู่มากเช่น concert ดูหนังอาจช่วยให้มีการฉีดวัคซีนมากขึ้น

อิสราเอลซึ่งเป็นประเทศที่ฉีดให้ประชากรเป็นอัตราส่วนมากที่สุดสำหรับประชาชน 10 ล้านคน ได้ฉีดวัคซีน Pfizer ให้ประชาชนไปแล้วครึ่งประเทศ เป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่ปรากฏให้เห็นจากการฉีดวัคซีน เมื่อพบว่าหลังจากฉีดวัคซีน Pfizer ครบ 2 dose จะป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ Covid 19ได้ถึง 95% อิสราเอลเริ่มคลาย lockdown เปิดร้านค้า และอนุญาตให้มีกิจกรรมทางการสังคมได้หลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 dose 7 วัน โดยใช้ การใช้ วัคซีน certification ผ่าน App มือถือ

ปัญหาของการไม่ยินยอมฉีดวัคซีนมีหลากหลาย

ประการที่หนึ่งก็คือกลัวว่าประสิทธิภาพไม่ดีพอเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ใน EU

ประการที่สองมีความกลัวที่จะติดเชื้อแล้วป่วยจาก COVID-19 น้อยลง เนื่องจากจำนวนคนป่วยเริ่มลดลง จะเห็นได้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดีย ปัญหาที่เกิดขึ้นในอินเดียกลัวกันว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ทำให้เกิดความชะล่าใจ ไม่ฉีดวัคซีน

ประการที่สามคือเกิดจากความกลัวในอาการแทรกซ้อนหรือการแพ้วัคซีน

ถึงอย่างไรก็ตามการบรรลุภูมิคุ้มกันหมู่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนให้เพียงพอถึงแม้หลายๆแห่งประชาชนจะได้รับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติโดยเฉพาะในประเทศที่มีการระบาดสูง เช่นที่อเมริกา Professor Marty Makaray จาก John Hopkin ทำนายว่าภูมิคุ้มกันหมู่ในอเมริกาจะเกิดขึ้นภายในในเดือนเมษายนเนื่องจากภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ตามธรรมชาติจาก antibody และ T cell มีสัดส่วนสูงกว่าที่คิด

ในอินเดียภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติก็สูงเช่นกัน จากการตรวจ antibodies ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2021 ชานเมืองมุมไบมีภูมิคุ้มกันจากantibodies ถึง 56% และทั้วอินเดียอยู่ที่ 20%

การจัดหาวัคซีนก็เป็นงานหนักของหลายๆประเทศ แต่การพยายามให้คนส่วนใหญ่มาฉีดวัคซีนก็เป็นงานที่ไม่ง่ายเช่นกัน


โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ