ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

แพทย์สมุทรสาคร สุดทึ่ง ปาฏิหาริย์ "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ "โควิด"-19  ณ ห้องประชุมพันท้ายนรสิงห์ ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีนายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานในการประชุมนั้น  "ซิโนแวค"

 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

โดยในที่ประชุมได้มีการรายงาน ให้ทราบถึงสถานการณ์ของเตียงในโรงพยาบาลหลัก ทั้งของรัฐและเอกชน  ตลอดจนเตียงสนามที่มีอยู่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครทั้ง 7 แห่งว่า ขณะนี้สถานการณ์เตียง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ"โควิด"ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ  เตียงผู้ป่วยในห้อง I.C.U. ขณะนี้เข้าสู่ขั้นวิกฤติแล้ว ด้วยจำนวนเตียงที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้จะมีการขยายเต็มขีดความสามารถแล้วก็ตาม "ซิโนแวค"

 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

ทางด้านนายแพทย์ธนพัฒน์ พวงเพชร นายแพทย์ชำนาญการ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลสมุทรสาคร ได้นำผู้สื่อข่าวขึ้นไปดูระบบห้อง I.C.U. ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร ที่มีผู้ป่วย"โควิด"เกินจำนวนเตียงแล้ว จนต้องจัดให้มีส่วนพื้นที่พักคอย เพื่อรอนำส่งเข้ามา เมื่อเตียงว่างลง

 

ส่วนผู้ป่วย "โควิด" ที่จะต้องนำเข้าห้อง I.C.U. ก็ต้องมีอาการหนัก ซึ่งมีหลายกลุ่มอายุ ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ทำให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ประจำห้อง I.C.U. ต้องทำงานกันอย่างหนัก คอยเฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยทุกคนอย่างใกล้ชิด

 

และรักษาทุกคนอย่างสุดกำลังความสามารถ แต่ผู้ป่วยบางรายที่อาการสาหัสมาก เกินจะเยียวยาได้แล้วนั้น สุดท้ายก็ต้องเสียชีวิตลงอย่างที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทางแพทย์ พยาบาล หรือครอบครัวของผู้ป่วย

 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

นายแพทย์ธนพัฒน์ฯ ยังกล่าวอีกว่า ผู้ป่วย "โควิด"19 ที่เข้ารักษาตัวในห้อง  I.C.U. แล้วเสียชีวิตเกือบทั้งหมด โดยเป็นผู้ป่วยคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

ขณะที่ผู้ป่วย "โควิด" รายหนึ่งเป็นที่น่าแปลกใจมาก เพราะมีน้ำหนักตัวมาก ประมาณ 140 กิโลกรัม ซึ่งถือเป็นเคสที่มีความเสี่ยงสูงมาก ต่อการเสียชีวิต กว่าคนไข้รายอื่นๆ แต่สุดท้ายคนไข้รายนี้ ก็ปลอดภัยดี และสามารถพ้นภาวะวิกฤตไปได้อย่างเหลือเชื่อ เมื่อนำมาศึกษาจึงพบว่า คนไข้รายนี้ที่มีน้ำหนักถึง 140 กิโลกรัม เคยได้รับการฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" มาแล้ว 2 เข็ม  ดังนั้น การฉีดวัคซีน ยังคงมีความจำเป็น ที่จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้   "ซิโนแวค"
 

ปาฏิหาริย์  "ซิโนแวค" ผู้ป่วย"โควิด" น้ำหนัก 140 กิโลกรัม รอดตายอัศจรรย์

 

นายแพทย์ธนพัฒน์ พวงเพชร รอง ผอ.รพ.สมุทรสาคร กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า โดยในช่วงที่เตียง I.C.U. ไม่เพียงพอนั้น ทางโรงพยาบาลสมุทรสาครก็ต้องปรับระบบในโรงพยาบาลหลายส่วน และปรับห้องผู้ป่วยในแผนกอื่นๆ เพื่อทำเป็นห้อง I.C.U. "โควิด" เพิ่มด้วย

 

อีกทั้งทางโรงพยาบาลสมุทรสาคร ยังต้องปรับแผนการฉีดวัคซีนใหม่ เพื่อลดผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง อันได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง และกลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้หากติดโควิด-19 จะเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเข้าห้องไอซียู. จึงอยากให้คนกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนก่อน

 

ส่วนประชาชนกลุ่มปกติที่ยังไม่ได้รับวัคซีน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ก็ขอให้รักษามาตรการทุกอย่างให้เข้มข้น ส่วนอีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยลดผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองเข้มก่อนเป็นกลุ่มสีแดง จนต้องนำเข้ามารักษาตัวในห้อง  I.C.U. ได้ ก็คือ เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลอากาศ (ไฮโฟลว์)

 

ซึ่งตอนนี้ทางโรงพยาบาลสมุทรสาครต้องการอีกประมาณ 100 เครื่อง เพื่อช่วยรักษาผู้ป่วย"โควิด" ที่มีจำนวนมาก และอาการป่วยตอนนี้พบว่าเปลี่ยนระดับที่รวดเร็วมาก ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่ จึงต้องรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองเข้มนี้ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นกลุ่มสีแดงนั่นเอง "ซิโนแวค"

 ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/crime/474224?adz=

 

 

ศบค.เผยยอด​ ผู้ป่วยโควิดใน กทม. ที่เข้าสู่ Home Isolation มีเกือบ 100,000 รายแล้ว

ผู้​สื่อข่าว​โต​โจ้​นิว​ส์ราย​งานว่า​ แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านว่า จากข้อมูลของ กทม. ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า มีบางช่วงผลเป็นบวกถึง 20% ซึ่งนโยบายของกรมการแพทย์ทุกคนที่ติดเชื้อโควิด ต้องรับบริการทางการแพทย์อย่างเป็นรวดเร็ว

โดยในกรุงเทพมหานคร หลังมีการปรับระบบการตรวจเชิงรุก และกรมสนับสนุบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับระเบียบให้ประชาชนสามารถหา Antigen Test Kit มาตรวจด้วยตัวเอง ตอนนี้อนุญาตไปแล้ว 19 ยี่ห้อ และจะมีการเสนอจะอนุมัติเพิ่มเติมอีก โดยการหาซื้อต้องซื้อในสถานพยาบาลหรือร้านขายยาเท่านั้น ยังไม่อนุญาตให้ซื้อในออนไลน์

ตามข้อมูลใน กทม.ยังมีสายตรง 50 เลขหมาย ใน 50 เขต โดยก่อนจะโทร. สายด่วนไม่ว่าหมายเลขใด ขอให้ทุกคนเตรียมข้อมูล และเอกสารส่วนตัวให้พร้อม ทั้งหมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เพื่อลงทะเบียนให้สามารถเลิกจ่ายจาก สปสช. ได้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการส่งยา และเวชภัณฑ์

ขณะนี้ผู้ป่วยใน กทม. ที่เข้าสู่ Home Isolation มีเกือบ 100,000 รายแล้ว (ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2564) 

ข้อมูลจาก https://tojo.news/people-07082021-4/

ผงะ! พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน BA.4.6"  น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลยที่นี่

 ผงะ! พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน BA.4.6" น่ากลัวแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอเฉลิมชัยเผยระบาดมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาและอีก 43 ประเทศทั่วโลก

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

มาใหม่อีกแล้ว !! ไวรัส BA.4.6 พบมากขึ้นในสหรัฐอเมริกาและอีก 43 ประเทศทั่วโลก ส่อผลกระทบต่อวัคซีนใหม่เจนเนอเรชั่นที่ 2

จากสถานการณ์โควิดทั่วโลก ที่ในขณะนี้มีการระบาดไปมากกว่า 230 ประเทศและเขตการปกครอง

มีผู้ติดเชื้อรวมแล้ว 588 ล้านคน เสียชีวิตมากถึง 6.4 ล้านคน คิดเป็น 1.1%
โดยสายพันธุ์หลักของไวรัสก่อโรคโควิดในขณะนี้คือ Omicron (โอมิครอน) ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มน่าเป็นห่วงกังวลหรือ VOC

Omicron มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อย (Sub-variant) ไปอีกเป็นจำนวนมาก

แต่ที่โดดเด่นมากสุดในขณะนี้คือ BA.4 , BA.5 โดยความสามารถในการแพร่เชื้อสูงสุดในขณะนี้ได้แก่ BA.5 ซึ่งแพร่ได้เร็วกว่าไวรัสอู่ฮั่น 5 เท่า และแพร่ได้เร็วกว่าไวรัส Delta  3.6 เท่า

ในสหรัฐอเมริกาเองพบ BA.5 เป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วย BA.4 เช่นเดียวกับในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม มีรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 ในสหรัฐอเมริกา ได้พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือ BA.4.6

สามารถแซงไวรัสตัวอื่น ขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ตามหลังเพียง BA.4/BA.5 ด้วยสัดส่วน 4.1%

ตามหลังอันดับสอง BA.4 ที่ 7% และ BA.5 ที่ 84%

พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน BA.4.6"

 

พบโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน BA.4.6"

อย่างไรก็ตามการที่ BA.4.6 สามารถเพิ่มจาก 0% เป็น 4.1% ในเวลาอันสั้นนั้น บ่งบอกถึงความสามารถในการแพร่ระบาดที่แซงสายพันธุ์ย่อยอื่นๆขึ้นมาได้ จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

โดยพบว่าใน 4 มลรัฐที่พบมากคือ ไอโอวา (Iowa) แคนซัส(Kansas) มิสซูรี(Missouri) และเนบราสกา(Nebraska) พบ BA.4.6 มากถึง 10.7%

และในรัฐที่อยู่ในเขตแอตแลนติกกลาง และรัฐทางใต้ ก็พบผู้ติดเชื้อ BA.4.6 มากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ
 

คงจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกันต่อไปว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ BA.4.6 จะมีความสามารถในการแพร่เร็ว ก่อโรครุนแรง ลดภูมิต้านทาน และดื้อต่อวัคซีนมากน้อยเพียงใด

และมีความแตกต่างของสารพันธุกรรมจาก BA ก่อนก่อนอย่างไร

เพราะในขณะนี้วัคซีนใหม่รุ่นที่ 2 หรือเจนเนอเรชั่นที่ 2 ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯได้ผลิตสำเร็จ รอการอนุมัติจะฉีดในเดือนกันยายนนี้

ไม่ได้เตรียมไว้รับมือ BA.4.6 ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นมาหลังการวิจัยวัคซีนรุ่นที่สองสำเร็จ แต่เตรียมไว้รับมือ Omicron BA.1,.2,.5

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมอย่างมากของ BA.4.6 ก็จะทำให้วัคซีนเจนเนอเรชั่นที่ 2 ที่ยังไม่ได้เริ่มฉีดให้กับประชาชนเลย มีประสิทธิผล ในการรับมือโควิดได้น้อยลงทันที

นับเป็นเรื่องที่ปวดเศียรเวียนเกล้าสำหรับวงการวิทยาศาสตร์ ที่จะต้องเร่งวิจัยพัฒนาวัคซีน ให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของไวรัส คงต้องติดตามกันต่อไป

ข้อมูลจาก https://www.thansettakij.com/general-news/535597

 

7 พ.ค.63 - ขณะนี้โลกสังคมออนไลน์ ได้แชร์ภาพและเรื่องราวของหมอหลังได้รักษาผู้ป่วยนอนติดเตียง โดยถอนฟันเจอโพรงใหญ่และมีหนอนแมลงวันอยู่ในรูเป็นจำนวนมาก โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Thanatnon Rong Assava" ทันตแพทย์ โรงพยาบาลพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช โพสต์เล่าเรื่องดังกล่าวดังนี้ เคยเห็นแต่ในตำราเวลาอาจารย์สอน ไม่คิดว่าจะต้องมาเจอเอง สยอง 3 วินาที หนอนแมลงวันในปากคนไข้ 12 ตัว ดิ้นได้ จะลง วิดีโอก็เกรงใจ

หลังจากโควิดทำพิษ พักก่อนกันสักระยะ วันนี้ได้รับแจ้งจากงานเยี่ยมบ้านว่ามีคนไข้ติดเตียงเหงือกบวมมาก เป็นผู้ป่วยเพศชายอายุ 70 ปี นอนติดเตียงเกือบ 1 ปีแล้ว จำได้ว่าเคยไปเยี่ยมและสอนผู้ดูแลแปรงฟันเมื่อตอนสิงหาคม ปีก่อน วันนี้ญาติส่งรูปให้ดู เห็นในภาพบวมแปลกๆ ด้านเพดาน ใหญ่มาก คนไข้ไม่บ่นเจ็บ เพราะพูดไม่ได้ ญาติถามหมอสะดวกไปดูวันไหน เลยบอกว่าวันนี้ได้ครับช่วงบ่าย เดี๋ยวหมอลงไปเยี่ยมที่บ้าน เลยเตรียมทีมจัดแจ้งข้าวของคิดว่าไปดูก่อนว่าทำอะไรได้บ้าง ชุดป้องกันกลัวเอาโรคไปติดคนไข้ นอนติดเตียงออกรถไปเอง ญาติมารับปากทาง เข้าไป ดูสภาพแล้วมีแผลกดทับ นอนติดเตียง ผอมแห้ง ในบ้าน มีเด็ก ลูกหลานหลายคน บอกหยุดงานโควิดกัน เข้าไปวัดไข้ ไข้สูง 39.4 ไม่แน่ใจวัดใหม่ ก็ 39.3 เลยให้ผู้ดูแลเช็ดตัว และตรวจดูช่องปาก ด้านเพดานบวมออกมามาก ฟัน 4 ซี่หน้าโยก มีแผลกดทับด้านก้น มีสายอาหารคาจมูก เจาะคอ มียาจากมหาราช มียากันชัก ที่มีผลต่อะหงือกญาติบอกพบหนอนในปากตอนแรกดูที่บ้าน ไม่เจอ จึงเช็ดทำความสะอาด ประเมินด้วยไข้ด้วยสภาพ ไม่น่าทำหัตถการตรงนี้ จึงโทรปรึกษา คุณหมอ maxilo มหาราช ว่าให้ทำอย่างไรดีเพราะเคลื่อนย้ายคนไข้ยาก

จากการประเมินเช็ดตัววัดไข้ เลยไม่รู้ว่าไข้จากอะไร จึงตัดสินใจประสานห้องฉุกเฉิน ให้รถโรงพยาบาลมารับคนไข้ รพ.ประสานให้รถมูลนิธิมารับ ผมกับหมอยุ้ยและผู้ช่วยก็นั่งรอ เตรียมคนไข้ไปโรงพยาบาล มาถึงก็เข้าห้องฉุกเฉิน วัดไข้ซ้ำ ก็ 39.4 หมอให้ตรวจ cbc และพยายามหาว่าเป็นไข้จากแผลกดทับหรือในปาก พยาบาลห้องฉุกเฉินล้างแผล และส่งมาห้องฟัน เนื่องจากเรากลัวสำลัก ต้องการ suction

เคสนี้พี่หมอยุ้ย ฉีดยาชาและถอนฟันก่อน พอถอนเท่านั้นแหละเห็นโพรงใหญ่ เหมือนถ้ำ ดึงออกมามีหนอน 1 ตัว หลังจากนั้นก็รื้อโพรงเจอหนอนมากมาย เนื้อที่งอกมาคือรังหนอน ค้นหาเจอ 12 ตัวเบื้องต้น vdo call กับพี่หมอผึ้ง maxilo เนื่องจากเราไม่มั่นใจว่าหนอนหมดรึยัง จึงปรึกษา พี่ดูค่า lab ไม่ค่อยดี พี่แนะนำให้เย็บปิดก่อน แล้วส่งต่อมหาราช เขียนใบรีเฟอร์ ส่งไปด้วยหัวใจเลยจ้า

วันนี้ตัดสินใจถูกที่รีบออกไปดู เพราะถ้านานกว่านี้คนไข้คงแย่ ไม่คิดว่าชีวิตนี้จะเจอหนอนตัวเป็นๆในปาก สยองจนติดตา ขอบคุณ พี่ยุ้ย พี่ผึ้ง พี่ดาว ทีมงานทันตกรรม และทีมเยี่ยมบ้านที่ส่งต่อข้อมูล ดูแลกันเป็นทีม โควิดทำให้เราห่างกัน แต่ใจยังผูกพัน เป็นอุทาหรณ์สำหรับคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่าให้คนไข้นอนอ้าปาก แมลงวันจะทำรัง

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaipost.net

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/65271

 

 
ที่ปรึกษาระดับสูงของรัฐบาลฝรั่งเศส เตือนว่าการแพร่ระบาดระลอกสองของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ดูเหมือนจะเลวร้ายกว่ารอบแรก โดยเคสผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 50,000 คนเมื่อวันอาทิตย์ (25 ต.ค.) อาจเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของตัวเลขที่แท้จริง ขณะที่ประเทศแห่งนี้มีแนวโน้มว่าอาจจำเป็นต้องล็อกดาวน์อย่างเข้มข้นเพื่อสกัดการแพร่ระบาด

“สถานการณ์ยากลำบากมาก บางทีอาจเข้าขั้นวิกฤต” ฌอง-ฟรองซัวส์ เดลเฟรซซี นักภูมิคุ้มกันวิทยาและประธานสภาวิทยาศาสตร์ ซึ่งคอยให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลฝรั่งเศสเกี่ยวกับการระบาดใหญ่ ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุท้องถิ่นในวันจันทร์ (26 ต.ค.) พร้อมเผยว่าทางสภาวิทยาศาสตร์รู้สึกประหลาดใจต่อความโหดร้ายของโรคระบาดใหญ่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

สภาวิทยาศาสตร์อ้างว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่แท้จริง ดูเหมือนว่าจะมากกว่าตัวเลขอย่างเป็นทางการที่รายงานออกมาถึง 2 เท่า

เมื่อวันอาทิตย์ (25 ต.ค.) ฝรั่งเศส รายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรอบ 24 ชั่วโมง จำนวน 52,010 คน มากกว่าประเทศไหนๆ ในยุโรป ส่วนในวันจันทร์ (26 ต.ค.) กระทรวงสาธารณสุขรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ 26,771 คน แต่ตัวเลขของวันจันทร์ มักลดลงเป็นปกติ สืบเนื่องจากการแจ้งข้อมูลที่ล่าช้าในช่วงสุดสัปดาห์

ในส่วนผู้เสียชีวิตนั้น ในวันจันทร์ (26 ต.ค.) ฝรั่งเศสมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 257 ราย ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมนับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น อยู่ที่ 35,018 ราย

เดลเฟรซซี ประเมินว่า ไวรัสกำลังแพร่ระบาดรวดเร็วอย่างมาก พร้อมระบุว่าระบบสาธารณสุขของประเทศจะได้ผลกระทบอย่างแท้จริงในอีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า และเตือนว่าการแพร่ระบาดระลอกสองนั้นรุนแรงกว่ารอบแรก และมาตรการรอบใหม่สกัดโควิด-19 ควรบังคับใช้เร็วๆ นี้ เพื่อรับประกันประสิทธิผลของมัน

นับตั้งแต่โรคระบาดเริ่มต้นขึ้น ฝรั่งเศสมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมแล้วกว่า 1,165,278 คน และการเพิ่มขึ้นในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ส่งผลให้พวกเขาแซงหน้าอาร์เจนตินา และสเปน กลายเป็นชาติที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐฯ, อินเดีย, บราซิล และรัสเซีย

คำเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์เลวร้ายจากที่ปรึกษาระดับสูง สอดคล้องกับท่าทีของรัฐบาลฝรั่งเศสที่อาจยกระดับมาตรการต่างๆ เข้มข้นขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด หลังจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งเกิน 50,000 คนเป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ (25 ต.ค.) ตามคำกล่าวอ้างของแหล่งข่าวในรัฐบาลในวันจันทร์ (26 ต.ค.)

ทำเนียบประธานาธิบดีเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง จะเรียกประชุมคณะรัฐมนนตรีระดับสูงของเขาในวันอังคาร (27 ต.ค.) เพื่อทบทวนแนวทางวคามพยายามสกัดการแพร่ระบาด

จากนั้นนายกรัฐมนตรีฌอง กัสเท็กซ์ จะหารือร่วมกับบรรดาผู้นำทางการเมืองและเจ้าหน้าที่จากสหภาพแรงงาน ก่อนที่บรรดาคณะรัฐมนตรีจะประชุมร่วมกับ มาครง อีกครั้งในวันพุธ (28 ต.ค.)

แหล่งข่าวใกล้ชิดคณะทำงานของนายกรัฐมนตรีซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยเปิดเผยกับเอเอฟพีว่าการประชุมจะ “พิจารณายกระดับมาตรการต่างๆ เข้มข้นขึ้นเพื่อจัดการกับวิกฤตด้านสาธารณสุข”
 

ด้วยหลายชาติในยุโรปได้ประกาศยกระดับความเข้มข้นของข้อจำกัดต่างๆ ไปก่อนหน้าแล้ว มันจึงโหมกระพือข่าวลือว่าฝรั่งเศสจะดำเนินการแบบเดียวกัน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ที่ตอนนี้สถานการณ์กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆและโรงพยาบาลต่างๆ เริ่มรับมือไม่ไหว

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ฝรั่งเศสได้ประกาศเคอร์ฟิวบังคับใช้กับปารีสและเมืองอื่นๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งพบเคสผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นไม่หยุด ครอบคลุมประชากรราว 46 ล้านคน พร้อมกับสั่งปิดบาร์ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลบอกว่าต้องการหลีกเลี่ยงล้อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบ อย่างที่เคยบังคับใช้เป็นเวลา 2 เดือนในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา ซึ่งตอนนั้นจำเป็นต้องกำหนดมาตรการดังกล่าว หลังห้องไอซียูตามโรงพยาบาลต่างๆ แน่นขนัดไปด้วยผู้ป่วยโควิด-19

(ที่มา : รัสเซียทูเดย์/เอเอฟพี)
 
บทความต้นฉบับ https://mgronline.com/around/detail/9630000111160

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ