โรคไข้เลือดออก Crimean-Congo
โรคนี้มีการระบาดรุนแรงตั้งแต่ช่วงปี 1944 – 1945 ที่คาบสมุทร Crimean ซึ่งมีผู้เสียชีวิตประมาณ 10 % ต่อมาจึงพบว่า เป็นไวรัสชนิดเดียวกับชนิดที่แยกได้จากประเทศ Congo จึงเป็นที่มาของชื่อ Crimean – Congo Hemorrhagic Fever (CCHFV) โรค CCHFV มีรายงานพบในหลายพื้นที่ของทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และ เอเชีย ปัจจุบัน มีรายงานโรค CCHFV ในหลายประเทศ อาทิเช่น ปากีสถาน อิหร่าน อินเดีย เป็นต้น รวมทั้งมีรายงานตรวจพบแอนตีบอดีต่อ CCHFV ในหลายประเทศ ในทวีปยุโรป
CCHFV เป็น Single standard RNA ไวรัส เป็นไวรัสที่อยู่ในสัตว์เลี้ยง และ สัตว์ป่า จำพวก โค กระบือ แพะ แกะ กระต่าย โดยสัตว์ไม่แสดงอาการเกิดโรค คนได้รับเชื้อไวรัสโดยการกัดของเห็บซึ่งติดเชื้อ (Tickborne) และ การได้รับเชื้อจากเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อโดยตรง อาการของโรคช่วงแรกจะมีอาการมีไข้ หนาวสั่น ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หลังอาการช่วงแรก 3 – 6 วัน จะมีอาการของเลือดออกเป็นจุดๆ ใต้ผิวหนัง เหงือก จมูก และ อวัยวะภายใน อัตราการเสียชีวิต อาจสูงถึง 50 %
การวินิจฉัยอาจทำได้หลายวิธี เช่น ตรวจหาแอนตี้บอดี้ต่อไวรัส ตรวจหาไวรัส RNA โดยวิธี RT – PCR รวมทั้งการแยกเชื้อของผู้ป่วยโดยตรง ที่สำคัญ คือ จะต้องวิเคราะห์ แยกโรค จากการติดเชื้อชนิดอื่น เช่น Leptospirosis, dengue hemorrhagic fever, typhoid fever, Ricket tsia infection etc .,
การป้องกันและการรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่ได้ผลดี การพัฒนาวัคซีนกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสำหรับการรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการที่ชัดเจน โดยมีการพยายามใช้การรักษา โดยใช้ เซรั่มจากผู้ที่หายจากโรค รวมทั้งใช้ยาต้านไวรัสทั่วๆไป แต่ผลการรักษาปัจจุบันยังไม่มีความแน่นอน
ยังไม่เคยมีรายงานโรค CCHFV ในประเทศไทย แต่ควรจะมีการเฝ้าระวังที่เข้มงวด เพราะโรคนี้มีโอกาสแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย ได้เช่นเดียวกับโรคติดต่อระหว่างสัตว์ และ คน ชนิดอื่นๆ
โรคไข้เลือดออก Dengue hemorrhagic fever
โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุจากการติดเชื้อ Dengue Virus โดยมียุงเป็นพาหะ ยุงลาย (Aedes aegypti) เป็นยุงที่แพร่พันธุ์ได้ดีในเขตเมืองและเขตชุมชน โรคไข้เลือดออกจึงแพร่กระจายในเขตชุมชนทั่วไป ไวรัสไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ คือ DENV -1 ,DENV – 2,DENV – 3 และ DENV – 4 แต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกัน ดังนั้น การติดเชื้อไวรัสใด สายพันธุ์หนึ่งแล้ว จึงไม่มีผลต่อการที่ร่างกายจะมีภูมิต้านทาน ต่อไวรัสสายพันธุ์อื่นจึงเป็นโรคไข้เลือดออกซ้ำได้ ซึ่งข้อมูลพบว่า การติดเชื้อนี้ อาการของโรคจะรุนแรงกว่าการติดเชื้อครั้งแรกมาก
ประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของโรคไข้เลือดออกแห่งหนึ่งโดยมีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ปี พศ. 2557 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 36,404 ราย เสียชีวิต 30 ราย แต่ในปี 2558 พบผู้ป่วย สูงถึง 111,826 ราย เสียชีวิตไปแล้ว 108 ราย และมีข้อมูลว่าโรคนี้มักมีการระบาดใหญ่ โดยจะมีผู้ติดเชื้อมาก ช่วงฤดูฝน เนื่องจากยุงลายมีการแพร่พันธุ์มาก
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกระบาดอยู่ในมากกว่า 100 ประเทศ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตร้อน และ เขตอบอุ่นของโลก รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า แต่ละปีมีผู้ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกไม่น้อยกว่า 400 ล้านคน เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 22,000 คน ได้มีความพยายามที่จะผลิตวัคซีน ป้องกันโรคไข้เลือดออก มานานกว่า 40 ปี จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ ผลจากการวิจัยของบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศฝรั่งเศส (Sanofi) ได้ประกาศผลสำเร็จของวัคซีน โดยใช้ชื่อว่า “Dengvaxia” ผลจากการทดลองกับอาสาสมัครกว่า 40,000 คน ใน 15 ประเทศ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยวัคซีนให้ผลดีในอาสาสมัครอายุ 9 ปีหรือสูงกว่า ถึง จำนวน 2 ใน 3 และ เพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 90 % ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยบริษัท Sanofi ใช้เวลานานถึงกว่า 20 ปี ใช้เงินไปทั้งสิ้น 59,000 ล้านบาท ขณะนี้วัคซีนกำลังถูกนำไปใช้ใน มากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก
โลหะหนักที่เป็นพิษ (Toxic elements)
มีโลหะหนักหลายชนิดที่มนุษย์ได้รับจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดอาการต่างๆของโรค ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง รวมทั้งถึงการเสียชีวิต ในจำนวนโลหะหนักที่มีมากมายในสิ่งแวดล้อม สารที่ปัจจุบันถือน่าเป็นภัยต่อสุขภาพมากที่สุด ได้แก่ ตะกั่ว(Lead) ปรอท(Mercury) แคดเมียม(Cadmium) และ อาเซนิก(Arsenic) บทความนี้จะบรรยายอย่างย่อๆ โดยจะเน้นเฉพาะส่วนที่สารนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขอนามัยของเรา
ตะกั่ว (Lead)
ตะกั่วนับเป็นโลหะหนัก อันดับต้นๆที่รับรู้กันมานานว่าเมื่อเข้าสู่ร่างกาย แล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆของร่างกาย สารตะกั่วมีอยู่ในของใช้ประจำวันต่างๆ เช่นใน แบตเตอรี่ สีย้อม สีทาบ้าน ของเล่นเด็ก การทำซีรามิค น้ำมันรถยนต์ รวมทั้งเครื่องมือแพทย์ และเครื่องสำอาง ตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทางคือ ทางระบบหายใจ และทางระบบทางเดินอาหาร แต่ส่วนใหญ่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางอาหาร ผู้ใหญ่จะดูดซึมประมาณ 15% ของตะกั่วที่อยู่ในอาหาร แต่เด็กและหญิงตั้งครรภ์จะดูดซึมได้สูงถึง 50% ดังนั้นตะกั่วจึงเป็นอันตรายต่อเด็ก และหญิงตั้งครรภ์มากกว่าผู้ใหญ่
ตะกั่วที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตจะจับตัวกับ hemoglobin และถูกนำไปสะสมในเนื้อเยื่ออ่อน (softtissue) โดยเฉพาะ ตับและไต รวมทั้งในกระดูกและในเส้นผม แต่ในที่สุดตะกั่วในร่างกายเกือบทั้งหมดจะเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูกซึ่งสามารถอยู่ได้นานถึงกว่า 60 ปี (half-life = 32 ปี)
อาการพิษจากตะกั่วอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ อาการเฉียบพลัน (acute exposure) จะพบกรณีที่ได้รับสารตะกั่วจำนวนมากในระยะเวลาสั้น สารตะกั่วจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะสมอง อาการตัวสั่น ไม่รู้สึกตัว ส่วนผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหารจะมีอาการปวดท้อง จุก เสียด คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น สำหรับผู้ที่ได้รับสารตะกั่วทีละเล็กละน้อยเป็นเวลานานจะมีอาการเรื้อรัง (chronic exposure) อาการที่พบคือ ปวดเมื่อยตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก มีเลือดออกในปัสสาวะและโลหิตจาง
ตะกั่วส่งผลอย่างมากต่อหญิงที่ตั้งครรภ์และเด็ก พิษจากสารตะกั่วจะทำให้เด็กมีไอคิวต่ำ และอาจเสียการได้ยิน ระดับของสารตะกั่วในเลือดที่ยอมรับได้คือ ต่ำกว่า 5 microgram/dl และในปัสสาวะต่ำกว่า 50 microgram/g creatinine
การตรวจหาสารตะกั่วจะต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น Atomic absorption spectroscopy (AAS), Inductively coupled plasmaoptical emission spectroscopy (ICP-OES) หรือ Inductively coupled plasma-mass spectrometry (ICP-MS) เป็นต้น
โรคไลม์ (Lyme disease)
โรคไลม์มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย genus borrelia ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม spirochetes มี flagellum ช่วยใน
การเคลื่อนไหว ชนิดที่พบทำให้เกิดโรคได้บ่อยคือ Borrelia burgdorferi และ ยังมีชนิดอื่นๆที่พบได้เช่นกัน อาทิเช่น
B.afzelii , B. garinii และ B.burgdorferi sensu stricto etc.
สัตว์ที่ติดเชื้อโรคไลม์ และ เป็นแหล่งกักตุนโรคมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า จำพวก สุนัข ม้า วัว ควาย เป็นต้น
รวมทั้งเคยมีรายงานการติดเชื้อในหนูด้วย เห็บ (ticks) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ Ixodes scapularis และ
I.pacificus ซึ่งได้รับเชื้อจากการกินเลือดจากสัตว์ที่เป็นตัวกักตุนโรค และนำเชื้อโรคเข้าสู่คนโดยการมากัดกินเลือดคนจาก
การที่คนเข้าไปใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่ติดเชื้อ
อาการของโรคไลม์ในคนจะแสดงขึ้นหลังได้รับเชื้อ 2-4 สับดาห์ โดยอาการที่พบได้บ่อยคือมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว
ปวดข้อ รวมทั้งอาการ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นทำได้โดย สังเกตอาการณ์มีผื่นบวมแดงบน
ผิวหนังบริเวณที่เห็บกัด ซึ่งมีลักษณะกลมและมีขอบนูนขึ้นโดยรอบคล้ายตาวัวเรียกว่า erythema migrans หรือ
bull-eye rash สำหรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทำโดยการตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Borrelia ในเลือดหรือใน
น้ำไขสันหลัง ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น enzyme immunoassay (EIA) , immunofluorescent antibody (IFA) เป็นต้น
โรคนี้สามารถรักษาได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
ไข่เป็นอาการที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ไข่มีราคาถูก ปรุงอาหารได้ง่าย และย่อยง่ายแม้ไข่จะมีโคเลสเตอร์รอลสูง (ไข่ 1 ฟองมีโคเลสเตอร์รอลประมาณ 200 มิลลิกรัม) แต่มีไขมันอิ่มตัวน้อย ไข่ 1 ฟองให้พลังงาน 72 calories มีโปรตีน 6 กรัม มีไขมันไม่อิ่มตัว 5 กรัม ไข่ไม่มีแป้งแต่มีสารต่างๆ ที่ร่างกายต้องการมากมาย เช่น โซเดียม (71กรัม) , ฟอสฟอร์รัส โพแทสเซียม วิตามิน A , D และวิตามิน B อีกหลายชนิด มีสาร Lutein และ zeaxanthin ที่ช่วยรักษากล้ามเนื้อไม่ให้เสื่อมเร็ว ไข่แดงมี Choline สูงที่ช่วยทำให้สมองและประสาทมีสุขภาพดี
ล่าสุดมีงานวิจัยหลายชิ้นที่รายงานในวารสารทางวิชาการ แสดงให้เห็นว่าการกินไข่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิเช่น ได้มีการศึกษาติดตามประชาชนทั้งหญิงและชาย ที่ไม่มีประวัติโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 30,000 คน การกินไข่ประจำเพียงเล็กน้อย แค่วันละครึ่งฟองก็มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคสมองขาดเลือด (stroke) และ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีรายงานการศึกษาอีกครั้งหนี่ง พบว่าการกินไข่วันละครึ่งฟอง หรือ สัปดาห์ละ 3 ฟอง จะมีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มจากปกติ 6% นอกจากนั้น มีรายงานผลการศึกษาในอาสาสมัครที่ได้รับ โคเลสเตอร์รอลในอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม (ไข่แดงมีโคเลสเตอร์รอล 200 มิลลิกรัม) นาน 17.5 ปี พบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 17% ทำให้ไข่กำลังถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แต่มีผลวิจัยที่ขัดแย้งกันอยู่มาก อาทิเช่น มีรายงานว่าการกินไข่ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ไม่มีผลต่อระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดแต่อย่างใด การควบคุมระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของบุคคลผู้ที่มีความไวต่อการดูดซึมโคเลสเตอร์รอลในอาหารสูง (hyper responders) จะดูดซึม โคเลสเตอร์รอลในอาหารได้ดีกว่าผู้ที่มีความไวน้อย (hypo responders)
ก่อนที่จะมองว่าไข่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรเปรียบเทียบกับอาหารประเภทอื่นโดยเฉพาะเนื้อแดง ซ่งมีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูงมีผลโดยตรงต่อระดับโคเลสเตอร์รอลในเลือดมากกว่าไข่มาก ดังนั้นข้อแนะนำคือเพิ่มการกินอาหารจำพวก ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ปีก ลดอาหารจำพวก เนื้อแดง นม เนย ให้น้อยลง ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลต่อการกินไข่มากเกินไปแต่อย่างใด
หน้าที่ 146 จาก 147