21 พ.ย.2564-ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ”Golden Window Period” ระบุว่า ช่วงเวลานี้ที่เรามีวัคซีนมากพอ การระบาดพอคุมได้ จึงเป็นหน้าต่างทองของช่วงเวลาที่สำคัญในการที่จะเร่งระดมฉีดวัคซีน ทั้งที่เป็นเข็มที่สามในคนที่ได้วัคซีนมาครบและถึงเวลาที่ควรมีการกระตุ้น และเป็นเข็มที่หนึ่งและสองในคนที่ยังไม่เคยได้เลย!!!  ทั้งสองกลุ่มมีความสำคัญพอๆกัน ที่ผู้เกี่ยวข้องวางแผนควรเห็นความจำเป็นและให้ความสำคัญที่เท่าๆกัน และที่สำคัญคือควรให้ความสำคัญในกลุ่มเด็กอายุน้อยๆ ทุกช่วงอายุด้วย……(อย่าทำให้เด็กๆและพ่อแม่เด็กๆต้องเครียดไปกว่านี้ เด็กไม่ได้ไปโรงเรียนกันเป็นปีแล้ว)

 “ที่ต้องรีบฉีดช่วงเวลานี้เพราะประเทศอื่นๆทั่วโลก ได้มีการระบาดเวฟที่สี่ และเริ่มเวฟที่ห้า กันอย่างรุนแรง ไม่มีเหตุผลที่ประเทศเราจะรอดไปได้ แต่…. อาจทำให้เบาลงได้ ด้วยการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ทั้งในคนที่ไม่เคยได้รับเลย ในคนที่ถึงเวลาควรได้รับการกระตุ้น และในทุกช่วงอายุครับ วัคซีนมีพอแล้วรีบกระจายให้ดี   ในต่างจังหวัดยังได้กันอยู่น้อย อย่าช้า อย่านอนใจ และอย่าประมาท และอย่าลืมเด็กๆ ครับ”

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/30028/

01 ก.ย.2564 – ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหาบนเฟซบุ๊กว่าขอบคุณทุกๆ ภาคส่วนที่ช่วยกัน ร่วมมือในการกระจายและฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มครับ ขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่สนับสนุนในการจัดหาวัคซีนมาเพิ่มเติม ขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข และทีมงานท่านรองนายกฯ ที่ช่วยประสานงานต่างๆ จนได้วัคซีนมาให้ประชาชน ขอบคุณกระทรวงการต่างประเทศที่ให้สถานทูตไทยช่วยประสานงาน ขอบคุณรัฐบาลจีนที่สนับสนุนและช่วยประสานงาน ขอบคุณทีมงานจิตอาสาที่ช่วยกันทุกวันรวมวันหยุดในการฉีดวัคซีนและงานอื่นๆ ขอบคุณ พอสว.ที่ช่วยเร่งการฉีดวัคซีนให้ในท้องถิ่นไกลๆ ขอบคุณองค์กรที่ช่วยสนับสนุนจัดวัคซีนไปให้กลุ่มคนในองค์กร ทำให้วัคซีนซิโนฟาร์มทั้งหมดนี้ไม่ต้องใช้งบประมาณภาษีประเทศสักบาทเดียว และขอบคุณประชาชนทุกๆคนที่อดทนทยอยรอรับวัคซีนกันครับ ต่อไปวัคซีนในเด็กเร็วๆนี้ครับ 

รายงานการฉีดวัคซีน ซิโนฟาร์มของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (syringe)รวมฉีดให้ประชาชนทั่วประเทศแล้วจำนวน 6,354,082 โดส

 

(syringe)ภาคกลางรวมกรุงเทพมหานคร ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มมากที่สุดรวม 3,685,453 โดส รองลงมาตามลำดับได้แก่  (syringe) ภาคตะวันออก 788,726 โดส  (syringe) ภาคใต้ 602,932 โดส  (syringe) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 477,494 โดส (syringe) ภาคตะวันตก 385,058 โดส  (syringe)ภาคเหนือ 214,419 โดส 

10 จังหวัดที่ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มมากที่สุด ได้แก่  1.กรุงเทพมหานคร  1,375,097 โดส 2.ปทุมธานี 657,308 โดส 3.ชลบุรี 624,682 โดส 4.สมุทรปราการ 500,246 โดส 5.พระนครศรีอยุธยา 287,818 โดส 6.ตรัง 171,166 โดส 7.นครปฐม 169,328 โดส 8.ระยอง 166,928 โดส 9.สงขลา 162,828 โดส และ 10.กาญจนบุรี 153,564 โดส  ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564 

#ซิโนฟาร์ม #SINOPHARM #ฉีดวัคซีนช่วยชาติ #ก้าวผ่านCOVIDไปด้วยกัน #COVID19 #เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน #โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ #วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ #ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ #เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/115230

 

 

นพ.มนูญ แนะคนไทยไม่ต้องตื่นกลัวเรื่องลองโควิดมากเกินไป คนที่หายป่วยจากโรคโควิดสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่แล้วกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม่ใช่ร้อยละ 20-40 ที่มีลองโควิด

20 มิ.ย.2565-นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” ระบุว่า ก่อนหน้านี้มีบางสื่อให้ข่าวว่า ร้อยละ 20-40 ของผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน มีผลข้างเคียงระยะยาว หรือที่รู้จักกันในชื่อ Long Covid  นับเวลาของอาการที่ยังตกค้างอยู่หลังการติดเชื้อไวรัสโควิดมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป โดยอ้างอิงจากข้อมูลลองโควิดของสายพันธุ์เดลต้า ทำให้คนไทยวิตกกังวลกันมาก ทั้งๆที่ยังไม่มีหลักฐานจากการศึกษาขนาดใหญ่รองรับ

 

เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนพบครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วในประเทศแอฟริกาใต้ เราต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัยระยะหนึ่ง ณ เวลานี้ มีการศึกษาใหญ่พอที่จะบอกได้แล้วว่า ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมีลองโควิดมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า

ผลการศึกษามหาวิทยาลัยคิงคอลเลจ ลอนดอน ของสหราชอาณาจักร รายงานในวารสารการแพทย์ Lancet (ดูรูป) จากการเก็บข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการป่วยระยะยาวหรือลองโควิด พบหลักฐานว่าผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอนมีอาการป่วยระยะยาว  4.5% หรือ 2,501 คนจาก 56,033 คน น้อยกว่าผู้ติดเชื้อเดลต้าที่มีลองโควิด 10.8% หรือ 4,469 คนจาก 41,361 คน สรุปว่า ลองโควิดสายพันธุ์โอมิครอนน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้ามากกว่าร้อยละ 50 (ดูรูป)

เพราะฉะนั้นคนไทยไม่ต้องตื่นกลัวเรื่องลองโควิดมากเกินไป คนที่หายป่วยจากโรคโควิดสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่แล้วกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม่ใช่ร้อยละ 20-40 ที่มีลองโควิด

 


‘หมอภูมิคุ้มกัน’ เล่าอาการติดโควิดสายพันธุ์เดลต้า เผยข้อดีวัคซีนซินโนแวค แม้ติดเชื้อมีอาการ แต่ช่วยขจัดไวรัสเร็วขึ้น

พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล สาขาวิชาโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชา​อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เล่าอาการหลังการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า โดยระบุว่า

เป็นไปตามคาดนะคะ ทราบผล sequencing ของไวรัสที่ติดเชื้อเป็นสายพันธุ์ Delta (B.1.617.2) ผลตรวจจาก swab ของหมอแสดงในข้อมูล COVID-19 Network Investigations (CONI) Alliance หมอ hi-lighted ด้วยสีแดงนะคะ

htt

ล่าสุดมีข้อมูลตีพิมพ์ในวารสาร Science (DOI: 10.1126/science.abg6296) พบว่าในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศปิดและมีปริมาณไวรัสสูงๆ ที่มีการถ่ายเทอากาศไม่ดี (หรือไม่มี filter ที่ดักจับไวรัสได้) ถ้าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นนานๆ ในที่สุดแล้วเราก็จะต้องหายใจเข้าปอดไปอยู่ดี (ไม่ว่าหน้ากากที่เราใส่จะดีเพียงใด) สิ่งนี้คงเป็นปัจจัยที่ทำให้หมอติดเชื้อด้วยค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าต้องเข้าไปในสถานที่แบบนั้นอย่าอยู่นานนะคะ เพราะจะมีโอกาสรับเชื้อได้มากขึ้น

https

จากข้อมูลที่ทราบกันดีว่าสายพันธุ์เดลต้ามีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มความสามารถในการติดเชื้อได้ดีและสามารถเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์มนุษย์ได้ดี ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายได้เร็วมีระยะฟักตัวที่สั้นและทำให้มีอาการแสดงได้เร็วดังนั้นการรู้ว่าเราเกิดการติดเชื้อโควิดได้เร็วเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็วและลดโอกาสการเกิดข้อแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ การเข้าถึงการตรวจได้เร็วจะช่วยในส่วนนี้มาก (หวังว่าการปลดล็อกการตรวจหลายอย่างจะทำให้ขั้นตอนนี้เร็วขึ้น)

วันนี้หมอเลยมาเล่าอาการของการติดเชื้อโควิด สายพันธุ์ Delta ของหมอให้ฟังกันและดูว่าการฉีด Sinovac ช่วยเราอย่างไรนะคะ

โดยอาการของผู้ป่วยติดเชื้อโควิดจะแบ่งเป็น 2 ระยะคือ

1. ระยะแรกของการติดเชื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเริ่มต้นคล้ายเป็นหวัดทั่วไปนะคะ มีไข้ ปวดเมื่อยตัว มีน้ำมูก ระคายคอ คันคอ เจ็บคอ อาการเหล่านี้แถบจะแยกไม่ได้จากอาการหวัดทั่วไปเลย แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่น ดูเหมือนจะเป็นอาการที่ค่อนข้างจำเพาะกับการติดเชื้อโควิด (แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่นนี้ ไม่ได้เกิดในวันแรกๆ จะมาพร้อมๆ กับอาการคัดจมูกและมีน้ำมูก) ถ้าดูในรูปจะเห็นว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ไวรัสเพิ่มจำนวนในร่างกาย การรักษาก็คือการรักษาตามอาการ (ให้ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก แก้ไอ เจ็บคอ) และการให้ยาต้านไวรัสในช่วงนี้จะช่วยลดปริมาณไวรัสลงและช่วยให้มีโอกาสการเกิดอาการแทรกซ้อนลดลง โดยระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ การทำงานของภูมิคุ้มกัน

การฉีดวัคซีนช่วยเราอย่างไรในระยะนี้ วัคซีนที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด CD8 T cells ให้มีความทรงจำต่อเชื้อโรคได้ดีจะทำให้เมื่อร่างกายเรารับเชื้อเข้าไปแล้ว CD8 T cells เหล่านี้จะเป็นกองหน้าที่แข็งแรงและมีความทรงจำกับเชื้อโรคที่เคยเห็นตอนได้วัคซีนกระตุ้นก็จะออกมาขจัดเชื้อโรคและอาจทำให้เรารับเชื้อแต่ไม่มีอาการเลยก็ได้ โดยวัคซีนที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้น CD8 memory T cells ที่ดีคือ mRNA vaccine และ Viral vector DNA ค่ะ ส่วน Sinovac ซึ่งใช้ตัวกระตุ้นภูมิเป็น Alum จะมีคุณสมบัติกระตุ้นการสร้าง antibody ได้ดี แต่ไม่ค่อยกระตุ้น CD8 memory T cells (อันนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ Sinovac ป้องกันการติดเชื้อได้ไม่ค่อยดีค่ะ)

https:

แล้ว Sinovac ช่วยระบบภูมิคุ้มกันเราตรงไหน

เมื่อเรารับเชื้อเข้ามาในร่างกาย ตัวเชื้อจะจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ในทางเดินหายใจ แล้วมุดเข้าไปในเซลล์ไปใช้อุปกรณ์ของใช้ทั้งหลายในเซลล์ของเราเพื่อเพิ่มจำนวนไวรัส และเมื่อไวรัสกินอยู่หลับนอนในเซลล์เราเรียบร้อยแล้วไวรัสก็ทำลายผนังเซลล์ทำให้เซลล์ตายและย้ายไปอยู่บ้านใหม่ เมื่อเซลล์ตายก็เหมือนกับบ้านพังต้องมีเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ มาเก็บกินซากปรักหักพังรวมทั้งออกมารบกับไวรัสตัวร้ายที่ทำลายบ้านช่อง ดังนั้นการปล่อยให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้ง่ายๆและเพิ่มจำนวนเร็วๆ จะทำให้เกิดการอักเสบตามมาและการอักเสบที่มากๆ จะนำไปสู่ระยะที่สองของการติดเชื้อ

2. ระยะที่สองของการติดเชื้อ

เมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็มีโอกาสลุกล้ำเข้าไปสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบได้ โดยการดำเนินของโรคระยะที่สองจะอยู่ในช่วงปลายสัปดาห์แรกต่อกับสัปดาห์ที่สอง ในช่วงนี้ถ้าภูมิคุ้มกันของเราสามารถจัดการขจัดเชื้อโรคได้เร็วเราก็อาจไม่เกิดปอดอักเสบหรือเกิดเล็กน้อยและสามารถดีขึ้นได้
แต่ถ้าภูมิคุ้มกันเราคุมไวรัสไม่อยู่อะไรจะเกิดขึ้น จะเกิดการสู้รบกันระหว่างเม็ดเลือดขาวกับเชื้อโรค มีการใช้อาวุธ ทิ้งระเบิด (cytokine เป็นอาวุธของเม็ดลือดขาวที่ใช้สั่งการและทำลายไวรัส) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Cytokine storm เกิดขึ้น และเมื่อเกิดภาวะนี้แล้วก็ต้องมีการใช้ยาต้านอักเสบกลุ่ม steroid หรือยา biologics อื่นๆ เพื่อหยุดการอักเสบ
ดังนั้น Protective immunity ที่ได้จาก Sinovac ก็จะมีส่วนช่วยให้ร่างกายสามารถจัดการขจัดไวรัสไปให้เร็วขึ้นและการอักเสบและการลุกลามไปที่ปอดเกิดลดลง ถึงเป็นที่มาของข้อมูลที่ Sinovac ช่วยลดอาการรุนแรง ลดการตายในผู้ป่วยติดเชื้อโควิดไงคะ

 

https://ww

สำหรับข้อสังเกตของผู้ติดเชื้อโควิดว่าเราจะเริ่มมีอาการของปอดอักเสบร่วมไหม แนะนำว่าให้วัด oxygen ปลายนิ้วมือก่อนและหลังออกกำลังกายสัก 3 นาที ถ้าลดลงหลังออกกำลังกายคงต้องสงสัยว่าอาจมีอาการของปอดอักเสบร่วมด้วย

ทีนี้มาดูอาการของหมอก็จะเห็นว่าไม่ใช่ mild case ซะทีเดียวเพราะวันที่ 5 ของการติดเชื้อก็มีค่าเม็ดเลือดขาว lymphocyte ที่ต่ำ (จริงๆ แล้วลดลงทั้งเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือดด้วย ถ้าเทียบกับผลการตรวจร่างกายเมื่อก่อนหน้านี้) มีค่าการอักเสบ CRP เพิ่มขึ้น มีตับอักเสบ และ CT chest พบว่ามีปอดอักเสบ 5% ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ค่อนข้างตกใจพอสมควรเพราะเรารู้เรื่องกลไกการเกิดโรคด้านภูมิคุ้มกันของโควิดค่อนข้างละเอียด กังวลว่าเราจะเดินหน้าไปเป็น cytokine storm ไหม ต้องได้ยา steroid ไหม เมื่อมีปอดอักเสบหมอเลยได้ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้เวลา 2 วันหลังได้ยาต้านไวรัสแล้วอาการก็ดีขึ้น ซึ่งหมอคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่ดีขึ้นคงมีส่วนจากระบบภูมิคุ้มกันที่เคยได้รับการกระตุ้นด้วย Sinovac มาสองเข็ม ถึงแม้ว่าภูมิคุ้มกันจะตกและทำให้ติดเชื้อ แต่ memory cells ทั้งหลายก็คงจะพอมีให้เรียกกลับมาทำงานขจัดเชื้อโรคได้ทันในช่วงปลายสัปดาห์แรก และส่วนตัวไม่ได้มีโรคประจำตัวในกลุ่มเสี่ยง (นอกจากอยู่ในกลุ่มอายุที่ระดับ antibody ลดลงเร็ว) และเป็นคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ตอนเม็ดเลือดขาวต่ำก็ออกกำลังกายในห้องพักกับลูกชาย) ถึงแม้จะมีปริมาณเชื้อค่อนข้างมาก (ถ้าจำได้ Ct 18) ก็สามารถรอดกลับมาหายได้ด้วยการมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ Delta ที่แข็งแรงมากขึ้นค่ะ และการป่วยครั้งนี้ได้เข้าโครงการวิจัยของทางรามาธิบดีที่ทำการตรวจและติดตามผู้ป่วยโควิดด้วยค่ะ หวังว่าตัวเองจะไม่เกิด long term side effect ใดๆตามมา

สุดท้ายนี้อยากบอกทุกท่านว่าในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานแบบนี้วัคซีนก็คงช่วยเราไม่ได้ 100% เราคงต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของเราเองให้ดี
ป.ล. หวังว่าจะเข้าใจการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแบบง่ายๆ ที่เล่ามานี้นะคะ
ไว้ครั้งหน้าจะมาเล่าหลักการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนแต่ละเทคโนโลยีและวิธีง่ายๆ ของการเพิ่มการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการฉีดวัคซีนค่ะ

#Sinovacveteran
#Deltasurvivor

 

ข้อมูลจาก https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2830007

 

 

15 ส.ค.2565-นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมากพอสมควรที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิดแม้แต่เข็มเดียว เนื่องจากลูกหลานกลัวว่า ผู้สูงอายุจะเป็นอะไรจากการฉีดวัคซีน และคิดว่าผู้สูงอายุไม่ได้ไปไหนอยู่แต่ในบ้าน

ช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมาผู้สูงอายุที่ไม่เคยรับวัคซีน ยังไม่ติดเชื้อ แต่เมื่อมีการระบาดของไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ BA.5 ซึ่งทำให้ติดกันง่ายมาก มีผู้สูงอายุติดเชื้อไวรัสโควิดจากลูกหลานในบ้าน และป่วยหนักถึงขั้นเข้าห้องไอซียูหลายคนเพราะไม่มีภูมิคุ้มกันเลย ทำให้ห้องไอซียูเริ่มกลับมารับผู้ป่วยโควิดอีกครั้งเหมือนสมัยที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า แต่ครั้งนี้ผู้ป่วยตอบสนองกับการรักษาดีกว่าสายพันธุ์เดลต้า ขอให้ลูกหลานเปลี่ยนความคิด รีบพาคนสูงอายุไปรับวัคซีนป้องกันโรคโควิดโดยด่วน

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 90 ปีเป็นโรคความดันสูง ไขมันในเลือดสูง หัวใจเต้นผิดปกติ ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิดแม้แต่เข็มเดียว ติดเชื้อโควิดจาก หลานชายอายุ 13 ปีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 มาโรงพยาบาลด้วยคลื่นไส้อาเจียน ต่อมามีไข้สูง เหนื่อยหอบ ระดับออกชิเจนต่ำมาก ตรวจ ATK ครั้งแรกให้ผลลบ แต่ตรวจ RT-PCR SARS-CoV2 CT value N gene 10.23 เอกซเรย์ปอดมีฝ้าขาวข้างขวามากกว่าข้างซ้าย (ดูรูป) ต้องเข้าไอซียู ให้ออกซิเจนอัตราไหลสูง (high-flow nasal cannula) ได้ยาฉีดเรมเดซิเวียร์ 5 วัน ไข้ลง อาการเหนื่อยดีขึ้น เอกซเรย์ปอดฝ้าลดลงมาก (ดูรูป) ระดับออกซิเจนกลับมาเป็นปกติโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน หลังจากอยู่โรงพยาบาล 13 วัน

 

 ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/200577/
 
 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ