โควิดไม่จบแค่หาย "หมอธีระ" ตอกย้ำข้อมูล ภาวะ "Long COVID" มีโอกาสเป็นถึง 20-40% อาจเจอความผิดปกติได้ถึง 200 อาการ

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค Thira Woratanarat อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ไม่ได้น่ากลัวแค่การติดเชื้อ แต่ยังต้องระวังถึงภาวะหลังการติดเชื้อ คือภาวะ "Long COVID" (ลองโควิด) ด้วย โดยระบุว่า 17 ก.พ.2565 ทะลุ 417 ล้านแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,020,469 คน ตายเพิ่ม 10,193 คน รวมแล้วติดไปรวม 417,859,246 คน เสียชีวิตรวม 5,866,725 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย บราซิล ฝรั่งเศส และตุรกี จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 98.01 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 97.92 ล่าสุด จำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้น คิดเป็นร้อยละ 53.44 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 38.34 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ มีประเทศจากยุโรปและเอเชีย ครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

อัพเดตเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนในสหราชอาณาจักรต่อ Omicron

UK HSA ได้เผยแพร่รายงาน COVID-19 Vaccine Surveillance Report วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สรุปสาระสำคัญคือ

  1. หากดูประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ในสหราชอาณาจักร (Astra 2 เข็ม และกระตุ้นด้วย Pfizer หรือ Moderna, หรือ mRNA vaccines 3 เข็ม) จะพบว่า มีประสิทธิภาพในการลดโอกาสป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล และลดโอกาสเสียชีวิตได้ดี แต่ป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ (ป้องกันการป่วย)ได้ไม่มากนัก คือราว 50-75% ในช่วงสามเดือนแรกหลังฉีดเข็มกระตุ้น และเหลือ 40-50% หลังจากฉีดไป 4-6 เดือน (รูปที่ 1)
  2. หากดูเปรียบเทียบผลระหว่าง Omicron สายพันธุ์ดั้งเดิมคือ BA.1 กับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดเพิ่มขึ้นคือ BA.2 จะพบว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อทั้งสองสายพันธุ์นี้ดูจะไม่แตกต่างกัน (รูปที่ 2)

"Long COVID" อาการผิดเพี้ยน 200 แบบ ไม่อยากได้แต่เสี่ยงสูง 40% ดูรายละเอียด

"Long COVID" อาการผิดเพี้ยน 200 แบบ ไม่อยากได้แต่เสี่ยงสูง 40% ดูรายละเอียด

"หมอธีระ" ระบุว่า ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เราเห็นความสำคัญของการ "ฉีดวัคซีน" แต่ที่สำคัญมากกว่าคือ การป้องกันตัวในระหว่างที่ดำเนินชีวิตประจำวัน แม้ฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ป่วยได้ และเสียชีวิตได้เช่นกัน การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้น มีข้อมูลวิชาการแพทย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่ติดเชื้อ รักษา แล้วจะจบ แต่มีโอกาสที่จะเกิดภาวะอาการคงค้างระยะยาว "ลองโควิด" หรือ "Long COVID" ได้ โดยมีถึง 20-40% ของผู้ที่ติดเชื้อทั้งหมดที่อาจเกิดภาวะนี้ 

นอกจากนี้ ยังเกิดได้กับทั้งคนที่ติดเชื้อแบบไม่มีอาการ มีอาการเล็กน้อย หรือมีอาการรุนแรง ป่วยรุนแรงเสี่ยงกว่าป่วยไม่รุนแรง ผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าเด็ก ผู้หญิงเสี่ยงกว่าผู้ชาย แต่เน้นย้ำว่า ทุกเพศ ทุกวัย ทุกความรุนแรงเกิดได้หมด เชื่อกันว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เกิด Long COVID เพราะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบต่อเนื่องระยะยาวในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย หรืออาจเกิดภาวะภูมิต้านทานตนเอง (autoantibody) Long COVID ในปัจจุบันมองว่า เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ถึง 200 อาการ เกิดได้ทั้งในระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร ผิวหนัง ส่งผลทั้งต่อสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน สมรรถนะในการทำงานของผู้ป่วย และเป็นภาระค่าใช้จ่ายระยะยาว ทั้งต่อบุคคล ครอบครัว และสังคมได้ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

"หมอธีระ" ย้ำว่า สถานการณ์ไทยเรา การระบาดยังรุนแรง กระจายทั่ว และยังเป็นขาขึ้น ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนอื่นเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้น ๆ เลี่ยงการกินดื่ม หรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงาน ไปตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/505721?adz=

 
 

ภาวะ "Long COVID" ลองโควิด หมอธีระวัฒน์ระบุ เป็นเคราะห์ร้ายระยะยาวของคนเคยติดเชื้อ เผยวิธีที่อาจจะช่วยป้องกันได้ต้องปฏิบัติอย่างไร

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" เกี่ยวกับ "โควิด19" โดยระบุว่า 
ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ"Long COVID" หรือ "ลองโควิด"

ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
20/3/65

"Long COVID" หรือ "ลองโควิด" เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (เชื้อไม่พบแล้ว)
1- อาการของลองโควิด ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการที่เป็นตอนแรก

2-เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุเพิ่มเติมว่า ภาวะ "Long COVID" หรือ "ลองโควิด" ยังสามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ และส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ 

3-เกิดอาการได้ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน 

4- อาการที่มีขณะติดเชื้อไม่สงบ แม้ว่าการติดเชื้อจบไปแล้ว และอาการสามารถรุนแรงขึ้นได้ และสามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือนต่อไปอีก หรือ อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการใหม่ ที่ไม่ได้
ปรากฎขณะที่ยังติดเชื้อ 

5- กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว ในรูปของ chronic fatique syndrome หรือ Myalgia encephalomyelitis แต่โควิดเกิดได้รุนแรง และยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆมาก

 

7- หลักในการบำบัดต้องทำการพิสูจน์ให้แน่ชัดว่ายังมีการอักเสบอยู่ในร่างกายและในสมองหรือไม่ และถ้ามีต้องทำการยับยั้งโดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาด้วย และยังตั้งประกอบด้วยการ หลีกเลี่ยงที่จะทำให้มีการกระตุ้นการอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้นได้แก่หลีกเลี่ยงอาหารร้อนแรงที่ทำให้เกิดการอักเสบ  เช่นเนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าหญ้าฆ่าแมลงรวมกระทั่งถึงมลพิษพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น

8- จากปรากฏการณ์นี้อาจเป็นเครื่องเตือนใจว่าไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว

9- วิธีที่ อาจ ป้องกัน การเกิดลองโควิด ได้คือการให้การรักษาเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด  เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุดยกตัวอย่าง  เช่น  การใช้ฟ้าทลายโจรซึ่งมีในประเทศไทยอยู่แล้วโดยในผู้ใหญ่ให้ในขณะที่มีสาร แอนโดรกราโฟไลท์ 180 มก ต่อวัน และในเด็กขนาด 30 มก ต่อ วัน แบ่งให้วันละสามครั้ง


งานวิจัยและพัฒนาเชิงรุกผลกระทบลองโควิด ของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬา ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/508895?adz=

"จามแบบไหนเป็นโควิด" แบบไหนไม่เสี่ยง เพราะอาการ Omicron ใกล้ไข้หวัด เช็คเลย
 

เช็คลักษณะ "จามแบบไหนเป็นโควิด" จามแบบไหนไม่ใช่ ตรวจสอบตัวเองก่อนติดเชื้อ เพราะอาการโอไมครอนคล้ายคลึงอาการไข้หวัดมาก

อัปเดตสถานการณ์การติดเชื้อ "โควิด19" ที่ขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงมากขึ้น ประกอบกับการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว อาการน้อยลักษณะคล้ายไข้หวัด อาจจะทำให้ไม่สามารถระบุอาการที่ชัดเจนได้ ดังนั้น วิธีการสังเหตุตัวเองได้แบบง่าย ๆ  เพื่อเช็คก่อนว่าเรามีความเสี่ยงที่จะติดโควิดหรือไม่ สามารถตรวจสอบ และสังเกตุได้จากการจาม ว่า "จามแบบไหนเป็นโควิด" หรือจามแบบไหนเป็นหวัด หรือ ภูมิแพ้ทั่วไป เพราะ  จาม ถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ โดยร่างกายจะขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและเร็ว

  • การจามที่บ่งบอกว่าเป็นโรคภูมิแพ้ 

อาการจามที่บอกถึงโรคภูมิแพ้ จะมีอาการร่วมด้วย คือ คัดจมูกน้ำมูกไหล มีอาการคันตามผิวหนัง คอ จมูก เพดานปาก ผู้ที่มีอาการต้องสังเกตุตัวเองว่าแพ้อะไร และต้องสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาการภูมิแพ้สามารถแพ้ได้หลายอย่าง เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายไวต่อสารก่อภูมิแพ้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา โดยปกติแล้วสารเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายกับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะไวต่อสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น เชื้อรา ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหาร ฯลฯ  
 

  • การจามที่บ่งบอกว่าเป็นไข้หวัด

อาการจามที่มีไข้ เจ็บคอร่วมด้วย เบื้องต้นจะสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากไข้หวัด  โดยอาการทั่วไปที่สามารถสังเกตุได้ คือมักจะมี หรือไม่มี  ไข้ต่ำ ๆ   ร่วมกับอาการทางจมูกและทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ส่วนใหญ่น้ำมูกจะใส มีการจาม เจ็บคอ คอแดง ทอนซิลอาจบวมแดงแต่ไม่พบจุดหนอง และไอ อาจมีปวดหัวบ้าง แต่โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง สามารถดื่มน้ำเยอะ ๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็จะช่วยให้อาการทุเลาลง 

  • การจามที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็น โควิด-19

หากมี มีอาการไอจาม มีไข้ มีน้ำมูกและหายใจเหนื่อยหอบ อาจเข้าข่ายเฝ้าระวัง COVID19  ถึงแม้สถานการณ์โควิดในบ้านเราจะยังควบคุมได้ รวมถึงมีประวัติไปในพื้นที่เสี่ยงเช่น พื้นที่แออัด สนามบิน หรือเดินทางไปประเทศ ไปจังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงมาก่อน อาจเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ และที่สำคัญอย่าปกปิดข้อมูล  ก็ไม่ควรประมาท เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกก็ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นหาก

ที่มา: โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชันแนล  

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/507952?adz=

"Pfizer"-"Moderna" ถูกเมิน หมอเฉลิมชัยชี้คนสิงคโปร์แห่จองฉีดวัคซีน "Sinovac" แบบเสียเงิน

หมอเฉลิมชัยเผยข้อมูลคนสิงคโปร์มั่นใจวัคซีน Sinovac แห่งจองฉีดแบบเสียเงิน ทั้งที่รัฐบาลมี Pfizer และ Moderna ให้ฉีดฟรี

รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
    ต่างจิตต่างใจ ลางเนื้อชอบลางยา ชาวสิงคโปร์แห่ต่อคิวฉีดวัคซีน Sinovac แบบเสียเงิน ทั้งที่มีวัคซีน Pfizer และ Moderna ให้ฉีดฟรี ปัญหาเรื่องการเลือกวัคซีนว่า บริษัทไหน เทคโนโลยีอะไร จะดีกว่ากัน ยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันไม่จบสิ้นในหมู่ประชาชนทุกประเทศทั่วโลก
    สำหรับประเทศไทยเราเอง มีประชาชนส่วนหนึ่ง ที่มีความมั่นใจในวัคซีนของสหรัฐอเมริกาที่ใช้เทคโนโลยี mRNA ของบริษัท Pfizer และ Moderna และไม่มั่นใจในวัคซีนของจีน ที่ใช้เทคโนโลยีเชื้อตาย ของบริษัท Sinovac หรือ Sinopharm จนเกิดเหตุการณ์ ชะลอการฉีดวัคซีนของจีนไว้ก่อน และจะรอฉีดวัคซีนของสหรัฐฯแม้จะต้องเสียเงินก็ตาม
    ขณะเดียวกันในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนเหมือนประเทศไทย และมีระดับการศึกษาตลอดจนระดับเศรษฐกิจไม่ได้ด้อยกว่าประเทศไทย (อาจจะสูงกว่าด้วยซ้ำ) กลับมีความเชื่อเรื่องวัคซีนของประชาชนส่วนหนึ่ง ไปในทางตรงกันข้าม
    โดยมีปรากฏการณ์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีชาวสิงคโปร์จำนวนมาก ได้แห่กันไปจองคิว บางคนถึงกับไปนอนจองที่ตั้งแต่ตีสอง เพื่อจะฉีดวัคซีน Sinovac ของจีน โดยจะต้องเสียเงินเพิ่ม 7.50 -18.60 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่รัฐบาลสิงคโปร์  ได้จัดฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna ให้ฟรีอยู่แล้ว

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ


    ขณะนี้รัฐบาลสิงคโปร์ ได้อนุญาตให้ 24 สถานพยาบาลเอกชน นำเข้าวัคซีน Sinovac ของจีนจำนวน 200,000 โดส มาฉีดเป็นวัคซีนทางเลือก และสามารถเก็บเงินกับประชาชนได้ เป็นกรณีตรงกันข้ามกับประเทศไทยเลยทีเดียว
    โดยเหตุผลที่ชาวสิงคโปร์ส่วนหนึ่งแย่งกันมาจองคิววัคซีน ซึ่งศูนย์บางแห่ง มีวัคซีนเพียง 200 โดส แต่คนมาจองถึง 1000 คน และเกิดการแห่เข้าคิวแบบล้นหลาม จนมีชาวสิงคโปร์คนหนึ่ง ยอมจ่ายเงินถึง 1000 เหรียญ เพื่อที่จะได้คิวการฉีดวัคซีนจีนของ Sinovac
    ที่คนสิงคโปร์ แห่มาสนใจวัคซีน Sinovac นั้น มาจากเหตุผลดังนี้
    1.เชื่อในเทคโนโลยีเชื้อตายของวัคซีน Sinovac ว่าจะสร้างความสบายใจปลอดภัยในระยะยาว ดีกว่าเทคโนโลยีใหม่เอี่ยมแบบ mRNA ของ Pfizer และ Moderna
    2.คนที่ฉีดวัคซีนฟรีของสิงคโปร์ทั้ง Pfizer และ Moderna มีจำนวนหนึ่งที่เกิดแพ้หรือมีผลข้างเคียงมาก ก็หลบมาฉีดวัคซีนของจีน ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
    3.มีรายงานประสิทธิผล (Effectiveness) การป้องกันโรคในโลกแห่งความเป็นจริง (Real world) ของวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย ที่ดีขึ้นเป็นลำดับ ในขณะที่ประสิทธิผลในโลกแห่งความเป็นจริงของวัคซีนเทคโนโลยี mRNA ดูจะน้อยลงเป็นลำดับ
    4.คนที่จะเดินทางไปจีน ถ้าฉีดวัคซีนของจีนครบ 2 เข็ม จะไม่ต้องกักตัว มีชาวสิงคโปร์เป็นจำนวนมากที่เป็นเชื้อสายจีน จึงตัดสินใจฉีดวัคซีนของ Sinovac เป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจ ระหว่างสิงคโปร์กับไทย ซึ่งมีความสนใจและต้องการที่จะฉีดวัคซีนแบบตรงกันข้าม จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม 
    ทำให้พบความจริงที่ว่า แต่ละคน ต่างมีเหตุมีผล และความคิด ตลอดจนความเชื่อของตนเอง ในการเลือกวัคซีนที่แตกต่างกัน คือ ต่างจิตต่างใจ หรือลางเนื้อชอบลางยา นั่นเอง
    สำหรับประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมียอดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 (Covid-19) สะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.-26 มิ.ย.64 จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีการฉีดสะสมแล้ว 9,055,141 โดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 6,475,826 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 2,579,315 ราย

 ข้อมูลจาก https://www.thansettakij.com/content/485589
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
"จีน" เปิดตัววัคซีนโควิด-19 แบบ "สูดเข้าปอด" ครั้งแรกของโลก
 
จีนเปิดตัววัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดสูดเข้าปอดครั้งแรกของโลกในงานเอ็กซ์โปเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านสุขภาพที่มณฑลเหอหนานเมื่อวันศุกร์ (12 พ.ย.) โดยวัคซีนแบบสูดเข้าปอดใช้ปริมาณวัคซีนเพียง 1 ใน 5 ของวัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดสูดเข้าปอดตัวแรกของโลกถูกจัดแสดงในงานแสดงสินค้า ไห่หนาน อินเตอร์แนชนัล เฮลพ์ อินดัสทรี เอ็กซ์โป ครั้งที่ 5 ในเมืองไหโข่วเมื่อวันที่ 12 พ.ย. โดยวัคซีนตัวนี้ได้รับการพัฒนาโดยทีมของเฉิน เว่ย ผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อของกองทัพ กับ บริษัทแคนซิโน ไบโอโลจิกส์ และเป็นวัคซีนแบบสูดเข้าปอดผ่านทางปาก

จากการวิจัยพบว่า วัคซีนแบบสูดเข้าปอดที่ใช้ปริมาณวัคซีนเพียง 1 ใน 5 ของวัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันแบบเซลล์เหมือนกับชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเนื่องจากวัคซีนเข้าสู่ปากไปยังระบบบทางเดินหายใจและปอดทำให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันในเยื่อบุทางเดินหายใจแบบที่วัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อไม่สามารถสร้างขึ้นได้

นอกจากนี้ เมื่อใช้วัคซีนแบบสูดเข้าปอดเป็นวัคซีนกระตุ้นหลังการฉีดวัคซีนแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแบบลบล้างฤทธิ์ของเชื้อโรค
คณะนักวิจัยจากสถาบันเวชภัณฑ์ทหาร และโรงพยาบาลจงหนานแห่ง

มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ร่วมกันทดสอบทางคลินิคของวัคซีนต้านโควิด-19 ชนิดสูดเข้าปอดมาตั้งแต่เดือนก.ย. 2563 ขณะนี้การทดสอบทางคลินิคในขั้นที่ 2 ได้ผลลัพธ์เบื้องต้นแล้ว และบริษัทแคนซิโนได้ยื่นคำร้องขอการอนุมัติเพื่อใช้วัคซีนเป็นกรณีฉุกเฉิน

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/971754?anf=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ