'โควิด-19' พลิกโลก สร้าง NewNormal ใหม่! 'อุตสาหกรรม' ต้องเร่งปรับตัว

โควิด-19 ครั้งนี้เป็นการสร้างจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจะเกิดการ “ปฏิวัติ” ครั้งใหญ่ ทุกประเทศจะเริ่มหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคง

สวัสดีผู้อ่านคอลัมน์ Think Forward ทุกท่านครับ ณ เวลานี้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี ภาครัฐออกมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 เปิดให้ภาคธุรกิจกลุ่มต่างๆ เริ่มขยับเขยื้อนให้เศรษฐกิจหมุนเวียนกันได้บ้าง ซึ่งถือเป็นข่าวดี แต่อย่าชะล่าใจไปนะครับ การ์ดอย่าตก ต้องเข้มข้นในเรื่องมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ทั้งสวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง สแกนคิวอาร์โค้ดไทยชนะกันเหมือนเดิม จนกว่าโควิด-19 จะผ่านพ้นไป

ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้เป็นการสร้าง “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมจะเกิดการ “ปฏิวัติ” ครั้งใหญ่ โดยทุกประเทศจะเริ่มหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคง

เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้กลายเป็นบทเรียนให้ประเทศที่พึ่งพาการค้า การลงทุน Supply chain วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆ จากต่างประเทศ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จะส่งผลให้ระยะต่อไปจะเห็นมาตรการกีดกันการค้ามากขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อปรับตัวให้ทัน

ที่สำคัญยังทำให้เกิดกระแส New normal วิถีชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดโควิด-19 ที่เห็นได้ชัดในภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการได้หันมาปรับแผนธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีแรงกดดัน ทำให้มีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (AI) และระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้มากขึ้น เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีนำหน้า

 

ผมมองว่าเวลานี้ถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย โดยอุตสาหกรรมดั้งเดิมจะต้องผลักดันให้เกิดการใช้สินค้าไทย หรือ Made in Thailand อย่างเข้มข้น ต้องให้กรมบัญชีกลางเสนอระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มุ่งเน้นการใช้สินค้าไทยเป็นอันดับแรกก่อน

รวมทั้งควรสนับสนุนให้จัดตั้ง “กองทุนนวัตกรรม” (Innovation Fund) ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของไทย เพื่อสนับสนุนในการพัฒนานวัตกรรม ให้กลายเป็น Supply chain ของอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่ภาครัฐตั้งเป้าไว้

ขณะเดียวกันภาคเอกชนจะความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และสถาบันการวิจัยต่างๆ ร่วมกันพัฒนาห่วงโซ่การผลิตให้ครอบคลุมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเพื่อลดการพึ่งพาชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ เน้นให้เกิดการพัฒนาใช้เอง แม้ระยะแรกต้นทุนอาจสูง แต่จำเป็นต้องหาแนวทางต่างๆ มาส่งเสริมให้เกิดขึ้น

ส่วนภาคอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทยในช่วงโควิด-19 เป็นอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นโอกาสของไทย ท่ามกลางหลายประเทศที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น

จึงเป็นโอกาสที่จะผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีมาบริหารจัดการ ที่คำนึงถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำที่เป็นระบบทำให้เกิดการลดต้นทุน เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับภาคเกษตร และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งกว่าเดิม รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ จะขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/884892

14 ม.ค.65- นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข รานงานข้อมูลประเมินสถานการณ์ด้านระบาดวิทยา อาการและอาการแสดง ประเทศไทย จากการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ณ วันที่ 13 มกราคม 2564 ว่า
1) พบผู้เสียชีวิต ~ 1 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
2) พบผู้ป่วยอาการหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ~ 2-3 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
3) พบผู้ป่วยมีอาการปอดบวม/จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ~ 10-15 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
4) ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และมีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่
5) วัคซีนโควิด 19 และการป้องกันตนเอง (UP) มีส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคโควิด 19
6) การแพร่เชื้อโควิด 19 (โอมิครอน) สูงมาก พบว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโอมิครอน (ที่ป้องกันตนเองไม่ดี) 10 คน จะติดเชื้อ ~ 9-10 คน

ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมสำคัญในการลดการแพร่เชื้อ ควบคุมการระบาด และทำให้ประเทศไทยอยู่ร่วมอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยจากโควิด 19 ด้วยการป้องกันตนเองสูงสุด ปฏิบัติตามมาตรการ และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ครับ

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/covid-19-news/64372/

‘Happy Hypoxemia’ ขาดออกซิเจนเงียบ ภัยร้ายที่ 'ผู้ป่วยโควิด 19' ต้องระวัง

 

‘Happy Hypoxemia ภาวะพร่องออกซิเจนที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด 19 และส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ 'ผู้ป่วยโควิด 19' ต้องหมั่นสังเกต เพราะหายใจลำบากเพียงเล็กน้อยส่งผลต่อการเสียชีวิตได้

ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันสำหรับสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทย ที่ยอดผู้ป่วยไม่มีท่าทีว่าจะลดลดเช่นเดียวกับยอดผู้เสียชีวิตจาก โควิด 19 นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งราวครึ่งหนึ่งเป็นผู้เสียชีวิตในกทม. 

แถมยังเป็นที่น่ากังวลเมื่อ ผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 เสียชีวิตก่อนที่จะตรวจเจอเชื้อ ทำให้ไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตติดเชื้อมาจากไหน หรือบางคนใช้ชีวิตปกติในช่วงเช้า ช่วงสายอาจเสียชีวิต และเมื่อมาตรวจกลับพบว่าเป็นโควิด 19

  • ‘Happy Hypoxia’ ไม่ได้happy เหมือนชื่อ

อย่างที่ทราบกันดีว่า โควิด 19 เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งปอด เป็นอวัยวะในระบบทางเดินหายใจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการติดเชื้อ และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดจึงมีค่าต่ำกว่าปกติ ร่างกายจึงมีภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) โดยปกติระดับออกซิเจนในเลือดจะอยู่ระหว่าง 95–100%

เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายของคนเราระดับของออกซิเจนมีค่าลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบากและหอบเหนื่อยง่าย ดังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่แสดงถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ

เช่นเดียวกับการเกิดในผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 บางราย ตอนแรกกลับไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจใดๆ เป็นสัญญาณเตือน

 

อย่าง กรณีการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิดที่ตายบนถนน ตอนแรกไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อรู้สึกเหนื่อยหอบเพียงเล็กน้อย พวกเขาก็ล้มลงเสียชีวิตทันที

ผู้ป่วยโควิด 19 อาชีพ รับจ้าง มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชลบุรี และมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ก็มีลักษณะเดียวกัน คือ รู้สึกเหนื่อยหอบเพียงเล็กน้อย เมื่อได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ให้มานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยแจ้งว่าอาการไม่มาก ขอนอนเฝ้าดูอาการตัวเองที่ห้องพักในโรงแรมไปก่อน และได้เสียชีวิตในคืนวันเดียวกัน เป็นต้น

  • รู้จัก ‘Happy Hypoxemia’ขาดออกซิเจนเงียบ

Hypoxia  หรือที่เรียกกันว่า ภาวะพร่องออกซิเจน  คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (hypoxemia) จึงทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้นั่นเอง

จนทำให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง จึงแสดงลักษณะผิดปกติออกมาให้เห็นทางภายนอก เช่น ผิวหนังเขียวซีด เหงื่อออกมาก หายใจผิดปกติ เป็นต้น

162755546267

ในปัจจุบัน มีการพบว่า ผู้ป่วยโควิด 19 ก็มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือก็คือมีออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าคนทั่วไป โดยที่ไม่ได้แสดงอาการผิดปกติใดออกมา แพทย์เรียกอาการนี้ว่า happy hypoxemia

โดยภาวะพร่องออกซิเจนนี้ พญ.สิรินาถ เรืองเผ่าพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า ภาวะพร่องออกซิเจน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้

  1. ภาวะพร่องออกซิเจนที่ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจาก ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการที่ขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น ภูเขา ยอดตึก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากความกดบรรยากาศลดลง ออกซิเจนจึงเบาบางไปด้วย
  2. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia) โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง เป็นโรคโลหิตจาง เกิดการเสียเลือดมาก ภาวะผิดปกติของฮีโมโกลบิน ร่างกายได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง เช่น ยากลุ่มซัลฟานิลาไมด์ ยาเสพติด ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น
  3. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) เกิดจากความบกพร่องในการไหลเวียนของเลือด เช่น แรงดันเลือดจากหัวใจลดลง เนื่องจากเป็นโรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
  4. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้ เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ควันพิษ ไซยาไนด์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในคนปกติทั่วไปจะระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 80 – 100 มิลลิเมตรปรอท แต่ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจะมีระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่าคนทั่วไป

โดยแบ่งความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้ 3 ระดับ คือ

Mild Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 60 – 80 มิลลิเมตรปรอท

Moderate Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 40 – 60 มิลลิเมตรปรอท

Severe Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

 

  • ทั่วโลกพบผู้ป่วยโควิด 19 มี Hypoxia รุนแรง

จากบทวิเคราะห์โดย EIU Healthcare, supported by Reckitt Benckiser ระบุว่า ปรากฏการณ์ของการขาดออกซิเจนเงียบหรือ hypoxemia ถูกรายงานครั้งแรกในการศึกษาจากประเทศจีน และต่อมาก็เริ่มมีการสังเกตโดยแพทย์ ทั้งในอังกฤษ และ ประเทศในยุโรปอื่นๆ

จดหมายเผยแพร่โดยแพทย์จากจีน รายงานลักษณะและการรักษาผู้ป่วย 168 รายที่เสียชีวิตจาก โควิด  19 ระหว่างวันที่ 21-30 ม.ค.2 ปี 2020 ใน 21 โรงพยาบาลของเมืองอู่ฮั่น ระบุว่า อายุเฉลี่ยของผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 70 ปี โดย 75% มีปัญหาสุขภาพพื้นฐาน

นอกจากนั้น มีรายงานว่า คนป่วยทั้ง 168 รายได้รับออกซิเจนขณะอยู่ในโรงพยาบาล27% รับออกซิเจนผ่านหน้ากากหรือจมูก cannula เท่านั้น 43% ได้รับการระบายความดันเป็นบวก และ 20% ถูกใส่ท่อช่วยหายใจและรับการช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ

ทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าว ยังระบุว่า เปอร์เซ็นต์ของการใช้เครื่องช่วยหายใจอาจต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากในเวลานั้นเป็นช่วงพีคสูงสุดของการระบาด ที่เครื่องช่วยหายใจไม่เพียงพอ และผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะ hypoxemia รุนแรง แต่ไม่มีอาการอื่นๆ เช่น หายใจถี่ เหนื่อย หอบ ที่เรียกว่า silent hypoxemia หรือการขาดออกซิเจนเงียบ

162755548437

บทบรรณาธิการใน วารสาร Intensive Care Medicine อธิบายว่า อาการปอดบวมในผู้ป่วยโควิด 19 เป็นโรคที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจมีภาวะ hypoxemia รุนแรงที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของปอดในการขยายและรับอากาศ หรือบางสิ่งที่ไม่ปกติ ในกลุ่มอาการหายใจลำบาก แต่ผู้ป่วยมีความทนทานสูง และยังคงมีการหายใจที่ปกติ จนไม่ทันสังเกตว่าตนเองเริ่มมีอาการไม่ปกติบางอย่างในการหายใจ

ในรายงานของแพทย์ระบุว่า ปรากฏการณ์ที่ผิดปกติในผู้ป่วย COVID-19 ที่ผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำอย่างยิ่ง แต่กลับไม่มีการหายใจที่ผิดปกติ จึงถูกเรียกว่า การขาดออกซิเจนเงียบ หรือ การขาดออกซิเจนในเลือด  ซึ่งหมายถึงออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยอาการนี้จะยังไม่ถูกตรวจพบจนกว่าผู้ป่วยจะป่วยหนัก ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น

  •  เช็กอาการเกิดภาวะขาดออกซิเจนเงียบ

สิ่งที่แพทย์ทั่วโลกออกมาเล่าถึงภาวะ Happy Hypoxemia  ไม่ได้บอกให้ทุกคนตื่นตระหนก แล้วรีบเร่งไปตรวจโควิด 19หรือเอ็กซเรย์ปอดกันทุกคน  เพราะขณะนี้ทุกรพ. ทุกหน่วยบริการตรวจโควิด 19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะกทม.ก็แน่นไปด้วยผู้คนหมดแล้ว

ในวิกฤตครั้งนี้  พวกเราได้เรียนรู้แล้วว่าโรงพยาบาลไม่มีกำลังมากพอที่จะสามารถรับรักษาผู้ป่วยได้ทุกราย ทีมแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากกักตัวอยู่บ้าน (home isolation) โทรศัพท์ปรึกษาอาการกับแพทย์ และสั่งยาไปรับประทานที่บ้าน ส่วนเตียงในโรงพยาบาลจะเตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้น

สำหรับอาการภาวะพร่องออกซิเจน สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้ ดังนี้

ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน อาจมีความรุนแรงและอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกัน เนื่องจากมีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตอาการบ่งชี้ภายนอกได้ดังนี้

ผิวหนังซีด หรือเป็นสีเขียวคล้ำ

ไอ คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

วิงเวียนหรือปวดศีรษะ

มีเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา

หายใจลำบาก ถี่ หรือมีเสียงหวีด

รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย

ตาพร่ามัว สับสน มึนงง ซึม

การรับรู้ตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ อาจเข้าสู่ภาวะโคม่า และอาจเสียชีวิตได้

ส่วนในเด็กก็อาจอาการข้างต้นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่อาจสังเกตอาการผิดปกติ ได้ดังนี้

ดูอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว

เลิกสนใจของเล่น หรือสิ่งที่เด็กเคยสนใจ

สังเกตเห็นเด็กนั่งเอนตัวไปทางด้านหน้า เนื่องจากทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น

เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ อาจมีอาการหายใจทางปากและมีน้ำลายไหลออกมามากผิดปกติ

ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่พบอาการบ่งชี้ข้างต้น แต่เราสามารถตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือดได้ โดยการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หากพบว่ามีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 90% นั่นแปลว่าเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ดังนั้น หากสังเกตแล้วพบอาการบ่งชี้ข้างต้น หรือพบว่าระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติแม้ไม่มีอาการ ก็ควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/951770?anf=

 

'ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร' ชั้นเชิงและเกมเหนือชั้นของมหาอำนาจ‘จีน’

ถ้าใครไปเที่ยวจีน แล้วใช้เงินสดซื้อของ อาจถูกมองว่ามาจากยุคไหน เพราะปัจจุบันจีนใช้ระบบออนไลน์สแกนใบหน้าจ่ายเงินแล้ว และยุคนี้ใครๆ ก็อยากแวะร้านเสียวหมี่ที่มีแกดเจ็ตเทพๆ ถูกๆ ให้เลือก ทำไมจีนพัฒนาได้ก้าวไกล

กว่าจะรู้จักจีนอย่างลึกซึ้ง ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน ต้องใช้เวลาในการศึกษา หาประสบการณ์ ทั้งอ่านหนังสือเกี่ยวกับจีน ทำงานในจีน และคบหาสมาคมกับเพื่อนชาวจีน รวมถึงเดินซอกแซกในเมืองต่างๆ แวะไปหยอดเหรียญตีปิงปองกับหุ่นยนต์ นั่งรถไร้คนขับ ฯลฯ

 

จากคนไม่ดื่มเหล้า เขาใช้สุรานำทาง สร้างมิตรภาพ เพราะคนจีนจะให้ความสำคัญกับการกินและดื่ม

และนี่คือ เรื่องราวของดร.ไพจิตร ซึ่งจบปริญญาโท MBA ด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัย Laredo State และปริญญาเอก บริหารธุรกิจ ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัย Nova สหรัฐอเมริกา ในยุคที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นความสำคัญ“การค้าระหว่างประเทศ” แต่เขาเชื่อว่าจะเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต

และก็เป็นอย่างที่เขาคิด เขาได้ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาเข้ารับราชการเป็นกงสุล ฝ่ายการพาณิชย์ ที่นครเซี่ยงไฮ้ สังกัดกรมส่งเสริมการส่งออก (ปัจจุบันกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) กระทรวงพาณิชย์ และเป็นอัครราชทูต ฝ่ายการพาณิชย์ กรุงปักกิ่ง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์เมือง รวมๆ รับราชการในจีน 8 ปีครึ่ง

หลังจากออกจากราชการ เขาหันมาทำงานที่หอการค้าไทยในจีน และ 3 ปีต่อมาเป็นรองประธานฯ อีกตำแหน่ง รวมถึงทำงานเป็นนักเขียนอิสระ อาจารย์พิเศษ กรรมการและที่ปรึกษาองค์กรภาครัฐและเอกชน และกลางปี 2563 มาช่วยงานสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีนอีกทางหนึ่ง

และนี่คือเรื่องราวคนที่คุ้นเคยจีนดีที่สุดคนหนึ่งในเมืองไทย

 

อยากให้เล่าประวัติส่วนตัวสักนิด?

ผมเคยรับราชการ หลังจากนั้นมาทำงานเป็นที่ปรึกษาภาคเอกชน ทำงานกับคุณสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ซึ่งอยากให้ผมช่วยงานหอการค้าไทยในจีนเต็มตัว เพราะเมื่อ 4-5ปีที่แล้ว คนที่ทำงานหอการค้าไทยในจีน ส่วนใหญ่จะมีธุรกิจของตัวเอง จึงให้ความสำคัญกับหอการค้าฯน้อย แต่ท่านให้ความสำคัญ อยากให้เป็นสถาบันช่วยผู้ประกอบการในการบุกตลาดขยายธุรกิจในจีน ก็เลยชวนผมมาเป็นเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน ทำงานเหมือนซีอีโอ

 

เป็นซีอีโอหอการค้าไทยในจีน แล้วทำธุรกิจด้านอื่นด้วยไหม

ที่เขาดึงผมมาจากภาคราชการ เพราะผมไม่มีธุรกิจ แม้จะมีคนชวนทำธุรกิจ ตั้งแต่ร่วมทุนจนถึงถือหุ้นลม ผมไม่เอา ผมอาจจะเป็นคนโบราณที่มีอุดมคติ อยากเป็นเลขานุการมืออาชีพ เพราะผมเคยได้ยินบางคนบอกว่า ผลประโยชน์ของสมาคมหรือองค์กรเช่นนี้มักจะตกอยู่ที่กรรมการบริหาร

ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีโอกาสทำธุรกิจในจีน ไม่มีโอกาสเติบโต ดังนั้นใครอยากจะค้าขายหรือลงทุนมาปรึกษาลู่ทางธุรกิจกับผม ผมและทีมงานยินดีช่วยดูความเหมาะสมให้ เพราะการลงทุนในจีนต้องมีความลุ่มลึกในการจับคู่ธุรกิจให้เป็นรูปธรรม

160705285255

หุ่นยนต์แบบนี้ธรรมดามากในจีน 

เรียนรู้เรื่องจีนๆ จากไหนบ้าง

ชั้นหนังสือบ้านผมครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจีน ผมชอบอ่านหนังสือ ค้นคว้า และมีประสบการณ์ในจีน เพราะผมเขียนบทความและหนังสือ อีกอย่างผมทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาครัฐของจีน 

จีน 15 ปีที่ผ่านมากับ 30 ปีที่แล้วก็ไม่เหมือนกัน ยิ่งในระยะหลังยิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผมมีโอกาสทำงานกับคุณธนากร เสรีบุรี นายกสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน ซึ่งมีประสบการณ์เข้าออกจีนกว่า 30 ปี

ท่านกรุณาเล่าเรื่องโน้นเรื่องนี้ให้ผมฟัง นอกจากมุมมองของจีน ยังมีมุมมองธุรกิจต่างชาติ พอผมช่วยงานหอการค้าไทยในจีนได้ 5 ปี ท่านก็ทาบทามให้ผมมาเป็นเลขาธิการสมาคมฯ ผมก็เลยเอาสองส่วนนี้เชื่อมโยงเพื่อทวีกำลังกัน มีออฟฟิศทำงานทั้งในจีนและไทย

เท่าที่ผมเห็น จีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง มีนโยบายเปิดประเทศสู่ภายนอก เศรษฐกิจจีนขยายตัวเฉลี่ยปีละ 9.5% รัฐบาลทำให้คนจีนกว่า 800 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้คนมีกำลังซื้อในประเทศเพิ่มมากขึ้น

 

ถ้าจะเข้าใจจีนอย่างลึกซึ้ง ต้องทำอย่างไร

ต้องยอมรับก่อนว่า เราไม่ค่อยรู้จักจีน ต้องเปิดกว้าง รับข้อมูลความคิด ก่อนผมจะมาประจำในเมืองจีน ผมคิดไปเองว่า จีนไม่เติบโตเพราะไม่เปิดกว้างทางความคิด แต่พอผมไปอยู่ที่นั่น ผมรู้เลยว่า จีนเปิดกว้างทางความคิด ยอมรับการเปลี่ยนแปลง 10 ปีที่ผ่านมาคนจีนวัย 60-70 ปีใช้สมาร์ทโฟนเป็นเรื่องปกติ มีอะไรใหม่ก็ลองใช้

ขณะที่ผมซื้อสมาร์ทโฟนให้แม่ แม่บอกว่าไม่เอาแบบที่ปัดหน้าจอไปมา เพราะใช้ไม่เป็น ผู้ประกอบการไทยบางคนเห็นคิวอาร์โค้ด ยังนั่งงงว่า มันคืออะไร ดังนั้นถ้าเรารู้ไม่ลึกเกี่ยวกับธุรกิจที่เป็นสมาชิกของเรา เราจะไปจับคู่ธุรกิจ ขยายธุรกิจ ช่วยเหลือเขา ก็เหมือนตาบอดคลำช้าง 

 

จากคนไม่ดื่มเหล้าก็หันมาดื่ม เพื่อสร้างสัมพันธภาพ ถ้าอย่างนั้นต้องเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตไหม

10 ปีที่แล้วผมไม่ดื่มเหล้า ถ้าวันไหนดื่มเบียร์หมดขวด นั่นแสดงว่าเป็นมื้อพิเศษ แต่ไปอยู่เมืองจีนตอนอายุ 42 ปี จำได้ว่า 6 เดือนแรกผมอาเจียนบ่อยมาก ธรรมเนียมจีนถ้าเขาชวนดื่ม แล้วไม่ดื่ม เหมือนคุยคนละภาษา เราอยากเป็นเพื่อนกับคนจีนก็เลยต้องดื่ม 

ถ้าคนจีนยอมโน้มตัวตักอาหาร หรือจุดบุหรี่ให้อีกฝ่าย นั่นเป็นการให้เกียรติ เวลาจะชนแก้วเหล้ากับคนจีน เราควรลดระดับแก้วให้ต่ำกว่า เพื่อให้เกียรติเขา เขาก็จะให้เกียรติเราตอบ ความจริงใจก็สำคัญ ถ้ามีความจริงใจเวลาคุยเจรจาการค้ากัน โอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือหรือตกลงกันง่ายขึ้น

160699191621

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

หลายคนบอกว่าจีนเปลี่ยนแปลงเร็วมาก อยากให้อธิบายเพิ่มสักนิด?

เวลาอยู่จีน ทุกๆ สัปดาห์ ผมจะล็อคเวลาครึ่งวันเพื่อเดินดูสิ่งใหม่ๆ ในเซี่ยงไฮ้และเมืองต่างๆ ไปนั่งรถแท็กซี่ไร้คนขับ หยอดเหรียญตีปิงปองกับหุ่นยนต์ เพราะเราต้องพาคณะไทยไปสำรวจตลาดจีนอยู่เรื่อยๆ ถ้าเราไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง เราจะพาเขาไปไม่ได้ จะเอามาบรรยายก็ไม่รู้อีก

ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีเร็วมาก จีนได้ก่อสร้างจานดาวเทียมขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในมณฑลกุ้ยโจว และพัฒนาท่าเรือหยางซานที่เป็นอัตโนมัติ ไม่ใช้แรงงานคน รวมถึงจะพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางอุโมงค์ใต้ทะเลในเร็วๆ นี้ จีนจะมีรถไฟแม่เหล็กความเร็วสูงสุด 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้ ย่นย่อเวลาเหลือ 3 ชั่วโมง 

มีคำกล่าวว่า จีนเปลี่ยนเล็กทุกปี เปลี่ยนใหญ่ทุก 3 ปี สะท้อนว่าเมืองจีนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว อย่างแผนพัฒนา 5 ปี พวกเขาวางแผนแล้วก็ลุยไปข้างหน้า ถ้าระบบพรรคคอมมิวนิสต์มีนโยบายชัดเจนแล้ว องคาพยพที่เกี่ยวข้องจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน ภาคเอกชนจะรู้ดีว่า เมื่อรัฐออกนโยบายจะไม่เปลี่ยนแปลงง่ายๆ

การสานต่อนโยบายของรัฐบาลจากรุ่นสู่รุ่นถือเป็นหน้าที่ แต่บ้านเราหรือต่างประเทศตรงกันข้าม ทำให้เมืองจีนพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เวลาจะทำเรื่องอะไร จะมีกรณีศึกษาเป็นเรื่องเป็นราว ระบบการเมืองเชื่อมต่อกับทุกส่วน สามารถดำเนินการตามแผนได้เร็วกว่าหลายประเทศ

 

เทคโนโลยีเป็นตัวเร่ง ทำให้จีนพัฒนาประเทศเร็วขึ้น ?

จีนมีเป้าหมายว่า จะทำยังไงให้ประเทศมั่งคั่ง กิจการที่กระจุกอยู่ในภาครัฐต้องกระจายสู่ภาคเอกชน มีการปรับโครงสร้างพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น และเมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนา แรงงานไร้ฝีมือต้องพัฒนาเป็นแรงงานมีฝีมือ

เพราะรัฐบาลช่วยในเรื่องเครื่องจักรที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ใช้แรงงานเยอะ จีนไม่ได้มีปัญหาการว่างงาน แต่มีปัญหาขาดแรงงานเชิงคุณภาพ และแรงงานที่มีฝีมือ

 

เพราะอะไรคนจีนจึงพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

คนไทยอาจจะคิดเก่ง แต่ไม่ปฏิบัติ เมื่อเริ่มใช้ระบบ 5 G คนจีนจะมองหาโอกาสทางธุรกิจ ตอนไวรัสโควิดระบาด จีนงัดนวัตกรรมออกมาใช้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มการแข่งขันในสินค้าและบริการบนเวทีโลก

 

การขจัดความยากจนในจีนจัดการอย่างไร

เอาเทคโนโลยีมาพัฒนาให้เป็นรูปธรรม ยกตัวอย่าง เกษตรกรบ้านเรามีปัญหาคล้ายจีนคือ อายุเยอะ คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยเป็นเกษตรกร เกษตรกรรุ่นเก่ามีความสามารถการเพาะปลูกแต่ขาดแรงงาน ถ้าอย่างนั้นต้องเอาเทคโนโลยีแบบไหนมาประยุกต์ใช้

จีนผลิตเครื่องจักร เครื่องมือการเกษตรขนาดเล็กเพื่อใช้พรวนดิน หว่านเมล็ดพืชสำหรับแปลงเกษตรขนาดมาตรฐาน ไม่ได้มานั่งจิ้มปลูกทีละต้นเหมือนบ้านเรา เวลาเก็บเกี่ยวก็มีความเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรง และตอนนี้ก็เชื่อมโยงเครื่องมือเหล่านั้นกับสัญญาณดาวเทียมได้ด้วย

ส่วนปัญหาการเกษตรไทย ยังไม่ค่อยมีเครื่องจักรเครื่องมือทางการเกษตรตอบโจทย์เรื่องนี้ ไทยปลูกยางพารามาร้อยปี จีนปลูก 4 ปีเอาหุ่นยนต์มากรีดยางได้แล้ว แต่เกษตรกรไทยต้องโค่นต้นยางทิ้ง เพราะไม่มีแรงงาน

 

ถ้าอย่างนั้นไทยควรซื้อเทคโนโลยีขนาดเล็กจากจีนไหม

 ไม่จำเป็น เพราะจีนก็ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แต่นำมาก็อปปี้พัฒนาต่อยอด ตอนนี้จีนไม่ใช่แค่พัฒนาวิจัย แต่วิจัยแล้วผลิตนวัตกรรม จีนลดการพึ่งพาตะวันตก จะพัฒนาเทคโนโลยีเอง จีนกำลังยืนด้วยลำแข้งตัวเองบนเวทีโลก ตอนนี้คนจีนไม่ยอมรับการคอร์รัปชัน ส่วนไทยไม่รู้เรื่องนี้จะลงถึงจุดต่ำสุดเมื่อไหร่

160700186844

(อีกไม่นานเกินรอ จีนจะมีรถไฟความเร็วสูงมากที่สุดในโลก )

แจ็คหม่าอยู่ตรงไหนในความสำเร็จของจีน

สื่อจีนบอกว่า จะไม่มียุคของแจ๊คหม่า มีแต่แจ็คหม่าที่เป็นส่วนหนึ่งในยุครุ่งโรจน์ของจีน เพราะมีบริษัทที่สร้างความรุ่งเรืองให้จีนอีกเยอะ พรรคคอมมิวนิสต์จีนอยากให้ผู้นำของเขามีความโดดเด่นในเวทีจีนหรือเวทีโลก แม้การเอา AntGroup (บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มจ่ายเงินอย่าง Alipay ของเครืออาลีบาบา) เข้าตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และฮ่องกงได้แล้ว เพื่อเสนอขายหุ้นครั้งแรกอาจทำให้แจ็คหม่ารวยที่สุดของจีน แต่ไม่ใช่เป้าประสงค์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

สินค้าที่ขายดีในไทย จะขายดีในจีนไหม

ปัจจัยแวดล้อมระหว่างไทยกับจีนไม่เหมือนกัน การรู้หรือเข้าใจวัฒนธรรมจีนอาจรู้แบบผิดๆ คนไทยที่มีเชื้อสายจีน ส่วนใหญ่เป็นแต้จิ๋ว แต่จีนมีหลายเผ่าพันธุ์ แต้จิ๋วในเมืองจีนมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เวลาจะพัฒนาสินค้าออกมาขาย ต้องตอบโจทย์แต่ละภูมิภาคที่มีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์แตกต่างกันให้ได้ก่อน

ถ้ามองจากภาพใหญ่ จีนเติบโตจากซีกตะวันออก ไปตอนกลางและซีกตะวันตก เติบโตจากเมืองสู่ชนบท คนในเมืองมีรายได้สูงกว่านอกเมืองสองเท่า

มีคนทำธุรกิจจำนวนมากเข้าไปทำธุรกิจโดยไม่ได้พิจารณาประเด็นเหล่านี้ คนที่ลงทุนในระยะแรกมักจะเจอปัญหาในระยะที่สอง ส่วนคนที่ประสบความสำเร็จในระยะแรก พอคิดจะขยายโรงงานก็ไม่ได้คิดโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมไว้ตั้งแต่แรก ทั้งเรื่องแฟรนไชส์ การบูรณาการเอาทรัพยากรจีนมาใช้ประโยชน์กับเครือข่ายธุรกิจ

เข้าไประยะแรกไม่ทันได้เห็นความแตกต่างระหว่างไทยจีน จึงล้มเหลว แม้กระทั่งบริษัทใหญ่ ๆในแถบตะวันตกที่เข้ามาลงทุนในจีน หลายแห่งเร่งเติบโตขยายธุรกิจ จึงมีหนี้สิน เพราะการลงทุนในเมืองใหม่ๆ การทำการตลาดใช้เงินเยอะ ถ้าไม่เข้าใจขนาดตลาดก็เกิดปัญหา

160705501498

ยกตัวอย่างสักนิด?

มีผู้ประกอบการไทยรายหนึ่ง ฝันอยากเห็นคนจีนซื้อขนมไทยไปฝากคนอื่น เขาลาออกจากงานโรงแรมไปทำธุรกิจในจีน แต่ไม่ค่อยเข้าใจธุรกิจ แรกๆ เช่าพื้นที่ใช้ไลเซ่นร้านอาหาร ตื่นตี 3 ทำขนมขายหน้าร้านทุกวัน ผมให้คำปรึกษาว่าต้องทำระบบขายแฟรนไชส์ อย่าขายเฉพาะหน้าร้าน

เขาก็เลยขายทางออนไลน์และเดลิเวอร์รีมากขึ้น เวลาคนจีนจัดประชุมสามารถสั่งขนมไทยจากร้านนี้ในเซียงไฮ้ จากเดิม 80 % ขายหน้าร้าน ตอนนี้ 80% เป็นเดลิเวอร์รี 

ผมบอกไปว่า ระบบเฟรนไชส์ต้องคุมตั้งแต่ต้นน้ำ เพื่อให้คนซื้อพึ่งพิงตลอด เขาสามารถควบคุมสูตรการผลิตและวัตถุดิบได้ ซึ่งเป็นเรื่องดีๆ เวลาผมอยู่จีน ผมต้องทำวิจัยเป็นระยะ คนจีนบอกว่า สินค้าไทยดีมาก แต่หาซื้อลำบาก เพราะเครือข่ายจำกัด

 

คาดว่าอีกกี่ปี จีนจะเป็นเบอร์หนึ่งของโลก

ปีนี้จีนโตกว่าอเมริกา 7.5 เปอร์เซ็นต์ อีก 10ปีข้างหน้าจีนจะเทียบชั้นอเมริกา เป็นเบอร์หนึ่งของโลก อย่างช้าปีคศ. 2035 ตอนนี้จีนเป็นผู้นำด้านตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค และจีนจะเพิ่มบทบาทในเวทีต่างๆ ของโลก

จีนนอกจากให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี ยังให้ความสำคัญกับนวัตกรรม ย้อนไป 15-20 ปีคนมาเที่ยวจีน จะรบเร้าให้ผมพาไปซื้อของก็อปปี้ แต่วันนี้ของก็อปกลายเป็นของเลหลัง ตอนนี้ใครๆ ก็อยากไปร้านเสี่ยวหมี่ที่ใหญ่ที่สุด ไปดูแกดเจ็ตกัน

จีนกล้าประกาศความเป็นเบอร์หนึ่ง เพราะรู้เขารู้เรา จึงทุ่มทุนมหาศาลวิจัยพัฒนา วันนี้จีนเป็นประเทศหนึ่งที่มีเรือดำน้ำสำรวจท้องมหาสมุทรที่ลึกๆ จำนวนมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ลงทะเลไม่พอขึ้นอวกาศ ปีที่แล้วจีนส่งยานอวกาศไปลงด้านมืดของดวงจันทร์ ปีนี้ปล่อยยานอวกาศไปดาวอังคาร พร้อมหุ่นยนต์

อีกเรื่องหนึ่งที่ทำคือ การทำดวงจันทร์เทียม ซึ่งเราไม่ค่อยได้ยิน เริ่มทดลองในพื้นที่เฉินตู มณฑลเสฉวนบนเทือกเขาสูง ต่อไปกลางวันจีนสามารถเก็บพลังงานในสถานีอวกาศ กลางคืนยิงแสงลงมาในพื้นที่ทดลองมณฑลเสฉวน

อีก 4-5 ปีข้างหน้าเราจะเห็นโครงการพระจันทร์เทียมทดลองใช้ ส่วนเมืองกุ้ยโจวที่ยากจนมากที่สุดของจีน จะมีรถไฟความเร็วสูงผ่านถ้ำผ่านภูเขามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีการเจาะภูเขา และมณฑลนี้จะเป็นศูนย์บิ๊กดาต้าใหญ่ของจีน ช่วงหลังมีคนบอกเจอแจ็คหม่าที่กุ้ยโจวมากกว่าหางโจว บ้านเกิดของเขา

 

ในเรื่องการพัฒนาออนไลน์ จีนไปไกลแค่ไหน

แพลตฟอร์มต่างๆ ในจีนแข่งขันกันเยอะ แจ๊คหม่าเอาออนไลน์และออฟไลน์รวมกันแล้วต่อยอด ถ้าสั่งสินค้าในรัศมี 3 กิโลเมตรเครือข่ายของอาลีสบาบาจะส่งของให้ภายใน 30 นาทีไม่มีค่าใช้จ่าย หรือไปช้อปที่ร้าน จัดส่งของถึงบ้านได้เลย คนยังไม่ถึงบ้าน ของส่งถึงบ้านแล้ว เพราะโครงข่ายซัพพลายเออร์เยอะ สมัยก่อนสแกนจ่ายเงิน สมัยนี้สแกนใบหน้า ฝ่ามือ นิ้วมือ คือจ่ายเงิน

เวลาไปวิ่งออกกำลังกายไม่ได้เอาเงินไป สามารถสแกนใบหน้าซื้อสินค้าได้เลย ช่วงโควิดจีนขายหน้ากากอนามัย สแกนผ่านบัตรประชาชนให้คนละสองชิ้นต่อวัน กว่า 95 %ในจีนเป็นโลกดิจิทัลไปแล้ว ถ้าคุณไปจีนแล้วจ่ายเงินสด คุณจะถูกมองเป็นมนุษย์ต่างดาว เพราะลิ้นชักของพวกเขาจะไม่มีเงินทอน ถ้าเลือกได้ให้จ่ายเป็นดิจิทัล

.................

หมายเหตุ : จากการร่วมอบรม โครงการ มองจีนยุคใหม่ ความท้าทายที่สื่อไทยควรรู้ ปีที่ 3 ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วันที่11-15 พฤศจิกายน 

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910891?anf=

‘SONGBIRD’ ภาพจำลองถ้า 4 ปี ‘โควิด’ ยังไม่หายไปจากโลก

 

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไวรัสโควิดไม่หายไปไหน แถมยังกลายพันธุ์ร้ายแรงกว่าเดิมจนโลกต้องตกอยู่ในภาวะล็อกดาวน์ยาวนานถึง 4 ปี รับชมภาพจำลองเหตุการณ์ได้จากหนัง “SONGBIRD โควิด 23 ไวรัสล้างโลก” ซึ่งเป็นหนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำในสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดในแอลเอ

มีผู้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุขหลายรายคาดการณ์เอาไว้ว่ามีแนวโน้มที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ‘โควิด-19’ จะไม่หายไปไหน แต่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ที่วนเวียนกลับมาระบาดเป็นระลอก ตราบจนกระทั่งผู้เชี่ยวชาญสามารถคิดค้นวัคซีนที่ปลอดภัย มีผลป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพจึงทำให้ไม่เกิดการระบาดรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากแบบการระบาดครั้งแรกๆ

แล้วโลกจะเป็นอย่างไรถ้า ‘โควิด-19’ กลายพันธุ์ และยังคงแพร่ระบาดในระดับรุนแรงต่อเนื่องต่อเป็นเวลาหลายปี?

ถ้าเช่นนั้นต้องมาดูภาพจำลองเหตุการณ์นี้จากภาพยนตร์เรื่อง ‘SONGBIRD โควิด 23 ไวรัสล้างโลก’ หนังไซไฟระทึกขวัญบีบหัวใจผู้ชมเรื่องล่าสุดจากการสร้างของยอดฝีมือแถวหน้าของฮอลลีวูดอย่าง ไมเคิล เบย์ ที่เคยฝากฝีไม้ลายมือไว้จากหนังบล็อคบัสเตอร์ฟอร์มยักษ์มหึมาอย่าง Armageddon(1998), Pearl Harbor(2001) และหนังแอ๊กชั่นแฟรนไชส์ Transformers (2007-2017) รวมถึงผู้สร้างผลงานสุดระทึกอย่าง A Quiet Place (2018) และThe Purge (2013)

ครั้งนี้ ‘ไมเคิล เบย์’ กลับมาอีกครั้งกับการอำนวยการสร้างผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดที่พูดถึงโลกอนาคตเมื่อเชื้อโควิดไม่หายไปไหน แต่กลายพันธุ์เป็น COVID-23 และทำให้โลกตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ล็อคดาวน์เป็นปีที่สี่แล้ว

 

161104334690

161104336651

SONGBIRD มีพล็อตเกี่ยวกับชาวอเมริกันที่ติดเชื้อโควิดว่าจะถูกส่งไปอยู่ในค่ายกักกันปิดตายที่ชื่อคิว-โซน ในขณะที่ผู้กล้าบางคนพยายามลุกขึ้นต่อสู้การกดขี่ภายในค่ายกักกันท่ามกลางโลกที่พังพินาศ โดยตัวเอกของเรื่องคือ นิโค (รับบทโดย เคเจ อาปา) คนส่งข่าวใจเด็ดผู้มีภูมิต้านทานไวรัสร้ายแรงตัวนี้ เขาพบรักกับ ซาร่า (นำแสดงโดย โซเฟีย คาร์สัน) ทว่าการล็อคดาวน์ทำให้ทั้งสองไม่อาจสัมผัสกันทางกายได้ และเมื่อมีข่าวว่าซาร่าติดเชื้อ นิโคจึงกระเสือกกระสนข้ามฟากจากลอสแองเจลิสเพื่อตามหาสิ่งที่จะช่วยไม่ให้เธอต้องถูกคุมขังในค่ายกักกันสุดโหด

หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำท่ามกลางวิกฤติโควิด

การแพร่ระบาดของโควิดอย่างหนักในซีกโลกตะวันตกทำให้กองถ่ายในฮอลลีวู้ดต้องยกเลิกการถ่ายทำเกือบหมด แต่ SONGBIRD ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถ่ายทำในระหว่างวิกฤตการณ์ ‘COVID-19’ แพร่ระบาดในลอสแองเจลิส แถมตัวหนังยังพูดถึงตัวโรคระบาดเองโดยตรงอีกด้วย

SONGBIRD เล่าถึงลอสแองเจลิสในอนาคตอีก 4 ปีให้หลัง เมื่อเชื้อไวรัสCOVID ได้กลายพันธุ์มาเป็นสายพันธุ์ร้ายแรงที่ชื่อว่า COVID-23 การล็อคดาวน์กลายเป็นเรื่องจำเป็น การประกาศเคอร์ฟิว การขาดแคลนอาหาร และของขาดตลาดกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

“มันคือสิ่งที่เราคิดว่าจะเกิดขึ้นหากการล็อคดาวน์ที่เราประสบมายังคงยืดเวลาต่อออกไปอีกสองถึงสามปี” อดัม เมสัน ผู้กำกับ/ผู้ร่วมเขียนบท กล่าว

161104339215

161104477535

161104479370

 

แต่ถึงกระนั้นเขาก็บอกว่าหัวใจของ SONGBIRD คือเรื่องราวความรักของคนทั้งสองที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน เป็นคู่รักอับโชคที่ต้องหาวิธีอยู่ด้วยกันในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้”

“มันมีความตื่นเต้นสมกับเป็นหนังดูแกล้มป๊อบคอร์น แต่ก็มีหัวใจของความเป็นภาพยนตร์และปล่อยให้หนังเชื่อมโยงกับคนดูได้อย่างมากมาย” อดัม กู๊ดแมน ผู้อำนวยการสร้างกล่าวเสริม

 

161104361796

 

หนังโควิดที่ไม่หดหู่ แต่มีความหวัง

ในส่วนของการให้ ไมเคิล เบย์ เข้ามาดูแลการสร้างด้วยนั้น กู๊ดแมนบอกว่า “ไมเคิลนำความโกลาหลและความตื่นเต้นมาสู่จอได้มากกว่าใคร และยังเคยกำกับหนึ่งในหนังวินาศแนวสันตะโรที่เยี่ยมยอดที่สุดด้วย แต่เราไม่ได้พยายามทำให้ผู้ชมหวาดกลัว เราสร้างภาพยนตร์ที่จะให้ผู้ชมได้เอาใจช่วยตัวเอก ชิงชังตัวร้าย และตระหนักรู้ว่าเราทุกคนล้วนตกอยู่ในสภาวะเดียวกันทั้งสิ้น”

“ไซมอนกับผมผสานทั้งสองด้านนั้นเข้ากันโดยสร้างเรื่องราวทำนองธรรมะย่อมชนะอธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจที่ดีของตัวภาพยนตร์ มันไม่ใช่เรื่องราวมืดหม่นหรือซีดเซียว SONGBIRD เป็นภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความแข็งแกร่งของจิตวิญญาณเมื่อมนุษย์ต้องเผชิญความยากลำบาก มันมีขอบเขต ความโรแมนติกลุ่มลึก และช่วงเวลาอันสำคัญและแสนอันตรายตามแบบฉบับของฮอลลีวูด”

กู๊ดแมนยังกล่าวเพิ่มอีกว่า “บางครั้งภาพยนตร์ก็พาเราหนีออกห่างโลกความจริง หรือไม่ก็ถือแว่นขยายเพื่อส่องมองโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่ ในภาพยนตร์ SONGBIRD เราทำทั้งสองด้าน”

161104372696

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์รอบตัวของเมสัน และโบเยสเองก็สะท้อนถึงสิ่งที่พวกเขากำลังสร้าง “การเขียนบทและถ่ายทำค่อนข้างจะหนักหนา เพราะผมรู้สึกว่ากำลังเขียนเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นอยู่รอบตัว ณ ขณะนั้น” เมสันอธิบายเพิ่ม “อย่างเช่นผมอาจกำลังเขียนฉากเกี่ยวกับเคอร์ฟิวที่มีเฮลิคอปเตอร์บินไปมา อดัมจะบอกผมว่า “ไม่นะ มันดูเป็นหนังไซไฟแนวโลกพินาศเกินไปหน่อย” แต่ในบ่ายวันเดียวกัน มันก็มีเฮลิคอปเตอร์หลายลำบินอยู่เหนือเขตบ้านผมและประกาศว่ากำลังจะมีเคอร์ฟิว!”

161104377183

‘โรมิโอ-จูเลียต’ ยุคโควิดระบาด

แก่นเรื่องของ SONGBIRD คือเรื่องรักของคนสองคนที่ต้องแยกตัวจากกันเป็นเวลานาน และมีความปรารถนาอันร้อนแรงที่จะอยู่ด้วยกันแต่ไม่สามารถสัมผัสกันได้

“ท่ามกลางความโกลาหลอลหม่าน ความเศร้าโศกเสียใจ และความยากลำบากจากสถานการณ์ไวรัสแพร่ระบาดและล็อคดาวน์ก็ยังมีแสงสว่างอยู่ นั่นคือความรัก และสิ่งใดก็ตามที่คุณยินดีทำเพื่อความรักและเพื่อความหวังนั้น” เจนเน็ตต์ วอลตูร์ ผู้อำนวยการสร้างเผย

“เรื่องราวนี้สะท้อนให้เห็นว่าโลกของเรากำลังฝ่าวิกฤติอะไรบ้างในขณะนี้ และมาในรูปแบบที่สอนใจว่าเรามีความหวังอยู่เสมอ และด้วยความรัก ไม่มีใครที่พ่ายแพ้เลย”

มาร์เซ เอ. บราวน์ผู้อำนวยการสร้างเพิ่มเติมว่า “ความรักและความใกล้ชิดก็เหมือนอาหารและน้ำ ปัจจัยสี่ที่ทุกคนต่างต้องการเพื่อความอยู่รอด ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพูดถึงความหวังและความสามารถของมนุษยชาติที่จะหาหนทางให้จนได้”

SONGBIRD ยกระดับของเรื่องรักอมตะประเภทโรมิโอและจูเลียตขึ้นมาใหม่ โดยครั้งนี้ไม่มีครอบครัวที่กินแหนงแคลงใจกัน แต่เหล่าตัวเอกอับโชคต้องต่อสู้กับสถานการณ์โรคระบาดท่ามกลางเหตุการณ์การกวาดต้อนผู้ติดเชื้อ

“นิโคและซาร่าคือคู่รักที่ไม่อาจอยู่ด้วยกัน และยังไม่สามารถผูกสัมพันธ์กันได้ในทุกวิถีทาง” กู๊ดแมนอธิบาย

“คนหนึ่งมีภูมิต้านทาน อีกคนกลับไม่มี ภาพยนตร์เรื่องนี้จะพาผู้ชมให้เอาใจช่วยให้คู่รักนี้จะสามารถพบกันได้อีกครั้ง ความท้าทายท่ามกลางเหตุการณ์ที่บ้าคลั่งและสับสนนี้ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาดูเหมือนจะลึกซึ้งมากขึ้นไปอีก”

161104346257

นิโคคือหนึ่งในกลุ่มคนที่เรียกกันว่า “กลุ่มมีภูมิ” ซึ่งปลอดภัยจากการติดเชื้อและจำต้องรับหน้าที่ที่ยังขับเคลื่อนสังคมต่อไปได้

“งานของนิโคคือคนส่งของ” เคเจ อาปา ผู้แสดงนำในซีรีส์ยอดฮิตอย่าง Riverdale กล่าว

“เขาส่งของให้ผู้คนทั่วเมือง ในระหว่างการเดินทางของเขา เขาได้พบกับซาร่า และพวกเขาก็ตกหลุมรักกัน ผมหวังว่าความสัมพันธ์ของพวกเขาจะให้ความหวังกับผู้คนในอนาคต อย่าเข้าใจผมผิดนะ หนังเรื่องนี้นำเสนอความน่ากลัวของไวรัสที่กลายพันธุ์ก็จริง แต่ท้ายที่สุดแล้ว มันก็พูดถึงความเอาใจใส่”

ตัว โซเฟีย คาร์สันเองก็รู้สึกประทับใจกับความลุ่มลึกและสุ่มเสี่ยงของความรักระหว่าง ซาร่าและนิโคเช่นกัน

161104344686

“การรักใครสักคนอย่างลึกซึ้งแม้จะไม่เคยได้หายใจร่วมกัน ไม่เคยสัมผัสกายและได้ยินเสียงของเขาก้องอยู่ในหู มันเหมือนกับความรักที่เป็นไปไม่ได้”เธอกล่าว

“สำหรับตัวเอกของเรา ความรักของพวกเขามีความเสี่ยงร้ายแรง เพราะมันอาจทำให้เธอต้องตายหากได้พบกัน แต่ถึงกระนั้น ความรักก็ยังเป็นทางรอดของพวกเขา เป็นสิ่งที่พวกเขายึดมั่นและต่อชีวิตของพวกเขา ความรักของ ซาร่าและ นิโคคือหัวใจของเรื่อง คติสอนใจที่ยิ่งใหญ่และสวยงามที่สุดนั่นคือ ความรักเป็นสิ่งเดียวที่เรามีในโลกใบนี้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะ ณ ขณะนี้และความรักจะต่อชีวิตเรา”

161104408840

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/918134?anf=

 

ติดตามชม “SONGBIRD โควิด 23 ไวรัสล้างโลก” ผลงานสุดระทึกจากผู้สร้าง “A QUIET PLACE” และ “THE PURGE” ได้ 21 มกราคมนี้ ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ