คณะผู้วิจัยระบุว่าการสวมหน้ากากอนามัยควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นการปฏิบัติปกติประจำ เมื่อเข้าสู่พื้นที่บริเวณสาธารณะภายในอาคาร เพราะสามารถลดความเสี่ยงด้วยเช่นกัน และสามารถลดการรั่วซึมบริเวณขอบหน้ากากได้
ทีมนักวิชาการด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ผู้วิจัยหัวข้อ “ผลของหน้ากากและการระบายอากาศต่อความเสี่ยงในการแพร่ของเชื้อ SARS-CoV-2 ในระบบทางเดินหายใจในห้องน้ำสาธารณะ : ด้วยการประเมินความเสี่ยงจุลินทรีย์เชิงปริมาณ” ยืนยันผลวิจัยบ่งชี้ว่าห้องน้ำสาธารณะและห้องอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ เล็ก แคบ และมีการระบายอากาศที่ไม่ดีเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงในการแพร่ของเชื้อโควิด-19 และวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันการแพร่ระบาดคือการที่ทุกคนใส่หน้ากากกรองอากาศให้มิดชิด
จากการเสวนาในหัวข้อ “ใช้ห้องน้ำสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด” ที่เฟซบุ๊กเพจ Zero C Thailand รวมพลังไทยลดยอดติดเชื้อ ให้เหลือ “0” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ดร. ขวัญรวี สิริกาญจน นักวิจัยเชี่ยวชาญประจำห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า การแพร่ทางอากาศ (Airborne) เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของเชื้อโควิด-19
“การใส่หน้ากากเป็นวิธี (ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19) ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดและง่ายที่สุดด้วย เราเริ่มได้ที่ตัวเอง โดยเฉพาะในพื้นที่ปิดที่ค่อนข้างแคบ แม้ว่าจะไม่เห็นว่ามีใครใช้ห้องน้ำมาก่อนหน้าเรา หรืออยู่ในลิฟต์ด้วยกัน ผลวิจัยของเราก็บอกว่าแม้จะรอ 10 นาทีแล้วจะมีความเสี่ยงน้อยลงแต่ก็ยังมี (ความเสี่ยง) อยู่” ดร.ขวัญรวี กล่าว
ดร.ธรรมณิษฐ์พล เด่นเพชรกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่าผู้ที่มีเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อได้ทั้งผ่านละอองฝอย (Droplet) ซึ่งเป็นละอองน้ำมูก น้ำลายขนาดใหญ่ซึ่งจะตกลงสู่พื้นด้านล่างในระยะ 2 เมตร และแพร่เชื้อผ่านละอองลอย (Aerosol) ซึ่งมีขนาดเล็กจิ๋วเฉกเช่น PM2.5 และลอยค้างอยู่ในอากาศได้นาน หากเว้นระยะเวลาเข้าใช้ห้องน้ำต่อจากคนก่อนหน้า ร่วมกับการระบายอากาศในห้องน้ำ ระดับความเข้มข้นของเชื้อโรคจะน้อยลง
ดร.ธรรมณิษฐ์พล กล่าวว่า “ถ้าเป็น Aerosol (ละอองลอย) เราจะรู้ได้ยังไงว่าคนก่อนหน้าเราเขาหายใจ ไอ จามอย่างไร ละอองขนาดไหน เรามีโอกาสที่จะติด (เชื้อโควิด-19) ได้”
ดร.ธรรมณิษฐ์พล ยังกล่าวถึงการเลือกใช้หน้ากากชนิดต่างๆ ด้วยว่า หน้ากากกรองอากาศ (Respirators) เช่น N95 KN95 KF94 FFP2 จะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการแพร่เชื้อและรับเชื้อโควิดในห้องน้ำและสถานที่สาธารณะ ในขณะที่หน้ากากอนามัยมีประสิทธิภาพรองลงมาแต่ต้องพยายามใส่ให้มิดชิดที่สุด ส่วนหน้ากากผ้าซึ่งมีหลากหลายอาจมีประสิทธิภาพแตกต่างกันไป และหน้ากากผ้าธรรมดาบางชนิดอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะกรองละอองไวรัส
“การไม่ใส่ (หน้ากาก) เลย โอกาสติดเชื้อคือมี 1,000 คนก็ติด 1,000 คน คือเสี่ยงมากๆ เลย แต่หากใส่หน้ากากตระกูล N95 และใส่อย่างถูกวิธี โอกาสติดอาจเป็น 1 ใน 100,000 คน” ดร.ธรรมณิษฐ์พล กล่าว
ดร.มนต์ชัย พุ่มแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี กล่าวว่า ไม่แนะนำให้ถอดหน้ากากในห้องน้ำสาธารณะ หากมีความจำเป็น เช่น ต้องการล้างหน้า ให้กลั้นหายใจขณะล้างหน้า และรีบใส่หน้ากากกลับเข้าไปโดยเร็วที่สุด
ผศ.ดร.เอกบดินทร์ วินิจกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ผู้ร่วมเสวนา กล่าวว่า จากงานวิจัยดังกล่าวทำให้แน่ใจได้ว่าห้องน้ำสาธารณะเป็นสถานที่ที่มีการสะสมของเชื้อโรค ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา และควรใช้เวลาในห้องน้ำให้น้อยที่สุด
ส่วนนายธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมบริษัทเอกชนหลายแห่ง เจ้าของเพจ “เรื่อง Airborne มองจากมุมวิศวกร” กล่าวว่า สถานการณ์ที่คนจะเผลอและมีความเสี่ยงมากคือระหว่างการรับประทานอาหารร่วมกัน เพราะเป็นช่วงที่แต่ละคนถอดหน้ากาก จึงแนะนำให้รับประทานอาหารในพื้นที่เปิดที่มีการระบายอากาศได้ดี และให้นั่งรับประทานห่างๆ กัน
นายธนะศักดิ์ กล่าวว่า คนไทยไม่ควรรีบยกเลิกการใส่หน้ากากในที่สาธารณะตามอย่างคนในประเทศอื่น “ถ้าทุกอย่างมีแต่ข่าวลบไปหมด ชีวิตมันก็เครียด ผมเข้าใจ แต่ในความเป็นจริง เราหย่อนได้ระดับหนึ่งครับ แต่ยังต้องควบคุมอยู่ ถ้าเราไม่ควบคุมเลยมันก็จะกลับมาเป็นแผลร้ายเหมือนตอนนี้ที่เรากำลังจะเข้าสงกรานต์ในสถานการณ์คนติดเชื้อวันละ 50,000 ตายวันละร้อยกว่าคน ก็จะเจอภาพนี้ซ้ำๆ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราเจอ 2 ปีที่ผ่านมาเราผิดหวังหลายรอบแล้วนะครับ” นายธนะศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้ การเสวนาดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ผลการวิจัยของ ดร.ธรรมณิษฐ์พล เด่นเพชรกุล ดร.มนต์ชัย พุ่มแก้ว นางสาวอรนุช สิทธิพันธ์ศักดา รศ.ดร.พรสวรรค์ เหลืองวุฒิวงษ์ ศ.เกียรติคุณ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข และ ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน ในหัวข้อ Effects of face masks and ventilation on the risk of SARS-CoV-2 respiratory transmission in public toilets: a quantitative microbial risk assessment ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Water and Health Vol 20 No 2 หน้า 300-331
งานวิจัยดังกล่าวได้วิเคราะห์ความเสี่ยงในการติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ กรณีที่มีผู้ติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อได้มาเข้าห้องน้ำ แล้วมีคนที่อาจเป็นผู้รับเชื้อมาใช้ห้องน้ำต่อ พบว่า หากผู้ที่มีเชื้อแค่หายใจเฉยๆ ความเสี่ยงที่ผู้ที่เข้าห้องน้ำต่อจะได้รับเชื้อมีมากถึง 10% แต่หากผู้ที่มีเชื้อไอหรือจามเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น ความเสี่ยงในการติดเชื้อก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 100 % แต่หากทั้งสองฝ่ายสวมใส่หน้ากากตระกูล N95 หรือหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ความเสี่ยงจะลดลงเหลือเกือบ 0.01 %
คณะผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมได้ใช้วิธีประเมินความเสี่ยงจุลินทรีย์เชิงปริมาณ (Quantitative microbial risk assessment หรือ QMRA) โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ และลักษณะสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์ที่เราจะเจอในประเทศไทยให้มากที่สุด เช่น คำนวณปริมาณความเข้มข้นของไวรัสโดยอ้างอิงจากผล RT-PCR ที่ได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 251 ตัวอย่าง คำนวณสำหรับโมเดลห้องสุขาสาธารณะขนาดตามมาตรฐานของประเทศไทยซึ่งมีขนาดความยาว 1.5 เมตร x กว้าง 0.8 เมตร x สูง 2.7 เมตร (ปริมาตร 3.24 ลูกบาศก์เมตร) และคำนวณในระดับการระบายหมุนเวียนอากาศที่แตกต่างกันหลายๆ ระดับ
นอกจากนี้ ยังเปรียบเทียบผลของการทิ้งระยะรอคอยและเปรียบเทียบผลของการใส่หน้ากากกรองอากาศตระกูล N95 หน้ากากอนามัย และหน้ากากผ้าในการป้องกันการแพร่หรือรับเชื้อด้วย
จากผลการวิจัย ได้ข้อสรุปว่า ช่วงระยะเวลารอคอยนานอย่างน้อย 10 นาทีทำให้มีความเสี่ยงลดลง นอกเหนือจากการสวมใส่หน้ากากในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศอยู่ที่ 12 หน่วยต่อชั่วโมง แต่โดยรวมแล้วการสวมหน้ากากชนิด N95 และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นการลดความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ใช้ห้องน้ำสาธารณะ ส่วนการสวมหน้ากากผ้าธรรมดานั้นยังให้การปกป้องที่ไม่เพียงพอ
ทางคณะผู้วิจัยระบุด้วยว่า การสวมหน้ากากควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นการปฏิบัติปกติประจำเมื่อเข้าสู่พื้นที่บริเวณสาธารณะภายในอาคาร นอกจากนี้ การสวมหน้ากากที่กระชับใบหน้ามากขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการลดความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เพราะว่าสามารถลดการรั่วซึมบริเวณขอบหน้ากากได้
ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/999330?anf=
“อาการลองโควิด” คืออาการเจ็บป่วยของคนที่หายจากโควิดแล้ว แต่ยังเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ ตัวช่วยนอกจากยารักษาแล้ว “อาหารต้านลองโควิด” จาก "อาหารเมดิเตอร์เรเนียน" ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้
อาการลองโควิด (Long COVID หรือ Post Covid-19) คือภาวะของคนที่หายจากโควิดแล้ว แต่ยังเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่ จากเชื้อไวรัสซึ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร เซลล์ประสาท ถุงลมปอด ไต ฯลฯ
แต่ละคนมีอาการและความรุนแรงไม่เหมือนกัน และไม่ใช่ว่าจะเป็นทุกราย สมาคมควบคุมอาหารแห่งอังกฤษ แนะนำ อาหารเมดิเตอร์เนียน ให้เป็น อาหารต้านลองโควิด
กินอาหารสุขภาพช่วยต้านลองโควิด (Credit: nomadparadise.com)
ข้อมูลจาก โรงพยาบาลรามคำแหง ระบุว่า ผู้ป่วยโควิดหลายรายรักษาหายแล้ว กลับไปใช้ชีวิตปกติเหมือนเดิมได้ แต่บางคนมี อาการลองโควิด รุนแรงจนไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนเดิม
อาการลองโควิด มีโอกาสเกิดขึ้น 30-50% ระยะเวลาและความรุนแรงที่เป็นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน
โดย 10 อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ เหนื่อยล้า หายใจไม่อิ่ม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว ไอเรื้อรัง เจ็บข้อต่อ เจ็บหน้าอก การรับรู้รสและกลิ่นเปลี่ยนไป อาการท้องร่วง ท้องเสีย ท้องอืด นอนไม่หลับ สมองล้า (Brain fog) มีผื่นคัน จนถึงเกิดสภาวะวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า
ผักผลไม้สดต้านอาการลองโควิด (Credit: JerzyGorecki)
การตรวจเช็คแต่เนิ่น ๆ เพื่อหาความผิดปกติเพื่อรักษาจะช่วยให้ระยะเวลาที่เกิด ลองโควิด สั้นลง และสามารถฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาปกติได้เร็วขึ้น โดยแพทย์จะรักษาตามกลุ่มอาการ ให้ยารักษา และฟื้นฟูสภาพร่างกาย
อาหารเช้าขนมปังโฮลวีท (Credit: everydayhealthyrecipes.com)
ข้อมูลจาก รพ.พระราม 9 แนะนำว่า ช่วงหายจากโควิดควรพักฟื้นรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เน้นดูแลร่างกายเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจากการอักเสบ
ที่สำคัญการ กินอาหาร ที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายในทุก ๆ มื้อจะช่วยให้อาการลองโควิดหายเร็วยิ่งขึ้น โดย อาหารต้านลองโควิด ได้แก่ อาหารเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีสารอาหารสำคัญช่วยฟื้นฟูร่างกาย อาทิ
(Credit: stroke.org)
โปรตีน ช่วยในการซ่อม สร้าง และเสริมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โปรตีนเช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วฝักอ่อน ไข่และนม
พาสต้าโฮลวีท (Credit: jamiegeller.comdd)
แป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพื่อลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลที่เร็วเกินไป (น้ำตาลมีส่วนเพิ่มโอกาสการอับเสบ)
ผักผลไม้หลากสี เพื่อให้ได้สารพฤกษเคมีและเส้นใยอาหาร
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม โดยอยู่ในคำแนะนำของแพทย์ อาจเริ่มด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ เคลื่อนไหวช้า ๆ ก่อน (แม้ก่อนป่วยจะสามารถวิ่งหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ได้)
สลัดควินัวกับถั่วชิคพี (Credit: eatingwell101.com)
สมาคมควบคุมอาหารแห่งอังกฤษ (British Dietetic Association –d BDA) และ NHS Eatwell Guide รายงานว่าอาหารต้านลองโควิด จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเหมือนเดิมโดยเร็ว ได้แก่ อาหารที่มีแร่ธาตุ วิตามิน โปรตีน ไฟเบอร์ ช่วยซ่อมเซลล์ในร่างกาย และเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น
อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Credit: bda.uk.com)
แนะนำ อาหารเมดิเตอร์เรเนียน ในรูป พีรามิดแนวตั้ง โดยฐานล่างสุดคือ ผักและผลไม้ ให้กิน 5 ส่วนต่อวัน เป็นฐานล่างที่ใหญ่ที่สุด หมายถึงควรกินให้มากที่สุด
ถัดขึ้นไปเป็นกลุ่ม คาร์โบไฮเดรต ที่ให้พลังงาน ควรเลือกข้าวและแป้งไม่ขัดสี มันฝรั่ง ถั่ว และธัญพืชโฮลเกรน เพราะมีไฟเบอร์ วิตามิน และมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
กินปลาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ถัดขึ้นไปเป็น ปลาและอาหารทะเล กินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ปริมาณตามขั้นพีรามิด) ต่อด้วย โปรตีน จากเนื้อสัตว์ปีก ไข่ นม ชีส โยเกิร์ต ชั้นบนสุดคือเนื้อแดง และของหวาน กินน้อยที่สุด
ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ น้ำผลไม้ดื่มได้ไม่เกินวันละ 150 มล. เพราะผลไม้ไทยรสหวานน้ำตาลสูง และเลี่ยงอาหารผ่านกระบวนเยอะ ๆ เช่น ไส้กรอก เบคอน เบอร์เกอร์ ขนมขบเคี้ยว
(Credit: goodtoknow.com)
อาการลองโควิด ทำให้การรับรู้รสและกลิ่นไม่เหมือนเดิม ทางแก้คือ ปรุงอาหารรสเข้มขึ้นด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร ใส่พริกไทยแทนเกลือและน้ำตาล เพื่อสร้างรสชาติให้หนักขึ้น หรือช่วยด้วยกลิ่นของผลไม้ เช่น บีบมะนาวหรือใส่น้ำส้ม (สด) ช่วยชูรสได้
ผักผลไม้รักษาอาการลองโควิด (Credit: privategpextra.com)
หรือถ้าเบื่ออาหาร กินได้ไม่เยอะ อาจจัดอาหารว่าง อาหารทานเล่น (ที่มีประโยชน์) คั่นก่อนถึงมื้อใหญ่ หรือจัดปริมาณอาหารในจานลดลง ทำจานเล็ก ๆ ให้รู้สึกว่ากินหมด และกินให้บ่อยขึ้นอาจเป็นวันละ 4-5 มื้อ
ฟื้นฟูระบบทางเดินอาหาร ผลกระทบจากอาการลองโควิด อาจทำให้ระบบย่อยมีปัญหา ช่วยได้ด้วยผักผลไม้หลากสี ถั่ว ธัญพืช และอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ ผักดอง เพื่อช่วยสร้างจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ แก้ไขอาการเกี่ยวกับลำไส้และการย่อยอาหาร
หอมแดง หอมใหญ่ มีเควอซิทิน (Credit: )
ไม่ควรกินอาหารเสริมมากเกินไป บางคนมีความเชื่อว่า วิตามินแก้ลองโควิดได้ เช่น วิตามินซี, ดี, ไนอะซินหรือบี 3, เควอซิทิน (Quercetin) ที่มีมากในหัวหอม หอมแดง พืชตระกูลเบอร์รี่ และสังกะสี กินจากอาหารดีกว่า
อาหารเสริมกินได้แต่ไม่ควรกินมากเกินไปอาจเกิดผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน หรือช่วยได้ด้วยวิตามินรวม ทางที่ดีรับวิตามินจากอาหารดีที่สุด
กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว (Credit: cookieandkate.com)
อาหารไทยคล้ายอาหารเมดิเตอร์เรเนียน : อาหารไทยประกอบด้วยพืชผัก นิยมใช้สมุนไพรสด และมีวัตถุดิบสดใหม่ตามธรรมชาติเหมือนกับอาหารเมดิเตอร์เรเนียน
เพียงแค่เปลี่ยนจากข้าวขาวเป็นข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสี กินตามฤดูกาล กินผัก-ปลาเป็นหลัก กินผลไม้ที่ไม่หวานมากแทนอาหารว่างและของหวาน ลดอาหารแปรรูป เลี่ยงการปรุงรสเค็มจัดหวานจัด
อาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Credit: Carolyn A.Hodges, R.D.)
ไม่เข้มงวดกับตัวเองมากเกินไป อาการลองโควิด อาจต้องใช้เวลาค่อย ๆ ฟื้นฟู เมื่อร่างกายเจ็บป่วยจะกินอาหารยาก กินอะไรก็ไม่อร่อย ควรให้โอกาสตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป และไม่เครียด
ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1006035?anf=
.
ข้อความยาวแต่ควรอ่านอันตราย ! ฝาครอบแก้วชาไข่มุก ... หยุดลมหายใจ
.
> ปุ๊ !
. เสียงหลอดกาแฟอันโตกระแทกเจาะฝาครอบแก้วชาไข่มุก
> เศษฝาพลาสติกแผ่นกลมขนาดเท่าปลายหลอดตกลงสู่ก้นแก้ว
> ฉันดูดเครื่องดื่มสุดโปรดอย่างหิวกระหายและ
> กระดกแก้วกินน้ำแข็งจนเกลี้ยงตามความเคยชิน
> เมื่อจะทิ้งแก้วลงถังขยะ
> ฉันแปลกใจเล็กน้อยที่ไม่เห็นเศษฝาพลาสติกอยู่ในแก้วเหมือนทุกคราว
> แต่ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก
> สักพัก รู้สึกเหมือนมีบางสิ่งลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ติดอยู่ในคอ
> แม้จะพยายามล้วงและดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้อาเจียน
> แต่สิ่งนั้นก็ไม่ยอมหลุดออกมา
> ฉันรู้สึกได้ถึงลมหายใจที่เริ่มติดขัด
> อาจารย์และเพื่อน ๆ จึงรีบพาส่งโรงพยาบาล
> เมื่อไปถึงโรงพยาบาล
> หลังจากรอหมออยู่เกือบสองชั่วโมง หมอก็ให้ลองกลืนน้ำดู
> ปรากฎว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่จริง
> ตามด้วยการเอกซเรย์ ซึ่งสูญเปล่า เพราะไม่เห็นสิ่งแปลกปลอมนั้นเลย
> จึงตัดสินใจให้วางยาสลบเพื่อส่องกล้องตรวจหาต้นเหตุ
> ระหว่างนั้นฉันยังรู้สึกตัวดีอยู่ทุกอย่าง
> จนกระทั่งหลังวางยาสลบ
> ท่อส่องทางเดินอาหารขนาดใหญ่ประมาณท่อประปาขนาดเล็ก
> สอดจากปากผ่านลงไปตามทางเดินอาหาร
> แต่ไม่รู้ด้วยโชคร้ายของฉัน
> หรือด้วยความประมาทเลินเล่อของใคร
> แทนที่เจ้าท่อนี้จะเป็นอุปกรณ์ในการตรวจเพื่อช่วยชีวิตฉัน
> หลังการตรวจ
> มันกลับทำให้ฉันรู้สึกปวดแน่นหน้าอกและหลังอย่างสุดจะบรรยาย
> เมื่อฟื้นจากยาสลบ แม่บอกว่าฉันปากซีด ตัวเขียว และไข้ขึ้น
> ผิดกับเมื่อตอนก่อนส่องกล้องราวกับคนละคน
> จนแม่ใจหาย รีบตามหมอกลางดึก
> การกลืนแป้งเพื่อเอกซเรย์เริ่มขึ้น
> ผลปรากฎว่า หลอดอาหารทะลุ ต้องผ่าตัดด่วน
> แต่แม่ไม่มีเงิน อย่าว่าแต่ค่าผ่าตัดที่สูงลิบลิ่วของโรงพยาบาลเอกชนเลย
> แม้แต่ค่าตรวจทั้งหลายก่อนหน้านี้
> ที่เกินวงเงินการประกันอุบัติเหตุของนักศึกษา เพียงไม่กี่พันบาท
> แม่ก็ไม่มี ทางโรงพยาบาลจึงขอยึดบัตรประชาชนของแม่ไว้
> เพื่อเป็นหลักประกันให้แม่หาเงินส่วนเกินมาชำระในภายหลัง
> หมอที่ส่องกล้องแนะนำให้ย้ายฉันไปโรงพยาบาลรัฐบาลที่เขาประจำอยู่
> แต่แม้จะเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลก็ต้องคุยกันเรื่องค่าใช้จ่ายเช่นกัน
> แม่จึงวิ่งวุ่นติดต่อเรื่องใช้สวัสดิการบัตรประกันสุขภาพ 30 บาท
> กว่าจะเสร็จเรียบร้อยก็เกือบเที่ยง
> นั่นแหละฉันจึงได้รับการผ่าตัด
>
> การผ่าตัดใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมง
> เพราะรอยทะลุที่หลอดอาหารอยู่ใกล้ปอด
> น้ำย่อยจะไหลเข้าไปในปอดซึ่งอันตรายมาก
> หมอต้องผ่าตัดเปิดซี่โครงจากราวนมด้านซ้ายไปจนถึงสันหลังอีกข้าง
> แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่สามารถซ่อมแผลได้หมด
> เพราะแผลในทางเดินอาหารเป็นทางยาว
> จากต้นคอถึงกระเพาะ ยาวถึง 30 เซนติเมตร
> สามวันหลังผ่าตัด ฉันลืมตาขึ้นมาพร้อมสายระโยงระยางเต็มตัว
> สายจากจมูกทั้งสองข้างเพื่อเอาน้ำย่อยในกระเพาะออกมา
> สายที่ไว้ดูด น้ำมูก น้ำลาย สายที่ต่อจากบริเวณซี่โครงที่ผ่าตัดเพื่อเอาเลือดจากแผลออกมา
> สายให้เลือด สายน้ำเกลือ
> สิบเอ็ดวันที่อยู่โรงพยาบาลเต็มไปด้วยความเจ็บปวด
> กินอาหารไม่ได้อยู่เป็นอาทิตย์
> ยิ่งเวลานอนจะรู้สึกทรมาน
> เพราะเจ็บที่บริเวณแผลผ่าตัดเป็นที่สุด
> หมอที่ส่องกล้อง ซึ่งช่วยหาหมอผ่าตัดให้
> มาสารภาพในภายหลัง ว่า...
> แผลในทางเดินอาหารที่ยาวเหยียด
> เกิดจากการส่องกล้องไปดันเอาเศษแผ่นพลาสติก
> ซึ่งติดอยู่ที่ระหว่างหลอดลมและหลอดอาหารให้ครูดบาดไปตลอดทางเดินอาหาร
> แต่อย่างไรเขาก็ติดต่อหาหมอผ่าตัดที่เชี่ยวชาญให้
> เ และเป็นความผิดพลาดที่เขาเองก็ไม่ได้ตั้งใจ
> เพราะมองไม่เห็นแผ่นพลาสติกแก้วที่ติดอยู่ที่หลอดลม/ หลอดอาหาร
> กรุณาช่วยส่งต่อเพื่อนๆ พี่ๆ
> เพื่อเตือนภัยคนที่เรารักและเป็นห่วงนะคะ
กินชาไข่มุก แก้วต่อไป ระวังนะคะ
> แผ่นพลาสติกที่เจาะทะลุจากตัวแก้ว...
> อันตรายถึงชีวิตได้
> บอกลูกหลานด้วย
> โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ชอบซื้อเครื่องดื่มทานเองค่ะ
> ฝาครอบแก้วที่ต้องเจาะรู... ผู้ปกครองควรช่วยดูแล
** สายพันธุ์ใหม่ของเวียตนาม **
---> โจมตีเร็วมาก
1 วันติดคนใน รพ. 11 คนรวด บุคลากรทางการแพทย์โดนในวันแรกติดเชื้อ 4 คนรวด (ติดได้แม้ใส่มาส์ก ?)
1 สัปดาห์กระจายไป 6 เมือง ติด 3 ทอด 230 คน
เป็นแบบ Superspreaders พบเป็น Clusters (เข้าเฟส 3 ในสัปดาห์เดียว)
---> ดูรุนแรงกว่าตัวแรกชัดเจน
ทำให้อาการแย่ลงไวกว่า
คนไข้ชุดแรก 1 สัปดาก์ก็ว่าเสียชีวิตรวดเดียว 8 คน
ฝากคนไทยช่วยกันประชาสัมพันธ์
ฝากทีมแพทย์อ่าน เริ่มวางแผนรองรับในกรณีเจอสายพันธุ์ใหม่มาแบบไม่ตั้งตัว และประชาสัมพันธ์ให้ ปชข ทั้งประเทศไทยทราบล่วงหน้าด้วยครับ
ถ้าสายพันธุ์ใหม่เข้าไทยได้ อาจจะกระจายแบบน้องๆ สหรัฐ ยุโรป บราซิล อินเดีย หรือเอาแค่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ก็แสนกว่าคน กก็ไม่ต้องแปลกใจ ...
ภาวนาให้เวียตนามทุ่มสุดตัวเอาอยู่สำหรับตัวใหม่ ที่แพร่อาจไวกว่าเดิมได้ถึง 6 เท่าตัว
ฝาก "คนไทยครึ่งประเทศที่ยังยกการ์ดสูงอยู่" ช่วยกันเตือน "ศบค ให้ยกการ์ดสูง ๆ" และฝาก ศบค บอก "คนไทยอีกครึ่งประเทศที่แอบประมาทฝันกวานกับ 0 ต่อเนื่อง" ให้รู้ตัวว่า
เชื้อตัวใหม่จะเข้ามาเมื่อไหร่ก็ได้ หรือเข้ามากับทหารอียิปต์แล้วก็ไม่รู้
ยกการ์ดสูงกันด้วย!
...........
วิเคราะห์เวียตนามโดนโจมตี เวอร์ชั่นแรก + วิเคราะห์อาเซียนโดยรวม
https://www.facebook.com/100912971593787/posts/176127364072347
วิเคราะห์เวียตนามโดนโจมตี (ฉบับย่อ Timeline 14 วัน) อันตรายของสายพันธุ์ใหม่ และแนวทางการรับมือ ตามอ่านได้ที่โพสต์นี้ครับ
https://www.facebook.com/100912971593787/posts/176211877397229/
.
*#อ่านแล้ว_ค่อยหายเครียดลงหน่อย *
แพทย์หญิง Bonnie Henry เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำจังหวัดบริติชโคลัมเบีย แคนาดา
ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกในตำแหน่งนี้
เธอยังเป็นรองศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เธอมีพื้นฐานด้านระบาดวิทยาและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกันเธอยังมาจาก PEI (เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ด)
ภูมิปัญญาของ ดร. บอนนี่ เฮนรี่
1. เราอาจต้องอยู่กับ COVID-19 เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี อย่าปฏิเสธหรือตื่นตระหนก อย่าทำให้ชีวิตของเราไร้ประโยชน์ มาเรียนรู้ที่จะอยู่กับข้อเท็จจริงนี้กันเถอะ
2. คุณไม่สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ที่เจาะผนังเซลล์ได้ โดยการดื่มน้ำร้อนมากๆ อีกทั้งจะทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นด้วย
3. การล้างมือและ รักษาระยะ -ห่-า-ง ทางกายภาพ——สองเมตร เป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการป้องกันของคุณ
4. หากคุณไม่มีผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้าน ก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อพื้นผิว ที่บ้านของคุณ
5. ตู้สินค้า ปั๊มน้ำมัน รถเข็น และตู้เอทีเอ็ม ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หากมีการล้างมือบ่อยจากใช้ชีวิตตามปกติ
6. โควิด -19 ไม่มีความเสี่ยง ที่แสดงให้เห็นว่า COVID-19 ติดต่อทางอาหารได้
7. คุณสามารถสูญเสียความรู้สึก ในการดมกลิ่น ด้วยอาการแพ้ และการติดเชื้อไวรัสจำนวนมาก นี่เป็นเพียงอาการไม่เฉพาะเจาะจงของ COVID-19
8. เมื่ออยู่บ้าน คุณไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนเสื้อผ้าอย่างเร่งด่วนแล้วไปอาบน้ำ ไม่ควรถึงกับหวาดระแวง
9. ไวรัส COVID-19 ไม่ค้างอยู่ ในอากาศเป็นเวลานาน นี่คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด
10. อากาศสะอาด คุณสามารถเดินผ่านสวนและผ่านสวนสาธารณะ (เพียงแค่รักษาระยะป้องกันทางกายภาพของคุณ)
11. ควรใช้สบู่ธรรมดาเพื่อป้องกันไวรัสโควิด -19 ไม่ใช่สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะนี่คือไวรัส ไม่ใช่ แบคทีเรีย
12. คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับ การสั่งอาหารของคุณ แต่คุณสามารถอุ่นทั้งหมด ในไมโครเวฟได้หากต้องการ
13. โอกาสที่จะนำ COVID-19 กลับบ้านพร้อมกับรองเท้า ก็เหมือนกับการถูกฟ้าผ่า 2 ครั้งในหนึ่งวัน ฉันทำงานกับไวรัสมา 20 ปี การติดเชื้อไม่แพร่กระจายแบบนั้น
14. คุณไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ ด้วยน้ำส้มสายชู น้ำอ้อย และขิง! #สิ่งเหล่านี้มีไว้เพื่อภูมิคุ้มกัน #ไม่ใช่การรักษา
15. การสวมหน้ากากอนามัย เป็นเวลานาน อาจจะรบกวน การหายใจและระดับออกซิเจนของคุณลดลง จงสวมใส่ในฝูงชนเท่านั้น
16. การสวมถุงมือ ก็เป็นความคิดที่ไม่ดีเช่นกัน ไวรัสสามารถสะสมเข้าไปในถุงมือ และแพร่เชื้อได้ง่าย หากคุณสัมผัสใบหน้า ดังนั้นจึงควรล้างมือเป็นประจำจะดีกว่า #ภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง #เมื่อร่างกายอยู่ในสภาพแวดล้อม #ที่ปลอดเชื้อ แม้ว่าคุณจะกินอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน แต่ควรจะออกจากบ้าน ไป สวนสาธารณะ / ชายหาด เป็นประจำ #ภูมิคุ้มกันจะเพิ่มขึ้นตามการสัมผัส ไม่ใช่โดยการนั่งอยู่บ้านและ บริโภคอาหารทอด / เผ็ด / หวาน และเครื่องดื่มเติมอากาศ
จงฉลาดใช้ชีวิต
รับทราบข้อมูล อย่างมีเหตุผล
อย่าวิตก จนเกินไป
ชีวิตจะปลอดภัย
หลังแชร์ข้อมูลนี้ ให้เพื่อนที่
แวนคูเวอร์ แคนาดา
📲 เพื่อนตอบมาว่า
@Piangporn
ดีใจมากว่าชื่อเสียงคุณหมอหญิง Bonnie Henry ไปถึงเมืองไทยแล้ว คุณหมอท่านน่ารักมากค่ะ คนที่นี่ (แคนาดา) ก็ประทับใจการอุทิศตัว ทำงานหนัก(มาก) เลยมีแฟนคลับ มากมาย ฮับ (เพื่อนที่แคนาดา) ชอบฟังเวลาคุณหมอออกมาแถลงข่าว รายงานสถานการณ์หวัดโควิด พูดเป็นระบบ อิงข้อมูลวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญแสดงความเอื้ออาทร ผู้ป่วยและญาติ เจ้าหน้าที่ หมอ พยาบาล ฯลฯ แบบเสมอต้น เสมอปลาย เป็นตัวอย่างของ การแพทย์ที่มีความเป็นมนุษย์ อย่างแท้จริง
ทุกครั้งก่อนจบแถลงข่าว
คุณหมอจะมีสามคำหลัก
เตือนใจประชาชน จนท่องกันได้ คือ
BE KIND,
BE CALM,
BE SAVE.
หน้าที่ 42 จาก 147