หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เตือนไทยระวังโควิดกลายพันธุ์จากประเทศอินเดีย เข้ามาใกล้ไทยแล้ว เผยพบวัคซีนไฟเซอร์ก็อาจเอาไม่อยู่ หลังคนอิสราเอลฉีดครบ 2 เข็ม แต่ก็ยังติดโควิดได้

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. เพจ “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” หรือ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ระบุข้อความว่า “อย่างที่เคยคุยกันครับ ไตรมาส 3/4 อาจต้องฉีดใหม่อิสราเอล ฉีด Pfizer ไปทั้งประเทศแล้ว ยังเจอติดสายพันธุ์ อินเดีย Cr ข่าว รวบรวมและเขียนจาก อ เฉลิมชัยทั้งหมดครับ น่ากังวล !! อิสราเอลพบผู้ฉีดวัคซีน Pfizer ยังติดโควิดสายพันธุ์อินเดียได้รวดเดียว 4 ราย จากการที่ประเทศอิสราเอล เป็นประเทศอันดับหนึ่งของโลก ในการที่สามารถจัดหาวัคซีนและเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน

ซึ่งมีจำนวนพลเมืองทั้งสิ้น 9.19 ล้านคนได้สำเร็จจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ กล่าวคือ สามารถฉีดวัคซีนให้กับ คนอิสราเอลครบสองเข็มได้ 5.41 ล้านคน คิดเป็น 58.7 เปอร์เซ็นต์ และฉีดวัคซีน รวมนับคนที่ได้เข็มเดียวด้วย ได้มากถึง 62.4% ทำให้สถานการณ์ของประเทศอิสราเอล ซึ่งใช้วิธีผ่อนหนักผ่อนเบามาโดยตลอด เพื่อหล่อเลี้ยงให้ระบบเศรษฐกิจเดินหน้าไปได้แลกกับการที่ระบบสาธารณสุขต้องรองรับผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จนประเทศอิสราเอลมีผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับที่ 29 ของโลก คือ ติดเชื้อ 838,407 คน คิดเป็นเกือบร้อยละ 10 ของจำนวนพลเมือง และมีผู้เสียชีวิตมากถึง 6362 คน

เมื่อมีวัคซีนเกิดขึ้น ทางการอิสราเอลจึงต้องจัดซื้อจัดหาโดยเร่งด่วน โดยยอมรับเงื่อนไขสองประการ คือ
1) จัดซื้อด้วยราคาที่สูงกว่าราคาตลาดค่อนข้างมาก
2) ต้องยอมรับเงื่อนไขของบริษัทไฟเซอร์ ในการทำการวิจัยทดลองขนาดใหญ่กับคนอิสราเอล อันหมายรวมถึงการทดลองฉีดในเด็กอายุห้าขวบขึ้นไปด้วยลังจากที่ทางการอิสราเอลสบายใจมาได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จากการเร่งระดมฉีดวัคซีนจำนวนมาก ถึงขั้นมีการประกาศให้ผู้ที่อยู่นอกบ้าน สามารถถอดหน้ากากได้นั้นดูเหมือนความดีใจจะอยู่ได้ไม่นานแล้ว เพราะเมื่อวานนี้ (29 เมษายน 2564) กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลได้รายงานการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) จำนวน 41 รายเป็นคนต่างชาติ 21 ราย

คนอิสราเอลที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ 3 ราย ในจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดมีเด็กมากถึง 5 ราย แต่ที่สร้างความวิตกกังวลให้กับรัฐบาลอิสราเอลมาก ก็คือ ในรายที่ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดียดังกล่าว มีอยู่ถึง 4 รายด้วยกัน ที่ได้ฉีดวัคซีนของไฟเซอร์แล้ว ประเด็นดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะทางการอิสราเอลคาดหวังว่า เมื่อฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ครบสองเข็ม จนได้ภูมิต้านทานหมู่แล้ว น่าจะสามารถดำเนินการทุกอย่างได้ดีตามปกติ ทั้งการทำมาหากิน การผ่อนคลายวิถีชีวิต และการท่องเที่ยว การนำเข้าส่งออก แต่แล้วก็มาพบไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดีย ซึ่งถ้าทำให้ติดเชื้อเฉพาะคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ยังพอทำเนา แต่ถ้าสามารถฝ่าด่านคนที่ฉีดวัคซีนมาแล้ว ทำให้ติดเชื้อได้ ก็ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว
การแถลงดังกล่าวเกิดขึ้น ในวันเดียวกับที่ผู้บริหารของบริษัทไบโอเอ็นเทค (BioNTech) ซึ่งร่วมกับบริษัท ไฟเซอร์ (PfizerBioNTech) กล่าวถึงความมั่นใจว่า วัคซีนของไฟเซอร์จะสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อินเดียได้ เพียงแต่ขอรอดูข้อมูลเพิ่มเติมก่อน แต่ในวันนี้ (30 เมษายน 2564) ห่างกันไม่ถึง 24 ชั่วโมง ทางการอิสราเอลก็รายงานว่า วัคซีนที่ฉีดให้สี่คนนั้น ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดียไปแล้ว และยังมีข่าวเพิ่มเติมอีกว่าทางการเวียดนาม ก็ตรวจพบผู้ติดไวรัสสายพันธุ์อินเดียอีกด้วย นั่นหมายความว่า ประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือ อินเดีย นับเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตก มีบังกลาเทศและเมียนมากั้นอยู่ กับประเทศเวียดนามทางด้านตะวันออก ซึ่งมีลาวและเขมรกั้นอยู่ ได้พบไวรัสสายพันธุ์อินเดียเรียบร้อยแล้ว ไทยจึงจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะถึงแม้เราเร่งฉีดวัคซีนจนครบในสิ้นปีนี้ได้ แต่ถ้ามีไวรัสกลายพันธุ์ที่วัคซีนเอาไม่อยู่ ก็จะเป็นปัญหาต่อไป”
 
 

นพ.ยง ภู่วรวรรณ

 
ศ.นพ.ยง ชี้ การฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ยังไม่สามารถทำได้ ในประเทศที่ฉีดวัคซีนในอัตราสูงเช่น สหรัฐฯ อิสราเอล ก็ยังมีการระบาด ทางออก ทุกคนจะต้องได้รับวัคซีน หรือติดเชื้อให้มีภูมิพื้นฐาน เมื่อเป็นซ้ำก็จะไม่มีอาการหรืออาการน้อยลง และโรคนี่ก็จะอยู่กับเราตลอดไป จึงต้องหาวัคซีนมาฉีดให้ครบทุกคน

วันนี้ (4 ก.ย.) นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยระบุว่า เมื่อเกิดโรคติดต่อ เราจะได้ยินคำว่าภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อลดการระบาดของโรคและยุติการระบาด

ภูมิคุ้มกันหมู่ จะได้ผลในการป้องกันการระบาด ภูมิคุ้มกันนั้นจะต้องป้องกันการติดโรคได้ และเมื่อมีภูมิคุ้มกันในกลุ่มประชากรมากจำนวนหนึ่ง ก็จะช่วยป้องกันคนที่ไม่มีภูมิไปด้วย เช่น โรคหัด โปลิโอ ประชากรส่วนใหญ่ใด้วัคซีนในการป้องกันโรค โรคก็จะเบาบาง และในที่สุดก็จะยุติการระบาด

เมื่อมาดู covid-19 จุดมุ่งหมายการให้วัคซีนในระยะแรก ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

แต่ในปัจจุบันเห็นได้ชัดแล้วว่า วัคซีนทุกชนิดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนจากประเทศตะวันตกหรือตะวันออก เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรค ลดอัตราการตาย และยังพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว กับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน เมื่อติดเชื้อปริมาณไวรัสที่อยู่ในตัว สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้

ดังนั้น วัคซีนที่ใช้ในขณะนี้ จึงไม่สามารถที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ เพราะถึงแม้มีภูมิคุ้มกัน ก็ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลงตลอดเวลา และขณะเดียวกันระยะฟักตัวของโรค covid-19 สั้นมาก จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดความรุนแรงของโรคได้

เมื่อไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในแต่ละคน ก็ไม่สามารถจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ในการลดการติดเชื้อในประชากรหมู่มากได้ จะเห็นได้ว่าทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอิสราเอล ที่มีการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก ก็ยังพบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน แต่ความรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดในระลอก ก่อนมีวัคซีนลดลง อัตราตายและอัตราการป่วยนอนโรงพยาบาลลดลง

 
ดังนั้น การฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ใน covid-19 จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ในขณะนี้ ทั้งที่แต่เดิมคิดว่าถ้าประชากรส่วนใหญ่ได้วัคซีนถึง 70% แล้วโรคจะทุเลาลง แต่ความเป็นจริง ประเทศที่ฉีดวัคซีนได้สูงแล้ว ก็ยังพบการระบาดของโรค

ทางออกของ covid-19 ทุกคนจะต้องได้รับวัคซีน หรือเคยติดเชื้อ และให้มีภูมิพื้นฐานอยู่ และเมื่อติดเชื้อ อาการของโรคก็จะน้อยลง หรือไม่มีอาการ แล้วจะกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้น และการติดเชื้อครั้งต่อๆไปอาการจะน้อยลงไปเรื่อยๆ จนไม่มีอาการ

การติดเชื้อครั้งแรกเมื่อยังไม่มีภูมิต้านทานเลย อาการจะรุนแรงได้ และเมื่อมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะจากวัคซีนหรือการติดเชื้อครั้งแรก การติดเชื้อครั้งต่อไปอาการก็จะน้อยลงและในที่สุดก็จะเป็นแบบไม่มีอาการ และโรคนี่ก็จะอยู่กับเรา โดยที่ติดเชื้อแล้วอาการไม่รุนแรง หรืออัตราการเสียชีวิตน้อยมาก อย่างเช่น โรคทางเดินหายใจทั่วไป
 

เป้าหมายการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ใน covid-19 ภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ป้องกันความรุนแรงของโรคได้ ภูมิคุ้มกันหมู่ที่ตั้งเป้าไว้จึงไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ ทุกคนจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจากการฉีดวัคซีน หรือติดโรค แล้วเมื่อเป็นซ้ำก็จะไม่มีอาการหรืออาการน้อยลง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ปริมาณการฉีดวัคซีนที่คาดไว้แต่เดิมในการลดการระบาดของโรค เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ หรือกล่าวว่าต่อไปนี้ทุกคนจะต้องสร้างภูมิขึ้นมาเพื่อลดความรุนแรงของโรคที่จะเกิดในกรณีที่เป็นซ้ำ และในอนาคตเด็กเล็กที่เกิดมา ยังไม่มีภูมิก็จะมีการติดโรคโดยธรรมชาติ ซึ่งโรคนี้ไม่รุนแรงสำหรับเด็ก และก็จะเกิดภูมิคุ้มกันขึ้นมาหลังจากการติดเชื้อในวัยเด็ก แบบโรคทางเดินหายใจทั่วไปที่เราพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่เคยติดเชื้อในวัยเด็กและมีภูมิอยู่แล้ว

โรคนี้จะอยู่กับเราตลอดไป จำนวนวัคซีนที่จะใช้จึงต้องใช้สำหรับประชากรทุกคนในประเทศไทยทุกคน ในการสร้างภูมิคุ้มกันพื้นฐาน เพื่อลดความรุนแรงของโรคในกรณีที่มีการติดเชื้อ หรือให้เป็นแบบไม่มีอาการ ในครั้งต่อไป
 
 

 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจ เรื่องสายพันธุ์ของโควิด-19 เริ่มต้นจากประเทศจีนเป็นสายพันธุ์ S และสายพันธุ์ L โดยสายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ง่ายนอกประเทศจีนสายพันธุ์ L เมื่อระบาดนอกประเทศ

โดยเฉพาะในยุโรป ได้ออกลูกหลาน เป็นสายพันธุ์ G และ V โดยสายพันธุ์ G มีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง 614 บนหนามแหลมที่ยื่นออกมา สายพันธุ์ G นี้แพร่กระจายได้ง่ายมาก ออกลูกหลานมาเป็น สายพันธุ์ GH และ GR ซึ่งพบว่าผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ G จะมีปริมาณเชื้อที่ลำคอค่อนข้างมาก จึงแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย ทำให้ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ขณะนี้สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกเป็นสายพันธุ์ G มากที่สุด หากสายพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมาตรวจพบ ใน state quarantine ของประเทศไทย จะเป็นสายพันธุ์ G ทางศูนย์ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสำนักงานควบคุมโรคเขตเมือง โดยเฉพาะที่อยู่ใน state quarantine เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน หากมีการระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องหาทางป้องกันการระบาดระลอก 2 อย่างเต็มที่.

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.one31.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.one31.net/news/detail/22845

 
หัวหน้าศูนย์ไวรัส รพ.จุฬาฯ เผยหลายชาติยืดเวลาให้วัคซีนเข็มที่ 2 ชี้ผลศึกษาพบคนอายุน้อยกว่า 60 รับ “แอสตร้าเซนเนก้า” เข็มแรก ภูมิต้านทานตอบสนองได้ดีกว่าผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ย้ำเป็นการปูพรมให้ประชากรหมู่มากได้รับวัคซีนในการป้องกันโรคได้เร็วที่สุด

วันนี้ (5 พ.ค.) นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” ระบุว่า โควิด 19 ในหลายประเทศ ยืดระยะเวลาในการให้ Vaccine เข็ม 2

ประเทศสเปน นอร์เวย์ และสวีเดน ให้วัคซีนเข็มแรกให้มากที่สุดและยืดระยะเวลาการให้เข็มที่ 2

วัคซีนในกลุ่มไวรัสเวกเตอร์ เช่น การศึกษาของเรา AstraZeneca การให้เข็มแรกเข็มเดียวกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี

ดังนั้น การยืดระยะเวลาเข็มที่ 2 ออกไป เพื่อต้องการให้ไป เพื่อต้องการให้ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนมากที่สุดในกรณีที่วัคซีนมีไม่เพียงพอ หรือกำลังการฉีด ให้มุ่งเน้นประชากรส่วนใหญ่ก่อน แล้วค่อยตามกระตุ้นในเข็มที่ 2 ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

จากการศึกษาที่ผ่านมาของเราพบว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ภูมิต้านทานตอบสนองได้ดีกว่าผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ปี ดังนั้นในกลุ่มประชากรที่มีอายุ ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี อาจใช้วิธีการให้เข็มเดียวไปก่อน และถ้ามีวัคซีนหรือพอ และมีความสามารถในการให้วัคซีนแล้วค่อยมากระตุ้น ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ก็จะเป็นการปูพรมให้ประชากรหมู่มากได้รับวัคซีนในการป้องกันโรคได้เร็วที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

พร้อมแฮชแท็ก #หมอยง
 
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
 
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
“หมอยง” เผย องค์การอนามัยโลก ออกคำแนะนำ ในการใช้วัคซีน “สูตรไขว้” ของไทย ที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย สลับกับ virus Vector หรือ mRNA เพื่อใช้เป็นแนวทาง ให้แต่ละประเทศปรับความเหมาะสมในการให้วัคซีน

วันนี้ (18 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ โควิด-19 วัคซีน องค์การอนามัยโลก ให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีน “สูตรไขว้” โดยระบุว่า

องค์การอนามัยโลก ได้ลงพิมพ์ Interim recommendations for heterologous COVID-19 vaccine schedules ใน Interim guidance วันที่ 16 December 2021 ที่ผ่านมา ในคนไทยด้วยกันเอง มีการโต้แย้งกันมาก

ทั้งที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นที่แน่ชัด และกำลังลงพิมพ์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า อีกหลายบทความ คณะกรรมการพิจารณางานวิจัย ให้แก้ไขบทความน้อยมาก และเชื่อว่า จะได้ลงพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง ตามมาอย่างต่อเนื่อง โดยทีมวิจัยของเราได้ทำวิจัยอย่างได้มาตรฐาน

จะเห็นว่า องค์การอนามัยโลก ได้ออกคำแนะนำ ในการใช้วัคซีน “สูตรไขว้” ของไทย โดยใช้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเอกสารอ้างอิง และ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย สลับกับ virus Vector หรือ mRNA เพื่อใช้เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศปรับความเหมาะสมในการให้วัคซีน ตามสภาวะของวัคซีนที่มีอยู่ในประเทศนั้นๆ อยากอยู่ในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงการใช้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม สลับด้วยการกระตุ้นด้วย ไวรัส Vector หรือ mRNA อย่างที่เราใช้กันในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคโควิด-19 แล้ว ที่ใช้สูตรสลับ SV-AZ ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับ AZ-AZ

หลักฐานการศึกษาวิจัย องค์การอนามัยโลก ได้เอาไปใช้อ้างอิง และมีการเผยแพร่ไปทั่วโลก จะเห็นว่า มีข้อมูลการศึกษาออกจากประเทศไทย โดยเฉพาะในทีมที่เราทำการศึกษากันมาอย่างต่อเนื่อง

ทุกอย่างเกิดขึ้นในภาวะฉุกเฉิน เพราะระยะเวลา เราทำวิจัยอย่างเร่งด่วน ขณะนี้ก็เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำในการใช้วัคซีนแบบสูตรสลับ

 

 

ข้อมูลจาก https://mgronline.com/qol/detail/9640000124865

 

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ