"วิจัยออสเตรเลีย" พบวัคซีน "แผ่นแปะ" อาจต้านโควิด-19 ดีกว่าแบบฉีด
 
คณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย เชื่อมั่นว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบ “แผ่นแปะ” ตัวใหม่จะมีประสิทธิภาพป้องกันไวรัสโควิด ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ ๆ มากกว่าวัคซีนเข็มฉีดแบบดั้งเดิม

การศึกษาในหนูทดลองที่เผยแพร่ในวารสารวัคซีน (Vaccine) เมื่อวันพฤหัสบดี (28 ก.ค.) พบว่า วัคซีนแบบแผ่นแปะชนิดที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความคงสภาพของโปรตีนส่วนหนามของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ เฮกซะโปร (Hexapro) มีประสิทธิภาพต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สูงถึง 11 เท่า เมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดเดียวกันที่ฉีดด้วยเข็ม

ดร.คริส แมคมิลแลน เจ้าหน้าที่วิจัยจากสถาบันเคมีและอณูชีววิทยาของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ เปิดเผยว่า แผ่นแปะวัคซีนที่ประกอบด้วยเข็มจิ๋วขนาดเล็กความหนาแน่นสูง (microarray patch) จะสามารถส่งวัคซีนเข้าสู่ชั้นผิวหนังที่อุดมไปด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันได้อย่างแม่นยำ

"วิจัยออสเตรเลีย" พบวัคซีน "แผ่นแปะ" อาจต้านโควิด-19 ดีกว่าแบบฉีด


- แผ่นแปะวัคซีน Hexapro (เครดิตรูป : มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์) -

แผ่นแปะวัคซีนเฮกซะโปร ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ร่วมกับ แวกซ์แซส (Vaxxas) บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพในเมืองบริสเบน จะส่งวัคซีนทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกายผ่านเข็มขนาดเล็กนับพันเข็ม

ระหว่างการทดลอง คณะนักวิจัยได้ทดลองให้วัคซีนเฮกซะโปรทั้งแบบเข็มฉีดหรือแผ่นแปะในหนูทดลอง 8 ตัว ก่อนจะนำเลือดของพวกมันไปทดสอบกับตัวอย่างโรคโควิด-19 หลายตัวอย่าง ซึ่งรวมถึงตัวอย่างสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์อัลฟา เดลตา และโอมิครอน

ผลวิจัยพบว่า วัคซีนแบบแผ่นแปะกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด ทั้งสายพันธุ์โอมิครอนและเดลตา สูงกว่าวัคซีนแบบเข็มฉีด

ดร.เดวิด มุลเลอร์ หนึ่งในนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้เป็นหลักฐานเบื้องต้นว่าวัคซีนแบบแผ่นแปะอาจช่วยต่อต้านการกลายพันธุ์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องยากที่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันจะพิสูจน์ได้

มุลเลอร์กล่าวว่า ประสิทธิภาพที่ลดลงของวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเห็นได้ชัดจากสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งสามารถกลายพันธุ์ได้มากกว่า 30 ตำแหน่งบนโปรตีนหนาม และว่า สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า วัคซีนแบบเข็มที่มีอยู่ยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีแผ่นแปะวัคซีนจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และวัคซีนอื่น ๆ ในอนาคต เนื่องจากสามารถขนส่งและใช้งานได้ง่าย รวมทั้งสามารถรักษาความคงตัวที่อุณหภูมิห้องได้นานถึง 30 วัน

ด้านนายเดวิด โฮอีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของแวกซ์แซส กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทกำลังขยายขนาดการผลิตขณะที่วัคซีนเข้าสู่การทดลองทางคลินิกขนานใหญ่ ก่อนจะนำเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ โดยบริษัทจะก่อตั้งโรงงานผลิตแห่งแรกในบริสเบน เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่การค้าวัคซีนเชิงพาณิชย์

--------

ที่มา: XinhuaUniversity of Queensland

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/world/1018263?anf=

 

 
รู้จัก  4 รุ่น “วัคซีนกันฝีดาษลิง”  และรุ่นที่ไทยมีอยู่ในมือ
 
“โรคฝีดาษวานร”เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ สถานะเดียวกับ “โรคโควิด 19” แต่ในเชิงของการป้องกันด้วย “วัคซีน”นั้น  “ฝีดาษวานร”หรือ "ฝีดาษลิง"ยังไม่จำเป็นต้องให้ในวงกว้าง อาจพิจารณาให้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น ปัจจุบันมี 4 รุ่น

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีวัคซีนฝีดาษคน(smallpox) มี 3 รูปแบบหลักที่องค์การอนามัยโลก แนะนำ คือ 1.วัคซีนรุ่น 2  ผลิตในสหรัฐอเมริกา พบอาการข้างเคียงน้อยราย แต่รุนแรง เนื่องจากเป็นเชื้อที่เพิ่มจำนวนได้ในเซลล์ของมนุษย์ ทำให้ไม่สามารถให้กับเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้เป็นโรคผิวหนังประเภทโรคเรื้อนกวางได้  ข้อบ่งใช้ โดยการใช้เข็มจุ่มวัคซีนแล้วเขี่ยบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล จากนั้นจะเกิดตุ่มภายใน 3-4 วัน และมีหนองตกสะเก็ดใน 3 สัปดาห์ เกิดเป็นรอยแผลเป็น
          2.รุ่น 3  ผลิตในสหรัฐอเมริกา เป็นเชื้ออ่อนฤทธิ์ พบอาการมีข้างเคียงเล็กน้อย สามารถให้กับประชาชนได้มากกว่า   ใช้ 2 โดส ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ได้รับอนุญาตในการป้องกัน ฝีดาษวานร(monkeypox)โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี  2019 หากมีความจำเป็นต้องใช้กันก็อาจจะเป็นรุ่นนี้   และ3.รุ่น 4 ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น เป็นวัคซีนเชื้อเป็น เกิดจากการตัดต่อยีนสามารถใช้ป้องกันโรคฝีดาษวานรได้  ใช้ 1 โดส โดยเข็มจุ่มวัคซีนแล้วเขี่ยบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล แต่ยังไม่มีการขออนุญาตในการป้องกันฝีดาษวานร

       สำหรับประเทศไทย ขณะนี้มี “วัคซีนฝีดาษ”ที่สามารถใช้ในการป้องกัน “ฝีดาษวานร”ได้ ซึ่งผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม(อภ.)และมีการเก็บรักษาอย่างดีมากกว่า 40 ปี จำนวน 5 แสนโดสและยังสามารถนำมาใช้ได้หากมีความจำเป็น  โดยเป็นวัคซีนรุ่น 1  เป็นวัคซีนเชื้อเป็นเก็บในรูปผงแห้งที่อุณหภูมิองศาเซลเชียส ผลิตจากน้ำเหลืองของสัตว์ รูปแบบการนำมาใช้โดยการหยดลงผิวหนังและใช้เข็มสะกิดผิวให้ถลอกเพื่อให้วัคนซึมผ่าน

          ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพวัคซีนฝีดาษคน (smallpox)นี้   พบว่า วัคซีนฝีดาษ จำนวน 13 รุ่นการผลิต ยังคงมีลักษณะทางกายภาพที่ดี ลักษณะเป็นผงแห้งจับตัวเป็นก้อนสีเหลืองอ่อน นำมาละลายด้วยน้ำกลั่น  กลายเป็นใสสีเหลืองอ่อน มีความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วงค่า pH 7.38- 7.52 (มาตรฐานทั่วไป pH 6.0-8.0) ปริมาณสารก่อไข้ อยู่ระหว่าง 4.20- 31.1 EU/ml (มาตรฐานทั่วไป ไม่เกิน 200 EU/mI) ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย

     ผลตรวจสอบความเป็นเอกลักษณ์ พบว่า เป็นไวรัสในกลุ่มไวรัสฝีดาษ Orthopoxvirus และวัคชีนมีค่าความแรง อยู่ระหว่าง 6.42- 6.86 LogTCIDso/ml (มาตรฐานองค์การอนามัยโลกกำหนด ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 5.4 Log TCIDs/ml)

       "วัคซีนฝีดาษจากองค์การเภสัชกรรม จำนวน 13 รุ่น ยังคงมีคุณภาพตามมาตรฐานวัคชีนไวรัสทั่วไปและยังคงมีคุณค่า หากเกิดการระบาดขึ้นในประเทศและไม่สามารถจัดหาวัคซีนฝีดาษมาใช้ได้ในสถานการณ์ที่มีการระบาดไปทั่วโลก วัคซีนฝีดาษที่มีอยู่นี้น่าจะนำมาใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ อย่างไรก็ตามการที่จะนำมาใช้ได้ในสภาวะฉุกเฉินนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับรวมถึงวัคซีนทางเลือกที่มี ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ได้รับวัคซีน" นพ.ศุภกิจ กล่าว
        ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวถึงความจำเป็นของการให้วัคซีนป้องกันฝีดาษลิงกับประชาชนทั่วไปว่า  โรคนี้รักษาตามอาการ เหมือนจะน่ากลัวแต่ความรุนแรงของโรคไม่มากนัก ขณะนี้ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง ส่วนเรื่องวัคซีนขณะนี้ที่ผลิตมาและเตรียมจะใช้มีหลายบริษัท กรมควบคุมโรค กำลังดำเนินการสั่งจองวัคซีนเบื้องต้นไปแล้ว และยังมีวัคซีนเดิมสำหรับโรคฝีดาษที่องค์การเภสัชกรรม(อภ.)เก็บไว้อยู่ในขั้นตอนที่อาจจะนำมาใช้ได้ต้องดูตามข้อบ่งชี้ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง และการประเมินสถานการณ์เพื่อการนำมาใช้ต่อไป

       “การให้วัคซีนดูตามความจำเป็น ซึ่งดูจากสถานการณ์ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นจะต้องให้วัคซีนในวงกว้าง แต่อาจต้องมีความจำเป็นในการฉีดให้กับกลุ่มเฉพาะ เช่น เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่การแพทย์และสาธารณสุขที่ให้การดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด เนื่องจากวัคซีนตัวนี้มีผลข้างเคียงอยู่บ้างอาจต้องชั่งผลดีผลเสียระหว่างการฉีด และไม่ฉีด”นพ.โอภาส กล่าว 
        สอดรับกับแถลงการณ์ร่วมของ  5 องค์กรวิชาชีพแพทย์ได้แก่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ออกประกาศคำชี้แจงเรื่องโรคฝีดาษวานร

     ระบุข้อหนึ่งว่า  วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ(ฝีดาษคน) จะป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ด้วย แต่เนื่องจากประเทศไทยหยุดฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษมาแล้วเกือบ 50 ปี ดังนั้นผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี น่าจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้จากการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ แต่ผู้ที่อายุน้อยกว่าจะไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่มีโอกาสที่โรคนี้จะแพร่ระบาดมาถึงประเทศไทยได้น้อย จึงยังไม่มีความจำเป็นที่ประชาชนทั่วไปจะต้องเร่งรีบหาวัคซีนนี้

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1018261?anf=

 

 
ช็อกวงการอาหารเสริม! วิจัยชี้ "วิตามินดี" ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
 
หักล้างข้อมูลเดิม! เมื่อทีมนักวิจัยสหรัฐพบว่า การกินอาหารเสริม “วิตามินดี” ไม่มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อกระดูกเปราะหักใดๆ ทั้งในประชากรทั่วไป คนแก่ หรือแม้แต่คนที่ขาดวิตามินดีเองก็ตาม

ช็อกวงการวิตามินและอาหารเสริม! เมื่อมีการเผยแพร่งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ “The New England Journal of Medicine” เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา โดยผลวิจัยระบุว่า การบริโภคอาหารเสริม “วิตามินดี” แบบเม็ด ไม่ว่าจะมีส่วนผสมของแคลเซียมหรือไม่มีแคลเซียมก็ตาม ล้วนไม่มีส่วนช่วยป้องกันกระดูกเปราะ, กระดูกพรุน ไม่มีผลต่อการลดอัตราการแตกหักของกระดูกใดๆ แก่ผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ที่ตรวจพบว่าขาดวิตามินดีในร่างกาย

อีกทั้งนักวิจัยได้สรุปผลและให้ความเห็นว่า พวกเขาไม่สนับสนุนรายการอาหารเสริมวิตามินดีหลายยี่ห้อที่อ้างว่ามีประโยชน์มากมายต่อผู้บริโภค เช่น ช่วยลดการเกิดกระดูกหักในผู้สูงวัย ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง-โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือช่วยให้มีอายุยืนยาว เป็นต้น

Dr.Steven R. Cummings นักวิทยาศาสตร์จาก California Pacific Medical Center Research Institute และ Dr.Clifford Rosen นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจาก MaineHealth Institute for Research และเป็นบรรณาธิการของวารสารการแพทย์ The New England Journal of Medicine กล่าวสรุปและให้คำแนะนำว่า

“ตัวแทนขายอาหารเสริมต่างๆ ควรหยุดการแสดงระดับค่าวิตามินดีในกระแสเลือด (25-hydroxy-vitamin D) และหยุดแนะนำประชาชนให้บริโภคอาหารเสริมวิตามินดีได้แล้ว ส่วนประชาชนเองก็ควรหยุดบริโภควิตามินดีด้วยความเชื่อที่ว่าจะช่วยป้องกันโรคร้ายแรงหรือยืดอายุขัยเสียที”  

 

ช็อกวงการอาหารเสริม! วิจัยชี้ "วิตามินดี" ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาผลของวิตามินดีต่อสุขภาพแบบครอบคลุมที่เรียกว่า VITAL (VITamin D และ OmegA-3 TriaL) เป็นงานศึกษาวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับทุนการวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ โดยมีผู้เข้าร่วมทดลอง 25,871 คน เป็นชายอายุ 50 ปีขึ้นไปและหญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับวิตามินดีในปริมาณมาตรฐานสากล 2,000 หน่วยต่อวัน และกลุ่มทดลองที่ได้รับยาหลอก

จุดเริ่มต้นของการวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประชุมร่วมกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ เภสัชกร และนักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นสมาชิกใน National Academy of Medicine ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยพวกเขามีข้อสงสัยตรงกันว่าการบริโภคอาหารเสริม “วิตามินดี” ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีขึ้นจริงหรือไม่?

แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อมูลในทำนองว่าการรับประทาน "วิตามินดี" ในปริมาณมาก มีแนวโน้มที่จะป้องกันกระดูกเปราะหักได้ แต่กลับแทบไม่พบหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ขึ้น โดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนการทดลอง VITAL ดังกล่าว เพื่อหาคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ของวิตามินดีต่อสุขภาพของประชาชน

แล้วเรื่องไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้น เมื่อผลการวิจัยพบว่า “วิตามินดี” ไม่มีผลในการป้องกันมะเร็งหรือโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มผู้เข้าร่วมทดลอง และไม่ได้ป้องกันกระดูกเปราะหัก อีกทั้งไม่ได้ผลในการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ, ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ, ไม่ลดความถี่ของไมเกรน, ไม่ช่วยบรรเทาโรคหลอดเลือดสมอง, ไม่ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม หรือลดอาการปวดเข่า

ช็อกวงการอาหารเสริม! วิจัยชี้ "วิตามินดี" ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาขนาดใหญ่อีกชิ้นหนึ่งในออสเตรเลีย พบว่า ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมวิตามินดีเป็นประจำ ไม่ได้ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น โดย Dr.JoAnn Manson หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ป้องกันจาก Brigham and Women's Hospital ใน Harvard Medical School และเป็นผู้นำหลักของการทดลอง VITAL กล่าวว่า

การศึกษาครั้งนี้มีขนาดใหญ่มาก ผู้เข้าร่วมทดลองบางส่วนเป็นผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน บางส่วนเป็นผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ ซึ่งพวกเขาให้ผลลัพธ์อย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากอาหารเสริมวิตามินดีในแง่ของการช่วยลดความเสี่ยงกระดูกเปราะหักเลย

“ผลวิจัยครั้งนี้ทำให้หลายคนประหลาดใจ” ดร.แมนสันกล่าว และเสริมด้วยว่า “แต่ดูเหมือนว่าคนเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเพื่อส่งเสริมสุขภาพกระดูก การกินวิตามินปริมาณที่มากขึ้นไม่ได้ให้ประโยชน์มากกว่า”

ผลวิจัยดังกล่าวกลายเป็นที่ถกเถียงในวงการแพทย์ วงการโภชนาการ และเวชศาสตร์สุขภาพอย่างกว้างขวาง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกหลายคนมีความเห็นต่างออกไป โดยมองว่าจะยังคงแนะนำผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำให้ทานวิตามินดีและแคลเซียมต่อไป

--------------------------------------------

อ้างอิง : The New York Timesnejm.orgclinicaltrials.gov

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1018110?anf=

 
เช็ก อาการ "ฝีดาษลิง" ระวัง ป้องกัน อย่างไร ไม่ให้เสี่ยง
 
แม้ประเทศไทยยังคงให้ "ฝีดาษลิง" เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทยขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนต้องไม่ประมาท เพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจาก "โรคฝีดาษลิง" รวมถึงสังเกตอาการตนเอง และคนรอบข้าง

หลังจากที่ พบการระบาดของ "ฝีดาษวานร" หรือ "ฝีดาษลิง" ในหลายประเทศ โดย  WHO ได้ประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ และล่าสุด นครซานฟรานซิสโก เป็นเมืองแรกในสหรัฐ ประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขแล้ว แม้รัฐบาลกลางยังไม่ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับประเทศ 

ขณะที่ประเทศไทย ยังคงให้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทยขณะนี้ ยังไม่เข้านิยามโรคติดต่ออันตราย ซึ่งไทยพบผู้ป่วยรายแรกเป็นชายชาวไนจีเรีย ที่จ.ภูเก็ต และ วานนี้ (28 ก.ค. 65) ไทยยืนยันพบ ผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่2 จากโรงพยาบาล(รพ.) วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร เป็นชายไทย อายุ 47 ปี มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติแบบรักร่วมเพศ 

มีอาการสงสัยป่วย เมื่อวันที่ 12 ก.ค.65 จากนั้น 2 วัน เริ่มมีไข้ ปวดตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และ  1 สัปดาห์ต่อมา มีผื่นที่อวัยวะเพศ ลำตัว หน้า แขนขา จึงมาตรวจที่รพ. ขณะนี้รับไว้ในรพ.และติดตามผู้สัมผัสมาตรวจและเฝ้าสังเกตอาการต่อให้ครบ 21 วัน

 

โรคฝีดาษลิง ติดต่ออย่างไร 

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ เผยว่า โรคฝีดาษลิง เกิดจากไวรัส ติดต่อผ่านการสัมผัสเชื้อจากตุ่มหนอง สะเก็ดแผลของผู้ป่วย แต่ถ้าใกล้ชิดมากๆ เช่น กินข้าวหรืออยู่บ้าน นอนด้วยกัน ก็อาจติดต่อทางฝอยละอองได้

การรับเชื้อไวรัสกรณีผู้ที่ไม่มีบาดแผลที่ผิวหนังเลย เชื้อจะเข้าได้จากการสัมผัสด้วยมือแล้วไม่ได้ล้างให้สะอาด เชื้ออาจก่อให้เกิดตุ่มหนองในคอ ในปากได้ หรือเข้าทางเยื่อบุตา

อย่างไรก็ตาม ไวรัสของโรคฝีดาษลิงมีเปลือกหุ้มอยู่ โดยธรรมชาติก็จะเป็นไวรัสที่ไม่แข็งแรง โดนสบู่ล้างก็ตายหมด แต่เชื้อจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานหรือไม่นั้นยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ

ระยะฟักตัว 21 วัน 

อัตราการแพร่เชื้อต่อของผู้ป่วย หรือ R0 ของโรคฝีดาษลิง ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ถือเป็นโรคใหม่ของยุโรปและของไทย แต่เป็นโรคที่ระบาดในแอฟริกามานานแล้ว ฉะนั้น  ประเทศไทยจะมีองค์ความรู้โรคฝีดาษลิงน้อย แต่ติดตามข้อมูลอยู่ตลอด

อย่างไรก็ตาม ที่มีการระบาดออกจากแอฟริกาเพราะเชื้อมากับคน ซึ่งระยะฟักตัวของโรคขึ้นอยู่กับภูมิฯ ของแต่ละคน โดยทั่วไปที่รับเชื้อมามาก ระยะฟักตัวอย่างเร็วที่สุดจะอยู่ที่ 21 วัน แต่บางรายก็มีระยะฟักตัวนานกว่านั้น

ปลูกฝีดาษมาแล้ว ป้องกันได้หรือไม่ 

ภูมิฯ แต่ละคนส่งผลต่อการแสดงอาการทางคลินิก โดยภูมิฯ เกิดจากการฉีดวัคซีน คือ ในคนไทยที่อายุมากกว่า 40 ปีจะได้รับการปลูกฝีดาษแล้ว ซึ่งภูมิฯ นี้ป้องกันการติดเชื้อถึง 80% แต่ในเด็กที่มีรายงานข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ก็พบน้อยเช่นกัน แต่ถ้าคนที่ได้รับการปลูกฝีดาษแล้ว เกิดกินยากดภูมิฯ อยู่แล้วติดเชื้อ ก็อาจมีอาการรุนแรงได้ ส่วนอาการแทรกซ้อนของโรค ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โรคประจำตัว 

สังเกตอาการของโรค ฝีดาษลิง 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) อธิบายว่า ในภาพรวมโรคฝีดาษวานร มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข โดยท่านรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการ สธ. ให้ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง อันดับที่ 56 โดยกำหนดอาการ ดังนี้

  • มีไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ต่อมน้ำเหลือง
  • บวมโต
  • เจ็บคอ
  • มีผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนังลักษณะเป็นตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง
  • ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก แขนหรือขา
  • บางตุ่มอาจเกิดขึ้นที่ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า  

ระยะโรคฝีดาษลิง

รศ.นพ.สุมนัส บุณยะรัตเวช กรรมการกลาง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า อาการของโรคฝีดาษลิง แบ่งเป็น 3 ระยะ

1) ระยะฟักตัว

เป็นระยะที่ไวรัสฟักตัวในร่างกาย ไม่มีอาการ ไม่ติดต่อสู่ผู้อื่น ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่อาจถึง  3 สัปดาห์ได้หลังสัมผัสเชื้อ

2)ระยะก่อนออกผื่น

เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการไข้ เมื่อยตัว ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ทางละอองฝอยในระยะนี้

3)ระยะออกผื่น

หลังจากมีไข้ 1- 3 วัน จะพบผื่นที่ ใบหน้า ลำตัว และกระจายไป แขน ขาสามารถพบได้ที่ ฝ่ามือ มือฝ่าเท้า

ผื่นมีลักษณะเป็น ตุ่มขนาดเล็ก จากนั้นจะเปลี่ยนเป็น ตุ่มน้ำใส และ แตกออก จน ตกสะเก็ด และหายไปภายใน 1-2 สัปดาห์

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

นพ.จักรพงษ์ กล่าวว่า วิธีป้องกัน คือ ไม่ไปใกล้ชิดกับผู้ที่มีผื่นหรือผู้มีความเสี่ยง

1) หลีกเลี่ยงการ สัมผัสใกล้ชิด กับผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่มีผื่น โดยเฉพาะในช่วงการแตกของแผลและมีสารคัดหลั่งจำนวนมาก

2) ควร แยกและทำความสะอาดอุปกรณ์ ที่ใช้ร่วมกัน สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ

3) หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับ สัตว์รังโรค ที่มีอาการ 

การรักษา ฝีดาษลิง 

พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ กล่าวถึง แนวทางการดูแลรักษาโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Monkeypox) ว่า โรคฝีดาษลิง ถ้าเกิดการป่วยติดเชื้อโดยตัวโรคจะสามารถหายได้เอง แต่จะต้องมาดูแลพิเศษในกลุ่มที่มีความเสี่ยงมีอาการรุนแรง คือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะโรคจะใช้วิธีการรักษาตามอาการ 

“การรักษา กรมการแพทย์ก็จะเน้นการรักษาตามอาการ เช่น มีไข้ ให้ยาลดไข้ ส่วนยารักษาเฉพาะมีการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งยังไม่มียารักษาเฉพาะในตอนนี้  และ ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง สามารถหายได้ด้วยภูมิฯ ของร่างกาย ใช้เวลาราว 4 สัปดาห์”

ป้องกันโควิด + ฝีดาษลิง 

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ยังระบุอีกว่า โรคนี้เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ได้ติดง่าย ดังนั้น มาตรการที่ใช้ป้องกันโควิด-19 ยังใช้ป้องกันฝีดาษลิงได้ คือ Universal Prevention  ทั้งล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย หรือผู้มีตุ่มมีหนอง เป็นสิ่งสำคัญ  

และมีข้อน่าสังเกตอาจจะติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดจากการมีเพศสัมพันธ์ จึงควรเพิ่มการป้องกันตัวเองเหมือนการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย  นอกจากนี้ ขออย่าตีตรา และลดทอนคุณค่ากลุ่มเสี่ยง

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/health/1018078?anf=

29 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นสำคัญของฝีดาษลิง 2022

1.ป้องกันการแพร่ได้ และไม่ได้จำเป็นต้องให้ยาทุกราย เพราะหายเองได้

2.รู้จัก คู่สัมพันธ์ คู่นอน คู่รัก

3.ความยากของการวินิจฉัย

 

ผื่น ตุ่ม แผล ที่ผิวหนัง อยู่ในที่เร้นลับ อวัยวะเพศ ทวารหนัก และเยื่อบุ ช่องก้น ลิ้น ช่องปาก รูทวาร (anogenital oropharynx tongue) ซึ่งบ่งบอกช่องทางการติด และไวรัสจะกระจายมาหน้า มือ ตัวทีหลัง หรือไม่มาก็ได้

3.ข้อดี คือ มีอาการไม่สบาย นำมาก่อน จะมีไข้หรือไม่มีก็ตาม โดยมีอาการ เหนื่อยล้า เซื่อง หมดแรง ปวดเมื่อย ปวดหัว

ทั้งนี้ โดยที่จะมีการติดต่อกัน ต่อเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว โดยแพร่ทางละอองน้ำลายขณะสัมผัสใกล้ชิด แม้ยังไม่มีผื่นแผล ซึ่งเมื่อมี ก็เป็นอีกช่องทางของการแพร่ได้ เมื่อมีการสัมผัสที่แผล

4.การสัมผัสใกล้ชิดกัน เป็นช่องทางติดต่อที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะขณะมีเพศสัมพันธ์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำอสุจิ ปัสสวะ เลือดได้ แต่ยังไม่สามารถยืนยันว่าเป็นไวรัสในรูปที่ติดต่อได้หรือไม่

ต่างจากน้ำที่ตุ่มน้ำ หรือหนองที่แผลที่ยังไม่าะตกสะเก็ด หรือละอองฝอยน้ำลายซึ่งติดต่อได้

5.การแพร่ให้คนในครอบครัว ในบ้านเดียวกัน ยังค่อนข้างยากมาก

ติดยากกว่าโควิด การให้ความรู้อย่างกระจ่าง ถึงอาการ ช่องทางการติด การระวังตัว เป็นสิ่งสำคัญ และ ไม่ใช่เป็นเฉพาะในคนรักเพศเดียวกัน หรือ สองเพศ

(ประมวลจากรายงานในวารสารนิวอิงแลนด์วันที่ 21 กรกฎาคม รายงานการติดเชื้อ 528 รายระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 24 มิถุนายนใน 16 ประเทศ)

การตรวจฝีดาษลิงมีในเครือข่ายห้องปฏิบัติการทั่วประเทศรวมทั้งโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์และของที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ และที่ต่างๆเพื่อประสานกันในการติดตามและเฝ้าระวังทั่วประเทศครับ.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/general-news/190180/

 

 
"ฝีดาษลิง" 2022 หมอดื้อ เปิด 5 ข้อ ประเด็นสำคัญ - ทั่วโลกพบป่วยเกือบ 20,000 ราย
 

หมอดื้อ เปิด 5 ข้อ ประเด็นสำคัญ ของ "ฝีดาษลิง" 2022 พบการติดต่อกันยากกว่า "โควิด" ขณะที่ทั่วโลกพบผู้ป่วยฝีดาษลิงเกือบ 20,000 รายแล้ว

ภายหลังที่การระบาดของ "ฝีดาษลิง" ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยเจอแล้ว 2 ราย ซึ่งทั่วโลกตอนนี้พบ ผู้ป่วยฝีดาษลิง แล้วเกือบ 20,000 ราย ล่าสุด WHO ได้ออกประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระหว่างประเทศ โดย หมอดื้อ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึง ประเด็นสำคัญ ของ "ฝีดาษลิง" 2022 ดังนี้

1. ป้องกันการแพร่ได้ และไม่ได้จำเป็นต้องให้ยาทุกราย เพราะหายเองได้ 

2. รู้จัก คู่สัมพันธ์ คู่นอน คู่รัก

3. ความยากของการวินิจฉัย ผื่น ตุ่ม แผล ที่ผิวหนัง อยู่ในที่เร้นลับ อวัยวะเพศ ทวารหนัก และเยื่อบุ ช่องก้น ลิ้น ช่องปาก รูทวาร (anogenital oropharynx tongue) ซึ่งบ่งบอกช่องทางการติดและไวรัสจะกระจายมาหน้า มือ ตัวทีหลัง หรือไม่มาก็ได้

ข้อดี คือ มีอาการไม่สบาย นำมาก่อน จะมีไข้หรือไม่มีก็ตาม โดยมีอาการ เหนื่อยล้า เซื่อง หมดแรง ปวดเมื่อย ปวดหัว ทั้งนี้ โดยที่จะมีการติดต่อกัน ต่อเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว โดยแพร่ทางละอองน้ำลายขณะสัมผัสใกล้ชิด แม้ยังไม่มีผื่นแผล ซึ่งเมื่อมี ก็เป็น อีกช่องทางของการแพร่ได้ เมื่อมีการสัมผัสที่แผล

4. การสัมผัสใกล้ชิดกัน เป็นช่องทางติดต่อที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ขณะมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำอสุจิ ปัสสวะ เลือดได้ แต่ยังไม่สามารถยืนยันว่าเป็นไวรัสในรูปที่ติดต่อได้หรือไม่ ต่างจากน้ำที่ตุ่มน้ำ หรือหนองที่แผลที่ยังไม่าะตกสะเก็ด หรือละอองฝอยน้ำลายซึ่งติดต่อได้

5. การแพร่ให้คนในครอบครัว ในบ้านเดียวกัน ยังค่อนข้างยากมากติดยากกว่า โควิด การให้ความรู้อย่างกระจ่าง ถึงอาการ ช่องทางการติด การระวังตัว เป็นสิ่งสำคัญ และ ไม่ใช่เป็นเฉพาะในคนรักเพศเดียวกัน หรือ สองเพศ 

(ประมวลจากรายงานในวารสารนิวอิงแลนด์วันที่ 21 กรกฎาคม รายงานการติดเชื้อ 528 รายระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ใน 16 ประเทศ)

https://www.komchadluek.net/news/524284?adz=

 

29 ก.ค. 2565 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ตากแดด เดินหมื่น อบร้อน เข้าใกล้มังสวิรัติ… ไม่เสียเงิน กลับแข็งแรง

การติดโควิดหลายครั้ง จะเพิ่มผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งปอด หัวใจ สมอง และส่วนอื่นๆ

การติดเชื้อไป และการฉีดวัคซีน เป็นการเสริมภูมิที่เจาะจง (adaptive immunity) เฉพาะกับโควิดก็จริง แต่โควิด ปัจจุบัน หนีห่างออกไปเรื่อยๆ เช่น โอมิครอน BA.4/5 จนวัคซีนไล่จับไม่ทัน ถ้าจะผลิตให้เจาะจงกับ โอมิครอน BA 4/5 กลับป้องกันได้ไม่ดีเท่ากับสายอื่นที่ผ่านมา แม้จะลดอาการหนักได้ ซี่งเป็นผลรวมจากวัคซีน และการติดเชื้อเก่าก่อนที่ผ่านมาด้วย

การลดอาการหนัก และตาย เป็นส่วนที่ได้ประโยชน์จากติดเชื้อเดิม และวัคซีน แต่ทั้งนี้ อาจอธิบายผ่านทาง อีกกลไกของ innate immunity ทั้งความฉับพลัน ของกลไกเซลล์นักฆ่า (NK natural killer cell) อินเตอร์เฟียรอน ระบบcomplement และ IP-10 เป็นต้น

 

ทางเสริมหรือทางที่ทำให้เราแข็งแรงขึ้น คือเรากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แบบรวดเร็วฉับพลัน ไม่เจาะจง ศัตรูหน้าไหนมา สู้หมด (innate immunity) ด้วย

เช่น ให้ถูกแดดเช้า หรือ บ่าย เย็น และอากาศร้อน อาบน้ำร้อน มีหลักฐานแล้ว ลด mitochondrial stress ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม innate immunity เดินวันละ 10,000 ก้าว

เราเดินทางตามหลังไวรัสมาตลอด ที่เพิ่ม adaptive อย่างเดียว ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่ง ทั้งทุกระบบของภูมิคุ้มกันแล้วครับ

ขยัน ไม่เสียสตางค์ กินผักผลไม้กากไยให้มาก เท่านี้เอง.

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/human-life-news/190071/

 

"ติดโควิด" Omicron กักตัวกี่วัน ก่อนออกไปทำงาน ปลอดภัยสุด 

"ติดโควิด" โอไมครอน Omicron กักตัวกี่วัน ก่อนออกไปทำงาน ปลอดภัยสุด หมอธีระ เผยข้อมูล กักตัว แค่ 5 วัน โอกาสหลุด 50%

"ติดโควิด" กักตัวกี่วัน ระลอก โอไมครอน Omicron 5 วัน 10 วัน หรือ 14 วัน ถึงจะเพียงพอ ต่อระยะ ไม่แพร่เชื้อ แล้ว ล่าสุด (23 ก.ค.2565) "หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน โรงงาน และสถานประกอบการ ระบุว่า

"ติดโควิด" กักตัวกี่วัน ตามความรู้วิชาการแพทย์ปัจจุบันเกี่ยวกับ โอไมครอน Omicron หากมีคนติดเชื้อ กักตัวแค่ 5 วัน โอกาสหลุด 50% 7 วันหลุด 25% 10 วัน โอกาสหลุดราว 10% แต่หาก 14 วัน ก็ดูจะปลอดภัย อย่างไรก็ตาม มักทำได้ยาก เพราะกระทบต่อระบบงานมาก

 

ดังนั้น หากทางสถานที่ทำงานต่าง ๆ สามารถบริหารจัดการกำลังคนได้ ให้แยกกักตัวไปอย่างน้อย 10 วันย่อมดีที่สุด แต่หากไม่ไหว หรือจำเป็นมากจริง ๆ ก็ควรให้ความรู้ และ/หรือฝึกอบรมบุคลากรที่ติดเชื้อเกี่ยวกับการป้องกันตัวให้ดี และให้กักตัว 7 วัน และตรวจ ATK ซ้ำ หากได้ผลลบ ก็มาทำงานโดยป้องกัน
อย่างเคร่งครัดอีกอย่างน้อย 7 วัน

ส่วนแนวปฏิบัติในสถานที่ทำงานสำหรับทุกคนในสถานการณ์ระบาดหนักขณะนี้ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีการถ่ายเทอากาศดี การไม่รับประทานอาหารร่วมกัน และการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอนั้น มีความสำคัญมาก

ติดโควิดกักตัวกี่วัน

 

ติดโควิดกักตัวกี่วัน

"ติดโควิด" กักตัวกี่วัน ขณะที่ งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์ New England Journal of Medicine เมื่อ 29 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับระยะเวลาที่ยังตรวจพบเชื้อ ปริมาณเชื้อ และเพาะเชื้อขึ้น หลังจากติดเชื้อโควิด-19 จากข้อมูลวิจัยจะเห็นได้ว่า การกักตัว 5 วันหลังการติดเชื้อนั้น ไม่เพียงพออย่างแน่นอน และยังไม่ปลอดภัย เนื่องจากยังสามารถเพาะเชื้อได้ถึงอีกเกือบ 50% และยังมีปริมาณไวรัสที่ตรวจพบระดับสูง ถ้าจะปลอดภัยตามข้อมูลเรื่องปริมาณเชื้อ และอัตราการเพาะเชื้อขึ้น คือราว 2 สัปดาห์ หรืออย่างน้อย 10 วันขึ้นไป แต่ในทางปฏิบัติจะทำได้ยากด้วยความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ แรงงาน และการใช้ชีวิตในสังคม

ดังนั้น หากผู้ที่ติดโควิด จำเป็นต้องกลับไปใช้ชีวิต หรือทำงานก่อนเวลา 7-10 วัน ก็ต้องตระหนักเสมอว่า อาจนำเชื้อไปแพร่ให้คนอื่นได้ จึงควรป้องกันตัวเข้ม ๆ ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันต่อจนกว่าจะครบ 2 สัปดาห์ เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ โดยใส่หน้ากาก N95 หรือเทียบเท่า ไม่ถอดหน้ากากเวลาพบปะ ทำงาน หรือพูดคุยกับผู้อื่น รักษาระยะห่าง และที่สำคัญมากคือ ไม่ไปร่วมวงกินข้าวในที่ทำงาน ไม่ไปร่วมวงปาร์ตี้กินดื่มสังสรรค์ หรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น หากช่วยกันปฏิบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยลดโอกาสติดเชื้อแพร่เชื้อตามสถานที่ต่าง ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดปัจจุบันได้บ้างไม่มากก็น้อย

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/523517?adz=

เปิดหลักเกณฑ์ฉบับใหม่ สกัดโควิดในที่ทำงาน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 8 ก.ค.
 
 
 

กรมอนามัย เปิดหลักเกณฑ์ฉบับใหม่ สกัดโควิดในที่ทำงาน เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 8 ก.ค. เผย 11 ข้อปฏิบัติช่วยลดความเสี่ยง และ 4 ข้อต้องทำเมื่อพบผู้ติดเชื้อ

 

วันที่ 16 ก.ค.65 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงมาตรการป้องกันโควิดของสถานประกอบกิจการ ว่า ขณะนี้มีการออกประกาศฉบับใหม่ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ และมาตรการด้านสุขลักษณะป้องกันความเสี่ยงจากโรคโควิด 19 สำหรับสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ลงนามโดย นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข (สธ.) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 8 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป

 

สาระสำคัญคือ กำหนดให้ผู้ดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และมาตรการด้านสุขลักษณะป้องกันความเสี่ยงโควิด ดังนี้

1.ทำความสะอาดอาคารสถานประกอบกิจการ พื้น ผนัง ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยหรือสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์โดยสาร เป็นต้น

2.ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ ภาชนะ อุปกรณ์และเครื่องจักรเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และการประกอบกิจการที่มีการสัมผัสบ่อย หรือสัมผัสร่วมกัน ก่อนและหลังประกอบกิจการ หรือให้บริการทุกครั้ง

3.จัดให้มีอ่างล้างมือพร้อมน้ำและสบู่อย่างเพียงพอ

4.มีมาตรการเว้นระยะห่างในพื้นที่ปฏิบัติงานและพื้นที่ให้บริการอย่างเหมาะสม

5.มีระบบระบายอากาศในอาการที่ดีและเพียงพอ

6.จัดให้มีภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภทและปริมาณของมูลฝอย

7.จัดให้มีอุปกรณ์ทำความสะอาด น้ำยาทำความสะอาด สารฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ

8.กำกับ ดูแล ให้ผู้ปฏิบัติงานรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และมีสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี

9.สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหาร สถานที่รับประทานอาหาร หรือมีการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ต้องจัดบริการที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย 

10.กำกับ ดูแล คัดกรองผู้ปฏิบัติงาน หากพบว่ามีอาการป่วยหรือสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อให้พิจารณาหยุดปฏิบัติงาน และ

11.กำกับ ดูแล ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า หรือชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม

“กรณีพบการแพร่ระบาดในสถานประกอบกิจการ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะและมาตรการป้องกันความเสี่ยงโควิดเพิ่มเติม จนกว่าจะพ้นระยะเวลาการแพร่เชื้อ คือ

1.ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่คาดว่าพบผู้ติดเชื้อทันที

2.ถ่ายเทอากาศบริเวณที่พบผู้ติดเชื้อทันที และปรับปรุงระบบระบายอากาศให้ดีขึ้น

3.เว้นระยะห่างผู้ปฏิบัติงานในแผนกที่พบผู้ติดเชื้อ และแผนกที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 เมตร และ

4.จัดการมูลฝอยประเภทที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง ในแผนกที่มีผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ติดเชื้อ และบริเวณที่เกี่ยวข้อง จัดที่ทิ้งเป็นการเฉพาะ แยกเก็บรวบรวมและทำลายเชื้อโรค โดยใส่ถุงแดง แต่หากไม่มีต้องมีข้อความ “มูลฝอยติดเชื้อ” บนถุง

นอกจากนี้ ต้องประเมินตนเองด้านสุขลักษณะและมาตรการป้องกันความเสี่ยงโควิดตามที่กรมอนามัยกำหนดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ก่อนการต่อใบอนุญาต หรือกรณีมีความเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบ” นพ.สุวรรณชัยกล่าว

ข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7165369