"ติดโควิดซ้ำรอบ 2" สาเหตุจากอะไร รุนแรงกว่าครั้งแรกมั้ย รวมคำตอบมาให้แล้ว
 
 

"ติดโควิดซ้ำรอบ 2" หลายคนเริ่มกังวล ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เป็นซ้ำแล้ว อาการรุนแรงมากกว่าครั้งแรกหรือไม่ มาหาคำตอบได้ที่นี่

"ติดโควิดซ้ำรอบ 2" เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน และมีสาเหตุมาจากอะไร เริ่มกลับมามีการตั้งคำถามขึ้นบ่อยครั้ง หลังจากที่มีข่าวนักการเมืองรายหนึ่งติดโควิดซ้ำ 2 ครั้ง ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" (Omicron) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีคำแนะนำ "ติดโควิดซ้ำ" หมายถึงอะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร

 

การ "ติดเชื้อโควิดซ้ำรอบ 2" หมายถึง ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ แต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่พบว่า "โอไมครอน" พบการติดเชื้อซ้ำ
สูงกว่าเดลตา 3-6 เท่า


สาเหตุการติดเชื้อซ้ำ

  1. มักเกิดในช่วงที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ หรือรับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  2. เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม
  3. ผู้ป่วยลดลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง

"ติดโควิดซ้ำรอบ 2" สาเหตุจากอะไร รุนแรงกว่าครั้งแรกมั้ย รวมคำตอบมาให้แล้ว

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า การ "ติดโควิดซ้ำรอบ 2" ที่ต่างสายพันธุ์กันสามารถติดเชื้อซ้ำได้ เช่น คนที่หายจากโควิดสายพันธุ์เดลตา ก็สามารถติดสายพันธุ์โอไมครอนซ้ำได้ ส่วนกรณีสายพันธุ์โอไมครอนเหมือนกัน แต่เป็นสายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 กับ BA.2 ยังเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งต้องติดตามรายละเอียดข้อเท็จจริงอีกครั้ง ตามหลักแล้วก็มีโอกาส แต่จะ 1 ในแสน หรือ 1 ในล้าน ต้องดูข้อมูลประกอบรวมถึงดูระยะเวลาด้วย 

อาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อครั้งแรกหรือไม่

คนที่ติดเชื้อซ้ำ อาจต้องดูข้อมูลเรื่องความรุนแรงของอาการป่วย ประวัติ ข้อมูลทางระบาดวิทยารวมถึงระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อเนื่องจากร่างกายของแต่ละคน มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน และระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงก็ใช้ระยะเวลาแตกต่างกันด้วย รวมถึงตัองดูผลการตรวจจากห้องปฏิบัติ เพื่อวินิจฉัยให้แน่ชัด 


ขณะที่ "หมอเฉลิมชัย" น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา บอกเหตุผลว่า ทำไมผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิดเพียง 1 เดือน จึงเกิดติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ มีความเป็นไปได้จากเหตุผล ดังนี้

  • ถ้าการติดเชื้อโควิด ครั้งที่ 1 มีปริมาณเชื้อน้อย และอาการไม่รุนแรง อาจจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงนัก เมื่อไปสัมผัสเสี่ยงกับผู้ที่มีปริมาณเชื้อไวรัสมาก จึงอาจเกิดติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว ระดับภูมิคุ้มกันควรจะสามารถป้องกันได้อย่างน้อย 3-6 เดือน
  • ในการติดเชื้อครั้งที่ 2 อาจเกิดจากเป็นไวรัสคนละสายพันธุ์กัน เช่น ติดเชื้อครั้งที่ 1 เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1 ของโอไมครอน ต่อมาติดสายพันธุ์ย่อยที่สอง คือ BA.2 ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์ย่อยที่หนึ่ง ทำหน้าที่ป้องกันได้ไม่เต็มที่นัก

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เพิ่งหายป่วยจากการติดเชื้อ ไม่ควรประมาท เพราะมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ และอาจทิ้งระยะห่างน้อยกว่าที่เคยเชื่อกัน (3-6 เดือน) การป้องกันตนเอง มีวินัย ไม่ประมาท ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ในสถานที่หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ตลอดจนฉีดวัคซีนเมื่อถึงกำหนดเวลา ยังคงเป็นมาตรการที่สำคัญ และใช้ได้ผลดีในการรับมือกับไวรัสก่อโรคโควิด ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/510340?adz=

 
"ติดโควิดซ้ำอาการ" เป็นอย่างไร ห่างกี่เดือนเป็นได้อีก อาการหนักมั้ย
 
 

"ติดโควิดซ้ำอาการ" เป็นอย่างไร อาการหนักแค่ไหน หมอยงเปิดข้อมูลเป็นแล้วเป็นได้อีกส่วนใหญ่เว้นระยะห่าง 3 เดือน ไม่อยาก ติดโควิดรอบ 2 ต้องควรทำแบบบนี้เพื่อป้องกันไว้

ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หรือ "หมอยง" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความถึงกรณีการ ติดโควิดรอบ 2 และ "ติดโควิดซ้ำอาการ" ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างไร สำหรับคนที่เคนติดโควิดมาแล้วมีโอกาสจะ ติดโควิดซ้ำ ได้อีกภายในกี่เดือน โดย หมอยง ระบุ รายละเอียด ดังนี้ โควิด 19 เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก โรคโควิด 19  เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก โดยทั่วไปการเป็นซ้ำ มักจะเกิดขึ้นหลัง 3 เดือนไปแล้ว แต่ก็มีหลายคน  เป็นซ้ำแบบมีอาการและตรวจพบชัดเจนตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป การเป็นซ้ำพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 
 

ศ.นพ.ยง ระบุว่าเพิ่มเติม "ติดโควิดซ้ำอาการ" เบื้องต้นจากการศึกษาของเรา ที่ศูนย์ จุฬา ในผู้ป่วยที่ยืนยันหลักฐานว่าเป็นซ้ำ ครั้งที่ 2 ประมาณ 40 คนการเป็นครั้งที่ 2 มีทั้งที่มีอาการมากกว่า และมีอาการน้อยกว่า แต่ส่วนใหญ่ จะมีอาการน้อยกว่า และการรักษาในกรณีที่เป็นซ้ำ ส่วนใหญ่รักษาตามอาการ ในการเป็นครั้งแรกเกือบทั้งหมดได้รับยาต้านไวรัส favipiravir และเมื่อเป็นครั้งที่ 2 ไม่มีใครที่มีอาการหนัก หรือปอดบวม จนระดับออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเลย อาจจะเป็นเพราะว่าระบบภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นทั้งวัคซีน และการติดเชื้อช่วยลดความรุนแรง และมีหลายรายติดเชื้อแล้วยังได้รับวัคซีนอีก ทำให้การเป็นซ้ำครั้งที่ 2 ความรุนแรง ถึงขั้นรุนแรงมากน้อยลงอย่างมาก ตามคำจำกัดความของการเป็นซ้ำ  ส่วนใหญ่จะให้ระยะห่างจากการเป็นครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ห่างกัน 3 เดือน
 

ศ.นพ. ยง ระบุ เพิ่มเติม ว่า อย่างไรก็ตามการ  "ติดโควิดซ้ำอาการ"  สามารถเกิดขึ้นได้  ดังนันโรคนี้จึงคล้ายกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป เช่นไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดทั่วไป ที่เป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก ดังนั้นในผู้ป่วยที่เคยเป็นแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นด้วยวัคซีนในระยะเวลาที่เหมาะสม เรากำหนดไว้ว่าถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน หรือฉีดวัคซีนไม่ครบ 2 เข็ม เมื่อติดเชื้อ ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นอีก 1 ครั้ง ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปหลังติดเชื้อวันแรกถ้าฉีดวัคซีนมาแล้วครบ  2 เข็มหรือมากกว่า แล้วติดเชื้อ การติดเชื้อจะเปรียบเสมือนเป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 3  ภูมิต้านทานจากกระตุ้นได้ดี ดังนั้นจึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นหลังติดเชื้อ  6 เดือนขึ้นไปนับจากวันที่ติดเชื้ออีก 1 ครั้ง เพื่อรักษาระดับภูมิต้านทานให้คงสูงอยู่ลดการติดเชื้อซ้ำ

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/525341?adz=

"ธปท." แจง กมธ.งบฯ  ประเมิน2จุดเสี่ยง ทำภาวะเงินเฟ้อฟุ่งถึงปี66
 
ธนาคารแห่งประเทศไทย แจง กมธ.งบฯ ประเมินสถานการณ์ไทย มี2จุดเสี่ยง ต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ และขาดแคลนอาหาร-พลังงานภาคการผลิต ทำภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูง ต่อเนื่องถึงปี 2566

         นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 แถลงผลการประชุมนัดแรก  เมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน ซึ่งเชิญพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ งบประมาณรายจ่าย และการตรวจสอบงบการเงินของหน่วยรับงบประมาณในภาพรวม 5 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงบประมาณ และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน  โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่าเศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2565 และปี 2566 ซึ่งกลไกหลักที่เป็นปัจจัยของการฟื้นตัวคืออุปสงค์ภายในประเทศและภาคการท่องเที่ยว

         นายเผ่าภูมิ กล่าวด้วยว่าสำหรับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ ที่จะทำให้เกิดปัญหาต่อการบริโภคและการลงทุน รวมทั้งปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19  ธปท.ประเมินว่าการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยกว่าการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า

         "ธปท. ประเมินว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ GDP จะสามารถกลับฟื้นตัวอยู่ในระดับก่อนการระบาดของโควิด-19 ได้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ขณะที่อัตราผู้ว่างงานจะมีแนวโน้มลดลงในช่วงต่อจากนี้ และเรื่องของการท่องเที่ยวได้มีการคาดการณ์ว่าทั้งปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนประมาณ 5.6 ล้านคน" นายเผ่าภูมิ กล่าว

           โฆษกกมธ.งบฯ กล่าวด้วยว่า สำหรับหน่วยงานที่เข้ามาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ยังระบุว่า ในอนาคตมี 2 ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจที่ไทยจะต้องเจอ คือ เรื่องของต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพในประเทศที่สูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนอาหาร วัตถุดิบและพลังงานในภาคการผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ และยังได้มีการคาดการณ์ว่าภาวะเงินเฟ้อต่อจากนี้อาจจะสูงขึ้น และทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป และจะมีแนวโน้มลดลงในช่วงปี 2566 

         โฆษกกมธ.งบฯ แถลงด้วยว่า คณะกรรมาธิการได้มีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือปัญหาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)จัดการกับเงินเฟ้อ ที่มีการใช้มาตรการที่รุนแรงในการขึ้นดอกเบี้ย จึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และส่งผลต่อการส่งออกของประเทศไทยที่จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเทศในระยะต่อไป.

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/1008901?anf=

"ติดโควิดเปิดแอร์ได้ไหม" เสี่ยงกระจายเชื้อให้คนอื่นได้เร็วขึ้นหรือไม่

"ติดโควิดเปิดแอร์ได้ไหม" อันตรายกระจายเชื้อให้คนอื่นได้เร็วขึ้นหรือไม่ จากติดคนเดียวอาจเสี่ยงติดทั้งครอบครัว หากจะเปิดต้องทำอย่างไร ป้องกัน โควิดลอยในอากาศ

เกาะติดสถานการณ์โควิด หลังจากที่มีประกาศว่านับจากวันที่ 1ก.ค. เป็นต้นไป หากประชาชนติดเชื้อโควิด19 จะยกเลิกการรักษาแบบ Home Isolation โดยจะใช้รูปแบบการรักษาแบบ "เจอ แจก จบ" โดยการจ่ายยาและให้ผู้ติดเชื้อกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ทานยาตามที่แพทย์สั่ง กักตัวให้ครบ 10 วันตามกำหนด เชื่อว่าประชาชนอาจจะกังวลเล็กน้อย เนื่องจากการรักษาแบบ "เจอ แจก จบ" อาจจะไม่มีหมอค่อยติดตามอาการทางวีดีโอคอล รวมทั้งการอยู่บ้านร่วมกับคนในครอบครัว การปฏิบัติตัวต่าง ๆ อาจจะเคร่งครัดมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่มีบ้านแยกส่วนอาจจะไม่ได้ลำบากมากหนัก แต่หากใครไม่มีแยกส่วน และจำเป็นจะต้องเปิดแอร์แล้วคงเกิดคำถามว่าตามมาว่า หาก "ติดโควิดเปิดแอร์ได้ไหม" จะมีการแพร่เชื้อ หรือเชื้อไวรัสโควิดจะเข้าไปสะสมในตัวกรองอากาศ และจะส่งผลให้เชื้อไวรัสปนเปื้อนในอาการหรือไม่ 

กรมอนามัย เผยว่า จากคำถามที่หลายคนสงสัยว่า "ติดโควิดเปิดแอร์ได้ไหม" ข้อแนะนำว่า  ควรเลี่ยงการเปิดแอร์ เนื่องจาก ห้องแอร์เป็นห้องที่มีอากาศปิดอากาศไหลเวียนได้ไม่ค่อยดี จึงเป็นสถานที่ที่เชื้อโควิดจากผู้ป่วยจะสะสมอยู่ในห้อง เพื่อให้การฟื้นฟูร่างกายจากอาการป่วยดีขึ้นให้ผู้ติดเชื้ออยู่ในพื้นที่ที่ระบายอากาศได้ดี เปิดพัดลม แล้วเปิดประตูหรือหน้าต่างแทน ยกเว้น อยู่คนกับผู้อื่นที่ไม่ได้ติดเชื้อ ไม่ควรเปิดหน้าต่าง เนื่องจาก ลมอาจพัดเชื้อจากตัวเราไปสู่คนอื่นได้

นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลเพื่อเติมว่าผู้ป่วยที่อยู่คนเดียว "ติดโควิดเปิดแอร์ได้ไหม" หากต้องการเปิดแอร์ควรปฏิบัติ ดังนี้

-เปิดแอร์ได้ครั้งละไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง 

-หลังจากที่ปิดแอร์ ให้เปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศออก อย่างน้อย 20-30 นาที แล้วเปิดแอร์ใหม่

อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เชื้อโรคสะสมอยู่บนพื้นที่ผิวภายในห้อง เพราะข้อมูลระบุว่า สายพันธุ์ โอไมครอน สามารถอยู่บนพื้นผิวสเตนเลส พลาสติก และแก้ว ได้นานหลายวัน และยังมีแนวโน้มที่สามารถอยู่ในอากาศได้นานกว่าปกติ และมีการแพร่เชื้อได้รวดเร็วขึ้นโดยเฉพาะสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 

ข้อแนะนำสำหรับ ผู้ป่วยโควิด ควรปฏิบัติดังนี้ 
-งดการเยี่ยม ระหว่างแยกกักตัว 
-รักษาระยะห่าง งดสัมผัสผู้อื่น
-เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
-ไม่รับประทานอาหารร่วมกัน
-ล้างมือบ่อย ๆ 
-แยกซักเสื้อผ้า
-แยกใช้ห้องน้ำ หากเลี่ยงไม่ได้ ข้อให้ผูป่วยใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดด้วย 

หากไม่ได้อยู่ห้องแอร์แต่จำเป็นต้องเปิดพัดลม ไม่ควรเปิดในลักษณะดังนี้

-ห้ามเปิดพัดลมจ่อบริเวณใบหน้า เนื่องจากในอากาศมีเชื้อโควิด 19 ลอยปนเปื้อนจะส่งผลให้หายใจเอาเชื้อเข้าสู่ร่างกายดยตรง
 
-ไม่ควรใช้พัดลมเพดานทุกชนิด โดยเฉพาะบ้านที่มีลักษณะปิดทึบ  เพราะหากมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ในอากาศ แรงจะยิ่งทำให้เชื้อโรคในอากาศฟุ้งกระจายมากขึ้น

-หากเปิดแอร์ ควรเปิดพัดลมดูดอากาศร่วมด้วย

ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/521058?adz=

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" เด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ เช็คเลยรายละเอียดสถานที่ฉีด - ได้รับวัคซีนสูตรไหน?

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี (ทุกสัญชาติ) โดยจะได้รับการฉีดวัคซีนสูตร ซิโนแวค (Sinovac) เข็ม 1 + ไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาส้ม เข็ม 2

 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี เผย "นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" สำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ จะได้รับการฉีดวัคซีนสูตร ซิโนแวค (Sinovac) เข็ม 1 และ ไฟเซอร์ (Pfizer) ฝาส้ม เข็ม 2 จำกัดวันละ 1,000 คน เวลา 13.00-15.00 น.
 

สถานที่ฉีดวัคซีน มีดังนี้

เซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ (วันฉีดวัคซีน)

  • วันที่ 7 มีนาคม 2565
  • วันที่ 8 มีนาคม 2565
  • วันที่ 15 มีนาคม 2565
  • วันที่ 21 มีนาคม 2565
  • วันที่ 22 มีนาคม 2565

เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ (วันฉีดวัคซีน)

  • วันที่ 17 มีนาคม 2565
  • วันที่ 18 มีนาคม 2565
  • วันที่ 24 มีนาคม 2565
  • วันที่ 25 มีนาคม 2565

ลงทะเบียนผ่านทางลิงค์นี้ https://xn--o3cdavpl4ezlya.com/nont.../nontkids/check.php... ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

*สำหรับ เข็ม 2 ทุกท่านจะได้รับใบนัดหมายจากสนามฉีดในลำดับต่อไป

*การฉีดวัคซีนชนิดใด เป็นความสมัครใจของผู้ปกครองและเด็ก ไม่มีการบังคับแต่อย่างใด

"นนท์ kids" เปิดลงทะเบียน "ฉีดวัคซีน" เด็กอายุ 6-11 ปี ทุกสัญชาติ

ที่มา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/991483?anf=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ