"ปลูกฝี" เผยข้อมูล ภูมิคุ้มกัน ฝีดาษลิง อยู่นานถึง 88 ปี เช็ค เกิดปีไหน รอด
 
 

คนเคย "ปลูกฝี" มีความหวัง หมอดื้อ เผยข้อมูล ระดับ ภูมิคุ้มกัน กัน "ฝีดาษลิง" อยู่นานถึง 88 ปี เช็คเลย คนเกิดปีไหน รอด

(8 ส.ค.2565) "หมอดื้อ" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊ค ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ และเรียกได้ว่าเป็นข่าวดี สำหรับ "โรคฝีดาษลิง" โดยระบุว่า คนปลูกฝีกันไข้ทรพิษ กัน "ฝีดาษลิง" ได้ ภูมิอยู่นาน 88 ปี

"หมอดื้อ" อ้างอิงข้อมูล เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันจากการปลูกฝี (Immunity from smallpox vaccine) ใน Am J Med (American journal of medicine) ปี 2008 ทำการวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อฝีดาษ (Vaccinua IgG) และความสามารถในการป้องกันโรค (neutralizing Ab titer, NAb) ในประชากร 246 คน โดย 209 คน เคยได้รับการฉีดวัคซีน ฝีดาษอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เมื่อ 13-88 ปี โดยเจาะเลือดเก็บไว้ตรวจเป็นระยะมาก่อน

  • 8 คน มีประวัติเป็นฝีดาษตอนเด็ก
  • 29 คน ไม่มีทั้งประวัติการติดเชื้อ หรือได้รับวัคซีนฝีดาษ

พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันต่อฝีดาษไม่ลดลง แม้ในกลุ่มได้รับวัคซีนมาแล้ว 88 ปี รวมถึงระดับ NAb ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และพบว่า titer ของระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการติดเชื้อฝีดาษได้คือ 32 ซึ่งมีคนไข้มากกว่า 97% ที่มีระดับภูมิคุ้มกันระดับนี้

ปลูกฝี ระดับภูมิต้านฝีดาษลิงนาน 88 ปี

 

ปลูกฝี ระดับภูมิต้านฝีดาษลิงนาน 88 ปี

สรุปคือจากการศึกษานี้พบว่า ส่วนใหญ่คนที่เคยปลูกฝีสามารถมีระดับภูมิคุ้มกันที่ป้องกันโรคฝีดาษได้นานถึง 88 ปี โดยไม่ขึ้นกับจำนวนครั้งที่ฉีดวัคซีนกระตุ้น เพราะคนที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นก็ไม่ได้มีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าคนที่ฉีดเพียงครั้งเดียวอย่างมีนัยยะสำคัญ

ทั้งนี้ ข้อมูลจากอินเดีย พบว่า "ฝีดาษลิง" ช่วงระยะฟักตัว 5-21 วัน คนไข้อาจไม่มีอาการใด ๆ เลย ไม่มีไข้ ไม่เมื่อยตัว ไม่มีผื่น แต่ก็สามารถแพร่เชื้อได้แล้วทางละอองฝอยน้ำลายไอจาม (droplet) โดยประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อแทบไม่ต่างจากระยะที่มีอาการแสดงชัดเจน และอัตราเสียชีวิตเริ่มเพิ่มขึ้นจากเดิม 1% ไปเป็น 3-6% ข้อมูลนี้เน้นว่า ต้องพิจารณาส่งตรวจ PCR จากการ swab ช่องจมูกและน้ำลายให้มากขึ้น ถ้าต้องการยุติการแพร่ระบาดให้เร็ว

ปลูกฝี ภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษนานถึง 88 ปี

 

ปลูกฝี ภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษนานถึง 88 ปี

หลักสังเกตว่าตนเองเคยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแล้วหรือไม่อย่างไร ได้แก่

  1. ถ้าเป็นคนอายุมากกว่า 48 ปี ที่เกิดก่อนปี 2517 มีโอกาสสูงที่จะเคยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการระดมปลูกฝีในช่วงนั้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ฝีดาษหมดไปจากประเทศไทย ส่วนใหญ่จะฉีดกันที่โรงเรียน
  2. ถ้าอายุน้อยกว่า 42  ปี คือเกิดหลังปี 2523 ถือว่าไม่เคยได้รับการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษมาก่อน
  3. กรณีผู้ที่อายุ 43-47 ปี คือเกิดก่อนปี 2523 แต่เกิดหลังปี 2517 เป็นช่วงก้ำกึ่ง จะต้องตรวจดูแผลเป็นต่อไป
  4. ในการตรวจสอบแผลเป็น ซึ่งส่วนใหญ่จะฉีดที่ต้นแขนซ้าย

ในกรณีที่เป็นการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ แผลเป็นจะเป็นลักษณะแผลแบนเรียบ หรือเป็นหลุมลงไปเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นการปลูกฝีป้องกันวัณโรคที่เรียกว่า BCG แผลเป็นนั้นจะนูนขึ้นมา


ดังนั้น การตรวจสอบว่าตนเองเคยปลูกฝีป้องกันฝีดาษคน/ไข้ทรพิษหรือยัง ก็ใช้หลักสองประการดังกล่าวคือ ดูว่าเกิดก่อนปี 2517 และตรวจสอบว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้น เป็นแผลที่เรียบหรือเป็นหลุมลงไปเล็กน้อย ก็ถือว่าเคยปลูกฝีป้องกันฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษแล้ว

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/525511?adz=

 

"ผมกลัว" ที่จะติดเชื้อ Covid-19 ผมจึงทำตามที่รัฐบาลบอก คือ"อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" และจะออกจากบ้านเมื่อจำเป็นจริงๆ
ผมบอกว่า ผมเชื่อว่าใครที่ติดเชื้อ Covid-19 จะไม่มีวันกลับไป"ปกติ" เพราะปอดจะไม่ทำงานเต็มร้อยอีกแล้ว
แต่..แต่ก่อนที่จะเสียชีวิต หากคุณติดเชื้อ รู้ไหมว่ามันทรมานแค่ไหน
คุณรู้ไหมว่าการรักษาโรคปอดติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือ Covid -19 มันไม่ใช่แค่ใส่หน้ากากออกซิเจน แล้วนอนอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์อยู่บนเตียงสบายๆในโรงพยาบาล
หากแต่เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วย Covid -19 มันสร้างความเจ็บปวด เพราะต้องสอดท่อลงไปในลำคอและคาไว้จนกว่าคุณจะหายหรือตายภายใน2-3 สัปดาห์โดยไม่สามารถขยับตัว
การรักษานี้ คนไข้จะถูกจับให้นอนคว่ำกลับหัว มีท่อหายใจต่อจากปากของคุณขึ้นไปที่เครื่องช่วยหายใจ ไม่สามารถพูดหรือกินหรือขับถ่ายได้ตามปกติ
แถมเจ็บปวดตลอดเวลา
ที่แพทย์ช่วยได้ก็คือให้ยานอนหลับและยาแก้ปวดเพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้สามารถอดทนต่อความเจ็บจากการใส่ท่อช่วยหายใจ เหมือนอยู่ในอาการโคม่าเทียม
ผ่านไป 20 วัน ผู้ป่วยจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ 40 % และมีแผลในปากหรือหลอดลม เช่นเดียวกับปอด เกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ
นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนแก่ หรือผู้ป่วยโรคอื่น เช่น ความดัน หัวใจ ไม่สามารถทนการรักษาได้ และอาจตายในที่สุด
ย้ำ..นี่ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่!
การให้อาหารเหลวใส่หลอดเข้าไปในท้องของคุณไม่ว่าจะผ่านจมูกหรือทางเส้นเลือด การที่ต้องมีพยาบาลมาช่วยขยับแขนขาทุกสองชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับและต้องนอนบนเตียงน้ำที่เย็นเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ 40 องศาของคุณ "มันไม่ใช่เรื่องสนุก"
และคนที่บ้านเป็นทุกข์แน่ๆ..
นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ตะวันตกปล่อยให้ตาย ไม่รับรักษา เพราะสิ้นเปลือง..
ผมกลัว..ผมจึงอยู่บ้าน
ถ้าคุณไม่กลัว ก็ตามสบายนะครับ ไม่สวมหน้ากากตอนออกจากบ้าน ไม่รักษาระยะห่าง ไปในที่สุ่มเสี่ยง เป็นเรื่องความรับผิดชอบที่คุณมีต่อครอบครัวของคุณเอง..
ที่เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อคนที่รักคุณ และ เพื่อตัวคุณเอง

"ฝีดาษลิง" มีคำตอบ ทำไมตุ่มจึงขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ?
 
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" หรือฝีดาษวานร หาคำตอบกรณีผู้ติดเชื้อทำไมตุ่มจึงขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ย้ำเป็นโรคที่ยากต่อการควบคุม แต่ติดยากกว่าโควิด-19 เป็นร้อยเท่า

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" หรือฝีดาษวานร หาคำตอบกรณี ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทำไมตุ่มจึงขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ

 

ลักษณะแตกต่างของตำแหน่งที่ผื่นขึ้นหรือตุ่มน้ำ ระหว่างผู้ป่วยที่เกิดในแอฟริกากับผู้ป่วยที่พบนอกแอฟริกา จะเห็นว่าประมาณ 40% ของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นนอกแอฟริกามีตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือส่วนที่ทำกิจกรรมทางเพศ

ทั้งนี้เพราะ การเกิดในแอฟริกาส่วนใหญ่เริ่มต้นจากสัตว์สู่คน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู การที่เราได้รับเชื้อฝีดาษลิงจะรับเชื้อทางการสัมผัส หรือเข้าทางระบบทางเดินหายใจ เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและต่อมน้ำเหลืองที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้เมื่อยเนื้อ เมื่อยตัว แล้วหลังจากนั้นจึงมีตุ่มน้ำเกิดขึ้น

การเกิดจะเกิดส่วนปลายของร่างกายก่อน เช่น แขน ขา ศีรษะ แล้วค่อยมาที่ลำตัว ดังนั้นการเกิดจากการกระจายไปตามกระแสโลหิต ลักษณะตุ่ม จึงเกิดในระยะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันหรือเรียกว่าสุกพร้อมกัน

แต่การเกิดในผู้ป่วยนอกแอฟริกาจะมี 2 ระยะ ระยะแรกคือ การสัมผัสโดยเฉพาะในกิจกรรมทางเพศ เชื้อจะเข้าตามรอยถลอกของร่างกาย จึงเปรียบเสมือนเป็นการปลูกฝีแบบสมัยก่อน สมัยก่อนเราปลูกฝีโดยการหยดหนองฝีที่ต้นแขน แล้วใช้เข็มแหลม สะกิดหรือข่วน ให้เป็นรอยถลอกเล็กน้อย ตุ่มหนองฝี จะขึ้นตามตำแหน่งที่เราข่วน หรือรอยถลอก แล้วก็หายไป ร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทานขึ้น ยกเว้นในรายที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อจะเข้าสู่กระแสโลหิตแล้วเกิดการกระจายตัวของตุ่มได้ทั้งตัว

การเกิดตุ่มในผู้ป่วยนอกแอฟริกาที่กำลังระบาดอยู่นี้ หลายหมื่นคน จะอยู่ในกลุ่มเพศชายถึง 98% และมีตุ่มเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศถึง 40% และผู้ป่วยมักจะพบร่วมกับโรคที่เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ร่วมด้วย

การเกิดโรคฝีดาษลิงจึงมี 2 ระยะ

  • ระยะแรก ตุ่มที่ขึ้นจะขึ้นบริเวณอวัยวะเพศก่อน เกิดจากเชื้อสัมผัสกับรอยขูดถลอก หรือบริเวณที่สัมผัส รอยโรคจะเกิดขึ้นคล้ายกับการปลูกฝี
  • แต่เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต แล้วกระจายไปทั่วจึงค่อยเกิดตุ่ม ที่ศีรษะแขนขาและลำตัว ตามมาทีหลัง ระยะต่างๆของตุ่มที่เกิดจึงไม่ได้อยู่ในระยะเดียวกันทั้งหมด

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง ที่เกิดขึ้นนอกแอฟริกา จึงอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และเป็นเพศชายเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อไปในอนาคต กิจกรรมทางเพศจะกระจายไปเข้าสู่เพศหญิงได้แล้วในที่สุด โรคนี้จึงเป็นโรคที่ยากต่อการควบคุม

อย่างไรก็ตามการติดของโรคนี้ ติดได้ยากกว่าโรคโควิด-19 เป็นร้อยเท่า ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงเท่านั้นที่จะมีโอกาสได้รับเชื้อในระยะแรกนี้

สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษลิงในประเทศไทย ล่าสุด กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ป่วยโรค "ฝีดาษลิง" หรือฝีดาษวานร รายที่ 4 ของประเทศไทย เป็นหญิงไทยอายุ 22 ปี มีประวัติเสี่ยงใกล้ชิดกับชายชาวต่างชาติที่สถานบันเทิงใน กทม.

CR เฟซบุ๊ก หมอยง

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1019441?anf=

 
"ฝีดาษลิง" 2022 หมอดื้อ เปิด 5 ข้อ ประเด็นสำคัญ - ทั่วโลกพบป่วยเกือบ 20,000 ราย
 

หมอดื้อ เปิด 5 ข้อ ประเด็นสำคัญ ของ "ฝีดาษลิง" 2022 พบการติดต่อกันยากกว่า "โควิด" ขณะที่ทั่วโลกพบผู้ป่วยฝีดาษลิงเกือบ 20,000 รายแล้ว

ภายหลังที่การระบาดของ "ฝีดาษลิง" ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยเจอแล้ว 2 ราย ซึ่งทั่วโลกตอนนี้พบ ผู้ป่วยฝีดาษลิง แล้วเกือบ 20,000 ราย ล่าสุด WHO ได้ออกประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระหว่างประเทศ โดย หมอดื้อ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึง ประเด็นสำคัญ ของ "ฝีดาษลิง" 2022 ดังนี้

1. ป้องกันการแพร่ได้ และไม่ได้จำเป็นต้องให้ยาทุกราย เพราะหายเองได้ 

2. รู้จัก คู่สัมพันธ์ คู่นอน คู่รัก

3. ความยากของการวินิจฉัย ผื่น ตุ่ม แผล ที่ผิวหนัง อยู่ในที่เร้นลับ อวัยวะเพศ ทวารหนัก และเยื่อบุ ช่องก้น ลิ้น ช่องปาก รูทวาร (anogenital oropharynx tongue) ซึ่งบ่งบอกช่องทางการติดและไวรัสจะกระจายมาหน้า มือ ตัวทีหลัง หรือไม่มาก็ได้

ข้อดี คือ มีอาการไม่สบาย นำมาก่อน จะมีไข้หรือไม่มีก็ตาม โดยมีอาการ เหนื่อยล้า เซื่อง หมดแรง ปวดเมื่อย ปวดหัว ทั้งนี้ โดยที่จะมีการติดต่อกัน ต่อเมื่อเริ่มมีอาการแล้ว โดยแพร่ทางละอองน้ำลายขณะสัมผัสใกล้ชิด แม้ยังไม่มีผื่นแผล ซึ่งเมื่อมี ก็เป็น อีกช่องทางของการแพร่ได้ เมื่อมีการสัมผัสที่แผล

4. การสัมผัสใกล้ชิดกัน เป็นช่องทางติดต่อที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ ขณะมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะพบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำอสุจิ ปัสสวะ เลือดได้ แต่ยังไม่สามารถยืนยันว่าเป็นไวรัสในรูปที่ติดต่อได้หรือไม่ ต่างจากน้ำที่ตุ่มน้ำ หรือหนองที่แผลที่ยังไม่าะตกสะเก็ด หรือละอองฝอยน้ำลายซึ่งติดต่อได้

5. การแพร่ให้คนในครอบครัว ในบ้านเดียวกัน ยังค่อนข้างยากมากติดยากกว่า โควิด การให้ความรู้อย่างกระจ่าง ถึงอาการ ช่องทางการติด การระวังตัว เป็นสิ่งสำคัญ และ ไม่ใช่เป็นเฉพาะในคนรักเพศเดียวกัน หรือ สองเพศ 

(ประมวลจากรายงานในวารสารนิวอิงแลนด์วันที่ 21 กรกฎาคม รายงานการติดเชื้อ 528 รายระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 24 มิถุนายน ใน 16 ประเทศ)

https://www.komchadluek.net/news/524284?adz=

 

 
\"พระสมเด็จจิตรลดา\" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี
 
"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชทานแก่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และเหล่าข้าราชบริพาร เปี่ยมล้นด้วยความงาม และคุณค่าทางจิตใจ ด้วยพระบารมีของเอกอัครศิลปิน
 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช "อัครศิลปิน" ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปกรรม ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม หัตถกรรม ภาพถ่าย และการดนตรี ในด้านประติมากรรม ผลงานฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านที่สำคัญคือ ประติมากรรมลอยตัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครึ่งพระองค์ สูง 12 นิ้ว และประติมากรรมหญิงเปลือยนั่งคุกเข่าสูง 9 นิ้ว ที่ทรงปั้นด้วยดินน้ำมัน แล้วยังทรงทรงแกะแบบแม่พิมพ์ พระพิมพ์ที่เรียกกันว่า "พระสมเด็จจิตรลดา"


ที่มา : วิกิพีเดีย

ที่มา : วิกิพีเดีย
"พระสมเด็จจิตรลดา" พระปางสมาธิ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ พระพักตร์ทรงผลมะตูม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ดอกบัว ประกอบด้วย กลีบบัวบานทั้ง 9 กลีบ บัว กลีบ ล่าง 4กลีบ และเกสรดอกบัว 9 จุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร และองค์เล็กขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร สูง 1.9 เซนติเมตรมีหลายสี ตามมวลสารที่ใช้ผลิตในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ได้แก่ สีน้ำตาล สีน้ำตาล-อมเหลือง สีน้ำตาล-อมแดงคล้ายเทียน สีดำอมแดง หรือ สีดำอมเขียว มีทั้งสีเข้มและอ่อน

พระสมเด็จจิตรลดา มีลักษณะละม้ายคล้ายกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานประจำทุกจังหวัดและหน่วยทหาร แต่ต่างกันที่ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระปางมารวิชัย 

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

 

นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร  ให้ข้อมูลว่า พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน เป็นพระเครื่อง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2513 พระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และพลเรือน ด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มีเอกสารส่วนพระองค์  ซึ่งแสดงชื่อ นามสกุล วันที่รับพระราชทาน หมายเลขกำกับทุกองค์ และภาพพระสมเด็จจิตรลดา โดยมีพระราชดำรัสแก่ผู้รับพระราชทานว่า "ให้ปิดทองที่หลังองค์พระปฏิมา แล้วเอาไว้บูชาตลอดไป ให้ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ"

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

"พระสมเด็จจิตรลดา" พระเครื่องของพ่อ จากฝีพระหัตถ์ เปี่ยมล้นด้วยพระบารมี

โดยมีศาสตราจารย์ ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการบำนาญกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย การแกะพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน เป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก แล้วใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึกเพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรลดา จากนั้นก็ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทอดพระเนตร และทรงวินิจฉัยแบบพิมพ์ พระองค์ท่านมีพระราชกระแสรับสั่งให้แก้ไข ตกแต่ง แบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลป์ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน 

ที่มา: วิกิพีเดีย

ที่มา: วิกิพีเดีย

โดยพระองค์ท่านทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้ตามจำนวนพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อทำการหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยทรงหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง นับเป็นพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์หนึ่งเดียวที่รวมไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

 

ทั้งนี้มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์  โดยมวลสารจะมีความแตกต่างจากพระเครื่องอื่น เป็นดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล เส้นพระเจ้า ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล  สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสีน้ำมัน ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่งใช้แข่งขันกีฬาแหลมทอง 1967



และ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัดดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก


ด้านดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร หนึ่งในผู้ที่ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา จากพระหัตถ์ ของในหลวงรัชกาลที่9 เปิดเผยว่า ตนเองมีโอกาสได้รับพระราชทานเมื่อตอนอายุ 2 ขวบ โดยได้รับจากพระหัตถ์พระองค์ท่าน และได้ใส่ติดตัวมาตลอด แต่ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัย นับเป็นสมบัติล้ำค่าทางจิตใจ รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีท่านผู้หญิงพึงจิตต์ ศุภมิตร คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย โดยพระองค์จะทรงแกะพิมพ์ด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ที่ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ มาจะไม่มีกล่องกำมะหยี่ และการสร้างในแต่ละครั้งมีจำนวนน้อยมาก โดยผู้ที่ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดา บุคคลสุดท้ายคือ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

พระสมเด็จจิตรลดา มีการประมาณการว่ามีการจัดสร้างพิมพ์ใหญ่ราว 2,974 องค์ และพิมพ์เล็กอีกราว 40 องค์ แต่มีการคาดการณ์ว่ามีมากกว่านั้น เนื่องจาก สมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็ก ที่ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร รับพระราชทานมานั้น เป็นหมายเลข 59 โดยพระพิมพ์เล็ก ทรงพระราชทานแก่ลูกหลาน ของเหล่าข้าราชบริพาร และมีประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตร ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดประดิษฐานไว้ ณ ศาลากลางจังหวัดของทุกจังหวัด และเป็นพระพุทธรูปประจำหน่วยทหาร ประดิษฐานไว้ ณ กองบัญชาการหน่วยทหาร โดยความพิเศษของพระสมเด็จจิตรลดา ที่แตกต่างจากพระเครื่องอื่น คือไม่มีพิธีพุทธาภิเษก จากเกจิดังแต่ผ่านการอธิษฐานจิตด้วยพระองค์เอง


ที่มา : วิกิพีเดีย

ที่มา : วิกิพีเดีย

พระสมเด็จจิตรลดา พระเครื่องฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช นับเป็นพระเครื่องที่รวมไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางพุทธศิลป์ พุทธคุณ และคุณค่าทางจิตใจที่ยากจะประมาณได้

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/488023

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ