"หมอดื้อ" รีวิวฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง ใช้น้อย แต่ภูมิเท่ากัน 

"หมอดื้อ" โชว์รีวิวฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง ย้ำประสิทธิภาพ ใช้น้อย ภูมิเท่ากัน แถมปลอดภัยกว่าเต็มโดส

(12 ธ.ค.2564) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค เราฉีดวัคซีนกันติด กันตายจากโควิด ไม่ใช่ตาย ป่วย และหลายรายอาการยืดเยื้อเรื้อรังจากวัคซีน เราต้องมีทางเลือก เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ภายหลังเข้ารับการฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง ระบุว่า หมอ และภรรยา และคนในบ้าน รวม 6 คน ฉีด โมเดนา เช้าชั้นผิวหนัง ที่โรงพยาบาล The Senizens เรียบร้อยดีไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ทั้งแขนที่ฉีด และไม่มีไข้ ปวด ต้ว ปวดหัว อ่อนเพลียใด ๆ ตัวหมอเอง เข็มก่อนหนัานี้ แอสตร้า ป่วยไป 3 วัน ลุกไม่ได้ เพื่อนที่ได้ โมเดอร์นา เข้ากล้าม ป่วยไป 4 วัน ทั้งปวดแขน นอนป่วย ไข้ สูง ปวดหัว รุนแรง

"หมอดื้อ" รีวิวฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง ใช้น้อย แต่ภูมิเท่ากัน

 

ฉีดโมเดอร์นา ชั้นผิวหนัง ใช้ขนาด 10 ไมโครกรัม ไม่ใช่ 100 แบบเข้ากล้าม การศึกษาทั้งต่างประเทศ และในประเทศ ได้ผลเท่ากัน แต่ปลอดภัยกว่า 1 ขวดโมเดอร์นา ฉีดได้ 10 คน กลายเป็นได้ 100 คน คณะทำงานของเรา ศึกษาฉีด แอสตร้า ชั้นผิวหนัง ตาม ซิโนแวค เข้ากล้าม 2 เข็ม มากกว่า 400 ราย ภูมิยับยั้งเดลตา ขึ้นดีพอกับเข้ากล้าม แต่ต่อ เบต้า จะด้อยกว่าไฟเซอร์ ที่ดีต่อทั้ง เดลต้า และเบต้า (อีกหลายที่ในประเทศไทยที่ศึกษาการฉีดชั้นผิวหนังได้ผลดีและผลข้างเคียงน้อยกว่า 10 เท่า) เหตุผลสำคัญ ชั้นผิวหนัง เพราะหมอและแพทย์ทางสมอง ต้องประสบกับผู้ป่วยอาการรุนแรง ทางสมอง เส้นประสาท หัวใจ ลิ่มเลือด สมองบวม และมีเสียชีวิต หลายรายมาก จากวัคซีนเข้ากล้าม เราฉีดวัคซีนกันติด กันตายจากโควิด ไม่ใช่ตาย ป่วย และหลายรายอาการยืดเยื้อเรื้อรังจากวัคซีน เราต้องมีทางเลือก เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

"หมอดื้อ" รีวิวฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง ใช้น้อย แต่ภูมิเท่ากัน

สำหรับ ผู้ที่สนใจฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง สามารถ โทรจองคิว ได้ที่โรงพยาบาล Seniszens ตามข้อมูลในรูป
 

"หมอดื้อ" รีวิวฉีดวัคซีน "โมเดอร์นา" เข้าชั้นผิวหนัง ใช้น้อย แต่ภูมิเท่ากัน

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/hot-social/496511?adz=

 

 
"หมอธีระ" เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ชนิดใดสู้ Omicron ได้ดีสุด
 
 

"หมอธีระ" เปิดข้อมูล ประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ชนิดใดสู้ Omicron ได้ดีสุด ขณะที่ Long COVID ส่งผลระยะยาว ทำขาดแคลนแรงงาน

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน) เปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด19" เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 794,802 คน ตายเพิ่ม 1,377 คน รวมแล้วติดไปรวม 523,707,042 คน เสียชีวิตรวม 6,292,170 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ เยอรมัน ออสเตรเลีย ไต้หวัน และอิตาลี

สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่าเมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชียเท่ากับไต้หวัน ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปก็ตาม ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 20.32% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

อัพเดตความรู้

1. van Gils MJ และคณะจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ "วัคซีนโควิด" ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในน้ำเลือด (แอนติบอดี้) ต่อไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวล รวมถึง Omicron โดยวัด ณ 4 สัปดาห์ หลังฉีดวัคซีน และหลังฉีดเข็มกระตุ้น เป็นที่ชัดเจนว่า วัคซีนประเภท mRNA มีประสิทธิภาพดีกว่าประเภท viral vector 

"หมอธีระ" เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ชนิดใดสู้ Omicron ได้ดีสุด

2. Nordstrom P และคณะ จากประเทศสวีเดน ชี้ให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากกว่าการฉีดเข็มกระตุ้นเพียงเข็มเดียวได้อีก 42% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 35%-49%)

"หมอธีระ" เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนโควิด" ชนิดใดสู้ Omicron ได้ดีสุด

3. ข้อมูลจาก Prof.Page C (UK) สรุปสถานการณ์ในสหราชอาณาจักรว่า ปัจจุบันมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดในรอบ 50 ปี ทั้งนี้ทาง BBC ชี้ให้เห็นว่ามีตำแหน่งงานว่างถึง 1.3 ล้านตำแหน่ง เพราะมีจำนวนแรงงานในระบบที่ลดลง อันเป็นผลมาจาก 3 เหตุผลหลักคือ กฎเกณฑ์สำหรับแรงงานหลังนโยบาย Brexit, การออกจากระบบแรงงานของคนที่สูงอายุหลังช่วงโควิดระบาด, และการมีจำนวนคนที่ประสบปัญหาเจ็บป่วยระยะยาวที่มากขึ้น (Long term sickness)

ทั้งนี้ข้อมูลจาก Bank of England วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ระบุว่าการขาดแคลนแรงงานวัย 16-64 ปีอันเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยระยะยาวนั้นสูงขึ้นเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิง และเชื่อว่าเป็นผลมาจากโรคระบาดและ Long COVID

สถานการณ์ที่เห็นในต่างประเทศนั้น ไทยจำเป็นต้องมองไปข้างหน้า และเตรียมรับมือสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อันเป็นผลมาจากการติดเชื้อจำนวนมาก ตั้งแต่ระลอกสอง (ปลายปี 63 ถึงต้นปี 64 จากสายพันธุ์ G) ระลอกสาม (เมษายนปี 64 จนถึงปลายปี จากอัลฟ่าและเดลต้า) และสี่ (Omicron ตั้งแต่ต้นปี 65 เป็นต้นมา) ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดผู้ป่วย Long COVID มีผลทำให้บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน และการทำงาน การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

อ้างอิง
1. van Gils MJ et al. Antibody responses against SARS-CoV-2 variants induced by four different SARS-CoV-2 vaccines in health care workers in the Netherlands: A prospective cohort study. PLOS Medicine. 17 May 2022.
2. Nordstrom P et al. Effectiveness of a Second COVID-19 Vaccine Booster on All-Cause Mortality in Long-Term Care Facility Residents and in the Oldest Old: A Nationwide, Retrospective Cohort Study in Sweden. SSRN (Preprints with The Lancet). 12 May 2022.

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/515432?adz=

"หมอธีระ"โพสต์เตือน หากเห็น 2 สัญญาณนี้เมื่อไหร่ บอกเลยว่าโควิดในประเทศไทยอันตราย กำลังจะคุมไม่อยู่แล้ว

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก รวมไปถึงสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ผ่านทาเฟซบุ๊กส่วนตัว Thira Woratanarat โดยระบุข้อความเอาไว้ว่า 

สถานการณ์ทั่วโลก 27 ธันวาคม 2563...
รัสเซียทะลุสามล้านคนไปแล้ว และพรุ่งนี้แอฟริกาใต้จะแตะล้านคนเป็นประเทศที่ 18 ของโลก
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 494,918 คน รวมแล้วตอนนี้ 80,650,547 คน ตายเพิ่มอีก 7,687 คน ยอดตายรวม 1,763,976 คน 
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 181,851 คน รวม 19,379,991 คน ตายเพิ่มอีกถึง 1,565 คน ยอดตายรวม 339,690 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 18,574 คน รวม 10,188,392 คน
บราซิล ติดเพิ่มถึง 17,246 คน รวม 7,465,806 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 29,258 คน รวม 3,021,964 คน ตอนนี้สื่อไต้หวันได้ลงข่าวว่า วัคซีน Sputnik-V ของรัสเซียที่บอกว่าป้องกันได้ 91% นั้นมาจากการวิเคราะห์ผลระหว่างวิจัยโดยมีการติดเชื้อรวม 78 คนจากคนที่ทดลอง 23,000 คน ซึ่งถือว่ามีจำนวนอาสาสมัครน้อยกว่าวัคซีนของฝั่งอเมริกา นอกจากนี้ยังพบว่ากำลังประสบปัญหาเรื่องยังไม่ได้สิ้นสุดการวิจัยระยะที่สามเพื่อพิสูจน์ผลการป้องกัน ที่ตอนแรกจะรับอาสาสมัคร 40,000 คน แต่ทางรัฐบาลได้ประกาศฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงไปล่วงหน้า ทำให้หาอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยได้ช้าลงกว่าเดิม และทางการแพทย์ก็กังวลว่าอาจขัดต่อหลักจริยธรรมการวิจัยหากไม่ให้วัคซีนแก่อาสาสมัครที่ถูกสุ่มไปอยู่ในกลุ่มที่ได้วัคซีนหลอก ล่าสุดเค้าประกาศลดจำนวนอาสาสมัครลงเหลือ 31,000 คน คงต้องติดตามดูต่อไปว่าผลจะเป็นเช่นไร
ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 3,093 คน รวม 2,550,864 คน  อันดับ 6-10 เป็น ตุรกี สหราชอาณาจักร อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักหมื่นต่อวัน  ฝั่งอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายหมื่น  แถบสแกนดิเนเวีย รอบทะเลบอลติก และแถบยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่องเมียนมาร์ ติดเพิ่มหลายร้อย ส่วนจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่เวียดนามติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ สถานการณ์ในเมียนมาร์ช่วงนี้ดูลดลง เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 734 คน ตายเพิ่มอีก 27 คน ตอนนี้ยอดรวม 121,280 คน ตายไป 2,579 คน อัตราตายตอนนี้ 2.1% ระบาดระลอกสามครั้งนี้ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฮ่องกง เล่นเอาหนักหนาสาหัส ล่าสุดฮ่องกงยังติดเพิ่มกว่าครึ่งร้อยทุกวัน ในขณะที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นั้นติดกันหลักพัน ทำให้คาดว่าฮ่องกงคงจะสู้ศึกไปถึงกุมภาพันธ์ ส่วนอีกสองประเทศน่าจะยาวไปถึงปลายมีนาคม

ในขณะที่ประเทศไทยก็ดูน่าวิตกมากครับเพราะลักษณะการติดเชื้อนั้นไม่ใช่สะเก็ดไฟกระจายไปตามที่ต่างๆแต่มันเป็นแบบการแพร่ใหญ่หลายเหตุการณ์พร้อมกัน อย่างที่เราเรียกเชิงเทคนิคว่า Superspreading events เช่นที่เห็นในบิ๊กไบค์ปาร์ตี้ และที่ระบาดจากบ่อนมาสู่ครอบครัว อย่างที่เคยบอกไปว่าการระบาดซ้ำ ระลอกสอง หรือระลอกใหม่ก็ตามใจคุณจะเรียกนั้นจะเกิดขึ้นเร็ว แรง หาต้นตอได้ยาก และมักจะมีปัญหาการแพร่ระบาดหลายกลุ่ม (multiple clusters) และการแพร่ระบาดใหญ่หลายเหตุการณ์ (multiple superspreading events) หากเห็นสองสัญญาณนี้เมื่อไหร่ ให้บอกตัวเองไว้เลยว่าอันตราย และจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเข้มข้นทันที เพราะเป็นสัญญาณว่ากำลังจะคุมไม่ได้แล้วเวลาทองของไทยที่จะบรรเทาการระบาดซ้ำให้เบากว่าหรือใกล้เคียงระลอกแรก มีราว 4 สัปดาห์คือถึงประมาณกลางมกราคม 2564 ตอนนี้เหลือไม่ถึงสามสัปดาห์แล้ว

หากผมเป็นประชาชนในพื้นที่เสี่ยงทุกจังหวัดที่มีการรายงานเคสติดเชื้อ จะสีอะไรก็ตาม ผมคงจะเรียนท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่า เราคงต้องปกป้องบ้านเกิดของเราอย่างเต็มที่ ลดละเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น, ใส่หน้ากาก 100% ขณะออกนอกบ้าน, เพิ่มปริมาณการตรวจคัดกรองโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งเบิกได้หรือจ่ายเองก็ควรทำ, ปิดกิจการเสี่ยงทั้งหมด, การกินการดื่มในร้านต้องขอให้งด และซื้อกลับบ้านแทน, และถึงเวลา"อยู่บ้าน...หยุดเชื้อ...เพื่อบ้านเกิดของเรา"ถ้าไม่ทำ ณ ตอนนี้...ก็ไม่รู้จะทำตอนไหนแล้วปล่อยไว้...จะคุมไม่อยู่ครับ!!!ด้วยรักต่อทุกคนสวัสดีวันอาทิตย์ครับ...รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 


29พ.ค.63-นพ.ธีระ วรธนารัตน์  จากคณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กThira Woratanarat  เบื้องหลังการหารือมาตรการปลดล็อกดาวน์  ความว่า  

 มีคนเสนอตัวเลขในวงประชุมหนึ่งกล่าวว่า รับได้ หากปลดล็อคแล้วมีคนติดเชื้อวันละ 50-100 คน

หากเป็นเช่นนั้น...ผมตีแผ่ให้พวกเราดูว่า

100 วัน คนจะติดเชื้อ 5,000-10,000 คน

คนจะอาการรุนแรง 750-1,500 คน (15%)

ต้องนอนไอซียูและใช้เครื่องช่วยหายใจ 250-500 คน (5%) ใน 100 วัน

และตาย 150-300 คน (3%) หรือ 50-100 คน (1%)

ถ้าเป็นเช่นนี้...

รับไม่ได้ครับ!!!

...ถ้าคนเสนอตัวเลข ติดเสียเอง จะเปลี่ยนใจ นั่งไทม์แมชชีนกลับมาล้มข้อเสนอไหม?...

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/67246

 

19ม.ค.64- ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊คว่า
กายก็เหนื่อย
ใจก็ล้า
ถึงสีหน้าจะเรียบเฉย แต่มือนั้นสั่น คืออาการของหมอนคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ที่ทำงานหนักแบบไม่ได้พัก
และวันนี้ยังต้องบึ่งมาที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตอบสารพัดคำถามเรื่องวัคซีน ที่บางคนวิพากษ์วิจารณ์
 เสมือนที่ทำมาทั้งหมดนั้นหาดีมิได้เลย 
หมอนคร พยายามอธิบาย ตอบคำถามทุกข้อสงสัยอย่างใจเย็น 
"เราไม่ได้เป็นคนกำหนดว่าต้องเป็นบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ แต่บริษัทนี้ มีความพร้อมที่สุด สอดรับกับการทำสัญญาที่แอสตราฯ จะให้เราเป็นฐานการผลิต 
ซึ่งแอสตราฯ เป็นคนเลือกเอง ว่าจะใช้ที่นี่ เพราะโรงงานของสยามไบโอไซเอนซ์ มีความทันสมัย และดีกว่าขององค์การเภสัชฯ ด้วยซ้ำ
 อย่างไรก็ตามรัฐต้องให้งบปรับปรุงอีก 500 ล้านบาท และ SCG 100 ล้าน เพื่อให้มีความสามารถเต็มที่ในการผลิตวัคซีนโควิด-19"
หมอนคร พยายามตอบข้อสงสัยของบางคนบอกที่ว่า บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ได้งาน เพราะล็อกสเป็ก 
"ข้อเสนอที่เราตกลงกับทางผู้ผลิตวัคซีนได้คือชัยชนะ เพราะเราต้องแข่งกับอีกหลายประเทศ เพื่อให้ได้เป็นฐานการผลิตในภูมิภาค ทำให้เรามีความคล่องตัวในการจัดการวัคซีน และยังพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต"
จากนั้น หมอนคร กล่าวเพิ่มเติมถึงการที่บางคนมาตั้งคำถามเรื่องผลกำไร ที่ บ.สยามไบโอไซเอนซ์จะได้รับ 
"ที่ผ่านมา บริษัทนี้ตั้งขึ้นมาตามพระราชปณิทานของในหลวง ร.9 เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ตามแนวพระราชดำริ ขาดทุน คือกำไร 
บ.ขาดทุนตัวเงิน เพื่อแลกกับสุขภาพประชาชนที่ดีขึ้น 
บ.จึงไม่คิดหาผลกำไรมาแต่ต้น 
ที่ผ่านมาเป็นส่วนสำคัญในการผลิตชุดตรวจโควิด-19 ล่าสุด ยุติการผลิตในหลายสายงาน ก็เพื่อผลิตวัคซีน
 การซื้อวัคซีน เราซื้อผ่าน บ.แอสตราเซนนิกา ในราคากลาง บ.สยามไอโอไซเอนซ์ ไม่มีสิทธิ์มากำหนดราคา 
การให้ทุนจากรัฐ 500 ล้านบาทข้างต้น ไม่ใช่การให้เปล่า แต่ทาง บ.จะต้องส่งคืนงบ ในรูปแบบของวัคซีน"
หมอนครตอบครบทุกคำถาม 
สีหน้าแววตาเรียบเฉย 
แต่กายนั้นเหนื่อย ใจนั้นล้า

ข้อมูลจาก https://www.thaipost.net/main/detail/90328

 

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ