วันที่ 10 ก.ย. 2563 หัวหน้าทีมกฎหมายของ Sinopharm Group Co., Ltd 国药集团 บริษัทยาชั้นนำของจีน โจวซ่ง 周颂 เปิดเผยข้อมูลแก่สื่อจีนอย่างเป็นทางการว่า ณ ตอนนี้วัคซีน Covid19 ที่อยู่ในขั้นการทดลองทางคลินิก(Clinical Trial)ในจีนมีอยู่ 3 สูตรด้วยกัน ซึ่ง 2 ใน 3 เป็นสูตรยาของทาง Sinopharm โดยได้มีการเร่งฉีดวัคซีนดังกล่าวให้แก่กลุ่มตัวอย่างไปแล้วกว่า 100,000 ราย

ซึ่งจากการติดตามผล ไม่มีรายงานผลข้างเคียง รวมถึงไม่ได้รับรายงานว่าผู้ที่ฉีดไปแล้วมีการติดเชื้อ Covid19 แม้ผู้ได้รับการฉีดไปอยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงสูง(ในต่างแดน) โดยวัคซีนดังกล่าวของ Sinopharm Group ถือเป็นวัคซีน Covid19 ตัวที่ฉีดให้มนุษย์มากที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ และกำลังอยู่ในขั้นทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ที่ต่างประเทศ

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับฉีดวัคซีนกว่า 100,000 รายนี้ มีกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงราว 10,000 รายที่เป็นผู้มีโอกาสสัมผัสเชื้อไวรัสโดยตรง ได้แก่ บุคลากรแพทย์ในจีนและต่างแดน เจ้าหน้าที่ทางการทูตรวมทั้ง Expat ในต่างแดน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน One Belt One Road ตามประเทศต่างๆ ซึ่งก็มีการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเสี่ยงสูงมาหลายเดือนแล้ว(ในข่าวไม่ระบุชัดกี่เดือน)

โดยหลังจากฉีดวัคซีนจะมีการติตดามผลกลุ่มตัวอย่างอย่างใกล้ชิด พบว่า กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่มีการฉีดวัคซีนไม่มีการพบว่าติดเชื้อ Covid19 ขณะที่กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมีการพบว่าติดเชื้อจากพื้นที่ โดยผลการศึกษาเปรียบเทียบในหลายๆประเทศต่างให้ผลที่ตรงกัน ...แม้ว่ากลุ่มเสี่ยงที่ฉีดวัคซีนแล้วจะอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อหลักแสนคนขึ้นไป ก็ไม่มีการพบว่าติดเชื้อแต่อย่างใด นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่า วัคซีน Covid19 ของจีนใช้ได้ผลจริง

ด้านรองประธาน Sinopharm Group จางอวิ๋นเทา 张云涛 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วัคซีน Covid19 ที่ผลิตจากการทำ Clinical Trial ทั้งระยะ 1 และ 2 ส่งเสริมให้ผุ้ที่ได้รับวัคซีนสร้างแอนติบอดีที่เป็นกลาง (Neutralizing Antibody) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่สูงในวงการการแพทย์สากล ซึ่งทางทีม Sinopharm Group ก็จะเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์ในการทำ Clinical Trial ระยะที่ 3 จากกลุ่มตัวอย่างในต่างประเทศต่อไป

**อย่างไรก็ดี ณ ขณะนี้มีการคาดการณ์ว่า วัคซีน Covid19 (ไม่ว่าจะสูตรของประเทศไหน)เป็นที่ต้องการทั่วโลกขั้นต่ำที่ราว 500 ล้านหลอด

เพิ่มเติม : Sinopharm Group Co. , Ltd. เป็น บริษัทผลิตยาชั้นนำของจีน โดยบริษัทแม่ของ Sinopharm Group คือ Sinopharm Industrial Investment ซึ่งเป็น บริษัทร่วมทุน 51-49 ระหว่างรัฐวิสาหกิจ China National Pharmaceutical Group และ Fosun Pharmaceutical ซึ่งเป็นกิจการพลเรือน

แปลและเรียบเรียงจาก weibo 澎湃新闻 The Paper News
https://m.weibo.cn/5044281310/4547871251106043

 

"เสื้อตัวนี้มูลค่าเท่าไหร่"
"หนึ่งเหรียญ" เขาตอบ

"ลูกสามารถเอาไปขายให้ได้สองเหรียญไหม"

"คนซื้อคงเป็นไอ้โง่เท่านั้น"

"ทำไมไม่ลองดู" พ่อใช้สายตาจริงจังมองเขา

"ที่บ้านฐานะไม่ดีนัก หากทำได้ ก็จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้แม่บ้าง"

"จะลองดู แต่ไม่แน่ใจว่าจะทำได้"

เขาเอาเสื้อไปซัก ที่บ้านไม่มีเตารีด เลยเอาไม้กระดานทับให้เรียบ

เขานำเสื้อไปเร่ขายที่ตลาดนัดหน้าสถานีรถใต้ดิน
ใช้เวลาหกชั่วโมงกว่าจะขายได้ แต่ก็ดีใจมาก กำเงินสองเหรียญวิ่งไปให้แม่

หลังจากนั้น เขาเลยไปคุ้ยเสื้อจากกองเสื้อผ้าเก่าๆในบ้านทุกวัน นำไปขายยังตลาดนัดเป็นประจำ

มีอยู่วันหนึ่ง พ่อนำเสื้ออีกตัวมาให้เขา

"ทำยังไงก็ได้ ขายเสื้อตัวนี้ให้ได้ยี่สิบเหรียญ"

"เป็นไปได้ไง อย่างมากก็สองเหรียญเหมือนเดิม"

"ทำไมไม่ลองดู ลองคิดดูให้ดี ต้องมีวิธีแน่นอน" พ่อยืนยันด้วยความมั่นใจ

ในที่สุด เขาก็หาวิธีในแบบฉบับของเขาเองจนเจอ
เขาเอาเสื้อไปหาลูกพี่ลูกน้องของเขาคนหนึ่งที่มีฝีมือทางวาดรูป

วานให้เขาช่วยวาดรูปเป็ดโดนัลดั๊กที่น่ารักไว้บนเสื้อ แล้วเสริมด้วยมิ๊กกี้เม้าส์ขี้เล่นอีกตัว

เขาเลือกที่จะไปวางขายหน้าโรงเรียนของลูกคนรวย

ชั่วเวลาเดี๋ยวเดียว พี่เลี้ยงของเด็กนักเรียนคนหนึ่งก็ตัดสินใจซื้อให้เจ้านายน้อยของเขา แล้วยังจ่ายทิปให้เขาอีกห้าเหรียญ

ยี่สิบห้าเหรียญ พระเจ้า นี่มันมากกว่าเงินเดือนทั้งเดือนของพ่อเสียอีก

ไม่นานหลังจากนั้น พ่อยื่นเสื้ออีกตัวให้เขา

"ขายให้ได้สองร้อยเหรียญ"พ่อเพ่งสายตามาที่เขา

เขารับเสื้อตัวนั้นมาแบบไม่มั่นใจ

มองดูเสื้อตัวนั้นอย่างครุ่นคิด พยายาม....พยายาม....
แต่ยังไม่เห็นทาง

แล้วโอกาสก็มาถึง

ตอนนั้น ภาพยนตร์เรื่องนางฟ้าชาลีกำลังดัง นางเอกของเรื่องคือซาราห์ ฟอว์เซตต์ได้เดินทางมานิวยอร์คเพื่อทำการโฆษณาให้ภาพยนตร์เรื่องนี้

หลังจากงานพบสื่อมวลชนเพิ่งจะจบลง

เขามุดตัวผ่านด่านเหล่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้าไปประชิดตัวนางเอกคนดัง แล้วยื่นเสื้อตัวนั้นขอลายเซ็นจากนางเอก

ฟาราห์ตกใจนิดนึง แต่แล้วก็หัวเราะ ก็เธอจะปฏิเสธเซ็นชื่อให้เด็กน้อยหน้าตาใสซื่ออย่างเขาได้ไง

เขารับเสื้อพร้อมลายเซ็นตัวนั้นจากฟาราห์ด้วยความซาบซี้ง "ผมจะเอาเสื้อตัวนี้ไปขายได้ไหม"

"แน่นอน นี่เป็นเสื้อของหนู เต็มที่เลย"

มีการประมูลขายเสื้อตัวนั้นทันที สุดท้ายมีพ่อค้าน้ำมันชนะประมูลไปในราคาหนึ่งพันสองร้อยเหรียญ

กลับถึงบ้าน ความครื้นเครง ฮาเฮ ความสุขอัดเต็มอยู่กับทุกอนุของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
พ่อเขาปลื้มจนน้ำตาไหล กอดลูกชายแน่น

"พ่อไม่คิดว่าลูกจะทำได้ ตอนแรกตั้งใจจะให้เพื่อนแกล้งไปซื้อจากลูกในราคาสองร้อยเหรียญ ไม่คิดว่าลูกจะทำได้จริงๆ แล้วยังได้ถึงพันสองร้อยเหรียญ เยี่ยมจริงๆ ลูกพ่อ"

คืนนั้น พ่อลูกนอนคุยกัน พ่อถามว่า

"จากเหตุการณ์ขายเสื้อในระยะนี้ ทำให้ลูกเรียนรู้อะไรได้บ้าง"

"ผมเข้าใจ พ่อพยายามปลุกเร้าให้ผมตื่นตัวไม่ย่อท้อ ไม่ว่าเจออะไร ขอให้ใช้สมอง ใช้ความพยายามเต็มที่กับมัน อะไรที่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ มันย่อมมีสิทธิ์เป็นไปได้ทั้งนั้น”

20 ปีผ่านไป ชื่อของเขาโด่งดังไปทั่วโลก
เขากลายเป็นเจ้าชายแห่งวงการบาสเกตบอล ไมเคิล จอร์แดน

*******************

"ผมยอมรับความพ่ายแพ้ได้
เพราะบางครั้งเราก็หนีมันไม่พ้น
แต่ผมยอมรับไม่ได้
ถ้าไม่ยอมแม้แต่จะพยายาม”
.............ไมเคิล จอร์แดน

"ขจรศักดิ์"

 

25 เม.ย.63 -  ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที” พิธีกร NEWS1โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Mee Nabon ถึงการสัมภาษณ์ นพ.ปุญญเดช โพธิ์ตั้งธรรม ศูนย์แพทย์ St.Luke's Roosevelt หรือ คุณหมอปีเตอร์ ในนิวยอร์ก ผ่าน รายการสภากาแฟ NEWS1 ว่า  80 เปอร์เซ็นคนไทยนิวยอร์ค พบเชื้อโควิด ทุกคนกัดฟันยิ้มสู้ แม้มีเชื้อโควิด..

นพ.ปุญญเดช โพธิ์ตั้งธรรม  ตรวจคนไทยประมาณ 100 คน พบว่ากว่า80คนติดเชื้อโควิด-19 แม้กระทั่งตัวคุณหมอเองก็ติดเชื้อโควิด คุณหมอปีเตอร์ ขวัญใจคนยากจนผู้มีรายได้น้้อย แห่งมหานคร New York ก็ยังยืนหยัดตรวจรักษาคนป่วย!.

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.thaipost.net/

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.thaipost.net/main/detail/64218

 
ตะลึง "โอไมครอน" อยู่บนผื้นผิวได้นานขึ้น เกาะผิวหนังนานกว่าทุกสายพันธุ์

"โอไมครอน" ศูนย์จีโนมฯ สรุป 15 ข้อข้อมูลใหม่สามารถอยู่บนพื้นผิวได้นานขึ้นผิวหนังคน 21 ชม. พลาสติก 8 วัน นานกว่าโควิดทุกสายพันธุ์ สงครามยังไม่จบ ไวรัสพร้อมกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ แต่รุนแรงลดลง


ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics  อัปเดตสถานการณ์การระบาดของ "โอไมครอน" หรือ "โอมอครอน" ในขณะนี้ พร้อมทั้งตอบ  15 คำตอบที่ปชช.อยากรู้เกี่ยวกับ "โอโมครอน BA.2" ณ ช่วงเวลานี้ 
 

1. จริงหรือไม่ที่ BA.2 ก่อให้เกิดโรคโควิดที่มีอาการรุนแรงมากกว่า BA.1 และมีความรุนแรงใกล้เคียงกับเดลตา

องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงว่าข้อมูลจากนักวิจัยในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำการทดลองในสัตว์ทดลองที่ "ไม่มีภูมิคุ้มกัน ต่อ SARS-CoV-2" อันแสดงให้เห็นว่า BA.2 อาจก่อให้เกิดโรคใน "หนูแฮมสเตอร์" ที่รุนแรงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ BA.1 นั้น เมื่อ WHO ได้ประมวลข้อมูลในโลกแห่งความเป็นจริงเกี่ยวกับความรุนแรงทางคลินิกจากคนไข้ในประเทศ แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ซึ่งมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อตามธรรมชาติสูง ยังไม่พบความแตกต่างในความรุนแรงของการก่อโรคระหว่าง BA.2 และ BA.1 อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติ

2. BA.2 แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า BA.1 ใช่หรือไม่

BA.2 แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.5 เท่า โดย WHO ยังคงจัด BA.2 ให้เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน มิได้ปรับให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ มีชื่อใหม่แยกออกมา
BA.2 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 และ ฺBA.3 จำนวน 10  ตำแหน่ง โดย 5 ตำแหน่งจะอยู่บนยีน S ที่ควบคุมลักษณะของหนามแหลม  
BA.1 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 และ BA.3 จำนวน 13  ตำแหน่ง โดย 7 ตำแหน่งจะอยู่บนยีน S ที่ควบคุมลักษณะของหนามแหลม  
BA.3 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 และ BA.2 จำนวน 1  ตำแหน่ง ซึ่งไม่ได้อยู่บนยีน S ที่ควบคุมลักษณะของหนามแหลม  

3. โอไมครอนอยู่ในสิ่งแว้ดล้อมนอกร่างกายได้นานเท่าไร

มีงานวิจัยจากญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า  โอไมครอนอยู่ตามผิวหนัง (มนุษย์) ได้ประมาณ 1 วัน (21 ชั่วโมง)  พลาสติกประมาณ 8 วัน (193.5 ชั่วโมง)
เดลตาอยู่ตามผิวหนังได้ประมาณครึ่งวัน (16.8 ชั่วโมง)  พลาสติกประมาณ 4 วัน (193.5 ชั่วโมง) 

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.01.18.476607v1

ตะลึง "โอไมครอน" อยู่บนผื้นผิวได้นานขึ้น เกาะผิวหนังนานกว่าทุกสายพันธุ์

4. การติดเชื้อโอมิครอนซ้ำเกิดขึ้นได้หรือไม่

WHO  แถลงว่าการติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 หลังการติดเชื้อ BA.1 หรือเดลตาได้รับการบันทึกไว้แต่มีจำนวนน้อยเพราะข้อมูลเบื้องต้นจากการศึกษาการติดเชื้อซ้ำในระดับประชากรบ่งชี้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ BA.1 จะสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อซ้ำจาก BA.2 ได้ 


5. โอไมครอนจะระบาดในประเทศไทยไปอีกนานแค่ไหน 

จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ "โอไมครอน" พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน (ภาพ 1) โดยแต่ละประเทศจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคนที่ไม่เท่ากันขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นจำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิดของแต่ละประเทศ

6. จะมีไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่มาแทนโอไมครอนหรือไม่
WHO กล่าวว่ามีความเป็นไปได้สูงที่เกิดสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอนและระบาดเข้ามาแทนที่โอไมครอนในอนาคต

7. การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อใด ผอ. WHO แถลงว่าการระบาดใหญ่รุนแรงทั่วโลก (Acute Pandemic) สามารถยุติลงได้ในกลางปี 2565 หากทุกประเทศทั่วโลกทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในแต่ละประเทศได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 

8. ไวรัสโคโรนา 2019 ในที่สุดจะสูญพันธุ์ลงหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมีความเห็นสอดคล้องกันว่าไวรัสโคโรนา 2019 จะไม่หายไปไหน ท้ายที่สุดกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่เราควบคุมได้ (Endemic) โดยมีการกลายพันธุ์ไปรื่อยๆ แต่ลดความรุนแรงลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากมนุษย์เรามีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและจากการฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันดังกล่าวมีระบบการจดจำ แม้ว่าแอนติบอดีจะลดระดับลง จนตรวจไม่พบ แต่ระบบที่จดจำไวรัสโคโรนา 2019 ได้ยังคงอยู่ ตามอวัยะวะต่างๆ  เมื่อมีการติดเชื้อซ้ำในอนาคต เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท บี เซลล์ (memory B cell) จะสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านในทันที  ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท ที เซลล์ (memory T cell) จะรีบเพิ่มจำนวน สร้างสารโปรตีนพิเศษไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวอีกหลายประเภทให้เข้าทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส จึงเป็นที่มาว่าทำไม WHO จึงมั่นใจที่จะกล่าวว่าสภาวะการระบาดรุนแรง (Acute Pandemic) ของไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกจะยุติลงในปี 2565 นี้


9. หากโอไมครอนไม่ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่รุนแรง (mild) ทำไมมีผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน

ผู้ติดเชื้อโอไมครอนมีอาการไม่รุนแรง (milder) เมื่อเทียบกับเดลตา (more severe) แม้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่จะมีจำนวนหนึ่ง (0.9%) ที่จะมีอาการรุนแรงเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงขั้นเสียชีวิต

10. มีรายงานข่าวว่าโอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็ว ท้ายที่สุดทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอน ข้อมูลนี้ถูกต้องหรือไม่ และหากข้อมูลนี้ถูกเหตุใดเรายังจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิดกันต่อไปอีก

ดร.มาเรีย แวน เคอร์คอฟ จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลงว่า โอไมครอนมีการแพร่ติดต่อที่รวดเร็วจริง แต่ “ไม่ได้หมายความว่า” ทุกคนบนโลกนี้จะต้องติดเชื้อโอไมครอนในที่สุด WHO กำลังพยายามทุกวิถีทางร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการลดโอกาสการติดเชื้อให้กับประชาชนทั่วโลก วัคซีนเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันแต่ไม่อาจป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วสามารถติดเชื้อโอไมครอนได้ถึงร้อยละ 55.9 (vaccine breakthrough cases) ดังนั้นเราจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันตัวเองควบคู่กันไปกับการฉีดวัคซีนกล่าวคือทุกคนป้องกันตนเองจากการสัมผัสสิ่งของหรือผู้อื่น เว้นระยะห่างจากบุคคลที่สอง สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปาก ล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงฝูงชน ทำงานจากที่บ้าน ถ้าทำได้ ตรวจหาเชื้อด้วย ATK หรือ PCR เป็นประจำสม่ำเสมอ อันเป็นวิธีที่เราสามารถรักษาตัวเองให้ปลอดภัยและป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อและแพร่ไวรัสไปให้คนอื่นได้
นอกจากนี้จากการศึกษาธรรมชาติการระบาดของ "โอไมครอน" พบว่าการระบาดในแต่ละประเทศทั่วโลกจะมีระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ดังนั้นโอไมครอนจึงไม่ได้อยู่กับเรานานพอที่จะทำให้มีผู้ติดเชื้อไปทั้งประเทศ หรือทั้งโลก
แต่หากพูดว่าในช่วงชีวิตเรามีโอกาสที่จะติดเชื้อไวโคโรนา 2019 สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ดูจะใกล้ความจริงมากกว่า


11. เหตุใดจึงมีความจำเป็นที่ต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน
WHO แถลงว่าเราต้องลดการแพร่ระบาดของโอไมครอนด้วยเหตุผล 4 ประการ

1. เราต้องการป้องกันไม่ให้ประชาชนติดเชื้อเพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโควิดรุนแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิตได้ในอัตราร้อยละ 0.9
2. ผู้ติดเชื้อแล้วหายบางคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลที่ตามมาในระยะยาว ซึ่งเราเรียกว่าภาวะหลังโควิด (long covid) และเรายังไม่เข้าใจกลไกการเกิด “ลองโควิด” ที่จะนำไปสู่การรักษามากนัก
3. การติดเชื้อของคนในชาติเป็นจำนวนมากจะเป็นภาระใหญ่ต่อระบบสาธารณสุขและระบบเศรษฐกิจของประเทศ 
4. ยิ่งโอไมครอนมีการแพร่ระบาดระหว่างคนสู่คนเป็นวงกว้าง ยิ่งเปิดโอกาสให้ไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องมีการกลายพันธุ์ไปมากกว่าโอไมครอน และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเพื่อสามารถแพร่ระบาดมาแทนที่โอไมครอนได้ ส่วนการก่อโรคโควิด-19 ของสายพันธุ์ใหม่นั้นจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงยังไม่อาจคาดเดาได้ 
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องร่วมด้วยช่วยกันลดการแพร่ระบาดของโอไมครอน

12. เหตุใดประเทศเดนมาร์กจึงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

เดนมาร์กถือเป็นกรณีศึกษา ทั่วโลกจับต่อมองเพื่ออาจนำไปใช้บ้าง มีจำนวนผู้ติดเชื้อโอไมครอน BA.2 เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งที่มีการฉีดวัคซีนสูงถึงร้อยละ 88 ของประชากร ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “เดนมาร์ก" เป็นประเทศแรกในยุโรปที่ผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด รวมถึงข้อบังคับการสวมหน้ากากอนามัย และการเว้นระยะห่างทางกายภาพหลังจากที่หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรได้มากกว่า 80%
หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กประเมินว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่โรคที่มีอันตรายร้ายแรงในสังคมอีกต่อไป เพราะแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในเดนมาร์กจะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้เสียชีวิตคงที่ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่อย่างใดต่อระบบสาธารณสุข ทั้งนี้เพราะเดนมาร์กมีอัตราการฉีดวัคซีนสูง ประชากรที่อายุ 5 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม และอีกประมาณร้อยละ 60 ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 แล้ว

13. หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์ก "ตัดสินใจผิดพลาด"หรือไม่ที่ยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด ตั้งแต่เดือน 1 ก.พ. 2565 ทำให้มีทั้งผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

หลังจากเดนมาร์กยกเลิกมาตรการโควิด-19 ทั้งหมด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จาก BA.2 ก็ทะยานขึ้นและถึงจุดสูงสุด (peak) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2565 แล้วก็เริ่มลดลงจากนั้นเป็นต้นมา (ภาพ 2) 
The State Serum Institute (SSI) ของเดนมาร์กซึ่งเทียบเท่ากับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้แถลงว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโดยรวมในเดนมาร์ก "คงที่ไม่เพิ่มขึ้น"
ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2564 เดนมาร์กมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในผู้สูงอายุมากกว่า 75 ปี อันมีสาเหตุจากการติดเชื้อ “เดลตา” 
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ปี 2565 อัตราการเสียชีวิตในเดนมาร์กลดลงและตอนนี้เข้าใกล้ระดับปกติทั้งที่เดนมาร์กมีการตรวจ PCR ให้ผลบวกเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริง และน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตจากเดลตาในอดีต

14. หากอัตราผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนน้อยลงจริงทำไมข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก “Our World in data” (จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด) ในช่วงที่เดลตาระบาด และโอไมครอนระบาดจึงใกล้เคียงกัน 

ทาง SSI ได้อธิบายว่า ข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กที่ได้จาก “Our World in data” นั้นเป็นข้อมูลรวมการตายสองกลุ่มเข้าด้วยกันคือ (1) ผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่นๆ แต่มีผล PCR ต่อเชื้อโควิด-19 เป็นบวก (deaths with) เพราะช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 อย่างกว้างขวาง และ (2) ผู้เสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 (deaths by COVID) (ภาพ 4) 
หากดูเฉพาะผู้เสียชีวิตเนื่องจากโอไมครอนจะพบว่ามีจำนวนลดลงและน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากเดลตา

15. รู้ได้อย่างไรว่าผู้เสียชีวิตคนใด "เสียชีวิต" จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

หน่วยงานสาธารณสุขของเดนมาร์กมีการตรวจสอบว่าผู้ตายได้รับยาต้านไวรัส Remdesivir และ/หรือและ Dexamethasone ซึ่งเป็นการรักษามาตรฐานสำหรับ COVID-19 ในเดนมาร์ก

ตะลึง "โอไมครอน" อยู่บนผื้นผิวได้นานขึ้น เกาะผิวหนังนานกว่าทุกสายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.who.int/.../22-02-2022-statement-on-omicron...

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/covid-19/506619?adz=

ตั้งเป้าปีนี้เล็งประกาศ "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่นภายใต้ 4 แนวทาง
 

สธ.ตั้งเป้าปี 2565 เล็งประกาศให้ "โควิด19" กลายเป็นโรคประจำถิ่น งัด 4 มาตรการชะลอการระบาด พร้อมใช้หลัก ATK First สะกัดแพร่กระจาย

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์ "โควิด19" ว่า แผนรับมือการระบาดโรคโควิด-19 ของประเทศไทยนั้นในปี 2565 คือ  การชะลอการแพร่ระบาด การติดเชื้อไม่น่ากลัว แต่เรากลัวการแพร่ระบาดที่รวดเร็วเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยมีมากเกิดระบบสาธารณสุขจะรับไหว หรือเกิดเชื้อกลายพันธุ์ได้อีก ดังนั้น สธ. จำเป็นต้องชะลอการระบาด และค่อยๆ รับมือ อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรง จะวางมาตรการดูแลในการแพทย์ ด้วยการใช้ระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation

นอกจากนี้ สธ.ยัง แผนรับมือการระบาดโรค "โควิด19" โดยแบ่งเป็น 4 มาตรการหลักคือ 

1.มาตรการสาธารณสุข ใช้แนวทางการชะลอการระบาด เพื่อให้ระบบสาธารณสุขดูแลทุกคนได้ เพิ่มวัคซีนเข็มที่ 3 หรือเข็มที่ 4 ยืนยันว่า วัคซีนมีคุณภาพและมีความเพียงพอ ตรวจ ATK จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนตรวจคัดกรองตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจที่คลินิก สถานพยาบาล ส่วนสธ.จะติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์

2.มาตรการการแพทย์ เนื่องจากโรคไม่มีความรุนแรง จึงเน้นการดูแลมาใช้แบบแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) และศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation)

3.มาตรการสังคม ประชาชนยึดหลักป้องกันตัวเองสูงสุด (Universal Prevention) เลี่ยงการเข้าสถานที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเคร่งครัดให้สถานบริการปลอด "โควิด19" (Covid free setting)

4.มาตรการสนับสนุน ด้านค่ารักษาพยาบาลและการตรวจหาเชื้อ

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า สธ.มีจะพยายามทำโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น ดังนั้น ในระยะการระบาดนี้ เราจะเน้นตรวจ ATK เป็นหลัก เรียกว่า ATK First เนื่องจากสธ.ศึกษาจากการใช้หลายล้านชิ้น พบว่า มีประสิทธิภาพ สามารถดักจับโควิด-19 ได้ดีมาก สามารถใช้ตรวจประจำได้ เพื่อป้องกันระบาด ต่อไปเราต้องใช้เป็นประจำ มาตรการทั้งหมดเป็นวิธีการที่ทำให้คนไทยทุกคนปลอดภัย ประเทศเดินต่อไปได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน สธ.จะพยายามบริหารจัดการให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้ในปีนี้

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/news/500540?adz=

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ