หมอธีระ เผย ยอดเสียชีวิต "โอไมครอน" ของไทยยังติดอันดับ 7 ของโลก พร้อมเผย 3 ข้อ ผลวิจัยเกี่ยวกับ ภาวะ Long Covid แนะการสวมหน้ากากอนามัยยังเป็นสิ่งสำคัญ

 สถานการณ์ โควิด-19 วันนี้ (8 มิ.ย. 65) โดยรวมดีขึ้น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,688 ราย ติดเชื้อสะสม 4,473,867 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มลดลงเหลือ 21 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 30,239 ราย

 

 ด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ประเด็น สถานการณ์ระบาดของโควิดในประเทศไทย จากข้อมูล Worldometer พบว่า

 จำนวนติดเชื้อที่รายงานของไทยนั้นไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ เพราะหลัง 1 มิ.ย. มีการประกาศปรับมารายงานเพียงจำนวนคนป่วย ไม่ใช่รายงานการติดเชื้อใหม่ทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ถึงแม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

 ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 11.53% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย (อย่างไรก็ตามหากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะพบว่าคิดเป็น 15.85%

บทเรียนเรื่องวัคซีนในปี 2564 และสิ่งที่ควรทำ

 วัคซีนที่ได้รับการเรียกร้องจากบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในสังคมให้จัดหามาตั้งแต่ต้น และหามาตั้งแต่เนิ่นๆ คือ วัคซีน mRNA ที่มีหลักฐานวิชาการพิสูจน์ชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพดีเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ ในเวลาเดียวกัน

ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง? อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้และจดจำให้ดี

 ณ ปัจจุบัน ด้วยข้อมูลทางการแพทย์ที่มีนั้น สิ่งที่ควรทำเพื่อแก้ไขสถานการณ์ และรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดประเทศซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดมากขึ้น โดยการตรวจคัดกรองโรคลดลงไปนั้น คือ การเร่งรณรงค์ให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย mRNA vaccines

ส่วนวัคซีนชนิดอื่นนั้น ความจำเป็นต้องใช้ลดลง ควรสำรองไว้สำหรับคนที่ไม่สามารถรับวัคซีน mRNA ได้

อัพเดต Long Covid

 Zeng N และคณะ จากประเทศจีน ได้เผยแพร่ผลการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบจากงานวิจัย 151 ชิ้นจาก 32 ประเทศ รวมกลุ่มตัวอย่าง 1,285,407 คน และวิเคราะห์อภิมานอย่างละเอียด เกี่ยวกับการเกิดภาวะ Long COVID เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล Molecular Psychiatry ในเครือ Nature วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา

สาระสำคัญคือ

• หนึ่ง อัตราการพบภาวะ Long COVID ในคนที่เคยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 โดยเฉลี่ย 50.1% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 45.4%-54.8%) โดยงานวิจัยต่างๆ ประเมินไปจนถึง 12 เดือนหลังการติดเชื้อ

• สอง คนที่เคยติดเชื้อแล้วแล้วมีอาการรุนแรง หรือสูงอายุ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Long COVID มากกว่า

• สาม คนที่ติดเชื้อแล้วมีอาการน้อยนั้นพบว่ามีเรื่องโรควิตกกังวล และปัญหาด้านความจำ (memory impairment) บ่อย

งานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ

ในขณะเดียวกัน คนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ก็จำเป็นต้องหมั่นดูแล คอยสังเกตสถานะสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติ ควรไปตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะภาวะ Long COVID นั้นเป็นได้หลากหลายระบบในร่างกาย รวมถึงปัญหาทางอารมณ์และจิตใจด้วย

การใส่หน้ากากเป็นหัวใจสำคัญ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในสังคมที่ยังมีการระบาดสูงกว่าประเทศอื่นๆ หลายประเทศทั่วโลก และมีความเสี่ยงจากกิจกรรม และสถานที่ต่างๆ ระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน

อ้างอิง

Zeng, N., Zhao, YM., Yan, W. et al. A systematic review and meta-analysis of long term physical and mental sequelae of COVID-19 pandemic: call for research priority and action. Mol Psychiatry. 6 June 2022

 

ข้อมูลจาก https://www.springnews.co.th/news/825583

 

ยอดป่วยโควิดเริ่มนิ่ง ติดเชื้อใหม่ 4-5 พันรายต่อวัน วันนี้ติดเชื้อ 4.4 พันราย วันนี้หายป่วยน้อย เพียง 3.9 พันราย ป่วยหนัก-ใส่ท่อช่วยหายใจยังลดลงเล็กน้อย ยอดดับยังอยู่ที่ 38 ราย พบ 4 ขวบเสียชีวิตด้วย กทม.ยังติดเชื้อ 1.8 พันราย 69 จังหวัดติดเชื้อต่ำกว่าร้อยราย รายงานเป็น 0 เพิ่มขึ้นเป็น 5 จังหวัดคือ ลำพูน ลำปาง นราธิวาส ตรัง พังงา 

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์โควิด 19 ประจำวัน ว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้รายงาน 4,488 ราย ต่ำกว่าหมื่นรายต่อเนื่อง 27 วัน ติดเชื้อสะสม 4,438,999 ราย หายป่วย 3,921 ราย สะสม 4,362,317 ราย เสียชีวิต 38 ราย สะสม 29,948 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 46,734 ราย อยู่ รพ.สนาม HI CI 27,860 ราย และอยู่ใน รพ. 18,874 ราย จำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 939 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 461 ราย อัตราครองเตียงระดับ 2-3 หรือสีเหลืองสีแดงอยู่ที่ 13.7% ส่วนผู้ติดเชื้อในเรือนจำมี 12 ราย ไม่มีผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิต 38 ราย มาจาก 26 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ 4 ราย , ยโสธร 3 ราย , ร้อยเอ็ด มหาสารคาม แพร่ ชลบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรี อุทัยธานี จังหวัดละ 2 ราย และ สมุทรปราการ นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง พะเยา พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา นครสวรรค์ สมุทรสงคราม ระยอง ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว จังหวัดละ 1 ราย ไม่มีรายงานเสียชีวิตจาก กทม. โดยผู้เสียชีวิตเป็นชาย 23 ราย หญิง 15 ราย อายุ 4 - 101 ปี อายุเฉลี่ย 73 ปี โดยเป็นผู้สูงอายุและโรคประจำตัวรวม 97% 

 
สำหรับ 10 จังหวัดที่มีรายงานติดเชื้อรายใหม่สูงสุดคือ 1.กทม. 1,870 ราย 2.บุรีรัมย์ 135 ราย 3.ชลบุรี 108 ราย 4.นนทบุรี 99 ราย 5.สกลนคร 91 ราย 6.กาฬสินธุ์ 87 ราย 7.สมุทรปราการ 84 ราย 8.สมุทรสาคร 83 ราย 9.สุพรรณบุรี 77 ราย และ 10.ชัยภูมิ 71 ราย

ส่วนจังหวัดที่ติดเชื้อไม่ถึง 100 ราย มี 69 จังหวัด จำนวนนี้เป็นจังหวัดที่ติดเชื้อน้อยกว่า 10 ราย มี 13 จังหวัด ได้แก่ น่าน 6 ราย , แพร่ 6 ราย , เชียงราย 5 ราย , ปัตตานี 5 ราย , ยะลา 5 ราย , ชัยนาท 4 ราย , พะเยา 4 ราย , สตูล 4 ราย , สมุทรสงคราม 4 ราย , สิงห์บุรี 3 ราย , กระบี่ 2 ราย , ระนอง 2 ราย และแม่ฮ่องสอน 1 ราย ส่วนจังหวัดรายงานเป็น 0 มี 5 จังหวัด คือ ลำพูน และลำปาง ตรัง นราธิวาส และพังงา

ส่วนการฉีดวัคซีนโควิด 19 เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 จำนวน 175,622 โดส สะสม 137,276,732 โดส เป็นเข็มแรก 56,697,450 ราย คิดเป็น 81.5% เข็มสอง 52,534,842 ราย คิดเป็น 75.5% และเข็ม 3 ขึ้นไป 28,044,440 ราย คิดเป็น 40.3% ภาพรวมผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดเข็ม 3 แล้ว 44.1% ส่วนเด็กอายุ 5-11 ปี ฉีดเข็มแรกแล้ว 2.99 ล้านคน คิดเป็น 58.1% และเข็มสอง 1.6 ล้านคน คิดเป็น 31.1%

สำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศช่วงวันที่ 1-27 พ.ค. 2565 มีจำนวน 490,637 คน โดย 10 ประเทศต้นทางที่เดินทางมามากที่สุด ได้แก่ 1.สิงคโปร์ 68,435 คน 2.อินเดีย 58,716 คน 3.เวียดนาม 25,273 คน 4.มาเลเซีย 24,804 คน 5.กัมพูชา 21,087 คน 6.สหรัฐอเมริกา 20,407 คน 7.อังกฤษ 18,255 คน 8.ออสเตรเลีย 18,077 คน 9.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 14,933 คน และ 10.เยอรมนี 13,346 คน
 
 
 
ย้อนรอยไทยรบพม่า “ทักษิณ” ลั่นคำโอเวอร์รีแอ๊ก 

ย้อนรอยไทยรบพม่า “ทักษิณ” กับวาทะเด็ด โอเวอร์รีแอ๊ก ตำหนิผู้นำกองทัพสมัยโน้น กรณีปฏิบัติการสั่งสอนทหารพม่า คอลัมน์...ท่องยุทธภพ โดย...ขุนน้ำหมึก

ลืมแล้วหรือ “ทักษิณ” กับวาทะเด็ด โอเวอร์ รีแอ๊ก ตำหนิผู้นำกองทัพสมัยโน้น กรณีทหารไทยยิงตอบโต้ทหารพม่า 


พ.ศ.นี้ มีนักการเมืองชี้บิ๊กตู่รู้เห็นเป็นใจกองทัพเมียนมา คงลืมเรื่อง “ทักษิณ” ไม่พอใจบิ๊กกองทัพไทยในอดีตไปแล้ว


หลังเกิดเหตุเครื่องบินมิก-29 ของกองทัพเมียนมา รุกล้ำเข้ามาในน่านฟ้าไทยที่ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2565 ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้านบางคนวิจารณ์กองทัพไทยว่า รู้เห็นเป็นใจกับเผด็จการ ทหารเมียนมา แถม ส.ส.ระดับหัวหน้าพรรคเล็กยังบอกว่า ยิง(เครื่องบิน)ก่อนค่อยเจรจา  
 

หลายคนอาจลืมไปว่า ทักษิณ ชินวัตร เคยวิจารณ์กองทัพไทย ที่ตอบโต้ทหารเมียนมาอย่างรุนแรง ด้วยวาทะ “โอเวอร์ รีแอ๊ก”


แม้วันนี้บริบทสังคมการเมืองเมียนมาจะเปลี่ยนไป แต่ตัวละครหน้าเดิม ๆ ยังมีอำนาจอยู่ และหลายคนมีความใกล้ชิดกับทักษิณ 


‘ปั่นไทยรบพม่า’
แนวรบด้านตะวันตกสมัย “ทักษิณ” กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้เปลี่ยนแปลง กลุ่มชาติพันธุ์ยังสู้รบกับทหารเมียนมาอยู่เหมือนเดิม


กรณีเครื่องบินรบเมียนมาล้ำแดน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่าได้ประสานไปยังทางการเมียนมาแล้ว ยอมรับว่ารุกล้ำจริง แต่ได้ขอโทษถึงรัฐบาลไทยแล้ว ว่าไม่มีความตั้งใจและไม่ต้องการมีปัญหากับกองทัพไทย

อีกด้านหนึ่ง มานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงถึงกรณีเครื่องบินเมียนมาบินรุกล้ำน่านฟ้าไทยว่า เครื่องบินดังกล่าว ไม่ได้บินเข้ามารอบเดียว แต่บินเข้ามาถึง 3 ครั้ง ภายในเวลา 20 นาที ก่อนทำการโจมตีในเวลา 17.00 น. ด้วยการใช้อาวุธจากอากาศยาน 

ส.ส.ก้าวไกลคนนี้ ได้ตั้งคำถามว่า มีการรู้เห็นเป็นใจของกองทัพไทยหรือไม่ ที่เปิดให้มีการบินรุกล้ำโจมตีชนกลุ่มน้อย


ขณะที่ ไพศาล พืชมงคล นักวิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ ได้โพสต์เฟซบุ๊กเตือนสติคนไทย โดยอ้างว่า โซเชียลที่ประเทศตะวันตกมาจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย “..ปั่นหัวให้คนไทยโกรธกองทัพอากาศ และเรียกร้องให้ประนามพม่าว่ารุกรานประเทศไทย” 


ไพศาลชี้ว่า มีการทำกันอย่างเป็นกระบวนการ “...เขาปั่นกระแสเรื่องนี้ก็เพราะต้องการให้ไทยทำสงครามกับพม่า ถ้าไทยทำสงครามกับพม่าหรือเกิดการปะทะกันขึ้น #นาโต้ 2 ก็จะแผลงฤทธิ์ทันที”


‘ย้อนรอยทักษิณ’
20 ปีที่แล้ว “ทักษิณ” งัดข้อกับผู้นำกองทัพ กรณีทหารกองทัพภาคที่ 3 ตอบโต้ทหารเมียนมา ที่รุกล้ำแดนเข้ามา


ถ้ายังจำกันได้ สมัยที่ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2544 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังเป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) ได้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในเรื่องของการวางนโยบายระหว่างประเทศของไทยและเมียนมา เห็นได้ชัดว่า ทักษิณมีความกระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะเจรจาด้านธุรกิจการค้ากับเมียนมา แต่ พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่สู้จะกระตือรือร้นนัก


ช่วงเดือน มิ.ย.2545 ทหารเมียนมา เปิดยุทธการปราบปรามชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา และได้รุกเข้ามาในเขตแดนของไทย กองทัพภาคที่ 3 ได้ตอบโต้ทหารเมียนมาอย่างรุนแรง 


อดีตนายกฯทักษิณ รู้สึกไม่พอใจ ปฏิบัติการทางทหารครั้งนั้น จึงได้วิพากษ์ปฏิบัติการของกองทัพไทยมีต่อกองทัพเมียนมา เป็นการกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ หรือ โอเวอร์รีแอ๊ก


ปลายปี 2545 พล.อ.สุรยุทธ์จึงถูกโยกจาก ผบ.ทบ.ไปเป็น ผบ.สส. จนเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 ก.ย.2546  


เวลานั้น ฟากฝั่งเมียนมา พล.อ.หม่องเอ รองประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้นำหมายเลข 2 รองจากนายพล ตาน ฉ่วย ส่วน พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย กำลังเป็นนายทหารดาวรุ่ง 


ทักษิณมีความสนิทสนมกับนายพลตานฉ่วย และ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ซึ่งใครเคยอ่านเรื่องคลิปถั่งเช่า ก็คงจะทราบถึงสายสัมพันธ์อันดีระหว่างตระกูลชินวัตร กับกลุ่มผู้นำทหารเมียนมา


สถานการณ์เปลี่ยน ผู้มีอำนาจก็เปลี่ยน ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.จึงลุกมาวิพากษ์ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า รู้เห็นเป็นใจกับผู้นำทหารเมียนมา 


ณัฐวุฒิคงจำไม่ได้ว่า ทักษิณเคยวิพากษ์นายทหารไทยว่า โอเวอร์รีแอ๊ก เพราะนำกำลังทหารรบทหารเมียนมาที่รุกล้ำแดนไทย

 

ข้อมูลจาก https://www.komchadluek.net/scoop/520879?adz=

 

ย้อนตำนานไวรัสมรณะ โควิดคร่าชีวิต 5 ล้านคน
จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 จากทั่วโลกผ่านหลัก 5 ล้านคน มากกว่าการระบาดของไวรัสในศตวรรษที่ 20 และ 21 แบบเทียบไม่ติด ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่โลกนี้ผ่านการระบาดใหญ่ของไวรัสมาแล้วหลายครั้ง

มีเพียงการระบาดของไข้หวัดสเปนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 50 ล้านคนระหว่าง พ.ศ.2461-2462 ที่มากกว่าการเสียชีวิตเพราะโควิด-19 มาก อย่างไรก็ตามองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) กล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดที่แท้จริงอาจสูงกว่าตัวเลขทางการ 2-3 เท่า สำนักข่าวเอเอฟพีเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญไว้ดังนี้

โรคระบาดในศตวรรษที่ 21

การเสียชีวิตของมนุษย์จากโควิด-19 ที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่าSARS-CoV-2 มากกว่าการระบาดของไวรัสอื่นๆ ในศตวรรษที่ 21

ปี 2562 ไวรัส H1N1 หรือไข้หวัดสุกรระบาด ตัวเลขเสียชีวิตทางการที่ 18,500 คน ต่อมาวารสารการแพทย์แลนเซ็ตปรับตัวเลขอยู่ระหว่าง 151,700-575,400 คน

ปี 2545-2546 โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) เกิดขึ้นครั้งแรกในจีนประเทศเดียวกับที่เกิดโควิด แต่มีผู้เสียชีวิตจากโรคซาร์สแค่ 774 คนเท่านั้น

ไข้หวัดใหญ่

จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ที่ไม่เป็นข่าวหน้าหนึ่ง ทั่วโลกอยู่ระหว่าง 290,000-650,000 คนต่อปีจากผู้ป่วยรุนแรง 5 ล้านคนตามข้อมูลของดับเบิลยูเอชโอ

ในศตวรรษที่ 20 เคยมีไข้หวัดใหญ่ระบาดนอกฤดูกาลสองครั้ง คือไข้หวัดเอเชียระหว่าง พ.ศ.2500-2501 และไข้หวัดฮ่องกง พ.ศ.2511-2513 แต่ละครั้งมีผู้เสียชีวิตราว 1 ล้านคน

โรคระบาดยุคใหม่ที่สร้างความหายนะที่สุดนับถึงวันนี้คือไข้หวัดสเปน ระหว่าง พ.ศ.2461-2462 เพราะเกิดจากไวรัสตัวใหม่ งานวิจัยเผยแพร่ในทศวรรษ 2000 ระบุว่า การระบาดต่อเนื่อง 3 ระลอกคร่าชีวิตผู้คน 20-100 ล้านคน สูงกว่าผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่กว่า 10 ล้านคนอยู่มาก

ไวรัสเขตร้อน

ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับอีโบลา ที่พบครั้งแรกใน พ.ศ.2519การระบาดใหญ่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกระหว่างเดือน ส.ค.2561-มิ.ย.2563 คร่าชีวิตประชาชนเกือบ 2,300 คน

 การระบาดเป็นช่วงๆ ของอีโบลาใน4 ทศวรรษคร่าชีวิตประชาชนไปราว 15,300 คน ทั้งหมดอยู่ในแอฟริกา อัตราการเสียชีวิตจากอีโบลาสูงกว่าโควิด-19 อยู่มาก ที่ราว 50% แต่อีโบลาติดต่อน้อยกว่าโรคจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นเพราะไม่ได้ติดเชื้อผ่านอากาศ แต่เป็นการติดต่อกันด้วยการสัมผัสโดยตรงและสัมผัสใกล้ชิด

ไวรัสเขตร้อนอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออกที่คนป่วยหนักอาจถึงแก่ชีวิตได้มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่า

ไข้เลือดออกที่มียุงเป็นพาหะ มีผู้ป่วยมากขึ้นช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่คร่าชีวิตประชาชนราวปีละไม่กี่พันคน ตัวเลขล่าสุดจากดับเบิลยูเอชโอ ปี 2558 มีผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออก 4,032 คน

เอดส์และตับอักเสบ

ถึงขณะนี้เอดส์ยังคงเป็นโรคระบาดสมัยใหม่ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ตั้งแต่ปี 2523 ทั่วโลกเสียชีวิตจากเอดส์ที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและไม่สามารถรักษาได้เกือบ 36.3 ล้านคน

ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเอดส์มีแต่ยาต้านไวรัส เมื่อใช้สม่ำเสมอสามารถลดการเจ็บป่วยและลดความเสี่ยงแพร่เชื้อได้ การรักษาวิธีนี้ช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากที่เคยสูงสุด 1.7 ล้านคนในปี 2547 มาอยู่ที่ 680,000 คนในปี 2563 ได้

ส่วนไวรัสตับอักเสบ บีและซี ที่ส่วนใหญ่ติดต่อกันทางเลือด ก็มียอดเสียชีวิตสูงเช่นกัน แต่ละปีกว่า 1 ล้านค ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศยากจน

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/world/969286?anf=

ยอมแพ้! หมอ-พยาบาลฟิลิปปินส์ยกธงขาวโควิด แนะรัฐล็อกดาวน์

 หมอ-พยาบาลฟิลิปปินส์ยกธงขาวพ่ายโควิด-19 หลังผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นต่อเนื่อง แนะรัฐล็อกดาวน์เข้มรอบใหม่

วันนี้(1 ส.ค. 63) สื่อต่างประเทศรายงานว่า แพทย์และพยาบาลมากกว่า 1 ล้านคนของฟิลิปปินส์ได้เรียกร้องในวันนี้ให้ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต กำหนดมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดครั้งใหม่ทั้งในและรอบนอกกรุงมะนิลา โดยระบุว่าฟิลิปปินส์กำลังพ่ายแพ้ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19

 

บุคลากรทางการแพทย์ 80 กลุ่มของฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นตัวแทนแพทย์ 8 หมื่นคนและพยาบาล 1 ล้านคน ได้ออกมาเตือนว่า ระบบสาธารณสุขจะล้มเหลว เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่จะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดในกรุงมะนิลา และในจังหวัดใกล้เคียง

 

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ ฟิลิปปินส์มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่พุ่งสูงสุดเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน โดยมีผู้ติดเชื้อใหม่ถึง 4,063 ราย

 

กลุ่มวิทยาลัยแพทย์ฟิลิปปินส์ระบุในจดหมายที่ส่งถึงปธน.ดูเตอร์เตระบุว่า "บุคลากรทางการแพทย์ของเราต้องรับมือกับจำนวนผู้ป่วยที่ดูเหมือนไม่มีวันสิ้นสุดที่เข้ามายังโรงพยาบาลของเราเพื่อขอรับการดูแลฉุกเฉิน"

 

"เรากำลังทำสงครามที่พ่ายแพ้ให้กับโควิด-19" กลุ่มดังกล่าวระบุ                    

 

บุคลากรทางการแพทย์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ดำเนินมาตรการล็อกดาวน์เป็นเวลา 2 สัปดาห์ในกรุงมะนิลาและจังหวัดใกล้เคียงทางใต้ของกรุงมะนิลาไปจนถึงกลางเดือนส.ค.นี้


ทั้งนี้ นับตั้งแต่ฟิลิปปินส์ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ยอดติดเชื้อโควิด-19 ได้พุ่งขึ้น 5 เท่าแล้ว โดยล่าสุด Worldometer รายงานยอดรวมผู้ติดเชื้อในฟิลิปปินส์อยู่ที่ 93,354 ราย และยอดผู้เสียชีวิตสะสมพุ่งขึ้นมากกว่า 2 เท่าสู่ 2,023 ราย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.tnnthailand.com

เนื้อหาต้นฉบับ https://www.tnnthailand.com/content/49772

หมวดหมู่รอง

สาระน่ารู้

บทความวิชาการ