แนะวิธีสังเกตอาการ ‘หัวใจวาย’ เช็คความพร้อมก่อนออก ‘วิ่งมาราธอน'

 
ถอดบทเรียนกรณีรองอธิบดีกรมควบคุมโรคเสียชีวิตหัวใจวายกระทันหันขณะเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง และความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับนักวิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย

กรณีการเสียชีวิตของ นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิน รองอธิบดี กรมควบคุมโรค ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมวิ่ง ถิ่นวีรชน. มินิฮาล์ฟ มาราธอน ณ อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี และหมดสติระหว่างวิ่ง แพทย์ได้ทำการปฐมพยาบาล ณ ที่เกิดเหตุและนำส่งถึงโรงพยาบาล และเสียชีวิต ด้วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เมื่อเวลา7.15น. วันที่ 29 พ.ย.63


ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุนักวิ่งเสียชีวิตระหว่างการวิ่งมาราธอนอยู่หลายเหตุการณ์ เช่น เมื่อเดือน ส.ค.62 ก็มีนักวิ่ง 2 ราย เสียชีวิตในการจัดการแข่งขัน "วังขนาย มาราธอน ครั้งที่ 9" ที่วัดวังขนายทายิการาม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

โดยจากเคสดังกล่าว เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อควรระวัง สำหรับนักวิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสีย ดังนี้

160662514421

สำหรับกรณี “การวิ่งออกกำลังกายบนท้องถนนทั่วไป” ที่ไม่ใช่งานวิ่งตามเทศกาลที่เขาจัดขึ้นตามงานต่างๆ โดยทางด้านสภาพแวดล้อมในการวิ่งผู้วิ่งควรจะต้องประเมินความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมเป็นอันดับแรกโดยไม่ควรใส่หูฟังเพื่อฟังเพลงในขณะวิ่ง เพราะจะทำให้เราไม่ได้ยินเสียงจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเราที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเสียแตรรถยนต์ เสียงรถที่อาจจะทำให้เราเกิดอุบัติเหตุ

และหากวิ่งตอนกลางคืนผู้วิ่งควรใส่เสื้อสะท้อนแสงหรือเสื้อสีสว่างที่จะทำให้รถยนต์หรือคนอื่นๆเห็นผู้วิ่งได้ชัดเจน และที่สำคัญคือควรพกบัตรประจำตัวประชาชนและบัตรผู้ป่วยที่บอกโรคประจำตัวของเราอย่างชัดเจนพร้อมทั้งพกโทรศัพท์และเบอร์คนที่ผู้พบเห็นสามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับเราได้

ส่วนในกรณีของ “การวิ่งมาราธอน” หรือการวิ่งระยะยาวในสนามต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีประชาชนจำนวนมากหันมาออกกำลังกายด้วยการวิ่งชนิดนี้

สำหรับการวิ่งมาราธอนนั้นเป็นการวิ่งที่ผู้วิ่งต้องใช้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด เพราะการวิ่งในลักษณะนี้จะต้องใช้พลังงานในการวิ่งอย่างมากและต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นผู้ที่จะออกกำลังกายด้วยการวิ่งมาราธอนนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวให้ดีโดยต้องประเมินสุขภาพของตนเองก่อนวิ่งเป็นอันดับแรก และหากเรายังไม่แน่ใจว่าร่างกายของเราพร้อมกับการวิ่งหรือไม่เราควรพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพว่าเราไม่ได้เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910155?anf=

เปิดความพร้อมบริหารจัดการ 'โควิดเชียงใหม่' -76จังหวัด

 
เปิดผลสำรวจประเมินความพร้อมศักยภาพบริหารจัดการ'โควิดเชียงใหม่' พบได้ 9 คะแนน ขณะที่มีถึง 45 จังหวัดไม่พร้อมเรื่องสถานกักกันมากที่สุด


     จากกรณีที่มีการตรวจพบ 'โควิดเชียงใหม่' โดยเป็นหญิงไทย อายุ 29 ปึเดินทางจากประเทศเมียนมาร์เข้าประเทศไทยจากเชียงรายมายังเชียงใหม่ ซึ่งมีอาการป่วยและมีประวัติไปสถานที่หลายแห่งในเชียงใหม่ มีผู้สัมผัสใกล้ชิดกว่า 300 คน เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกว่า 100 คน เมื่อ'โควิดเชียงใหม่'เกิดขึ้น จังหวัดมีความพร้อมในการบริหารจัดการอย่างไร รวมถึงจังหวัดอื่นๆด้วย ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ มีการปิดเผยถึงความพร้อมในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ทั้ง 77 จังหวัด รวมถึง ความพร้อมโควิดเชียงใหม่ด้วย

 

     นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ปาฐกถาเรื่อง “ความสำเร็จของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในการประชุมวิชาการ แนวโน้มการพัฒนายา วัคซีน  และเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการในสถานการณ์การระบาดของโควิด19" ว่า จากการสำรวจตามการประเมินความพร้อมในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ทั้ง 77 จังหวัด ใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค   เช่น การเฝ้าระวังตามเกณฑ์ผู้ต้องสงสัยสอบสวนโรค เฝ้าระวังกลุ่มประชากรเสี่ยง มีห้องแลปตรวจได้เพียงพอและประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสม่ำเสมอ 2.ด้านรักษาพยาบาล เช่น มีคลินิกทางเดินโรคหายใจ มีห้องแยกโรค   และ3.ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย เช่น ช่องทางแสดงความคิดเห็น มีสถานที่กับกันตามมาตรฐานและมีแผนเผชิญเหตุและซ้อมแผน

ภาพรวมผลสำรวจ พบว่า ด้านการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคมี 41 จังหวัดไม่พร้อมเรื่องเฝ้าระวังตามเกณฑ์ผู้ต้องสงสัยสอบสวนโรคมากที่สุดด้านรักษาพยาบาล 100% พร้อมเรื่องคลินิกโรคทางเดินหายใจ และ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายมี 45 จังหวัดไม่พร้อมเรื่องสถานกักกันมากที่สุด


หากพิจารณาภาพรวมรายจังหวัด แบ่งได้เป็น 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.ได้คะแนนเต็ม 10 มี 10 จังหวัดได้แก่ เชียงราย ปราจีนบุรี สมุทรปราการ  นครพนม บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และพัทลุง

2.ได้9 คะแนน มี 18 จังหวัด ได้แก่ โควิดเชียงใหม่ น่านลำพู นเพชรบูรณ์ นครนายก สระบุรี สิงห์บุรี ลพบุรีประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม ระยอง มหาสารคาม อุดรธานี บึงกาฬ สุรินทร์นครราชสีมา พังงา และสงขลา


3.ได้ 8 คะแนนมี 15 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก ชัยนาทนครปฐม สุพรรณบุรี จันทบุรี ชลบุรี กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช ชุมพร และนราธิวาส


4. ได้ 7 คะแนนมี 13 จังหวัด ได้แก่ ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นนทบุรี อยุธยาฉะเชิงเทรา ขอนแก่น เลย สกลนคร อุบลราชธานียโสธร ระนองและปัตตานี


5.ได้ 6 คะแนนมี 13 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ พิจิตรอุทัยธานี ปทุมธานี อ่างทอง สมุทรสาค รกาญจนบุรี สระแก้ว ชัยภูมิ มุกดาหาร สตูลและยะลา


6. ได้ 5 คะแนนมี 3 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ราชบุรีและตราด
และ 7.ได้ 4 คะแนนมี 4 จังหวัด ได้แก่กำแพงเพชร เพชรบุรี หนองคายและตรัง

"จังหวัดอื่นๆที่ยังไม่ผ่านประเมินทั้งหมด  ก็จะมีการกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดเพื่อให้ผ่านประเมินต่อไป อาทิ  เสริมความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคในสถานพยาบาล เพิ่มหน่ววยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อจาก 1 ทีมเป็น 3ทีมต่ออำเภอ  เตรียมสถานที่กักกันตามมาตรฐาน และเตรียมเวชภัณฑ์ ยา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นต้น"นพ.เกียรติภูมิกล่าว

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910140?anf=

'วัคซีนโควิด' กับสตาร์ทอัพ

 

เจาะลึกสตาร์ทอัพและบริษัทวิจัย "วัคซีนโควิด" อย่าง Pfizer/BioNtech และ AstraZenaca กับเส้นทาง กระบวนคิดค้น และขั้นตอนการทดสอบ ภาพสะท้อนของสตาร์ทอัพที่ทำงานร่วมกับบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ในภาวะวิกฤติ

สองอาทิตย์ที่ผ่านมาน่าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของมนุษยชาติ เมื่อทั้งผู้ผลิตยารายใหญ่อย่าง Pfizer/BioNtech, Moderna และ AstraZenaca/มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ต่างก็ประกาศความสำเร็จในการทดลองวัคซีนโควิด-19 ขั้นสุดท้ายกับกลุ่มทดลองที่เป็นคนหมู่มาก (กว่า 30-40,000 คน) แล้วมีผลที่น่าพึงพอใจ และอยู่ระหว่างการจดทะเบียนกับองค์กรอาหารและยาในประเทศต่างๆ เพื่อการผลิตเป็นมวลมาก (mass production) แล้วกระจายให้ประชากรโลกต่อไป

 

ผมจะขอเล่าถึงรายแรกที่ประกาศว่าผลเป็นที่น่าพอใจคือ Pfizer/BioNtech ก่อนนะครับ BioNtech เป็นสตาร์ทอัพหรือบริษัทวิจัยขนาดเล็กทางด้านชีววิทยา ที่ต้องการศึกษาวิธีการทำวัคซีนป้องกันมะเร็งต่างๆ ซึ่งใช้เทคนิคที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้มีการรับรองและอาจจะใช้เวลาอีกนานที่จะยอมรับถ้าไม่เกิดเหตุการณ์โควิด 

โดยปกติแล้ววัคซีนป้องกันไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ วิธีง่ายๆ คือฉีดเชื้อหวัดอ่อนๆ เข้าไปในร่างกายคน เมื่อร่างกายเจอเชื้อดังกล่าวก็จะสร้างเซลล์เพื่อทำการต่อสู้และฆ่าเชื้อดังกล่าว เมื่อสำเร็จก็จะทำให้คนคนนั้นมีภูมิคุ้มกัน เนื่องจากร่างกายรู้ว่าคือเชื้ออะไร และเคยเอาชนะเชื้อดังกล่าวอย่างไร นั่นคือการฉีดวัคซีนทั่วไปเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

แต่สิ่งที่กลุ่ม BioNTech วิจัยและพัฒนาคือสิ่งที่เรียกว่า messenger RNA หรือ mRNA กล่าวคือแทนที่จะส่งเชื้ออ่อน วัคซีนนี้ทำหน้าที่เป็นคนถือสาส์นที่ส่งข้อความหรือสัญญาณเข้าไปในร่างกายเพื่อบอกให้ร่างกายรู้ว่ากำลังจะถูกบุกรุกจากไวรัสชนิดไหน แล้วให้ร่างกายเตรียมตัวที่จะต่อต้านหรือกำจัดเชื้อดังกล่าว คงคล้ายกับคำสั่งในคอมพิวเตอร์ หรือการส่งสัญญาณให้เตรียมพร้อมว่าข้าศึกกำลังจะบุกในการสงครามเพื่อให้กองทัพเตรียมตัวให้พร้อม โดยโปรตีนที่จะทำลายข้าศึกได้คืออะไรบ้าง 

 

กระบวนการดังกล่าวเป็นการคิดที่แตกต่าง และอยู่ระหว่างการพิสูจน์ทางชีววิทยาและการแพทย์ แต่ภาวะโควิดทำให้สามารถนำมาใช้ทางปฏิบัติได้เร็วขึ้น โดย Dr.Ugur Sahin และ Dr.Ozlem Tureci คู่สามีภรรยาเชื้อสายตุรกีที่ครอบครัวของทั้งคู่อพยพไปประเทศเยอรมนี ได้ร่วมกันคิดค้นและก่อตั้งบริษัท BioNTech เมื่อ 12 ปีก่อนเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าว 

ในช่วงต้นนั้น เป็นการวิจัยหาวัคซีนเพื่อต่อต้านมะเร็ง แต่งานวิจัยเดียวกันนี้สามารถใช้กับโควิดได้ และในเดือน ก.พ.ปีนี้ หลังจากได้เห็นถึงรายละเอียดของโครงสร้างของไวรัส (genetic code) จากนักวิทยาศาสตร์จีน จึงได้หันมาพัฒนาวัคซีนดังกล่าว เมื่อมีความคืบหน้าและพิจารณาแล้วว่าจะต้องผลิตเป็นจำนวนมาก จึงได้เซ็นสัญญาร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ในวงการยาคือ Pfizer เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์ในการ scale up หรือขยายขึ้นเป็นธุรกิจ เพราะอย่างที่ทราบว่าหนึ่งคนต้องฉีดสองเข็ม และถ้าต้องให้ประชากรในยุโรปทั้ง 740 ล้านคนได้ฉีดวัคซีนดังกล่าว หมายถึงต้องเตรียมกว่า 1,500 ล้านชุด ซึ่งสตาร์ทอัพคงไม่สามารถที่จะตอบโจทย์

ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับบริษัทขนาดกลางหรือ Mittelstand (คงคล้ายกับ SME บ้านเรา) เมื่อบริษัทต่างๆ ทราบถึงความต้องการและความจำเป็นของการผลิตวัคซีนดังกล่าว เหล่า supply chain ก็มีการเตรียมตัวอย่างเร่งรีบ เช่น หลอดแก้วที่จะต้องบรรจุวัคซีนซึ่งมีบริษัท 2-3 แห่ง ผู้ผลิตที่ได้ประสานงานและเตรียมผลิตอย่างจำนวนมาก โดยสามารถผลิตได้ 1,000 ล้านชิ้นในระยะเวลาอันสั้น 

อีกประเด็นคือการเก็บรักษาหลอดดังกล่าวต้องเป็นที่อุณหภูมิต่ำถึง -70 องศาเซลเซียส ระหว่างการขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง บริษัทอย่าง Va-Q-Tec ก็เตรียมพร้อมที่จะผลิต thermal box หรือกล่องเก็บความเย็นจำนวนมากเพื่อที่จะประสานกับ DHL ซึ่งเป็นบริษัทจัดส่ง (Logistic) ระดับโลกของเยอรมนีในการขนส่งทั้งในยุโรปและทวีปอื่นๆ เช่น เอเชีย แอฟริกา เป็นต้น จึงเห็นว่าการทำงานของประเทศเยอรมนีนั้นเป็นระบบและเตรียมพร้อมมาก

เทคโนโลยีของ Moderna เป็นแบบ mRNA เช่นกัน แต่สามารถเก็บโดยไม่เสื่อมคุณภาพได้ที่ -20 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ต้นทุนการกักเก็บลดลง น่าจะมีราคาจะต่ำกว่ากลุ่มแรก และก็เห็นว่าได้ร่วมมือกับรัฐบาลของสหรัฐ เพื่อเตรียมพร้อมในการ scale up เช่นกัน 

ส่วน AstraZenaca ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด รัฐบาลอังกฤษและน่าจะรวมถึงรัฐบาลไทยด้วย ในการ scale up ยังคงใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมคือ ส่งม้า Trojan หรือเชื้ออ่อนๆ เข้าไปในร่างกายเพื่อสร้างภูมิก่อน พบว่าถ้าจะให้ได้ผลถึง 90% นั้น ต้องฉีดแค่ครึ่งเข็มในเข็มแรก แล้วเข็มที่สองจึงฉีดทั้งหลอด และด้วยที่เป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมจึงน่าจะมีต้นทุนต่ำสุด ที่น่าจะเอื้อมถึงได้ไม่ยากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย

จะเห็นว่าในภาวะโควิดนั้น แม้สตาร์ทอัพในหลายๆ อุตสาหกรรมได้หายไปจากเรดาร์ แต่ทางชีววิทยาและเภสัชกรรมมีการขยายตัวอย่างมาก แต่ที่สำคัญที่สุดคือการที่สตาร์ทอัพทำงานร่วมกับบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่เพื่อให้การขยายเข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการอยู่รอดของชีวิตเรา

ก็หวังว่าทั้งสามบริษัท รวมถึงรายที่สี่คือสปุตนิกจากรัสเซีย ประสบความสำเร็จในการผลิตเป็นจำนวนมาก และโลกมนุษย์เราจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบ old normal ได้โดยเร็วนะครับ

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910051?anf=

ส่องมาตรการ 'จ้างงานเด็กจบใหม่' ตำแหน่งงานว่าง 9.7 หมื่นอัตรา

ส่องมาตรการ "จ้างงานเด็กจบใหม่" เหลือตำแหน่งงานว่าง 9.7 หมื่นอัตรา พร้อมเปิดเงื่อนไขสำคัญ และคุณสมบัติเด็กจบใหม่ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ
 

มาตรการ "จ้างงานเด็กจบใหม่" หรือโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่จบการศึกษาใหม่มีงานทำ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดปัญหาการว่างงาน และนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ สามารถดำเนินการประกอบธุรกิจต่อไปได้ ทำให้มีรายได้และจ่ายกลับไปเป็นภาษีให้กับรัฐ รวมทั้งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม

 
ธุรกิจโฆษณา
 

ทั้งนี้จากข้อมูลเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 มีผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 6,104 ราย แยกเป็น ผู้ประกอบการในภาคกลาง 4,048 ราย รองลงมา คือ ภาคเหนือ 740 ราย ตามด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 704 ราย ภาคใต้ 612 ราย 

ซึ่งมีอัตราตำแหน่งงานทั้งหมด 97,780 ราย เป็นอัตราตำแหน่งงานว่าง 91,528 อัตรา และเป็นการจัดทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 6,252 อัตรา 

หากแยกตามวุฒิการศึกษา พบว่าเป็นอัตราตำแหน่งงานที่เปิดรับ 97,780 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นวุฒิปริญญาตรี 49,223 อัตรา รองลงมาเป็นวุฒิ ม.6 ทั้งหมด 25,502 อัตรา ตามด้วย ปวส. 12,522 อัตรา และ ปวช. 10,533 อัตรา 

160647833152 

 

ทั้งนี้เงื่อนไขโครงการ "จ้างงานเด็กจบใหม่" เป็นการดำเนินโครงการในโมเดล "รัฐช่วยจ่าย เอกชนช่วยจ่าย" จ่ายคนละครึ่ง ภายใต้โมเดล "รัฐช่วยจ่าย เอกชนช่วยจ่าย" โดยรัฐจะจ่ายโดยตรงเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยของเด็บจบใหม่ที่ได้งานทำในโครงการนี้ ตามที่มีการระบุไว้ในการลงทะเบียน ซึ่งมีการจำหนดระยะเวลาโครงการไว้ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

- วุฒิ ม.6 ฐานเงินเดือน 8,690 บาท รัฐจ่าย 4,335 บาท เอกชนจ่าย 4,335 บาท

- วุฒิ ปวช. ฐานเงินเดือน 9,400 บาท รัฐจ่าย 4,700 บาท เอกชนจ่าย 4,700 บาท

- วุฒิ ปวส. ฐานเงินเดือน 11,500 บาท รัฐจ่าย 5,750 บาท เอกชนจ่าย 5,750 บาท

- วุฒิปริญญาตรี ฐานเงินเดือน 15,000 บาท รัฐจ่าย 7,500 บาท เอกชนจ่าย 7,500 บาท

160647876251

โดยมีการกำหนดคุณสมบัติ "ผู้จบการศึกษาใหม่" ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ไว้ดังนี้

1.สัญชาติไทย 

2.ไม่เคยอยู่ในระบบประกันสังคม ยกเว้นผู้ที่จบการศึกษาใหม่ที่อยู่ในระบบประกันสังคม เนื่องจากทำงานนอกเวลาเรียน (Part time) ในระหว่างที่กำลังศึกษา

3.สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) 

4.อายุไม่เกิน 25 ปี หรืออายุมากกว่า 25 ปี ซึ่งจบการศึกษาประจำปีการศึกษา พ.ศ.2562 หรือจบในปี 2563

160647858152

ซึ่งขั้นตอนหลักๆ ของผู้จบการศึกษาใหม่ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ต้องเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ www.จ้างงานเด็กจบใหม่.com เพื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.ต้องกรอกข้อมูลรายละเอียด ระบุตำแหน่งงาน อัตราเงินเดือน และสถานที่ที่ต้องการทำงาน 

2.รอผู้ประกอบการติดต่อกลับเพื่อตกลงรายละเอียด

3.ตอบรับการจ้างงาน ผู้ประกอบการตอบรับการจ้างงาน 

4.รอผู้ประกอบการจัดทำบันทึกข้อตกลงเข้าร่วมโครงการฯ 

5.ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมโครงการ

6.ผู้ประกอบการและผู้จบการศึกษาใหม่ตกลงร่วมงงานกัน

 

ข้อมูลจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910034?anf=

ปัจจุบันนี้ประชากรโลกมีมากกว่า 7 พันล้านคน

จากสถิติจะบอกเราเกี่ยวกับตัวเลข การกระจายตัว ของชาติพันธุ์ต่างๆ และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับประชากรโลก

ในเมื่อจำนวนประชากรมีมากเสียเหลือเกิน รายงานสถิติตัวเลขตรงๆ คนส่วนใหญ่คงไม่เข้าใจ จึงมีใครก็ไม่รู้ เปลี่ยนตัวเลขเกี่ยวกับพลโลก 7 พันล้านให้เป็นเพียง 100 แล้วทำข้อมูลสถิติเหล่านั้นให้กลายเป็นเปอร์เซ็นต์ นี่ทำให้ข้อมูลเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิมเยอะ ดังนี้:

ในจำนวน 100 คน หรือ 100%
ถิ่นที่อยู่
11% อยู่ในทวีปยุโรป
5% อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ
9% อยู่ในทวีป อเมริกาใต้
15% อยู่ในทวีปอาฟริกา
60% อยู่ในทวีปเอเซีย

เขตอยู่อาศัย
49% อยู่ในชนบท
51% อยู่ในเมือง

โดย.....
ศาสตราจารย์นายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ตามที่มีข่าวว่า ไทยจะมีวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ใช้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ทำให้หลายคนวิตกกังวลว่า ไทยจะไม่รอดพ้นจากการระบาดโควิด-๑๙ ระลอกสอง

ในช่วงนี้ ก่อนถึงเวลาปลายปีหน้า ผมขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ตอนนี้คนไทยได้ใช้วัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ที่มีประสิทธิภาพดีมากและปลอดภัยจากฤทธิ์ข้างเคียงทั้งหลายอยู่แล้ว นั่นคือการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อเข้าไปที่ชุมนุมชน หรือในที่มีคนแออัด และอากาศไม่ถ่ายเท ทั้งนี้เพราะการสวมหน้ากากอนามัย คือด่านสกัดกั้นเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ มิให้เข้ารูจมูก และปากของเรา

ท่านอย่าสวมหน้ากากอนามัยต่ำกว่ารูจมูกนะครับ

หากสวมกระชับก็ป้องกันโรคได้เด็ดขาด หากเกิดพลาดพลั้งรับเชื้อเข้ารูจมูกบ้าง จำนวนเชื้อจะน้อยมาก เชื้อจำนวนน้อยนิดนี้จะไปก่อโรค แต่จะไม่ปรากฏอาการใดๆ หรือมีเล็กน้อยเท่านั้น

ท่านจะไม่ป่วยรุนแรง ไม่ถึงตายแน่นอน แต่กลับจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้ ทำให้ตัวเรามีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเองโดยที่ยังไม่ต้องไปฉีดวัคซีน

หากพลาดพลั้งไปรับเชื้อ ในขณะสวมหน้ากากอนามัยในที่อื่นๆ อีก ภูมิคุ้มกันของเราจะถูกกระตุ้นให้เกิดสูงขึ้นไปอีก และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

แตกต่างจากการไม่สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งเมื่อรับเชื้อจะรับเต็มจำนวนเข้าไปในปอด และเสี่ยงต่อการป่วยหนัก เพราะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน

เชื้อไวรัสจำนวนมากก็เข้าไปทำลายเซลล์จำนวนมากของเราด้วย และการต่อสู้เชื้อไวรัสจำนวนมากที่ร่างกายรับเข้ามาในทางเดินหายใจอย่างทันทีทันควันนั้น ร่างกายจะปล่อย cytokine storm ได้

cytokine storm คือสารที่เซลล์ภูมิคุ้มกันปล่อยออกมาต่อสู้เซื้อโรคจำนวนมาก แต่ปล่อยออกมามากเกินไป จนทำลายเซลล์ตนเองด้วย ทั้งสองกลไกนี้ทำให้เนื้อปอดถูกทำลายมากและพิการ สูญเสียหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้

ดังนั้นคนไทยต้องสวมหน้ากากอนามัย เมื่อเข้าไปในชุมชนที่เราไม่รู้จัก เพราะหากพลาดพลั้งเกิดรับเชื้อ ก็จะรับจำนวนน้อยมาก และไม่ป่วยรุนแรง แถมยังเกิดภูมิต้านทานโรคได้อีก

ดังนั้น หน้ากากอนามัยคือวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ที่ดีที่สุด เพราะราคาหน้ากากอนามัยถูกมากกว่าวัคซีนที่คาดว่าตกประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ บาท

หน้ากากอนามัยของไทยมีทั่วไปแล้ว หน้ากากผ้าใช้ได้เลย ไม่ต้องฉีดก็เกิดภูมิต้านทาน หรือไม่ป่วยเลยก็ได้ และไม่เกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน เช่น ปวด บวม แดง ร้อนตรงที่ฉีดวัคซีน หรือมีไข้ เป็นต้น

ยิ่งสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างทางสังคมแล้ว ขอยืนยันว่า ท่านกำลังใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ที่ดีที่สุดในโลก ไม่ต้องคอยวัคซีนที่ต้องฉีดในปีหน้าหรอกครับ รีบใช้วัคซีนที่ดีที่สุดตัวนี้กันวันนี้เลยตามข้อบ่งใช้นะครับ และเลิกวิตกกังงวลว่า จะไม่มีวัคซีนได้ใช้ หรือจะมีการระบาดระลอกสอง นายกรัฐมนตรีก็ไม่ต้องแย่งซื้อวัคซีนให้เจ็บคอหรือเพลียใจเปล่าๆ

ขายแพงก็ไม่ต้องซื้อ รอคนไทยผลิตเองยังทันใช้เลยครับ

(ท่านอาจารย์อมร อนุญาตให้เผยแพร่ได้ ช่วยกันแชร์ต่อเยอะๆนะครับ)

 
จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในสหรัฐฯ พุ่งผ่าน 250,000 คน ในวันพุธ (18 พ.ย.) จากการนับของรอยเตอร์ หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจำนวนมากท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ระลอก 3 ทำระบบสาธารณสุขตกอยู่ในภาวะตึงเครียด และสถาบันการศึกษาในนิวยอร์ก ต้องกลับสู่การเรียนทางไกล

นอกจากนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตที่เกิน 250,000 คนแล้ว จำนวนคนไข้โควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ก็เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 78,630 คน ในวันพุธ (18 พ.ย.) ถือเป็นตัวเลขวันเดียวสูงสุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น

ช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา บรรดาผู้ว่าการรัฐต่างๆ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ได้ใช้มาตรการต่างๆ นานาในความพยายามชะลอสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยในคลีฟแลนด์ ร้องขอประชาชนอยู่แต่ในบ้าน คำสั่งบังคับสวมหน้ากากผ่านความเห็นชอบในหลายๆ พื้นที่ที่เคยต่อต้านก่อนหน้านี้ และระบบการศึกษาของนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเขตการศึกษาใหญ่สุดในสหรัฐฯ ต้องระงับการเรียนในชั้นเรียนตั้งแต่วันพฤหัสบดี (19 พ.ย.) เป็นต้นไป

ในค่าเฉลี่ย 7 วันหลังสุด สหรัฐฯรายงานผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 1,176 คนต่อวัน มากกว่าค่าเฉลี่ยจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันทั้งในอินเดียและบราซิลรวมกัน ในขณะที่ทั้งสองประเทศเป็นชาติที่รั้งอันดับ 2 และ 3 ของดินแดนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักหน่วงที่สุดในโลก เป็นรองเพียงอเมริกา

สหรัฐฯรายงานพบผู้ติดเชื้อสะสมแล้วราวๆ 11.4 ล้านคน นับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น และยังคงเป็นประเทศเดียวที่รายงานพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 10 ล้านคน ทั้งนี้ ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่เกือบๆ 158,000 คนต่อวัน เท่ากับว่า ทุกๆ เคสผู้ติดเชื้อ 26 คนทั่วโลก จะมีผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯรวมอยู่ด้วย 1 คน ตามข้อมูลของรอยเตอร์

ปัจจุบันแถบมิดเวสต์เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงที่สุดของสหรัฐฯ บนพื้นฐานของเคสผู้ติดเชื้อต่อจำนวนประชากร และจากพื้นฐานดังกล่าว นอร์ทดาโกตา, เซาต์ดาโกตา, วิสคอนซิน, ไอโอซา และ เนบราสกา คือ 5 รัฐที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุด

นิวยอร์ก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นการศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในสหรัฐฯ ระลอกแรก ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ยังคงเป็นรัฐที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมมากที่สุดนับต้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้น ด้วยจำนวนกว่า 33,000 คน

ด้วยเหตุนี้ ระบบการศึกษาภาครัฐของนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเขตการศึกษาใหญ่สุดของประเทศ ได้สั่งระงับการเรียนการสอนในชั้นเรียนในวันพุธ(18พ.ย.) อ้างถึงจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่โควิด-19 คร่าชีวิตผู้คนทั่วประเทศไปแล้วมากกว่า 250,000 คน

ริชาร์ด เอ. คาร์รันซา อธิการบดีสำนักงานศึกษาธิการเมืองนิวยอร์ก ส่งข้อความถึงครูใหญ่ของโรงเรียนต่างๆ ในเมือง เพื่อแจ้งว่า อัตราการติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ยตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในนครนิวยอร์ก สูงเกิน 3% แล้ว ทำให้สำนักงานศึกษาฯ เตรียมสั่งห้ามโรงเรียนรัฐทำการเรียนการสอนแบบพบหน้ากันชั่วคราว ตั้งแต่วันพฤหัสบดี (19 พ.ย.)

การตัดสินใจปิดโรงเรียนและหันไปเรียนทางไกลจากที่บ้าน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดี (19 พ.ย.) เป็นต้นไป มีขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับรัฐและท้องถิ่นทั่วประเทศ หันกลับกำหนดข้อจำกัดทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อชะลอการแพร่ระบาด และลดจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้ารักษาตัวตามโรงพยาบาลต่างๆ ท่ามกลางฤดูหนาวที่คืบคลานเข้ามา

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความเคลื่อนไหวของเขตการศึกษานิวยอร์ก ซึ่งประกาศผ่านทวิตเตอร์โดยนายกรัฐมนตรี บิล เดอ บลาซิโอ จะช่วยคลายความกังวลแก่คณะครูบางส่วนที่แสดงความวิตกว่าโรงเรียนอาจเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 แต่ขณะเดียวกันมันก็กลับมาเพิ่มความยากลำบากแก่บรรดาผู้ปกครองที่ต้องทำงาน บีบให้พวกเขาต้องเตรียมการสำหรับดูแลบุตรหลานอีกรอบ

(ที่มา:รอยเตอร์)

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร รพ.ศิริราช
🏵 คาดการณ์ timeline ของ COVID vaccine และ scenario ที่น่าจะเป็นไปได้ต่อจากนี้ 🤔

💉 ในตอนนี้โลกมี COVID vaccine ต้นแบบใน stage ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นราว 140 ชนิด เป็น vaccine ที่เข้าถึงรอบสุดท้าย Phase 3 แล้ว 11 ชนิด มีการประกาศผล interim ออกมาเป็นข่าวดีแล้ว 2 ชนิดคือ Pfizer x BioNTech และ Moderna 🧬

💉 วัคซีนที่เหลือในรอบสุดท้าย ตัวที่น่าจะรายงานผลตามกันมาคือ Oxford x AstraZeneca และ Johnson & Johnson ซึ่งน่าจะเห็นกันราวสิ้นปีหรือมกราคมปีหน้า ทั้งสองตัวเป็น adenoviral vector ของ Oxford เป็น Ad5 จากลิงชิมแปนซี ส่วน J&J เป็น human Ad26 🦠

💉 ข้อดีของวัคซีนสองตัวนี้คือ Oxford x AstraZeneca มีความตกลงกับ Siam Bioscience แล้ว เราอาจได้ใช้วัคซีนที่ผลิตในประเทศ ส่วน J&J ข้อดีคือฉีดเข็มเดียวพอ ต่างจากชนิดอื่นที่ต้องฉีดสองเข็ม

💉 ตัวถัดมาที่น่าสนใจคือ Novavax เป็นวัคซีนตัวแรกที่ใช้ spike protein ของเชื้อมาทำวัคซีนเลย ไม่ต้องใช้ mRNA หรือ viral vector ให้ยุ่งยาก จัดเก็บง่ายกว่า ที่สำคัญคือผลข้างเคียงน้อยมาก น้อยกว่าวัคซีนตัวอื่นมาก แต่เนื่องจากเพิ่งเริ่ม phase 3 เมื่อกันยายน/ตุลาคมใน UK และเริ่มใน US เมื่อต้นเดือนนี้เอง เลยอาจต้องรอผลซักสิ้นปี (จาก UK) หรือต้นปีหน้า (จาก US)

💉 วัคซีนของ Medicago x GSK นี่น่าสนใจคือ Medicago สนับสนุนโดย Philip Morris เจ้าพ่อบุหรี่โลก ใช้เทคนิคการผลิตโปรตีนไวรัสจากใบยาสูบ แล้วเอามาทำวัคซีน คล้ายทีมอาจารย์จุฬา แต่ของเขาได้ของดีคือ adjuvant จาก GSK ที่กระตุ้นภูมิได้ดีมาก และตอนนี้เริ่ม phase 3 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง น่าจะได้ยินผลการวิจัยต้นปีหน้า 🌱

🏵 อ่านถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นพูดถึงวัคซีนจากรัสเซีย หรือจีนเลย จริง ๆ มีอีก 5 ตัวคือ จีน 4 (Sinovac, Sinopharm x2, CanSino) และรัสเซีย 1 (Gamaleya Sputnik V) ครับ แต่จนป่านนี้ไม่เห็นมีใครรายงานผล phase 3 กันซักราย มีแต่การประกาศใช้ไปแล้วโครม ๆ 😑

🏵 Sputnik V เพิ่งบอกว่าเริ่ม phase 3 ไปไม่นานนี้เอง ส่วน Sinovac, Sinopharm เคยบอกว่าทำ phase 3 ในประเทศแถบแอฟริกา อเมริกาใต้ และตะวันออกกลางในช่วงไล่เลี่ยกับวัคซีนของประเทศตะวันตก จนป่านนี้ควรจะได้เห็นผล interim บ้างแต่ก็ไม่ประกาศอะไรออกมา ชวนให้สงสัยว่าทำไปไกลแค่ไหนกันแน่

"In god we trust, All others must bring data" นะครับ 😏

🏵 ปีหน้าจะเป็นอย่างไร? ผมเดาว่าสมรภูมิ COVID vaccine จะเปลี่ยนจากการเร่งพัฒนาและทำ clinical trials มาเป็นการเร่งผลิตและขาย เพราะตอนนี้วัคซีนในรอบสุดท้ายนี้ ส่วนใหญ่มี back เป็นบริษัทยาขนาดใหญ่ทั้งสิ้น ซึ่งมีความได้เปรียบในการ scale up การผลิตเหนือบริษัททั่ว ๆ ไป แต่ละเจ้าคาดการณ์ว่าสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ถึงระดับ 500-1,000 ล้าน doses ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ปีหน้าเราควรจะเห็นการผลิต COVID vaccine รวมออกมาได้ไม่ต่ำกว่า 2,000-3,000 ล้าน doses

🎉 ข้อดีคือ เราจะเห็นการกระจายของวัคซีนเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วและทั่วถึงกว่าในอดีตมาก และวัคซีนนี้จะมีราคาไม่แพง (ราว ๆ พันกว่าบาทต่อสองเข็ม) ซึ่งทำให้โรคระบาดหยุดได้ในเวลาไม่นาน

❌ ข้อเสีย ก็หนีไม่พ้นผลกระทบจากระบบตลาดเสรี บริษัทที่พัฒนาวัคซีนต้นแบบช้าเกินไป จะไม่ได้ไปต่อ ซึ่งน่าจะเกิดกับวัคซีนต้นแบบจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4) ที่กว่าจะเริ่ม phase 3 ได้ โรคระบาดนี้อาจจะหยุดไปเรียบร้อย เลยไม่มีเคสผู้ป่วยให้ทดสอบ หรือไม่มีเงินทุนสนับสนุนอีกต่อไป เพราะ COVID vaccine ไม่ใช่ priority อีกแล้ว รวมถึงภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะ supply เข้าสู่ตลาดอย่างมาก และเพียงพอกับ demand จนราคาถูกลง รายใหญ่จะมี economy of scale มาก ทำให้รายใหม่ รายเล็กไม่คุ้มค่าต่อการพัฒนา COVID vaccine ต่ออีก

นี่แหละครับ ระบบ free market คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง 😆

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10160396500643448&id=609703447

 

 

 
เอเจนซีส์/เอเอฟพี - บริษัท ไบโอเทคโมเดอร์นา (Moderna) ที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯ แถลงวันจันทร์ (16 พ.ย.) ว่า วัคซีนโมเดอร์นาประสบความสำเร็จในการรักษาได้ถึง 94.5% จากการทดลองในเฟส 3 และมีแผนที่จะยื่นขอให้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ FDA อนุมัติให้สามารถใช้วัคซีนเพื่อรักษาฉุกเฉินในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

CNN สื่อสหรัฐฯรายงานวันนี้ (16 พ.ย.) ว่า บริษัท โมเดอร์นา (Moderna) กลายเป็นบริษัทยาที่ 2 ในสหรัฐฯประกาศประสบความสำเร็จในการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพรักษากว่า 90%

โดยในแถลงการณ์ในการรายงานของเอเอฟพีที่ออกมาจาก สเตฟาน บานเซล (Stephane Bancel) ซีอีโอโมเดอร์นาระบุว่า

“ผลบวกนี้มาจากการวิเคราะห์เบื้องต้นของขั้นทดลองเฟส 3 ที่ยืนยันถึงการประสบความสำเร็จทางคลินิกวิทยาเป็นครั้งแรกว่าวัคซีนของเราสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้รวมไปถึงโรคขั้นร้ายแรง”

สื่อสหรัฐฯรายงานว่า บริษัท ไบโอเทคโมเดอร์นา ระบุว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทประสบความสำเร็จ 94.5% ในการป้องกันโรคโควิด-19

ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านการระบาดวิทยาสหรัฐฯและเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมโควิด-19 ทำเนียบขาว ดร.แอนโธนี เฟาซี แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ที่ถือเป็นผลลัพท์ที่น่าตื่นเต้นจริงๆ” และเสริมต่อว่า “มันถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ระดับ 94.5% ถือเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม”

สื่อสหรัฐฯรายงานว่า โมเดอร์นารับทราบข่าวดีจากโทรศัพท์ในบ่ายวันอาทิตย์ (15) จากสมาชิกของคณะกรรมการบอร์ดการกำกับข้อมูลปลอดภัย (Data Safety and Monitoring Board) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ

โดยบริษัทได้ทำการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวน 15,000 ราย ในกลุ่มการศึกษาแรก พบว่า คนเหล่านี้ได้รับการฉีดยาหลอก (placebo) ซึ่งเป็นน้ำเกลือที่ไม่มีผลข้างเคียงทางการแพทย์ และในอีกไม่กี่เดือนพบว่ามีผู้เข้าร่วมจำนวน 90 คนจากทั้งหมดเริ่มแสดงอาการป่วยโรคโควิด-19 และจากจำนวนทั้งหมดพบว่ามี 11 รายป่วยในขั้นร้ายแรง

และกลุ่มอาสาสมัครการศึกษากลุ่มที่ 2 จำนวน 15,000 คนเท่ากัน โดยคนเหล่านี้ได้รับวัคซีนโมเดอร์นา และจากจำนวนทั้งหมดมีแค่ 5 คนเท่านั้น ที่เริ่มมีอาการป่วยโควิด-19 แต่ไม่มีใครป่วยในขั้นร้ายแรง

ทางบริษัทกล่าวว่า วัคซีนของบริษัทไม่แสดงผลกระทบข้างเคียงขั้นร้ายแรง และมีกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับวัคซีนแสดงอาการป่วยเป็นต้นว่า ปวดเมื่อยตามร่างกาย รวมไปถึงปวดศีรษะ
 

ทั้งนี้ เฟาซีชี้ว่า เขาคาดว่า วัคซีนโมเดอร์นาจะสามารถเริ่มถูกใช้ได้ในครึ่งหลังของเดือนธันวาคม โดยเป็นที่คาดกันว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีนก่อน ขณะที่ประชาชนสหรัฐฯที่เหลือคาดว่าจะสามารถได้รับการแจกจ่ายวัคซีนในหน้าฤดูใบไม้ผลิปีหน้าไปแล้ว